ที่ลับในโลก ย่อมไม่มีแก่คนผู้กระทำบาปกรรม

 
สุมิตตะ
วันที่  12 ส.ค. 2550
หมายเลข  4522
อ่าน  1,129

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 409

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนครพาราณสี

พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ เจริญวัยแล้ว ได้

เป็นหัวหน้ามาณพ ๕๐๐ คน เล่าเรียนศิลปะในสำนักอาจารย์ทิศาปา-

โมกข์ ในนครพาราณสีนั้นนั่นแหละ. ท่านอาจารย์มีธิดาผู้กำลังเจริญ

วัย ท่านจึงคิดว่า เราจักทดลองศีลของมาณพเหล่านี้ แล้วจักให้ธิดา

นั้นแก่มาณพผู้สมบูรณ์ด้วยศีลเท่านั้น. วันหนึ่ง อาจารย์ทิศาปาโมกข์

นั้นเรียกมาณพทั้งหลายแล้วกล่าวว่า พ่อทั้งหลาย ธิดาของเราเจริญ

วัยแล้ว เราจักทำการวิวาหมงคลแก่เธอ ควรจะได้ผ้าและเครื่องอลังการ

เธอทั้งหลาย เมื่อพวกญาติของตนๆ ไม่เห็น จงลักเอาผ้าและเครื่อง

อลังการมา ผ้าและเครื่องอลังการที่ใครๆ ไม่เห็นเท่านั้น เราจึงรับ

เอาผ้าและเครื่องอลังการที่ใครๆ เห็นแล้วเอามา เราจะไม่รับ. มาณพ

เหล่านั้นรับคำจำเดิมแต่นั้นมา เมื่อพวกญาติไม่ทันเห็น จึงจักนำเอา

ผ้าและเครื่องประดับทั้งหลายมา. อาจารย์ก็วางสิ่งของที่พวกมาณพนำ

มาๆ ไว้เป็นพวกๆ . พระโพธิสัตว์ไม่นำอะไรๆ มาเลย. ที่นั้น อาจารย์

จึงกล่าวกะพระโพธิสัตว์นั้นว่า ดูก่อนพ่อ เธอเล่าไม่ไปนำอะไรๆ มา

หรือ. พระโพธิสัตว์กล่าวร่า ขอรับท่านอาจารย์. อาจารย์ถามว่า

เพราะอะไรพ่อ? พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ท่านไม่รับของที่เอามา เมื่อ

ใครๆ เห็น แม้กระผมก็ไม่เห็นที่ลับในการทำบาป เมื่อจะแสดงความ

จึงกล่าวคาถา ๒ คาถานี้ว่า :-

ข้อว่าที่ลับในโลก ย่อมไม่มีแก่คนผู้

กระทำบาปกรรม ต้นไม้ที่เกิดในป่าก็ยังมีคน

เห็น คนพาลย่อมสำคัญบาปกรรมนั้นว่าเป็น

ความลับ.

ข้าพเจ้าย่อมไม่เห็นที่ลับ หรือแม้ที่ว่าง

เปล่าก็ไม่มี ในที่ใดว่างเปล่า ข้าพเจ้าไม่เห็น

ใคร ที่นั้นก็ย่อมไม่ว่างเปล่าจากตัวข้าพเจ้า.


  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 12 ส.ค. 2550

คนพาลทำชั่วแล้วสำคัญบาปว่าเป็นความลับ แต่จริงๆ แล้ว ถึงไม่มีคนเห็น อย่าง

น้อยเราก็รู้อยู่แก่ใจ อมนุษย์ หรือ เทวดา ท่านรู้ท่านเห็นค่ะ เพราะฉะนั้นคนที่ทำชั่ว

แล้วปิดเป็นความลับไม่มีค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ajarnkruo
วันที่ 12 ส.ค. 2550

ความลับของคนพาล คือ การไม่รู้จักกิเลสของตนครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 12 ส.ค. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตัย เรื่อง ความลับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 234

ข้อความบางตอนจาก ปัญจบัณฑิตชาดก

ว่าด้วยความลับอันไม่ควรเปิดเผย

[๒๒๓๐] สามีควรเปิดเผยข้อความที่ควรติเตียน

หรือควรสรรเสริญ อันเป็นเนื้อความลับ แก่ภรรยาผู้

มีศีล ไม่ยอมให้บุรุษอื่นลักสัมผัส คล้อยตามอำนาจ

ความพอใจของสามี เป็นที่รักที่พอใจของสามี.

[๒๒๓๑] (เสนกบัณฑิตทูลว่า) บุคคลควรเปิด-

เผยข้อความที่ควรติเตียน หรือควรสรรเสริญ อันเป็น

เนื้อความลับ แก่สหายผู้เป็นที่ระลึกเป็นคติ และเป็น

ที่พึ่งของสหาย ผู้ได้รับความทุกข์ลำบากได้.

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 12 ส.ค. 2550

[๒๒๓๒] (ปุกกุสบัณฑิตทูลว่า) บุคคลควรเปิด-

เผยข้อความที่ควรติเตียน หรือควรสรรเสริญ อัน

เป็นเนื้อความลับ แก่พี่น้องซึ่งเป็นพี่ใหญ่ พี่กลาง

หรือน้อง ถ้าเขาตั้งอยู่ในศีล มีจิตตั้งมั่น.

[๒๒๓๓] (กามินทบัณฑิตทูลว่า) บิดาควรเปิด-

เผยข้อความที่ควรติเตียน หรือความสรรเสริญอัน

เป็นเนื้อความลับ แก่บุตรผู้ดำเนินไปตามใจของบิดา

เป็นอนุญาตบุตร มีปัญญาไม่ทรามกว่าบิดา.

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 12 ส.ค. 2550

[๒๒๓๔] (เทวินทบัณฑิตทูลว่า) ข้าแต่พระจอม

ประการาษฎร์ ผู้ประเสริฐกว่ามนุษย์นิกร บุตรควร-

เปิดเผยข้อความที่ควรติเตียน หรือควรสรรเสริญ

อันเป็นเนื้อความลับ แก่มารดาผู้เลี้ยงดูบุตร ด้วย

ความพอใจรักใคร่.

[๒๒๓๕] (มโหสถทูลว่า) การปกปิดความลับเอา

ไว้นั่นแหละเป็นความดี การเปิดเผยความลับบัณฑิต

ไม่สรรเสริญเลย นักปราชญ์พึงอดกลั้น ในเมื่อประ-

โยชน์ยังไม่สำเร็จ เมื่อประโยชน์สำเร็จแล้ว พึงกล่าว

ตามสบาย.

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
olive
วันที่ 15 ส.ค. 2550

ขออนุโมนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ