อะไรเป็นปัจจัยปรุงแต่งให้เกิดทวิปัญจวิญญาน 10

 
lokiya
วันที่  13 พ.ย. 2565
หมายเลข  45084
อ่าน  443

อะไรเป็นปัจจัยปรุงแต่งให้เกิดทวิปัญจวิญญาน 10


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 13 พ.ย. 2565

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ คืออะไร? คือ จิตที่เกิดขึ้นอาศัยวัตถุ ๕ เป็นที่เกิด ได้แก่ จิตเหล่านี้ คือ
จักขุวิญญาน (เห็น) ทำทัสสนกิจ คือ กิจเห็น [อาศัยจักขุปสาทะ เป็นที่เกิด]
โสตวิญญาณ (ได้ยิน) ทำสวนกิจ คือ กิจได้ยิน [อาศัยโสตปสาทะ เป็นที่เกิด]
ฆานวิญญาณ (ได้กลิ่น) ทำฆายนกิจ คือ กิจได้กลิ่น [อาศัยฆานปสาทะ เป็นที่เกิด]
ชิวหาวิญญาณ (ลิ้มรส) ทำสายนกิจ คือ กิจลิ้มรส [อาศัยชิวหาปสาทะ เป็นที่เกิด]
กายวิญญาณ (รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสทางกาย) ทำผุสนกิจ คือ กิจรู้สิ่งที่กระทบสัมผัสทางกาย [อาศัยกายปสาทะ เป็นที่เกิด]

อย่างละ ๒ ดวง คือ เป็นกศุลวิบาก (ผลของบุญ) ๑ อกุศลวิบาก (ผลของบาป) ๑ รวมเรียกว่า ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ (วิญญาณ ๕ ทั้ง ๒ ฝ่าย) เป็นจิตที่มีเจตสิกเกิดร่วมด้วยน้อยที่สุด คือ มีเพียง ๗ ดวงเท่านั้น ได้แก่ ผัสสะ (สภาพที่กระทบอารมณ์) เวทนา (สภาพที่รู้สึก) สัญญา (สภาพที่จำ) เจตนา (สภาพที่จงใจขวนขวาย) เอกัคคตา (สภาพที่ตั้งมั่นในอารมณ์) ชีวิตินทรีย์ (สภาพที่เป็นใหญ่ในการทำให้สภาพธรรมที่เกิดด้วยกันดำรงอยู่จนกว่าจะดับไป) มนสิการ (สภาพที่ใส่ใจในอารมณ์)

ดังนั้น จากประเด็นคำถาม ก็พิจารณาได้ว่า สภาพที่ปรุงแต่งให้ทวิปัญจวิญญาณ เกิดขึ้น ก็คือเจตสิกทั้ง ๗ นี้ และพิจารณาในความเป็นจริงของธรรมต่อไปอีกว่า ทวิปัญจวิญญาณ เกิดเพราะกรรมเป็นปัจจัย ต้องมีอารมณ์เฉพาะของตนๆ และอาศัยที่เกิดเฉพาะของตนๆ ทั้งหมดทั้งปวงนั้น แสดงถึงความเป็นจริงของธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัย ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ครับ

...ยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
capacitor4
วันที่ 13 พ.ย. 2565

กราบขอบพระคุณ อ.คำปั่น และยินดีในกุศลทุกๆ ท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
chatchai.k
วันที่ 13 พ.ย. 2565

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
เมตตา
วันที่ 14 พ.ย. 2565

ขอบพระคุณ และยินดีในความดีของ อ.คำปั่น และทุกๆ ท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
lokiya
วันที่ 14 พ.ย. 2565

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
wannee.s
วันที่ 26 ธ.ค. 2565

กรรมเป็นปัจจัยทำให้เห็นดี หรือเห็นไม่ดี ได้ยินเสียงดี หรือได้ยินเสียงไม่ดี เป็นต้นแสดงให้เห็นว่าทุกอย่างที่เกิดเป็นไปตามเหตุปัจจัยค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ