มังสวิรัติ กับ มรรค 8

 
WS202398
วันที่  8 ส.ค. 2550
หมายเลข  4486
อ่าน  1,464

จาก การพาณิชย์ที่ชาวพุทธไม่ควรทำ

ขอให้ช่วยอธิบายถึงความสอดคล้องหรือไม่สอดคล้องกับมรรค ๘ อย่างไร ถึงความคิดที่ว่าเราพึงหันมากินมังสวิรัติเถิดหนอ เพื่อมิให้มีการฆ่าสัตว์มากขึ้น หรือให้ฆ่าสัตว์ เท่าเดิม หรือให้ฆ่าสัตว์น้อยลง แนวคิดเช่นนี้เข้าข่ายตึงเกินไปหรือไม่ หรือแล้วแต่อัธยาศัย ความคิด

ถ้าจะมองลักษณะนี้เป็นแนวคิดเชิงสังคม ไม่เหมือนกับการฝึกตนเป็นหลักที่เน้นที่เจตนาของปัจเจกบุคคลว่าเป็นกุศลหรืออกุศล แนวคิดในเชิงสังคมเช่นนี้สมเหตุสมผล ขัดหรือเข้ากับมรรค ๘ อย่างไรหรือไม่


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 9 ส.ค. 2550

อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นทางอันประเสริฐที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้และแสดงแก่สาวกทั้งหลาย อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เป็นข้อปฏิบัติเพื่อการฝึกอบรมให้สัตว์ทั้งหลายบริสุทธิ์จากกิเลส เพื่อการดับวัฏฏะทุกข์ทั้งสิ้น เพื่อการตรัสรู้ เพื่อการบรรลุพระนิพพาน ฉะนั้นการกินมังสวิรัติ ไม่ใช่ข้อปฏิบัติสายกลางหรือ อริยมรรคเลย ไม่เป็นกุศลขั้นทานขั้นศีล หรือกุศลขั้นภาวนาเลย ถ้ามีความเห็น ว่ากินมังสวิรัติจะทำให้บริสุทธิ์ ความเห็นนี้เป็นความเห็นผิด แต่ถ้าบริโภคเพื่อสุขภาพไม่มีความเห็น หรือบริโภคตามมีตามได้ ไม่มีเจตนาคิดร้ายต่อสัตว์ เป็นผู้มีปกติเจริญสติปัฏฐาน ชื่อว่าเป็นผู้ฝึกตน เพื่อการตรัสรู้

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
pornchai.s
วันที่ 9 ส.ค. 2550

ผู้ที่สนใจหนังสือ

พระพุทธเจ้าเสวยเนื้อหรือไม่

ส่งจดหมายมาที่ มศพ.เพื่อขอรับทางไปรษณีย์ได้

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
natthaset
วันที่ 9 ส.ค. 2550

คิดว่า อันไหน อยู่ง่าย เป็นสุข ไม่เบียดเบียนตนและผู้อื่น (ถ้าทำได้) ก็ Ok.

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 9 ส.ค. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ประเด็น ถ้าผู้บริโภค ลดบริโภคเสียบ้างก็คงจะลดการฆ่าลงไปได้?

การที่สัตว์ถูกฆ่า ก็ต้องคิดแล้วหละว่าเกิดจากอะไร ในทางพระพุทธศาสนาและความเป็นจริงนั้น การที่ถูกฆ่าก็ต้องเป็นผลของอกุศลกรรมที่ได้เคยทำไว้ ดังนั้น สัตว์นั้นจึงมีกรรมที่ต้องถูกฆ่า จะบริโภคน้อยลงหรือมากขึ้น สัตว์ก็ต้องถูกฆ่าเพราะ อกุศลกรรมให้ผล

มนุษย์ทำไมถึงถูกฆ่าได้ทุกวัน ก็ไม่ได้บริโภคเนื้อมนุษย์เป็นอาหารของคนส่วนใหญ่ ทำไมยังถูกฆ่าทุกวัน เพราะคนนั้นที่ถูกฆ่า อกุศลกรรมให้ผลเพราะเคยทำอกุศลไว้ ดังนั้นการบริโภคเนื้อสัตว์น้อยลง ไม่ใช่เป็นเหตุที่จะทำให้สัตว์ถูกฆ่าน้อยลง แต่กรรมไม่ดีต่างหากที่ทำให้สัตว์ถูกฆ่าครับ และถ้าคิดละเอียดขึ้น ทำไมถึงทำกรรมไม่ดี อันเป็นเหตุให้ถูกฆ่า ก็เพราะกิเลสที่มีนั่นเอง

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 9 ส.ค. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ประเด็น มรรค มีองค์ ๘ และการไม่ทานเนื้อสัตว์ต้องเข้าใจก่อนว่า มรรค มีองค์ ๘ คืออะไร ไม่เช่นนั้นก็จะเข้าใจ เรื่องทางสายกลางผิด

ทางสายกลาง ไม่ได้หมายถึง การทำอะไร พอดี พอดี แต่เป็นข้อปฏิบัติที่รู้ความจริงของสภาพธัมมะที่มีในขณะนี้ รู้ตามความเป็นจริง จะทานเนื้อ สัตว์หรือไม่ทานเนื้อสัตว์ ปัญญา (อริยมรรค มีองค์ ๘) ไม่ได้เกิด เพราะทานหรือ ไม่ทานเนื้อสัตว์ แต่เกิดจากการฟังเรื่องสภาพธัมมะที่มีจริงว่าเป็นธรรม ไม่ใช่เรา

ทานเนื้อสัตว์ มีปัญญาอบรม อริยมรรค มีองค์ ๘ ได้ไหม ได้ครับ ไม่ทานเนื้อสัตว์ อบรมปัญญา อริยมรรค มีองค์ ๘ ได้ไหม เพราะขณะทีทานและไม่ทานในขณะ นั้นก็เป็นธรรม ทั้งนั้น มีเห็น มีได้ยิน มีกิเลสขณะทาน ไม่ว่าจะเป็นผัก หรือเนื้อ มรรค ๘ หรือสติปัฏฐาน สามารถเกิดระลึกสภาพธัมมะขณะนั้นว่าเป็นธรรมไม่ใช่ เรา แต่ที่สำคัญ ถ้าเราเข้าใจว่า การไม่ทานเนื้อ เป็นทางสายกลาง ที่จะทำให้ ดับกิเลส ตรงนี้ผิดตั้งแต่ต้น เพราะเข้าใจหนทางหรือทางสายกลางผิด

แต่ถ้าเข้าใจหนทางถูกแล้ว (สติปัฏฐานหรืออริยมรรค ๘) ไม่ว่าจะทานหรือไม่ทาน หรือเหตุการณ์ใดก็ตาม ก็มีธรรมทั้งนั้น ให้อบรมปัญญาโดยรู้ขณะนั้นว่า มีแต่ธรรมไม่ใช่เรา ตรงนี้จึงเป็นทางสายกลางครับ สรุปคือ ทานไม่ทานก็มีธรรม อบรม ปัญญาได้ (มรรค ๘) แต่ถ้าเข้าใจว่า ไม่ทานเป็นทางสายกลาง (มรรค ๘) ก็ไม่มี ทางดับกิเลสได้ครับ

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
keaw10
วันที่ 10 ส.ค. 2550

จะกินแล้วอย่าเลือกให้ยุ่งยากเลย กินง่ายอยู่ง่าย เขาไม่ได้เจตนาฆ่าเพื่อเรามากินโดย เฉพาะมันไม่มีชีวิตแล้วเป็นเพียงธาตุครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ajarnkruo
วันที่ 10 ส.ค. 2550

ขอสรุปความเห็นส่วนตัวโดยอิงจากหนังสือ

พระพุทธเจ้าเสวยเนื้อหรือไม่

กลิ่นดิบจริงๆ คือ อนุสัยกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในจิตของเราทุกขณะ จับต้องไม่ได้ และก็ไม่มีกลิ่นจริงๆ ปรากฎทางจมูกแต่เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้บุคคลมีกาย วาจา ใจที่น่ารังเกียจอย่างแยบยลจริงๆ ร้ายเสียยิ่งกว่า กลิ่นดิบจากเนื้อสัตว์ใดๆ ที่เป็น เพียงรูปที่กระทบรูปแล้วจิตเกิดรู้อารมณ์นั้นเท่านั้น

โลภะยังเกิดกับทุกท่านได้อยู่ในขณะนี้และก็มากเสียด้วยในแต่ละวันๆ จะรับประทานอะไรเข้าไปก็ตามที ที่แสวงหาก็ล้วนเพราะรักตัวเองทั้งนั้น ต่างคนก็ต่างยัง พอใจในขันธ์ ๕ ที่ตนยึดถือไว้ว่าเป็นของๆ ตน ยังชอบที่อยากจะดำรงความเป็นบุคคลนี้ต่อไป ไม่อยากให้โรคภัยเบียดเบียนเนืองๆ ซึ่งก็แล้วแต่อัธยาศัยครับ ทุก คนพอใจที่จะเสพกามไปคนละอย่าง คนละทาง เพราะชวนวิถีจิตสั่งสมต่างกัน แต่ข้อสำคัญคือ ไม่ควรให้สิ่งนี้เป็นเหตุที่เนิ่นช้าของการอบรมเจริญปัญญา

เพราะการคิดผิดๆ เชื่อผิดๆ โดยไม่รู้ความจริงของสภาพธรรมที่ปรากฎในขณะนี้ ชวนวิถีจิต ๗ ขณะ ก็ทำหน้าที่สั่งสมไปแล้ว ๗ เท่าของสิ่งที่เพียงเห็นทางตา กลิ่นที่รู้ได้ทางจมูก รสที่รู้ได้ทางลิ้น ผ่านไป ๗ ขณะแล้ว ๗ ขณะเล่า ถ้าอกุศลจิตเป็นอะไรที่จับต้องได้ ป่านนี้ก็คงจะหมักหมมจนกองเป็นภูเขาเลา กา ส่งกลิ่นเน่าเหม็นโชยไปทั่วทุกสารทิศ

ยังมีความเห็นผิดอื่นๆ มากมายที่รอให้ปัญญาขจัดออก กว่าจะค่อยๆ ล้างออกไป ได้แต่ละอย่างก็ยากเต็มทีสำหรับปุถุชนผู้ที่มีปัญญาน้อย จึงไม่ควรเพิ่มความเห็นผิด มากกว่านี้ครับ

พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงอธิบายความสงสัยทุกประการของสัตว์โลก เพราะไม่ ทรงเห็นว่าเป็นเรื่องที่เป็นสาระ หรือ เป็นประโยชน์โดยแท้ต่อปัญญา แต่ทรงแสดงอริยสัจธรรม เพื่อให้สัตวโลกเกิดดวงตาเห็นธรรม ละคลายอกุศล พ้นทุกข์โทษ ภัย ดับกิเลสได้โดยสิ้นเชิง

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
wannee.s
วันที่ 11 ส.ค. 2550

การที่เราจะทานมังสวิรัติแล้วแต่อัธยาศัย แต่ให้รู้ว่าทานเพื่อสุขภาพ ไม่ใช่เพื่อให้ กิเลสลดลง และการทานมังสวิรัติ ไม่ใช่หนทางดับกิเลสค่ะ ส่วนมรรค ๘ เป็นหนทางเดียวที่ดับกิเลส

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
แวะเข้ามา
วันที่ 13 ส.ค. 2550

เมื่อมีการเบียดเบียนกันน้อยลง การฆ่าก็ย่อมน้อยลงไปเอง

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 20 ส.ค. 2566

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ