การพาณิชย์ที่ชาวพุทธไม่ควรทำ

 
WS202398
วันที่  6 ส.ค. 2550
หมายเลข  4466
อ่าน  3,470

พระพุทธเจ้าได้ตรัสเกี่ยวกับการพาณิชย์ที่พุทธบริษัทไม่ควรค้าอะไรบ้างครับ ในข้อหนึ่งผมจำได้ลางๆ ว่า เกี่ยวกับค้าเนื้อสัตว์หรือสัตว์มีชีวิตทำนองนี้ล่ะครับ ที่อยากถามเพิ่มก็คือ การนี้นั้นรวมถึงการซื้อหรือไม่ หรือเฉพาะในแง่การขาย


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 6 ส.ค. 2550

การค้าขายที่อุบาสกอุบาสิกาไม่ควรกระทำมี ๕ อย่าง ตามนัยของวณิชชสูตร คือขายศัสตรา ๑ ขายสัตว์ ๑ เนื้อสัตว์ ๑ น้ำเมา ๑ ยาพิษ ๑

ส่วนในแง่ผู้ซื้อ ควรดูที่เจตนา เช่น ซื้อสัตว์มาปล่อย หรือซื้อเนื้อสัตว์ที่เขาทำขายโดยทั่วไป ไม่ได้ฆ่าเองหรือไม่ได้สั่งให้เขาฆ่าเพื่อตน ลักษณะที่ว่านี้ การซื้อย่อมไม่มีโทษ แต่ถ้าซื้อด้วยประสงค์จะฆ่าหรือจะซื้อสุราเพื่อดื่มเอง อย่างนี้ชัดเจนอยู่แล้วว่า มีโทษ ฉะนั้นควรแยกกล่าวเป็นเรื่องๆ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 6 ส.ค. 2550

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 376

๗. วณิชชสูตร

ว่าด้วยการค้าขายที่อุบาสกไม่ควรประกอบ

[๑๗๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การค้าขาย ๕ ประการนี้ อันอุบาสก ไม่พึงกระทำ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ การค้าขายศัสตรา ๑ การค้าขายสัตว์ ๑ การค้าขายเนื้อสัตว์ ๑ การค้าขายน้ำเมา ๑ การค้าขายยาพิษ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การค้าขาย ๕ ประการนี้แล อันอุบาสกไม่พึงกระทำ.

จบวณิชชสูตรที่ ๗

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 6 ส.ค. 2550

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
อิสระ
วันที่ 7 ส.ค. 2550
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ajarnkruo
วันที่ 7 ส.ค. 2550

ไม่ว่าจะซื้อเนื้อสัตว์หรือผักผลไม้เพื่อการบริโภค ก็ยังเป็นอกุศล เพราะเรายังมีโลภะ มีความติดข้องในกามฉันทะ คือ พอใจรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
wannee.s
วันที่ 7 ส.ค. 2550

วันหนึ่งๆ อกุศลเกิดมากและเกิดบ่อย แต่ก็มีชั่วขณะที่สติเกิดระลึกในการให้ทาน ในการรักษาศึล และการฟังธรรม ชั่วขณะสั้นๆ ก็สงบจาก โลภะ โทสะ โมหะ ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
olive
วันที่ 8 ส.ค. 2550
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
devout
วันที่ 8 ส.ค. 2550

การซื้อเนื้อสัตว์หรือผักผลไม้เพื่อการบริโภค จะเป็นอกุศลหรือไม่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพจิตในขณะนั้น พระอนาคามีที่ยังครองเรือน ท่านก็ยังมีการจับจ่ายใช้สอย บริโภค เมื่อท่านยังมีขันธ์ ๕ ที่จะต้องบริหาร การดำเนินชีวิตก็ยังต้องเป็นไป ส่วนปุถุชนและพระเสขบุคคลขั้นรองลงมา ก็เจริญสติได้แม้ในขณะนั้นเช่นกัน

การดำเนินชีวิตตามปกติ ไม่ได้เป็นเครื่องกั้นการเจริญสติเลยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
ajarnkruo
วันที่ 9 ส.ค. 2550

ขออนุโมทนาในคำตอบของคุณ devout ครับ

ขึ้นอยู่กับสภาพจิตขณะนั้นจริงๆ ไม่ควรเหมารวมว่าเป็นอกุศลเสียหมด เพราะขณะจิตเกิดดับไวมาก กุศลเกิดแล้ว อกุศลก็เกิดต่อได้ เร็วเสียจนในชีวิตประจำวันบางที ปุถุชนอย่างเราที่หลงลืมสติมากกว่าสติเกิดไม่สามารถจะระบุได้ชัดเจนว่าเป็นกุศลหรืออกุศล ส่วนพระอนาคามี และพระอริยบุคคลขั้นรองลงมาท่านมีปัญญามาก สติที่เกิดจึงเป็นดังศรธนูที่ถูกยิงด้วยปัจจัยต่างๆ ที่ดี ศรนั้นจึงพุ่งเร็ว พุ่งไกล และแม่นยำ ส่วนปุถุชนอย่างเราเพียงกำลังที่จะง้างคันธนูแต่ละทีก็ทุลักทุเลเหลือเกินเพราะความที่ ไม่ได้ฝึกมาดี ก็ยังต้องอบรมเจริญสติต่อไปเรื่อยๆ ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
WS202398
วันที่ 10 ส.ค. 2550
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
Khemsai
วันที่ 5 ก.ค. 2563

อนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
talaykwang
วันที่ 13 ส.ค. 2565

ขออนุโมทนาในกุศลยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 23 ส.ค. 2566

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ