คำว่าพิจารณาไตร่ตรองจนเป็นความเข้าใจของผู้นั้น

 
lokiya
วันที่  21 ต.ค. 2565
หมายเลข  44832
อ่าน  274

เป็นเจตสิกประเภทใดครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 23 ต.ค. 2565

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เข้าใจธรรม ตามกำลังปัญญาของตนเอง เบื้องต้น เมื่อเริ่มฟังเริ่มศึกษา ก็จะพอจะเข้าใจว่า ถ้าไม่มีนามธรรม กล่าวคือ จิตกับเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย ย่อมพิจารณาไตร่ตรองไม่ได้อย่างแน่นอน ที่พิจารณาไตร่ตรองได้ ก็เป็นกิจหน้าที่ของสภาพธรรมที่เป็นนามธรรม นั่นเอง อย่างเช่น ในขณะที่ฟังพระธรรม ไม่ได้มีเฉพาะได้ยินเท่านั้น ยังมีการพิจารณาไตร่ตรองในคำที่ได้ยินได้ฟังด้วยความละเอียดรอบคอบ ด้วย ไม่ใช่เชื่อง่าย ไม่ใช่ผู้ที่ไม่มีเหตุไม่มีผล ซึ่งก็คือ ธรรมนั่นเองที่เกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ ไม่พ้นจากจิตและเจตสิก ที่เกิดขึ้นเป็นไป ซึ่งทั้งหมดนั้น เป็นธรรม ไม่ใช่สัตว์บุคคล ตัวตน ถ้ากล่าวถึงเจตสิกที่พิจารณาไตร่ตรอง ไม่พ้นจากไปเจตสิกฝ่ายดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ ปัญญา ความเข้าใจถูกเห็นถูก ครับ

...ยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
lokiya
วันที่ 23 ต.ค. 2565

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
Junya
วันที่ 26 ต.ค. 2565

กราบอนุโมทนาในกุศลจิต และขอบพระคุณค่ะอาจารย์คำปั่น

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ