พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

มหาสงคราม และ มหาสังคามวัณณนา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  13 มี.ค. 2565
หมายเลข  42867
อ่าน  393

[เล่มที่ 10] พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘

พระวินัยปิฎก

เล่ม ๘

ปริวาร

มหาสงคราม 703

ข้อปฏิบัติของภิกษุผู้เข้าสงคราม 1087/703

ว่าด้วยการรู้วัตถุ 1088/703

ว่าด้วยการรู้วิบัติ 1089/704

ว่าด้วยการรู้อาบัติ 1090/704

ว่าด้วยการรู้นิทาน 1091/704

ว่าด้วยการรู้อาการ 1092/704

ว่าด้วยรู้คําต้นและคําหลัง 1093/705

ว่าด้วยรู้สิ่งที่ทําแล้วและยังไม่ได้ทํา 1094/706

ว่าด้วยรู้กรรม 1095/706

ว่าด้วยรู้อธิกรณ์ 1096/706

ว่าด้วยรู้สมถะ 1097/706

ว่าด้วยไม่ถึงฉันทาคติ 1098/707

ว่าด้วยไม่ถึงโทสาคติ 1099/708

ว่าด้วยไม่ถึงโมหาคติ 1100/709

ว่าด้วยไม่ถึงภยาคติ 1101/709

นิคมคาถา 1102/710

ไม่ถึงฉันทาคติ 1103/710

ไม่ถึงโทสาคติ 1104/711

ไม่ถึงโมหาคติ 1105/712

ไม่ถึงภยาคติ 1106/712

นิคมคาถา 1107/713

ว่าด้วยให้เข้าใจ 1108/713

ว่าด้วยพินิจ 1109/713

ว่าด้วยเพ่งเล็ง 1110/714

ว่าด้วยความเลื่อมใส 1111/714

ว่าด้วยดูหมิ่นพรรคพวกอื่น 1112/765

ว่าด้วยดูหมิ่นภิกษุมีสุตะน้อย 1113/715

ว่าด้วยภิกษุผู้อ่อนกว่า 1114/716

ว่าด้วยไม่พูดเรื่องที่ยังมาไม่ถึง 1115/716

ว่าด้วยธรรมวินัยสัตถุศาสน์ 1116/717

ข้อปฏิบัติของภิกษุผู้วินิจฉัยอธกรณ์ 717

เปรียบเทียบอธิกรณ์ 1117/720

จําแนกการเห็น 1118/721

หัวข้อประจําเรื่อง 1123/723

มหาสังคามวัณณนา 723


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 10]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 703

มหาสงคราม

ข้อปฏิบัติของภิกษุผู้เข้าสงคราม

[๑,๐๘๗] อันภิกษุผู้เข้าสงคราม เมื่อกล่าวในสงฆ์ พึงรู้วัตถุ พึงรู้ วิบัติ พึงรู้อาบัติ พึงรู้นิทาน พึงรู้อาการ พึงรู้คำต้นและคำหลัง พึงรู้สิ่งที่ ทำแล้วและยังไม่ได้ทำ พึงรู้กรรม พึงรู้อธิกรณ์ พึงรู้สมถะ ไม่พึงถึงฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ พึงชี้แจงในสถานะควรชี้แจง พึงพินิจในสถานะ ควรพินิจ พึงเพ่งเล็งในสถานะควรเพ่งเล็ง พึงเลื่อมใสในสถานะควรเลื่อมใส ไม่พึงหมิ่นพรรคพวกอื่น ด้วยเข้าใจว่า เราได้พรรคพวกแล้ว ไม่พึงหมิ่นผู้มี สุตะน้อย ด้วยเข้าใจว่า เรามีสุตะมาก ไม่พึงหมิ่นภิกษุผู้อ่อนกว่า ด้วยเข้าใจ ว่า เราเป็นผู้แก่กว่า ไม่พึงพูดเรื่องที่ยังไม่ถึง ไม่พึงให้เรื่องที่มาถึงแล้วตก หล่นจากธรรมจากวินัย อธิกรณ์นั้นย่อมระงับด้วยธรรม ด้วยวินัย ด้วยสัตถุ- ศาสน์ใด พึงให้อธิกรณ์นั้นระงับด้วยอย่างนั้น.

ว่าด้วยการรู้วัตถุ

[๑,๐๘๘] คำว่า พึงรู้จักวัตถุ นั้น คือ พึงรู้วัตถุแห่งปาราชิก ๘ สิกขาบท พึงรู้วัตถุแห่งสังฆาทิเสส ๒๓ สิกขาบท พึงรู้วัตถุแห่งอนิยต ๒ สิกขาบท พึงรู้วัตถุแห่งนิสสัคคิยะ ๔๒ สิกขาบท พึงรู้วัตถุแห่งปาจิตตีย์ ๑๘๘ สิกขาบท พึงรู้วัตถุแห่งปาฏิเทสนียะ ๑๒ สิกขาบท พึงรู้วัตถุแห่งทุกกฏทั้งหลาย พึงรู้วัตถุแห่งทุพภาสิตทั้งหลาย.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 704

ว่าด้วยการรู้วิบัติ

[๑,๐๘๙] คำว่า พึงรู้วิบัติ คือ พึงรู้ศีลวิบัติ อาจารวิบัติ ทิฏฐิ วิบัติ อาชีววิบัติ.

ว่าด้วยการรู้อาบัติ

[๑,๐๙๐] คำว่า พึงรู้อาบัติ นั้น คือ พึงรู้อาบัติปาราชิก อาบัติ สังฆาทิเสส อาบัติถุลลัจจัย อาบัติปาจิตตีย์ อาบัติปาฏิเทสนียะ อาบัติทุกกฏ อาบัติทุพภาสิต.

ว่าด้วยการรู้นิทาน

[๑,๐๙๑] คำว่า พึงรู้นิทาน นั้น คือ พึงรู้นิทานแห่งปาราชิก ๘ สิกขาบท พึงรู้นิทานแห่งสังฆาทิเสส ๒๓ สิกขาบท พึงรู้นิทานแห่งอนิยต ๒ สิกขาบท พึงรู้นิทานแห่งนิสสัคคิยะ ๔๒ สิกขาบท พึงรู้นิทานแห่งปาจิตตีย์ ๑๘๘ สิกขาบท พึงรู้นิทานแห่งปาฏิเทสนียะ ๑๒ สิกขาบท พึงรู้นิทานแห่ง ทุกกฏทั้งหลาย พึงรู้นิทานแห่งทุพภาสิตทั้งหลาย.

ว่าด้วยการรู้อาการ

[๑,๐๙๒] คำว่า พึงรู้อาการ นั้น คือ พึงรู้จักสงฆ์โดยอาการ พึงรู้จักคณะโดยอาการ พึงรู้จักบุคคลโดยอาการ พึงรู้จักโจทก์โดยอาการ พึง รู้จักจำเลยโดยอาการ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 705

ข้อว่า พึงรู้จักสงฆ์โดยอาการ นั้น คือ พึงรู้จักสงฆ์โดยอาการ อย่างนี้ว่า สงฆ์หมู่นี้จะสามารถระงับอธิกรณ์นี้ได้โดยธรรม โดยวินัย โดย สัตถุศาสน์ หรือไม่หนอ

ข้อว่า พึงรู้จักคณะโดยอาการ นั้น คือ พึงรู้จักคณะโดยอาการ อย่างนี้ว่า คณะนี้จะสามารถระงับอธิกรณ์นี้ได้โดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุ- ศาสน์หรือไม่หนอ

ข้อว่า พึงรู้จักบุคคลโดยอาการ นั้น คือ พึงรู้จักบุคคลโดย อาการ อย่างนี้ว่า บุคคลผู้นี้จะสามารถระงับอธิกรณ์นี้ได้โดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์ หรือไม่หนอ

ข้อว่า พึงรู้จักโจทก์โดยอาการ นั้น คือ พึงรู้จักโจทก์โดยอาการ อย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้จักตั้งอยู่ในธรรม ๕ ประการ แล้วโจทก์ผู้อื่น หรือไม่หนอ

ข้อว่า พึงรู้จักจำเลยโดยอาการ นั้น คือ พึงรู้จักจำเลยโดยอาการ อย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้ตั้งอยู่ในธรรม ๒ ข้อ คือ ให้การตามจริงและไม่โกรธ หรือไม่หนอ.

ว่าด้วยรู้คำต้นและคำหลัง

[๑,๐๙๓] คำว่า พึงรู้คำต้นและคำหลัง นั้น คือ พึงรู้คำต้น และคำหลังอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้ย้ายวัตถุจากวัตถุ ย้ายวิบัติจากวิบัติ ย้ายอาบัติจาก อาบัติ ปฏิเสธแล้วกลับปฏิญาณ ปฏิญาณแล้วกลับปฏิเสธ หรือสับเรื่องอื่นด้วย เรื่องอื่นหรือไม่หนอ.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 706

ว่าด้วยรู้สิ่งที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำ

[๑,๐๙๔] คำว่า พึงรู้สิ่งที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำ นั้น คือ พึง รู้เมถุนธรรม พึงรู้อนุโลมแก่เมถุธรรม พึงรู้บุพภาคแห่งเมถุน

ข้อว่า พึงรู้เมถุนธรรม นั้น คือ พึงรู้ความร่วมกันเป็นคู่ๆ

ข้อว่า พึงรู้อนุโลมแก่เมถุนธรรม นั้น คือ ภิกษุอมองค์กำเนิด ของภิกษุอื่น ด้วยปากของตน

ข้อว่า พึงรู้บุพภาคแห่งเมถุนธรรม นั้น คือ สี สิ่งมิใช่สี การเคล้าคลึงด้วยกาย วาจาชั่วหยาบ การบำเรอตนด้วยกาม การยังวรรณะ ให้เกิด.

ว่าด้วยรู้กรรม

[๑,๐๙๕] คำว่า พึงรู้กรรม นั้น ได้แก่ พึงรู้กรรม ๑๖ อย่าง คือ พึงรู้อปโลกนกรรม ๔ อย่าง พึงรู้ญัตติกรรม ๔ อย่าง พึงรู้ญัตติทุติยกรรม ๔ อย่าง พึงรู้ญัตติจตุตถกรรม ๔ อย่าง.

ว่าด้วยรู้อธิกรณ์

[๑,๐๙๖] คำว่า พึงรู้อธิกรณ์ นั้น ได้แก่ พึงรู้อธิกรณ์ ๔ คือ พึงรู้วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์.

ว่าด้วยรู้สมถะ

[๑,๐๙๗] คำว่า พึงรู้สมถะ นั้น ได้แก่ พึงรู้สมถะ ๗ คือ พึง รู้สัมมุขาวินัย สติวินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ เยภุยยสิกา ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 707

ว่าด้วยไม่ถึงฉันทาคติ

[๑,๐๙๘] คำว่า ไม่พึงถึงฉันทาคติ นั้น ความว่า เมื่อถึงฉันทาคติ ถึงอย่างไร ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ คิดว่า ท่านผู้นี้เป็นอุปัชฌาย์ของ เรา เป็นอาจารย์ของเรา เป็นสัทธิวิหาริกของเรา เป็นอันเตวาสิกของเรา เป็นผู้ร่วมอุปัชฌาย์ของเรา เป็นผู้ร่วมอาจารย์ของเรา เป็นผู้เคยเห็นกันมากับ เรา เป็นผู้เคยร่วมคบกันมากับเรา หรือท่านผู้นี้เป็นญาติสาโลหิตของเรา ดังนี้ เพื่ออนุเคราะห์ผู้นั้น เพื่อตามรักษาท่านผู้นั้น จึงแสดงอธรรมว่าธรรม แสดงธรรมว่าอธรรม แสดงอวินัยว่าวินัย แสดงวินัยว่าอวินัย แสดงสิ่งที่พระตถาคตไม่ได้ตรัสภาษิต ว่าพระตถาคตตรัสภาษิตแล้ว แสดงสิ่งที่พระตถาคต ตรัสภาษิตแล้ว ว่าพระตถาคตไม่ได้ตรัสภาษิต แสดงสิ่งที่พระตถาคตไม่ได้ ทรงประพฤติมา ว่าพระตถาคตทรงประพฤติมาแล้ว แสดงสิ่งที่พระตถาคตทรง ประพฤติมาแล้ว ว่าพระตถาคตไม่ได้ทรงประพฤติมา แสดงสิ่งที่พระตถาคต ไม่ได้ทรงบัญญัติ ว่าพระตถาคตทรงบัญญัติแล้ว แสดงสิ่งที่พระตถาคตทรง บัญญัติแล้ว ว่าพระตถาคตไม่ได้ทรงบัญญัติ แสดงอนาบัติว่าอาบัติ แสดง อาบัติว่าอนาบัติ แสดงอาบัติเบาว่าอาบัติหนัก แสดงอาบัติหนักว่าอาบัติเบา แสดงอาบัติมีส่วนเหลือว่าอาบัติไม่มีส่วนเหลือ แสดงอาบัติไม่มีส่วนเหลือว่า อาบัติมีส่วนเหลือ แสดงอาบัติชั่วหยาบว่าอาบัติไม่ชั่วหยาบ แสดงอาบัติไม่ ชั่วหยาบว่าอาบัติชั่วหยาบ ภิกษุถึงฉันทาคติด้วยวัตถุ ๑๘ อย่างนี้ ย่อมปฏิบัติ เพื่อไม่เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่อความไม่เป็นสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่อความ พินาศแก่ชนหมู่มาก เพื่อความไม่เกื้อกูลเพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุผู้ถึงฉันทาคติด้วยวัตถุ ๑๘ อย่างนี้ ย่อมบริหารตนให้ถูกขุดถูกกำจัด เป็น

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 708

ผู้ประกอบด้วยโทษ อันวิญญูชนพึงติเตียน และย่อมประสบบาปมิใช่บุญมาก ภิกษุเมื่อถึงฉันทาคติ ย่อมถึงอย่างนี้.

ว่าด้วยไม่ถึงโทสาคติ

[๑,๐๙๙] คำว่า ไม่พึงถึงโทสาคติ นั้น ความว่า เมื่อถึงโทสาคติ ถึงอย่างไร ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ ผูกอาฆาตว่า ผู้นี้ได้ก่อความพินาศ แก่เราแล้ว ผูกอาฆาตว่า ผู้นี้กำลังก่อความพินาศแก่เรา ผูกอาฆาตว่า ผู้นี้ จักก่อความพินาศแก่เรา ผูกอาฆาตว่า ผู้นี้ได้ก่อความพินาศแก่เราผู้เป็นที่รัก ที่พอใจ ผูกอาฆาตว่า ผู้นี้กำลังก่อความพินาศแก่เราผู้เป็นที่รักที่พอใจ ผูก อาฆาตว่า ผู้นี้จักก่อความพินาศแก่เราผู้เป็นที่รักที่พอใจ ผูกอาฆาตว่า ผู้นี้ได้ ก่อประโยชน์แก่เราผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่พอใจ ผูกอาฆาตว่า ผู้นี้กำลังก่อ ประโยชน์แก่เราผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่พอใจ ผูกอาฆาตว่า ผู้นี้ก่อประโยชน์ แก่เราผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่พอใจ ภิกษุนั้นอาฆาต ปองร้าย ขุ่นเคือง อัน ความโกรธครอบงำ เพราะอาฆาตวัตถุ ๙ อย่างนี้ ย่อมแสดงอธรรมว่าธรรม แสดงธรรมว่าอธรรม ... แสดงอาบัติชั่วหยาบว่าอาบัติไม่ชั่วหยาบ แสดง อาบัติไม่ชั่วหยาบว่าอาบัติชั่วหยาบ ภิกษุผู้ถึงโทสาคติเพราะวัตถุ ๑๘ อย่างนี้ ย่อมปฏิบัติเพื่อความไม่เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่อความไม่เป็นสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่อความพินาศแก่ชนหมู่มาก เพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและ มนุษย์ ภิกษุผู้ถึงโทสาคติเพราะวัตถุ ๑๘ อย่างนี้ ย่อมบริหารตนให้ถูกขุด ถูกกำจัด เป็นผู้ประกอบด้วยโทษ อันวิญญูชนติเตียน และย่อมประสบบาป มิใช่บุญมาก ภิกษุเมื่อถึงโทสาคติ ย่อมถึงอย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 709

ว่าด้วยไม่ถึงโมหาคติ

[๑,๑๐๐] คำว่า ไม่พึงถึงโมหาคติ นั้น ความว่า เมื่อถึงโมหาคติ ถึงอย่างไร ภิกษุเป็นผู้กำหนัด ย่อมถึงด้วยอำนาจความกำหนัด เป็นผู้ขัดเคือง ย่อมถึงด้วยอำนาจความขัดเคือง เป็นผู้หลง ย่อมถึงด้วยอำนาจความหลง เป็นผู้ ลูบคลำ ย่อมถึงด้วยอำนาจทิฏฐิ ภิกษุเป็นผู้หลงงมงาย ถูกโมหะครอบงำ ย่อมแสดงอธรรมว่าธรรม แสดงธรรมว่าอธรรม ... แสดงอาบัติชั่วหยาบว่า อาบัติไม่ชั่วหยาบ แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าอาบัติชั่วหยาบ ภิกษุผู้ถึงโมหาคติ เพราะวัตถุ ๑๘ อย่างนี้ ย่อมปฏิบัติเพื่อความไม่เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่อความ ไม่เป็นสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่อความพินาศแก่ชนหมู่มาก เพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ ภิกษุผู้ถึงโมหาคติเพราะวัตถุ ๑๘ อย่างนี้ ย่อม บริหารตนให้ถูกขุดถูกกำจัด เป็นผู้ประกอบด้วยโทษ อันวิญญูชนพึงติเตียน และย่อมประสบบาปมิใช่บุญมาก ภิกษุเมื่อถึงโมหาคติ ย่อมถึงอย่างนี้.

ว่าด้วยไม่ถึงภยาคติ

[๑,๑๐๑] คำว่า ไม่พึงถึงภยาคติ นั้น ความว่า เมื่อถึงภยาคต ถึงอย่างไร ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ คิดว่า ผู้นี้อาศัยความประพฤติ ไม่เรียบร้อย อาศัยความยึดถือ อาศัยพรรคพวกมีกำลัง เป็นผู้ร้ายกาจหยาบคาย จักทำอันตรายแก่ชีวิต หรือทำอันตรายแก่พรหมจรรย์ ดังนี้ จึงขลาด เพราะ กลัวต่อผู้นั้น ย่อมแสดงอธรรมว่าธรรม แสดงธรรมว่าอธรรม ... แสดงอาบัติ ชั่วหยาบว่าอาบัติไม่ชั่วหยาบ แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าอาบัติชั่วหยาบ ภิกษุ ผู้ถึงภยาคติเพราะวัตถุ ๑๘ อย่างนี้ ย่อมปฏิบัติเพื่อความไม่เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 710

เพื่อความไม่เป็นสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่อความพินาศแก่ชนหมู่มาก เพื่อความ ไม่เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ ภิกษุผู้ถึงภยาคติเพราะวัตถุ ๑๘ อย่างนี้ ย่อมบริหารตนให้ถูกขุดถูกกำจัด เป็นผู้ประกอบด้วยโทษ อันวิญญูชน พึงติเตียน และย่อมประสบบาปมิใช่บุญมาก ภิกษุเมื่อถึงภยาคติ ย่อมถึงอย่างนี้.

นิคมคาถา

[๑,๑๐๒] ผู้ใดประพฤติล่วงธรรม เพราะชอบ เพราะชัง เพราะกลัว เพราะหลง ยศของผู้นั้นย่อมเสื่อมเหมือนดวงจันทร์ใน วันข้างแรม ฉะนั้น.

ไม่ถึงฉันทาคติ

[๑,๑๐๓] ถามว่า อย่างไร ชื่อว่า ไม่ถึงฉันทาคติ

ตอบว่า ภิกษุแสดงอธรรมว่า อธรรม ชื่อว่า ไม่ถึงฉันทาคติ

ภิกษุแสดงธรรมว่า ธรรม ชื่อว่า ไม่ถึงฉันทาคติ

ภิกษุแสดงอวินัยว่า อวินัย ชื่อว่า ไม่ถึงฉันทาคติ

ภิกษุแสดงวินัยว่า วินัย ชื่อว่า ไม่ถึงฉันทาคติ

ภิกษุแสดงสิ่งที่พระตถาคตไม่ได้ตรัสภาษิตว่า พระตถาคตไม่ได้ตรัส ภาษิต ชื่อว่า ไม่ถึงฉันทาคติ

ภิกษุแสดงสิ่งที่พระตถาคตตรัสภาษิตว่า พระตถาคถตรัสภาษิต ชื่อว่า ไม่ถึงฉันทาคติ

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 711

ภิกษุแสดงสิ่งที่พระตถาคตไม่ได้ทรงประพฤติมาว่า พระตถาคตไม่ได้ ทรงประพฤติมา ชื่อว่า ไม่ถึงฉันทาคติ

ภิกษุแสดงสิ่งที่พระตถาคตประพฤติมาว่า พระตถาคตประพฤติมา ชื่อว่า ไม่ถึงฉันทาคติ

ภิกษุแสดงสิ่งที่พระตถาคตไม่ได้ทรงบัญญัติว่า พระตถาคตไม่ได้ทรง บัญญัติ ชื่อว่า ไม่ถึงฉันทาคติ

ภิกษุแสดงสิ่งที่พระตถาคตทรงบัญญัติว่า พระตถาคตทรงบัญญัติ ชื่อว่า ไม่ถึงฉันทาคติ

ภิกษุแสดงอนาบัติว่า อนาบัติ ชื่อว่า ไม่ถึงฉันทาคติ

ภิกษุแสดงอาบัติว่า อาบัติ ชื่อว่า ไม่ถึงฉันทาคติ

ภิกษุแสดงอาบัติเบาว่า อาบัติเบา ชื่อว่า ไม่ถึงฉันทาคติ

ภิกษุแสดงอาบัติหนักว่า อาบัติหนัก ชื่อว่า ไม่ถึงฉันทาคติ

ภิกษุแสดงอาบัติมีส่วนเหลือว่า อาบัติมีส่วนเหลือ ชื่อว่า ไม่ถึงฉันทาคติ

ภิกษุแสดงอาบัติไม่มีส่วนเหลือว่า อาบัติไม่มีส่วนเหลือ ชื่อว่า ไม่ถึง ฉันทาคติ

ภิกษุแสดงอาบัติชั่วหยาบว่า อาบัติชั่วหยาบ ชื่อว่า ไม่ถึงฉันทาคติ

ภิกษุแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า อาบัติไม่ชั่วหยาบ ชื่อว่า ไม่ถึงฉันทาคติ อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่า ไม่ถึงฉันทาคติ.

ไม่ถึงโทสาคติ

[๑,๑๐๔] ถามว่า อย่างไร ชื่อว่า ไม่ถึงโทสาคติ

ตอบว่า ภิกษุแสดงอธรรมว่า อธรรม ชื่อว่า ไม่ถึงโทสาคติ

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 712

ภิกษุแสดงธรรมว่า ธรรม ชื่อว่า ไม่ถึงโทสาคติ ...

ภิกษุแสดงอาบัติชั่วหยาบว่า อาบัติชั่วหยาบ ชื่อว่า ไม่ถึงโทสาคติ

ภิกษุแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า อาบัติไม่ชั่วหยาบ ชื่อว่า ไม่ถึงโทสาคติ

อย่างนี้ชื่อว่าภิกษุ ไม่ถึงโทสาคติ.

ไม่ถึงโมหาคติ

[๑,๑๐๕] ถามว่า อย่างไร ชื่อว่า ไม่ถึงโมหาคติ

ตอบว่า ภิกษุแสดงอธรรมว่า อธรรม ชื่อว่า ไม่ถึงโมหาคติ

ภิกษุแสดงธรรมว่า ธรรม ชื่อว่า ไม่ถึงโมหาคติ ...

ภิกษุแสดงอาบัติชั่วหยาบว่า อาบัติชั่วหยาบ ชื่อว่า ไม่ถึงโมหาคติ

ภิกษุแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า อาบัติไม่ชั่วหยาบ ชื่อว่า ไม่ถึงโมหาคติ

อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่า ไม่ถึงโมหาคติ.

ไม่ถึงภยาคติ

[๑,๑๐๖] ถามว่า อย่างไร ชื่อว่า ไม่ถึงภยาคติ

ตอบว่า ภิกษุแสดงอธรรมว่า อธรรม ชื่อว่า ไม่ถึงภยาคติ

ภิกษุแสดงธรรมว่า ธรรม ชื่อว่า ไม่ถึงภยาคติ ...

ภิกษุแสดงอาบัติชั่วหยาบว่าอาบัติชั่วหยาบ ชื่อว่า ไม่ถึงภยาคติ

ภิกษุแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า อาบัติไม่ชั่วหยาบ ชื่อว่า ไม่ถึงภยาคติ

อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่า ไม่ถึงภยาคติ.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 713

นิคมคาถา

[๑,๑๐๗] ผู้ใดไม่ประพฤติล่วงธรรม เพราะชอบ เพราะชัง เพราะกลัว เพราะหลง ยศของผู้นั้นย่อมเต็มเปี่ยมเหมือนดวงจันทร์ ในวันข้างขึ้น ฉะนั้น.

ว่าด้วยให้เข้าใจ

[๑,๑๐๘] ถามว่า อย่างไร ชื่อว่า ให้เข้าใจในสถานะควรให้เข้าใจ

ตอบว่า ภิกษุแสดงอธรรมว่าอธรรม ชื่อว่า ให้เข้าใจในสถานะควร ให้เข้าใจ

ภิกษุแสดงธรรมว่า ธรรม ชื่อว่า ให้เข้าใจในสถานะควรให้เข้าใจ ...

ภิกษุแสดงอาบัติชั่วหยาบว่า อาบัติชั่วหยาบ ชื่อว่า ให้เข้าใจในสถานะ ควรให้เข้าใจ

ภิกษุแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า อาบัติไม่ชั่วหยาบ ชื่อว่า ให้เข้าใจ ในสถานะควรให้เข้าใจ

อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่า ให้เข้าใจในสถานะควรให้เข้าใจ.

ว่าด้วยพินิจ

[๑,๑๐๙] ถามว่า อย่างไร ชื่อว่า ย่อมพินิจในสถานะควรพินิจ

ตอบว่า ภิกษุแสดงอธรรมว่า อธรรม ชื่อว่า ย่อมพินิจในสถานะ ควรพินิจ

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 714

ภิกษุแสดงธรรมว่า ธรรม ชื่อว่า ย่อมพินิจในสถานะควรพินิจ ...

ภิกษุแสดงอาบัติชั่วหยาบว่า อาบัติชั่วหยาบ ชื่อว่า ย่อมพินิจใน สถานะควรพินิจ

ภิกษุแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า อาบัติไม่ชั่วหยาบ ชื่อว่า ย่อมพินิจ ในสถานะควรพินิจ

อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่า ย่อมพินิจในสถานะควรพินิจ.

ว่าด้วยเพ่งเล็ง

[๑,๑๑๐] ถามว่า อย่างไร ชื่อว่า ย่อมเพ่งเล็งในสถานะควรเพ่งเล็ง

ตอบว่า ภิกษุแสดงอธรรมว่า อธรรม ชื่อว่า ย่อมเพ่งเล็งในสถานะ ควรเพ่งเล็ง

ภิกษุแสดงธรรมว่า ธรรม ชื่อว่า ย่อมเพ่งเล็งในสถานะควรเพ่งเล็ง ...

ภิกษุแสดงอาบัติชั่วหยาบว่า อาบัติชั่วหยาบ ชื่อว่า ย่อมเพ่งเล็งใน สถานะควรเพ่งเล็ง

ภิกษุแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า อาบัติไม่ชั่วหยาบ ชื่อว่า ย่อมเพ่งเล็ง ในสถานะควรเพ่งเล็ง

อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่า ย่อมเพ่งเล็งในสถานะควรเพ่งเล็ง.

ว่าด้วยความเลื่อมใส

[๑,๑๑๑] ถามว่า อย่างไร ชื่อว่า เลื่อมใสในสถานะควรเลื่อมใส

ตอบว่า ภิกษุแสดงอธรรมว่า อธรรม ชื่อว่า ย่อมเลื่อมใสในสถานะ ควรเลื่อมใส

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 715

ภิกษุแสดงธรรมว่า ธรรม ชื่อว่า ย่อมเลื่อมใสในสถานะควรเลื่อมใส ...

ภิกษุแสดงอาบัติชั่วหยาบว่า อาบัติชั่วหยาบ ชื่อว่า ย่อมเลื่อมใสใน สถานะควรเลื่อมใส

ภิกษุแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า อาบัติไม่ชั่วหยาบ ชื่อว่า ย่อมเลื่อมใส ในสถานะควรเลื่อมใส

อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่า ย่อมเลื่อมใสในสถานะควรเลื่อมใส.

ว่าด้วยดูหมิ่นพรรคพวกอื่น

[๑,๑๑๒] ถามว่า อย่างไร ชื่อว่า ย่อมดูหมิ่นพรรคพวกอื่นด้วย เข้าใจว่า เราได้พรรคพวกแล้ว

ตอบว่า ภิกษุบางรูปในพระธรรนวินัยนี้ เป็นผู้ได้พรรคพวก ได้ บริวาร มีพรรคพวก มีญาติ คิดว่า ผู้นี้ไม่ได้พรรคพวก ไม่ได้บริวาร ไม่ มีพรรคพวก ไม่มีญาติ จึงดูหมิ่นภิกษุนั้น ย่อมแสดงอธรรมว่า ธรรม แสดงธรรมว่า อธรรม ... แสดงอาบัติชั่วหยาบว่า อาบัติไม่ชั่วหยาบ แสดง อาบัติไม่ชั่วหยาบว่า อาบัติชั่วหยาบ

อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่า ดูหมิ่นพรรคพวกอื่น ด้วยเข้าใจว่า เราได้พรรค พวกแล้ว.

ว่าด้วยดูหมิ่นภิกษุมีสุตะน้อย

[๑,๑๑๓] ถามว่า อย่างไร ชื่อว่า ดูหมิ่นท่านผู้มีสุตะน้อยด้วยเข้าใจ ว่า เรามีสุตะมาก

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 716

ตอบว่า ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีสุตะมาก ทรงจำสุตะ สั่งสมสุตะ ดูหมิ่นภิกษุนั้นว่า ท่านผู้นี้มีสุตะน้อย มีอาคมน้อย ทรงจำไว้ได้ น้อย ย่อมแสดงอธรรมว่า ธรรม แสดงธรรมว่า อธรรม ... แสดงอาบัติ ชั่วหยาบว่า อาบัติไม่ชั่วหยาบ แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า อาบัติชั่วหยาบ

อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าดูหมิ่น ภิกษุมีสุตะน้อย ด้วยเข้าใจว่า เรามีสุตะ มาก.

ว่าด้วยดูหมิ่นภิกษุผู้อ่อนกว่า

[๑,๑๑๘] ถามว่า อย่างไร ชื่อว่า ดูหมิ่นภิกษุผู้อ่อนกว่า ด้วยเข้า ใจว่า เราเป็นผู้แก่กว่า

ตอบว่า ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ เป็นเถระ รู้ราตรีบวชนาน ดูหมิ่นภิกษุนั้นว่า ท่านผู้นี้เป็นผู้อ่อนกว่า ไม่มีชื่อเสียง มีสุตะน้อย ไม่รู้ พระนิพพานอันปัจจัยอะไรทำไม่ได้ ถ้อยคำของผู้นี้จักทำอะไรไม่ได้ ย่อมแสดง อธรรมว่า ธรรม แสดงธรรมว่า อธรรม ... แสดงอาบัติชั่วหยาบว่า อาบัติ ไม่ชั่วหยาบ แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า อาบัติชั่วหยาบ

อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่า ดูหมิ่นภิกษุผู้อ่อนกว่าด้วยเข้าใจว่า เราเป็นผู้ แก่กว่า.

ว่าด้วยไม่พูดเรื่องที่ยังไม่มาถึง

[๑,๑๑๕] คำว่า ไม่พูดเรื่องที่ยังไม่มาถึง นั้น คือ ไม่เก็บเอา คำพูดที่ไม่เข้าประเด็น

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 717

คำว่า ไม่พึงให้เรื่องที่มาถึงแล้วตกหล่น จากธรรม จากวินัย นั้น คือ สงฆ์ประชุมกัน เพื่อประโยชน์อันใด ไม่พึงยังประโยชน์อันนั้นให้ บกพร่องจากธรรม จากวินัย.

ว่าด้วยธรรมวินัยสัตถุศาสน์

[๑,๑๑๖] คำว่า ด้วยธรรมใด คือด้วยเรื่องจริง

คำว่า ด้วยวินัยใด คือ โจทก์แล้วให้จำเลยให้การ

คำว่า ด้วยสัตถุศาสน์ใด คือ ด้วยญัตติสัมปทา ด้วยอนุสาวนสัมปทา

ข้อปฏิบัติของภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์

พากย์ว่า อธิกรณ์นั้นย่อมระงับด้วยธรรมใด ด้วยวินัยใด ด้วย สัตถุศาสน์ใด พึงให้อธิกรณ์นั้นระงับด้วยอย่างนั้น มีใจความว่า อน ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ พึงถามโจทก์ว่า ผู้มีอายุ ข้อที่ท่านงดปวารณาแก่ภิกษุ รูปนี้นั้น ท่านงดเพราะเรื่องอะไร ท่านงดเพราะศีลวิบัติ งดเพราะอาจารวิบัติ งดเพราะทิฏฐิวิบัติ หรือ

ถ้าโจทก์ตอบอย่างนี้ว่า งดเพราะศีลวิบัติ งดเพราะอาจารวิบัติ หรือ ว่า งดเพราะทิฏฐิวิบัติ

ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ พึงซักโจทก์ต่อไปว่า ท่านรู้ศีลวิบัติ อาจารวิบัติทิฏฐิวิบัติ หรือ

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 718

ถ้าโจทก์ตอบอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ ข้าพเจ้ารู้ศีลวิบัติ รู้อาจารวิบัติ รู้ ทิฏฐิวิบัติ

ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ พึงชักโจทก์ต่อไปว่า ผู้มีอายุ ก็ศีลวิบัติเป็น อย่างไร อาจารวิบัติเป็นอย่างไร ทิฏฐิวิบัติเป็นอย่างไร

ถ้าโจทก์ตอบอย่างนี้ว่า ปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๑๓ นี้เป็นศีลวิบัติ ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต นี้เป็นอาจารวิบัติ มิจฉา ทิฏฐิ อันตคาหิกทิฏฐิ นี้เป็นทิฏฐิวิบัติ

ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ พึงซักโจทก์ต่อไปว่า ผู้มีอายุ ข้อที่ท่านงด ปวารณา แก่ภิกษุรูปนี้นั้น ท่านงดเพราะเรื่องที่ได้เห็น งดเพราะเรื่องที่ได้ยิน ได้ฟัง งดเพราะเรื่องที่รังเกียจ หรือ

ถ้าโจทก์ตอบอย่างนี้ว่า งดเพราะเรื่องที่ได้เห็น งดเพราะเรื่องที่ได้ยิน ได้ฟัง หรือว่า งดเพราะเรื่องที่รังเกียจ

ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ พึงซักโจทก์ต่อไปว่า ผู้มีอายุ ข้อที่ท่านงด ปวารณา แก่ภิกษุรูปนี้ เพราะเรื่องที่ได้เห็นนั้น ท่านเห็นเรื่องอะไร เห็นว่า อย่างไร เห็นเมื่อไร เห็นที่ไหน ท่านเห็นภิกษุรูปนี้ ต้องอาบัติปาราชิก หรือ ท่านเห็นภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฎิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต หรือ อนึ่ง ท่านอยู่ที่ไหน และภิกษุรูปนี้อยู่ที่ไหน ท่าน ทำอะไรอยู่ ภิกษุรูปนี้ทำอะไรอยู่

ถ้าโจทก์ตอบอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ ข้าพเจ้าไม่ได้งดปวารณา แก่ภิกษุ รูปนี้ เพราะเรื่องที่ได้เห็น ก็แต่ว่า ข้าพเจ้างดปวารณา เพราะเรื่องที่ได้ยิน ได้ฟัง

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 719

ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ พึงซักโจทก์ต่อไปว่า ผู้มีอายุ ข้อที่ท่านงด ปวารณา แก่ภิกษุรูปนี้ เพราะเรื่องที่ได้ยินได้ฟังนั้น ท่านได้ยินได้ฟังอะไร ได้ยินได้ฟังว่าอย่างไร ได้ยินได้ฟังเมื่อไร ได้ยินได้ฟังที่ไหน ท่านได้ยินได้ ฟังว่า ภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติปาราชิก หรือท่านได้ยินได้ฟังว่า ภิกษุรูปนี้ต้อง อาบัติสังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต หรือ ท่านได้ยินได้ฟังต่อภิกษุ หรือ ได้ยินได้ฟังต่อภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา ราชมหาอำมาตย์ เดียรถีย์ สาวกของ เดียรถีย์ หรือ

ถ้าโจทก์ตอบอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ ข้าพเจ้าไม่ได้งดปวารณา แก่ภิกษุ รูปนี้ เพราะเรื่องที่ได้ยินได้ฟัง ก็แต่ว่า ข้าพเจ้างดปวารณา เพราะเรื่องที่ รังเกียจ

ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ พึงซักโจทก์ต่อไปว่า ผู้มีอายุ ข้อที่ท่านงด ปวารณาแก่ภิกษุรูปนี้ เพราะเรื่องที่รังเกียจนั้น ท่านรังเกียจอะไร รังเกียจว่า อย่างไร รังเกียจเมื่อไร รังเกียจที่ไหน ท่านรังเกียจว่า ภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติ ปาราชิก หรือ ท่านรังเกียจว่า ภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต หรือ ท่านได้ยินได้ฟังต่อภิกษุแล้ว รังเกียจ หรือท่านได้ยินได้ฟังต่อภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา ราชมหาอำมาตย์ เดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์ จึงรังเกียจ หรือ.

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 720

เปรียบเทียบอธิกรณ์

[๑,๑๑๗] เรื่องที่เห็นสมด้วยเรื่องที่ เห็น เรื่องที่เห็นเทียบกันได้กับเรื่องที่เห็น แก่บุคคลนั้นไม่ยอมรับ เพราะอาศัยการเห็น บุคคลนั้นถูกรังเกียจโดยไม่มีมูล พึงปรับ อาบัติตามปฏิญญา พึงทำปวารณากับบุคคล นั้น

เรื่องที่ได้ยินได้ฟังสมด้วยเรื่องที่ได้ ยินได้ฟัง เรื่องที่ได้ยินได้ฟังเทียบกันได้กับ

เรื่องที่ได้ยินได้ฟัง แต่บุคคลนั้นไม่ยอมรับ เพราะอาศัยการได้ยินได้ฟัง บุคคลนั้นถูก รังเกียจโดยไม่มีมูล พึงปรับอาบัติตาม ปฏิญญา พึงทำปวารณาบุคคลนั้น เรื่อง ที่ได้ทราบสมด้วยเรื่องที่ได้ทราบ เรื่องที่ได้ทราบเทียบกันได้กับเรื่องที่ ได้ทราบ แต่บุคคลนั้นไม่ยอมรับ เพราะ อาศัยการได้ทราบ บุคคลนั้นถูกรังเกียจโดย ไม่มีมูล พึงปรับอาบัติตามปฏิญญา พึงทำ ปวารณากับบุคคลนั้นเถิด.

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 721

จำแนกการเห็น

[๑,๑๑๘] คำว่า ท่านเห็นอะไร นั้น ถามถึงอะไร

คำว่า ท่านเห็นว่าอย่างไร นั้น ถามถึงอะไร

คำว่า ท่านเห็นเมื่อไร นั้น ถามถึงอะไร

คำว่า ท่านเห็นที่ไหน นั้น ถามถึงอะไร.

[๑,๑๑๙] คำว่า ท่านเห็นอะไร นั้น ถามถึงวัตถุ ถามถึงวิบัติ ถามถึงอาบัติ ถามถึงอัธยาจาร

ข้อว่า ถามถึงวัตถุ นั้น คือ ถามถึงวัตถุปาราชิก ๘ ถามถึงวัตถุ สังฆาทิเสส ๒๓ ถามถึงวัตถุอนิยต ๒ ถามถึงวัตถุนิสัคคิยะ ๔๒ ถามถึงวัตถุ ปาจิตตีย์ ๑๘๘ ถามถึงวัตถุปาฏิเทสนียะ ๑๒ ถามถึงวัตถุทุกกฏทั้งหลาย ถาม ถึงวัตถุทุพภาสิตทั้งหลาย

ข้อว่า ถามถึงวิบัติ นั้น คือ ถามถึงศีลวิบัติ ถามถึงอาจารวิบัติ ถามถึงทิฏฐิวิบัติ ถามถึงอาชีววิบัติ

ข้อว่า ถามถึงอาบัติ นั้น คือ ถามถึงอาบัติปาราชิก ถามถึงอาบัติ สังฆาทิเสส ถามถึงอาบัติถุลลัจจัย ถามถึงอาบัติปาจิตตีย์ ถามถึงอาบัติปาฏิ- เทสนียะ ถามถึงอาบัติทุกกฏ ถามถึงอาบัติทุพภาสิต

ข้อว่า ถามถึงอัธยาจาร นั้น คือ ถามถึงการร่วมกันเป็นคู่ๆ.

[๑,๑๒๐] คำว่า ท่านเห็นว่าอย่างไร นั้น ได้แก่ถามถึงเพศ ถาม ถึงอิริยาบถ ถานถึงอาการ ถามถึงประการอันแปลก

ข้อว่า ถามถึงเพศ นั้น หมายถึงว่า สูงหรือต่ำ ดำหรือขาว

ข้อว่า ถามถึงอิริยาบถ นั้น หมายถึงว่า เดินหรือยืน นั่งหรือนอน

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 722

ข้อว่า ถามถึงอาการ นั้น หมายถึงเพศคฤหัสถ์ เพศเดียรถีย์หรือ เพศบรรพชิต

ข้อว่า ถามถึงประการอันแปลก นั้น หมายถึงเดินไปหรือยืนอยู่ นั่งหรือนอน.

[๑,๑๒๑] คำว่า ท่านเห็นเมื่อไร นั้น คือ ถามถึงกาล ถามถึง สมัย ถามถึงวัน ถามถึงฤดู

ข้อว่า ถามถึงกาล นั้น หมายถึงเวลาเช้า เวลาเที่ยง หรือเวลา เย็น

ข้อว่า ถามถึงสมัย นั้น หมายถึงสมัยเช้า สมัยเที่ยง หรือสมัย เย็น

ข้อว่า ถามถึงวัน นั้น หมายถึงก่อนอาหาร หรือหลังอาหาร กลางคืนหรือกลางวัน ข้างแรมหรือข้างขึ้น

ข้อว่า ถามถึงฤดู นั้น หมายถึงฤดูหนาว ฤดูร้อน หรือฤดูฝน.

[๑,๑๒๒] คำว่า ท่านเห็นที่ไหน นั้น คือ ถามถึงสถานที่ ถาม ถึงพื้นที่ ถามถึงโอกาส ถามถึงประเทศ

ข้อว่า ถามถึงสถานที่ นั้น หมายถึงพื้นที่หรือแผ่นดิน ธรณี หรือทางเดิน

ข้อว่า ถามถึงพื้นที่ นั้น หมายถึงแผ่นดินหรือภูเขา หินหรือ ปราสาท

ข้อว่า ถามถึงโอกาส นั้น หมายถึงในโอกาสด้านตะวันออก หรือ โอกาสด้านตะวันตก โอกาสด้านเหนือ หรือโอกาสด้านใต้

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 723

ข้อว่า ถามถึงประเทศ นั้น หมายถึงในประเทศด้านตะวันออก หรือ ประเทศด้านตะวันตก ในประเทศด้านเหนือ หรือประเทศด้านใต้.

มหาสงคราม จบ

หัวข้อประจำเรื่อง

[๑,๑๒๓] วัตถุ นิทาน อาการ คำต้น คำหลัง สิ่งที่ทำแล้ว สิ่งที่ยังไม่ได้ทำ กรรม อธิกรณ์ และสมถะ และลำเอียง เพราะชอบ เพราะชัง เพราะหลง และเพราะกลัว ให้ เข้าใจและพินิจ เพ่งเล็ง เลื่อมใส มีพรรคพวก มีสุตะ แก่กว่า เรื่องที่ยังไม่มาถึง เรื่องที่มาถึงแล้ว โดยธรรม โดยวินัย และ แม้โดยสัตถุศาสน์ ชื่อว่า มหาสงคราม แล.

หัวข้อประจำเรื่อง จบ

มหาสังคาม วัณณา

วินิจฉัยในมหาสังคาม พึงทราบดังนี้:-

หลายบทว่า วตฺถุโต วา วตฺถุํ สงฺกมติ มีความว่า โจทก์- กล่าวว่า วัตถุแห่งปฐมปาราชิก อันข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว หรือว่าวัตถุแห่งปฐม

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 724

ปาราชิก อันข้าพเจ้าได้ฟังแล้ว เมื่อถูกถาม คือ ถูกคาดคั้นเข้าอีก กลับ กล่าวว่า วัตถุแห่งปฐมปาราชิก ข้าพเจ้าไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน วัตถุแห่งทุติยปาราชิก อันข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว หรือว่า วัตถุแห่งทุติยปาราชิก อันข้าพเจ้า ได้ยินแล้ว. พึงทราบการย้ายวัตถุที่เหลือ การย้ายวิบัติจากวิบัติ และการย้าย อาบัติจากอาบัติ โดยนัยนี้แล.

ฝ่ายภิกษุใดกล่าวว่า ข้าพเจ้าหาได้เห็นไม่ หาได้ยินไม่ดั่งนี้แล้ว ภาย หลังกล่าวว่า ข้อนั้น แม้ข้าพเจ้าก็ได้เห็น หรือว่า ข้อนั้น แม้ข้าพเจ้าก็ได้ ยิน กล่าวว่า ข้าพเจ้าได้เห็น หรือว่าข้าพเจ้าได้ยิน ดังนี้แล้ว ภายหลังกลับ กล่าวว่า ข้าพเจ้าหาได้เห็นไม่ หาได้ยินไม่ ภิกษุนั้น พึงทราบว่า ปฏิเสธ แล้วกลับปฏิญญา ปฏิญญาแล้วกลับปฏิเสธ. ภิกษุนี้แล ชื่อว่าสับเรื่องอื่นด้วย เรื่องอื่น.

สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท ด้วยอำนาจสีมีสีเขียวเป็นต้น และความเป็นผู้ไม่มี โรค ท่านกล่าวว่า วณฺโณ อรณฺโณ. สัญจริตสิกขาบท ท่านกล่าวว่า วณฺณมนุปฺปาทนํ (ยังการขอให้เกิดตามขึ้น) ๓ สิกขาบทมีกายสังสัคค สิกขาบทเป็นต้น ท่านกล่าวตามรูปเดิมนั่นเอง. ๕ สิกขาบทนี้ พึงทราบว่า เป็นบุพภาค คือ บุพประโยคของเมถุนธรรม ด้ายประการฉะนี้.

อปโลกนกรรม ๔ นั้น ได้แก่ กรรมเป็นวรรค * โดยธรรมเป็นต้น. แม้ในกรรมที่เหลือ ก็นัยนี้แล.

หมวด ๔ สี่หมวด จงรวมเป็น ๑๖ ด้วยประการฉะนี้.

หลายบทว่า พหุชนอหิตาย ปฏิปนฺโน โหติ มีความว่า จริง อยู่ เมื่ออธิกรณ์อันพระวินัยธร วินิจฉัยด้วยฉันทาคติอย่างนั้น สงฆ์ในวัดนั้น


(๑) ตามฉบับในลาน เป็น วคฺคาทีนิ.

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 725

ย่อมแตกกันเป็น ๒ ฝ่าย. แม้ภิกษุณีทั้งหลายผู้อาศัยโอวาทเป็นอยู่ ก็ย่อมเป็น ๒ ฝ่าย. พวกอุบาสกก็ดี อุบาสิกาก็ดี เด็กชายก็ดี เด็กหญิงก็ดีย่อมเป็น ๒ ฝ่าย แม้เหล่าอารักขเทวดาของชนเหล่านั้น ก็ย่อมแตกกันเป็น ๒ ฝ่ายเหมือนกัน. ต่อแต่นั้นเทวดาทั้งหลาย นับภุมมเทวดาเป็นต้น จนถึงอกนิฏฐพรหม ย่อม แยกเป็น ๒ ฝ่ายด้วย.

ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ภิกษุผู้ลำเอียงด้วยฉันทาคติเป็นต้น ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อไม่เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก ฯลฯ เป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อ ไม่เป็นประโยชน์ เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ แก่ชนเป็นอันมาก ทั้งเทวดาและ มนุษย์ทั้งหลาย.

บทว่า วิสมนิสฺสิโต ได้แก่ ผู้อาศัยกายกรรมเป็นต้น ซึ่งไม่ เรียบร้อย.

บทว่า คหณนิสฺสิโต ได้แก่ ผู้อาศัยความถือ กล่าวคือ มิจฉาทิฏฐิ และอันตคาหิกทิฏฐิ.

บทว่า พลวนิสฺสิโต ได้แก่ ผู้อาศัยภิกษุผู้มีชื่อเสียง ซึ่งมีกำลัง.

สองบทว่า ตสฺส อวชานนฺโต ได้แก่ ดูหมิ่นถ้อยคำของภิกษุนั้น. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ตสฺส นั้น เป็นฉัฏฐีวิภัตติ ใช้ในอรรถแห่งทุติยาวิ- ภัตติ. อธิบายว่า ดูหมิ่นภิกษุนั้น.

สองบทว่า ยํ อตฺถาย มีความว่า เพื่อประโยชน์ใด.

สองบทว่า ตํ อตฺถํ มีความว่า ประโยชน์นั้น.

คำที่เหลือในที่ทั้งปวง ตื้นทั้งนั้น. ฉะนี้แล.

มหาสังคาม วัณณนา จบ