พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

เอกุตตริกะ และ เอกุตตริกวัณณนา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  13 มี.ค. 2565
หมายเลข  42860
อ่าน  623

[เล่มที่ 10] พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘

พระวินัยปิฎก

เล่ม ๘

ปริวาร

เอกุตตริกะ 450

หมวด ๑ ว่าด้วยธรรมก่ออาบัติเป็นต้น 941/450

หัวข้อประจําหมวด 942/451

หมวด ๒ ว่าด้วยสัญญาวิโมกข์เป็นต้น 943/442

ว่าด้วยอุโบสถเป็นต้น 944/453

ว่าด้วยปาราชิกเป็นต้น 945/454

ว่าด้วยบุคคล 946/454

ว่าด้วยคัดค้านเป็นต้น 947/455

ว่าด้วยความกังวลเป็นต้น 948/456

ว่าด้วยต้องอาบัติด้วยอาการ ๒ อย่างเป็นต้น 949/457

ว่าด้วยไม่เอ้อเฟื ้อเปื ็นต้น 950/457

ว่าด้วยบุคคลพาลและบัณฑิต 951/458

ว่าด้วยอาสวะ 952/459

หัวข้อประจําหมวด 953/460

หมวด ๓ ว่าด้วยพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระชนม์อยู่ฯ 954/462

ว่าด้วยวัตถุแห่งการโจทเป็นต้น 955/463

ว่าด้วยภิกษุโง่และฉลาดเป็นต้น 956/464

ว่าด้วยการปิดเป็นต้น 957/465

ว่าด้วยอาพาธเป็นต้น 958/466

ว่าด้วยงดปาฏิโมกข์เป็นต้น 959/466

ว่าด้วยต้องอาบัติภายในเป็นต้น 960/466

ว่าด้วยต้องอาบัติด้วยอาการ ๒ อย่างเป็นต้น 961/467

ว่าด้วยข้อที่สงฆ์จํานงเป็นต้น 962/467

ว่าด้วยอุโบสถเป็นต้น 963/472

หัวข้อประจําหมวด 964/474

หมวด ๔ ว่าด้วยต้องและออกจากอาบัติเป็นต้น 965/475

ว่าด้วยอนริยโวหารเป็นต้น 966/476

ว่าด้วยต้องและออกจากอาบัติเป็นต้น 967/477

ว่าด้วยต้องอาบัติเป็นต้น 968/478

ว่าด้วยพระอาคันตุกะเป็นต้น 969/480

ว่าด้วยสิกขาบทมีวัตถุต่างกันเป็นต้น 970/480

ว่าด้วยพระอุปัชฌาย์ต้องอาบัติเป็นตัน 971/481

ว่าด้วยปัจจัยแห่งการขาดพรรษาเป็นต้น 972/482

ว่าด้วยถือเอาทรัพย์เป็นต้น 973/482

ว่าด้วยต้องอาบัติในกาลเป็นต้น 974/482

ว่าด้วยการโจทเป็นต้น 975/484

ว่าด้วยภิกษุอาพาธต้องอาบัติเป็นต้น 976/485

ว่าด้วยงดปาฏิโมกข์ 977/485

หัวข้อประจําหมวด 978/486

หมวด ๕ ว่าด้วยอาบัติเป็นต้น 979/487

ว่าด้วยองคคุณของพระวินัยธร 980/490

ว่าด้วยภิกษุอยู่ป่าเป็นต้น 981/493

ว่าด้วยองค์ของภิกษุผู้ต้องถือนิสัย 982/494

โทษในกรรมไม่น่าเลื่อมใสเป็นต้น 983/496

ว่าด้วยพืชและผลไม้ 984/498

ว่าด้วยวิสุทธิ๕ 985/498

ว่าด้วยอานิสงส์การทรงวินัยเป็นต้น 986/498

หัวข้อประจําหมวด 987/499

หมวด ๖ ว่าด้วยความไม่เคารพเป็นต้น 988/501

ว่าด้วยองค์ ๖ แห่งพระอุปัชฌาย์ 989/501

ว่าด้วยงดปาติโมกข์ 990/504

หัวข้อประจําหมวด 991/504

หมวด ๗ ว่าด้วยอาบัติเป็นต้น 992/505

ว่าด้วยองค์ของพระวินัยธร 993/505

ว่าด้วยอสัทธรรมและสัทธรรม 994/509

หัวข้อประจําหมวด 995/509

หมวด ๘ ว่าด้วยอานิสงส์เป็นต้น 996/510

หัวข้อประจําหมวด 997/511

หมวด ๙ ว่าด้วยอาฆาตวัตถุเป็นต้น 998/511

หัวข้อประจําหมวด 999/512

หมวด ๑๐ ว่าด้วยอาฆาตวัตถุเป็นต้น 1000/512

ว่าด้วยองค์ของพระวินัยธร 1001/513

ว่าด้วยอุพพาหิกาเป็นต้น 1002/515

หัวข้อประจําหมวด 1003/516

หมวด ๑๑ ว่าด้วยบุคคลเป็นต้น 1004/516

หัวข้อประจําหมวด 1005/517

หัวข้อลําดับหมวด 1006/518

เอกุตตริกวัณณนา 518

พรรณนาหมวด ๑ 518

พรรณนาหมวด ๒ 523

พรรณนาหมวด ๓ 530

ว่าด้วยการปิด ๓ อย่างเป็นต้น 534

ว่าด้วยอาบัติที่ผู้อาพาธต้องเป็นต้น 535

ว่าด้วยอาบัติที่ต้องในท่ามกลางสงฆ์เป็นต้น 536

ว่าด้วยองค์เป็นเหตุลงโทษและเพิ่มโทษ 537

ว่าด้วยชาวอบาย ๓ พวกเป็นต้น 540

พรรณนาหมวด ๔ ว่าด้วยประเภทอาบัติ 540

วินิจฉัยในกัมมจตุกกะ 543

วินิจฉัยในปริกขารจตุกกะ 543

วินิจฉัยในสัมมุขจตุกกะ 543

ว่าด้วยเพศกลับ 544

วินิจฉัยในสหปฏิลาภจตุกกะ 544

วินิจฉัยในอาคันตุกาทิจตุกกะ 545

วินิจฉัยในวัตถุนานัตตตาทิจตุกกะ 546

วินิจฉัยในวัตถุสภาคาทิจตุกกะ 547

วินิจฉัยในอุปัชฌายจตุกกะ 548

วินิจฉัยในอาทิยันตจตุกกะเป็นอาทิ 548

วินิจฉัยในกาลจตุกกะเป็นอาทิ 549

วินิจฉัยในอันโตอาทิจตุกกะ 550

วินิจฉัยในปุพพกิจจาทิจตุกกะ 551

วินิจฉัยในคิลานจตุกกะ 552

พรรณนาหมวด ๕ 553

ว่าด้วยผ้าบังสุกุลเป็นอาทิ 554

อานิสงส์แห่งการกวาด 556

ว่าด้วยองค์ของพระวินัย 560

ว่าด้วยภิกษุอยู่ป่า 562

ว่าด้วยองค์ของภิกษุผู้ต้องถือนิสัย 562

วินิจฉัยในอปาสาทิกปัญจกะ 563

พรรณนาหมวด ๖ 563

พรรณนาหมวด ๗ 566

พรรณนาหมวด ๘ 567

พรรณนาหมวด ๙ 570

พรรณนาหมวด ๑๐ 572

พรรณนาหมวด ๑๑ 575


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 10]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 450

เอกุตตริกะ

หมวด ๑

ว่าด้วยธรรมก่ออาบัติเป็นต้น

[๙๔๑] พึงรู้ธรรมที่ก่ออาบัติ พึงรู้ธรรมที่ไม่ก่ออาบัติ พึงรู้อาบัติ พึงรู้อนาบัติ พึงรู้อาบัติเบา พึงรู้อาบัติหนัก พึงรู้อาบัติมีส่วนเหลือ พึงรู้ อาบัติหาส่วนเหลือมิได้ พึงรู้อาบัติชั่วหยาบ พึงรู้อาบัติไม่ชั่วหยาบ พึงรู้อาบัติ ที่ทำคืนได้ พึงรู้อาบัติที่ทำคืนไม่ได้ พึงรู้อาบัติที่เป็นเทสนาคามินี พึงรู้อาบัติ ที่ไม่เป็นเทสนาคามินี พึงรู้อาบัติที่ทำอันตราย พึงรู้อาบัติที่ไม่ทำอันตราย พึงรู้อาบัติที่ทรงบัญญัติพร้อมทั้งโทษ พึงรู้อาบัติที่ทรงบัญญัติไม่มีโทษ พึงรู้ อาบัติที่เกิดแต่การทำ พึงรู้อาบัติที่เกิดแต่การไม่ทำ พึงรู้อาบัติที่เกิดแต่การทำ และไม่ทำ พึงรู้อาบัติก่อน พึงรู้อาบัติหลัง พึงรู้อาบัติระหว่างอาบัติก่อน พึงรู้ อาบัติระหว่างแห่งอาบัติหลัง พึงรู้อาบัตินับเข้าในจำนวนที่แสดงแล้ว พึงรู้อาบัติ ไม่นับเข้าในจำนวนที่แสดงแล้ว พึงรู้บัญญัติ พึงรู้อนุบัญญัติ พึงรู้อนุปันนบัญญัติ พึงรู้สัพพัตถบัญญัติ พึงรู้ปเทสบัญญัติ พึงรู้สาธารณบัญญัติ พึงรู้ อสาธารณบัญญัติ พึงรู้เอกโตบัญญัติ พึงรู้อุภโตบัญญัติ พึงรู้อาบัติมีโทษหนัก พึงรู้อาบัติมีโทษเบา พึงรู้อาบัติที่เกี่ยวกับคฤหัสถ์ พึงรู้อาบัติที่ไม่เกี่ยวกับ คฤหัสถ์ พึงรู้อาบัติที่แน่นอน พึงรู้อาบัติที่ไม่แน่นอน พึงรู้บุคคลผู้ทำที่แรก พึงรู้บุคคลไม่ทำทีแรก พึงรู้บุคคลผู้ต้องอาบัติไม่เป็นนิจ พึงรู้บุคคลผู้ต้อง อาบัติเนืองๆ พึงรู้บุคคลผู้เป็นโจทก์ พึงรู้บุคคลผู้เป็นจำเลย พึงรู้บุคคลผู้

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 451

ฟ้องไม่เป็นธรรม พึงรู้บุคคลผู้ถูกฟ้องไม่เป็นธรรม พึงรู้บุคคลผู้ฟ้องเป็นธรรม พึงรู้บุคคลผู้ถูกฟ้องเป็นธรรม พึงรู้บุคคลผู้แน่นอน พึงรู้บุคคลผู้ไม่แน่นอน พึงรู้บุคคลผู้ควรต้องอาบัติ พึงรู้บุคคลผู้ไม่ควรต้องอาบัติ พึงรู้บุคคลผู้ถูกสงฆ์ ยกวัตร พึงรู้บุคคลผู้ไม่ถูกสงฆ์ยกวัตร พึงรู้บุคคลผู้ถูกนาสนะ พึงรู้บุคคลผู้ ถูกนาสนะ พึงรู้บุคคลผู้มีสังวาสเสมอกัน พึงรู้บุคคลผู้มีสังวาสต่างกัน พึงรู้ การงดปาติโมกข์ แล.

หมวด ๑ จบ

หัวข้อประจำหมวด

[๙๔๒] ก่ออาบัติและไม่ก่ออาบัติ อาบัติและอนาบัติ อาบัติเบาและ อาบัติหนัก อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติหาส่วนเหลือมิได้ อาบัติชั่วหยาบและ ไม่ชั่วหยาบ อาบัติทำคืนได้และทำคืนไม่ได้ อาบัติแสดงได้และแสดงไม่ได้ อาบัติทำอันตรายและไม่ทำอันตราย อาบัติมีโทษและไม่มีโทษ อาบัติเกิดแต่ การทำและไม่ทำ อาบัติเกิดแต่การทำด้วยการไม่ได้ทำด้วย อาบัติที่ต้องก่อน และต้องหลังอันตราบัติ อาบัติที่นับเข้าในจำนวนและไม่นับเข้าในจำนวน บัญญัติและอนุบัญญัติ อนุปันนบัญญัติ สัพพัตถบัญญัติและปเทสบัญญัติ สาธารณบัญญัติและอสาธารณบัญญัติ เอกโตบัญญัติและอุภโตบัญญัติ อาบัติ ชั่วหยาบและไม่ชั่วหยาบ อาบัติเกี่ยวกับคฤหัสถ์และไม่เกี่ยวกับคฤหัสถ์ อาบัติ แน่นอนและไม่แน่นอน บุคคลผู้ทำทีแรกและไม่ได้ทำทีแรก ผู้ต้องอาบัติไม่ เป็นนิจ ผู้ต้องอาบัติเนืองๆ โจทก์และจำเลย ผู้ฟ้องและผู้ถูกฟ้องเป็นธรรม ผู้แน่นอนและแน่ไม่นอน ผู้ควรต้องอาบัติและไม่ควรต้องอาบัติ ผู้ถูกยกวัตร

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 452

และไม่ถูกยกวัตร ผู้ถูกนาสนะและไม่ถูกนาสนะ ผู้มีสังวาสเสมอกันและมีสังวาส ต่างกัน การงด หัวข้อดังกล่าวนี้จัดเป็นหมวด ๑.

หัวข้อประจำหมวด จบ

หมวด ๒

ว่าด้วยสัญญาวิโมกข์เป็นต้น

[๙๔๓] มีอยู่ อาบัติเป็นสัญญาวิโมกข์ มีอยู่ อาบัติมิใช่สัญญาวิโมกข์ มีอยู่ อาบัติของภิกษุผู้ได้สมาบัติ มีอยู่ อาบัติของภิกษุผู้ไม่ได้สมาบัติ มีอยู่ อาบัติเกี่ยวด้วยสัทธรรม มีอยู่ อาบัติเกี่ยวด้วยบริขารของตน มีอยู่ อาบัติ เกี่ยวด้วยบริขารของผู้อื่น มีอยู่ อาบัติเกี่ยวด้วยบุคคล คือตนเอง มีอยู่ อาบัติเกี่ยวด้วยบุคคลอื่น มีอยู่ ภิกษุพูดจริงต้องอาบัติหนัก มีอยู่ ภิกษุพูด เท็จต้องอาบัติเบา มีอยู่ ภิกษุพูดเท็จต้องอาบัติหนัก มีอยู่ ภิกษุพูดจริงต้อง อาบัติเบา มีอยู่ อาบัติ ภิกษุอยู่บนแผ่นดินจงต้อง อยู่ในอากาศไม่ต้อง มีอยู่ อาบัติ ภิกษุอยู่ในอากาศจึงต้อง อยู่บนแผ่นดินไม่ต้อง มีอยู่ อาบัติภิกษุออก ไปจึงต้อง เข้าไปไม่ต้อง มีอยู่ อาบัติ ภิกษุเข้าไปจึงต้อง ออกไปไม่ต้อง มีอยู่ อาบัติ ภิกษุถือเอาจึงต้อง มีอยู่ อาบัติ ภิกษุไม่ถือเอาจึงต้อง มีอยู่ อาบัติ ภิกษุสมาทานจึงต้อง มีอยู่ อาบัติ ภิกษุไม่สมาทานจึงต้อง มีอยู่ อาบัติ ภิกษุทำจึงต้อง มีอยู่ อาบัติ ภิกษุไม่ทำจึงต้อง มีอยู่ อาบัติ ภิกษุ ให้จึงต้อง มีอยู่ อาบัติ ภิกษุไม่ให้จึงต้อง มีอยู่ อาบัติ ภิกษุรับจึงต้อง มีอยู่ อาบัติ ภิกษุไม่รับจึงต้อง มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องเพราะบริโภค มีอยู่

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 453

อาบัติ ภิกษุต้องเพราะไม่บริโภค มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องในกลางคืนไม่ต้อง ในกลางวัน มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องในกลางวัน ไม่ต้องในกลางคืน มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องเพราะอรุณขึ้น มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องไม่ใช่เพราะอรุณขึ้น มีอยู่ อาบัติภิกษุตัดจึงต้อง มีอยู่ อาบัติ ภิกษุไม่ตัดจึงต้อง มีอยู่ อาบัติ ภิกษุปิดจึงต้อง มีอยู่ อาบัติ ภิกษุไม่ปิดจึงต้อง มีอยู่ อาบัติ ภิกษุทรงไว้ จึงต้อง มีอยู่ อาบัติ ภิกษุไม่ทรงไว้จึงต้อง.

ว่าด้วยอุโบสถเป็นต้น

[๙๔๔] อุโบสถมี ๒ คืออุโบสถในวันสิบสี่ ๑ อุโบสถในวันสิบห้า ๑

ปวารณามี ๒ คือ ปวารณาในวันสิบสี่ ๑ ปวารณาในวันสิบห้า ๑

กรรมมี ๒ คือ อปโลกนกรรม ๑ ญัตติกรรม ๑ กรรมแม้อื่นอีกมี ๒ คือ ญัตติทุติยกรรม ๑ ญัตติจตุตถกรรม ๑

วัตถุแห่งกรรมมี ๒ คือวัตถุแห่งอปโลกนกรรม ๑ วัตถุแห่งญัตติ- กรรม ๑ วัตถุแห่งกรรมแม้อื่นอีกมี ๒ คือ วัตถุแห่งญัตติทุติยกรรม ๑ วัตถุ แห่งญัตติจตุตถกรรม ๑

โทษแห่งกรรมมี ๒ คือ โทษแห่งอปโลกนกรรม ๑ โทษแห่งญัตติ- กรรม ๑ โทษแห่งกรรมแม้อื่นอีกมี ๒ คือ โทษแห่งญัตติทุติยกรรม ๑ โทษ แห่งญัตติจตุตถกรรม ๑

สมบัติแห่งกรรมมี ๒ คือ สมบัติแห่งอปโลกนกรรม ๑ สมบัติแห่ง ญัตติกรรม ๑ สมบัติแห่งกรรมแม้อื่นอีกมี ๒ คือ สมบัติแห่งญัตติทุติยกรรม ๑ สมบัติแห่งญัตติจตุตถกรรม ๑

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 454

ภูมิของภิกษุนานาสังวาสมี ๒ คือ ตนเองทำตนให้มีสังวาสต่างกัน ๑ สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันยกภิกษุนั้นเสีย เพราะไม่เห็นอาบัติ เพราะไม่ทำคืนอาบัติ หรือเพราะไม่สละทิฏฐิ ๑

ภูมิของภิกษุสมานสังวาสมี ๒ คือ ตนเองทำตนให้มีสังวาสเสมอกัน ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันเรียกภิกษุนั้นผู้ถูกยกวัตร เพราะไม่เห็นอาบัติ เพราะไม่ ทำคืนอาบัติ หรือเพราะไม่สละทิฏฐิ เข้าหมู่ ๑.

ว่าด้วยปาราชิกเป็นต้น

[๙๔๕] ปาราชิกมี ๒ คือ ของภิกษุ ๑ ของภิกษุณี ๑

สังฆาทิเสสมี ๒ คือ ของภิกษุ ๑ ของภิกษุณี ๑

ถุลลัจจัยมี ๒ คือ ของภิกษุ ๑ ของภิกษุณี ๑

ปาจิตตีย์มี ๒ คือ ของภิกษุ ๑ ของภิกษุณี ๑

ปาฏิเทสนียะมี ๒ คือ ของภิกษุ ๑ ของภิกษุณี ๑

ทุกกฏมี ๒ คือ ของภิกษุ ๑ ของภิกษุณี ๑

ทุพภาสิตมี ๒ คือ ของภิกษุ ๑ ของภิกษุณี ๑

อาบัติของภิกษุมี ๗ ของภิกษุณีก็มี ๗

กองอาบัติของภิกษุมี ๗ ของภิกษุณีก็มี ๗

สงฆ์แตกกันด้วยอาการ ๒ คือ ด้วยกรรม ๑ ด้วย ให้จับสลาก ๑.

ว่าด้วยบุคคล

[๙๘๖] บุคคล ๒ พวก สงฆ์ไม่พึงอุปสมบท คือ ผู้มีกาลบกพร่อง ๑ ผู้มีอวัยวะบกพร่อง ๑

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 455

บุคคลแม้อื่นอีก ๒ พวก สงฆ์ไม่พึงอุปสมบท คือ ผู้มีวัตถุวิบัติ ๑ ผู้มีการกระทำเสียหาย ๑

บุคคลแม้อื่นอีก ๒ พวก สงฆ์ไม่พึงอุปสมบท คือ ผู้ไม่บริบูรณ์ ๑ ผู้บริบูรณ์ แต่ไม่อุปสมบท ๑

ไม่ควรอาศัยบุคคล ๒ พวกอยู่ คือ ผู้อลัชชี ๑ ผู้พาล ๑

ไม่ควรให้นิสัย แก่บุคคล ๒ พวก คือ ผู้อลัชชี ๑ ผู้ลัชชีแต่ไม่ขอ ๑

ควรให้นิสัย แก่บุคคล ๒ พวก คือ ผู้โง่ ๑ ผู้ลัชชีแต่ขอ ๑

บุคคล ๒ พวก ไม่ควรต้องอาบัติ คือ พระพุทธเจ้า ๑ พระปัจเจกพุทธเจ้า ๑

บุคคล ๒ พวก รวมต้องอาบัติ คือ ภิกษุ ๑ ภิกษุณี ๑

บุคคล ๒ พวก ไม่ควรแกล้งต้องอาบัติ คือ ภิกษุชั้นอริยบุคคล ๑ ภิกษุณีชั้นอริยบุคคล ๑

บุคคล ๒ พวก ควรแกล้งต้องอาบัติ คือ ภิกษุปุถุชน ๑ ภิกษุณี ปุถุชน ๑

บุคคล ๒ พวก ไม่ควรแกล้งประพฤติล่วงวัตถุเป็นไปกับด้วยโทษ คือ ภิกษุชั้นอริยบุคคล ๑ ภิกษุณีชั้นอริยบุคคล ๑

บุคคล ๒ พวก ควรแกล้งประพฤติล่วงวัตถุเป็นไปกับด้วยโทษ คือ ภิกษุปุถุชน ๑ ภิกษุณีปุถุชน ๑.

ว่าด้วยคัดค้านเป็นต้น

[๙๔๗] การคัดค้านมี ๒ คือ คัดค้านด้วยกาย ๑ คัดค้านด้วยวาจา ๑

การขับออกจากหมู่มี ๒ คือ มีอยู่ บุคคลยังไม่ถึงการขับออก ถ้าสงฆ์ ขับบุคคลนั้นออก บางคนเป็นอันขับออกดีแล้ว ๑ บางคนเป็นอันขับออกไม่ดี ๑

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 456

การเรียกเข้าหมู่มี ๒ คือ มีอยู่ บุคคลยังไม่ถึงการเรียกเข้าหมู่ ถ้า สงฆ์เรียกบุคคลนั้นเข้าหมู่ บางคนเป็นอันเรียกเข้าหมู่ดีแล้ว ๑ บางคนเป็นอัน เรียกเข้าหมู่ไม่ดี ๑

ปฏิญญามี ๒ คือ ปฏิญญาด้วยกาย ๑ ปฏิญญาด้วยวาจา ๑

การรับ มี ๒ คือ รับด้วยกาย ๑ รับด้วยของเนื่องด้วยกาย ๑

การห้ามมี ๒ คือ ห้ามด้วยกาย ๑ ห้ามด้วยวาจา ๑

การลบล้างมี ๒ คือ ลบล้างสิกขา ๑ ลบล้างโภคะ ๑

โจทมี ๒ คือ โจทด้วยกาย ๑ โจทด้วยวาจา ๑.

ว่าด้วยความกังวลเป็นต้น

[๙๔๘] กฐินมีปลิโพธ ๒ คือ ปลิโพธในอาวาส ๑ ปลิโพธในจีวร ๑

กฐินไม่มีปลิโพธ ๒ คือ ไม่มีปลิโพธในอาวาส ๑ ไม่มีปลิโพธในจีวร ๑

จีวรมี ๒ คือ คหบดีจีวร ๑ บังสุกุลจีวร ๑

บาตรมี ๒ คือ บาตรเหล็ก ๑ บาตรดิน ๑

เชิงบาตรมี ๒ คือ เชิงบาตรทำด้วยดีบุก ๑ เชิงบาตรทำด้วยตะกั่ว ๑

อธิษฐานบาตรมี ๒ คือ อธิษฐานด้วยกาย ๑ อธิษฐานด้วยวาจา ๑

อธิษฐานจีวรมี ๒ คือ อธิษฐานด้วยกาย ๑ อธิษฐานด้วยวาจา ๑

วิกัปมี ๒ คือ วิกัปต่อหน้า ๑ วิกัปลับหลัง ๑

วินัยมี ๒ คือ วินัยของภิกษุ ๑ วินัยของภิกษุณี ๑

อรรถที่สำเร็จในวินัยมี ๒ คือ ข้อบัญญัติ ๑ ข้ออนุโลมบัญญัติ ๑

วินัยมีความขัดเกลา ๒ คือ กำจัดสิ่งไม่ควรด้วยอริยมรรค ๑ ความ ทำพอประมาณในสิ่งที่ควร ๑.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 457

ว่าด้วยต้องอาบัติด้วยอาการ ๒ อย่างเป็นต้น

[๙๔๙] ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการ ๒ คือ ต้องด้วยกาย ๑ ต้อง ด้วยวาจา ๑

ภิกษุออกจากอาบัติด้วยอาการ ๒ คือ ออกด้วยกาย ๑ ออกด้วยวาจา ๑

ปริวาสมี ๒ คือ ปฎิจฉันนปริวาส ๑ อัปปฏิจฉันนปริวาส ๑

ปริวาสแม้อย่างอื่นมีอีก ๒ คือ สุทธันตปริวาส ๑ สโมธานปริวาส ๑

มานัตมี ๒ คือ ปฎิจฉันนมานัต ๑ อัปปฏิจฉันนมานัต ๑

มานัตแม้อย่างอื่นมีอีก ๒ คือ ปักขมานัต ๑ สโมธานมานัต ๑

รัตติเฉทของบุคคล ๒ คือ ของปริวาสิกภิกษุ ๑ ของมานัตจาริกภิกษุ ๑.

ว่าด้วยไม่เอื้อเฟื้อเป็นต้น

[๙๕๐] ความไม่เอื้อเฟื้อมี ๒ คือ ไม่เอื้อเฟื้อต่อบุคคล ๑ ไม่ เอื้อเฟื้อต่อธรรม ๑

เกลือมี ๒ ชนิด คือ เกลือเกิดแต่กำเนิด ๑ เกลือแต่น้ำต่าง ๑

เกลือแม้อื่นอีก ๒ ชนิด คือ เกลือทะเล ๑ เกลือดำ ๑

เกลือแม้อื่นอีก ๒ ชนิด คือ เกลือสินเธาว์ ๑ เกลือดินโปร่ง ๑

เกลือแม้อื่นอีก ๒ ชนิด คือ เกลือโรมกะ ๑ เกลือปักขัลลกะ ๑

บริโภคมี ๒ คือ บริโภคภายใน ๑ บริโภคภายนอก ๑

ด่ามี ๒ คือ ด่าอย่างคนเลว ๑ ด่าอย่างผู้ดี ๑

ส่อเสียดด้วยอาการ ๒ คือ เพื่อทำตนให้เป็นที่รัก ๑ เพื่อมุ่งทำลาย ๑

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 458

ภิกษุร่วมฉันเป็นหมู่ด้วยอาการ ๒ คือ เพราะเขานิมนต์ ๑ เพราะ. ขอเขา ๑

วัน เข้าพรรษามี ๒ คือ วันเข้าพรรษาต้น ๑ วันเข้าพรรษาหลัง ๑

งดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรมมี ๒ งดปาติโมกข์เป็นธรรมมี ๒.

ว่าด้วยบุคคลพาลและบัณฑิต

[๙๕๑] บุคคลพาลมี ๒ คือ ผู้รับภาระที่ยังไม่มาถึง ๑ ผู้ไม่รับภาระ ที่มาถึงแล้ว ๑

บุคคลบัณฑิตมี ๒ คือ ผู้ไม่รับภาระที่ยังไม่มาถึง ๑ ผู้รับภาระที่มา ถึงแล้ว ๑

บุคคลพาลแม้อื่นอีก ๒ คือ ผู้สำคัญว่าควรในสิ่งที่ไม่ควร ๑ ผู้สำคัญ ว่าไม่ควรในสิ่งที่ควร ๑

บุคคลบัณฑิตมี ๒ คือ ผู้สำคัญว่าไม่ควรในสิ่งที่ไม่ควร ๑ ผู้สำคัญ ว่าควรในสิ่งควร ๑

บุคคลพาลแม้อื่นอีก ๒ คือ ผู้สำคัญในอนาบัติว่าเป็นอาบัติ ๑ ผู้ สำคัญในอาบัติว่าเป็นอนาบัติ ๑

บุคคลบัณฑิตมี ๒ คือ ผู้สำคัญในอาบัติว่าเป็นอาบัติ ๑ ผู้สำคัญ ในอนาบัติว่าเป็นอนาบัติ ๑

บุคคลพาลแม้อื่นอีก ๒ คือ ผู้สำคัญในอธรรมว่าเป็นธรรม ๑ ผู้ สำคัญในธรรมว่าเป็นอธรรม ๑

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 459

บุคคลบัณฑิตมี ๒ คือ ผู้สำคัญในอธรรมว่าเป็นอธรรม ๑ ผู้สำคัญ ในธรรมว่าเป็นธรรม ๑

บุคคลพาลแม้อื่นอีก ๒ คือ ผู้สำคัญในสภาพมิใช่วินัยว่าเป็นวินัย ๑ ผู้สำคัญในวินัยว่าสภาพมิใช่วินัย ๑

บุคคลบัณฑิตมี ๒ คือ ผู้สำคัญในสภาพมิใช่วินัยว่าสภาพมิใช่วินัย ๑ ผู้สำคัญในวินัยว่าวินัย ๑.

ว่าด้วยอาสวะ

[๙๕๒] อาสวะทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคล ๒ พวก คือ ผู้ประพฤติ รังเกียจสิ่งที่ไม่ควรประพฤติรังเกียจ ๑ ผู้ไม่ประพฤติรังเกียจสิ่งที่ควรประพฤติ รังเกียจ ๑

อาสวะทั้งหลายย่อมไม่เจริญแก่บุคคล ๒ พวก คือ ผู้ไม่ประพฤติ รังเกียจสิ่งที่ไม่ควรประพฤติรังเกียจ ๑ ผู้ประพฤติรังเกียจสิ่งที่ควรประพฤติ รังเกียจ ๑

อาสวะทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลแม้อื่นอีก ๒ พวก คือ ผู้สำคัญใน สิ่งไม่ควรว่าควร ๑ ผู้สำคัญในสิ่งที่ควรว่าไม่ควร ๑

อาสวะทั้งหลายย่อมไม่เจริญแก่บุคคล ๒ พวก คือ ผู้สำคัญในสิ่ง ไม่ควรว่าไม่ควร ๑ ผู้สำคัญในสิ่งที่ควรว่าควร ๑

อาสวะทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลแม้อื่นอีก ๒ พวก คือ ผู้สำคัญ ในอนาบัติว่าเป็นอาบัติ ๑ ผู้สำคัญในอาบัติว่าเป็นอนาบัติ ๑

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 460

อาสวะทั้งหลายย่อมไม่เจริญแก่บุคคล ๒ พวก คือ ผู้สำคัญในอนาบัติ ว่าเป็นอนาบัติ ๑ ผู้สำคัญในอาบัติว่าเป็นอาบัติ ๑

อาสวะทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลแม้อื่นอีก ๒ พวก คือ ผู้สำคัญ ในอธรรมว่าเป็นธรรม ๑ ผู้สำคัญในธรรมว่าเป็นอธรรม ๑

อาสวะทั้งหลายย่อมไม่เจริญแก่บุคคล ๒ พวก คือ ผู้สำคัญในอธรรม ว่าเป็นอธรรม ๑ ผู้สำคัญในธรรมว่าเป็นธรรม ๑

อาสวะทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลแม้อื่นอีก ๒ พวก คือ ผู้สำคัญ ในสภาพมิใช่วินัยว่าวินัย ๑ ผู้สำคัญในวินัยว่าสภาพมิใช่วินัย ๑

อาสวะทั้งหลายย่อมไม่เจริญแก่บุคคล ๒ พวก คือ ผู้สำคัญในสภาพ มิใช่วินัยว่าสภาพมิใช่วินัย ๑ ผู้สำคัญในวินัยว่าวินัย ๑.

หมวด ๒ จบ

หัวข้อประจำหมวด

[๙๕๓] สัญญา ๑ ศรัทธา ๑ สัทธรรม ๑ บริขาร ๑ บุคคล ๑ จริง ๑ ภูมิ ๑ ออกไป ๑ ถือเอา ๑ สมาทาน ๑ ทำ ๑ ให้ ๑ รับ ๑ บริโภค ๑ กลางคืน ๑ อรุณ ๑ ตัด ๑ ปกปิด ๑ ทรงไว้ ๑ อุโบสถ ๑ ปวารณา ๑ กรรม ๑ กรรมอื่นอีก ๑ วัตถุ ๑ วัตถุอื่น อีก ๑ โทษ ๑ โทษอื่นอีก ๒ สมบัติสอง อย่าง ๑ นานาสังวาสก์ ๑ สมานสังวาสก์ ๑

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 461

ปาราชิก ๑ สังฆาทิเสส ๑ ถุลลัจจัย ๑ ปาจิตตีย์ ๑ ปาฏิเทสนียะ ๑ ทุกกฏ ๑ ทุพภาสิต ๑ อาบัติเจ็ด ๑ กองอาบัติเจ็ด ๑ สงฆ์แตกกัน ๑ อุปสมบท ๑ อุปสมบทอีก สอง ๑ ไม่อาศัยอยู่ ๑ ไม่ให้ ๑ อภัพบุคคล ๑ ภัพบุคคล ๑ แกล้ง ๑ มีโทษ ๑ คัดค้าน ๑ ขับออกจากหมู่ ๑ เรียกเข้าหมู่ ๑ ปฏิญญา ๑ รับ ๑ ห้าม ๑ ลบล้าง ๑ โจท ๑ กฐิน ๒ อย่าง ๑ จีวร ๑ บาตร ๑ เชิงบาตร ๑ อธิษฐาน ๒ อย่าง ๑ วิกัป ๒ วินัย ๑ อรรถ ที่สำเร็จในวินัย ๑ ความขัดเกลา ๑ ต้อง ๑ ออก ๑ ปริวาส ๒ อย่าง ๑ มานัต ๒ อย่าง ๑ รัตติเฉท ๑ ไม่เอื้อเฟื้อ ๑ เกลือ ๒ ชนิด ๑ เกลืออื่นอีก ๓ ชนิด บริโภค ๑ ด่า ๑ ล่อเสียด ๑ ฉันหมู่ ๑ วันจำพรรษา ๑ งด ปาติโมกข์ ๑ ภาระ ๑ สมควร ๑ อนาบัติ ๑ อธรรม ๑ วินัย อาสวะ ๑.

หัวข้อประจำหมวด จบ

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 462

หมวดที่ ๓

ว่าด้วยพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระชนม์อยู่เป็นต้น

[๙๕๔] มีอยู่ อาบัติ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ายังทรงพระชนม์ ภิกษุ จึงต้อง เมื่อปรินิพพานแล้ว ไม่ต้อง

มีอยู่ อาบัติ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว ภิกษุจึงต้อง เมื่อยังทรงพระชนม์ ไม่ต้อง

มีอยู่ อาบัติ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ายังทรงพระชนม์ก็ดี ปรินิพพาน แล้วก็ดี ภิกษุต้อง

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องในกาล หาต้องในเวลาวิกาลไม่

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องในเวลาวิกาล หาต้องในกาลไม่

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องในกาล และในเวลาวิกาล

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องในกลางคืน หาต้องในกลางวันไม่

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องในกลางวัน หาต้องในกลางคืนไม่

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องในกลางคืน และกลางวัน

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุมีพรรษา ๑๐ จึงต้อง มีพรรษาหย่อน ๑๐ ไม่ต้อง

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุมีพรรษาหย่อน ๑๐ จึงต้อง มีพรรษา ๑๐ ไม่ต้อง

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุมีพรรษา ๑๐ และมีพรรษาหย่อน ๑๐ ก็ต้อง

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุมีพรรษา ๕ จึงต้อง มีพรรษาหย่อน ๕ ไม่ต้อง

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุมีพรรษาหย่อน ๕ จึงต้อง มีพรรษา ๕ ไม่ต้อง

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุมีพรรษา ๕ และมีพรรษาหย่อน ๕ ก็ต้อง

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 463

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุมีจิตเป็นกุศล จึงต้อง มีจิตเป็นอกุศลไม่ต้อง

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุมีจิตเป็นอกุศล จึงต้อง มีจิตเป็นกุศลไม่ต้อง

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุมีจิตเป็นอัพยากฤต จึงต้อง

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุพรั่งพร้อมด้วยสุขเวทนา จึงต้อง

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุพรั่งพร้อมด้วยทุกขเวทนา จึงต้อง

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุพรั่งพร้อมด้วยอทุกขมสุขเวทนา จึงต้อง.

ว่าด้วยวัตถุแห่งการโจทเป็นต้น

[๙๕๕] วัตถุแห่งการโจทมี ๓ คือ เห็น ๑ ได้ยิน ๑ รังเกียจ ๑

การให้จับสลากมี ๓ คือ ปกปิด ๑ เปิดเผย ๑ กระซิบที่หู ๑

ข้อห้ามมี ๓ คือ ความมักมาก ๑ ความไม่สันโดษ ๑ ความไม่ขัดเกลา ๑

ข้ออนุญาตมี ๓ คือ ความมักน้อย ๑ ความสันโดษ ๑ ความขัดเกลา ๑

ข้อห้ามแม้อื่นอีก ๓ คือ ความมักมาก ๑ ความไม่สันโดษ ๑ ความ ไม่รู้จักประมาณ ๑

ข้ออนุญาตมี ๓ คือ ความมักน้อย ๑ ความสันโดษ ๑ ความรู้จัก ประมาณ ๑

บัญญัติมี ๓ คือ บัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ อนุปันนบัญญัติ ๑

บัญญัติแม้อื่นอีก ๓ คือ สัพพัตถบัญญัติ ๑ ปเทสบัญญัติ ๑ สาธารณบัญญัติ ๑

บัญญัติที่แม้อื่นอีก ๓ คือ อสาธารณบัญญัติ ๑ เอกโตบัญญัติ ๑ อุภโตบัญญัติ ๑.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 464

ว่าด้วยภิกษุโง่และฉลาดเป็นต้น

[๙๕๖] มีอยู่ อาบัติ ภิกษุเป็นผู้โง่ จึงต้อง เป็นผู้ฉลาดไม่ต้อง

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุเป็นผู้ฉลาด จึงต้อง เป็นผู้โง่ไม่ต้อง

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุเป็นผู้ทั้งโง่ทั้งฉลาด จึงต้อง

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องในกาฬปักษ์ ไม่ต้องในชุณหปักษ์

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องในชุณหปักษ์ ไม่ต้องในกาฬปักษ์

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องทั้งในกาฬปักษ์ และชุณหปักษ์

มีอยู่ การเข้าพรรษาย่อมควรในกาฬปักษ์ หาควรในชุณหปักษ์ไม่

มีอยู่ ปวารณาในวันมหาปวารณา ย่อมควรในชุณหปักษ์ หาควร ในกาฬปักษ์ไม่

มีอยู่ สังฆกิจที่เหลือ ย่อมควรทั้งในกาฬปักษ์และชุณหปักษ์

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุย่อมต้องในฤดูหนาว ไม่ต้องในฤดูร้อนและใน ฤดูฝน

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุย่อมต้องในฤดูร้อน ไม่ต้องในฤดูหนาวและใน ฤดูฝน

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุย่อมต้องในฤดูฝน ไม่ต้องในฤดูร้อนและในฤดู หนาว

มีอยู่ อาบัติ สงฆ์ต้อง คณะ และบุคคล ไม่ต้อง

มีอยู่ อาบัติ คณะต้อง สงฆ์ และบุคคล ไม่ต้อง

มีอยู่ อาบัติ บุคคลต้อง สงฆ์ และคณะ ไม่ต้อง

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 465

มีอยู่ สังฆอุโบสถและสังฆปวารณา ควรแก่สงฆ์ ไม่ควรแก่คณะ และบุคคล

มีอยู่ คณะอุโบสถ และคณะปวารณา ควรแก่คณะ ไม่ควรแก่สงฆ์ และบุคคล

มีอยู่ อธิษฐานอุโบสถ และอธิษฐานปวารณา ควรแก่บุคคล ไม่ ควรแก่สงฆ์ และคณะ.

ว่าด้วยการปิดเป็นต้น

[๙๕๗] การปิดมี ๓ คือ ปิดวัตถุ ไม่ปิดอาบัติ ๑ ปิดอาบัติ ไม่ ปิดวัตถุ ๑ ปิดทั้งวัตถุและอาบัติ ๑

เครื่องปกปิดมี ๓ คือ เครื่องปกปิด คือ เรือนไฟ ๑ เครื่องปกปิด คือ น้ำ ๑ เครื่องปกปิด คือ ผ้า ๑

สิ่งที่กำบังไม่เปิดเผยนำไปมี ๓ คือ มาตุคาม กำบังไม่เปิดเผยนำไป ๑ มนต์ของพวกพราหมณ์กำบังไม่เปิดเผยนำไป ๑ มิจฉาทิฏฐิกำบังไม่เปิดเผย นำไป ๑

สิ่งที่เปิดเผยไม่กำบังจึงรุ่งเรืองมี ๓ คือ ดวงจันทร์เปิดเผย ไม่กำบัง จึงรุ่งเรือง ๑ ดวงอาทิตย์เปิดเผยไม่กำบังจึงรุ่งเรือง ๑ ธรรมวินัยอันพระตถาคตเจ้าประกาศแล้วเปิดเผยไม่กำบังจึงรุ่งเรือง ๑

การให้ถือเสนาสนะมี ๓ คือ ให้ถือในวันเข้าพรรษาต้น ๑ ให้ถือ ในวันเข้าพรรษาหลัง ๑ ให้ถือพ้นระหว่างนั้น ๑.

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 466

ว่าด้วยอาพาธเป็นต้น

[๙๕๘] มีอยู่ อาบัติ ภิกษุอาพาธ จึงต้อง ไม่อาพาธ ไม่ต้อง

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุไม่อาพาธ จึงต้อง อาพาธไม่ต้อง

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุอาพาธและไม่อาพาธก็ต้อง.

ว่าด้วยงดปาติโมกข์เป็นต้น

[๙๕๙] การงดปาติโมกข์ ไม่เป็นธรรมมี ๓ การงดปาติโมกข์ เป็น ธรรมมี ๓

ปริวาสมี ๓ คือ ปฏิฉันนปริวาส ๑ อัปปฏิฉันนปริวาส ๑ สุทธันตปริวาส ๑

มานัตมี ๓ คือ ปฏิฉันนมานัต ๑ อัปปฏิฉันนมานัต ๑ ปักขมานัต ๑

รัตติเฉทของภิกษุผู้อยู่ปริวาสมี ๓ คือ อยู่ร่วม ๑ อยู่ปราศ ๑ ไม่บอก ๑.

ว่าด้วยต้องอาบัติภายในเป็นต้น

[๙๖๐] มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องภายใน ไม่ต้องภายนอก

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องภายนอก ไม่ต้องภายใน

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องทั้งภายในทั้งภายนอก

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องภายในสีมา ไม่ต้องภายนอกสีมา

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องภายนอกสีมา ไม่ต้องภายในสีมา

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องภายในสีมา ทั้งภายนอกสีมา ๖

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 467

ว่าด้วยต้องอาบัติด้วยอาการ ๓ อย่างเป็นต้น

[๙๖๑] ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ ต้องด้วยกาย ๑ ต้องด้วยวาจา ๑ ต้องด้วยกายวาจา ๑

ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการแม้อื่นอีก ๓ คือ ต้องในท่ามกลางสงฆ์ ๑ ต้องในท่ามกลางคณะ ๑ ต้องในสำนักบุคคล ๑

ภิกษุออกจากอาบัติด้วยอาการ ๓ คือ ออกด้วยกาย ๑ ออกด้วยวาจา ๑ ออกด้วยกายวาจา ๑

ภิกษุออกจากอาบัติด้วยอาการแม้อื่นอีก ๓ คือ ออกในท่ามกลางสงฆ์ ๑ ออกในท่ามกลางคณะ ๑ ออกในสำนักบุคคล ๑

ให้อมูฬหวินัยไม่เป็นธรรมมี ๓ ให้อมูฬหวินัยเป็นธรรมมี ๓.

ว่าด้วยข้อที่สงฆ์จำนงเป็นต้น

[๙๖๒] ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ สงฆ์จำนงอยู่ พึงลงตัชชนียกรรม คือเป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ๑ เป็นพาลไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร ๑ เป็นผู้คลุกคลีกับคฤหัสถ์ ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ สงฆ์จำนงอยู่ พึงลงนิยสกรรม คือ เป็น ผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่อ อธิกรณ์ในสงฆ์ ๑ เป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร ๑ เป็นผู้คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร ๑

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 468

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ สงฆ์จำนงอยู่ พึงลงปัพพาชนียกรรม คือ เป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ๑ เป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร ๑ เป็นผู้ประทุษร้ายสกุล มีความประพฤติเลวทราม ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ สงฆ์จำนงอยู่ พึงลงปฏิสารณียกรรม คือ เป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ๑ เป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร ๑ ด่าบริภาษคฤหัสถ์ ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ สงฆ์จำนงอยู่ พึงลงอุกเขปนียกรรม ฐาน ไม่เห็นอาบัติ คือ เป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ๑ เป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มี มรรยาทไม่สมควร ๑ ต้องอาบัติแล้วไม่ปรารถนาจะเห็นอาบัติ ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ สงฆ์จำนงอยู่ พึงลงอุกเขปนียกรรม ฐาน ไม่ทำคืนอาบัติ คือ เป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ๑ เป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มี มรรยาทไม่สมควร ๑ ต้องอาบัติแล้วไม่ปรารถนาจะทำคืนอาบัติ ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ สงฆ์จำนงอยู่ พึงลงอุกเขปนียกรรม ฐาน ไม่สละคืนทิฏฐิอันเลวทราม คือ เป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ๑ เป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร ๑ ไม่ปรารถนาจะสละคืนทิฏฐิอันเลวทราม ๑

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 469

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ สงฆ์จำนงอยู่ พึงตั้งใจจับให้มั่น คือ เป็น ผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่อ อธิกรณ์ในสงฆ์ ๑ เป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร ๑ คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ สงฆ์พึงลงโทษ คือ เป็นอลัชชี ๑ เป็น พาล ๑ ไม่เป็นปกตัตตะ ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๓ สงฆ์พึงลงโทษ คือ เป็นผู้มีศีล วิบัติในอธิศีล ๑ เป็นผู้มีอาจารวิบัติในอัธยาจาร ๑ เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติในอติ- ทิฏฐิ ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๓ สงฆ์พึงลงโทษ คือ เป็นผู้ประกอบ ด้วยการเล่นทางกาย ๑ เป็นผู้ประกอบด้วยการเล่นทางวาจา ๑ เป็นผู้ประกอบ ด้วยการเล่นทางกายและวาจา ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๓ สงฆ์พึงลงโทษ คือ เป็นผู้ประกอบ ด้วยอนาจารทางกาย ๑ เป็นผู้ประกอบด้วยอนาจารทางวาจา ๑ เป็นผู้ประกอบ ด้วยอนาจารทั้งทางกายและวาจา ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๓ สงฆ์พึงลงโทษ คือ เป็นผู้ประกอบ ด้วยการลบล้างทางกาย ๑ เป็นผู้ประกอบด้วยการลบล้างทางวาจา ๑ เป็นผู้ ประกอบด้วยการลบล้างทางกายและวาจา ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๓ สงฆ์พึงลงโทษ คือ เป็นผู้ประกอบ ด้วยมิจฉาชีพทางกาย ๑ เป็นผู้ประกอบด้วยมิจฉาชีพทางวาจา ๑ เป็นผู้ประกอบ ด้วยมิจฉาชีพทั้งกายและวาจา ๑

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 470

ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๓ สงฆ์พึงลงโทษ คือ ต้องอาบัติ ถูกสงฆ์ลงโทษแล้ว ทำการอุปสมบท ๑ ให้นิสัย ๑ ให้สามเณรอุปัฏฐาก ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๓ สงฆ์พึงลงโทษ คือ สงฆ์ลงโทษ เพราะอาบัติใดต้องอาบัตินั้น ๑ ต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน ๑ ต้องอาบัติอันเลว ทรามกว่านั้น ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๓ สงฆ์พึงลงโทษ คือ พูดติพระพุทธเจ้า ๑ พูดติพระธรรม ๑ พูดติพระสงฆ์ ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ งดอุโบสถ ณ ท่ามกลางสงฆ์ สงฆ์พึงกำจัด เสียว่า อย่าเลย ภิกษุ เธออย่าก่อความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่ง แย่ง ความวิวาท แล้วทำอุโบสถ คือ เป็นอลัชชี ๑ เป็นพาล ๑ ไม่เป็น ปกตัตตะ ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ งดปวารณา ณ ท่ามกลางสงฆ์ สงฆ์พึงกำจัด เสียว่า อย่าเลย ภิกษุ เธออย่าก่อความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาท แล้วทำปวารณา คือ เป็นอลัชชี ๑ เป็นพาล ๑ ไม่เป็น ปกตัตตะ ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ สงฆ์ไม่พึงให้สังฆสมมติอะไรๆ คือ เป็น อลัชชี ๑ เป็นพาล ๑ ไม่เป็นปกตัตตะ ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ สงฆ์ไม่พึงกล่าว คือ เป็นอลัชชี ๑ เป็น พาล ๑ ไม่เป็นปกตัตตะ ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งไว้ในตำแหน่งหัวหน้า อะไร คือ เป็นอลัชชี ๑ เป็นพาล ๑ ไม่เป็นปกตัตตะ ๑

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 471

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ ภิกษุทั้งหลายไม่พึงอาศัยอยู่ คือ เป็นอลัชชี ๑ เป็นพาล ๑ ไม่เป็นปกตัตตะ ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ ไม่พึงให้นิสัย คือ เป็นอลัชชี ๑ เป็นพาล ๑ ไม่เป็นปกตัตตะ ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ จะให้ทำโอกาส คือ เป็นอลัชชี ๑ เป็นพาล ๑ ไม่เป็นปกตัตตะ ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ ไม่พึงเชื่อถือคำให้การ คือ เป็นอลัชชี ๑ เป็นพาล ๑ ไม่เป็นปกตัตตะ ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ อันใครๆ ไม่พึงถามวินัย คือ เป็นอลัชชี ๑ เป็นพาล ๑ ไม่เป็นปกตัตตะ ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ ไม่พึงถามวินัย คือ เป็นอลัชชี ๑ เป็น พาล ๑ ไม่เป็นปกตัตตะ ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ อันภิกษุทั้งหลายไม่พึงตอบวินัย คือ เป็น อลัชชี ๑ เป็นพาล ๑ ไม่เป็นปกตัตตะ ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ ไม่พึงตอบวินัย คือ เป็นอลัชชี ๑ เป็น พาล ๑ ไม่เป็นปกตัตตะ ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ อันภิกษุทั้งหลายไม่พึงให้คำซักถาม คือ เป็นอลัชชี ๑ เป็นพาล ๑ ไม่เป็นปกตัตตะ ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ อันภิกษุทั้งหลายไม่พึงสนทนาวินัยด้วยกัน คือ เป็นอลัชชี ๑ เป็นพาล ๑ ไม่เป็นปกตัตตะ ๑

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 472

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ ไม่พึงให้กุลบุตรอุปสมบท ไม่พึงให้นิสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ เป็นอลัชชี ๑ เป็นพาล ๑ ไม่เป็นปกตัตตะ ๑.

ว่าด้วยอุโบสถเป็นต้น

[๙๖๓] อุโบสถมี ๓ คือ อุโบสถวันสิบสี่ ๑ อุโบสถวันสิบห้า ๑ อุโบสถสามัคคี ๑

อุโบสถแม้อื่นอีก ๓ คือ สังฆอุโบสถ ๑ คณอุโบสถ ๑ ปุคคล อุโบสถ ๑

อุโบสถแม้อื่นอีก ๓ คือ สุตตุทเทส ๑ ปาริสุทธิอุโบสถ ๑ อธิษ- ฐานอุโบสถ ๑

ปวารณามี ๓ คือ ปวารณาวันสิบสี่ ๑ ปวารณาวันสิบห้า ๑ ปวารณาสามัคคี ๑

ปวารณาแม้อื่นอีก ๓ คือ สังฆปวารณา ๑ คณปวารณา ๑ ปุคคล ปวารณา ๑

ปวารณาแม้อื่นอีก ๓ คือ ปวารณา ๓ หน ๑ ปวารณา ๒ หน ๑ ปวารณามีพรรษาเท่ากัน ๑

บุคคลไปอบายไปนรกมี ๓ คือ ไม่เป็นพรหมจารี แต่ปฏิญญาว่าเป็น พรหมจารี ไม่ละปฏิญญาข้อนี้ ๑ โจทพรหมจารีผู้บริสุทธิ์ ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ บริสุทธิ์ ด้วยอพรหมจรรย์อันไม่มีมูล ๑ มีปกติกล่าวอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า กามทั้งหลายไม่มีโทษ ถึงความเป็นผู้หมกมุ่นในกามทั้งหลาย ๑

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 473

อกุศลมูลมี ๓ คือ อกุศลมูล คือ โลภะ ๑ อกุศลมูล คือ โทสะ ๑ อกุศลมูล คือ โมหะ ๑

กุศลมูลมี ๓ คือ กุศลมูล คือ อโลภะ ๑ กุศลมูล คือ อโทสะ ๑ กุศลมูล คือ อโมหะ ๑

ทุจริตมี ๓ คือ กายทุจริต ๑ วจีทุจริต ๑ มโนทุจริต ๑

สุจริตมี ๓ คือ กายสุจริต ๑ วจีสุจริต ๑ มโนสุจริต ๑

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติโภชนะ ๓ ในสกุล เพราะทรงอาศัย อำนาจประโยชน์ ๓ คือ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก เพื่ออยู่ผาสุกแห่งภิกษุผู้มีศีล เป็นที่รัก ๑ เพื่อประสงค์ว่าพวกมักมากอย่าอาศัยฝักฝ่ายทำลายสงฆ์ ๑ เพื่อทรง อนุเคราะห์สกุล ๑

พระเทวทัตมีจิตอันอสัทธรรม ๓ อย่าง ครอบงำย่ำยี จึงเกิดในอบาย ตกนรกชั่วกัลป์ ช่วยเหลือไม่ได้ คือความปรารถนาลามก ๑ ความมีมิตรชั่ว ๑ พอบรรลุคุณวิเศษเพียงขั้นต่ำก็เลิกเสียในระหว่าง ๑

สมมติมี ๓ คือ สมมติไม้เท้า ๑ สมมติสาแหรก ๑ สมมติไม้เท้า และสาแหรก ๑

เขียงรองเท้าที่ตั้งอยู่ประจำเลื่อนไปมาไม่ได้มี ๓ คือ เขียงรองเท้าถ่าย วัจจะ ๑ เขียงรองเท้าถ่ายปัสสาวะ ๑ เขียงรองเท้าสำหรับชำระ ๑

สิ่งของสำหรับถูเท้ามี ๓ คือ ก้อนกรวด ๑ กระเบื้องถ้วย ๑ ฟองน้ำ ทะเล ๑.

หมวด ๓ จบ

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 474

หัวข้อประหมวด

[๙๖๔] ทรงพระชนม์ ๑ กาล ๑ กลางคืน ๑ พรรษาสิบ ๑ พรรษาห้า ๑ กุศล จิต ๑ เวทนา ๑ วัตถุแห่งการโจท ๑ สลาก ๑ ข้อห้าม ๒ อย่าง ๑ ข้อบัญญัติ ๑ ข้อ บัญญัติอื่นอีก ๒ อย่าง ๑ โง่ ๑ กาฬปักษ์ ๑ ควร ๑ ฤดูหนาว ๑ สงฆ์ ๑ แก่สงฆ์ ๑ การปิด ๑ เครื่องปกปิด ๑ สิ่งกำบัง ๑ สิ่ง เปิดเผย ๑ เสนาสนะ ๑ อาพาธ ๑ ปาติโมกข์ ๑ ปริวาร ๑ มานัต ๑ ปริวาสิกภิกษุ ๑ ภายใน ๑ ภายในสีมา ๑ ต้องอาบัติ ต้อง อาบัติอีก ๑ ออกจากอาบัติ ๑ ออกจากอาบัติ อื่นอีก ๑ อมูฬหวินัย ๒ อย่าง ๑ ตัชชนียกรรม ๑ นิยสกรรม ๑ ปัพพาชนียกรรม ๑ ปฏิสารณียกรรม ๑ ไม่เห็นอาบัติ ๑ ไม่ทำคืนอาบัติ ๑ ไม่สละคืนทิฏฐิ ๑ จับให้มั่น ๑ กรรม ๑ อธิศีล ๑ คะนอง ๑ อนาจาร ๑ ลบล้าง ๑ อาชีวะ ๑ ต้องอาบัติ ๑ ต้องอาบัติเช่นนั้น ๑ พูดติ ๑ งดอุโบสถ ๑ งดปวารณา ๑ สมมติ ๑ กล่าวว่า ๑ หัวหน้า ๑ ไม่อาศัยอยู่ ๑ ไม่ให้นิสัย ๑ ไม่ทำโอกาส ๑ ไม่ทำการไต่

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 475

สวน ๑ ไม่ถาม ๒ อย่าง ๑ ไม่ตอบ ๒ อย่าง ๑ แม้ซักถามก็ไม่พึงให้ ๑ สนทนา ๑ อุปสมบท ๑ นิสัย ๑ ให้สามเณรอุปัฏฐาก อุโบสถ ๓ หมวด ๓ อย่าง ๑ ปวารณา ๓ หมวด ๔ อย่าง ๑ เกิดในอุบาย ๑ อกุศล ๑ กุศล ๑ ทุจริต ๑ สุจริต ๑ โภชนะ ๓ อย่าง ๑ อสัทธรรม ๑ สมมติ ๑ เขียงรองเท้า ๑ สิ่งของถูเท้า ๑ หัวข้อตามที่กล่าวนี้รวมอยู่ ในหมวด ๓.

หัวข้อประจำหมวด จบ

หมวด ๔

ว่าด้วยต้องและออกจากอาบัติเป็นต้น

[๙๖๕] มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องด้วยวาจาของตน ออกด้วยวาจาของผู้อื่น

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องด้วยวาจาของผู้อื่น ออกด้วยวาจาของตน

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องด้วยวาจาของตน ออกด้วยวาจาของตน

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องด้วยวาจาของผู้อื่น ออกด้วยวาจาของผู้อื่น

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องด้วยกาย ออกด้วยวาจา

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องด้วยวาจา ออกด้วยกาย

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องด้วยกาย ออกด้วยกาย

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 476

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องด้วยวาจา ออกด้วยวาจา

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุหลับแล้ว จึงต้อง ตื่นแล้ว จึงออก

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุตื่นแล้ว จึงต้อง หลับแล้ว จึงออก

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุหลับแล้ว จึงต้อง หลับแล้ว จึงออก

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุตื่นแล้ว จึงต้อง ตื่นแล้ว จึงออก

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุไม่ตั้งใจ จึงต้อง ตั้งใจ จึงออก

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุตั้งใจ จึงต้อง ไม่ตั้งใจ จึงออก

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุไม่ตั้งใจ จึงต้อง ไม่ตั้งใจ จึงออก

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุตั้งใจ จึงต้อง ตั้งใจ จึงออก

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องอยู่ จึงแสดง แสดงอยู่ จึงต้อง

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องอยู่ จึงออก ออกอยู่ จึงต้อง

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องด้วยกรรม ออกด้วยสิ่งมิใช่กรรม

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องด้วยสิ่งมิใช่กรรม ออกด้วยกรรม

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องด้วยกรรม ออกด้วยกรรม

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องด้วยสิ่งมิใช่กรรม ออกด้วยสิ่งมิใช่กรรม.

ว่าด้วยอนริยโวหารเป็นต้น

[๙๖๖] โวหารอันไม่ประเสริฐ มี ๔ คือ ความกล่าวในสิ่งที่ไม่เห็นว่า เห็น ๑ ความกล่าวในสิ่งที่ไม่ได้ยินว่าได้ยิน ๑ ความกล่าวในสิ่งที่ไม่ทราบ ว่าทราบ ๑ ความกล่าวในสิ่งที่ไม่รู้ว่ารู้ ๑

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 477

โวหารอันประเสริฐ มี ๔ คือ ความกล่าวในสิ่งที่ไม่เห็นว่าไม่เห็น ๑ ความกล่าวในสิ่งที่ไม่ได้ยินว่าไม่ได้ยิน ๑ ความกล่าวในสิ่งที่ไม่ทราบว่าไม่ทราบ ๑ ความกล่าวในสิ่งที่ไม่รู้ว่าไม่รู้ ๑

โวหารอันไม่ประเสริฐแม้อื่นอีก ๔ คือ ความกล่าวในสิ่งที่เห็นว่าไม่ เห็น ๑ ความกล่าวในสิ่งที่ได้ยินว่าไม่ได้ยิน ๑ ความกล่าวในสิ่งที่ทราบว่าไม่ ทราบ ๑ ความกล่าวในสิ่งที่รู้ว่าไม่รู้ ๑

โวหารอันประเสริฐ มี ๔ คือ ความกล่าวในสิ่งที่เห็นว่าเห็น ๑ ความ กล่าวในสิ่งที่ได้ยินว่าได้ยิน ๑ ความกล่าวในสิ่งที่ทราบว่าทราบ ๑ ความกล่าว ในสิ่งที่รู้ว่ารู้ ๑

ปาราชิกของภิกษุ ทั่วไปกับภิกษุณี มี ๔

ปาราชิกของภิกษุณี ไม่ทั่วไปกับภิกษุ มี ๔

บริขารมี ๔ คือ มีอยู่ บริขารควรรักษา คุ้มครอง นับว่าเป็น สมบัติของเรา ควรใช้สอย ๑ มีอยู่ บริขารควรรักษา คุ้มครอง แต่ไม่นับ ว่าเป็นสมบัติของเรา ควรใช้สอย ๑ มีอยู่ บริขารรักษา คุ้มครอง แต่ไม่นับ ว่าเป็นสมบัติของเรา ไม่ควรใช้สอย ๑ มีอยู่ บริขารไม่ควรรักษา ไม่ควร คุ้มครอง ไม่นับว่าเป็นสมบัติของเรา ไม่ควรใช้สอย ๑.

ว่าด้วยต้องและออกจากอาบัติเป็นต้น

[๙๖๗] มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องต่อหน้า ออกลับหลัง

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องลับหลัง ออกต่อหน้า

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องต่อหน้า ออกต้อหน้า

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องลับหลัง ออกลับหลัง

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 478

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุไม่รู้อยู่ จึงต้อง รู้อยู่ จึงออก

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุรู้อยู่ จึงต้อง ไม่รู้อยู่ จึงออก

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุรู้อยู่ จึงต้อง รู้อยู่ จึงออก

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุไม่รู้อยู่ จึงต้อง ไม่รู้อยู่ จึงออก.

ว่าด้วยต้องอาบัติเป็นต้น

[๙๖๘] ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการ ๔ คือ ต้องด้วยกาย ๑ ต้องด้วย วาจา ๑ ต้องด้วยกายและวาจา ๑ ต้องด้วยกรรมวาจา ๑

ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการแม้อื่นอีก ๔ คือ ในท่ามกลางสงฆ์ ๑ ใน ท่ามกลางคณะ ๑ ในสำนักบุคคล ๑ เพราะเพศเปลี่ยนแปลง ๑

ภิกษุออกจากอาบัติด้วยอาการ ๔ คือ ออกด้วยกาย ๑ ออกด้วย วาจา ๑ ออกด้วยกายด้วยวาจา ๑ ออกด้วยกรรมวาจา ๑

ภิกษุออกจากอาบัติด้วยอาการแม้อื่นอีก ๔ คือ ในท่ามกลางสงฆ์ ๑ ในท่ามกลางคณะ ๑ ในสำนักบุคคล ๑ เพราะเพศเปลี่ยนแปลง ๑

ภิกษุละเพศอันเป็นเพศเดิม ตั้งอยู่ในเพศสตรี อันเกิด ณ ภายหลัง พร้อมกับการได้เพศใหม่ วิญญัติย่อมระงับไป บัญญัติย่อมดับไป

ภิกษุณีละเพศสตรีอันเป็นเพศเดิม ตั้งอยู่ในเพศบุรุษอันเกิด ณ ภายหลัง พร้อมกับการได้เพศใหม่ วิญญัติย่อมระงับไป บัญญัติย่อมดับไป

การโจทมี ๔ คือ โจทด้วยศีลวิบัติ ๑ โจทด้วยอาจารวิบัติ ๑ โจท ด้วยทิฏฐิวิบัติ ๑ โจทด้วยอาชีววิบัติ ๑

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 479

ปริวาสมี ๔ คือ ปฏิจฉันนปริวาส ๑ อัปปฏิจฉันนปริวาส ๑ สุทธันตปริวาส ๑ สโมธานปริวาส ๑

มานัตมี ๔ คือ ปฏิจฉันนมานัต ๑ อัปปฏิจฉันนมานัต ๑ ปักขมานัต ๑ สโมธานมานัต ๑

รัตติเฉทของมานัตตจาริกภิกษุมี ๔ คือ อยู่ร่วม ๑ อยู่ปราศ ๑ ไม่ บอก ๑ ประพฤติในคณะอันหย่อน ๑

พระบัญญัติที่ทรงยกขึ้นแสดงเองมี ๔

ของที่รับประเคนไว้ฉันมี ๘ คือ ยาวกาลิก ๑ ยามกาลิก ๑ สัตตาหกาลิก ๑ ยาวชีวิก ๑

ยามหาวิกัฏ มี ๔ คือ คูถ ๑ มูตร ๑ เถ้า ๑ ดิน ๑

กรรมมี ๔ คือ อปโลกนกรรม ๑ ญัตติกรรม ๑ ญัตติทุติยกรรม ๑ ญัตติจตุตถกรรม ๑

กรรมแม้อื่นอีก ๔ คือ กรรมเป็นวรรคโดยอธรรม ๑ กรรม พร้อมเพรียงโดยอธรรม ๑ กรรมเป็นวรรคโดยธรรม ๑ กรรมพร้อมเพรียง โดยธรรม ๑

วิบัติมี ๔ คือ ศีลวิบัติ ๑ อาจารวิบัติ ๑ ทิฏฐิวิบัติ ๑ อาชีววิบัติ ๑

อธิกรณ์มี ๔ คือ วิวาทาธิกรณ์ ๑ อนุวาทาธิกรณ์ ๑ อาปัตตาธิกรณ์ ๑ กิจจาธิกรณ์ ๑

ผู้ประทุษร้ายบริษัทมี ๔ คือ ภิกษุผู้ทุศีล มีธรรมทราม เป็นผู้ ประทุษร้ายบริษัท ๑ ภิกษุณีผู้ทุศีล มีธรรมทราม เป็นผู้ประทุษร้ายบริษัท ๑ อุบาสกผู้ทุศีล มีธรรมทราม เป็นผู้ประทุษร้ายบริษัท ๑ อุบาสิกาผู้ทุศีล มีธรรมทราม เป็นผู้ประทุษร้ายบริษัท ๑

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 480

ผู้งามในบริษัทมี ๔ คือ ภิกษุผู้มีศีล มีธรรมงาม เป็นผู้งามใน บริษัท ๑ ภิกษุณีผู้มีศีล มีธรรมงาม เป็นผู้งามในบริษัท ๑ อุบาสกผู้มีศีล มีธรรมงาม เป็นผู้งามในบริษัท ๑ อุบาสิกาผู้มีศีล มีธรรมงาม เป็นผู้งาม ในบริษัท ๑.

ว่าด้วยพระอาคันตุกะเป็นต้น

[๙๖๙] มีอยู่ อาบัติ ภิกษุอาคันตุกะต้อง ภิกษุเจ้าถิ่น ไม่ต้อง

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุเจ้าถิ่นต้อง ภิกษุอาคันตุกะ ไม่ต้อง

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุอาคันตุกะและภิกษุเจ้าถิ่น ต้อง

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุอาคันตุกะ และภิกษุเจ้าถิ่น ไม่ต้อง

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุผู้เตรียมไป ต้อง ภิกษุเจ้าถิ่น ไม่ต้อง

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุเจ้าถิ่น ต้อง ภิกษุผู้เตรียมไป ไม่ต้อง

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุผู้เตรียมไป และภิกษุเจ้าถิ่น ต้อง

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุผู้เตรียมไป และภิกษุเจ้าถิ่น ไม่ต้อง.

ว่าด้วยสิกขาบทมีวัตถุต่างกันเป็นต้น

[๙๗๐] ความที่สิกขาบท มีวัตถุต่างกัน มีอยู่ ความที่สิกขาบทมี อาบัติต่างกัน ไม่มี

ความที่สิกขาบทมีอาบัติต่างกันมีอยู่ ความที่สิกขาบทมีวัตถุต่างกัน ไม่มี

ความที่สิกขาบทมีวัตถุต่างกัน และมีอาบัติต่างกัน มีอยู่

ความที่สิกขาบทมีวัตถุต่างกัน และมีอาบัติต่างกัน ไม่มีเลย

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 481

ความที่สิกขาบทมีวัตถุเป็นสภาคกัน มีอยู่ ความที่สิกขาบทมีอาบัติ เป็นสภาคกัน ไม่มี

ความที่สิกขาบทมีอาบัติเป็นสภาคกัน มีอยู่ ความที่สิกขาบทมีวัตถุ เป็นสภาคกัน ไม่มี

ความที่สิกขาบทมีวัตถุเป็นสภาคกัน และมีอาบัติเป็นสภาคกัน มีอยู่ ความที่สิกขาบทมีวัตถุเป็นสภาคกัน และมีอาบัติเป็นสภาคกัน ไม่มีเลย.

ว่าด้วยพระอุปัชฌาย์ต้องอาบัติเป็นต้น

[๙๗๑] มีอยู่ อาบัติ พระอุปัชฌาย์ต้อง สัทธิวิหาริกไม่ต้อง

มีอยู่ อาบัติ สัทธิวิหาริกต้อง พระอุปัชฌาย์ ไม่ต้อง

มีอยู่ อาบัติ พระอุปัชฌาย์และสัทธิวิหาริก ต้อง

มีอยู่ อาบัติ พระอุปัชฌาย์และสัทธิวิหาริก ไม่ต้อง

มีอยู่ อาบัติ พระอาจารย์ต้อง อันเตวาสิกไม่ต้อง

มีอยู่ อาบัติ อันเตวาสิกต้อง พระอาจารย์ไม่ต้อง

มีอยู่ อาบัติ พระอาจารย์และอันเตวาสิกต้อง

มีอยู่ อาบัติ พระอาจารย์และอันเตวาสิกไม่ต้อง.

ว่าด้วยปัจจัยแห่งการขาดพรรษาเป็นต้น

[๙๗๒] การขาดพรรษาไม่ต้องอาบัติมีปัจจัย ๔ คือ สงฆ์แตกกัน ๑ มีพวกภิกษุประสงค์จะทำลายสงฆ์ ๑ มีอันตรายแก่ชีวิต ๑ มีอันตรายแก่ พรหมจรรย์ ๑

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 482

วจีทุจริตมี ๔ คือ พูดเท็จ ๑ พูดส่อเสียด ๑ พูดคำหยาบ ๑ พูด เพ้อเจ้อ ๑

วจีสุจริตมี ๔ คือ พูดจริง ๑ พูดไม่ส่อเสียด ๑ พูดคำสุภาพ ๑ พูดพอประมาณ ๑.

ว่าด้วยถือเอาทรัพย์เป็นต้น

[๙๗๓] มีอยู่ ภิกษุถือเอาทรัพย์เอง ต้องอาบัติหนัก ใช้ผู้อื่น ต้อง อาบัติเบา

มีอยู่ ภิกษุถือเอาทรัพย์เอง ต้องอาบัติเบา ใช้ผู้อื่น ต้องอาบัติหนัก

มีอยู่ ภิกษุถือเอาทรัพย์เองก็ดี ใช้ผู้อื่นก็ดี ต้องอาบัติหนัก

มีอยู่ ภิกษุถือเอาทรัพย์เองก็ดี ใช้ผู้อื่นก็ดี ต้องอาบัติเบา

มีอยู่ บุคคลควรอภิวาท แต่ไม่ควรลุกรับ

มีอยู่ บุคคลควรลุกรับ แต่ไม่ควรอภิวาท

มีอยู่ บุคคลควรอภิวาทและควรลุกรับ

มีอยู่ บุคคลไม่ควรอภิวาทและไม่ควรลุกรับ

มีอยู่ บุคคลควรแก่อาสนะ แต่ไม่ควรอภิวาท

มีอยู่ บุคคลควรอภิวาท แต่ไม่ควรแก่อาสนะ

มีอยู่ บุคคลควรแก่อาสนะและอภิวาท

มีอยู่ บุคคลไม่ควรแก่อาสนะและไม่ควรอภิวาท.

ว่าด้วยต้องอาบัติในกาลเป็นต้น

[๙๗๔] มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องในกาล ไม่ต้องในเวลาวิกาล มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องในเวลาวิกาล ไม่ต้องในกาล

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 483

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องในกาลและในเวลาวิกาล

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุไม่ต้องในกาล และไม่ต้องในเวลาวิกาล

มีอยู่ กาลิกที่รับประเคนแล้ว ควรในกาล ไม่ควรในเวลาวิกาล

มีอยู่ กาลิกที่รับประเคนแล้ว ควรในเวลาวิกาล ไม่ควรในกาล

มีอยู่ กาลิกที่รับประเคนแล้ว ควรในกาลและในเวลาวิกาล

มีอยู่ กาลิกที่รับประเคนแล้ว ไม่ควรในกาลและในเวลาวิกาล

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องในปัจจันติมชนบท ไม่ต้องในมัชฌิมชนบท

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องในมัชฌิมชนบท ไม่ต้องในปัจจันติมชนบท

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องในปัจจันติมชนบทและมัชฌิมชนบท

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุไม่ต้องในปัจจันติมชนบทและมัชฌิมชนบท

มีอยู่ วัตถุ ย่อมควรในปัจจันติมชนบท ไม่ควรในมัชฌิมชนบท

มีอยู่ วัตถุ ย่อมควรในมัชฌิมชนบท ไม่ควรในปัจจันติมชนบท

มีอยู่ วัตถุ ย่อมควรในปัจจันติมชนบทและมัชฌิมชนบท

มีอยู่ วัตถุ ย่อมไม่ควรในปัจจันติมชนบทและมัชฌิมชนบท

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องในภายใน ไม่ต้องในภายนอก

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องในภายนอก ไม่ต้องในภายใน

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องภายในและภายนอก

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุไม่ต้องภายในและภายนอก

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องภายในสีมา ไม่ต้องภายนอกสีมา

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องภายนอกสีมา ไม่ต้องภายในสีมา

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องภายในสีมาและภายนอกสีมา

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 484

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุไม่ต้องภายในสีมาและภายนอกสีมา

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องในบ้าน ไม่ต้องในป่า

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องในป่า ไม่ต้องในบ้าน

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุต้องในบ้านและในป่า

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุไม่ต้องในบ้านและในป่า.

ว่าด้วยการโจทเป็นต้น

[๙๗๕] การโจทมี ๔ คือ โจทชี้วัตถุ ๑ โจทชี้อาบัติ ๑ โจทห้าม สังวาส ๑ โจทห้ามสามีจิกรรม ๑

กิจเบื้องต้นมี ๔

ความพร้อมพรั่งถึงที่แล้วมี ๔

อาบัติปาจิตตีย์มีเหตุมิใช่อย่างอื่นมี ๔

สมมติภิกษุมี ๔

ถึงอคติมี ๔ คือ ถึงฉันทาคติ ๑ ถึงโทสาคติ ๑ ถึงโมหาคติ ๑ ถึง

ภยาคติ ๑ ไม่ถึงอคติมี ๔ คือ ไม่ถึงฉันทาคติ ๑ ไม่ถึงโทสาคติ ๑ ไม่ถึง

โมหาคติ ๑ ไม่ถึงภยาคติ ๑

ภิกษุอลัชชีประกอบด้วยองค์ ๔ ย่อมทำลายสงฆ์ คือ ถึงฉันทาคติ ๑ ถึงโทสาคติ ๑ ถึงโมหาคติ ๑ ถึงภยาคติ ๑

ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักประกอบด้วยองค์ ๔ ย่อมสมานสงฆ์ผู้แตกกันแล้ว ให้สามัคคี คือไม่ถึงฉันทาคติ ๑ ไม่ถึงโทสาคติ ๑ ไม่ถึงโมหาคติ ๑ ไม่ถึง ภยาคติ ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๔ อันภิกษุไม่ควรถามวินัย คือ ถึงฉันทาคติ ๑ ถึงโทสาคติ ๑ ถึงโมหาคติ ๑ ถึงภยาคติ ๑

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 485

อันภิกษุประกอบด้วยองค์ ๔ ไม่ควรถามวินัย คือ ถึงฉันทาคติ ๑ ถึงโทสาคติ ๑ ถึงโมหาคติ ๑ ถึงภยาคติ ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๔ อันภิกษุไม่พึงตอบวินัย คือ ถึงฉันทาคติ ๑ ถึงโทสาคติ ๑ ถึงโมหาคติ ๑ ถึงภยาคติ ๑

อันภิกษุประกอบด้วยองค์ ๔ ไม่พึงตอบวินัย คือ ถึงฉันทาคติ ๑ ถึงโทสาคติ ๑ ถึงโมหาคติ ๑ ถึงภยาคติ ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๔ ไม่พึงให้คำซักถามคือ ถึงฉันทาคติ ๑ ถึงโทสาคติ ๑ ถึงโมหาคติ ๑ ถึงภยาคติ ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๔ ไม่พึงสนทนาวินัยด้วย คือ ถึงฉันทาคติ ๑ ถึงโทสาคติ ๑ ถึงโมหาคติ ๑ ถึงภยาคติ ๑.

ว่าด้วยภิกษุอาพาธต้องอาบัติเป็นต้น

[๙๗๖] มีอยู่ อาบัติ ภิกษุอาพาธต้อง ไม่อาพาธไม่ต้อง

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุไม่อาพาธต้อง อาพาธ ไม่ต้อง

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุอาพาธก็ดี ไม่อาพาธก็ดี ย่อมต้อง

มีอยู่ อาบัติ ภิกษุอาพาธก็ดี ไม่อาพาธก็ดี ไม่ต้อง.

ว่าด้วยงดปาติโมกข์

[๙๗๗] งดปาติโมกข์ ไม่ประกอบด้วยธรรมมี ๔ งดปาติโมกข์ ประกอบด้วยธรรมมี ๔.

หมวด ๔ จบ

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 486

หัวข้อประจำหมวด

[๙๗๘] วาจาของตน ๑ กาย ๑ หลับ ๑ ไม่ตั้งใจ ๑ ต้องอาบัติ ๑ กรรม ๑ โวหาร ๔ อย่าง ๑ ปาราชิกของภิกษุ ๑ ปาราชิก ของภิกษุณี ๑ บริขาร ๑ ต่อหน้า ๑ ไม่รู้ ๑ กาย ๑ ท่ามกลาง ๑ ออกจากอาบัติ ๒ อย่าง ๑ ได้เพศใหม่ ๑ โจท ๑ ปริวาส ๑ มานัต ๑ รัตติเฉทของมานัตตจาริกภิกษุ ๑ พระบัญญัติ ที่ทรงยกขึ้นแสดงเอง ๑ กาลิกที่รับประเคน ๑ ยามหาวิกัฏ ๑ กรรม ๑ กรรมอีก ๑ วิบัติ ๑ อธิกรณ์ ๑ ทุศีล ๑ โสภณ ๑ อาคันตุกภิกษุ ๑ คมิกภิกษุ ๑ ความที่ สิกขาบทมีวัตถุต่างกัน ๑ ความที่สิกขาบท เป็นสภาคกัน ๑ อุปัชฌาย์ ๑ อาจารย์ ๑ ปัจจัย ๑ วจีทุจริต ๑ วจีสุจริต ๑ ถือเอา ทรัพย์ ๑ บุคคลควรอภิวาท ๑ บุคคลควร แก่อาสนะ ๑ กาล ๑ ควร ๑ ปัจจันติมชนบท ๑ ควรในปัจจันติมชนบท ๑ ภายใน ๑ ภายในสีมา ๑ บ้าน ๑ โจท ๑ กิจเบื้องต้น ๑ ความพร้อมพรั่งถึงที่แล้ว ๑ อาบัติปาจิตตีย์ มีเหตุมิใช่อื่น ๑ สมมติ ๑ อคติ ๑ ไม่ถึง

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 487

อคติ ๑ อลัชชี ๑ มีศีลเป็นที่รัก ๑ ควรถาม ๒ อย่าง ๑ ควรตอบ ๒ อย่าง ๑ ซักถาม ๑ สนทนา ๑ อาพาธ ๑ งดปาติโมกข์ ๑.

หัวข้อประจำหมวด ๔ จบ

หมวด ๕

ว่าด้วยอาบัติเป็นต้น

[๙๗๙] อาบัติมี ๕ กองอาบัติมี ๕ วินีตวัตถุมี ๕ อนันตริยกรรม มี ๕ บุคคลที่แน่นอนมี ๕ อาบัติมีการตัดเป็นวินัยกรรมมี ๕ ต้องอาบัติด้วย อาการ ๕ อาบัติมี ๕ เพราะมุสาวาทเป็นปัจจัย

ภิกษุไม่เข้ากรรมด้วยอาการ ๕ คือ ตนเองไม่ทำกรรม ๑ ไม่เชิญ ภิกษุอื่น ๑ ไม่ให้ฉันทะหรือปาริสุทธิ ๑ เมื่อสงฆ์ทำกรรมย่อมคัดค้าน ๑ เมื่อ สงฆ์ทำกรรมเสร็จแล้ว เห็นว่าไม่เป็นธรรม ๑

ภิกษุเข้ากรรมด้วยอาการ ๕ คือ ตนเองทำกรรม ๑ เชิญภิกษุอื่น ๑ ให้ฉันทะหรือปาริสุทธิ ๑ เมื่อสงฆ์ทำกรรม ไม่คัดค้าน ๑ เมื่อสงฆ์ทำกรรท เสร็จแล้ว เห็นว่าเป็นธรรม ๑

ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาต กิจ ๕ อย่างควร คือไม่บอกลาเที่ยวไป ๑ ฉันเป็นหมู่ได้ ๑ ฉันโภชนะทีหลังได้ ๑ ความไม่ต้องคำนึง ๑ ความไม่ต้อง กำหนดหมาย ๑

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 488

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ จะเป็นภิกษุเลวทรามก็ดี จะเป็นภิกษุมี ธรรมอันไม่กำริบก็ดี ย่อมถูกระแวง ถูกรังเกียจ คือ มีหญิงแพศยาเป็น โคจร ๑ มีหญิงหม้ายเป็นโคจร ๑ มีสาวเทื้อเป็นโคจร ๑ มีบัณเฑาะก์เป็น โคจร ๑ มีภิกษุณีเป็นโคจร ๑

น้ำมันมี ๕ คือ น้ำมันงา ๑ น้ำมันเมล็ดพันธุ์ผักกาด ๑ น้ำมัน มะซาง ๑ น้ำมันละหุ่ง ๑ น้ำมันเปลวสัตว์ ๑

น้ำมันเปลวสัตว์มี ๕ คือ น้ำมันเปลวหมี ๑ น้ำมันเปลวปลา ๑ น้ำมันเปลวปลาฉลาม ๑ น้ำมันเปลวหมู ๑ น้ำมันเปลวลา ๑

ความเสื่อมมี ๕ คือ ความเสื่อมญาติ ๑ ความเสื่อมโภคสมบัติ ๑ ความเสื่อม คือ โรค ๑ ความเสื่อมศีล ๑ ความเสื่อมทางทิฏฐิ คือ เห็นผิด ๑

ความถึงพร้อมมี ๕ คือ ความถึงพร้อมแห่งญาติ ๑ ความถึงพร้อม แห่งโภคสมบัติ ๑ ความถึงพร้อมแห่งความไม่มีโรค ๑ ความถึงพร้อมแห่ง ศีล ๑ ความถึงพร้อมแห่งความเห็นชอบ ๑

นิสัยระงับจากพระอุปัชฌาย์มี ๕ คือ พระอุปัชฌาย์หลีกไป ๑ สึก ๑ ถึงมรณภาพ ๑ ไปเข้ารีตเดียรถีย์ ส่งบังคับ ๑

บุคคล ๕ จำพวกไม่ควรให้อุปสมบท คือ มีกาลบกพร่อง ๑ มีอวัยวะ บกพร่อง ๑ มีวัตถุวิบัติ ๑ มีความกระทำเสียหาย ๑ ไม่บริบูรณ์ ๑

ผ้าบังสุกุลมี ๕ คือ ผ้าตกที่ป่าช้า ๑ ผ้าตกที่ตลาด ๑ ผ้าหนูกัด ๑ ผ้าปลวกกัด ๑ ผ้าถูกไฟไหม้ ๑

ผ้าบังสุกุลแม้อื่นอีก ๕ คือ ผ้าที่วัวกัด ๑ ผ้าที่แพะกัด ๑ ผ้าที่ห่มสถูป ๑ ผ้าที่เขาทิ้งในที่อภิเษก ๑ ผ้าที่เขานำไปสู่ป่าช้าแล้วนำกลับมา ๑

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 489

อวหารมี ๕ คือ เถยยาวหาร ๑ ปสัยหาวหาร ๑ ปริกัปปาวหาร ๑ ปฏิจฉันนาวหาร ๑ กุสาวหาร ๑

มหาโจรที่มีปรากฏอยู่ในโลก มี ๕

ภัณฑะที่ไม่ควรจ่าย มี ๕

ภัณฑะที่ไม่ควรแบ่ง มี ๕

อาบัติที่เกิดแต่กาย มิใช่วาจา มิใช่จิต มี ๕

อาบัติที่เกิดแต่กายและวาจา มิใช่จิต มี ๕

อาบัติที่เป็นเทสนาคามินี มี ๕

สงฆ์มี ๕ ปาติโมกขุเทศ มี ๒

ในชนบทชายแดนทุกแห่ง คณะมีพระวินัยธรเป็นที่ ๕ ให้กุลบุตร อุปสมบทได้

การกรานกฐินมีอานิสงส์ ๕ กรรมมี ๕

อาบัติที่เป็นยาวตติยกา มี ๕

ภิกษุถือเอาทรัพย์ที่ผู้อื่นไม่ให้ ด้วยอาการ ๕ ต้องอาบัติปาราชิก

ภิกษุถือเอาทรัพย์ที่ผู้อื่นไม่ให้ ด้วยอาการ ๕ ต้องอาบัติถุลลัจจัย

ภิกษุถือเอาทรัพย์ที่ผู้อื่นไม่ให้ ด้วยอาการ ๕ ต้องอาบัติทุกกฏ

ภิกษุไม่ควรบริโภคอกัปปิยวัตถุ ๕ คือ ของที่เขาไม่ให้ ๑ ไม่ทราบ ๑ เป็นอกัปปิยะ ๑ ยังไม่ได้รับประเคน ๑ ไม่ทำให้เป็นเดน ๑

ภิกษุควรบริโภคกัปปิยวัตถุ ๕ คือ ของที่เขาให้ ๑ ทราบแล้ว ๑ เป็นกัปปิยะ ๑ รับประเคนแล้ว ๑ ทำให้เป็นเดน ๑

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 490

การให้ไม่จัดเป็นบุญ แต่โลกสมมติว่าเป็นบุญมี ๕ คือ ให้น้ำเมา ๑ ให้มหรสพ ๑ ให้สตรี ๑ ให้โคผู้ ๑ ให้จิตรกรรม ๑

สิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว บรรเทาได้ยากมี ๕ คือ ราคะบังเกิดแล้วบรรเทา ได้ยาก ๑ โทสะบังเกิดแล้วบรรเทาได้ยาก ๑ โมหะบังเกิดแล้วบรรเทาได้ยาก ๑ ปฏิภาณบังเกิดแล้วบรรเทาได้ยาก ๑ จิตที่คิดจะไปบังเกิดแล้วบรรเทาได้ยาก ๑

การกวาดมีอานิสงส์ ๕ คือ จิตของตนเลื่อมใส ๑ จิตของผู้อื่น เลื่อมใส ๑ เทวดาชื่นชม ๑ สั่งสมกรรมที่เป็นไปเพื่อให้เกิดความเลื่อมใส ๑ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ๑

การกวาดมีอานิสงส์แม้อื่นอีก ๕ คือ จิตของตนเลื่อมใส ๑ จิตของ ผู้อื่นเลื่อมใส ๑ เทวดาชื่นชม ๑ เป็นอันทำตามคำสั่งสอนของพระศาสดา ๑ ชุมชนมีในภายหลังถือเป็นทิฏฐานุคติ ๑

ว่าด้วยองคคุณของพระวินัยธร

[๙๘๐] พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าเป็นผู้เขลา คือ ไม่ กำหนดที่สุดถ้อยคำของตน ๑ ไม่กำหนดที่สุดถ้อยคำของผู้อื่น ๑ ไม่กำหนด ที่สุดถ้อยคำของตน ไม่กำหนดที่สุดถ้อยคำของผู้อื่นแล้วปรับอาบัติ ๑ ย่อม ปรับอาบัติโดยไม่เป็นธรรม ๑ ย่อมปรับอาบัติไม่ตามปฏิญญา ๑

วินัยธรประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ กำหนดที่สุด ถ้อยคำของตน ๑ กำหนดที่สุดถ้อยคำของผู้อื่น ๑ กำหนดที่สุดถ้อยคำของตน ทั้งกำหนดที่สุดถ้อยคำของผู้อื่นแล้วปรับอาบัติ ๑ ย่อมปรับอาบัติตามธรรม ๑ ย่อมปรับอาบัติตามปฏิญญา ๑

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 491

พระวินัยธรประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๕ นับว่าเป็นคนเขลาคือ ไม่ รู้จักอาบัติ ๑ ไม่รู้จักมูลของอาบัติ ๑ ไม่รู้จักเหตุเกิดอาบัติ ๑ ไม่รู้จักการ ระงับอาบัติ ๑ ไม่รู้จักทางระงับอาบัติ ๑

พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ รู้จักอาบัติ ๑ รู้จักมูลของอาบัติ ๑ รู้จักเหตุเกิดอาบัติ ๑ รู้จักการระงับอาบัติ ๑ รู้จักทาง ระงับอาบัติ ๑

พระวินัยธรประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๕ นับว่าเป็นผู้เขลา คือ ไม่รู้จัก อธิกรณ์ ๑ ไม่รู้จักมูลของอธิกรณ์ ๑ ไม่รู้จักเหตุเกิดของอธิกรณ์ ๑ ไม่รู้จัก ความระงับของอธิกรณ์ ๑ ไม่รู้จักข้อปฏิบัติอันให้ถึงความระงับแห่งอธิกรณ์ ๑

พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ รู้จักอธิกรณ์ รู้จักมูลของอธิกรณ์ ๑ รู้จักเหตุเกิดของอธิกรณ์ ๑ รู้จักความระงับของ อธิกรณ์ ๑ รู้จักข้อปฏิบัติอันให้ถึงความระงับแห่งอธิกรณ์ ๑

พระวินัยธรประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๕ นับว่าเป็นผู้เขลา คือ ไม่ รู้จักวัตถุ ๑ ไม่รู้จักเหตุเป็นเค้ามูล ๑ ไม่รู้จักบัญญัติ ๑ ไม่รู้จักอนุบัญญัติ ๑ ไม่รู้จักทางแห่งถ้อยคำอันเข้าอนุสนธิกันได้ ๑

พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ รู้จักวัตถุ ๑ รู้จักเหตุเป็นเค้ามูล ๑ รู้จักบัญญัติ ๑ รู้จักอนุบัญญัติ ๑ รู้จักทางแห่งถ้อยคำ อันเข้าอนุสนธิกันได้ ๑

พระวินัยธรประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๕ นับว่าเป็นผู้เขลา คือ ไม่ รู้จักบัญญัติ ๑ ไม่รู้จักตั้งบัญญัติ ๑ ไม่ฉลาดในเบื้องต้น ๑ ไม่ฉลาดในเบื้องปลาย ๑ ไม่รู้จักกาล ๑

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 492

พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าเป็นรู้ฉลาด คือ รู้จักญัตติ ๑ รู้จับตั้งญัตติ ๑ ฉลาดในเบื้องต้น ๑ ฉลาดในเบื้องปลาย ๑ รู้จักกาล ๑

พระวินัยธรประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๕ นับว่าเป็นผู้เขลา คือ ไม่ อาบัติและมิใช่อาบัติ ๑ ไม่รู้จักอาบัติเบาและอาบัติหนัก ๑ ไม่รู้จักอาบัติมีส่วน เหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ ๑ ไม่รู้จักอาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ ๑ ไม่ยึดถือ ไม่ใส่ใจ ไม่ใคร่ครวญถ้อยคำที่สืบต่อจากอาจารย์ให้ดี ๑

พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ รู้จักอาบัติ และมิใช่อาบัติ ๑ รู้จักอาบัติเบาและอาบัติหนัก ๑ รู้จักอาบัติมีส่วนเหลือและ อาบัติไม่มีส่วนเหลือ ๑ รู้จักอาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ ๑ ยึดถือ ใส่ใจใคร่ครวญถ้อยคำที่สืบต่อจากอาจารย์ด้วยดี ๑

พระวินัยธรประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๕ นับว่าเป็นผู้เขลา คือ ไม่ รู้จักอาบัติและมิใช่อาบัติ ๑ ไม่รู้จักอาบัติเบาและอาบัติหนัก ๑ ไม่รู้จักอาบัติ มีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ ๑ ไม่รู้จักอาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ ๑ จำปาติโมกข์ทั้งสองไม่ได้โดยพิสดาร จำแนกไม่ถูกต้อง สวดไม่ คล่องแคล่ว วินิจฉัยไม่ถูกต้อง โดยสูตร โดยอนุพยัญชนะ ๑

พระวินิยธรประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ รู้จักอาบัติ และมิใช่อาบัติ ๑ รู้จักอาบัติเบาและอาบัติหนัก ๑ รู้จักอาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติ ไม่มีส่วนเหลือ ๑ รู้จักอาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ ๑ จำปาติโมกข์ ทั้งสองได้ดีโดยพิสดาร จำแนกถูกต้อง สวดได้คล่องแคล่ว วินิจฉัยถูกต้องดี โดยสูตร โดยอนุพยัญชนะ

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 493

พระวินัยธรประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๕ นับว่าเป็นผู้เขลา คือ ไม่ รู้จักอาบัติและมิใช่อาบัติ ๑ ไม่รู้จักอาบัติเบาและอาบัติหนัก ๑ ไม่รู้จักอาบัติมี ส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ ๑ ไม่รู้จักอาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ ๑ ไม่ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์ ๑

พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ รู้จักอาบัติ และไม่ใช่อาบัติ ๑ รู้จักอาบัติเบาและอาบัติหนัก ๑ รู้จักอาบัติมีส่วนเหลือและ อาบัติไม่มีส่วนเหลือ ๑ รู้จักอาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ ๑ ฉลาดใน การวินิจฉัยอธิกรณ์ ๑.

ว่าด้วยภิกษุอยู่ป่าเป็นต้น

[๙๘๑] ภิกษุผู้ถืออยู่ป่ามี ๕ คือ เพราะเป็นผู้เขลา เพราะเป็นผู้ งมงายจึงอยู่ป่า ๑ เป็นผู้ปรารถนาลามก ถูกความปรารถนาครอบงำ จึงอยู่ป่า ๑ เพราะมัวเมา เพราะจิตฟุ้งซ่าน จึงอยู่ป่า ๑ เพราะเข้าใจว่า พระพุทธเจ้า และพระสาวกของพระพุทธเจ้าสรรเสริญ จึงอยู่ป่า ๑ เพราะอาศัยความมักน้อย สันโดษ ขัดเกลา ความเงียบสงัด และเพราะอาศัยความเป็นแห่งการอยู่ป่ามี ประโยชน์ด้วยความปฏิบัติตามนี้ จึงอยู่ป่า ๑

ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตมี ๕

ภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุลมี ๕

ภิกษุผู้ถืออยู่โคนไม้มี ๕

ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าช้ามี ๕

ภิกษุผู้ถืออยู่กลางแจ้งมี ๕

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 494

ภิกษุผู้ถือผ้าสามผืนมี ๕

ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับมี ๕

ภิกษุผู้ถือการนั่งมี ๕

ภิกษุผู้ถืออยู่ในเสนาสนะตามที่จัดไว้มี ๕

ภิกษุผู้ถือนั่งฉัน ณ อาสนะแห่งเดียวมี ๕

ภิกษุผู้ถือการห้ามภัตรที่เขานำมาถวายเมื่อภายหลังมี ๕

ภิกษุผู้ถือการฉันเพราะในบาตรมี ๕ คือ เพราะเป็นผู้เขลา เพราะเป็น ผู้งมงาย จึงถือการฉันเฉพาะในบาตร ๑ เป็นผู้ปรารถนาลามก ถูกความ ปรารถนาครอบงำ จึงถือการฉันเฉพาะในบาตร ๑ เพราะมัวเมา เพราะจิต ฟุ้งซ่าน จึงถือการฉันเฉพาะในบาตร ๑ เพราะเข้าใจว่า พระพุทธเจ้า และ พระสาวกของพระพุทธเจ้าสรรเสริญ จึงถือการฉันเฉพาะในบาตร ๑ เพราะ อาศัยความมักน้อย สันโดษ ขัดเกลา ความเงียบสงัด และเพราะอาศัยความ เป็นแห่งการฉันเฉพาะในบาตรมีประโยชน์ด้วยความปฏิบัติตามนี้ จึงถือการฉัน เฉพาะในบาตร ๑.

ว่าด้วยองค์ของภิกษุผู้ต้องถือนิสัย

[๙๘๒] ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ จะไม่ถือนิสัยอยู่ไม่ได้ คือ ไม่รู้ อุโบสถ ๑ ไม่รู้อุโบสถกรรม ๑ ไม่รู้ปาติโมกข์ ๑ ไม่รู้ปาติโมกขุทเทศ ๑ มีพรรษาหย่อนห้า ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ต้องถือนิสัยอยู่ คือ รู้อุโบสถ ๑ รู้ อุโบสถกรรม ๑ รู้ปาติโมกข์ ๑ รู้ปาติโมกขุทเทศ ๑ มีพรรษาห้า หรือมี พรรษาเกินห้า ๑

 
  ข้อความที่ 46  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 495

ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๕ จะไม่ถือนิสัยอยู่ไม่ได้ คือ ไม่รู้ ปวารณา ๑ ไม่รู้ปวารณากรรม ๑ ไม่รู้ปาติโมกข์ ๑ ไม่รู้ปาติโมกขุทเทศ ๑ มีพรรษาหย่อนห้า ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ต้องถือนิสัยอยู่ คือ รู้ปวารณา ๑ รู้ ปวารณากรรม ๑ รู้ปาติโมกข์ ๑ รู้ปาติโมกขุทเทศ ๑ มีพรรษาห้า หรือมี พรรษาเกินห้า ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๕ จะไม่ถือนิสัยอยู่ไม่ได้ คือ ไม่รู้ อาบัติและมิใช่อาบัติ ๑ ไม่รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก ๑ ไม่รู้อาบัติมีส่วนเหลือ และอาบัติไม่มีส่วนเหลือ ๑ ไม่รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ ๑ มี พรรษาหย่อนห้า ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ต้องถือนิสัยอยู่ คือ รู้อาบัติและมิใช่ อาบัติ ๑ รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก ๑ รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วน เหลือ ๑ รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ ๑ มีพรรษาห้า หรือมีพรรษา เกินห้า ๑

ภิกษุณีประกอบด้วยองค์ ๕ จะไม่ถือนิสัยอยู่ไม่ได้ คือ ไม่รู้อุโบสถ ๑ ไม่รู้อุโบสถกรรม ๑ ไม่รู้ปาติโมกข์ ๑ ไม่รู้ปาติโมกขุทเทศ ๑ มีพรรษา หย่อนห้า ๑

ภิกษุณีประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ต้องถือนิสัยอยู่ คือ รู้อุโบสถ ๑ รู้ อุโบสถกรรม ๑ รู้ปาติโมกข์ ๑ รู้ปาติโมกขุทเทศ ๑ มีพรรษาห้า หรือมี พรรษาเกินห้า ๑

 
  ข้อความที่ 47  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 496

ภิกษุณีประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๕ จะไม่ถือนิสัยอยู่ไม่ได้ คือ ไม่ รู้ปวารณา ๑ ไม่รู้ปวารณากรรม ๑ ไม่รู้ปาติโมกข์ ๑ ไม่รู้ปาติโมกขุทเทศ ๑ มีพรรษาหย่อนห้า ๑

ภิกษุณีประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ต้องถือนิสัย คือ รู้ปวารณา ๑ รู้ ปวารณากรรม ๑ รู้ปาติโมกข์ ๑ รู้ปาติโมกขุทเทศ ๑ มีพรรษา ๕ หรือมี พรรษาเกินห้า ๑

ภิกษุณีประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๕ จะไม่ถือนิสัยอยู่ไม่ได้ ศีล ไม่ รู้อาบัติและมิใช่อาบัติ ๑ ไม่รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก ๑ ไม่รู้อาบัติมีส่วน เหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ ๑ ไม่รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ ๑ มีพรรษาหย่อนห้า ๑

ภิกษุณีประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ต้องถือนิสัยอยู่ คือ รู้อาบัติและมิใช่ อาบัติ ๑ รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก ๑ รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วน เหลือ ๑ รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ ๑ มีพรรษาห้า หรือมีพรรษา เกินห้า ๑

โทษในกรรมไม่น่าเสื่อมใสเป็นต้น

[๙๘๓] กรรมที่ไม่น่าเลื่อมใสมีโทษ ๕ คือ ตนเองก็ติเตียนตน ๑ ผู้รู้ทั้งหลายใคร่ครวญแล้วก็ติเตียน ๑ กิตติศัพท์อันทรามย่อมขจรไป ๑ หลงไหลทำกาละ ๑ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ๑

 
  ข้อความที่ 48  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 497

กรรมที่น่าเลื่อมใสมีคุณ ๕ คือ ตนเองก็ไม่ติเตียนตน ๑ ผู้รู้ทั้งหลาย ใคร่ครวญแล้วก็สรรเสริญ ๑ กิตติศัพท์อันดีย่อมขจรไป ๑ ไม่หลงใหลทำ กาละ ๑ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ ๑

กรรมที่ไม่น่าเลื่อมใส มีโทษแม้อื่นอีก ๕ คือ ผู้ที่ยังไม่เลื่อมใส ย่อมไม่เลื่อมใส ๑ คนบางคนพวกที่เลื่อมใสแล้ว ย่อมเป็นอย่างอื่นไป ๑ เขา ไม่เป็นอันทำคำสอนของพระศาสดา ๑ หมู่ชนมีในภายหลัง ย่อมถือเป็น ทิฏฐานุคติ ๑ จิตของเขาไม่เลื่อมใส ๑

กรรมที่น่าเลื่อมใสมีคุณ ๕ คือ ผู้ที่ยังไม่เลื่อมใส ย่อมเลื่อมใส ๑ ผู้ที่เลื่อมใสแล้วย่อมเลื่อมใสยิ่งขึ้นไป ๑ เขาเป็นอันทำคำสอนของพระศาสดา ๑ หมู่ชนมีในภายหลัง ย่อมถือเป็นทิฏฐานุคติ ๑ จิตของเขาย่อมเลื่อมใส ๑

ภิกษุผู้เข้าไปสู่ตระกูลมีโทษ ๕ คือ ต้องอาบัติเพราะไม่บอกลาเที่ยวไป ๑ ต้องอาบัติเพราะนั่งในที่ลับ ๑ ต้องอาบัติเพราะอาสนะกำบัง ๑ แสดงธรรมแก่ มาตุคามด้วยวาจาเกิน ๕ -๖ คำ ต้องอาบัติ ๑ เป็นผู้มากด้วยความดำริในกาม อยู่ ๑

ภิกษุผู้เข้าไปสู่ตระกูล คลุกคลีอยู่ในตระกูลเกินเวลา มีโทษ ๕ คือ เห็นมาตุคามเนืองๆ ๑ เมื่อมีการเห็นก็มีการเกี่ยวข้อง ๑ เมื่อมีการเกี่ยวข้อง ก็ต้องคุ้นเคย ๑ เมื่อมีความคุ้นเคยก็มีจิตกำหนัด ๑ เมื่อมีจิตกำหนัด ก็หวัง ข้อนี้ได้ คือ เธอจักไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ หรือจักต้องอาบัติที่เศร้าหมองอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือจักบอกลาสิกขาเวียนมาเพื่อเป็นคฤหัสถ์ ๑

 
  ข้อความที่ 49  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 498

ว่าด้วยพืชและผลไม้

[๙๘๔] พืชมี ๕ ชนิด คือ พืชเกิดจากเงา ๑ พืชเกิดจากต้น ๑ พืช เกิดจากข้อ ๑ พืชเกิดจากยอด ๑ พืชเกิดจากเมล็ด ๑

ผลไม้ที่ควรบริโภคด้วยวิธีอันควรแก่สมณะมี ๕ คือ จี้ด้วยไฟ ๑ กรีด ด้วยศัสตรา ๑ จิกด้วยเล็บ ๑ ไม่มีเมล็ด ๑ เขาปล้อนเมล็ดออกแล้วเป็นที่ห้า ๑.

ว่าด้วยวิสุทธิ ๕

[๙๘๕] วิสุทธิมี ๕ คือ ภิกษุแสดงนิทานแล้ว นอกนั้นพึงสวดด้วย สุตบท นี้เป็นวิสุทธิข้อที่ ๑

แสดงนิทาน แสดงปาราชิก ๔ แล้ว นอกนั้นพึงสวดด้วยสุตบท นี้ เป็นวิสุทธิข้อที่ ๒

แสดงนิทาน แสดงปาราชิก ๔ แสดงสังฆาทิเสส ๑๓ แล้ว นอกนั้น พึงสวดด้วยสุตบท นี้เป็นวิสุทธิข้อที่ ๓

แสดงนิทาน แสดงปาราชิก ๔ แสดงสังฆาทิเสส ๑๓ แสดงอนิยต ๒ แล้ว นอกนั้นพึงสวดด้วยสุตบท นี้เป็นวิสุทธิข้อที่ ๔

สวดโดยพิสดารอย่างเดียว เป็นวิสุทธิข้อที่ ๕

วิสุทธิแม้อื่นอีก ๕ คือ สุตตุทเทศ ๑ ปาริสุทธิอุโบสถ ๑ อธิษฐาน อุโบสถ ๑ สามัคคีอุโบสถ ๑ ปวารณาเป็นที่ห้า ๑.

ว่าด้วยอานิสงส์การทรงวินัยเป็นต้น

[๙๘๖] การทรงวินัยมีอานิสงส์ ๕ คือ กองศีลของตนเป็นอันคุ้มครอง รักษาดีแล้ว ๑ ผู้ที่ถูกความรังเกียจครอบงำย่อมหวนระลึกได้ ๑ กล้าพูดใน

 
  ข้อความที่ 50  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 499

ท่ามกลางสงฆ์ ๑ ข่มด้วยดีซึ่งข้าศึกโดยสหธรรม ๑ เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความตั้ง มั่นแห่งพระสัทธรรม ๑

การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มี ๕

การงดปาติโมกข์เป็นธรรม มี ๕.

หมวด ๕ จบ

หัวข้อประจำหมวด

[๙๘๗] อาบัติ ๑ กองอาบัติ ๑ วินีต วัตถุ ๑ อนันตริยกรรม ๑ บุคคล ๑ อาบัติมี อันตัดเป็นวินัยกรรม ๑ ต้องอาบัติ ๑ ปัจจัย ๑ ไม่เข้ากรรม ๑ เข้ากรรม ๑ กิจควร ๑ ภิกษุ ถูกระแวง ๑ น้ำมัน ๑ เปลวมัน ๑ ความเสื่อม ๑ ความเจริญ ๑ ความระงับ ๑ บุคคลไม่ควร อุปสมบท ๑ ผ้าบังสุกุลที่ตก ณ ป่าช้า ๑ ผ้า บังสุกุลที่โคกัด ๑ การลัก ๑ โจร ๑ สิ่งของ ไม่ควรจ่าย ๑ สิ่งของไม่ควรแบ่ง ๑ อาบัติ เกิดแต่กาย ๑ เกิดแต่กายและวาจา ๑ เป็น เทสนาคามินี ๑ สงฆ์ ๑ ปาติโมกขุทเทศ ๑ ปัจจันติมชนบท ๑ อานิสงส์กฐิน ๑ กรรม ๑ อาบัติเป็นยาวตติยกา ๑ ปาราชิก ๑ ถุลลัจจัย ๑ ทุกกฏ ๑ ของเป็นอกัปปิยะ ๑ ของเป็น

 
  ข้อความที่ 51  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 500

กัปปิยะ ๑ สิ่งที่ให้แล้วไม่เป็นบุญ ๑ สิ่งที่ บรรเทาได้ยาก ๑ การกวาด ๑ การกวาดอย่าง อื่นอีก ๑ ถ้อยคำ ๑ อาบัติ ๑ อธิกรณ์ ๑ วัตถุ ๑ ญัตติ ๑ อาบัติและมิใช่อาบัติ ๑ ปาติโมกข์ ทั้งสอง ๑ อาบัติเบาและอาบัติเป็นที่แปด ๑ จงทราบฝ่ายดำและฝ่ายขาวดังข้างต้นนี้ อยู่ ป่า ๑ ถือเที่ยวบิณฑบาต ๑ ทรงผ้าบังสุกุล ๑ อยู่โคนไม้ อยู่ป่าช้า ๑ อยู่ที่แจ้ง ๑ ทรงผ้า ๓ ผืน ๑ ถือเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับแถว ๑ ถือการนั่ง ๑ ถืออยู่ในเสนาสนะตามที่จัดไว้ ๑ ถือนั่งฉัน ณ อาสนะแห่งเดียว ๑ ถือการห้าม ภัตรที่ถวายทีหลัง ๑ ถือฉันข้าวในบาตร ๑ อุโบสถ ๑ ปวารณา ๑ อาบัติและมิใช่อาบัติ ๑ บทฝ่ายดำและฝ่ายขวาดังข้างต้นนี้ สำหรับ ภิกษุณีก็เหมือนกัน กรรมที่ไม่น่าเลื่อมใส ๑ กรรมที่น่าเลื่อมใส ๑ กรรมที่ไม่น่าเลื่อมใส และน่าเลื่อมใสอื่นอีก ๒ อย่าง ภิกษุเข้าไป สู่สกุล ๑ ภิกษุคลุกคลีอยู่เกินเวลา ๑ พืช ๑ ผลไม้ควรแก่สมณะ ๑ วิสุทธิ ๑ วิสุทธิแม้อื่น อีก ๑ อานิสงส์การทรงพระวินัย ๑ งดปาติ-

 
  ข้อความที่ 52  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 501

โมกข์ไม่เป็นธรรม ๑ งดปาติโมกข์เป็นธรรม ๑.

หมวดห้าล้วนที่กล่าวแล้วจบ

หัวข้อประจำหมวด ๕ จบ

หมวด ๖

ว่าด้วยความไม่เคารพเป็นต้น

[๙๘๘] ความไม่เคารพมี ๖ ความเคารพมี ๖ วินีตวัตถุมี ๖ สามีจิ- กรรมมี ๖ สมุฏฐานอาบัติมี ๖ อาบัติมีอันตัดเป็นวินัยกรรมมี ๖ ภิกษุต้อง อาบัติด้วยอาการ ๖ การทรงวินัยมีอานิสงส์ ๖ สิกขาบทที่ว่าด้วยอย่างยิ่งมี ๖ ภิกษุ อยู่ปราศจากไตรจีวร ๖ ราตรี จีวรมี ๖ ชนิด น้ำย้อมมี ๖ ชนิด อาบัติเกิดแต่ กายกับจิตมิใช่วาจามี ๖ อาบัติ เกิดแต่วาจากับจิต มิใช่กายมี ๖ อาบัติเกิด แต่กายวาจาและจิตมี ๖ กรรมมี ๖ มูลแห่งวิวาทมี ๖ มูลแห่งการโจทมี ๖ สาราณียธรรมี ๖ ผ้าอาบน้ำฝนยาว ๖ คืบ พระสุคต จีวรพระสุคตกว้าง ๖ คืบ พระสุคต นิสัยระงับจากพระอาจารย์มี ๖ อนุบัญญัติในการอาบน้ำมี ๖ ภิกษุ ถือเอาจีวรที่ทำค้างไว้แล้วหลีกไป เก็บเอาจีวรที่ทำค้างแล้วหลีกไป.

ว่าด้วยองค์ ๖ แห่งพระอุปัชฌาย์

[๙๘๙] ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๖ ควรให้อุปสมบท ควรให้นิสัย ควรให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ:-

 
  ข้อความที่ 53  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 502

เป็นผู้ประกอบด้วยกองศีล ของพระอเสขะ ๑

เป็นผู้ประกอบด้วยกองสมาธิ ของพระอเสขะ ๑

เป็นผู้ประกอบด้วยกองปัญญา ของพระอเสขะ ๑

เป็นผู้ประกอบด้วยกองวิมุตติ ของพระอเสขะ ๑

เป็นผู้ประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะ ของพระอเสขะ ๑

เป็นผู้มีพรรษาสิบ หรือมีพรรษาเกินสิบ ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๖ ควรให้อุปสมบท ควรให้นิสัย ควรให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ:-

เป็นผู้ประกอบด้วยกองศีลของพระอเสขะด้วยตน และชักชวนผู้อื่นใน กองศีล ของพระอเสขะ ๑

เป็นผู้ประกอบด้วยกองสมาธิของพระอเสขะด้วยตน และชักชวนผู้อื่น ในกองสมาธิ ของพระอเสขะ ๑

เป็นผู้ประกอบด้วยกองปัญญาของพระอเสขะด้วยตน และชักชวนผู้อื่น ในกองปัญญา ของพระอเสขะ ๑

เป็นผู้ประกอบด้วยกองวิมุตติของพระอเสขะด้วยตน และชักชวนผู้อื่น ในกองวิมุตติ ของพระอเสขะ ๑

เป็นผู้ประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะของพระอเสขะด้วยตน และ ชักชวนผู้อื่นในกองวิมุตติญาณทัสสนะ ของพระอเสขะ ๑

เป็นผู้มีพรรษาสิบ หรือมีพรรษาเกินสิบ ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๖ ควรให้อุปสมบท ควรให้นิสัย ควรให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ มีศรัทธา ๑ มีความละอาย ๑ มีความเกรงกลัวบาป ๑ ปรารภความเพียร ๑ มีสติตั้งมั่น ๑ มีพรรษาสิบ หรือมีพรรษาเกินสิบ ๑

 
  ข้อความที่ 54  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 503

ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๖ ควรให้อุปสมบท ควรให้นิสัย ควรให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ ไม่มีศีลวิบัติในอธิศีล ๑ ไม่มีอาจารวิบัติในอัธยาจาร ๑ ไม่มีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ ๑ เป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก ๑ มีปัญญา ๑ มีพรรษาสิบ หรือพรรษาเกินสิบ ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๖ ควรให้อุปสมบท ควรให้นิสัย ควรให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ อาจพยาบาลเอง หรือสั่งให้ผู้อื่นพยาบาลอันเตวาสิกหรือสิทธิวิหาริกผู้อาพาธ ๑ อาจระงับเองหรือวานผู้อื่นให้ช่วยระงับความ กระสันอันเกิดขึ้นแล้ว ๑ อาจบรรเทาเองหรือวานผู้อื่นให้ช่วยบรรเทาความเบื่อ หน่ายอันเกิดขึ้นโดยธรรม ๑ รู้จักอาบัติ ๑ รู้จักวิธีออกจากอาบัติ ๑ มีพรรษา ได้สิบ หรือมีพรรษาเกินสิบ ๑ ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๖ ควรให้อุปสมบท ควรให้นิสัย ควรให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ อาจฝีกปรืออันเตวาสิกหรือสัทธิวิหาริกในสิกขา อันเป็นส่วนอภิสมาจาร ๑ อาจแนะนำอันเตวาสิกหรือสัทธิวิหาริกในสิกขาเป็น ส่วนเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ๑ อาจแนะนำในธรรมอันยิ่งขึ้นไป ๑ อาจแนะนำ ในวินัยอันยิ่งขึ้นไป ๑ อาจเปลื้องทิฏฐิผิดอันเกิดขึ้นแล้วโดยธรรม ๑ มีพรรษาได้ สิบ หรือมีพรรษาเกินสิบ ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๖ ควรให้อุปสมบท ควรให้นิสัย ควรให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ รู้อาบัติ ๑ รู้สิ่งมิใช่อาบัติ ๑ รู้อาบัติเบา ๑ รู้อาบัติหนัก ๑ จำปาติโมกข์ทั้งสองได้ดีโดยพิสดาร จำแนกดี สวดคล่องแคล่ว วินิจฉัยถูกต้องโดยสูตร โดยอนุพยัญชนะ ๑ มีพรรษาได้สิบ หรือมีพรรษา เกินสิบ ๑.

 
  ข้อความที่ 55  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 504

ว่าด้วยงดปาติโมกข์

[๙๙๐] งดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรมมี ๖ งดปาติโมกข์เป็นธรรมมี ๖.

หมวด ๖ จบ

หัวข้อประจำหมวด

[๙๙๑] อคารวะ ๑ คารวะ ๑ วินีตวัตถุ ๑ สามีจิกรรม ๑ สมุฏฐานอาบัติ ๑ สิกขาบทมีการตัดเป็นวินัยกรรม ๑ อาการ ๑ อานิสงส์ ๑ สิกขาบทว่าด้วยอย่างยิ่ง ๑ อยู่ปราศ ๖ ราตรี ๑ จีวร ๑ น้ำย้อม ๑ อาบัติเกิดแต่กายกับจิต ๑ วาจากับจิต ๑ กายวาจาและจิต ๑ กรรม ๑ มูลแห่งวิวาท ๑ มูลแห่งการโจท ๑ ด้านยาว ๑ ด้ายกว้าง ๑ นิสัยระงับ ๑ อนุบัญญัติ ๑ ถือเอาจีวรที่ทำ ค้าง ๑ เก็บเอาจีวรที่ทำค้าง ๑ อเสขธรรม ๑ ชักชวนผู้อื่นในอเสขธรรม ๑ มีศรัทธา ๑ อธิศีล ๑ พยาบาลผู้อาพาธ ๑ ฝึกปรือใน อภิสมาจาร ๑ รู้อาบัติ ๑ งดปาติโมกข์ไม่ เป็นธรรม ๑ งดปาติโมกข์เป็นธรรม ๑.

หัวข้อประจำหมวด ๖ จบ

 
  ข้อความที่ 56  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 505

หมวด ๗

ว่าด้วยอาบัติเป็นต้น

[๙๙๒] อาบัติมี ๗ กองอาบัติมี ๗ วินีวัตถุมี ๓ สามีจิกรรมมี ๓ ทำตามปฏิญญาไม่ชอบธรรมมี ๗ ทำตามปฏิญญาชอบธรรมมี ๗ กิจ ๗ อย่าง ภิกษุไปด้วยสัตตาหกรณียะ ไม่ต้องอาบัติ ทรงวินัยมีอานิสงส์ ๗ สิกขาบท ว่าด้วยอย่างยิ่งมี ๗ เพราะอรุณขึ้นเป็นนิสสัคคีย์มี ๗ สมถะมี ๗ กรรมมี ๗ ข้าวเปลือกดิบมี ๗ สร้างกุฎีด้านกว้างร่วมใน ๗ คืบ คณะโภชน์ อนุบัญญัติ มี ๗ ภิกษุรับประเคนเภสัชแล้วเก็บไว้ฉันได้ ๗ วันเป็นอย่างยิ่ง ภิกษุถือเอา จีวรที่ทำเสร็จแล้วหลีกไป เก็บจีวรที่ทำเสร็จแล้วหลีกไป ภิกษุไม่เห็นอาบัติ ภิกษุเห็นอาบัติ ภิกษุทำคืนอาบัติ งดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรมมี ๗ งดปาติโมกข์ เป็นธรรมมี ๗.

ว่าด้วยองค์ของพระวินัยธร

[๙๙๓] ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๗ เป็นพระวินัยธรได้ คือรู้อาบัติ ๑ รู้สิ่งมิใช่อาบัติ ๑ รู้อาบัติเบา ๑ รู้อาบัติหนัก ๑ เป็นผู้มีศีล สำรวมใน ปาติโมกขสังวรถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจรอยู่ เห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ๑ สำหรับฌาน ๔ ฝ่ายกุศลเจตสิก เป็น เครื่องอยู่สบายในปัจจุบัน เธอเป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้ไม่ยาก ได้ไม่ ลำบาก ๑ ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ไม่มีอาสวะเพราะสิ้นอาสวะ ด้วยปัญญาอันยิ่ง ด้วยตนเองในปัจจุบันนี้แหละเข้าถึงอยู่ ๑

 
  ข้อความที่ 57  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 506

ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๗ เป็นพระวินัยธรได้ คือรู้อาบัติ ๑ รู้สิ่งมิใช่อาบัติ ๑ รู้อาบัติเบา ๑ รู้อาบัติหนัก ๑ เป็นผู้มีสุตะมาก ทรงจำสละ สั่งสมสุตะ ธรรมเหล่านั้นใดไพเราะในเบื้องต้น ไพเราะในท่ามกลาง ไพเราะ ในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง ธรรมเห็นปานนั้น เธอสดับมาก ทรงไว้ สั่งสมด้วยวาจา เพ่งด้วยใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ ๑ สำหรับฌาน ๔ ฝ่ายกุศลเจตสิกเป็น เครื่องอยู่สบายในปัจจุบัน เธอเป็นผู้ได้ตามความปรารถนาได้ไม่ยาก ได้ไม่ ลำบาก ๑ ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ ไม่มีอาสวะเพราะสิ้นอาสวะ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบันนี้แหละ เข้าถึงอยู่ ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๗ เป็นพระวินัยธรได้ คือรู้อาบัติ ๑ รู้สิ่งมิใช่อาบัติ ๑ รู้อาบัติเบา ๑ รู้อาบัติหนัก ๑ จำปาติโมกข์ทั้งสองได้โดย พิสดาร จำแนกดี สวดคล่องแคล่ว วินิจฉัยถูกต้อง โดยสูตร โดยอนุ- พยัญชนะ ๑ สำหรับฌาน ๔ ฝ่ายกุศลเจตสิก เป็นเครื่องอยู่สบายในปัจจุบัน เธอเป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้ไม่ยาก ได้ไม่ลำบาก ๑ ทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ไม่มีอาสวะเพราะสิ้นอาสวะ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตน เอง ในปัจจุบันนี้แหละเข้าถึงอยู่ ๑

ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๗ เป็นพระวินัยธรได้ คือรู้อาบัติ ๑ รู้สิ่งนี้ใช่อาบัติ ๑ รู้อาบัติเบา ๑ รู้อาบัติหนัก ๑ ระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง หกชาติบ้าง เจ็ดชาติบ้าง แปดชาติบ้าง เก้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติ

 
  ข้อความที่ 58  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 507

บ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติ บ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอัน มากบ้าง ตลอดสังวัฏฏวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ว่าในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขทุกข์อย่างนั้น มีกำหนดอายุเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขทุกข์อย่างนั้น มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ มาเกิดในภพนี้ ย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อม ทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้

ย่อมเล็งเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำ ด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ สัตว์เหล่านั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียน พระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ สัตว์เหล่านั้น เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ย่อมเล็งเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลัง อุปบัติเลวประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุ อันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วย ประการฉะนี้ ๑ ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ไม่มีอาสวะ เพราะสิ้น อาสวะด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบันนี้แหละ เข้าถึงอยู่ ๑

 
  ข้อความที่ 59  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 508

พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๗ ย่อมงาม คือ รู้อาบัติ ๑ รู้สิ่งมิใช่ อาบัติ ๑ รู้อาบัติเบา ๑ รู้อาบัติหนัก ๑ เป็นผู้มีศีล ... สมาทานศึกษาอยู่ใน สิกขาบททั้งหลาย ๑ สำหรับฌาน ๔ ฝ่ายกุศลเจตสิก เป็นเครื่องอยู่สบายใน ปัจจุบัน เธอเป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้ไม่ยาก ได้ไม่ลำบาก ๑ ทำให้ แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ไม่มีอาสวะเพราะสิ้นอาสวะ ด้วยปัญญาอันยิ่ง ด้วยตนเอง ในปัจจุบันนี้แหละ เข้าถึงอยู่ ๑

พระวินัยธรประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๗ ย่อมงาม คือ รู้อาบัติ ๑ รู้สิ่งมิใช่อาบัติ ๑ รู้อาบัติเบา ๑ รู้อาบัติหนัก ๑ เป็นผู้มีสุตะมาก ... แทงตลอด ด้วยดีด้วยทิฏฐิ ๑ สำหรับฌาน ๔ ฝ่ายกุศลเจตสิก เป็นเครื่องอยู่สบายใน ปัจจุบัน เธอเป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้ไม่ยาก ได้ไม่ลำบาก ๑ ทำให้ แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ไม่มีอาสวะ เพราะสิ้นอาสวะ ด้วยปัญญาอันยิ่ง ด้วยตนเอง ในปัจจุบันนี้แหละเข้าถึงอยู่ ๑

พระวินัยธรประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๗ ย่อมงาม คือ รู้อาบัติ ๑ รู้สิ่งมิใช่อาบัติ ๑ รู้อาบัติเบา ๑ รู้อาบัติหนัก ๑ จำปาติโมกข์ทั้งสองได้โดย พิสดาร จำแนกดี สวดคล่องแคล่ว วินิจฉัยถูกต้อง โดยสูตร โดยอนุ- พยัญชนะ ๑ สำหรับฌาน ๔ ฝ่ายกุศลเจตสิก เป็นเครื่องอยู่สบายในปัจจุบัน เธอเป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้ไม่ยาก ได้ไม่ลำบาก ๑ ทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ไม่มีอาสวะเพราะสิ้นอาสวะ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วย ตนเอง ในปัจจุบันนี้แหละ เข้าถึงอยู่ ๑

พระวินัยธรประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๗ ย่อมงาม คือ รู้อาบัติ ๑ รู้สิ่งมิใช่อาบัติ ๑ รู้อาบัติเบา ๑ รู้อาบัติหนัก ๑ ระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก

 
  ข้อความที่ 60  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 509

... ๑ เล็งเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์เป็นไปตามกรรม ... ๑ ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ไม่มีอาสวะเพราะสิ้นอาสวะ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบันนี้แหละ เข้าถึงอยู่ ๑.

ว่าด้วยอสัทธรรมและสัทธรรม

[๙๙๔] อสัทธรรม ๗ คือ ไม่มีศรัทธา ๑ ไม่มีความละอาย ๑ ไม่มี ความเกรงกลัว ๑ มีการฟังน้อย ๑ เกียจคร้าน ๑ หลงลืมสติ ๑ มีปัญญาทราม ๑

สัทธรรมมี ๗ คือ มีศรัทธา ๑ มีความละอาย ๑ มีความเกรงกลัว ๑ มีการฟังมาก ๑ ปรารภความเพียร ๑ มีสติตั้งมั่น ๑ มีปัญญา ๑.

หมวด ๗ จบ

หัวข้อประจำหมวด

[๙๙๕] อาบัติ ๑ กองอาบัติ ๑ วินีตวัตถุ ๑ สามีจิกรรม ๑ ทำ ตามปฏิญญาไม่เป็นธรรม ๑ ทำตามปฏิญญาเป็นธรรม ๑ สัตตาหะ ไปไม่ต้อง อาบัติ ๑ อานิสงส์ ๑ อย่างยิ่ง ๑ อรุณ ๑ สมถะ ๑ กรรม ๑ ข้าวเปลือกดิบ ๑ สร้างกุฏิด้านกว้าง ๑ คณโภชน์ ๑ เจ็ดวันเป็นอย่างยิ่ง ๑ ถือเอา ๑ เก็บไป ๑ ไม่เห็นอาบัติ ๑ เห็นอาบัติ ๑ ทำคืนอาบัติ ๑ งดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม ๑ งดปาติโมกข์เป็นธรรม ๑ วินัยธร ๔ อย่าง ๑ ภิกษุงาม ๔ อย่าง ๑ อสัทธรรม ๗ อย่าง ๑ สัทธรรม ๗ อย่าง ๑ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้แล้วแล.

หัวข้อประจำหมวด ๗ จบ

 
  ข้อความที่ 61  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 510

หมวด ๘

ว่าด้วยอานิสงส์เป็นต้น

[๙๙๖] ภิกษุเห็นอานิสงส์ ๘ ไม่พึงยกภิกษุนั้นฐานไม่เห็นอาบัติ ภิกษุเห็นอานิสงส์ ๘ พึงแสดงอาบัตินั้น เพราะความเชื่อแม้ต่อผู้อื่น อาบัติ สังฆาทิเสสเป็นยาวตติยกะมี ๘ ประจบตระกูลด้วยอาการ ๘ จีวรบังเกิดมีมาติกา ๘ กฐินเดาะมีมาติกา ๘ น้ำปานะมี ๘ ชนิด พระเทวทัตต์ มีจิตอันอสัทธรรม ๘ อย่างครอบงำย่ำยี จึงไปสู่อบาย ตกนรก ชั่วกัป ช่วยไม่ได้ โลกธรรม มี ๘ ครุธรรมมี ๘ อาบัติปาฏิเทสนียะมี ๘ มุสาวาทมีองค์ ๘ องค์อุโบสถมี ๘ องค์แห่งความเป็นทูตมี ๘ วัตรแห่งเดียรถีย์มี ๘ อัจฉริยะอัพภูตธรรมใน มหาสมุทรมี ๘ อัจฉริยะอัพภูตธรรมในพระธรรมวินัยนี้มี ๘ ภัตตาหารที่ไม่ เป็นเดนมี ๘ ภัตตาหารที่เป็นเดนมี ๘ เภสัชเป็นนิสสัคคิยะเมื่อรุ่งอรุณที่ ๘ ปาราชิกมี ๘ ภิกษุณียังวัตถุที่ ๘ ให้บริบูรณ์สงฆ์พึงนาสนะเสีย ภิกษุณียัง วัตถุที่ ๘ ให้บริบูรณ์ แม้แสดงอาบัติแล้ว ก็ไม่เป็นอันแสดง อุปสมบทมีวาจา ๘ พึงลุกรับภิกษุณี ๘ พวก พึงให้อาสนะแก่ภิกษุณี ๘ พวก อุบาสิกาขอพร ๘ ภิกษุประกอบด้ายองค์ ๘ สงฆ์พึงสมมติให้เป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี การทรง วินัยมีอานิสงส์ ๘ สิกขาบทที่ว่าด้วยอย่างยิ่งมี ๘ ภิกษุผู้ถูกลงตัสสปาปิยสิกากรรม พึงประพฤติชอบในกรรม ๘ งดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรมมี ๘ งดปาติโมกข์เป็น ธรรมมี ๘.

หมวด ๘ จบ

 
  ข้อความที่ 62  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 511

หัวข้อประจำหมวด

[๙๙๗] ไม่ยกภิกษุนั้น ๑ เชื่อผู้อื่น ๑ อาบัติสังฆาทิเสสเป็นยาวตติยกะ ๑ ประจบ ๑ มาติกา ๑ กฐินเดาะ ๑ น้ำปานะ ๑ อสัทธรรมครอบงำ ๑ โลกธรรม ๑ ครุธรรม ๑ อาบัติปาฏิเทสนียะ ๑ มุสาวาท ๑ อุโบสถ ๑ องค์แห่งทูต ๑ ติตถิยวัตร ๑ มหาสมุทร ๑ อัพภูตธรรมในพระธรรนวินัย ๑ โภชนะไม่เป็นเดน ๑ โภชนะเป็นเดน ๑ เภสัชเป็นนิสสัคคีย์ ๑ ปาราชิก ๑ วัตถุที่แปด ๑ ไม่แสดง ๑ อุปสมบท ๑ ลุกรับ ๑ ให้อาสนะ ๑ พร ๑ ให้ โอวาท ๑ อานิสงส์ ๑ อย่างยิ่ง ๑ ประพฤติในธรรมแปด ๑ งดปาติโมกข์ ไม่เป็นธรรม ๑ งดปาติโมกข์เป็นธรรม ๑ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศ หมวดแปดไว้ดีแล้วแล.

หัวข้อประจำหมวด ๘ จบ

หมวด ๙

ว่าด้วยอาฆาตวัตถุเป็นต้น

[๙๙๘] อาฆาตวัตถุมี ๙ อุบายกำจัดอาฆาตมี ๙ วินีตวัตถุมี ๙ อาบัติสังฆาทิเสสเป็นปฐมาปัตติกะมี ๙ สงฆ์แตกกันเพราะภิกษุ ๙ รูป โภชนะ อันประณีตมี ๙ เป็นทุกกฏเพราะมังสะ ๙ ชนิด ปาติโมกขุทเทศมี ๙ สิกขาบท ที่ว่าด้วยอย่างยิ่งมี ๙ ธรรมมีตัณหาเป็นมูลมี ๙ มานะมี ๙ จีวรที่ควรอธิษฐาน มี ๙ จีวรไม่ควรวิกัปมี ๙ จีวรพระสุคตยาว ๙ คืบ การให้ไม่เป็นธรรมมี ๙ การรับไม่เป็นธรรมมี ๙ บริโภคไม่เป็นธรรมมี ๙ การให้เป็นธรรมมี ๓ การ

 
  ข้อความที่ 63  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 512

รับเป็นธรรมมี ๓ บริโภคเป็นธรรมมี ๓ สัญญัติไม่เป็นธรรมมี ๙ สัญญัติ เป็นธรรมมี ๙ กรรมไม่เป็นธรรมหมวด ๙ มี ๒ หมวด กรรมเป็นธรรมหมวด ๙ มี ๒ หมวด งดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรมมี ๙ งดปาติโมกข์เป็นธรรมมี ๙.

หมวด ๙ จบ

หัวข้อประจำหมวด

[๙๙๙] อาฆาตวัตถุ ๑ อุบายกำจัด ๑ วินีตวัตถุ ๑ อาบัติเป็นปฐมาปัตติกะ ๑ สงฆ์แตกกัน ๑ โภชนะประณีต ๑ มังสะ ๑ อุเทศ ๑ อย่างยิ่ง ๑ ตัณหา ๑ มานะ ๑ อธิษฐาน ๑ วิกับ ๑ คืบ ๑ ให้ ๑ รับ ๑ บริโภค ๑ ให้รับ และบริโภคที่เป็นธรรมอย่างละสาม ๑ สัญญัติที่ไม่เป็นธรรม ๑ ที่เป็น ธรรม ๑ หมวด ๙ สองหมวดสองอย่าง ๑ งดปาติโมกข์เป็นธรรม ๑ ไม่เป็น ธรรม ๑.

หัวข้อประจำหมวด ๙ จบ

หมวด ๑๐

ว่าด้วยอาฆาตวัตถุเป็นต้น

[๑,๐๐๐] อาฆาตวัตถุมี ๑๐ อุบายกำจัดอาฆาตวัตถุมี ๑๐ วินีตวัตถุ มี ๑๐ มิจฉาทิฏฐินีวัตถุ ๑๐ สัมมาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ อันตคาหิกทิฏฐิมี ๑๐ มิจฉัตตมี ๑๐ สัมมัตตะมี ๑๐ อกุศลกรรมบถมี ๑๐ กุศลกรรมบถมี ๑๐ จับ สลากไม่เป็นธรรมมี ๑๐ จับสลากเป็นธรรมมี ๑๐ สามเณรมีสิกขาบท ๑๐ สามเณรประกอบด้วยองค์ ๑๐ พึงให้สึกเสีย.

 
  ข้อความที่ 64  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 513

ว่าด้วยองค์ของพระวินัยธร

[๑,๐๐๑] พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๑๐ นับว่าเป็นผู้เขลา คือไม่ กำหนดที่สุดถ้อยคำของตน ๑ ไม่กำหนดที่สุดถ้อยคำของผู้อื่น ๑ ไม่กำหนด ที่สุดถ้อยคำของตน และไม่กำหนดที่สุดถ้อยคำของผู้อื่นแล้วปรับอาบัติ ๑ ปรับ อาบัติโดยไม่เป็นธรรม ๑ ปรับอาบัติไม่ตามปฏิญญา ๑ ไม่รู้อาบัติ ๑ ไม่รู้ มูลของอาบัติ ๑ ไม่รู้เหตุเกิดของอาบัติ ๑ ไม่รู้ความดับของอาบัติ ๑ ไม่รู้ข้อ ปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งอาบัติ ๑

พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๑๐ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ กำหนดที่สุด ถ้อยคำของตน ๑ กำหนดที่สุดถ้อยคำของผู้อื่น ๑ กำหนดที่สุดถ้อยคำของตน และกำหนดที่สุดถ้อยคำของผู้อื่นแล้วปรับอาบัติ ๑ ปรับอาบัติตามธรรม ๑ ปรับอาบัติตามปฏิญญา ๑ รู้อาบัติ ๑ รู้มูลของอาบัติ ๑ รู้เหตุเกิดของอาบัติ ๑ รู้ความดับของอาบัติ ๑ รู้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งอาบัติ ๑

พระวินัยธรประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๑๐ นับว่า เป็นผู้เขลา คือ ไม่ รู้อธิกรณ์ ๑ ไม่รู้มูลของอธิกรณ์ ๑ ไม่รู้เหตุเกิดของอธิกรณ์ ๑ ไม่รู้ความ ดับของอธิกรณ์ ๑ ไม่รู้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งอธิกรณ์ ๑ ไม่รู้วัตถุ ๑ ไม่รู้เหตุเป็นเค้ามูล ๑ ไม่รู้บัญญัติ ๑ ไม่รู้อนุบัญญัติ ๑ ไม่รู้ทางแห่งถ้อยคำ อันเข้อนุสนธิกันได้ ๑

พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๑๐ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ รู้อธิกรณ์ ๑ รู้มูลของอธิกรณ์ ๑ รู้เหตุเกิดของอธิกรณ์ ๑ รู้ความดับของอธิกรณ์ ๑ รู้ข้อ ปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งอธิกรณ์ ๑ รู้วัตถุ ๑ รู้เหตุเป็นเค้ามูล ๑ รู้บัญญัติ ๑ รู้บัญญัติ ๑ รู้ทางแห่งถ้อยคำอันเข้าอนุสนธิกันได้ ๑

 
  ข้อความที่ 65  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 514

พระวินัยธรประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๑๐ นับว่าเป็นผู้เขลา คือ ไม่ รู้ญัตติ ๑ ไม่รู้การตั้งญัตติ ๑ ไม่ฉลาดในเบื้องต้น ๑ ไม่ฉลาดในเบื้องปลาย ๑ ไม่รู้กาล ๑ ไม่รู้อาบัติและมิใช่อาบัติ ๑ ไม่รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก ๑ ไม่รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ ๑ ไม่รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติ ไม่ชั่วหยาบ ๑ ไม่ยึดถือ ไม่ใส่ใจ ไม่ใคร่ครวญถ้อยคำที่สืบต่อจากอาจารย์ ๑

พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๑๐ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ รู้ญัตติ ๑ รู้การตั้งญัตติ ๑ ฉลาดในเบื้องต้น ๑ ฉลาดในเบื้องปลาย ๑ รู้กาล ๑ รู้อาบัติ และมิใช่อาบัติ ๑ รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก ๑ รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติ ไม่มีส่วนเหลือ ๑ ผู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ ๑ เป็นผู้ยึดถือ ใส่ใจ ใคร่ครวญถ้อยคำที่สืบต่อจากอาจารย์ ๑

พระวินัยธรประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๑. นับว่าเป็นผู้เขลา คือ ไม่ รู้อาบัติและมิใช่อาบัติ ๑ ไม่รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก ๑ ไม่รู้อาบัติมีส่วน เหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ ๑ ไม่รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ ๑ จำปาติโมกข์ทั้งสองไม่ได้โดยพิสดาร จำแนกไม่ดี สวดไม่คล่องแคล่ว วินิจฉัย ไม่ถูกต้อง โดยสูตร โดยอนุพยัญชนะ ๑ ไม่รู้อาบัติและมิใช่อาบัติ ๑ ไม่รู้ อาบัติเบาและอาบัติหนัก ๑ ไม่รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ ๑ ไม่รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ ๑ ไม่ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์ ๑

พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๑๐ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ รู้อาบัติและ มิใช่อาบัติ ๑ รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก ๑ รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มี ส่วนเหลือ ๑ รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ ๑ จำปาติโมกข์ทั้งสองได้ โดยพิสดาร จำแนกดี สวดคล่องแคล่ว วินิจฉัยถูกต้อง โดยสูตร โดย

 
  ข้อความที่ 66  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 515

อนุพยัญชนะ ๑ รู้อาบัติและมิใช่อาบัติ ๑ รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก ๑ รู้ อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ ๑ รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ ๑ ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์ ๑.

ว่าด้วยอุพพหิกาเป็นต้น

[๑,๐๐๒] ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๑. สงฆ์พึงสมมติด้วยอุพพาหิกา พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่พระสาวกทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ การเข้าไปสู่ภายในพระราชฐานมีโทษ ๑๐ ทานวัตถุมี ๑๐ รัตนะมี ๑๐ ภิกษุสงฆ์มีวรรค ๑๐ คณะสงฆ์มีวรรค ๑๐ พึงให้อุปสมบท ผ้าบังสุกุลมี ๑๐ จีวรสำหรับใช้สอยมี ๑๐ ทรงอดิเรกจีวรมี ๑๐ วันเป็นอย่างยิ่ง น้ำสุกกะ มี ๑๐ สตรีมี ๑๐ ภรรยามี ๑๐ ภิกษุในพระนครเวสาลีแสดงวัตถุ ๑๐ บุคคล ไม่ควรไหว้มี ๑๐ เรื่องสำหรับด่ามี ๑๐ กล่าวคำส่อเสียดด้วยอาการ ๑๐ เสนาสนะมี ๑๐ ขอพร ๑๐ งดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรมมี ๑๐ งดปาติโมกข์เป็น ธรรมมี ๑๐ ยาคูมีอานิสงส์ ๑๐ อกัปปิยมังสะมี ๑๐ สิกขาบทว่าด้วยอย่างยิ่งมี ๑๐ ภิกษุมีพรรษา ๑๐ ฉลาดสามารถ ควรให้บรรพชา อุปสมบท ควรให้ นิสัย ควรให้สามเณรอุปัฏฐาก ภิกษุณีมีพรรษา ๑๐ ฉลาดสามารถ ควรให้ บรรพชาอุปสมบท ควรให้นิสัย ควรให้สามเณรีอุปัฏฐาก ภิกษุณีมีพรรษา ๑๐ ฉลาดสามารถ พึงยินดีการสมมติให้บวช ภิกษุณีมีพรรษา ๑๐ ควรให้สิกขา แก่สตรีคฤหัสถ์.

หมวด ๑๐ จบ

 
  ข้อความที่ 67  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 516

หัวข้อประจำหมวด

[๑,๐๐๓] อาฆาตวัตถุ ๑ อุบายกำจัด ๑ วินีตวัตถุ ๑ มิจฉาทิฏฐิ ๑ สัมมาทิฏฐิ ๑ อันตคาหิกทิฏฐิ ๑ มิจฉัตตะ ๑ สัมมัตตะ ๑ อกุศลกรรมบถ ๑ กุศลธรรมบถ ๑ จับสลากเป็นธรรม ๑ จับสลากไม่เป็นธรรม ๑ สามเณร ๑ นาสนะ ๑ ถ้อยคำ ๑ อธิกรณ์ ๑ ญัตติ ๑ อาบัติเบาอีก ๑ อาบัติหนัก ๑ จงรู้ฝ่ายดำ ฝ่ายขาว เหล่านี้ไว้ อุพพาหิกา ๑ สิกขาบท ๑ ภายในพระราชฐาน ๑ ทานวัตถุ ๑ รัตนะ ๑ คณะสงฆ์ทสวรรค ๑ คณะสงฆ์ทสวรรคให้อุปสมบท ๑ ผ้าบังสุกุล ๑ จีวรสำหรับใช้สอย ๑ สิบวัน ๑ น้ำสุกกะ ๑ สตรี ๑ ภรรยา ๑ วัตถุสิบ ๑ คนไม่ควรไหว้ ๑ เรื่องสำหรับด่า ๑ คำส่อเสียด ๑ เสนาสนะ ๑ พร ๑ งดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม ๑ งดปาติโมกข์เป็นธรรม ๑ ยาคู ๑ มังสะ ๑ อย่างยิ่ง ๑ ภิกษุ ๑ ภิกษุณี ๑ ให้บวช ๑ สตรีคฤหัสถ์ ๑ หมวดสิบ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประกาศไว้ถูกต้องแล้วแล.

หัวข้อประจำหมวด ๑๐ จบ

หมวด ๑๑

ว่าด้วยบุคคลเป็นต้น

[๑,๐๐๔] บุคคล ๑๑ จำพวก ที่เป็นอนุปสัมบัน ไม่ควรให้อุปสมบท ที่เป็นอุปสัมบัน ควรให้สึกเสีย รองเท้าไม่ควรมี ๑๑ ชนิด บาตรไม่สมควร มี ๑๑ ชนิด จีวรไม่สมควรมี ๑๑ ชนิด สิกขาบทเป็นยาวตติยกะมี ๑๑ พึง ถามอันตรายิกธรรม ๑๑ ของภิกษุณี จีวรควรอธิษฐานมี ๑๑ จีวรไม่ควร

 
  ข้อความที่ 68  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 517

วิกัปมี ๑๑ จีวรเป็นนิสสัคคีย์เมื่อรุ่งอรุณที่ ๑๑ ลูกดุมที่สมควรมี ๑๑ ลูกถวิน ที่สมควรมี ๑๑ แผ่นดินไม่ควรมี ๑๑ แผ่นดินที่สมควรมี ๑๑ การระงับนิสัย มี ๑๑ บุคคลไม่ควรไหว้ ๑๑ สิกขาบทที่ว่าด้วยอย่างยิ่งมี ๑๑ ขอพร ๑๑ โทษ แห่งสีมามี ๑๑ บุคคลผู้ด่าบริภาษต้องได้รับโทษ ๑๑ อย่าง เมื่อเมตตาเจ- โตวิมุตติอันบุคคลเสพมาแต่แรก ให้เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้ดุจยาน ที่เทียมดีแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งประพฤติส่งสมเนืองๆ ปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว พึง หวังอานิสงส์ ๑๑ อย่าง คือ หลับเป็นสุข ๑ ตื่นเป็นสุข ๑ ไม่ฝันร้าย ๑ เป็น ที่รักของพวกมนุษย์ ๑ เป็นที่รักของพวกอมนุษย์ ๑ เทพยดารักษา ๑ ไฟก็ดี ยาพิษก็ดี ศัสตราก็ดี ไม่ต้องบุคคลนั้น ๑ จิตตั้งมั่นได้รวดเร็ว ๑ สีหน้า ผุดผ่อง ๑ ไม่หลงทำกาละ ๑ เมื่อยังไม่บรรลุคุณวิเศษที่ยิ่งขึ้นไปย่อมเกิดใน พรหมโลก ๑ เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติอันบุคคลเสพมาแต่แรกให้เจริญแล้ว ทำ ให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานที่เทียมดีแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้ง ประพฤติสั่งสม เนืองๆ ปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว พึงหวังอานิสงส์ ๑๑ นี้แล.

หมวด ๑๑ จบ

หัวข้อประจำหมวด

[๑,๐๐๕] ให้สึก ๑ รองเท้า ๑ บาตร ๑ จีวร ๑ สิกขาบทเป็น ยาวตติยกะ ๑ พึงถาม ๑ อธิษฐาน ๑ วิกัป ๑ อรุณ ๑ ลูกดุม ๑ ลูกถวิน ๑ แผ่นดินไม่ควร ๑ แผ่นดินควร ๑ นิสัย ๑ บุคคลไม่ควรไหว้ ๑ อย่างยิ่ง ๑ พร ๑ โทษ สีมา ๑ ด่า ๑ เมตตา ๑ จัดเป็นหมวด ๑๑. เอกุตตริกะ จบ

 
  ข้อความที่ 69  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 518

หัวข้อลำดับหมวด

[๑,๐๐๖] หมวดยิ่งกว่าหนึ่งไม่มีมลทิน คือ หมวด ๑ หมวด ๒ หมวด ๓ หมวด ๔ หมวด ๕ หมวด ๖ หมวด ๗ หมวด ๘ หมวด ๙ หมวด ๑๐ และหมวด ๑๑ อันพระพุทธเจ้าผู้มหาวีระ มีธรรมอันปรากฏแล้ว ผู้คงที่ ทรงแสดงแล้ว เพื่อความเกื้อกูล แก่สรรพสัตว์แล.

หัวข้อลำดับหมวด ๑๑ จบ

เอกุตตริก วัณณนา

วินิจฉัยในเอกุตตริกนัย มีคำว่า อาปตฺติกรา ธมฺมา ชานิตพฺพา เป็นอาทิ พึงทราบดังนี้:-

[พรรณนาหมวด ๑]

อาปัตติสมุฏฐาน ๖ ชื่อกรรมก่ออาบัติ. จริงอยู่ บุคคลย่อมต้องอาบัติ ด้วยอำนาจแห่งธรรมเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้น ท่านจึงกล่าวว่า ก่ออาบัติ.

สมถะ ๗ ชื่อธรรมก่ออาบัติ.

สองบทว่า อาปตฺติ ชานิตพฺพา ได้แก่ พึงรู้จักอาบัติที่ท่านกล่าว ไว้ในสิกขาบทและวิภังค์นั้นๆ.

 
  ข้อความที่ 70  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 519

บทว่า อนาปตฺติ ได้แก่ พึงรู้จักอนาบัติที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ โดยนัยเป็นต้นว่า ภิกษุ ไม่เป็นอาบัติ แก่ภิกษุผู้ไม่ยินดีอยู่.

บทว่า ลหุกา ได้แก่ พึงรู้จักอาบัติ ๕ อย่าง โดยความหมดจดด้วย วินัยกรรมที่เบา.

บทว่า ครุกา ได้แก่ พึงรู้จักอาบัติสังฆาทิเสส โดยความหมดจด โดยวินัยกรรมที่หนัก และพึงรู้จักอาบัติปาราชิก โดยความเป็นอาบัติที่ไม่ สามารถ เพื่อน้อมเข้าไปสู่ความเป็นอนาบัติ โดยอาการไรๆ.

บทว่า สาวเสสา ได้แก่ พึงรู้จักอาบัติที่เหลือ เว้นปาราชิกเสีย.

บทว่า อนวเสสา ได้แก่ อาบัติปาราชิก.

อาบัติ ๒ กอง หยาบร้าย. อาบัติที่เหลือ ไม่หยาบร้าย.

อาบัติที่ยังทำคืนได้ ๒ หมวด เช่นกับอาบัติที่มีส่วนเหลือ ๒ หมวด อาบัติที่เป็นเทสนาคามินี ๒ หมวด รวมเข้ากับอาบัติเบา ๒ หมวด.

อาบัติทั้ง ๗ กอง ชื่อว่า ธรรมทำอันตราย. อาบัติที่ภิกษุแกล้งละเมิด ย่อมทำอันตรายแก่สวรรค์และนิพพาน เพราะฉะนั้น อาบัติที่ภิกษุแกล้งละเมิด จึงชื่อว่าทำอันตราย.

ส่วนอาบัติที่มีโทษตามพระบัญญัติ อันภิกษุผู้ไม่รู้อยู่ละเมิดแล้วหาทำ อันตรายแก่สวรรค์และนิพพานไม่ เพราะฉะนั้น อาบัติที่มีโทษตามพระบัญญัติ จึงชื่อว่าไม่ต่ำอันตราย.

ทางแห่งสวรรค์และนิพพาน อันอันตรายิกาบัติไม่ห้ามแล้ว แม้แก่ ภิกษุผู้ต้องอันตรายิกาบัติแล้ว แสดงอาบัติที่เป็นเทสนาคามินีเสีย ออกจาก อาบัติที่เป็นวุฏฐานคามินีเสียแล้วถึงความบริสุทธิ์ และผู้ตั้งอยู่ในภูมิของสามเณร ฉะนี้แล.

 
  ข้อความที่ 71  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 520

อาบัติที่มีโทษทางโลก ชื่อว่า อาบัติที่ทรงบัญญัติพร้อมทั้งโทษ.

อาบัติที่มีโทษตามพระบัญญัติ ชื่อว่า อาบัติที่ทรงบัญญัติไม่มีโทษ.

ภิกษุทำอยู่จึงต้องอาบัติใด อาบัตินั้น ชื่อว่าเกิดเพราะกระทำเหมือน อาบัติปาราชิก.

ภิกษุยังไม่ทำอยู่ จึงต้องอาบัติใด อาบัตินั้น ซึ่งว่าเกิดเพราะไม่ทำ เหมือนอาบัติที่ต้องเพราะไม่อธิษฐานจีวร.

ภิกษุทำอยู่ด้วย ไม่ทำอยู่ด้วย ย่อมต้องอาบัติใด อาบัตินั้น ชื่อว่า เกิดเพราะทำและไม่ทำ เหมือนอาบัติในกุฏการสิกขาบท.

อาบัติที่ต้องที่แรก ชื่อว่าปุพพาบัติ. อาบัติที่ภิกขุผู้อยู่ปริวาสเป็นต้น ต้องในภายหลัง ชื่อว่าอปราบัติ.

อันตราบัติแห่งวิธีเครื่องหมดจด อันสงฆ์ให้ในอาบัติเดิม ชื่อว่า อันตราบัติแห่งปุพพาบัติทั้งหลาย.

อันตรายบัติแห่งวิธีเครื่องหมดจด กล่าวคืออัคฆสโมธาน ชื่อว่าอันตราบัติแห่งอปราบัติ.

ส่วนในกุรุนทีแก้ว่า อาบัติที่ต้องก่อน ชื่อปุพพาบัติ อาบัติที่ต้องใน เวลาที่ควรแก่มานัตต์ ชื่ออปราบัติ อาบัติที่ต้องในปริวาส ชื่ออันตราบัติแห่ง ปุพพาบัติ อาบัติที่ต้องในขณะประพฤติมานัตต์ ชื่ออันตราบัติแห่งอปราบัติ. แม้คำนี้ ก็ถูกโดยปริยายอันหนึ่ง.

อาบัติใด อันภิกษุทำความทอดธุระแสดงเสีย ด้วยตั้งใจว่า เราจัก ไม่ต้องอีก. อาบัตินั้น ชื่อว่าอันภิกษุแสดงแล้ว นับเข้าในจำนวน (อาบัติที่ แสดงแล้ว).

 
  ข้อความที่ 72  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 521

อาบัติใด อันภิกษุไม่ทำความทอดธุระ แสดงเสียด้วยจิตที่ยังมีความ อุกอาจ ไม่บริสุทธิ์ทีเดียว อาบัตินั้น ชื่อว่าอันภิกษุแสดงแล้ว ไม่นับเข้าใน จำนวน.

จริงอยู่ อาบัตินี้แม้แสดงแล้ว ก็ไม่นับเข้าในจำนวนอาบัติที่แสดงแล้ว. ในวัตถุที่ ๘ ย่อมเป็นเฉพาะปาราชิก แก่ภิกษุณี.

ใน ๙ บท มีบทที่ว่า ปญฺตฺติ ชานิตพฺพา เป็นอาทิ พึงทราบ วินิจฉัย ตามนัยที่กล่าวแล้วในข้อถามถึงปฐมปาราชิกนั่นแล.

อาบัติหนัก ที่ทรงบัญญัติเพราะโทษล่ำ ชื่อว่าอาบัติมีโทษล่ำ

อาบัติเบา ชื่อว่าอาบัติมีโทษไม่ล่ำ.

อาบัติของพระสุธัมมัตเถระ และอาบัติที่ต้องเพราะแกล้งทำคำรับที่ เป็นธรรมให้คลาดเคลื่อน ชื่อว่าอาบัติเนื่องโดยตรงกับคฤหัสถ์. อาบัติทั้งหลายที่เหลือ ชื่อว่าอาบัติไม่เนื่องโดยทรงกับคฤหัสถ์.

อาบัติที่นับว่าเป็นอนันตริยกรรม ๕ ชื่อว่าอาบัติเที่ยง. อาบัติที่เหลือ ชื่อว่าอาบัติไม่เที่ยง.

ภิกษุผู้เป็นต้นบัญญัติ มีพระสุทินนเถระเป็นต้น ชื่อว่าภิกษุผู้ทำทีแรก. ภิกษุผู้ก่อนอนุบัญญัติ มีพระมักกฏีสมณะเป็นอาทิ ชื่อว่าภิกษุ ผู้ไม่ได้ทำทีแรก.

ภิกษุใด ต้องอาบัติในบางคราวบางครั้ง ภิกษุนั้น ชื่อว่าผู้ต้องอาบัติ ไม่เป็นนิตย์.

ภิกษุใด ต้องเป็นนิตย์ ภิกษุนั้น ชื่อว่าต้องอาบัติเนืองๆ.

ภิกษุใด ฟ้องภิกษุอื่นด้วยวัตถุหรืออาบัติ ภิกษุนั้น ชื่อว่าโจทก์. ฝ่ายภิกษุใด ถูกฟ้องอย่างนั้น ภิกษุนี้ ชื่อว่าจำเลย.

 
  ข้อความที่ 73  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 522

ภิกษุผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ๑๕ ประการ ฟ้องด้วยวัตถุไม่จริง ชื่อว่า ผู้ฟ้องไม่เป็นธรรม. ภิกษุผู้จำเลยถูกโจทก์นั้นฟ้องอย่างนั้น ชื่อว่า ผู้ถูกฟ้อง ไม่เป็นธรรม.

โจทก์และจำเลยที่เป็นธรรม พึงทราบโดยปริยายอันแผกกัน.

บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรมทั้งหลาย อันเที่ยงโดยความเป็นธรรมผิดก็ดี อันเที่ยงโดยความเป็นธรรมชอบก็ดี ชื่อว่าผู้เที่ยง.

บุคคลผู้แผกไป ชื่อว่าผู้ไม่เที่ยง.

พระสาวกทั้งหลาย ชื่อว่าผู้พอเพื่อต้องอาบัติ. พระพุทธเจ้าและพระ ปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ชื่อว่าผู้ไม่พอเพื่อต้องอาบัติ.

บุคคลที่ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ชื่อว่าผู้ถูกสงฆ์ยกวัตร.

บุคคลที่ถูกสงฆ์ลงกรรม ๔ อย่างที่เหลือ มีตัชชนียกรรมเป็นต้น ชื่อว่าผู้ไม่ถูกสงฆ์ยกวัตร.

จริงอยู่ ภิกษุที่ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมเป็นต้นนี้ ไม่ยังอุโบสถหรือ ปวารณาหรือธรรมบริโภค หรืออามิสบริโภคให้กำเริบ.

เฉพาะบุคคลที่พระผู้มีพระภาคเจ้าให้ฉิบหายเสียด้วยลิงคนาสนาทัณฑ- กัมมนาสนาและสังวาสนาสนา อย่างนี้ว่า สงฆ์พึงยิ่งเมตติยาภิกษุณีให้ฉิบหาย บุคคลผู้ประทุษร้ายพึงให้ฉิบหาย สมณุทเทสชื่อกัณฏกะ สงฆ์พึงให้ฉิบหาย ดังนี้ ชื่อว่าผู้ถูกนาสนา บุคคลทั้งปวงที่เหลือ ชื่อว่าผู้ไม่ถูกนาสนา.

ธรรมที่เป็นที่อยู่ร่วมกัน มีอุโบสถเป็นอาทิ กับบุคคลใดมีอยู่ บุคคลนี้ ชื่อว่าผู้มีสังวาสเสมอกัน. บุคคลนอกนั้น ชื่อว่าผู้มีสังวาสต่างกัน.

บุคคลผู้มีสังวาสต่างกันนั้น มี ๒ พวก คือกัมมนานาสังวาสพวกหนึ่ง ลัทธินานาสังวาสพวกหนึ่ง.

 
  ข้อความที่ 74  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 523

สองบทว่า ปนํ ชานิตพฺพํ มีความว่า พึงทราบการงดปาฏิโมกข์ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยนัยเป็นต้นว่า ภิกษุทั้งหลาย การงดปาฏิโมกข์ ไม่เป็นธรรมอย่างหนึ่ง ฉะนี้แล.

พรรณนาหมวด ๑

[พรรณนาหมวด ๒]

วินิจฉัยในหมวด ๒ พึงทราบดังนี้:-

อาบัติเป็นสจิตตกะ เป็นสัญญาวิโมกข์ อาบัติเป็นอจิตตกะ เป็นโนสัญญาวิโมกข์.

อาบัติเพราะอวดอุตริมนุสธรรมที่จริง ชื่อว่าอาบัติของภิกษุผู้ได้ สมาบัติ.

อาบัติเพราะอวดอุตริมนุสธรรมที่ไม่จริง ชื่อว่าอาบัติของภิกษุผู้ ไม่ได้สมาบัติ.

อาบัติในปทโสธัมมสิกขาบทเป็นต้น ชื่อว่าอาบัติเนื่องโดยเฉพาะด้วย สัทธรรม.

อาบัติเพราะทุฏฐุลลวาจา ชื่อว่าอาบัติเนื่องโดยเฉพาะด้วยอสัทธรรม.

อาบัติเพราะบริโภคบริขารที่ไม่ควรอย่างนี้ คือ เพราะไม่เสียสละวัตถุ เป็นนิสสัคคีย์ก่อนบริโภค เพราะตากบาตรและจีวรไว้นาน เพราะไม่ซักจีวรที่ โสมม เพราะไม่ระบมบาตรที่สนิมจับ ชื่อว่า อาบัติเนื่องโดยเฉพาะด้วยบริขาร ของตน.

 
  ข้อความที่ 75  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 524

อาบัติที่พึงต้อง ในเพราะไปเสียด้วยไม่บอกสั่งการที่วางบริขารมีเตียง และตั่งเป็นอาทิของสงฆ์ ไว้กลางแจ้งเป็นต้น ชื่อว่า อาบัติเนื่องโดยเฉพาะ ด้วยบริขารของผู้อื่น.

อาบัติที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยนัยเป็นต้นว่า เป็นอาบัติแก่ภิกษุ ผู้มีหลังอ่อน ผู้มีองคชาตยาว ผู้หนีบองคชาตด้วยขา ชื่อว่าอาบัติเนื่องโดย เฉพาะด้วยบุคคลคือตนเอง.

อาบัติที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส ในเพราะเมถุนธรรม กายสังสัคคะ และให้ประหารเป็นอาทิ ชื่อว่าอาบัติเนื่องโดยตรงด้วยบุคคลอื่น.

ภิกษุเมื่อพูดจริงว่า หล่อนมีหงอน ย่อมต้องอาบัติหนัก. เมื่อพูดเท็จ ย่อมต้องอาบัติเบา โดยพระบาลีว่า เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะสัมปชานมุสาวาท.

เมื่อพูดเท็จ เพราะอวดอุตริมนุสธรรมที่ไม่มีจริง ต้องอาบัติหนัก เมื่อพูดจริง เพราะอวดอุตริมนุสธรรมที่มีจริง ต้องอาบัติเบา.

ภิกษุเมื่อนั่งอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง ภายในสีมา ด้วยตั้งใจว่า เราจักทำ สังฆกรรมเป็นพวก ชื่อว่าอยู่บนแผ่นดิน ต้อง (อาบัติ).

ก็ถ้าว่า เธอพึงตั้งอยู่ในอากาศแม้เพียงองคุลีเดียว ไม่พึงต้อง; เพราะ ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อยู่ในอากาศ ไม่ต้อง.

เมื่อภิกษุเมื่อนั่งทับ ซึ่งเตียงหรือตั่ง อันมีเท้าเสียบในตัวบนร้านสูง ซึ่งว่าอยู่ในอากาศ ต้อง (อาบัติ).

ก็ถ้าว่า เธอพึงตั้งเตียงและตั่งนั้นบนภาคพื้นแล้วจึงนอน ไม่พึงต้อง; เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อยู่บนภาคพื้น ไม่ต้อง.

 
  ข้อความที่ 76  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 525

ภิกษุผู้เตรียมจะไป เมื่อไม่ยังคมิยวัตรให้เต็มไปเสีย ชื่อว่าออกไปอยู่ ต้อง (อาบัติ) เข้าไปอยู่ ไม่ต้อง.

ภิกษุอาคันตุกะ ไม่ยังอาคันตุกวัตรให้เต็ม กางร่มสวมรองเท้าเข้าไป อยู่ ชื่อว่าเข้าไปอยู่ ต้อง (อาบัติ) ออกไปอยู่ ไม่ต้อง.

ภิกษุณี เมื่อถือเอาการชำระให้สะอาดด้วยน้ำ ลึกเกินไป ชื่อว่าถือเอา อยู่ ต้อง (อาบัติ).

ฝ่ายภิกษุ เมื่อไม่ถือเอาสีสำหรับทำให้เศร้าหมอง บริโภคจีวร ชื่อว่า ไม่ถือเอาอยู่ ต้อง (อาบัติ).

เมื่อสมาทานวัตรของเดียรถีย์ มีมูควัตรเป็นต้น ชื่อว่าสมาทานอยู่ (อาบัติ).

ฝ่ายภิกษุผู้อยู่ปริวาสเป็นต้นก็ดี ผู้ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมเป็นต้นก็ดี เมื่อไม่สมาทานวัตรของตน ชื่อว่าไม่สมาทานอยู่ ต้อง (อาบัติ).

คำที่ว่า มีอยู่ อาบัติ ภิกษุไม่สมาทานอยู่ ย่อมต้อง ดังนี้ท่านกล่าว หมายเอาภิกษุเหล่านั้น.

ภิกษุผู้เย็บจีวรของภิกษุณีผู้มิใช่ญาติก็ดี ผู้ทำเวชกรรม ภัณฑาคาริกกรรมและจิตรกรรมก็ดี ชื่อว่าที่ทำอยู่ ต้อง (อาบัติ) ผู้ไม่ทำอุปัชฌายวัตร เป็นต้น ชื่อว่าไม่ทำอยู่ ต้อง (อาบัติ).

ภิกษุผู้ให้จีวรแก่ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ชื่อว่าให้อยู่ ต้อง (อาบัติ). เมื่อ ไม่ให้บริขารมีจีวรเป็นต้น แก่สัทธิวิหาริกและอันเตวาสิก ชื่อว่าไม่ให้อยู่ ต้อง (อาบัติ).

เมื่อถือเอาจีวรของภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ชื่อว่ารับอยู่ ต้อง (อาบัติ).

 
  ข้อความที่ 77  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 526

เมื่อไม่ถือเอาซึ่งโอวาท โดยพระบาลีว่า ภิกษุทั้งหลาย โอวาทอัน ภิกษุณีไม่พึงรับไม่ได้ ดังนี้ ชื่อว่าไม่รับอยู่ ต้อง (อาบัติ).

เมื่อไม่เสียสละนิสสัคคิยวัตถุก่อนบริโภค ชื่อว่าต้อง (อาบัติ) เพราะ บริโภค.

เมื่อยังวาระผลัดสังฆาฏิซึ่งมี ๕ วัน ให้ก้าวล่วงไป ชื่อว่าต้อง (อาบัติ) เพราะไม่บริโภค.

ชื่อว่าย่อมต้อง (อาบัติ) ในราตรีเป็นที่นอนในเรือนร่วมกัน. เมื่อ ไม่ปิดประตู เร้นอยู่ ชื่อว่าต้องในกลางวัน ไม่ต้องในกลางคืน.

เมื่อต้องอาบัติที่ตรัสไว้ เพราะก้าวล่วง ๑ ราตรี ๖ ราตรี ๗ วัน ๑๐ วันและเดือนหนึ่ง ชื่อว่าต้องเพราะอรุณขึ้น.

เมื่อห้ามข้าวแล้วฉัน ชื่อว่าต้อง ไม่ใช่เพราะอรุณขึ้น.

เมื่อตัดอยู่ซึ่งภูตคามและองคชาต ชื่อว่าตัดอยู่จึงต้อง.

เมื่อไม่ปลงผมและไม่ตัดเล็บ ชื่อว่าไม่ตัดอยู่จึงต้อง.

เมื่อปิดอาบัติไว้ ชื่อว่าปิดอยู่จึงต้อง. และชื่อว่าไม่ปกปิดอยู่ต้องอาบัติ นี้ (ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส) ว่า อันภิกษุพึงปกปิดด้วยหญ้าหรือใบไม้แล้ว จึงไป ฝ่ายภิกษุผู้เปลือย อย่าพึงไปเลย ภิกษุใดไป ภิกษุนั้นต้องทุกกฏ.

เมื่อทรงไว้ ซึ่งผ้าคากรองเป็นต้น ชื่อว่าทรงไว้ จึงต้อง.

ชื่อว่าไม่ทรงไว้จึงต้องอาบัตินี้ (ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส) ว่า ภิกษุ บาตรนี้ เธอพึงทรงไว้จนกว่าจะแตก.

ข้อว่า อตฺตนา วา อตฺตานํ นานาสํวาสกํ กโรติ มีความว่า เมื่อสงฆ์ ๒ ฝ่ายนั่งในสีมาเดียวกัน ภิกษุนั่งในฝ่ายหนึ่ง ถือเอาลัทธิของอีกฝ่าย

 
  ข้อความที่ 78  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 527

หนึ่ง ชื่อว่าตนเองทำตนเองให้เป็นนานาสังวาสก์ ของภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ในฝ่ายที่ตนนั่งนั้น. ตนนั่งแล้วในสำนักของภิกษุเหล่าใด แม้เป็นคณปูรกะของ ภิกษุณีเหล่านั้น ซึ่งว่าย่อมยังกรรมให้กำเริบ เพราะตนไม่มาเข้าหัตถบาสของ อีกฝ่ายหนึ่ง.

แม้ในสมานสังวาสก์ก็มีนัยเหมือนกัน. จริงอยู่ ภิกษุนั้น ชอบใจลัทธิ ของพวกใด ย่อมเป็นสมานสังวาสก์ของพวกนั้น เป็นนานาสังวาสก์ของอีก พวกหนึ่ง.

ข้อว่า สตฺต อาปตฺติโย สตฺต อาปตฺติกฺขนฺธา มีความว่า หมวด ๒ (แห่งอาบัติ) อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงด้วยอำนาจแห่งชื่อว่า มี ๒ ชื่อเท่านั้น อย่างนี้ คือ ชื่อว่าอาบัติ เพราะเป็นวีติกกมะที่จะพึงต้อง ชื่อว่ากอง เพราะอรรถว่าเป็นที่อยู่.

วินิจฉัยในคำว่า กมฺเมน วา สลากคาเหน นี้ พึงทราบ ดังนี้:-

อุทเทสและกรรมเป็นอันเดียวกัน. โวหารอนุสาวนาและการจับสลาก เป็นอันเดียวกัน. โวหารอนุสาวนาและการจับสลาก เป็นบุพภาค. กรรมและ อุทเทสเป็นสำคัญ.

บุคคลผู้มีอายุหย่อน ๒๐ ปี ชื่อว่าผู้มีกาลบกพร่อง. บุคคลผู้มีบรรพชา โทษต่างโดยชนิดมีผู้มีมือด้วนเป็นต้น ชื่อว่าผู้มีอวัยวะบกพร่อง.

บัณเฑาะก์ สัตว์ดิรัจฉาน และอุภโตพยัญชนก ชื่อว่าผู้มีวัตถุวิบัติ. อภัพบุคคล ๘ ที่ยังเหลือ มีผู้ลักสังวาสเป็นต้น ชื่อว่าผู้มีความ กระทำเสียหาย.

 
  ข้อความที่ 79  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 528

ผู้มีกรรมอันตนทำเสีย ชื่อว่าผู้มีความกระทำเสียหาย. อธิบายว่า ผู้ถึง ฐานแห่งอภัพบุคคล เพราะกรรมของตนที่ทำเองในอัตภาพนี้ทีเดียว.

ผู้มีบาตรจีวรไม่ครบ ชื่อว่าผู้ไม่บริบูรณ์. บุคคลไม่ขออุปสมบทชื่อว่า บุคคลไม่ขอ.

สองบทว่า อลชฺชิสฺส จ พาลสฺส จ มีความว่า ภิกษุอลัชชีแม้ หากว่าเป็นผู้ทรงพระไตรปิฎก ภิกษุพาล แม้หากว่า เป็นผู้มีพรรษา ๖๐ อัน ภิกษุไม่พึงอาศัยอยู่ทั้ง ๒.

วินิจฉัยในคำว่า พาลสฺส จ อลชฺชิสฺส จ ยาจติ นี้ พึงทราบ ดังนี้ :-

นิสัยอันบุคคลผู้ให้นิสัย พึงให้ แม้ด้วยสั่งบังคับว่า เธอจงถือนิสัย ในสำนักภิกษุผู้โง่. แต่พึงให้แก่ภิกษุลัชชีผู้ขออยู่แท้.

บทว่า สาติสารํ มีความว่า เมื่อประพฤติล่วงวัตถุใด ย่อมต้องอาบัติ วัตถุนั้น ชื่อว่าเป็นไปกับด้วยโทษ.

การคัดค้าน ด้วยกายวิการ มีหัตถวิการเป็นอาทิ ชื่อว่าคัดค้านด้วยกาย.

ข้อว่า กาเยน วา ปฏิชานาติ ได้แก่ ปฏิญญาด้วยกายวิการมี หัตถวิการเป็นต้น.

การล้างผลาญ ชื่อว่าการเข้าไปทำร้าย.

การล้างผลาญสิกขา ชื่อว่าการเข้าไปทำร้ายสิกขา. การล้างผลาญเครื่องบริโภค ชื่อว่าการเข้าไปทำร้ายโภคะ.

ใน ๒ อย่างนั้น พึงทราบการล้างผลาญสิกขาของภิกษุผู้ไม่ศึกษาสิกขา ๓. พึงทราบการล้างผลาญโภคะ ของภิกษุผู้ใช้สอยเครื่องบริโภคของสงฆ์ หรือ ของบุคคลเสียหายไป.

 
  ข้อความที่ 80  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 529

ข้อว่า เทวฺ เวนยิกา ได้แก่ อรรถ ๒ อย่างสำเร็จในวินัย.

ข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติ ด้วยอำนาจวัตถุที่ควรและไม่ควร ในวินัยปิฎกทั้งสิ้น ชื่อว่าข้อบัญญัติ. ที่ชื่อว่าอนุโลมบัญญัติ พึงเห็นใน มหาปเทส ๔.

การผลาญปัจจัยเสีย ชื่อว่ารื้อสะพาน. อธิบายว่า ภิกษุพึงทำกรรม อันไม่ควรด้วยจิตใด การที่ไม่ยังจิตแม้นั้นให้เกิดขึ้น ชื่อว่าการรื้อสะพานเสีย.

การกระทำโดยประมาณ คือโดยพอเหมาะ อธิบายว่า ความตั้งอยู่ใน ความพอเหมาะ ชื่อว่าความเป็นผู้กระทำพอประมาณ.

ข้อว่า กาเยน อาปชฺชติ มีความว่า ต้องอาบัติที่เกิดทางกายทวาร ด้วยกาย. ต้องอาบัติที่เกิดทางวจีทวาร ด้วยวาจา.

ข้อว่า กาเยน วุฏฺาติ มีความว่า แม้เว้นการแสดงในติณวัตถารกสมถะเสีย ชื่อว่าย่อมออกด้วยกายเท่านั้น. แต่เมื่อแสดงแล้วออก ชื่อว่าย่อม ออกด้วยวาจา.

บริโภคด้วยการกลืนกิน ชื่อว่าบริโภคภายใน. การทาศีรษะเป็นอาทิ ชื่อว่าบริโภคภายนอก.

ข้อว่า อนาคตํ ภารํ วหติ มีความว่า ภิกษุผู้มีได้เป็นเถระแต่นำ ภาระมีถือพัดและเชิญแสดงธรรมเป็นอาทิ ที่พระเถระทั้งหลายจะพึงนำ คือ เริ่มความเพียรที่จะรับภาระนั้น.

ข้อว่า อาคตํ ภารํ น วทติ มีความว่า ภิกษุผู้เป็นเถระ แต่ไม่ ทำกิจของพระเถระ. อธิบายว่า ให้เสื่อมเสียกิจทั้งปวงมีอาทิอย่างนี้ว่า ภิกษุ ทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้เป็นเถระแสดงธรรมเองบ้าง, อนุญาตให้ภิกษุผู้

 
  ข้อความที่ 81  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 530

เถระเชิญภิกษุอื่นบ้าง ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตปาฏิโมกข์ให้เป็นกิจมีพระเถระ เป็นใหญ่.

ข้อว่า น กุกฺกุจฺจายิตพฺพํ กุกฺกุจฺจายติ มีความว่า ประพฤติ รังเกียจ ทำสิ่งที่ไม่น่ารังเกียจ.

ข้อว่า กุกฺกุจฺจายิตพฺพํ น กุกฺกุจฺจายติ มีความว่า ภิกษุไม่ ประพฤติรังเกียจทำสิ่งที่น่ารังเกียจ. อธิบายว่า อาสวะทั้งหลายของภิกษุ ๒ พวกนั่น ย่อมเพิ่มพูนทั้งกลางวันและกลางคืน.

เนื้อความแม้ในหมวด ๒ อันเป็นลำดับไป พึงทราบด้วยอำนาจแห่ง เนื้อความ ที่ตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้ว.

บทที่เหลือ นับว่ามีเนื้อความชัดทั้งนั้น เพราะมีนัยดังกล่าวแล้วใน บทนั้นๆ.

พรรณนาหมวด ๒ จบ

[พรรณนาหมวด ๓]

วินิจฉัยในหมวด ๓ พึงทราบดังนี้:-

หลายบทว่า อตฺถาปตฺติ ติฏฺนฺเต ภควติ อาปชฺชติ มีความว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ายังทรงอยู่ ภิกษุจึงต้องอาบัติใด อาบัตินั้นมีอยู่. มีนัย เหมือนกันทุกบท.

บรรดาอาบัติเหล่านั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ายังทรงอยู่ ภิกษุจึงต้อง อาบัติ เพราะโลหิตุปบาท. เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว ภิกษุจึงต้อง ยังทรงอยู่ไม่ต้องอาบัติ เพราะร้องเรียกพระเถระด้วยวาทะว่า อาวุโส เป็น

 
  ข้อความที่ 82  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 531

ปัจจัย เพราะพระบาลีว่า อานนท์ ก็บัดนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ย่อมร้องเรียก กันและกัน ด้วยวาทะว่า อาวุโส โดยเวลาที่เราล่วงไปเสีย ท่านทั้งหลายไม่ พึงร้องเรียกกันและกันอย่างนั้น, อานนท์ ภิกษุผู้เถระอันภิกษุผู้ใหม่ พึง ร้องเรียกด้วยวาทะว่า ภทนฺเต หรือว่า อายสฺมา ดังนี้.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ายังทรงอยู่ก็ตาม ปรินิพพานแล้วก็ตาม เว้น อาบัติ ๒ เหล่านี้เสีย ภิกษุย่อมต้ออาบัติที่เหลือ.

เมื่อห้ามเสียแล้ว ฉันของเคี้ยวของฉันที่ไม่เป็นเดน ชื่อว่าต้องอาบัติ ในกาล หาต้องในวิกาลไม่. แต่ย่อมต้องอาบัติเพราะวิกาลโภชน์ในวิกาล หา ต้องในกาลไม่. ย่อมต้องอาบัติที่เหลือ ทั้งในกาลและวิกาล.

ในเวลากลางคืน ย่อมต้องอาบัติเพราะนอนในเรือนร่วมกัน, ในเวลา กลางวัน ย่อมต้องอาบัติเพราะไม่ปิดประตูเร้นอยู่. ย่อมต้องอาบัติที่เหลือ ทั้งกลางคืนและกลางวัน.

ภิกษุผู้พาล ไม่ฉลาด เมื่อให้บริษัทอุปัฏฐาก ด้วยคิดว่า เรามี พรรษา ๑๐ เรามีพรรษาเกิน ๑๐ ผู้มีพรรษาครบ ๑๐ ย่อมต้อง ผู้มีพรรษา หย่อน ๑๐ ไม่ต้อง.

ภิกษุใหม่หรือปูนกลาง เมื่อให้บริษัทอุปัฏฐาก ด้วยคิดว่า เราเป็น บัณฑิต เราเป็นคนฉลาด ผู้มีพรรษาหย่อน ๑๐ ย่อมต้อง ผู้มีพรรษาครบ ๑๐ ไม่ต้อง.

ทั้งภิกษุผู้มีพรรษาครบ ๑๐ ทั้งภิกษุผู้มีพรรษาหย่อน ๑๐ ย่อมต้อง อาบัติที่เหลือ.

 
  ข้อความที่ 83  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 532

ภิกษุผู้พาล ไม่ฉลาด เมื่อไม่ถือนิสัยอยู่ ด้วยคิดว่า เรามีพรรษา ครบ ๕ ผู้มีพรรษาครบ ๕ ย่อมต้อง.

ภิกษุใหม่ไม่ถือนิสัยอยู่ ด้วยคิดว่า เราเป็นบัณฑิต เป็นผู้ฉลาด ผู้มีพรรษาหย่อน ๕ ย่อมต้อง. ทั้งภิกษุผู้มีพรรษาครบ ๕ ทั้งภิกษุผู้มีพรรษา หย่อน ๕ ย่อมต้องอาบัติที่เหลือ.

ภิกษุผู้มีจิตเป็นกุศล ย่อมต้องอาบัติเห็นปานนี้ คือ บอกธรรมกะ อนุปสัมบันโดยบท, แสดงธรรมแก่มาตุคาม.

ภิกษุผู้มีจิตเป็นอกุศล ย่อมต้องอาบัติต่างโดยชนิด มีปาราชิก, สุกกวิสัฏฐิ, กายสังสัคคะ, ทุฏฐุลละ, อัตตกามปาริจริยา, ทุฏฐโทสะ, สังฆเภทะ, ปหารทานะ, ตลสัตติกะ เป็นต้น.

ผู้มีจิตเป็นอัพยากฤต ย่อมต้องอาบัติ มีไม่แกล้งนอนในเรือนร่วมกัน เป็นต้น. พระอรหันต์ย่อมต้องอาบัติใด ภิกษุผู้มีจิตเป็นอัพยากฤต ย่อมต้อง อาบัตินั้นทั้งหมด.

ภิกษุผู้พร้อมเพรียงด้วยสุขเวทนา ย่อมต้องอาบัติต่างชนิดมีเมถุนธรรม เป็นต้น.

ผู้พร้อมเพรียงด้วยทุกขเวทนา ย่อมต้องอาบัติต่างชนิดมีทุฏฐโทสะ เป็นต้น.

ผู้พร้อมเพรียงด้วยสุขเวทนา ย่อมต้องอาบัติใด ภิกษุผู้มีตนมัธยัสถ์ (วางเฉย) เมื่อต้องอาบัตินั้นแล ชื่อว่าผู้พร้อมเพรียงด้วยอทุกขมสุขเวทนาต้อง (อาบัติ).

 
  ข้อความที่ 84  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 533

ข้อว่า ตโย ปฏิกฺเขปา มีความว่า ข้อห้าม ๓ อย่าง ของพระผู้มี พระภาคพุทธเจ้า คือ ความเป็นผู้มักมาก ความเป็นผู้ไม่สันโดษในปัจจัย ๔ ความไม่รักษาข้อปฏิบัติอันขูดเกลากิเลส, ธรรม ๓ อย่างเหล่านี้แล อันพระผู้มี พระภาคพุทธเจ้าทรงห้ามแล้ว.

ส่วนธรรม ๓ อย่าง มีความเป็นผู้มักน้อยเป็นต้น อันพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงอนุญาตแล้ว. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ธรรม ๓ อย่าง ทรงอนุญาต.

ภิกษุให้บริษัทอุปัฏฐาก ด้วยคิดว่า เรามีพรรษาครบ ๑๐ ไม่ถือนิสัย ด้วยคิดว่า เรามีพรรษาครบ ๕ ผู้โง่เขลาต้อง ผู้ฉลาดไม่ต้อง.

ผู้มีพรรษาหย่อน ๑๐ คิดว่า เราเป็นผู้ฉลาด เมื่อให้บริษัทอุปัฏฐาก เพราะความเป็นพหุสุตบุคคล และผู้มีพรรษาหย่อน ๕ ไม่ถือนิสัย ผู้ฉลาดต้อง ผู้โง่เขลาไม่ต้อง.

ทั้งผู้ฉลาด ทั้งผู้โง่เขลา ย่อมต้องอาบัติที่เหลือ.

เมื่อไม่เข้าพรรษา ย่อมต้องในกาฬปักข์ ไม่ต้องในชุณหปักข์. เมื่อ ไม่ปวารณาในวันมหาปวารณา ย่อมต้องในชุณหปักข์ ไม่ต้องในกาฬปักข์. ย่อมต้องอาบัติที่เหลือทั้งในกาฬปักข์และชุณหปักข์.

การเข้าพรรษา ย่อมสำเร็จในกาฬปักข์ ไม่สำเร็จในชุณหปักข์.

ปวารณาในวันมหาปวารณา ย่อมสำเร็จ ในชุณหปักข์ ไม่สำเร็จใน กาฬปักข์.

สังฆกิจที่ทรงอนุญาตที่เหลือ ย่อมสำเร็จทั้งในกาฬปักข์และชุณหปักข์.

ภิกษุนุ่งผ้าอาบน้ำฝนที่วิกัปป์เก็บไว้ในวันปาฏิบทหลัง แต่เพ็ญเดือน กัตติกาหลัง ย่อมต้องในฤดูเหมันต์.

 
  ข้อความที่ 85  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 534

แต่ในกุรุนที กล่าวว่า ไม่ถอนในวันเพ็ญเดือนกัตติกาหลัง ย่อมต้อง ในฤดูเหมันต์. คำในอรรถกถากุรุนทีแม้นั้นท่านกล่าวชอบ. เพราะพระผู้มี พระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า เราอนุญาตให้ภิกษุอธิษฐานตลอด ๔ เดือน ต่อแต่ นั้นไป อนุญาตให้วิกัปป์

เมื่อฤดูร้อนยังเหลือกว่า ๑ เดือน ภิกษุแสวงหา และเมื่อฤดูร้อนยัง เหลือกว่ากึ่งเดือน ภิกษุทำนุ่ง ชื่อว่าย่อมต้องอาบัติในคิมหฤดู.

เมื่อมีผ้าอาบน้ำฝน แต่เปลือยกายอาบน้ำฝน ชื่อว่าย่อมต้องอาบัติใน ฤดูฝน.

สงฆ์เมื่อทำปาริสุทธิอุโบสถหรืออธิษฐานอุโบสถ ย่อมต้องอาบัติ.

คณะเมื่อทำสุตตุทเทสและอธิษฐานอุโบสถ ย่อมต้องอาบัติ.

ภิกษุผู้เดียว เมื่อทำสุตตุทเทส ย่อมต้องอาบัติ. แม้ในปวารณาก็ นัยนี้แล.

สังฆอุโบสถ และสังฆปวารณา ย่อมสำเร็จแก่สงฆ์เท่านั้น.

คณะอุโบสถ และคณะปวารณา ย่อมสำเร็จแก่คณะเท่านั้น.

อธิษฐานอุโบสถและอธิษฐานปวารณา ย่อมสำเร็จแก่บุคคลเท่านั้น.

[ว่าด้วยการปิด ๓ อย่างเป็นต้น]

เมื่อกล่าวคำว่า ข้าพเจ้าต้องปาราชิก เป็นต้น ชื่อว่าปิดวัตถุ ไม่ปิด อาบัติ.

เมื่อกล่าวคำว่า ข้าพเจ้าได้เสพเมถุนธรรม เป็นต้น ชื่อว่าปิดอาบัติ ไม่ปิดวัตถุ.

 
  ข้อความที่ 86  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 535

ภิกษุใด ไม่บอกวัตถุ ไม่บอกอาบัติ, ภิกษุนี้ ชื่อว่าปิดทั้งวัตถุทั้ง อาบัติ.

ที่ชื่อว่าที่กำบัง เพราะปกปิดไว้.

ที่กำบัง คือเรือนไฟ ชื่อว่า ชนฺตาฆรปฏิจฺฉาทิ. แม้ในที่กำบัง นอกนี้ ก็มีนัยเหมือนกัน.

ภิกษุผู้ปิดประตูอยู่ภายในเรือนไฟ ควรทำบริกรรม. แม้ภิกษุผู้แช่อยู่ ในน้ำ ก็ควรทำบริกรรมนั้นเหมือนกัน. แต่ไม่ควรขบเคี้ยวหรือฉันในสถาน ทั้ง ๒

ของอันปกปิด คือ ผ้า ควรในที่ทั้งปวง

ภิกษุผู้ปกปิด (กาย) ด้วยของปกปิด คือ ผ้านั้นแล้ว สมควรทำกิจ ทั้งปวง.

บทว่า วหนฺติ มีความว่า ย่อมไป คือย่อมออกไป ได้แก่ ไม่ได้ ความติเตียนหรือคำคัดค้าน. ดวงจันทร์ พ้นจากเมฆ หมอก ควัน ธุลีและ ราหูแล้ว เปิดเผยดี ย่อมรุ่งเรือง, อันสิ่งเหล่านั้นอย่างใดอย่างหนึ่ง กำบังแล้ว ย่อมไม่รุ่งเรือง. ควงอาทิตย์ก็เหมือนกัน. แม้ธรรมวินัยที่ภิกษุเปิดเผยจำแนก แสดงอยู่แล จึงรุ่งเรือง, ปกปิดไว้หารุ่งเรืองไม่.

[ว่าด้วยอาบัติที่ผู้อาพาธต้องเป็นต้น]

ภิกษุผู้อาพาธ เมื่อออกปากขอเภสัชอย่างอื่น ในเมื่อจำเป็นต้องทำ ด้วยเภสัชอย่างอื่น ย่อมต้อง (อาบัติ).

ผู้ไม่อาพาธ เมื่อออกปากขอเภสัช ในเมื่อไม่จำเป็นต้องทำด้วยเภสัช ย่อมต้อง.

 
  ข้อความที่ 87  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 536

ภิกษุทั้งอาพาธและไม่อาพาธ ย่อมต้องอาบัติที่เหลือ.

ข้อว่า อนฺโต อาปชฺชติ โน พหิ มีความว่า เมื่อสำเร็จการ นอนเข้าไปเบียด (ภิกษุเข้าไปก่อน) ย่อมต้อง.

ข้อว่า พหิ อาปชฺชติ โน อนฺโต มีความว่า เมื่อตั้งเตียง เป็นต้นของสงฆ์ไว้กลางแจ้งแล้วหลีกไป ชื่อว่าย่อมต้องในภายนอก. ย่อมต้อง อาบัติที่เหลือทั้งภายในและภายนอก.

ข้อว่า อนฺโต สีมาย มีความว่า ภิกษุอาคันตุกะ เมื่อไม่แสดง อาคันตุกวัตร กางร่มสวมรองเท้า เข้าสู่วิหาร แต่พอเข้าอุปจารสีมา ก็ต้อง.

ข้อว่า พหิ สีมาย มีความว่า ภิกษุเตรียมจะไป เมื่อไม่บำเพ็ญคมิกวัตร มีเก็บงำภัณฑะไม้เป็นต้น หลีกไป แต่พอก้าวล่วงอุปจารสีมาก็ต้อง. ย่อมต้องอาบัติที่เหลือทั้งภายในสีมาและภายนอกสีมา.

[ว่าด้วยอาบัติที่ต้องในท่ามกลางสงฆ์เป็นต้น]

เมื่อภิกษุผู้แก่กว่า มีอยู่ ภิกษุไม่ได้รับเผดียงกล่าวธรรมชื่อว่าต้องใน ท่ามกลางสงฆ์. ในท่ามกลางคณะก็ดี ในสำนักบุคคลก็ดี ก็นัยนี้แล.

ออก (จากอาบัติ) ด้วยติณวัตถารกสมถะ ชื่อว่าออกด้วยกาย.

เมื่อภิกษุไม่ยังกายให้ไหว แสดงด้วยวาจา อาบัติชื่อว่าออกดด้วยวาจา.

เมื่อทำกิริยาทางกายประกอบกับวาจาแสดง อาบัติชื่อว่าออกดด้วยกาย ด้วยวาจา.

อาบัติที่เป็นทั้งเทสนาคามินีทั้งวุฏฐานคามินี ย่อมออกในท่ามกลาง สงฆ์. แต่ว่า เพราะอาบัติเป็นเทสนาคามินีเท่านั้น ย่อมออกในท่ามกลางคณะ และบุคคล.

 
  ข้อความที่ 88  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 537

[ว่าด้วยองค์เป็นเหตุลงโทษและเพิ่มโทษ]

สองบทว่า อาคาฬฺหาย เจเตยฺย มีความว่า สงฆ์พึงตั้งใจเพื่อความ แน่นเข้า คือเพื่อความมั่นคง. อธิบายว่า สงฆ์เมื่อปรารถนา พึงลงอุกเขปนียกรรม แก่ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมเป็นต้นแล้วไม่ยังวัตรให้เต็ม.

ในคำว่า อลชฺชี จ โหติ พาโล จ อปกตตฺโต จ นี้ มี ความว่า ไม่พึงลงโทษด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ว่า ผู้นี้เป็นผู้โง่ ไม่รู้จักธรรมและ อธรรม หรือว่า ผู้นี้มิใช่ปกตัตต์ ไม่รู้จักอาบัติและมิใช่อาบัติ. พึงลงโทษแก่ ภิกษุผู้ต้องอาบัติ ซึ่งมีความเป็นผู้โง่เป็นมูลและมีความเป็นไม่ใช่ผู้ปกตัตต์เป็น มูล.

ผู้ต้องอาบัติ ๒ กอง ชื่อว่าผู้เสียศีลในอธิศีล.

ผู้ต้องอาบัติ ๕ กอง ชื่อว่าผู้เสียอาจาระ.

ผู้ประกอบด้วยอันตคาหิกทิฏฐิ ชื่อว่าผู้เสียทิฏฐิ.

พึงลงโทษแก่ภิกษุเหล่านั้น ผู้ไม่เห็น ไม่ทำคืนอาบัติ และผู้ไม่ยอม สละทิฏฐิเท่านั้น.

อนาจารต่างโดยชนิดมีเล่นการพนันเป็นต้น ด้วยเครื่องเล่นมีสกา ๑ เป็นอาทิ ชื่อว่าเล่นทางกาย.

อนาจารต่างโดยชนิดมีทำเปิงมางปากเป็นต้น ชื่อว่าเล่นทางวาจา.

อนาจารทางทวารทั้ง ๒ ต่างโดยชนิดมีฟ้อนและขับเป็นต้น ชื่อว่าเล่น ทางวาจา.


(๑) ปาสากาทีหิ, ปาสก=throw=ทอดลูกบาท - เล่นสกา

 
  ข้อความที่ 89  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 538

อนาจารทวารทั้ง ๒ ต่างโดยชนิดมีฟ้อนและขับเป็นต้น ชื่อว่าเล่นทาง กายและทางวาจา.

ความก้าวล่วงสิกขาบทที่ทรงบัญญัติในกายทวาร ชื่อว่าอนาจารทางกาย

ความก้าวล่วงสิกขาบทที่ทรงบัญญัติในวจีทวาร ชื่อว่าอนาจารทางวาจา

ความก้าวล่วงสิกขาบทที่ทรงบัญญัติในทวารทั้ง ๒ ชื่อว่าอนาจารทาง กายทวารและทางวจีทวาร.

สองบทว่า กายิเกน อุปฆาติเกน ได้แก่ ด้วยการไม่ศึกษา สิกขาบทที่ทรงบัญญัติในกายทวาร.

จริงอยู่ ภิกษุใดไม่ศึกษาสิกขาบทนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่าผลาญสิกขาบท นั้น. เพราะเหตุนั้น การไม่ศึกษานั้น ของภิกษุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า การ ผลาญเป็นไปทางกาย. แม้ใน ๒ สิกขาบทที่เหลือ ก็นัยนี้แล.

ข้อว่า กายิเกน มิจฺฉาชีเวน ได้แก่ ด้วยการรับใช้ของคฤหัสถ์ มีเดินส่งข่าวเป็นต้นก็ดี ด้วยเวชกรรมมีฝ่าฝีเป็นต้นก็ดี.

บทว่า วาจสิเกน ได้แก่ ด้วยรับหรือบอกข่าว (ของคฤหัสถ์) เป็นต้น. บทที่ ๓ ท่านกล่าวด้วยอำนาจประกอบบททั้ง ๒ เข้าด้วยกัน.

หลายบทว่า อลํ ภิกฺขุ มา ภณฺฑนํ มีความว่า อย่าเลยภิกษุ เธออย่าทำความบาดหมาง อย่าทำความทะเลาะ อย่าทำความแก่งแย่ง อย่าก่อ วิวาท.

บทว่า น โวหริตพฺโพ ได้แก่ ไม่พึงว่ากล่าวอะไรเลย.

จริงอยู่ ภิกษุทั้งหลาย ย่อมไม่สำคัญที่จะพึงฟังถ้อยคำของภิกษุเช่นนั้น แม้ว่ากล่าวอยู่.

 
  ข้อความที่ 90  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 539

ข้อว่า น กิสฺมิญฺจิ ปจิเจกฏฺาเน มีความว่า (ภิกษุผู้ประกอบ ด้วยองค์ ๓ คือเป็นอลัชชีเป็นต้น) อันสงฆ์ไม่พึงตั้งไว้ในตำแหน่งหัวหน้า ไรๆ คือแม้ตำแหน่งเดียว มีถือพัด (อนุโมทนา) เป็นต้น.

สองบทว่า โอกาสํ การาเปนฺตสฺส มีความว่า (ภิกษุผู้ประกอบ ด้วยองค์ ๓ คือเป็นอลัชชี เป็นต้น) ซึ่งขอโอกาสอยู่อย่างนี้ว่า ขอท่านจงให้ โอกาส ข้าพเจ้าอยากพูดกะท่าน.

ข้อว่า นาลํ โอกาสกมฺมํ กาตุํ มีความว่า โอกาสอันภิกษุไม่พึง ทำว่า ท่านจักทำอะไร? ดังนี้.

ข้อว่า สวจนียํ นาทาตพฺพํ มีความว่า คำให้การ ไม่ควรเชื่อถือ คือแม้ถ้อยคำ ก็ไม่ควรฟัง ไม่ควรไปในที่ซึ่งเธอประสงค์จะเกาะตัวไป.

หลายบทว่า ตีหงฺเคหิ สมนฺนาคตสฺส ภิกฺขุโน วินโย มีความว่า ภิกษุนั้นย่อมรู้วินัยโด วินัยนั้นย่อมเป็นวินัยของเธอ วินัยนั้น อันสงฆ์ไม่ พึงถาม.

สองบทว่า อนุโยโค น ทาตพฺโพ มีความว่า สงฆ์ไม่พึงให้ โอกาสเพื่อถาม แก่ภิกษุพาลนั้น ผู้ถามอยู่ว่า นี้ควรหรือ? เธออันสงฆ์พึง ตอบว่า จงถามภิกษุอื่น. แม้ภิกษุใด ย่อมถามภิกษุนั้น ภิกษุนั้น อันภิกษุ ผู้บัณฑิตพึงกล่าวว่า ท่านจงถามภิกษุอื่น เพราะเหตุนั้น ภิกษุพาลนั้น อัน ภิกษุอื่นไม่พึงถามเลยทีเดียว คือคำถามของภิกษุพาลนั้น อันใครๆ ไม่พึงฟัง.

สองบทว่า วินโย น สากจฺฉิตพฺโพ มีความว่า ปัญหาวินัยอัน ใครๆ ไม่พึงสนทนา คือเรื่องที่ควรหรือไม่ควร ก็ไม่พึงสนทนา (กับภิกษุ พาลนั้น).

 
  ข้อความที่ 91  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 540

[ว่าด้วยขาวอบาย ๓ พวกเป็นต้น]

สองบทว่า อิทมปฺปหาย ได้แก่ ไม่สละลัทธิมีความเป็นผู้ปฏิญญาว่า ตนเป็นพรหมจารีบุคคลเป็นต้นนั่น.

สองบทว่า สุทฺธํ พฺรหฺมจารึ ได้แก่ ภิกษุผู้ขีณาสพ.

สองบทว่า ปาตพฺยตํ อาปชฺชติ ได้แก่ ถึงความเป็นผู้ตกไปคือ การเสพ.

แต่เพราะพระบาลีว่า อิทมปฺปหาย บุคคลนั้น พึงละความปฏิญญา ว่าตนเป็นพรหมจารีบุคคลนั้นเสียแล้ว ขอขมาพระขีณาสพเสียว่า ข้าพเจ้ากล่าว เท็จ ขอท่านจงอดโทษแก่ข้าพเจ้า แล้วสละลัทธิที่ว่า โทษในกามทั้งหลายไม่มี เสีย ทำการชำระคติให้สะอาด.

อกุศลทั้งหลายด้วย รากเหง้าทั้งหลาย ชื่อว่าอกุศลมูล อีกอย่างหนึ่ง รากเหง้าของอกุศลทั้งหลาย ชื่อว่าอกุศลมูล. แม้ในกุศลมูล ก็นัยนี้แล.

ความประพฤติชั่วหรือความประพฤติผิดรูป ชื่อว่าทุจริต.

ความประพฤติเรียบร้อยหรือความประพฤติที่ดี ชื่อว่าสุจริต. ทุจริต ที่ทำด้วยกายอันเป็นทางสำหรับทำ ชื่อว่ากายทุจริต.

ในบททั้งปวง ก็นัยนี้แล. คำที่เหลือ นับว่าชัดเจนแล้ว เพราะมีนัย ดั่งกล่าวแล้วในที่นั้นๆ ฉะนี้แล.

พรรณนาหมวด ๓ จบ

(พรรณนาหมวด ๔)

[ว่าด้วยประเภทของอาบัติ]

วินิจฉัยในหมวด ๔ พึงทราบดังนี้:-

 
  ข้อความที่ 92  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 541

ข้อว่า สกวาจาย อาปชฺชติ ปรวาจาย วุฏฺาติ มีความว่าภิกษุ ต้องอาบัติต่างโดยชนิดมีปทโสธัมมาบัติเป็นอาทิ เนื่องด้วยวจีทวาร ถึงสถาน ที่ระงับด้วยติณวัตถารกะแล้ว ย่อมออกด้วยกรรมวาจาของภิกษุอื่น.

ข้อว่า ปรวาจาย อาปชฺชติ สถวาจาย วุฏฺาติ มีความว่า ภิกษุต้องด้วยกรรมวาจาของภิกษุอื่น เพราะไม่ยอมสละทิฏฐิลามก เมื่อแสดงใน สำนักของบุคคล ชื่อว่าออกด้วยวาจาของตน.

ข้อว่า สกวาจาย อาปชฺชติ สกวาจาย วุฏฺาติ มีความว่า ภิกษุต้องอาบัติต่างโดยชนิดมีปทโสธัมมาบัติเป็นอาทิ เนื่องด้วยวจีทวารด้วย วาจาของตน แม้เมื่อแสดงแล้วออกเสียเอง ชื่อว่าออกด้วยวาจาของตน.

ข้อว่า ปรวาจาย อาปชฺชติ ปรวาจาย วุฏฺาติ มีความว่า ภิกษุต้องสังฆาทิเสส มีสวดสมนุภาสน์เพียงครั้งที่ ๓ ด้วยกรรมวาจาของผู้อื่น แม้เมื่อออก ชื่อว่าย่อมออกด้วยกรรมวาจามีปริวาสกันมวาจาเป็นต้นของภิกษุ อื่น.

วินิจฉัยในจตุกกะเหล่าอื่นจากปฐมจตุกกะนั้น พึงทราบดังนี้:-

ภิกษุต้องอาบัติที่เป็นไปทางกายทวาร ด้วยกาย เมื่อแสดงเสียชื่อว่า ออกด้วยวาจา.

ต้องอาบัติที่เป็นไปทางวจีทวาร ด้วยวาจา ชื่อว่าย่อมออกดด้วยกาย เพราะติณวัตถารกสมถะ.

ต้องอาบัติที่เป็นไปทางกายทวาร ด้วยกาย ชื่อว่าย่อมออกจากอาบัติที่ เป็นไปทางกายทวารนั้นแล ด้วยกาย เพราะติณวัตถารกสมถะ.

 
  ข้อความที่ 93  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 542

ต้องอาบัติที่เป็นไปทางวจีทวาร ด้วยวาจา เมื่อแสดงอาบัตินั้นแลเสีย ชื่อว่าออกด้วยวาจา.

ภิกษุผู้หลับ ย่อมต้องอาบัติที่จะพึงต้องตามจำนวนแห่งขน เพราะกาย ถูกเตียงของสงฆ์ที่ไม่ลาดด้วยเครื่องลาดของตน และอาบัติที่จะพึงต้องเพราะ นอนในเรือนร่วมกัน. และเมื่อตื่นแล้วรู้ว่าตนต้องแล้วแสดงเสีย ชื่อว่าตื่นแล้ว ออก แต่เมื่อตื่นอยู่ ต้องแล้ว นอนในสถานที่ระงับด้วยติณวัตถารกะ ชื่อว่า กำลังตื่นต้อง หลับไป ออก. แม้ ๒ บทเบื้องหลัง ก็พึงทราบโดยทำนองที่ กล่าวแล้วนั่นแล.

ภิกษุผู้ไม่มีความตั้งใจ ชื่อว่าย่อมต้องอาบัติที่เป็นอจิตตกะ. เมื่อแสดง เสียในภายหลัง ชื่อว่ามีความตั้งใจออก.

ภิกษุผู้มีความตั้งใจ ชื่อว่าย่อมต้องอาบัติที่เป็นสจิตตกะ. เธอนอนอยู่ ในสถานที่ระงับด้วยติณวัตถารกะ ชื่อว่าไม่มีความตั้งใจออก. แม้ ๒ บทที่ เหลือ ก็พึงทราบโดยทำนองที่กล่าวแล้วนั่นแล.

ภิกษุใด แสดงสภาคาบัติ ภิกษุนี้ชื่อว่าแสดงอาบัติ อย่างใดอย่างหนึ่ง มีปาจิตตีย์เป็นต้น ต้องคือทุกกฏ เพราะการแสดงเป็นปัจจัย. จริงอยู่ เมื่อแสดง อาบัตินั้น ย่อมต้องทุกกฏ. แต่เมื่อต้องทุกกฏนั้น ชื่อว่าย่อมออกจากอาบัติ- ปาจิตตีย์เป็นต้น. เมื่อออกจากอาบัติมีปาจิตตีย์เป็นต้น ชื่อว่าย่อมต้องทุกกฏ นั้น. จตุกกะนี้ว่า อตฺถิ ปิปชฺชนฺโต เทเสติ ดังนี้ พึงทราบว่า ท่านกล่าว หมายเอาประโยคอันหนึ่งเท่านั้น ของบุคคลผู้หนึ่ง ด้วยประการฉะนี้.

 
  ข้อความที่ 94  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 543

[วินิจฉัยในกัมมจตุกกะ]

วินิจฉัยในกัมมจตุกกะ พึงทราบดังนี้:-

ภิกษุต้องอาบัติเพราะไม่ยอมสละทิฏฐิลามก ด้วยกรรม, เมื่อแสดงเสีย ชื่อว่าออกด้วยมิใช่กรรม.

ต้องอาบัติเพราะปล่อยสุกกะเป็นต้น ด้วยมิใช่กรรม, ย่อมออกด้วย กรรม มีปริวาสเป็นอาทิ.

ต้องอาบัติเพราะสมนุภาสน์ ด้วยกรรมเท่านั้น ย่อมออกด้วยกรรม. ย่อมต้องอาบัติที่เหลือ ด้วยมิใช่กรรม ย่อมออกด้วยมิใช่กรรม.

[วินิจฉัยในปริกขารจตุกกะ]

วินิจฉัยในปริกขารจตุกกะ พึงทราบดังนี้:-

บริขารของตนเป็นที่ ๑. บริขารของสงฆ์เป็นที่ ๒. บริขารของเจดีย์ เป็นที่ ๓. บริขารของคฤหัสถ์เป็นที่ ๔. ก็ถ้าว่า บริขารของคฤหัสถ์นั้น เป็น ของที่เขานำมา เพื่อประโยชน์แก่บาตร จีวร นวกรรมและเภสัช. ภิกษุจะให้ กุญแจ และให้บริขารนั้นอยู่ข้างในก็ควร.

[วินิจฉัยในสัมมุขจตุกกะ]

วินิจฉัยในสัมมุขจตุกกะ พึงทราบดังนี้:-

ภิกษุต้องอาบัติเพราะไม่ยอมสละทิฏฐิลามก ต่อหน้าสงฆ์แท้, แต่ใน เวลาออกไม่มีกิจที่สงฆ์จะต้องทำ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าออกลับหลัง.

ต้องอาบัติ เพราะปล่อยสุกกะเป็นต้น ลับหลัง ย่อมออกต่อหน้าสงฆ์.

 
  ข้อความที่ 95  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 544

ต้องอาบัติสมนุภาสน์ต่อหน้าสงฆ์เท่านั้น ย่อมออกต่อหน้า.

ย่อมต้องอาบัติที่เหลือต่างโดยชนิด มีสัมปชานมุสาวาทเป็นต้นลับหลัง และออกก็ลับหลัง.

อชานันตจตุกกะ เหมือนกับอจิตตกจตุกกะ.

[ว่าด้วยเพศกลับ]

บทว่า ลิงฺคปาตุภาเวน มีความว่า เมื่อเกิดเพศกลับแก่ภิกษุหรือ ภิกษุณีผู้นอนแล้วเท่านั้น จึงเป็นอาบัติเพราะนอนร่วมเรือนกัน.

คำว่า ลิงฺคปาตุภาเวน นี้แล ท่านกล่าวเจาะจงอาบัติ เพราะนอน ร่วมเรือนกันนั้น.

ก็อาบัติที่ไม่ทั่วไป แก่ภิกษุและภิกษุณีทั้ง ๒ ฝ่าย ย่อมออกเพราะ ความปรากฏแห่งเพศ.

[วินิจฉัยในสหปฏิลาภจตุกกะ]

วินิจฉัยในสหปฏิลาภจตุกกะ พึงทราบดังนี้:-

เพศของภิกษุใด ย่อมเปลี่ยนไป, ภิกษุนั้น พร้อมกับได้เพศ (ใหม่) ย่อมละเพศบุรุษเดิมเสีย ด้วยอำนาจแห่งเพศที่เกิดขึ้นก่อน และด้วยความเป็น เพศประเสริฐ ตั้งอยู่ในเพศสตรีอันเกิด ณ ภายหลัง. กายวิญญัตติและวจีวิญญัตติ ซึ่งเป็นไปด้วยอำนาจแห่งจริตของบุรุษและอาการของบุรุษเป็นต้น ย่อมระงับไป บัญญัติที่เป็นไปอย่างนี้ว่า ภิกษุก็ดี บุรุษก็ดี ย่อมดับไป. ก็สิกขาบท ๔๖ เหล่าใด อันไม่ทั่วไปด้วยภิกษุณีทั้งหลาย. ไม่เป็นอาบัติ เพราะสิกขาบท เหล่านั้นเลย.

 
  ข้อความที่ 96  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 545

ก็วินิจฉัยในจตุกกะที่ ๒ พึงทราบดังนี้:-

เพศของภิกษุณีใด ย่อมเปลี่ยนไป, ภิกษุณีนั้น ย่อมละเพศสตรีที่ นับว่าเกิดภายหลัง เพราะเกิดขึ้นภายหลังบ้าง เพราะความเป็นเพศทรามบ้าง ตั้งอยู่ในเพศบุรุษ ที่นับว่าเกิดก่อน โดยประการดังกล่าวแล้ว. วิญญัตติซึ่ง แผกจากที่กล่าวแล้ว ย่อมระงับไป. บัญญัติที่เป็นไปอย่างนี้ว่า ภิกษุณี ก็ดี สตรี ก็ดี ย่อมดับไป. สิกขาบท ๑๓๐ เหล่าใด อันไม่ทั่วไปด้วยภิกษุทั้งหลาย, ไม่เป็นอาบัติ เพราะสิกขาบทเหล่านั้นเลย.

สองบทว่า จตฺตาโร สามุกฺกํสา ได้แก่ มหาปเทส ๔. จริงอยู่ มหาปเทส ๔ นั้น ท่านกล่าวว่า สามุกฺกํสา เพราะเป็นข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงรื้อขึ้น คือยกขึ้นตั้งไว้เอง ในเมื่อยังไม่เกิดเรื่องขึ้น.

บทว่า ปริโภคา ได้แก่ กลืนของที่ควรกลืน.

ส่วนน้ำ เพราะไม่เป็นกาลิก ไม่ได้รับประเคน ก็ควร.

ยาวกาลิกเป็นต้น ที่ไม่ได้รับประเคน ไม่ควรกลืน.

ยามหาวิกัฏ ๔ อย่าง เพราะเป็นของเฉพาะกาล ควรกลืนในกาลที่ ตรัสไว้อย่างไร.

สองบทว่า อุปาสโก สีลวา ได้แก่ ผู้ครองศีล ๕ หรือศีล ๑๐.

[วินิจฉัยในอาคันตุกาทิจตุกกะ]

วินิจฉัยในอาคันตุกาทิจตุกกะ พึงทราบดังนี้:-

ภิกษุผู้กางร่มสวมรองเท้า คลุมศีรษะเข้าสู่วิหารและเที่ยวไปในวิหาร นั้น เฉพาะเป็นอาคันตุกะจึงต้อง เป็นเจ้าถิ่นไม่ต้อง.

 
  ข้อความที่ 97  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 546

ฝ่ายภิกษุผู้ไม่ทำอาวาสิกวัตร เป็นเจ้าถิ่น จึงต้อง เป็นอาคันตุกะ ไม่ต้อง ทั้ง ๒ พวก ย่อมต้องอาบัติที่เป็นทางกายทวารและวจีทวารที่เหลือ. ทั้งอาคันตุกะ ทั้งเจ้าถิ่น ย่อมไม่ต้องอาบัติที่ไม่ทั่วไป (แก่ตน).

วินิจฉัยแม้ในคมิยจตุกกะ. พึงทราบดังนี้:

ภิกษุผู้ไม่ยังคมิยวัตรให้เต็มไปเสีย เป็นผู้เตรียมจะไป จึงต้อง, เป็น เจ้าถิ่น ไม่ต้อง.

เมื่อไม่ทำอาวาสิกวัตร เป็นเจ้าถิ่น จึงต้อง ผู้เตรียมจะไป ไม่ต้อง. ทั้ง ๒ พวก ย่อมต้องอาบัติที่เหลือ. ทั้ง ๒ พวก ไม่ต้องอาบัติที่ไม่ทั่วไป (แก่ตน).

[วินิจฉัยในวัตถุนานัตตตาทิจตุกกะ]

วินิจฉัยในวัตถุนานัตตตาทิจตุกกะ พึงทราบดังนี้:-

ความที่ปาราชิก ๔ มีวัตถุต่างๆ กันและกันแล ย่อมมี, ความที่ ปาราชิก ๔ มีอาบัติต่างกันและกันหามีไม่. จริงอยู่ อาบัติปาราชิกนั้นทั้งหมด คงเป็นอาบัติปาราชิกเหมือนกัน. แม้ในสังฆาทิเสสเป็นต้น ก็นัยนี้แล.

ส่วนโยชนาในคำว่า อาปตฺตินานตฺตตา น วตฺถุนานตฺตตา นี้ พึงทราบโดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า ความเป็นต่างกันแห่งอาบัติแล ย่อมมีอย่างนี้ คือ เป็นสังฆาทิเสสแก่ภิกษุ เป็นปาราชิกแก่ภิกษุณี เพราะเคล้าคลึงกันและกัน ด้วยกาย แห่งภิกษุและภิกษุณี, ความเป็นต่างกันแห่งวัตถุหามีไม่, ความ เคล้าคลึงกันด้วยกายแล เป็นวัตถุแห่งอาบัติแม้ทั้ง ๒,

อนึ่ง เพราะฉันกระเทียม เป็นปาจิตตีย์แก่ภิกษุณี เป็นทุกกฏแก่ภิกษุ.

 
  ข้อความที่ 98  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 547

พึงทราบความที่ปาราชิก ๔ กับสังฆาทิเสส ๑๓ มีวัตถุต่างกัน และ มีอาบัติต่างกัน.

พึงทราบความที่สังฆาทิเสสเป็นต้น กับอนิยตเป็นต้น มีวัตถุต่างกัน และมีอาบัติต่างกันอย่างนั้น.

ความที่วัตถุเป็นของต่างกัน (และ) ความที่อาบัติเป็นของต่างกัน ไม่มี แก่ภิกษุและภิกษุณีผู้ต้องปาราชิก ๔ ข้างต้น พ้องกัน.

ในภิกษุและภิกษุณีผู้ต้องอาบัติต่างกันก็ตาม ในภิกษุและภิกษุณีผู้ต้อง อาบัติที่ทั่วไป (แก่กันและกัน) ที่เหลือก็ตาม มีนัยเหมือนกัน.

[วินิจฉัยในวัตถุสภาคาทิจตุกกะ]

วินิจฉัยในวัตถุสภาคาทิจตุกกะ พึงทราบดังนี้:-

เพราะภิกษุกับภิกษุณีเคล้าคลึงกันด้วยกาย มีความที่วัตถุเป็นสภาคกัน ไม่มีความที่อาบัติเป็นสภาคกัน.

ในปาราชิก ๔ มีความที่อาบัติเป็นสภาคกัน ไม่มีความที่วัตถุเป็น สภาคกัน. ในสังฆาทิเสสเป็นอาทิ มีนัยเหมือนกัน.

ในปาราชิก ๔ ของภิกษุและภิกษุณี มีความที่วัตถุเป็นสภาคกันด้วย มีความที่อาบัติเป็นสภาคกันด้วย. ในอาบัติที่ทั่วไปทั้งปวงก็นัยนี้.

ในอาบัติที่ไม่ทั่วไป ความที่วัตถุเป็นสภาคกันก็ไม่มี และความที่อาบัติ เป็นสภาคกันก็ไม่มี.

ก็ปัญหาที่ ๑ ในจตุกกะต้น เป็นปัญหาที่ ๒ ในจตุกกะนี้, และปัญหา ที่ ๒ ในจตุกกะต้นนั้น เป็นปัญหาที่ ๑ ในจตุกกะนี้. ไม่มีความทำต่างกันใน ปัญหาที่ ๓ และที่ ๔.

 
  ข้อความที่ 99  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 548

[วินิจฉัยในอุปัชฌายจตุกกะ]

วินิจฉัยในอุปัชฌายจตุกกะ พึงทราบดังนี้:-

ก็เพราะไม่ทำวัตรที่อุปัชฌาย์พึงทำแก่สัทธิวิหาริก อุปัชฌาย์ต้องอาบัติ, สัทธิวิหาริกไม่ต้อง.

เมื่อไม่ทำวัตรอันสัทธิวิหาริกพึงทำแก่อุปัชฌาย์ สัทธิวิหาริกย่อมต้อง อาบัติ, อุปัชฌาย์ไม่ต้อง.

สัทธิวิหาริกและอุปัชฌาย์ทั้ง ๒ ฝ่าย ย่อมต้องอาบัติที่เหลือ. ทั้ง ๒ ฝ่าย ไม่ต้องอาบัติที่ไม่ทั่วไป. แม้ในอาจริยจตุกกะ ก็นัยนี้แล.

[วินิจฉัยในอาทิยันตจตุกกะเป็นอาทิ]

วินิจฉัยในอาทิยันตจตุกกะ พึงทราบดังนี้:-

ภิกษุถือเอาทรัพย์ที่เข้าของไม่ได้ให้บาท ๑ หรือเกินกว่าบาทด้วยมือ ของตน ต้องอาบัติหนัก. ใช้ผู้อื่นด้วยสั่งบังคับว่า ท่านจงถือเอาทรัพย์หย่อน กว่าบาท ต้องอาบัติเบา. ๓ บทที่เหลือ พึงทราบโดยนัยนี้.

วินิจฉัยในอภิวาทนารหจตุกกะ พึงทราบดังนี้:-

สำหรับภิกษุณีทั้งหลายก่อน ในโรงฉัน แม้อุปัชฌาย์อยู่ถัดจากภิกษุณี องค์ที่ ๙ ไป ก็เป็นผู้ควรอภิวาท แต่ไม่ควรลุกรับ. และสำหรับภิกษุผู้กำลัง ฉันค้าง ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งที่เป็นผู้ใหญ่กว่า ย่อมเป็นผู้ควรอภิวาท แต่ไม่ควร ลุกรับโดยไม่แปลกกัน.

ภิกษุแม้อุปสมบทในวันนั้น ไปถึงสำนักแล้ว เป็นผู้ควรลุกรับ แต่ ไม่ควรอภิวาท ของภิกษุผู้อยู่ปริวาส แม้มีพรรษา ๖๐.

 
  ข้อความที่ 100  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 549

ในสถานที่ไม่ทรงห้าม ภิกษุที่เป็นผู้ใหญ่ เป็นผู้ควรอภิวาทและควร ลุกรับของภิกษุใหม่. ฝ่ายภิกษุใหม่ เป็นผู้ไม่ควรอภิวาท ไม่ควรลุกรับ ของ ภิกษุผู้ใหญ่.

บทที่ ๑ แห่งอาสนารหจตุกกะ กับบทที่ ๒ ในจตุกกะก่อน และบท ที่ ๒ แห่งอาสนารหจตุกกะ กับบทที่ ๑ ในจตุกกะก่อน เหมือนกันโดยใจความ.

[วินิจฉัยในกาลจตุกกะเป็นอาทิ]

วินิจฉัยในกาลจตุกกะ พึงทราบดังนี้:-

ภิกษุเมื่อห้าม (โภชนะ) แล้วฉัน ชื่อว่าต้องในกาล ไม่ต้องในวิกาล.

เมื่อต้องอาบัติเพราะวิกาลโภชน์ ชื่อว่าต้องในวิกาล ไม่ต้องในกาล. เมื่อต้องอาบัติที่เหลือ ชื่อว่าต้องทั้งในกาลและในวิกาล. เมื่อไม่ต้อง อาบัติที่ไม่ทั่วไป (แก่ตน) ชื่อว่าไม่ต้องทั้งในกาลทั้งในวิกาล.

วินิจฉัยในปฏิคคหิตจตุกกะ พึงทราบดังนี้:-

อามิสที่รับประเคนก่อนภัตกาล ควรในกาล ไม่ควรในวิกาล.

น้ำปานะ ควรในวิกาล ไม่ควรในกาลในวันรุ่งขึ้น.

สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก ควรทั้งในกาลและในวิกาล.

กาลิก ๓ มียาวกาลิกเป็นต้น ที่ล่วงกาลของตนๆ และอกัปปิยมังสะ เป็นอุคคหิตก์และอาหารที่รับประเคน (ค้าง) ไว้ ไม่ควรทั้งในกาลและในวิกาล.

วินิจฉัยในปัจจันติมจตุกกะ พึงทราบดังนี้:-

เมื่อผูกสีมาในทะเล ชื่อว่าต้องในปัจจันติมชนบท ไม่ต้องในมัชฌิม ชนบท.

 
  ข้อความที่ 101  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 550

เมื่อให้อุปสมบทด้วยคณะปัญจวรรค และเมื่อทรงไว้ซึ่งรองเท้า ๔ ชั้น อาบน้ำเป็นนิตย์และเครื่องปูลาดหนัง ชื่อว่าต้องในมัชฌิมชนบท ไม่ต้องใน ปัจจันติมชนบท.

แม้ภิกษุผู้กล่าวอยู่ว่า ๔ วัตถุนี้ ไม่ควรในปัจจันติมชนบทนี้ ชื่อว่า ต้องในปัจจันติมชนบท.

ฝ่ายภิกษุผู้กล่าวอยู่ว่า ๔ วัตถุนี้ ควรในมัชฌิมชนบทนี้ ชื่อว่าต้อง ในมัชฌิมชนบท.

ภิกษุย่อมต้องอาบัติที่เหลือ ในมัชฌิมชนบทและในปัจจันติมชนบท แม้ทั้ง ๒. ไม่ต้องอาบัติที่ไม่ทั่วไป (แก่ตน) ในที่ไหนๆ.

วินิจฉัยในจตุกกะที่ ๒ พึงทราบดังนี้:-

วัตถุทั้ง ๔ ประการ มีอุปสมบทด้วยคณะปัญจวรรคเป็นต้น ควรใน ปัจจันติมชนบท.

แม้การที่ภิกษุแสดงว่า นี้ควร ก็ควรในปัจจันติมชนบทนั้นเหมือนกัน แต่ไม่ควรในมัชฌิมชนบท.

ส่วนการที่ภิกษุแสดงว่า นี้ไม่ควร ควรในมัชฌิมชนบท ไม่ควรใน ปัจจันติมชนบท. วัตถุที่เหลืออันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตว่า ภิกษุ ทั้งหลาย เราอนุญาตเกลือ ๕ ชนิด เป็นต้น, วัตถุนั้นควรในชนบททั้ง ๒. ส่วนวัตถุใด ทรงห้ามว่า ไม่ควร, วัตถุนั้น ไม่ควรในชนบทแม้ทั้ง ๒.

[วินิจฉัยในอันโตอาทิจตุกกะ]

วินิจฉัยในอันใดอาทิจตุกกะ พึงทราบดังนี้:-

ภิกษุย่อมต้องอาบัติเพราะนอนเบียดเป็นต้น ในภายใน ไม่ต้องใน ภายนอก.

 
  ข้อความที่ 102  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 551

เมื่อวางเสนาสนะมีเตียงของสงฆ์เป็นต้น ไว้กลางแจ้งแล้วหลีกไปเสีย ชื่อว่าต้องในภายนอก ไม่ท้องในภายใน. ที่เหลือชื่อว่าต้องทั้งภายในและ ภายนอก. อาบัติที่ไม่ทั่วไป (แก่ตน) ชื่อว่าไม่ต้องทั้งภายในทั้งภายนอก.

วินิจฉัยในอันโตสีมาทิจตุกกะ พึงทราบดังนี้:-

ภิกษุอาคันตุกะ เมื่อไม่ยังวัตรให้เต็ม ชื่อว่าต้องในภายในสีมา.

ภิกษุผู้เตรียมจะไป เมื่อไม่ยังวัตรให้เต็ม ชื่อว่าต้องในภายนอกสีมา.

ภิกษุย่อมต้องอาบัติเพราะมุสาวาทเป็นต้น ทั้งภายในสีมาและภายนอก สีมา. ย่อมไม่ต้องอาบัติที่ไม่ทั่วไป (แก่ตน) ในที่ไหนๆ.

วินิจฉัยในคามจตุกกะ พึงทราบดังนี้:-

ภิกษุย่อมต้องอาบัติที่ทรงตั้งไว้ควรศึกษา อันเนื่องเฉพาะด้วยละแวก บ้าน ในบ้าน, ไม่ต้องในป่า.

ภิกษุณีเมื่อให้อรุณขึ้น ย่อมต้องในป่า, ไม่ต้องในบ้าน.

ภิกษุย่อมต้องอาบัติเพราะมุสาวาทเป็นต้น ทั้งในบ้านและในป่า ย่อม ไม่ต้องอาบัติที่ไม่ทั่วไป (แก่ตน) ในที่ไหนๆ.

[วินิจฉัยในปุพพกิจจาทิจตุกกะ]

สองบทว่า จตฺตาโร ปุพฺพกิจฺจา ความว่า พระอรรถกถาจารย์ กล่าวว่า กรรม ๔ อย่างนี้คือ การปัดกวาด ตามประทีป ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ พร้อมทั้งปูลาดอาสนะ เรียกว่า ปุพพกรณ์. ส่วนกิจ ๔ อย่างนี้ คือ นำฉันทะ ปาริสุทธิ บอกฤดู นับภิกษุและสอนภิกษุณี พึงทราบว่า ปุพพกิจ.

สองบทว่า จตฺตาโร ปตฺตกลฺลา มีความว่า วันอุโบสถ ๑ ภิกษุ ผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าไร เธอเป็นผู้มาแล้ว ๑ สภาคาบัติไม่มี ๑ บุคคลควร เว้นไม่มีในหัตถบาสสงฆ์นั้น ๑ รวมเรียกว่าปัตตกัลละ ฉะนี้แล.

 
  ข้อความที่ 103  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 552

สองบทว่า จตฺตาริ อนญฺปาจิตฺติยานิ มีความว่า ปาจิตตีย์ ๔ สิกขาบทนี้คือ สิกขาบทว่าด้วยสำเร็จการนอนเบียด, สิกขาบทที่ว่า เอหาวุโส คามํ วา นิคมํ วา เป็นอาทิ, สิกขาบทว่าด้วยแกล้งก่อความรำคาญ, สิกขาบทว่าด้วยแอบฟัง ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนี้ว่า ทำความหมาย อย่างนี้เท่านั้นให้เป็นปัจจัยหาใช่อย่างอื่นไม่ เป็นปาจิตตีย์.

สองบทว่า จตสฺโส ภิกฺขุสมฺมติโย มีความว่า สมมติในที่อื่น พ้นจากสมมติ ๑๓ ที่มาแล้วอย่างนี้ว่า ถ้าภิกษุอยู่ปราศจากไตรจีวรแม้สิ้นราตรี ๑ เว้น เสียแต่ภิกษุได้สมมติ, ถ้าภิกษุ ... พึงไห้ทำสันถัตอื่นใหม่ เว้นแต่ภิกษุ ได้สมมติ, ถ้าเธออยู่ปราศจากยิ่งกว่านั้น เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ, พึงบอก อาบัติชั่วหยาบของภิกษุแก่อนุปสัมบัน เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ.

[วินิจฉัยในคิลานจตุกกะ]

วินิจฉัยในคิลานจตุกกะ พึงทราบดังนี้:-

เมื่อออกปากขอเภสัชอื่น ด้วยความเป็นผู้ละโมบ ในเมื่อมีกิจที่จะ ต้องทำด้วยเภสัชอื่น ภิกษุผู้อาพาธต้อง (อาบัติ).

เมื่อออกปากขอเภสัช ในเมื่อมีกิจที่จะต้องทำด้วยของมิใช่เภสัช ภิกษุ ไม่อาพาธต้อง.

ภิกษุผู้อาพาธและไม่อาพาธทั้ง ๒ ย่อมต้องอาบัติเพราะมุสาวาท เป็นต้น. ทั้ง ๒ ไม่ต้องอาบัติที่ไม่ทั่วไป (แก่ตน).

บทที่เหลือในที่ทั้งปวงตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.

พรรณนาหมวด ๔ จบ

 
  ข้อความที่ 104  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 553

[พรรณนาหมวด ๕]

วินิจฉัยในหมวด ๕ พึงทราบดังนี้:-

ข้อว่า ปญฺจ ปุคฺคลา นิยตา นี้ บ่งถึงบุคคลผู้ทำอนันตริยกรรม นั่นเอง.

ขึ้นชื่อว่าอาบัติ มีการตัดเป็นวินัยกรรม ๕ พึงทราบในเพราะเตียงตั่ง และผ้าปูนั่ง ผ้าปิดฝี ผ้าอาบน้ำฝนและสุคตจีวร ซึ่งเกินประมาณ.

บทว่า ปญฺจหากาเรหิ มีความว่า ภิกษุย่อมต้องอาบัติ ด้วยอาการ ๕ เหล่านี้ คือ ความเป็นผู้ไม่ละอาย ความไม่รู้ ความเป็นผู้สงสัยแล้วขืนทำ ความเป็นผู้มีความสำคัญว่าควรในของที่ ไม่ควร ความเป็นผู้มีความสำคัญว่าไม่ ควรในของที่ควร.

ข้อว่า ปญฺจาปตฺติโย มุสาวาทฺปจฺจยา ได้แก่ ปาราชิก ถุลลัจจัย ทุกกฏ สังฆาทิเสส และปาจิตตีย์.

บทว่า อนามนฺตจาโร ได้แก่ ความไม่มีแห่งการต้องบอกลาจึง เทียวไปนี้ว่า ภิกษุไม่บอกลาภิกษุซึ่งมีอยู่ ถึงความเป็นผู้เที่ยวไปในสกุลทั้งหลาย ก่อนฉันก็ดี ทีหลังฉันก็ดี.

บทว่า อนธิฏฺานํ มีความว่า การฉันต้องคำนึงถึงสมัยที่พระผู้มี พระภาคเจ้าตรัสว่า เว้นไว้แต่สมัย เป็นปาจิตตีย์ เพราะฉันเป็นหมู่ ชื่อว่า ความคำนึง. การที่ไม่ต้องทำอย่างนั้น ชื่อว่าความไม่ต้องคำนึง.

ความหมายอันใด ในโภชนะทีหลัง อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว, การที่ไม่ต้องทำความหมายอันนั้น ชื่อว่าความไม่ต้องหมาย.

จริงอยู่ ๕ วัตถุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามแล้วด้วยธุดงค์ของภิกษุ ผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรนั่นเอง.

 
  ข้อความที่ 105  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 554

บทว่า อุสฺสงกิตปริสงฺกิโต มีความว่า เป็นผู้อันภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้เห็นได้ฟัง ระแวงแล้วและรังเกียจแล้ว.

อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุแม้เป็นพระขีณาสพ ผู้มีอันไม่กำเริบเป็นธรรมดา ก็เป็นผู้ถูกระแวงถูกรังเกียจ. เพราะเหตุนั้น อโคจรทั้งหลาย อันภิกษุพึงเว้น จริงอยู่ ภิกษุผู้ปรากฏเสมอในอโคจรเหล่านั้น ย่อมไม่พ้นจากความเสื่อมยศ หรือจากความติเตียน.

[ว่าด้วยผ้าบังสุกุลเป็นอาทิ]

บทว่า โสสานิกํ ได้แก่ ผ้าที่ตกที่ป่าช้า.

บทว่า อาปณกํ ได้แก่ ผ้าที่ตกที่ประตูตลาด.

บทว่า ถูปจีวรํ ได้แก่ ผ้าที่เขาห่มจอมปลวกทำพลีกรรม.

บทว่า อภิเสกิกํ ได้แก่ จีวรที่เขาทิ้งที่สถานที่อาบน้ำ หรือที่สถาน ที่อภิเษกของพระราชา.

บทว่า คตปฏิยาคตํ ได้แก่ ผ้าที่เขานำไปสู่ป่าช้าแล้วนำกลับมาอีก. มหาโจร ๕ จำพวก ได้กล่าวแล้วในอุตริมนุสธัมมสิกขาบท *.

ข้อว่า ปญฺจาปตฺติโย กายโต สมุฏหนฺติ มีความว่า ภิกษุต้อง อาบัติ ๕ ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติที่ ๑ ได้แก่ อาบัติที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส ไว้ในอันตรเปยยาลอย่างนี้ว่า ภิกษุมีความสำคัญว่าควรทำกุฎีด้วยการขอเขาเอง.

ข้อว่า ปญฺจาปตฺติโย กายโต จ วาจโต จ มีความว่า ภิกษุ ย่อมต้องอาบัติ ๕ ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติที่ ๓ คือ ย่อมต้องอาบัติที่พระผู้มี


(๑) มหาวิภังค์ ๑/๑๖๙.

 
  ข้อความที่ 106  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 555

พระภาคเจ้าตรัสไว้ ในอันตรเปยยาลนั้นแลอย่างนี้ว่า ภิกษุมีความสำคัญว่าควร ชักชวนกันทำกุฎี ดังนี้.

บทว่า เทสนาคามินิโย มีความว่า เว้นปาราชิกและสังฆาทิเสสเสีย ได้แก่อาบัติที่เหลือ.

สองบทว่า ปญฺจ กมฺมานิ ได้แก่ กรรม ๕ คือ ตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม และปฏิสารณียกรรมรวม ๔ และอุกเขปนียกรรม ทั้ง ๓ อย่าง ๑.

สองบทว่า ยาวตติยเก ปญฺจ ได้แก่ อาบัติ ๓ คือ ปาราชิก ถุลลัจจัย ทุกกฏ ของภิกษุณีผู้ประพฤติตามภิกษุผู้อันสงฆ์ยกวัตร ผู้ไม่ยอมสละ เพราะสมนุภาสน์ เพียงครั้งที่ ๓. สังฆาทิเสส เพราะสมนุภาสน์ในเภทกานุ- วัตตกสิกขาบทเป็นต้น. ปาจิตตีย์ เพราะไม่ยอมสละทิฏฐิลามก.

บทว่า อทินฺนํ ได้แก่ ของที่ผู้อื่นไม่ประเคน.

บทว่า อวิทิตํ ได้แก่ ชื่อว่าไม่ทราบ เพราะไม่มีเจตนาว่า เรารับ ประเคน.

บทว่า อกปฺปิยํ ได้แก่ ของที่ไม่ได้ทำให้ควร ด้วยสมณกัปปะ ๕. ก็หรือว่าเนื้อที่ไม่ควร โภชนะที่ไม่ควร แม้อื่น ก็ชื่อว่า ของไม่ควร.

บทว่า อกตาติริตฺตํ ได้แก่ ของภิกษุห้ามโภชนะแล้ว ไม่ได้ทำ ให้เป็นเดน.

บทว่า สมชฺชทานํ ได้แก่ การให้มหรสพคือฟ้อนเป็นต้น

บทว่า อุสภทานํ ได้แก่ การปล่อยโคผู้ในภายในแห่งฝูงโค.

 
  ข้อความที่ 107  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 556

บทว่า จิตตกมฺมทานํ มีความว่า การที่ให้สร้างอาวาสแล้วทำ จิตรกรรมในอาวาสนั้น สมควร. แต่คำว่า จิตฺตกมฺมทานํ นี้ท่านกล่าวหมาย เอาการให้จิตรกรรมที่เป็นลายรูปภาพ.

จริงอยู่ ทาน ๕ อย่างนี้ โลกสมมติกันว่าเป็นบุญก็จริง แต่ที่แท้ หา เป็นบุญไม่ คือเป็นอกุศลนั่นเอง.

ความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะพูด เรียกว่า ปฏิภาณ ในคำว่า อุปฺปนฺนํ ปฏิภาณํ นี้. ความว่า ธรรม ๕ อย่างนี้ อันบุคคลบรรเทาได้ยาก เพราะ ฉะนั้น จึงชื่อว่า บรรเทาได้ไม่ง่าย. แต่บุคคลอาจ บรรเทาได้ด้วยเหตุที่เป็น อุบาย คือด้วยการพิจารณาและพร่ำสอนเป็นต้น ที่เหมาะกัน.

[อานิสงส์แห่งการกวาด]

ใน ๒ บทว่า สกจิตฺตํ ปสีทติ นี้ มีเรื่องเหล่านี้เป็นอุทาหรณ์.

ได้ยินว่า พระปุสสเทวเถระ ผู้อยู่ที่กาฬันทกาฬวิหาร กวาดลานเจดีย์ ทำอุตรางสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง แลดูลานเจดีย์ซึ่งเกลี่ยทรายไว้เรียบร้อย ราว กะลาดด้วยดอกย่างทราย ให้เกิดปีติและปราโมทย์มีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ ได้ยืนอยู่แล้ว. ในขณะนั้น มารได้จำแลงเป็นลิงดำเกิดแล้วที่เชิงเขา เรี่ย รายโคมัยไว้เกลื่อน ที่ลานเจดีย์ ไปแล้ว. พระเถระไม่ได้อาจเพื่อบรรลุ พระอรหัต, กวาดแล้ว ได้ไปเสีย. แม้ในวันที่ ๒ มาร ได้จำแลงเป็นโค แก่ กระทำประการแปลกเช่นนั้นนั่นแล. ในวันที่ ๓ ได้นิรมิตอัตภาพเป็น มนุษย์ มีเท้าแก เดินเอาเท้าคุ้ยรอบไป. พระเถระคิดว่า บุรุษแปลกเช่นนี้ ไม่มีในโคจรตามประมาณโยชน์หนึ่งโดยรอบ นี่คงเป็นมารแน่ละ จึงกล่าว ว่า เจ้าเป็นมารหรือ? มารตอบว่า ถูกละผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นมาร บัดนี้ ไม่ได้อาจเพื่อจะลวงท่านละ. พระเถระถามว่า ท่านเคยเห็นพระตถาคต

 
  ข้อความที่ 108  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 557

หรือ? มารตอบว่า แน่ละเคยเห็น. พระเถระกล่าวว่า ธรรมดามาร ย่อม เป็นผู้มีอานุภาพใหญ่ เชิญท่านนิรมิตอัตภาพให้คล้ายอัตภาพของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าก่อน. มารกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่สามารถนิรมิตรูปเช่นนั้น ผู้เจริญ แต่เอาเถอะ ข้าพเจ้าจักนิมิตรูปเทียมที่จะพึงเห็นคล้ายรูปนั้น ดังนี้ แล้วได้ จำแลงเพศของตนตั้งอยู่ด้วยอัตภาพคล้ายพระรูปของพระพุทธเจ้า. พระเถระแล ดูมารแล้วคิดว่า มารนี้ มีราคะ โทสะ โมหะ ยังงามถึงเพียงนี้ พระผู้มี พระภาคเจ้าจะทรงงามอย่างไรหนอ? เพราะว่า พระองค์ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ โดยประการทั้งปวง ดั่งนี้แล้ว ได้ปีติมีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ เจริญ วิปัสสนาบรรลุพระอรหัตแล้ว. มารกล่าวว่า ผู้เจริญ ข้าพเจ้าถูกท่านลวงแล้ว. ฝ่ายพระเถระกล่าวว่า มารแก่ จะมีประโยชน์อะไร ที่เราจะลวงคนเช่นท่าน.

ภิกษุหนุ่มชื่อทัตตะ แม้ในโลกันตรวิหาร กวาดลานเจดีย์แล้วแลดู ได้โอทาตกสิณ, ยังสมาบัติ ๘ ให้เกิดแล้ว, ภายหลังเจริญวิปัสสนา กระทำ ให้แจ้งซึ่งผล ๓.

ใน ๒ บทว่า ปรจิตฺตํ ปสีทติ นี้ มีเรื่องเหล่านี้ เป็นอุทาหรณ์

ภิกษุหนุ่มชื่อติสสะ กวาดลานเจดีย์ใกล้ท่าชัมพุโกละแล้ว ได้เอามือ ถือตะกร้าเทหยากเยื่อเที่ยวยืนอยู่. ในขณะนั้น พระเถระชื่อติสสทัตตะลงจากเรือ แลดูลานเจดีย์ ทราบว่า เป็นสถานที่เธอผู้มีจิตอบรมแล้วกวาดไว้ จึงถาม ปัญหาตั้งพันนัย. ฝ่ายพระติสสะแก้ได้ทั้งหมด.

พระเถระในวิหารแม้บางตำบล กวาดลานเจดีย์แล้ว ทำวัตรเสร็จ พระเถระ ๔ รูปผู้ไหว้เจดีย์มาจากโยนกประเทศ เห็นลานเจดีย์แล้ว ไม่เข้า ข้างใน ยืนอยู่ที่ประตูนั่นเอง พระเถระรูปหนึ่ง ตามระลึกได้ ๘ กัป รูปหนึ่ง

 
  ข้อความที่ 109  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 558

ตามระลึกได้ ๑๖ กัป รูปหนึ่งตามระลึกได้ ๒๐ กัป รูปหนึ่งตามระลึกได้ ๓๐ กัป.

ในคำว่า เทวตา อตฺตมนา โหนฺติ นี้ มีเรื่องนี้เป็นอุทาหรณ์.

ได้ยินว่า ภิกษุรูปหนึ่ง ในวิหารตำบล ๑ กวาดลานเจดีย์และลาน โพธิ์แล้ว ไปอาบน้ำ. เทพดาทั้งหลายมีจิตเลื่อมใสว่า ตั้งแต่กาลที่สร้างวิหาร นี้มา ไม่มีภิกษุที่เคยบำเพ็ญวัตรกวาดอย่างนี้ จึงพากันมา ได้ยืนถือดอกไม้ อยู่ในมือ. พระเถระมาแล้วกล่าวว่า พวกท่านเป็นชาวบ้านไหน? เทพดาจึง กล่าวว่า ท่านผู้เจริญ พวกข้าพเจ้าอยู่ที่นี่เอง เลื่อมใสในวัตรของท่านว่า ตั้งแต่ กาลที่สร้างวิหารนี้มา ไม่มีภิกษุที่เคยบำเพ็ญวัตรกวาดอย่างนี้ จึงยืนถือดอกไม้ อยู่ในมือ.

ในบทว่า ปสาทิกสํวตฺตนิยํ นี้ มีเรื่องนี้เป็นอุทาหรณ์.

ได้ยินว่า ถ้อยคำนี้ ปรารภบุตรอมาตย์คนหนึ่ง และพระอภัยเถระ เกิดขึ้นว่า บุตรอมาตย์จะเป็นผู้น่าเลื่อมใส หรือว่าพระอภัยเถระจะเป็นผู้น่า เลื่อมใสหนอ? ญาติทั้งหลายพูดกันว่า เราทั้งหลายจักแลดูชนทั้ง ๒ นั้นในที่ เดียวกัน จึงแต่งตัวบุตรอมาตย์แล้วได้พากันไปด้วยความคิดว่า จักให้ไหว้ พระมหาเจดีย์. ฝ่ายมารดาของพระเถระ ให้ทำจีวรมีราคาบาทหนึ่ง * ส่งไปให้ บุตรด้วยสั่งว่า บุตรของเราจงให้ปลงผมแล้วห่มจีวรนี้ มีภิกษุสงฆ์แวดล้อม จงไหว้พระมหาเจดีย์. บุตรอมาตย์มีญาติห้อมล้อมขึ้นสู่ลานเจดีย์ ทางประตู ด้านปราจีน. พระอภัยเถระมีภิกษุสงฆ์แวดล้อม ขึ้นสู่ลานเจดีย์ ทางประตูด้าน ทักษิณ มาพบกับบุตรอมาตย์นั้นที่ลานเจดีย์ จึงกล่าวว่า ผู้มีอายุ ท่านเท


(๑) บาลีบางฉบับเป็นปาสาทิกํ แปลว่า น่าเลื่อมใสก็มี.

 
  ข้อความที่ 110  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 559

หยากเยื่อ ในที่ซึ่งพระมหัลลกเถระได้กวาดไว้จะจับคู่แข่งกับเราหรือ? ได้ยิน ว่า ในอัตภาพที่ล่วงไปแล้วพระอภัยเถระ เป็นพระมหัลลกเถระ ได้กวาดลาน เจดีย์ที่กาชรคาม. บุตรอมาตย์เป็นมหาอุบาสก ถือหยากเยื่อไปเทในที่ซึ่งท่าน กวาดไว้.

หลายบทว่า สตฺถุ สาสนํ กตํ โหติ มีความว่า ชื่อว่า วัตรคือ การกวาดนี้ อันพระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงสรรเสริญ.

เพราะเหตุนั้น ภิกษุผู้ทำวัตรคือการกวาดนั้น จึงเป็นอันได้ทำตามคำ สอนของพระศาสดา. เรื่องต่อไปนี้ เป็นอุทาหรณ์ในข้อนั้น.

ได้ยินว่า พระสารีบุตร ไปสู่หิมวันตประเทศ ไม่กวาดูก่อนนั่งเข้า นิโรธที่เงื้อมตำบลหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงระลึกถึง ก็ทรงทราบความที่ พระเถระไม่กวาดก่อนนั่ง จึงเสด็จมาทางอากาศทรงแสดงรอยพระบาทไว้ในที่ ซึ่งมิได้กวาดข้างหน้าพระเถระแล้วเสด็จกลับ. พระเถระออกจากสมาบัติแล้ว เห็นรอยพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ประจงตั้งไว้ซึ่งความละอายและ และความเกรงกลัวอย่างแรงกล้า คุกเข่าลงคิดว่า พระศาสดาได้ทรงทราบความ ที่เราไม่กวาดก่อนนั่งแล้วหนอ บัดนี้เราจักขอให้พระองค์ทรงทำการทักท้วงใน ท่ามกลางสงฆ์ ไปสู่สำนักของพระทศพล ถวายบังคมแล้วนั่ง. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เธอไปไหน? สารีบุตร แล้วตรัสว่า บัดนี้ การที่ไม่กวาด ก่อนนั่ง ไม่สมควรแก่เธอ ผู้ตั้งอยู่ในตำแหน่งเป็นรองถัดเราไป. จำเดิมแต่ นั้นมา พระเถรเมื่อยืน แม้ในสถานที่ปลดลูกดุม ได้เอาเท้าเขี่ยหยากเยื่อแล้ว จึงยืน.

 
  ข้อความที่ 111  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 560

[ว่าด้วยองค์ของพระวินัยธร]

หลายบทว่า อตตโน ภาสปริยนฺตํ น อุคฺคณฺหาติ มีความว่า ไม่กำหนดที่สุดแห่งถ้อยคำของตน อย่างนี้ว่า ในคดีนี้ ได้สูตรเท่านี้ ได้ วินิจฉัยเท่านี้ เราจักกล่าวสูตรและวินิฉัยเท่านี้.

แต่เมื่อไม่กำหนดอย่างนี้ว่า นี้เป็นคำต้น นี้เป็นคำหลังของโจทก์ นี้ เป็นคำต้น นี้เป็นคำหลังของจำเลย ในคำของโจทก์และจำเลยนี้ คำที่ควรเชื่อ ถือเท่านี้ คำที่ไม่ควรเชื่อถือเท่านี้ ชื่อว่า ไม่กำหนดที่สุดแห่งถ้อยคำของผู้อื่น.

สองบทว่า อาปตฺตึ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักความทำต่างกัน แห่งอาบัติ ๗ กองว่า ปาราชิกหรือสังฆาทิเสส เป็นต้น.

บทว่า มูลํ มีความว่า มูลของอาบัติมี ๒ คือ กายและวาจา ไม่รู้ จักมูล ๒ นั้น.

บทว่า สมุทยํ มีความว่า สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ ชื่อว่าเหตุเกิดของ อาบัติ ไม่รู้จักเหตุของอาบัติ ๖ นั้น. มีคำอธิบายว่า ไม่รู้จักวัตถุ ของอาบัติ มีปาราชิกเป็นต้น บ้าง.

บทว่า นโรธํ มีความว่า ไม่รู้จักเหตุดับของอาบัติอย่างนี้ว่า อาบัติ นี้ย่อมดับ คือ ย่อมระงับด้วยการแสดง อาบัตินี้ ด้วยการอยู่กรรม. อนึ่ง เมื่อไม่รู้จักสมถะ ๗ ชื่อว่าไม่รู้จักข้อปฏิบัติเป็นทางให้ถึงความ ดับแห่งอาบัติ.

วินิจฉัยในหมวด ๕ แห่งอธิกรณ์ พึงทราบดังนี้:-

ความว่า ไม่รู้วิภาคนี้ คือ อธิกรณ์ ๔ ชื่อว่า อธิกรณ์. มูล ๓๓ ชื่อว่า มูลแห่งอธิกรณ์. วิวาทาธิกรณ์ มีมูล ๑๒. อนุวาทาธิกรณ์ มีมูล ๑๔. อาปัตตาธิกรณ์ มีมูล ๖. กิจจาธิกรณ์ มีมูล ๑. มูลเหล่านั้นจักมีแจ้งข้างหน้า.

 
  ข้อความที่ 112  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 561

สมุฏฐานแห่งอธิกรณ์ ชื่อว่าเหตุเกิดแห่งอธิกรณ์. วิวาทาธิกรณ์ อาศัยเภทกรวัตถุ ๑๘ เกิดขึ้น อนุวาทาธิกรณ์ อาศัยวิบัติ ๔ เกิดขึ้น อาปัตตาธิกรณ์ อาศัยกองอาบัติ ๗ เกิดขึ้น กิจจาธิกรณ์ อาศัยสังฆกิจ ๔ อย่าง เกิดขึ้น.

สองบทว่า อธิกรณนิโรธํ น ชานาติ มีความว่า ไม่อาจเพื่อจะ หยั่งถึงเค้าเงื่อนจากเค้าเงื่อน ให้วินิจฉัยถึงความระงับโดยธรรม โดยวินัย โดย สัตถุศาสนา.

อนึ่ง เมื่อไม่รู้จักสมถะ ๗ อย่างนี้ว่า อธิกรณ์นี้ ระงับด้วยสมถะ ๒ อธิกรณ์นี้ ระงับด้วยสมถะ ๔ อธิกรณ์นี้ ระงับด้วยสมถะ ๓ อธิกรณ์นี้ ระงับด้วยสมถะ ๑ ชื่อว่าไม่รู้จักข้อปฏิบัติเป็นทางให้ถึงความดับแห่งอธิกรณ์.

สองบทว่า วตฺถุํ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักวัตถุแห่งอาบัติ ๗ กองอย่างนี้ว่า นี้เป็นวัตถุแห่งปาราชิก นี้เป็นวัตถุแห่งสังฆาทิเสส.

บทว่า นิทานํ ได้แก่ ไม่รู้ว่า สิกขาบทนี้ ทรงบัญญัติแล้วในนคร นี้ บรรดานครทั้งหลาย ๗ สิกขาบทนี้ ทรงบัญญัติในนครนี้.

สองบทว่า ปญฺตฺตึ น ชานาติ ได้แก่ ผู้ไม่รู้จักบัญญัติแรกใน สิกขาบทนั้นๆ.

บทว่า อนุปญฺตฺตึ ได้แก่ ไม่รู้จักบัญญัติเพิ่มเติม.

บทว่า อนุสนฺธิวจนปถํ ได้แก่ ไม่รู้จักเพื่อจะกล่าวด้วยอำนาจความ สืบเนื่องกันแห่งถ้อยคำ และความสืบเนื่องกันแห่งวินิจฉัย.

สองบทว่า ตฺตึ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักญัตติทุกๆ อย่าง.

หลายบทว่า ตฺติยา กรณํ น ชานาติ มีความว่า ไม่รู้จักกิจ ที่จะพึงทำด้วยญัตติ. ชื่อว่าญัตติกรรม ย่อมใช้ใน ๙ สถาน มีโอสารณาเป็นต้น.

 
  ข้อความที่ 113  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 562

ไม่รู้ว่า เป็นผู้เข้ากรรมแล้วด้วยญัตติ ในญัตติทุติยกรรมและญัตติจตุตถกรรม.

หลายบทว่า น ปุพฺพกุสโล โหติ น อปรกุสโล มีความว่า ไม่รู้จักคำที่จะพึงสวดก่อน และคำที่จะพึงสวดทีหลังบ้าง ไม่รู้ว่า ธรรมดาญัตติ ต้องตั้งก่อน ไม่ควรตั้งทีหลัง บ้าง.

สองบทว่า อกาลกญฺญู จ โหติ มีความว่า ไม่รู้จักเวลา คือ ไม่ได้ รับเผดียง ไม่ได้รับเชิญ ก็สวด คือ ไม่รู้จักทั้งกาลญัตติ ทั้งเขตญัตติ ทั้ง โอกาสแห่งญัตติ.

[ว่าด้วยภิกษุผู้อยู่ป่า]

สองบทว่า มนฺทตฺตา โมมูหตฺตา ได้แก่ ไม่รู้จักอานิสงส์ในธุดงค์ เพราะเป็นคนงมงายด้วยไม่รู้ทั่วทุกๆ อย่าง.

บทว่า ปาปิจฺโฉ ได้แก่ ปรารถนาปัจจัยลาภ ด้วยการอยู่ป่านั้น.

บทว่า ปวิเวกํ ได้แก่ กายวิเวก จิตตวิเวก อุปธิวิเวก.

บทว่า อิทมฏฺิตํ มีวิเคราะห์ว่า ประโยชน์แห่งการอยู่ป่านั้น ย่อม มีด้วยปฏิบัติงามนี้ เพราะเหตุนั้น การอยู่ป่านั้น ชื่อว่า อิทมฏฺิ (มีประโยชน์ ด้วยการปฏิบัติงามนี้). ความเป็นแห่งการอยู่ป่ามีประโยชน์ด้วยการปฏิบัติงามนี้ ชื่อว่า อิทมฏฺิตา, อาศัยการอยู่ป่ามีประโยชน์ด้วยการปฏิบัติงามนี้นั่นแล, อธิบายว่า ไม่อิงโลกามิสน้อยหนึ่งอื่น.

[ว่าด้วยองค์ของภิกษุผู้ต้องถือนิสัย]

สองบทว่า อุโปสถํ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักอุโบสถ ๙ อย่าง.

บทว่า อุโปสถกมฺมํ ได้แก่ ไม่รู้จักอุโบสถกรรม ๔ อย่าง ต่าง โดยชนิดมีเป็นวรรคโดยอธรรมเป็นต้น.

 
  ข้อความที่ 114  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 563

บทว่า ปาฏิโมกฺขํ ได้แก่ ไม่รู้จักมาติกา ๒ อย่าง.

บทว่า ปาฏิโมกฺขุทฺเทสํ ได้แก่ ไม่รู้จักปาฏิโมกขุทเทส ๙ อย่าง แม้ทั้งหมด.

บทว่า ปวารณํ ได้แก่ ไม่รู้จักปวารณา ๙ อย่าง. ปวารณากรรม คล้ายกับอุโบสถกรรมนั่นแล.

[วินิจฉัยในอปาสาทิกปัญจกะ]

วินิจฉัยในอปาสาทิกปัญจกะ พึงทราบดังนี้:-

อกุศลกรรม มีกายทุจริตเป็นต้น เรียกว่ากรรมไม่น่าเลื่อมใส.

กุศลกรรม มีกายสุจริตเป็นต้น เรียกว่ากรรมน่าเลื่อมใส.

บทว่า อติเวลํ มีความว่า คลุกคลีอยู่ในสกุลทั้งหลายเกินเวลา คือ สิ้นกาลมากกว่า อยู่ในวิหารน้อย. การที่กิเลสทั้งหลายหยั่งลงในภายใน ชื่อว่า ช่อง.

บทว่า สงฺกิลิฏํ ได้แก่ อาบัติต่างโดยชนิดในเพราะทุฏฐุลลวาจา และอาบัติในเพราะกายสังสัคคะเป็นอาทิ.

วินิจฉัยในวิสุทธิปัญจกะ พึงทราบดังนี้:-

ปวารณาทั้ง ๙ อย่าง พึงทราบโดยปวารณาศัพท์.

บทที่เหลือในที่ทั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.

พรรณนาหมวด ๕ จบ

[พรรณนาหมวด ๖]

วินิจฉัยในหมวด ๖ พึงทราบดังนี้:-

สองบทว่า ฉ สามีจิโย ได้แก่ สามีจิกรรม ๖ เฉพาะในภิกขุ-

 
  ข้อความที่ 115  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 564

ปาฏิโมกข์เหล่านี้ คือ ภิกษุนั้นก็เป็นอันมิได้อัพภาน, และภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ก็เป็นอันพระพุทธเจ้าจะพึงทรงติเตียน นี้เป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั้น, ว่า ท่าน จงทวงเอาทรัพย์ของท่านคืน, ทรัพย์ของท่านอย่าได้ฉิบหายเสียเลย ดังนี้ นี้เป็น สามีจิกรรมในเรื่องนั้น, ว่า ภิกษุ นี้บาตรของท่าน พึงทรงไว้ กว่าจะแตก ดังนี้ นี้เป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั้น, นำออกจากที่นั้นแล้วพึงแบ่งปันกับภิกษุ ทั้งหลาย นี้เป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั้น, อันภิกษุผู้ศึกษาอยู่ ควรรู้ถึง, ควร สอบถาม, ควรตริตรอง, นี้เป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั้น, ด้วยหมายว่า ของผู้ใด ผู้นั้นจักได้เอาไป นี้เป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั้น.

สองบทว่า ฉ เฉทนกา ได้แก่ อาบัติ ๕ ที่กล่าวไว้ในหมวด ๕ กับผ้าสำหรับอาบน้ำของภิกษุณีรวมเป็น ๖.

บทว่า ฉหากาเรหิ ได้แก่ ความเป็นผู้ไม่ละอาย, ความไม่รู้, ความเป็นผู้สงสัยแล้วขืนทำ, ความเป็นผู้มีความสำคัญว่าควร ในของที่ไม่ควร, ความเป็นผู้มีความสำคัญว่าไม่ควร ในของที่ควร ความลืมสติ.

ในอาการ ๖ นั้น เมื่อต้องอาบัติ เพราะไตรจีวรและสัตตาหกาลิก ก้าวล่วง ๑ ราตรี ๖ ราตรี และ ๗ วันเป็นต้น ชื่อว่าต้องเพราะความลืมสติ. ที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั้น.

หลายบทว่า ฉ อานิสํสา วินยธเร ได้แก่ อานิสงส์ ๕ ที่กล่าว แล้วในหมวด ๕ รวมเป็น ๖ กับทั้งอานิสงส์นี้ คือ อุโบสถเป็นหน้าที่ของ พระวินัยธรนั้น.

สองบทว่า ฉ ปรมานิ มีความว่า พึงทรงอติเรกจีวรไว้ ๑๐ วัน เป็นอย่างยิ่ง, ภิกษุนั้นพึงเก็บจีวรนั้นไว้ ๑ เดือนเป็นอย่างยิ่ง, ภิกษุนั้น พึง ยินดีจีวรมีอุตราสงค์กับอันตรวาสกเป็นอย่างยิ่งจากจีวรเหล่านั้น, พึงเข้าไป

 
  ข้อความที่ 116  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 565

ยืนนิ่งต่อหน้า ๖ ครั้งเป็นอย่างยิ่ง อนึ่ง ภิกษุให้ทำสันถัตใหม่แล้ว พึงทรงไว้ ให้ได้ ๖ ปี เพราะฉะนั้น สันถัตใหม่อันภิกษุพึงทรงไว้โดยกาลมี ๖ ปีเป็น อย่างยิ่ง, (ขนเจียมเหล่านั้น) อันภิกษุ ... พึงถือไปด้วยมือของตนเอง ตลอด ระยะทาง ๓ โยชน์เป็นอย่างยิ่ง, พึงทรงอติเรกบาตรไว้ได้ ๑๐ วันเป็นอย่างยิ่ง, พึงเก็บ (เภสัชเหล่านั้น) ไว้ฉันได้ ๗ วันเป็นอย่างยิ่ง, ภิกษุนั้น พึงอยู่ ปราศจากจีวรนั้นได้ ๖ คืนเป็นอย่างยิ่ง, ภิกษุณี พึงจ่ายผ้าห่มหนาวมีราคา ๑๖ กหาปณะเป็นอย่างยิ่ง. ภิกษุณี พึงจ่ายผ้าห่มฤดูร้อน มีราคา ๑๐ กหาปณะ เป็นอย่างยิ่ง ภิกษุณี (เมื่อทำความสะอาดด้วยน้ำ) พึงล้วงได้ ๒ องคุลีเป็น อย่างยิ่ง, เขียงเท้าเตียง ให้มี ๘ นิ้วเป็นอย่างยิ่ง, ไม้ชำระฟัน ให้มี ๘ นิ้ว เป็นอย่างยิ่ง รวมเป็นอย่างยิ่ง ๑๔ นี้ ด้วยประการฉะนี้.

ในอย่างยิ่ง ๑๔ นั้น ๖ ข้อแรก เป็นหมวด ๖ อันหนึ่ง, ต่อไปนั้น พึงจัดหมวด ๖ เหล่าอื่นบ้าง โดยนัยมีอาทิ คือ ชักออกเสียหมวดหนึ่ง ที่ยัง เหลือจัดเข้าเป็นหมวดอันหนึ่งๆ.

สองบทว่า ฉ อาปตฺติโย ได้แก่ หมวดหก ๓ หมวดที่กล่าวแล้ว ในอันตรเปยยาล.

สองบทว่า ฉ กมฺมานิ ได้แก่ ตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม รวมเป็น ๔ ทั้งกรรม ๒ ที่กล่าว เพราะไม่เห็น อาบัติ และเพราะไม่ทำคืนอาบัติ รวมเป็น ๑, กรรม ๑ เพราะไม่ยอมสละ ทิฏฐิลามก.

บทว่า ฉ นหาเน ได้แก่ (อนุบัญญัติ ๖) เพราะอาบน้ำ ยังหย่อน กึ่งเดือน.

 
  ข้อความที่ 117  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 566

หมวดหก ๒ หมวดว่าด้วยจีวรที่ทำค้างเป็นต้น ได้อธิบายไว้แล้วใน กฐินขันธกะ.

คำที่เหลือในที่ทั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.

พรรณนาหมวด ๖ จบ

[พรรณนาหมวด ๗]

วินิจฉัยในหมวด ๗ พึงทราบดังนี้:-

สองบทว่า สตฺต สามีจิโย มีความว่า พึงทราบสามีจิกรรม ๗ เพราะเพิ่มข้อว่า ภิกษุณีนั้น ก็เป็นอันมิได้อัพภาน ภิกษุณีทั้งหลายเหล่านั้น ก็เป็นอันพระพุทธเจ้าจะพึงทรงติเตียน นี้เป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั้น นี้เข้า ในสามีจิกรรม ๖ ที่กล่าวมาแล้วในหนหลัง.

หลายบทว่า สตฺต อธมฺมิกา ปฏิญฺาตกรณา ได้แก่ ทำตาม ปฏิญญาที่ไม่เป็นธรรม ๗ ที่ทรงแสดงแล้วในสมถขันธกะ อย่างนี้ว่า ภิกษุ ต้องปาราชิก อันภิกษุผู้ต้องปาราชิก โจทอยู่ จึงปฏิญญาว่า ข้าพเจ้าต้อง สังฆาทิเสส สงฆ์ปรับเธอด้วยสังฆาทิเสส, ชื่อว่าทำตามปฏิญญาไม่เป็นธรรม. แม้ทำตามปฏิญญาที่เป็นธรรม ก็ได้ทรงแสดงแล้วในสมถขันธกะนั้นแล.

หลายบทว่า สตฺตนฺนํ อนาปตฺติ สตฺตาหกรณีเยน คนฺตุํ นี้ ได้กล่าวแล้วในวัสสูปนายิกขันธกะ.

สองบทว่า สตฺตานิสํสา วินยธเร มีความว่า อานิสงส์ ๕ ที่กล่าว แล้วในหมวด ๕ กับ ๒ อานิสงส์นี้ คือ อุโบสถ ปวารณาเป็นหน้าที่ของ พระวินัยธรนั้น จึงรวมเป็น ๗.

 
  ข้อความที่ 118  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 567

สองบทว่า สตฺต ปรมานิ ได้แก่ อย่างยิ่งที่กล่าวแล้วในหมวด ๖ นั่นแล พึงจัดด้วยอำนาจหมวด ๗.

หมวดเจ็ด ๒ หมวด มีว่าด้วยจีวรที่ทำแล้วเป็นอาทิ ได้แสดงแล้วใน กฐินขันธกะ. หมวดเหล่านี้ คือ อาบัติที่ต้องเห็น ไม่มีแก่ภิกษุ, อาบัติที่ ต้องเห็น มีแก่ภิกษุ, อาบัติที่ต้องทำคืน มีแก่ภิกษุ, เป็นหมวดเจ็ด ๓ หมวด.

อธัมมิกะ ๒ หมวด, ธัมมิกะ ๑ หมวด. ทั้ง ๓ หมวดนั้น ได้แสดง แล้วในจัมเปยยขันธกะ.

บทว่า อสทฺธมฺมา ได้แก่ ธรรมของอสัตบุรุษ หรือธรรมที่ไม่สงบ อธิบายว่า ธรรมไม่งาม คือ เลว ลามก.

บทว่า สทฺธมฺมา ได้แก่ ธรรมของสัตบุรุษ คือ ของพระอริยะ มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น หรือธรรมที่สงบ, อธิบายว่า ธรรมที่งาม คือ สูงสุด.

คำที่เหลือในที่ทั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.

พรรณนาหมวด ๗ จบ

[พรรณนาหมวด ๘]

วินิจฉัยในหมวด ๘ พึงทราบดังนี้:-

บทว่า อฏฺานิสํเส ได้แก่ อานิสงส์ ๘ ที่ตรัสไว้ในโกสัมพิกขันธกะ อย่างนี้ คือ เราทั้งหลายจักไม่ทำอุโบสถกับภิกษุนี้ จักเว้นภิกษุนี้เสีย ทำอุโบสถ ไม่พึงปวารณากับภิกษุนี้, จักไม่ทำสังฆกรมกับภิกษุนี้, จักไม่นั่งบนอาสนะ กับภิกษุนี้, จักไม่นั่งในที่ดื่มยาคูกับภิกษุนี้, จักไม่นั่งในหอฉันกับภิกษุนี้, จัก ไม่อยู่ในที่มุงอันเดียวกันกับภิกษุนี้, จักไม่ทำการกราบ, ลุกขึ้นรับ, อัญชลีกรรม สามิจิกรรม, ตามลำดับผู้แก่กับภิกษุนี้, เว้นภิกษุนี้เสีย จึงจักทำ แม้ในหมวด ๘ ที่ ๒ ก็นัยนี้แล.

 
  ข้อความที่ 119  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 568

จริงอยู่ แม้หมวด ๘ ที่ ๒ นั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ใน โกสัมพิกขันธกะอย่างนี้เหมือนกัน.

สองบทว่า อฏฺ ยาวตติยกา ได้แก่ สังฆาทิเสสที่เป็นยาวคติยกะ ๔ ในสังฆาทิเสส ๑๓ ของภิกษุทั้งหลาย สังฆาทิเสสที่เป็นยาวตติยกะ ๔ ที่ไม่ ทั่วไปด้วยพวกภิกษุ ในสังฆาทิเสส ๑๗ ของภิกษุณีทั้งหลาย จึงรวมเป็น ยาวตติยกะ ๘.

หลายบทว่า อฏฺหากาเรหิ กุลานิ ทูเสติ มีความว่า ย่อม ประทุษร้ายตระกูล ด้วยอาการ ๘ เหล่านี้ คือ ด้วยดอกไม้บ้าง, ผลไม้บ้าง, จุณณ์บ้าง, ดินเหนียวบ้าง, ไม้สีฟันบ้าง, ไม้ไผ่บ้าง, เยียวยาทางแพทย์บ้าง, รับใช้ส่งข่าวบ้าง.

มาติกา ๘ (เพื่อเกิดขึ้นแห่งจีวร) กล่าวแล้วในจีวรขันธกะมาติกา ๘ ข้อหลัง (เพื่อรื้อกฐิน) ได้กล่าวแล้วในกฐินขันธกะ.

สองบทว่า อฏฺหิ อสทฺธมฺเมหิ มีความว่า ด้วยลาภ มิใช่ลาภ ด้วยยศ มิใช่ยศ ด้วยสักการะ มิใช่สักการะ ด้วยความเป็นผู้มีปรารถนาลามก ด้วยความเป็นผู้มีปาปมิตร.

ชื่อว่าโลกธรรม ๘ คือ ยินดีในลาภ ยินร้ายในมิใช่ลาภ ยินดีในยศ สรรเสริญ สุข ยินร้ายในมิใช่ยศ นินทา ทุกข์.

สองบทว่า อฏฺงฺคิโก มุสาวาท ได้แก่ มุสาวาทที่ประกอบ ด้วยองค์ ๘ คือ ๗ องค์ที่มาในบาลีกับองค์นี้ คือ ตั้งความหมายจึงเป็น มุสาวาทประกอบด้วยองค์ ๘.

สองบทว่า อฏฺ อุปสถงฺคานิ ได้แก่ องค์ ๘ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนี้ว่า:-

 
  ข้อความที่ 120  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 569

ไม่พึงฆ่าสัตว์ ไม่พึงถือเอาของที่เขา ไม่ให้ ไม่พึงกล่าวเท็จ ไม่พึงดื่มน้ำเมา พึง เว้นจากเมถุนธรรมความประพฤติไม่ประเสริฐ ไม่พึงบริโภคอาหาร ในเวลาวิกาล ตลอดราตรี ไม่พึงทัดทรงระเบียบดอกไม้ ไม่พึงไล้ทาเครื่องหอม พึงนอนบนเตียงบน พื้น หรือบนเครื่องลาดที่สมควร บัณฑิต ทั้งหลายกล่าวอุโบสถมีองค์ ๘ นี้แล อัน พระพุทธจ้าผู้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ ทรงประกาศ แล้ว (๑)

สองบทว่า อฏฺ ทูเตยฺยงฺคานิ ได้แก่ องค์ ๘ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในสังฆเภทขันธกะ โดยนัยมีอาทิว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรม วินัยนี้ เป็นผู้ฟังด้วย เป็นผู้ให้ผู้อื่นฟังด้วย.

ติตถิยวัตร ได้ทรงแสดงแล้วในมหาขันธกะ. (๒)

ของเคี้ยวของฉัน ไม่เป็นเดนและเป็นเดน ได้ทรงแสดงแล้วใน ปวารณาสิกขาบท. (๓)

สองบทว่า อฏฺนฺนํ ปจฺจุฏฺาตพพํ มีความว่า ในโรงฉันพึงลุก ขึ้นรับแก่ภิกษุณีผู้แก่ทั้งหลาย แม้อาสนะก็พึงให้แก่ภิกษุณีเหล่านั้นแท้.

บทว่า อุปาสิกา ได้แก่ นางวิสาขา.

สองบทว่า อฏฺานิสํสา วินยธเร มีความว่า พึงทราบอานิสงส์ ๘ เพราะเติมอานิสงส์ ๓ นี้ คือ อุโบสถ ปวารณา สังฆกรรม เป็นหน้าที่ของ วินัยธรนั้น เข้าในอานิสงส์ ๕ ที่กล่าวแล้วในหมวด ๕.


(๑) องฺ. ติกะ ๒๐/๒๗๖.

(๒) มหาวคฺค. ๔/๑๔๓.

(๓) มหาวิภงฺค. ๒/๓๓๒.

 
  ข้อความที่ 121  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 570

สองบทว่า อฏฺ ปรมานิ ได้แก่ พึงทราบอย่างยิ่งทั้งหลาย ที่ กล่าวแล้วในหนหลังนั่นเอง แต่จัดด้วยอำนาจหมวด ๘.

หลายบทว่า อฏฺสุ ธมฺเมสุ สมฺมาวตฺติตพฺพํ ได้แก่ ในธรรม ๘ ที่ทรงแสดงในสมถขันธกะ โดยนัยมีข้อว่า ไม่พึงงดอุโบสถแก่ภิกษุผู้ปกตัตต์ ไม่พึงงดปวารณาแก่ภิกษุผู้ปกตัตต์ เป็นอาทิ.

คำที่เหลือในที่ทั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.

พรรณนาหมวด ๘ จบ

[พรรณนาหมวด ๙]

วินิจฉัยในหมวด ๙ พึงทราบดังนี้:-

สองบทว่า นว อาฆาตวตฺถูนิ ได้แก่ อาฆาตวัตถุ ๙ มีผูกอาฆาต ว่า เขาได้ประพฤติไม่เป็นประโยชน์แก่เรา เป็นอาทิ.

สองบทว่า นว อาฆาตปฏิวินยา ได้แก่ อุบายกำจัดอาฆาต ๙ มีข้อว่า บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตเสีย ด้วยคิดว่า เมื่อเราผูกอาฆาตอยู่ว่า เขา ได้ประพฤติไม่เป็นประโยชน์แก่เรา ความไม่ประพฤติสิ่งไม่เป็นประโยชน์นั้น เราจะพึงได้ในบุคคลนี้ จากไหน ดังนี้ เป็นอาทิ.

สองบทว่า นว วินีตวตฺถูนิ ได้แก่ ความงด ความเว้น ความ กำจัดเสียด้วยอริยมรรค จากวัตถุแห่งอาฆาต ๙.

หลายบทว่า นวหิ สงฺโฆ ภิชฺชติ ได้แก่ ความแตกแห่งสงฆ์ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อุบาลี ความร้าวแห่งสงฆ์และความแตกแห่งสงฆ์ ย่อมมีภิกษุ ๙ รูปบ้าง เกินกว่า ๙ รูปบ้าง ดังนี้.

สองบทว่า นว ปรมานิ ได้แก่ พึงทราบอย่างยิ่งทั้งหลายที่กล่าว แล้วในหนหลังนั่นแล แต่จัดด้วยอำนาจหมวด ๙.

 
  ข้อความที่ 122  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 571

ธรรมชื่อว่ามีตัณหาเป็นมูล ได้แก่ ความแสวงอาศัยตัณหา ลาภอาศัย ความแสวง. ตัดสินอาศัยลาภ. ความรักด้วยความพอใจอาศัยตัดสิน. ความ ตกลงใจอาศัยความรักด้วยความพอใจ. ความหวงอาศัยความตกลงใจ. ความ ตระหนี่อาศัยความหวง. ความอารักขาอาศัยความตระหนี่. การฉวยไม้พลอง การฉวยศัสตรา ทะเลาะแก่งแย่งโต้เถียง กล่าวว่า มึงๆ ความส่อเสียดและ กล่าวเท็จ มีความอารักขาเป็นเหตุ.

บทว่า นววิธมานา ได้แก่ มานะของบุคคล ผู้ดีกว่าว่า " เราเป็น คนดีกว่า" เป็นต้น.

สองบทว่า นว จีวรานิ มีความว่า จีวรที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส โดยนัยมีอาทิว่า ไตรจีวร หรือว่า ผ้าอาบน้ำฝน. *

บทว่า น วิกปฺเปตพฺพานิ มีความว่า จีวรที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส แล้ว ไม่ควรวิกัปป์.

หลายบทว่า นว อธมฺมิกานิ ทานานิ มีความว่า ทานที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ว่า น้อมลาภที่เขานำมาเพื่อสงฆ์ ไปเพื่อสงฆ์หมู่อื่น ก็ตาม เพื่อเจดีย์ก็ตาม เพื่อบุคคลก็ตาม. น้อมลาภที่เขานำมาเพื่อเจดีย์ ไปเพื่อ เจดีย์อื่นก็ตาม เพื่อสงฆ์ก็ตาม, เพื่อบุคคลก็ตาม น้อมลาภที่เขานำมาเพื่อบุคคล ไปเพื่อบุคคลอื่นก็ตาม เพื่อสงฆ์ก็ตาม เพื่อเจดีย์ก็ตาม.

หลายบทว่า นวปฏิคฺคหา ปริโภคา ได้แก่ รับและบริโภคทาน เหล่านั้นเอง.

หลายบทว่า ตีณิ ธมฺมิกานิ ทานานิ ได้แก่ ทาน ๓ นี้ คือ ให้ของที่เขาถวายสงฆ์แก่สงฆ์เท่านั้น, ให้ของที่เขาถวายเจดีย์แก่เจดีย์เท่านั้น,


(๑) ติจีวรนฺติ วา วสฺสิกสาฏิกาติ วา

 
  ข้อความที่ 123  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 572

ให้ของที่เขาถวายบุคคลแก่บุคคลเท่านั้น. แม้การรับและบริโภค ก็คือรับและ บริโภคทาน ๓ นั้นแล.

หลายบทว่า นว อธมฺมิกา สญฺตฺติโย ได้แก่ ติกะ ๓ ที่ทรง แสดงแล้วในสมถขันธกะอย่างนี้ คือ บุคคลเป็นอธัมมวาที, ภิกษุมากหลายเป็น อธัมมวาที, สงฆ์เป็นอธัมมวาที. แม้บัญญัติที่ชอบธรรมก็ทรงแสดงแล้วใน สมถขันธกะนั้นแล โดยนัยมีอาทิว่า บุคคลเป็นธัมมวาที ดังนี้.

หมวดเก้า ๒ หมวด ในกรรมไม่เป็นธรรม พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ ตรัสไว้แล้วด้วยอำนาจแห่งปาจิตตีย์ ในนิทเทสแห่งสิกขาบทที่ ๑ แห่งโอวาท วรรค. (๑)

หมวดเก้า ๒ หมวด ในกรรมเป็นธรรม พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส แล้ว ด้วยอำนาจแห่งทุกกฏ ในนิทเทสแห่งสิกขาบทที่ ๑ แห่งโอวาทวรรคนั้น เหมือนกัน.

คำที่เหลือในที่ทั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.

พรรณนาหมวด ๙ จบ

[พรรณนาหมวด ๑๐]

วินิจฉัยในหมวด ๑๐ พึงทราบดังนี้:-

สองบทว่า ทส อาฆาตวตฺถูนิ ได้แก่ อาฆาตวัตถุ ๙ ที่กล่าวแล้ว ในหมวด ๙ กับข้อนี้ว่า ก็หรือ อาฆาต ย่อมเกิดขึ้นในอัฏฐานะ จึงรวมเป็น ๑๐. แม้อุบายกำจัดอาฆาต พึงทราบอุบาย ๙ ที่กล่าวแล้วในหมวด ๙ นั้น รวนเป็น ๑๐ ทั้งข้อนี้ว่า ก็หรือ อาฆาตเกิดในอัฏฐานะ จึงกำจัดอาฆาตเสีย ด้วยพิจารณาว่า ข้อนั้น เราจะพึงได้ในผู้นี้จากไหน.


(๑) มหาวีภงฺค ๒/๑๗๑

 
  ข้อความที่ 124  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 573

สองบทว่า ทส วินีตวตฺถูนิ ได้แก่ วินีตวัตถุ ๑๐ กล่าว คือ เว้นจากอาฆาตวัตถุ ๑๐.

สองบทว่า ทสวตฺถุกา มิจฺฉาทิฏิ ได้แก่ พึงทราบด้วยอำนาจ แห่งวัตถุว่า ผลแห่งทานอันบุคคลให้แล้ว ไม่มี เป็นอาทิ.

สัมมาทิฏฐิ พึงทราบด้วยอำนาจวัตถุว่า ผลแห่งทานอันบุคคลให้แล้ว มีอยู่ เป็นอาทิ.

ส่วนอันตคาหิกทิฏฐิ พึงทราบด้วยอำนาจแห่งความเห็นว่า โลกเที่ยง เป็นอาทิ.

มิจฉัตตะ ๑๐ มีมิจฉาทิฏฐิเป็นต้น มีมิจฉาวิมุตติเป็นปริโยสาน. ทิฎฐิ ที่ตรงกันข้าม เป็นสัมมัตตะ.

การจับสลาก ทรงแสดงแล้วในสมถขันธกะ.

หลายบทว่า หสหงฺเคหิ สมนฺนาคโต ภิกฺขุ อุพฺพาหิกาย สมฺมนฺนิตพฺโพ ได้แก่ ด้วยองค์ ๑๐ ที่ตรัสไว้ในสมถขันธกะ โดยนัยมี คำว่า เป็นผู้มีศีล เป็นต้น.

โทษ ๑๐ ประการ ในการเข้าสู่ภายในวังหลวง ได้ทรงแสดงแล้วใน ราชสิกขาบท (๑)

สองบทว่า ทส ทานวตฺถูนิ ได้แก่ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ระเบียบ ของหอม เครี่องทา ที่นอน ที่พัก เชื้อประทีป.

สองบทว่า ทส รตนานิ ได้แก่ แก้ว ๑๐ ประการ มีมุกดา มณี ไพฑูรย์ เป็นต้น.

สองบทว่า ทส ปํสุกูลานิ มีความว่า อุปสัมบทพึงทำความขวนขวาย ในจีวรเหล่านี้ คือ ผ้าที่ตกที่ป่าช้า ผ้าที่ตกที่ประตูตลาด ผ้าที่หนูกัด ผ้าที่


(๑) มหาวิภงฺค. ๒/๔๘๔.

 
  ข้อความที่ 125  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 574

ปลวกกัด ผ้าที่ถูกไฟไหม้ ผ้าที่โคกัด ผ้าที่แพะกัด ผ้าห่มจอมปลวก ผ้าที่ เขาทิ้งในที่อภิเษก ผ้าที่เขานำไปสู่ป่าช้าแล้วนำกลับมา.

ในอรรถกถากุรุนทีกล่าวว่า จีวรสาธารณะ ๑๐ นั้น ได้แก่ จีวร ๑๐ ชนิด ด้วยอำนาจจีวรที่พระธรรมสังคาหกาจารย์กล่าวว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์ ย่อม ทรงจีวรทั้งหลายมีจีวรเขียวล้วนเป็นต้น.

แต่ในมหาอรรถกถากล่าวว่า ได้แก่ จีวร ๑๐ ชนิด เพิ่มผ้าอาบน้ำ หรือผ้าคาดนม (ของภิกษุณี) เข้าในจีวรที่ควร ๙ ชนิด.

บุคคลที่ไม่ควรไหว้ ได้แสดงแล้วในเสนาสนขันธกะ.

อักโกสวัตถุ ได้แสดงแล้วในโอมสวาทสิกขาบท๑.

อาการ ๑๐ ได้แสดงแล้วในเปสุญญสิกขาบท๒.

สองบทว่า ทส เสนาสนานิ ได้แก่ เตียง ตั่ง ฟูก หมอน เครื่องรองรักษาพื้น เสื่อสำหรับปูทับข้างบน ท่อนหนังสำหรับรองนั่ง ผ้าปูนอน เครื่องลาดทำด้วยหญ้า เครื่องลาดทำด้วยใบไม้.

หลายบทว่า ทส วรานิ ยาจึสุ มีความว่า นางวิสาขาได้ขอพร ๘ ประการ, พระเจ้าสุทโธทนะได้ทรงขอพร ๑ หมอชีวกได้ขอพร ๑.

อานิสงส์แห่งยาคู และอกัปปิยมังสะ ได้ทรงแสดงแล้วในเภสัชชขันธกะ.

บทที่เหลือในที่ทั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.

พรรณนาหมวด ๑๐ จบ


(๑) มหาวภงฺค. ๒/๑๖๔.

(๒) มหาวิภงฺก. ๒/๖๘๔.

 
  ข้อความที่ 126  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 575

[พรรณนาหมวด ๑๑]

วินิจฉัยในหมวด ๑๑ พึงทราบดังนี้:-

บทว่า เอกาทส ได้แก่ บุคคล ๑ พวก มีบัณเฑาะก์เป็นต้น.

สองบทว่า เอกาทส ปาทุกา ได้แก่ เขียงเท้า ๑๐ อย่าง เป็น วิการแห่งรัตนะ เขียงเท้าไม้ ๑, ส่วนเขียงเท้าทำด้วยหญ้าสามัญ หญ้าปล้อง และหญ้ามุงกระต่ายเป็นต้น จัดเข้าพวกเขียงเท้าไม้เหมือนกัน.

สองบทว่า เอกาทส ปตฺตา ได้แก่ บาตรที่ทำด้วยรตนะ ๑๐ ชนิด รวมทั้งบาตรที่ทำด้วยทองแดงหรือทำด้วยไม้.

สองบทว่า เอกาทส จีวรานิ ได้แก่ จีวรเขียวล้วนเป็นต้น.

สองบทว่า เอกาทส ยาวตติยกา ได้แก่ อุกขิตตานุวัตติกา ๑ สังฆาทิเสสของภิกษุณี ๘ อริฏฐสิกขาบท ๑ จัณฑกาฬีสิกขาบท ๑.

อันตรายิกธรรมทั้งหลาย อันภิกษุณีผู้สวดกรรมวาจาพึงถาม มีข้อว่า น สีมนิมิตฺตา เป็นต้น ชื่อว่าอันตรายิกธรรม ๑๑. หลายบทว่า เอกาทส จีวรานํ อธิฏฺาตพฺพานิ ได้แก่ ไตรจีวร ผ้าอาบน้ำฝน ผ้านิสีทนะ ผ้าปูนอน ผ้าปิดฝี ผ้าเช็ดหน้า บริขารโจล ผ้าอาบน้ำ ผ้าคาดนม.

บทว่า น วิกปฺเปตพฺพานิ มีความว่า จีวร ๑๑ ชนิดนั้นแล จำเดิม แต่กาลที่อธิษฐานแล้ว ไม่ควรวิกัปป์.

ลูกดุมและลูกถวิน มี ๑๑ อย่าง รวมทั้งที่ถักด้วยด้าย. ทั้งหมดนั้น ได้แสดงแล้วในขุททกขันธกะ.

ปฐพี ได้แสดงแล้วในปฐวีสิกขาบท (๑)


(๑) มหาวิภงฺค. ๒/๒๓๐.

 
  ข้อความที่ 127  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 576

ระงับนิสัย จากอุปัชฌาย์ ๕ จากอาจารย์ ๖ รวมเป็น ๑๑ อย่างนี้.

บุคคลไม่ควรไหว้ รวมทั้งบุคคลผู้เปลือยกายจึงเป็น ๑๑, บุคคลไม่ ควรไหว้ทั้งหมดนั้น ได้แสดงแล้วในเสนาสนขันธกะ.

อย่างยิ่ง ๑๑ พึงทราบในอย่างยิ่ง ๑๔ ที่กล่าวแล้วในหนหลัง แต่จัด ด้วยอำนาจหมวด ๑๑.

สองบทว่า เอกาทส วรานิ ได้แก่ พร ๑๐ ประการที่กล่าวแล้ว ในหนหลัง กับพรที่พระนางมหาปชาบดีทูลขอ.

สีมาโทษ ๑๑ อย่าง จักมาในกัมมวรรค โดยนัยมีคำว่า สมมติสีมา เล็กเกินนัก เป็นอาทิ.

ขึ้นชื่อว่า โทษ ๑๑ ประการ ในบุคคลผู้ด่า ผู้กล่าวขู่ พึงทราบโดย พระบาลีว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นใด ผู้ด่า ผู้กล่าวขู่เพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งหลาย มักด่าว่าพระอริยะ, ข้อที่ภิกษุนั้น ไม่พึงประสบความฉิบหาย ๑๑ อย่างใดอย่างหนึ่ง นั่นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส. ความฉิบหาย ๑๑ อย่าง คือ อะไรบ้าง? คือ ภิกษุนั้นไม่บรรลุคุณที่ไม่บรรลุ ๑ เสื่อมจากคุณที่ได้บรรลุ แล้ว ๑ สัทธรรมของภิกษุนั้นไม่ผ่องใส ๑ ภิกษุนั้น ย่อมเป็นผู้มีความดูหมิ่น ในพระสัทธรรม ๑ เบื่อหน่ายประพฤติพรหมจรรย์ ๑ ต้องอาบัติที่เศร้าหมอง อย่างใดอย่างหนึ่ง ๑ ลาสิกขาเวียนมาเป็นคนเลว ๑ ถูกความเจ็บไข้คือโรค อย่างหนัก ๑ ถึงความคลั่งเป็นบ้า ๑ ย่อมหลงใหลทำกาลกิริยา ๑ เบื้องหน้า แต่มรณะเพราะแตกแห่งกาย ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ๑. ก็ พระพุทธวจนะ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์ว่า สัทธรรม ในบทว่า สทฺธมฺมสฺส นี้.

บทว่า อาเสวิตาย ได้แก่ เสพมาตั้งแต่แรก.

บทว่า ภาวิตาย ได้แก่ ให้สำเร็จ หรือให้เจริญ.

 
  ข้อความที่ 128  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้า 577

บทว่า พหุลีกตาย ได้แก่ กระทำบ่อยๆ.

บทว่า ยานีกตาย ได้แก่ ทำให้คล้ายยานที่เทียมไว้ดีแล้ว.

บทว่า วตฺถุกตาย ได้แก่ ทำให้เป็นคุณตั้งมั่น โดยประการที่จะ ตั้งมั่น.

บทว่า อนุฏฺิตาย ได้แก่ ประพฤติเนืองๆ. อธิบายว่า อธิษฐาน เป็นนิตย์.

บทว่า ปริจิตาย ได้แก่ สะสมโดยรอบ คือ สะสมในทิศทั้งปวง คือ สะสมทั่วถึง. อธิบายว่า ให้เจริญยิ่งๆ.

บทว่า สุสมารทฺธาย ได้แก่ ปรารภดีพร้อม. อธิบายว่า น้อมเข้า ไปสู่ความเป็นผู้ชำนาญ.

สองบทว่า น ปาปกํ สุปินํ มีความว่า ไม่ฝันเห็นเฉพาะที่ลามก เท่านั้น, แต่ย่อมฝันเห็นที่ดี คือ ที่เป็นเหตุแห่งความเจริญ.

สองบทว่า เทวตา รกฺขนติ มีความว่า อารักขเทวดาทั้งหลาย ย่อมจัดตั้งการรักษาที่ชอบธรรม.

หลายบทว่า ตุวฏํ จิตฺตํ สมาธิยติ ได้แก่ จิตย่อมตั้งมั่น (เป็น สมาธิ) เร็ว.

สองบทว่า อุตฺตรึ อปฺปฏิวิชฺฌนฺโต มีความว่า เมื่อไม่กระทำ ให้แจ้งซึ่งพระอรหัต ซึ่งยิ่งกว่าเมตตาฌานขึ้นไป คงเป็นเสขบุคคลหรือปุถุชน ก็ตาม เมื่อทำกาลกิริยา ย่อมเป็นผู้เข้าถึงพรหมโลก.

คำที่เหลือในที่ทั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.

เอกุตตรกวัณณนา มีพรรณนาหมวด ๑๑ เป็นที่สุด จบ