พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ปาฏิโมกขัฏฐปนักขันธกวรรณนา

  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 433

ปาฏิโมกขัฏฐปนักขันธกวรรณนา

วินิจฉัยในปาฏิโมกขัฏฐรปนักขันธกะ พึงทราบดังนี้:-

สองบทว่า นนฺทิมุขิยา รตฺติยา มีความว่า ราตรีปรากฎเหมือน มีหน้าอันเอิบอิ่ม ในเวลาอรุณขึ้นแล้ว ด้วยเหตุนั้น พระอุบาลีเถระจึงกล่าว ว่า ราตรีมีหน้าชื่น.

บทว่า อนฺโตปูตึ มีความว่า ผู้เสียข้างใน โดยมีความเสียเพราะ กิเลส ในภายในจิตสันดานเป็นสภาพ.

บทว่า อวสฺสุตํ มีความว่า ผู้ชุ่มแล้วด้วยอำนาจแห่งความรั่วแห่ง กิเลส.

บทว่า กสมฺพุชาตํ มีความว่า ชื่อว่าผู้เศร้าหมอง เพราะเป็นผู้มี โทษเกลื่อนกลาด.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 434

ด้วยคำว่า ยาว พาหาคหณาปี นาม พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง แสดงพระประสงค์ว่า จริงอยู่ โมฆบุรุษนั้น พอได้ฟังคำว่า อานนท์ บริษัท ไม่บริสุทธิ์ แล้ว พึงหลีกไปเสียก็มี, โมฆบุรุษนั้นไม่หลีกไปด้วยคำอย่างนั้น จักมาเพียงจับแขนเท่านั้น. ความมานี้ น่าอัศจรรย์.

ข้อว่า น อายตเกเนว ปปาโต โหติ มีความว่า มหาสมุทร เป็นของลึกโตรกแต่แรกหามิได้ คือ เป็นของลึกโดยลำดับ.

ข้อว่า ิตธมฺโม เวลํ นาติวตฺตติ มีความว่า มหาสมุทรไม่ล้น ฝั่ง คือคันแดนเป็นที่ลงและขึ้นแห่งคลื่นทั้งหลาย.

สองบทว่า ตีรํ วาเหติ มีความว่า คลื่นย่อมพัดขึ้นฝั่ง คือซัด ขึ้นบก.

บทว่า อญฺาปฏิเวโธ ได้แก่ ความตรัสรู้พระอรหัต.

คำว่า ฉนฺนมติวสฺสติ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาเนื้อ ความนี้ว่า เมื่อต้องอาบัติแล้วปกปิดไว้ ชื่อว่าต้องอาบัติใหม่อื่น.

คำว่า วิวฏํ นาติวสฺสติ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาเนื้อ ความนี้ว่า ต้องอาบัติแล้วเปิดเผยเสีย ชื่อว่าไม่ต้องอาบัติอื่น.

[ว่าด้วยการงดปาฏิโมกข์]

วินิจฉัยในข้อว่า ปิตํ โหติ ปาฏิโมกฺขํ นี้ พึงทราบดังนี้:-

ปาฏิโมกข์ที่เป็นอันงดก่อนหรือภายหลังก็มี ที่ไม่เป็นอันงดก่อนหรือ ภายหลังก็มี, แต่ปาฏิโมกข์ที่งดในเขตเท่านั้น จึงเป็นอันงด; เพราะฉะนั้น ปาฏิโมกข์อันสงฆ์พึงงดเพียงที่สวด เร อักษรในคำนี้ว่า สุณาตุ เม ภนฺเต สงฺโฆ อชฺชุโปสโถ ปณฺณรโส ยทิ สงฺฆสฺส ปตฺตกลฺลํ, สงฺโฆ อุโปสถํ กเรยฺย นี้แล ชื่อว่าเขต. แต่ครั้นสวด อักษรแล้ว จึงงด ชื่อว่างดภายหลัง.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 435

เมื่อคำว่า สุณาตุ เม ยังไม่ทันได้เริ่ม เมื่องดเสีย เป็นอันงดก่อน.

ข้อว่า อมูลิกาย ทิฏฺิวิปตฺติยา ปาฏิโมกฺขํ เปติ อกตาย มีความว่า วิบัตินั้น จะเป็นการที่บุคคลนั้น ทำแล้วหรือมิได้ทำก็ตามที, ความ สำคัญของภิกษุผู้งดปาฏิโมกข์ ย่อมเป็นของไม่มีมูล ด้วยอำนาจแห่งวิบัติที่ไม่ มีมูล.

คำว่า กตากตาย อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรวมทั้ง ๒ อย่าง ทั้งที่ ทำ ทั่งที่ไม่ทำ.

ข้อว่า ธมฺมิกํ สามคฺคึ น อุเปติ มีความว่า เมื่อสังฆกรรม อันสงฆ์กระทำอยู่ ภิกษุไม่มา ไม่มอบฉันทะ และอยู่พร้อมหน้า คัดค้าน เพราะความเป็นผู้ประสงค์จะยังกรรมให้กำเริบ, ด้วยเหตุนั้นเธอต้องทุกกฏ. ปาฏิโมกข์ของภิกษุผู้มีอาบัติติดตัวนั้นแล ย่อมเป็นอันงด ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า ปจฺจาทิยติ มีความว่า ย่อมกลับถือว่า กรรมต้องทำใหม่. เพราะการรื้อนั้น เธอย่อมต้องปาจิตตีย์. ปาฏิโมกข์ของภิกษุผู้มีอาบัติติดตัวแม้ นั้นแล ย่อมเป็นอันงด ด้วยประการฉะนี้.

ในคำว่า เยหิ อากาเรหิ เยหิ ลิงฺเคหิ เยหิ นิมิตฺเตหิ นี้พึง ทราบ เครื่องหมายรู้มีอาการเป็นต้น ในองค์ทั้งหลายมียังมรรคกับมรรคให้จด กันเป็นต้น.

วัตถุที่ได้เห็นแล้ว และวัตถุที่ได้ฟังแล้ว ในคำว่า เตน ทิฏฺเน เตน สุเตน ตาย ปริสงฺกาย นี้ มาแล้วในพระบาลีนั่นเอง

ก็ถ้าว่า ภิกษุพึงยังความรังเกียจให้เกิดขึ้น เพราะวัตถุที่ได้เห็นและได้ ฟังแล้วเหล่านั้นไซร้, คำว่า ด้วยความรังเกียจนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส หมายเอาความรังเกียจนั้น.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 436

[ว่าด้วยองค์แห่งการฉวยอธิกรณ์]

ภิกษุผู้ประสงค์จะชำระพระศาสนาให้หมดจด จึงฉวยอธิกรณ์ใด ด้วย ตน, อธิกรณ์นั้น พระอุบาลีเถระเรียกว่า อตฺตาทานํ ในคำว่า อตฺตาทานํ อาทาตุกาเมน.

กาลนี้ คือ ราชภัย โจรภัย ทุพภิกขภัย กาลที่ฝนเปียกชุ่ม เป็น สมัยมิใช่กาล ในคำว่า อกาโล อิมํ อตฺตาทานํ อาทาตุ นี้ กาลพึง เห็นแผกกัน.

ข้อว่า อภูตํ อิทํ อตฺตาทานํ มีความว่า อธิกรณ์นี้ไม่มี, อธิบาย ว่า ถ้าว่า ภิกษุเมื่อพิจารณาทราบอย่างนี้ว่า อธรรม เราถือว่า เป็นธรรม, หรือว่า ธรรม เราถือว่า เป็นอธรรม หรือว่ามิใช่วินัย เราถือว่า วินัย, วินัย เราถือว่า มิใช่วินัย, หรือว่าบุคคลทุศีล เราถือว่า บุคคลมีศีล หรือ ว่า บุคคลมีศีล เราถือว่า บุคคลทุศีล. อธิกรณ์ที่จริง พึงทราบโดยปริยาย อันแผกกัน.

อธิกรณ์ใด เป็นไปเพื่ออันตรายแห่งชีวิต หรือเพื่ออันตรายแก่ พรหมจรรย์ อธิกรณ์นี้ชื่อว่าไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ในคำว่า อนตฺถสญฺหิตํ อิทํ อตฺตาทานํ นี้. อธิกรณ์ที่แผก (จากนั้น) ชื่อว่าประกอบ ด้วยประโยชน์.

ข้อว่า น ลภิสฺสามิ สนฺทิฏฺเ สมฺภตฺเต ภิกฺขู มีความว่าจริง อยู่ ในกาลบางคราว ภิกษุทั้งหลายผู้สนับสนุนฝ่ายของตนเห็นปานนั้น ย่อม เป็นผู้อันเธอไม่อาจที่จะได้ ในเพราะภัยมีราชภัยเป็นต้น. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงหมายเอาความไม่ได้นั้น จึงตรัสว่า เราจักไม่ได้. แต่ในกาลบางคราว ภิกษุทั้งหลายเห็นปานนั้น เป็นผู้อันเธออาจที่จะได้ เพราะเป็นความปลอดภัย

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 437

และมีภิกษาดีเป็นต้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาความได้นั้น จึงตรัสว่า เราจักได้.

ข้อว่า ภวิสฺสติ สงฺฆสฺส ตโตนิทานํ ภณฺฑนํ มีความว่า ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาท และความแตก แห่งสงฆ์ จักมีแก่สงฆ์ เหมือนมีแก่พวกภิกษุชาวกรุงโกสัมพี.

ข้อว่า ปจฺฉาปิ อวิปฺปฏิสารกรํ ภวิสฺสติ มีความว่า ความ หวนระลึกถึงอธิกรณ์นั้น ในภายหลัง ไม่ทำความเดือดร้อนให้เหมือนความ หวนระลึกของพระมหากัสสปเถระ ผู้ทำปัญจสติกสังคีติข่มขี่สุภัททภิกษุผ้บวช เมื่อแก่, และเหมือนความหวนระลึกของท่านพระยสะผู้ทำสัตตสติกสังคีติ ข่มขี่ ภิกษุหมื่นรูป เพราะอธิกรณ์มีวัตถุ ๑๐, และเหมือนความหวนระลึกของพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระผู้ทำสหัสสกสังคีติ ข่มขี่ภิกษุ ๖ หมื่นรูป ไม่ทำความ เดือดร้อนให้ในภายหลังฉะนั้น. ทั้งอธิกรณ์ที่ประกอบด้วยองค์ ๕ อย่างนั้น อันภิกษุโจทแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อความที่พระศาสนาเป็นของมีสิริเพียงดังดวง จันทร์และดวงอาทิตย์ อันปราศจากโทษเครื่องเศร้าหมอง

[ว่าด้วยธรรมที่โจทก์พึงตรวจดูในตน]

วินิจฉัยในคำว่า อจฺฉิทฺเทน อปฺปฏิมํเสน เป็นอาทิ พึงทราบ ดังนี้ :-

บรรดาคฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นผู้อันบุคคลใด ประหารแล้วก็ดี แพทยกรรมทั้งหลาย มีการผ่าฝีเป็นต้น อันบุคคลใดทำแล้ว แก่คฤหัสถ์ทั้งหลายก็ดี กายสมาจารของบุคคลนั้น เป็นช่องทะลุ เหมือนใบ ตาลที่ปลวกกิน และชื่อว่ามีโทษที่ควรสอดส่อง เพราะเป็นของที่จะพึงอาจ เพื่อลูบคลำได้ คือเพื่อจับคร่าในที่ใดที่หนึ่งได้. กายสมาจารที่แผกกัน พึง ทราบว่า ไม่มีช่องทะลุ ไม่มีโทษที่ควรสอดส่อง.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 438

ส่วนวจีสมาจาร ย่อมเป็นช่องทะลุ และมีโทษควรสอดส่อง เพราะ พูดปด พูดเสียดแทง พูดส่อเสียด และโจทอาบัติไม่มีมูลเป็นต้น. วจีสมาจาร ที่แผกกัน พึงทราบว่า ไม่มีช่องทะลุ และไม่มีโทษที่ควรสอดส่อง.

ข้อว่า เมตฺตํ นุ โข เม จิตฺตํ มีความว่า จิตของเรามีเมตตา ตัดกังวล ถึงทับแล้วด้วยความใส่ใจกัมมัฏฐานภาวนา.

บทว่า อนาฆาตํ ได้แก่เว้นจากอาฆาต. อธิบายว่า ปราศจากอาฆาต ด้วยอำนาจแห่งความข่มไว้.

ข้อว่า อิทํ ปน อาวุโส กตฺถ วุตฺตํ ภควตา มีความว่า สิกขา บทนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วที่เมืองไหน?

[ว่าด้วยธรรมที่โจทก์พึงตั้งในตน]

วินิจฉัยในคำว่า กาเลน วกฺขามิ เป็นอาทิ พึงทราบดังนี้ :-

ภิกษุรูปหนึ่ง เมื่อยังบุคคลผู้หนึ่งให้ทำโอกาสแล้วจึงโจท ชื่อว่ากล่าว โดยกาล เมื่อโจทในท่ามกลางสงฆ์ ท่ามกลางคณะ โรงสลากข้าวต้ม โรงวิตก ทางที่เที่ยวภิกษาและโรงฉันเป็นต้นก็ดี ในขณะที่อุปัฏฐากทั้งหลายปวารณาก็ดี ชื่อว่า กล่าวโดยมิใช่กาล.

เมื่อกล่าวด้วยคำจริง ชื่อว่า กล่าวด้วยคำแท้.

เมื่อกล่าวว่า แน่ะผู้เจริญ แน่ะท่านผู้ใหญ่ แน่ะท่านผู้เที่ยวอยู่ใน บริษัท แน่ะท่านผู้ถือบังสกุล แน่ะท่านธรรมกถึก นี้สมควรแก่ท่าน ชื่อว่า กล่าวด้วยคำหยาบ.

แต่เมื่อกล่าวให้เป็นถ้อยคำอิงอาศัยเหตุว่า ผู้เจริญ ท่านเป็นผู้ใหญ่ ท่านเป็นผู้เที่ยวอยู่ในบริษัท ท่านเป็นผู้ถือบังสกุล ท่านเป็นธรรมกถึก นี้ สมควรแก่พวกท่าน ชื่อว่า กล่าวด้วยถ้อยคำไพเราะ.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 439

เมื่อกล่าวให้เป็นถ้อยคำอิงอาศัยเหตุ ชื่อว่า กล่าวด้วยถ้อยคำประกอบ ด้วยประโยชน์.

ข้อว่า เมตฺตจิตฺโต วกฺขามิ โน โทสนฺตโร มีความว่า เรา จักเข้าไปตั้งเมตตาจิตกล่าว จักไม่เป็นผู้มีจิตประทุษร้ายกล่าว.

[ว่าด้วยธรรมที่โจทก์พึงพิจารณาในตน]

สองบทว่า อชฺฌตฺตํ มนสิกริตฺวา ได้แก่ พึงยังความคิดของตน ให้เกิดขึ้น.

บทว่า การุญฺตา นั้น ได้แก่ ความมีกรุณา.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงกรุณาและธรรมเป็นส่วนเบื้องต้นแห่ง กรุณา ด้วยความมีกรุณานี้.

ความใฝ่หาประโยชน์ ชื่อว่า ความเป็นผู้แสวงประโยชน์.

ความประกอบพร้อมด้วยประโยชน์เกื้อกูลนั้น ชื่อว่า ความเป็นผู้ อนุเคราะห์.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงเมตตาและธรรมเป็นส่วนเบื้องต้นแห่ง เมตตา ด้วยความเป็นผู้แสวงประโยชน์ และความเป็นผู้อนุเคราะห์แม้ทั้ง ๒.

การให้ออกเสียจากอาบัติแล้ว ให้ตั้งอยู่ในส่วนแห่งผู้หมดจด ชื่อว่า ความออกจากอาบัติ.

การที่ฟ้องคดีแล้วให้จำเลยให้การ อ้างเอาคำปฏิญญา ทำกรรมตามที่ ปฏิญญาอย่างไร ชื่อว่า ความเป็นผู้ทำพระวินัยให้เป็นที่เคารพ

ข้อว่า อิเม ปญฺจ ธมฺเม มีความว่า ธรรมเหล่านี้ใด ที่เรากล่าวแล้ว โดยนัยมีคำว่า การุญฺตา เป็นต้น, ภิกษุผู้โจทก์ พึงพิจารณาธรรมทั้ง ๕ เหล่านั้น ภายในตนแล้ว จึงโจทก์ผู้อื่น ฉะนั้นแล.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 440

[ว่าด้วยธรรมของจำเลย]

ข้อว่า สจฺเจ จ อกุปฺเป จ มีความว่า จำเลยพึงตั้งอยู่ในคำจริง และในความเป็นผู้ไม่โกรธ. จริงอยู่ จำเลยต้องให้การตามจริง และต้องไม่ ทำอาการโกรธเคือง. อธิบายว่า ไม่พึงโกรธด้วยตนเอง ไม่พึงกระทบกระทั่ง ผู้อื่น.

คำที่เหลือในที่ทั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.

ปาฏิโมกขัฏฐปนักขันธกวรรณนา จบ

 
หัวข้อถัดไป
หัวข้อก่อนหน้า

หน้าบัญชีเรื่อง