พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ปาฏิโมกขฐปนขันธกะ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  13 มี.ค. 2565
หมายเลข  42844
อ่าน  945

[เล่มที่ 9] พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก

เล่ม ๗

จุลวรรค ทุติยภาค

ปาฏิโมกขฐปนขันธกะ

เรื่องพระอานนท์ 447/398

ความอัศจรรย์ไม่เคยมีในธรรมวินัย ๘ ประการ 457/402

อุทานคาถา 406

วิธีงดปาติโมกข์ 406

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ 467/407

การงดปาฏิโมกข์ไม่เป็นธรรมและเป็นธรรม 468/408

พระอุบาลีทูลถามอธิกรณ์ 499/422

ทูลถามการโจทก์ 500/424

ผู้โจทก์โดยไม่เป็นธรรมต้องเดือดร้อน 506/426

ผู้ถูกโจทก์โดยไม่เป็นธรรมไม่ต้องเดือดร้อน 507/427

ผู้โจทก์โดยเป็นธรรมไม่ต้องเดือดร้อน 508/428

ผู้ถูกโจทก์โดยธรรมต้องเดือดร้อน 509/428

ผู้โจทก์พึงมนสิการธรรม ๕ ประการ 510/429

ผู้ถูกโจทก์พึงต้งอย ั ู่ในธรรม ๒ ประการ 511/430

หัวข้อประจําขันธกะ 512/430


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 9]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 398

ปาติโมกขฐปนขันธกะ

เรื่องพระอานนทเถระ

[๔๔๗] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ประทับอยู่ที่ปราสาท ของมิคารมารดา ในบุพพาราม เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น เป็นวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ พระผู้มีพระภาคเจ้ามีภิกษุสงฆ์แวดล้อมประทับนั่งอยู่ จึงท่านพระอานนท์ เมื่อล่วงเข้าราตรี ปฐมยามผ่านไปแล้ว ลุกจากอาสนะ ห่มผ้าเฉวียงบ่า ประคองอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ล่วงเข้าราตรี ปฐมยามผ่านไปแล้ว ภิกษุสงฆ์นั่งอยู่นานแล้ว ขอพระผู้มี พระภาคเจ้าทรงแสดงพระปาติโมกข์แก่ภิกษุทั้งหลาย พระพุทธเจ้าข้า เมื่อ พระอานนท์กราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนิ่งเสีย.

แม้ครั้งที่สอง ท่านพระอานนท์ เมื่อล่วงเข้าราตรี มัชฌิมยามผ่านไป แล้ว ลุกจากอาสนะ ห่มผ้าเฉวียงบ่า ประคองอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ล่วงเข้าราตรี มัชฌิมยามผ่านไปแล้ว ภิกษุสงฆ์นั่งอยู่นานแล้ว ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระปาติโมกข์แก่ภิกษุ ทั้งหลาย พระพุทธเจ้าข้า.

แม้ครั้งที่สอง พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงนิ่งเสีย.

แม้ครั้งที่สาม ท่านพระอานนท์ เมื่อล่วงเข้าราตรี ปัจฉิมยามผ่านไป แล้ว อรุณขึ้น ราตรีสว่างแล้ว จึงลุกจากอาสนะ ห่มผ้าเฉวียงบ่า ประคองอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ล่วงเข้า ราตรี ปัจฉิมยามผ่านไปแล้ว อรุณขึ้นราตรีสว่างแล้ว ภิกษุสงฆ์นั่งอยู่นานแล้ว ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระปาติโมกข์แก่ภิกษุทั้งหลาย พระพุทธเจ้าข้า

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 399

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ บริษัทไม่บริสุทธิ์.

[๔๔๘] ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสอย่างนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ บริษัทไม่บริสุทธิ์ ทรงหมายถึงบุคคลไรหนอ.

ทีนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ มนสิการกำหนดจิตภิกษุสงฆ์ ทั้งหมดด้วยจิต ได้เห็นบุคคลผู้ทุศีล มีธรรมลามก มีความประพฤติไม่สะอาด น่ารังเกียจ ปิดบังการการทำ ไม่ใช่สมณะปฏิญาณว่า เป็นสมณะ มิใช่พรหมจารี ปฏิญาณว่าเป็นพรหมจารี เน่าภายใน โชกชุ่มด้วยกิเลส ผู้เศร้าหมองนั้น นั่งอยู่ ณ ท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ครั้นแล้ว จึงเข้าไปหาบุคคลนั้น ได้กล่าวไว้ว่า ลุกขึ้นเถิดท่าน พระผู้มีพระภาคเจ้าทอดพระเนตรเห็นท่านแล้ว ท่านไม่มี สังวาสกับภิกษุทั้งหลาย แม้ท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวอย่างนี้แล้ว บุคคล นั้นก็ยังนิ่งเสีย.

แม้ครั้งที่สอง ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกะบุคคลนั้นว่า ลุกขึ้นเถิดท่าน พระผู้มีพระภาคเจ้าทอดพระเนตรเห็นท่านแล้ว ท่านไม่มีสังวาส กับภิกษุทั้งหลาย.

แม้ครั้งที่สอง บุคคลนั้นก็ยังนิ่งเสีย.

แม้ครั้งที่สาม ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกะบุคคลนั้นว่า ลุกขึ้นเถิดท่าน พระผู้มีพระภาคเจ้าทอดพระเนตรเห็นท่านแล้ว ท่านไม่มี สังวาสกับภิกษุทั้งหลาย.

แม้ครั้งที่สาม บุคคลนั้นก็ยังนิ่งเสีย.

ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะจับบุคคลนั้นที่แขนให้ออกไปนอก ซุ้มประตู ใส่กลอนแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ากราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า บุคคลนั้นข้าพระองค์ให้ออกไปแล้ว บริษัทบริสุทธิ์แล้ว ขอพระผู้มี พระภาคเจ้าทรงแสดงพระปาติโมกข์แก่ภิกษุทั้งหลายเถิด พระพุทธเจ้าข้า.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 400

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า น่าอัศจรรย์ โมคคัลลานะ ไม่เคยมี โมคคัลลานะถึงกับต้องจับแขน โมฆบุรุษนั้นจึงมาได้.

ความอัศจรรย์ไม่เคยมีในมหาสมุทร ๘ ประการ.

[๔๔๙] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ความอัศจรรย์ ไม่เคยมี ในมหาสมุทร ๘ อย่างนี้ ที่พวกอสูร พบเห็นแล้ว พากันชื่นชมอยู่ในมหาสมุทร ๘ อย่างเป็นไฉน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาสมุทรลุ่มลึกลาดลงไปโดยลำดับ มิใช่ลึกมา แต่เดิมเลย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่มหาสมุทรลุ่มลึกลาดลงไปโดยลำดับ มิใช่ ลึกมาแต่เดิมเลย นี้เป็นความอัศจรรย์ ไม่เคยมี ในมหาสมุทร เป็นข้อที่ ๑ ที่พวกอสูรพบเห็นแล้ว พากันชื่นชมในมหาสมุทร.

[๔๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง มหาสมุทรตั้งอยู่ตามธรรมดาไม่ ล้นฝั่ง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่มหาสมุทรตั้งอยู่ตามธรรมดาไม่ล้นฝั่ง แม้นี้ เป็นความอัศจรรย์ ไม่เคยมี ในมหาสมุทร เป็นข้อที่ ๒ ที่พวกอสูรพบเห็น แล้ว พากันชื่นชมในมหาสมุทร.

[๔๕๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง มหาสมุทรไม่ร่วมกับซากศพที่ ตายแล้ว ซากศพที่ตายแล้วใดมีอยู่ในมหาสมุทร มหาสมุทรย่อมนำซากศพที่ ตายแล้วนั้นไปสู่ฝั่ง ซัดขึ้นบกโดยพลัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่มหาสมุทรไม่ร่วมกับซากศพที่ตายแล้ว ซากศพที่ตายแล้วใดมีอยู่ในมหาสมุทร มหาสมุทรย่อมนำซากศพที่ตายแล้วนั้น ไปสู่ฝั่ง ซัดขึ้นบกโดยพลัน แม้นี้ก็เป็นความอัศจรรย์ ไม่เคยมี ในมหาสมุทร เป็นข้อที่ ๓ ที่พวกอสูรพบเห็นแล้ว พากันชื่นชมในมหาสมุทร.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 401

[๔๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง แม่น้ำใหญ่บางสาย คือ แม่น้ำ คงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี ไหลถึงมหาสมุทรแล้วย่อมละนามและโคตรเดิม เสีย ถึงซึ่งอันนับว่ามหาสมุทรทีเดียว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่แม่น้ำใหญ่บางสาย คือ แม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี ไหลถึงมหาสมุทรแล้ว ย่อมละนามและโคตรเดิมเสีย ถึง ซึ่งอันนับว่ามหาสมุทรทีเดียว แม้นี้ก็เป็นความอัศจรรย์ ไม่เคยมีในมหาสมุทร เป็นข้อที่ ๔ ที่พวกอสูรพบเห็นแล้ว พากันชื่นชมในมหาสมุทร.

[๔๕๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง แม่น้ำบางสายในโลกที่ไหลไป ย่อมไปรวมยังมหาสมุทร และสายฝนยังตกลงมาจากอากาศ ความพร่องหรือ ความเต็มของมหาสมุทรย่อมไม่ปรากฏ เพราะเหตุนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่แม่น้ำบางสายในโลกที่ไหลไป ย่อมไปรวม ยังมหาสมุทร และสายฝนยังตกลงมาจากอากาศ ความพร่องหรือความเต็มของ มหาสมุทร ไม่ปรากฏ เพราะเหตุนั้น แม้นี้ก็เป็นความอัศจรรย์ ไม่เคยมี ในมหาสมุทร เป็นข้อที่ ๕ ที่พวกอสูรพบเห็นแล้ว พากันชื่นชมในมหาสมุทร.

[๔๕๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง มหาสมุทรมีรสเค็มรสเดียว ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่มหาสมุทรมีรสเค็มรสเดียว แม้นี้ก็เป็นความอัศจรรย์ ไม่เคยมีในมหาสมุทร เป็นข้อที่ ๖ ที่พวกอสูรพบเห็นแล้ว พากันชื่นชมใน มหาสมุทร.

[๔๕๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง มหาสมุทรมีรัตนะมาก มีรัตนะ มิใช่ชนิดเดียว รัตนะในมหาสมุทรนั้นเหล่านี้ คือ แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา แก้วประพาฬ เงิน ทอง ทับทิม มรกต.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 402

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่มหาสมุทรมีรัตนะมาก มีรัตนะมิใช่ชนิดเดียว รัตนะในมหาสมุทรนั้นเหล่านั้น คือ แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา ประพาฬ เงิน ทอง ทับทิม มรกต แม้นี้ก็เป็นความอัศจรรย์ ไม่ เคยมีในมหาสมุทร เป็นข้อที่ ๗ ที่พวกอสูรพบเข้าแล้ว พากันชื่นชมใน มหาสมุทร.

[๔๕๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง มหาสมุทรเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ ใหญ่ๆ สัตว์ใหญ่ๆ ในมหาสมุทรนั้นเหล่านี้ คือ ปลาติมิ ปลาติมิงคละ ปลาติมิติมิงคละ ปลามหาติมิงคละ อสูร นาค คนธรรพ์ อยู่ในมหาสมุทร มีลำตัวตั้งร้อยโยชน์ก็มี สองร้อยโยชน์ก็มี สามร้อยโยชน์ก็มี สี่ร้อยโยชน์ก็มี ห้าร้อยโยชน์ก็มี.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่มหาสมุทรเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ใหญ่ๆ สัตว์ใหญ่ๆ ในมหาสมุทรนั้นเหล่านี้ คือ ปลาติมิ ปลาติมิงคละ ปลาติมิติ- มิงคละ ปลามหาติมิงคละ อสูร นาค คนธรรพ์ อยู่ในมหาสมุทร มีลำตัว ตั้งร้อยโยชน์ก็มี ... ห้าร้อยโยชน์ก็มี แม้นี้ก็เป็นความอัศจรรย์ ไม่เคยมีใน มหาสมุทร เป็นข้อที่ ๘ ที่พวกอสูรพบเห็นแล้ว พากันชื่นชมในมหาสมุทร.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความอัศจรรย์ไม่เคยมีในมหาสมุทร ๘ อย่างนี้แล ที่พวกอสูรพบเห็นแล้ว พากันชื่นชมอยู่ในมหาสมุทร.

ความอัศจรรย์ไม่เคยมีในธรรมวินัย ๘ ประการ

[๔๕๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความอัศจรรย์ไม่เคยมีในธรรมวินัยนี้ มี ๘ อย่างเหมือนกันแล ที่พวกภิกษุพบเห็นแล้วพากันชื่นชมในธรรมวินัยนี้ ๘ อย่าง เป็นไฉน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนมหาสมุทรลุ่มลึกลาดลงไปโดยลำดับ มิใช่ลึกมาแต่เดิมเลย สิกขาตามลำดับ กิริยาตามลำดับ ปฏิปทาตามลำดับ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 403

ในธรรมวินัยนี้ก็เหมือนกัน มิใช่แทงตลอดอรหัตผลมาแต่เดิมเลย ข้อที่สิกขา ตามลำดับ กิริยาตามลำดับ ปฏิปทาตามลำดับ ในธรรมวินัยนี้ มิใช่แทงตลอด อรหัตผลมาแต่เดิมเลย นี้เป็นความอัศจรรย์ ไม่เคยมีในธรรมวินัยนี้ เป็นข้อ ที่ ๑ ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้ว พากันชื่นชมในธรรมวินัยนี้.

[๔๕๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนมหาสมุทรตั้งอยู่ตาม ธรรมดาไม่ล้นฝั่ง สาวกทั้งหลายของเราก็เหมือนกัน ไม่ล่วงละเมิดสิกขาบท ที่เราบัญญัติแล้วแก่สาวกทั้งหลาย แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต ข้อที่สาวกทั้งหลาย ของเราไม่ล่วงละเมิดสิกขาบทที่เราบัญญัติแล้วแก่สาวกทั้งหลาย แม้เพราะเหตุ แห่งชีวิต แม้นี้ก็เป็นความอัศจรรย์ ไม่เคยมีในธรรมวินัยนี้ เป็นข้อที่ ๒ ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้ว พากันชื่นชมในธรรมวินัยนี้.

[๔๕๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนมหาสมุทรไม่ร่วมกับ ซากศพที่ตายแล้ว ซากศพที่ตายแล้วใดมีอยู่ในมหาสมุทร มหาสมุทรย่อมนำ ซากศพที่ตายแล้วนั้นไปสู่ฝั่ง ซัดขึ้นบกโดยพลัน บุคคลนั้นใดเป็นผู้ทุศีล มี ธรรมลามก มีความประพฤติไม่สะอาด น่ารังเกียจ ปิดบังการกระทำ มิใช่ สมณะปฏิญาณว่าเป็นสมณะ มิใช่พรหมจารีปฏิญาณว่าเป็นพรหมจารี เน่าภายใน โชกชุ่มด้วยกิเลส ผู้เศร้าหมอง ก็เหมือนกัน สงฆ์ย่อมไม่ร่วมกับบุคคลนั้น ย่อมประชุมกันยกเธอเสียโดยพลัน ถึงแม้เธอนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ก็จริง ถึงอย่างนั้น เธอชื่อว่าไกลจากสงฆ์ และสงฆ์ก็ไกลจากเธอ ข้อที่บุคคลนั้นใด เป็นผู้ทุศีล มีธรรมลามก มีความประพฤติไม่สะอาด น่ารังเกียจ ปิดบังการ กระทำ มิใช่สมณะปฏิญาณว่าเป็นสมณะ มิใช่พรหมจารีปฏิญาณว่าเป็น พรหมจารี เน่าภายใน โชกชุ่มด้วยกิเลส ผู้เศร้าหมอง สงฆ์ย่อมไม่ร่วมกับ บุคคลนั้น ย่อมประชุมกันยกเธอเสียโดยพลัน ถึงแม้เธอนั่งในท่ามกลางภิกษุ

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 404

สงฆ์ก็จริง ถึงอย่างนั้น เธอชื่อว่าไกลจากสงฆ์ และสงฆ์ก็ไกลจากเธอ แม้นี้ ก็เป็นความอัศจรรย์ ไม่เคยมีในธรรมวินัยนี้ เป็นข้อที่ ๓ ที่ภิกษุทั้งหลายพบ เห็นแล้วพากันชื่นชมในธรรมวินัยนี้.

[๔๖๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำใหญ่บางสาย คือ แม่น้ำ คงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี ไหลถึงมหาสมุทรแล้วย่อมละนาม และโคตรเดิมเสียถึงซึ่งอันนับว่ามหาสมุทรทีเดียว วรรณะ ๔ เหล่านี้ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ก็เหมือกัน ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ย่อมละชื่อและตระกูลเดิมเสีย ถึงซึ่งอัน นับว่า สมณะเชื้อสายพระศากยบุตรทีเดียว ข้อที่วรรณะ ๔ เหล่านี้ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในธรรม วินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ย่อมละชื่อและตระกูลเดิมเสีย ถึงซึ่งอันนับว่าสมณะ เชื้อสายพระศากยบุตรทีเดียว แม้นี้ก็เป็นความอัศจรรย์ไม่เคยมีในธรรมวินัยนี้ เป็นข้อที่ ๔ ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วพากันชินชมในธรรมวินัยนี้.

[๔๖๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำบางสายในโลกที่ ไหลไป ย่อมไปรวมยังมหาสมุทร และสายฝนยังตกลงมาจากอากาศ ความ พร่องหรือความเต็มของมหาสมุทรย่อมไม่ปรากฏเพราะเหตุนั้น ภิกษุจำนวน มากก็เหมือนกัน ถ้าแม้ยังปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ความพร่อง หรือความเต็มของนิพพานธาตุย่อมไม่ปรากฏ เพราะเหตุนั้น ข้อที่ภิกษุจำนวน มาก ถ้าแม้ยังปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ความพร่องหรือความ เต็มของนิพพานธาตุย่อมไม่ปรากฏ เพราะเหตุนั้น แม้นี้ก็เป็นความอัศจรรย์ ไม่เคยมีในธรรมวินัยนี้ เป็นข้อที่ ๕ ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้ว พากันชื่นชม ในธรรมวินัยนี้.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 405

[๔๖๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนมหาสมุทรมีรสเค็มรส เดียว ธรรมวินัยนี้ก็เหมือนกัน มีวิมุตติรส รสเดียว ข้อที่ธรรมวินัยนี้มีวิมุตติ รส รสเดียว แม้นี้ก็เป็นความอัศจรรย์ไม่เคยมีในธรรมวินัยนี้ เป็นข้อที่ ๖ ที่ ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้ว พากันชื่นชมในธรรมวินัยนี้.

[๔๖๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนมหาสมุทรมีรัตนะมาก มีรัตนะมิใช่นิดเดียว รัตนะในมหาสมุทรนั้นเหล่านี้ คือ แก้วมุกดา แก้ว มณี แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา แก้วประพาฬ เงิน ทอง ทับทิม มรกต ธรรมวินัยนี้ก็เหมือนกัน มีรัตนะมาก มีรัตนะมิใช่อย่างเดียว รัตนะในธรรม วินัยนั้นเหล่านั้น คือ สติปัฎฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ ข้อที่ธรรมวินัยนี่ มีรัตนะมาก มีรัตนะมิใช่อย่างเดียว รัตนะในธรรมวินัยนั้นเหล่านั้น คือ สติปัฏฐาน ๔ ... อริยมรรคมีองค์ ๘ แม้นี้ก็เป็นความอัศจรรย์ ไม่เคยมีในธรรมวินัยนี้ เป็น ข้อที่ ๗ ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วพากันชื่นชมในธรรมวินัยนี้.

[๔๖๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนมหาสมุทรเป็นที่อยู่อาศัย ของสัตว์ใหญ่ๆ สัตว์ใหญ่ๆ ในมหาสมุทรนั้นเหล่านี้ คือ ปลาติมิ..อสูร นาค คนธรรพ์ มีอยู่ในมหาสมุทร มีลำตัวตั้งร้อยโยชน์ก็มี สองร้อยโยชน์ ก็มี สามร้อยโยชน์ก็มี สี่ร้อยโยชน์ก็มี ห้าร้อยโยชน์ก็มี ธรรมวินัยนี้ก็เหมือน กัน เป็นที่อยู่อาศัยของคนใหญ่ๆ คนใหญ่ๆ ในวินัยนั้นเหล่านี้ คือ โสดาบัน ผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามี ผู้ปฏิบัติเพื่อทำ ให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล อนาคามี ผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล อรหันต์ ผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นอรหันต์ ข้อที่ธรรมวินัยนี้เป็นที่อยู่อาศัยของคนใหญ่ คนใหญ่ๆ ในธรรมวินัยนั้นเหล่านี้ คือ โสดาบัน ... ผู้ปฏิบัติเพื่อความ

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 406

เป็นอรหันต์ แม้นี้ก็เป็นความอัศจรรย์ไม่เคยมี ในธรรมวินัยนี้ เป็นข้อที่ ๘ ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วพากันชื่นชมในธรรมวินัยนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความอัศจรรย์ไม่เคยมีในธรรมวินัยนี้ ๘ ประการ นี้แล ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วพากันชื่นชมในธรรมวินัยนี้.

[๔๖๕] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเรื่องนั้นแล้ว ทรง เปล่งอุทานในเวลานั้น ว่าดังนี้

อุทานคาถา

สิ่งที่ปิดไว้ ย่อมรั่วได้ สิ่งที่เปิด ย่อม ไม่รั่ว เพราะฉะนั้น จงเปิดสิ่งที่ปิด เช่นนี้ สิ่งที่เปิดนั้นจักไม่รั่ว.

[๔๖๖] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ตั้งแต่บัดนี้ไป เราจักไม่ทำอุโบสถ จักไม่แสดงปาติโมกข์ ตั้งแต่บัดนี้ไปพวกเธอพึงทำอุโบสถ พึงสวดปาติโมกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ตถาคตจะพึงทำอุโบสถ แสดงปาติโมกข์ในบริษัทผู้ไม่บริสุทธิ์ นั้นไม่ใช่ ฐานะ ไม่ใช่โอกาส ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุมีอาบัติ ไม่พึงฟังปาติโมกข์ รูปใดฟังต้องอาบัติทุกกฏ เราอนุญาตให้งดปาติโมกข์ แก่ภิกษุผู้มีอาบัติติด ตัวฟังปาติโมกข์.

วิธีงดปาติโมกข์

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพึงงดอย่างนี้ เมื่อถึงวันอุโบสถ ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำ เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ พึงประกาศในท่ามกลางสงฆ์ว่า

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลมีชื่อนี้ มีอาบัติติดตัว ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่เธอ เมื่อเธออยู่พร้อมหน้าสงฆ์ ไม่พึงสวดปาติโมกข์ ดังนี้ ปาติโมกข์เป็นอันงดแล้ว.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 407

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๔๖๗] โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์ปรึกษากันว่า ใครๆ ไม่รู้ พวกเรา เป็นผู้มีอาบัติติดตัว ฟังปาติโมกข์อยู่ พระเถระผู้รู้วารจิตของผู้อื่น บอกแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลาย พระฉัพพัคคีย์มีชื่อนี้ และมีชื่อนี้ ปรึกษากันว่า ใครๆ ไม่รู้จักพวกเราเป็นผู้มีอาบัติติดตัว ฟังปาติโมกข์อยู่ พระฉัพพัคคีย์ได้ยินเรื่องราวว่า พระเถระนี้รู้วารจิตของผู้อื่น บอกพวกเราแก่ ภิกษุทั้งหลายว่า พระฉัพพัคคีย์มีชื่อนี้ และมีชื่อนี้ ปรึกษากันว่า ใครๆ ไม่รู้ พวกเราเป็นผู้มีอาบัติติดตัว ฟังปาติโมกข์อยู่ พวกเธอจึงปรึกษากันว่า ภิกษุ ทั้งหลายผู้มีศีลเป็นที่รักจะงดปาติโมกข์แก่พวกเราก่อน จึงรีบงดปาติโมกข์แก่ ภิกษุผู้บริสุทธิ์ ไม่มีอาบัติในเพราะเรื่องอันไม่สมควร ในเพราะเหตุอันไม่ สมควร บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา ว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้งดปาติโมกข์แก่ภิกษุผู้บริสุทธิ์ ไม่มีอาบัติ ใน เพราะเหตุอันไม่สมควรเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ... ทรงสอบถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์งดปาติโมกข์แก่ภิกษุผู้บริสุทธิ์ ไม่มีอาบัติ ในเพราะเรื่องอันไม่ สมควร ในเพราะเหตุอันไม่สมควร จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงงดปาติโมกข์แก่ภิกษุทั้งหลายที่บริสุทธิ์ ไม่มีอาบัติในเพราะเรื่องอันไม่สมควร ในเพราะเหตุอันไม่สมควร รูปใดงด ต้องอาบัติทุกกฏ

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 408

การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรมและเป็นธรรม

[๔๖๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การงดปาติโมกข์ ไม่เป็นธรรมมีมูล ๑ เป็นธรรม มีมูล ๑

การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรมมีมูล ๒ เป็นธรรมมีมูล ๒

การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรมมีมูล ๓ เป็นธรรมมีมูล ๓

การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรมมีมูล ๔ เป็นธรรมมีมูล ๔

การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรมมีมูล ๕ เป็นธรรมมีมูล ๕

การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรมมีมูล ๖ เป็นธรรมมีมูล ๖

การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรมมีมูล ๗ เป็นธรรมมีมูล ๗

การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรมมีมูล ๘ เป็นธรรมมีมูล ๘

การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรมมีมูล ๙ เป็นธรรมมีมูล ๙

การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรมมีมูล ๑๐ เป็นธรรมมีมูล ๑๐.

[๔๖๙] การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มีมูล ๑ เป็นไฉน ภิกษุงด เว้นปาติโมกข์ เพราะศีลวิบัติอันไม่มีมูล.

นี้การงดปาติโมกข์ ไม่เป็นธรรม มีมูล ๑.

[๔๗๐] การงดปาติโมกข์เป็นธรรม มีมูล ๑ เป็นไฉน ภิกษุงด ปาติโมกข์ เพราะศีลวิบัติมีมูล.

นี้การงดปาติโมกข์ เป็นธรรม มีมูล ๑.

[๔๗๑] การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มีมูล ๒ เป็นไฉน ภิกษุงด ปาติโมกข์

๑. เพราะศีลวิบัติไม่มีมูล

๒. เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูล

นี้การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มีมูล ๒.

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 409

[๔๗๒] การงดปาติโมกข์เป็นธรรม มีมูล ๒ เป็นไฉน ภิกษุงด ปาติโมกข์

๑. เพราะศีลวิบัติมีมูล

๒. เพราะอาจารวิบัติมีมูล

นี้การงดปาติโมกข์เป็นธรรม มีมูล ๒.

[๔๗๓] การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มีมูล ๓ เป็นไฉน ภิกษุงด ปาติโมกข์

๑. เพราะศีลวิบัติไม่มีมูล

๒. เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูล

๓. เพราะทิฏฐิวิบัติไม่มีมูล

นี้การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มีมูล ๓.

[๔๗๔] การงดปาติโมกข์เป็นธรรม มีมูล ๓ เป็นไฉน ภิกษุงด ปาติโมกข์

๑. เพราะศีลวิบัติมีมูล

๒. เพราะอาจารวิบัติมีมูล

๓. เพราะทิฏฐิวิบัติมีมูล

นี้การงดปาติโมกข์เป็นธรรม มีมูล ๓.

[๔๗๕] การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มีมูล เป็นไฉน ภิกษุงด ปาติโมกข์

๑. เพราะศีลวิบัติไม่มีมูล

๒. เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูล

๓. เพราะทิฏฐิวิบัติไม่มีมูล

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 410

๔. เพราะอาชีววิบัติไม่มีมูล

นี้การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มีมูล ๔.

[๔๗๖] การงดปาติโมกข์เป็นธรรม มีมูล ๔ เป็นไฉน ภิกษุงด ปาติโมกข์

๑. เพราะศีลวิบัติมีมูล

๒. เพราะอาจารวิบัติมีมูล

๓. เพราะทิฏฐิวิบัติมีมูล

๔. เพราะอาชีววิบัติมีมูล

นี้การงดปาติโมกข์เป็นธรรม มีมูล ๔.

[๔๗๗] การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มีมูล ๕ เป็นไฉน ภิกษุงด ปาติโมกข์

๑. เพราะปาราชิกไม่มีมูล

๒. เพราะสังฆาทิเสสไม่มีมูล

๓. เพราะปาจิตตีย์ไม่มีมูล

๔. เพราะปาฏิเทสนียะไม่มีมูล

๕. เพราะทุกกฎไม่มีมูล

นี้การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มีมูล ๕.

[๔๗๘] การงดปาติโมกข์เป็นธรรม มีมูล ๕ เป็นไฉน ภิกษุงด ปาติโมกข์

๑. เพราะปาราชิกมีมูล

๒. เพราะสังฆาทิเสสมีมูล

๓. เพราะปาจิตตีย์มีมูล

๔. เพราะปาฏิเทสนียะมีมูล

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 411

๕. เพราะทุกกฏมีมูล

นี้การงดปาติโมกข์ มีมูล ๕.

[๔๗๙] การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มีมูล ๖ เป็นไฉน ภิกษุงด ปาติโมกข์

๑. เพราะศีลวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ

๒. เพราะศีลวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุทำ

๓. เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ

๔. เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุทำ

๕. เพราะทิฏฐิวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ

๖. เพราะทิฏฐิวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุทำ

นี้การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มีมูล ๒.

[๔๘๑] การงดปาติโมกข์เป็นธรรม มีมูล ๖ เป็นไฉน ภิกษุงด ปาติโมกข์

๑. เพราะศีลวิบัติมีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ

๒. เพราะศีลวิบัติมีมูล ที่ภิกษุทำ

๓. เพราะอาจารวิบัติมีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ

๔. เพราะอาจารวิบัติมีมูล ที่ภิกษุทำ

๕. เพราะทิฏฐิวิบัติมีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ

๖. เพราะทิฏฐิวิบัติมีมูล ที่ภิกษุทำ

นี้การงดปาติโมกข์เป็นธรรม มีมูล ๒.

[๔๘๑] การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มีมูล ๗ เป็นไฉน ภิกษุงด ปาติโมกข์

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 412

๑. เพราะปาราชิกไม่มีมูล

๒. เพราะสังฆาทิเสสไม่มีมูล

๓. เพราะถุลลัจจัยไม่มีมูล

๔. เพราะปาจิตตีย์ไม่มีมูล

๕. เพราะปาฏิเทสนียะไม่มีมูล

๖. เพราะทุกกฏไม่มีมูล

๗. เพราะทุพภาสิตไม่มีมูล

นี้การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มีมูล ๗.

[๔๘๒] การงดปาติโมกข์เป็นธรรม มีมูล ๗ เป็นไฉน ภิกษุงด ปาติโมกข์

๑. เพราะปาราชิกมีมูล

๒. เพราะสังฆาทิเสสมีมูล

๓. เพราะถุลลัจจัยมีมูล

๔. เพราะปาจิตตีย์มีมูล

๕. เพราะปาฏิเทสนียะมีมูล

๖. เพราะทุกกฏมีมูล

๗. เพราะทุพภาสิตมีมูล

นี้การงดปาติโมกข์เป็นธรรม มีมูล ๗.

[๔๘๓] การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มีมูล ๘ เป็นไฉน ภิกษุงด ปาติโมกข์

๑. เพราะศีลวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ

๒. เพราะศีลวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุทำ

๓. เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 413

๔. เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุทำ

๕. เพราะทิฎฐิวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ

๖. เพราะทิฏฐิวิวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุทำ

๗. เพราะอาชีววิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ

๘. เพราะอาชีววิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุทำ

นี้การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มีมูล ๘.

[๔๘๔] การงดปาติโมกข์เป็นธรรม มีมูล ๘ เป็นไฉน ภิกษุงด ปาติโมกข์

๑. เพราะศีลวิบัติมีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ

๒. เพราะศีลวิบัติมีมูล ที่ภิกษุทำ

๓. เพราะอาจารวิบัติมีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ

๔. เพราะอาจารวิบัติมีมูล ที่ภิกษุทำ

๕. เพราะทิฏฐิวิบีจิมีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ

๖. เพราะทิฏฐิวิบัติมีมูล ที่ภิกษุทำ

๗. เพราะอาชีววิบัติมีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ

๘. เพราะอาชีววิบัติมีมูล ที่ภิกษุทำ

นี้การงดปาติโมกข์เป็นธรรม มีมูล ๘.

[๘๘๕] การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มีมูล ๙ เป็นไฉน ภิกษุงด ปาติโมกข์

๑. เพราะศีวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ

๒. เพราะศีลวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุทำ

๓. เพราะศีลวิบัติไม่มีมูล ทั้งที่ภิกษุทำและมิได้ทำ

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 414

๔. เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ

๕. เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุทำ

๖. เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูล ทั้งที่ภิกษุทำและมิได้ทำ

๗. เพราะทิฏฐิวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ

๘. เพราะทิฏฐิวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุทำ

๙. เพราะทิฏฐิวิบัติไม่มีมูล ทั้งที่ภิกษุทำและมิได้ทำ

นี้การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มีมูล ๙.

[๔๘๖] การงดปาติโมกข์เป็นธรรม มีมูล ๙ เป็นไฉน ภิกษุงด ปาติโมกข์

๑. เพราะศีลวิบัติมีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ

๒. เพราะศีลวิบัติมีมูล ที่ภิกษุทำ

๓. เพราะศีลวิบัติมีมูล ทั้งที่ภิกษุทำและมิได้ทำ

๔. เพราะอาจารวิบัติมีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ

๕. เพราะอาจารวิบัติมีมูล ที่ภิกษุทำ

๖. เพราะอาจารวิบัติมีมูล ทั้งที่ภิกษุทำและมิได้ทำ

๗. เพราะทิฎฐิวิบัติมีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ

๘. เพราะทิฎฐิวิบัติมีมูล ที่ภิกษุทำ

๙. เพราะทิฏฐิวิบัติมีมูล ทั้งที่ภิกษุทำและมิได้ทำ

นี้การงดปาติโมกข์เป็นธรรม มีมูล ๙.

[๔๘๗] การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มีมูล ๑๐ เป็นไฉน

๑. ภิกษุผู้ต้องอาบัติปาราชิก ไม่ได้นั่งอยู่ในบริษัทนั้น

๒. กถาปรารภผู้ต้องอาบัติปาราชิกมิได้ค้างอยู่

๓. ภิกษุผู้บอกลาสิกขาไม่ได้นั่งอยู่ในบริษัทนั้น

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 415

๔. กถาปรารภภิกษุผู้บอกลาสิกขามิได้ค้างอยู่

๕. ภิกษุร่วมสามัคคีที่เป็นธรรม

๖. ไม่ค้านสามัคคีที่เป็นธรรม

๗. กถาปรารภการค้านสามัคคีที่เป็นธรรมมิได้ค้างอยู่

๘. ไม่มีภิกษุที่มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจด้วยศีลวิบัติ

๙. ไม่มีภิกษุที่มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจด้วยอาจารวิบัติ

๑๐. ไม่มีภิกษุที่มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจด้วยทิฏฐิวิบัติ

นี้การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มีมูล ๑๐.

[๔๘๘] การงดปาติโมกข์เป็นธรรม มีมูล ๑๐ เป็นไฉน

๑. ภิกษุผู้ต้องอาบัติปาราชิกนั่งอยู่ในบริษัทนั้น

๒. กถาปรารภภิกษุผู้ต้องอาบัติปาราชิกค้างอยู่

๓. ภิกษุผู้บอกลาสิกขานั่งอยู่ในบริษัทนั้น

๔. กถาปรารภภิกษุผู้บอกลาสิกขาค้างอยู่

๕. ภิกษุไม่ร่วมสามัคคีที่เป็นธรรม

๖. ค้านสามัคคีที่เป็นธรรม

๗. กถาปรารภการค้านสามัคคีที่เป็นธรรมค้างอยู่

๘. มีภิกษุที่มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจด้วยศีลวิบัติ

๙. มีภิกษุที่มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจด้วยอาจารวิบัติ

๑๐. มีภิกษุที่มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจด้วยทิฏฐิวิบัติ

นี้การงดปาติโมกข์ มีมูล ๑๐.

[๔๘๙] อย่างไร ภิกษุผู้ต้องอาบัติปาราชิกชื่อว่านั่งอยู่ในบริษัทนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้ การต้องอาบัติปาราชิกย่อมมี ด้วยอาการ ด้วยเพศ ด้วยนิมิตเหล่าใด ภิกษุเห็นภิกษุต้องอาบัติปาราชิก ด้วยอาการ

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 416

ด้วยเพศ ด้วยนิมิตเหล่านี้นั้น ก็ภิกษุไม่เคยเห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติปาราชิกเลย แต่ภิกษุอื่นบอกแก่ภิกษุว่า ท่านภิกษุมีชื่อนี้ไม่ต้องปาราชิก ก็ภิกษุไม่เคย เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติปาราชิกเลย แม้ภิกษุอื่นก็มิได้บอกแก่ภิกษุว่า ท่านภิกษุมี ชื่อนี้ต้องอาบัติปาราชิก แก่ภิกษุนั้นแหละบอกแก่ภิกษุว่า ท่าน ผมต้องอาบัติ ปาราชิก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ ครั้นถึงวันอุโบสถ ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำ เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ พึงประกาศในท่ามกลางสงฆ์ ด้วย ได้เห็น ด้วยได้ยิน ด้วยรังเกียจนั้นว่า

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลมีชื่อนี้ต้องอาบัติปาราชิก ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่เธอ เมื่อเธอยังอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ไม่พึงสวดปาติโมกข์ ดังนี้ การงดปาติโมกข์เป็นธรรม.

[๔๙๐] เมื่องดปาติโมกข์แก่ภิกษุแล้ว บริษัทเลิกประชุมเพราะอันตราย ๑๐ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ :-

๑. อันตรายแต่พระราชา

๒. อันตรายแต่โจร

๓. อันตรายแต่ไฟ

๔. อันตรายแต่น้ำ

๕. อันตรายแต่มนุษย์

๖. อันตรายแต่อมนุษย์.

๗. อันตรายแต่สัตว์ร้าย

๘. อันตรายแต่สัตว์เลื้อยคลาน

๙. อันตรายต่อชีวิต

๑๐. อันตรายต่อพรหมจรรย์

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 417

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ใน อาวาสนั้นหรือในอาวาสอื่น พึงประกาศในท่ามกลางสงฆ์ว่า

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า กถาปรารภอาบัติปาราชิกของบุคคล มีชื่อนี้ยังค้างอยู่ เรื่องนั้นยังมิได้วินิจฉัย ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงวินิจฉัยเรื่องนั้น

ถ้าได้การวินิจฉัยนั้นอย่างนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ ครั้นถึงวัน อุโบสถ ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำ เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ พึงประกาศ ในท่ามกลางสงฆ์ว่า

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า กถาปรารภอาบัติปาราชิกของบุคคล มีชื่อนี้ยังค้างอยู่ เรื่องนั้นยังมิได้วินิจฉัย ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่เธอ เมื่อเธอ ยังอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ ไม่พึงสวดปาติโมกข์ ดังนี้ การงดปาติโมกข์เป็นธรรม.

[๔๙๑] อย่างไร ภิกษุผู้บอกลาสิกขา ชื่อว่านั่งอยู่ในบริษัทนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บอกลาสิกขาด้วยอาการ ด้วยเพศ ด้วยนิมิตรเหล่าใด ภิกษุเห็นภิกษุบอกลาสิกขาด้วยอาการ ด้วยเพศ ด้วยนิมิต เหล่านั้น ก็ภิกษุไม่เคยเห็นภิกษุผู้บอกลาสิกขาเลย แต่ภิกษุบอกแก้ภิกษุว่า ท่าน ภิกษุมีชื่อนี้บอกลาสิกขา ก็ภิกษุไม่เคยเห็นภิกษุผู้บอกลาสิกขาเลย แม้ภิกษุอื่น ก็ไม่เคยบอกแก่ภิกษุว่า ท่าน ภิกษุรูปนี้บอกลาสิกขา แต่ภิกษุนั้นแหละบอก แก่ภิกษุว่า ท่าน ผมบอกลาสิกขาแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ ครั้น ถึงวันอุโบสถ ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำ เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ พึงประกาศในท่ามกลางสงฆ์ ด้วยได้เห็น ด้วยได้ยิน ด้วยรังเกียจนั้นว่า

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลมีชื่อนี้ บอกลาสิกขาแล้ว ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่เธอ เมื่อเธอยังอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ ไม่พึงสวดปติโมกข์ ดังนี้ การงดปาติโมกข์เป็นธรรม.

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 418

[๔๙๒] เมื่องดปาติโมกข์แก่ภิกษุแล้ว บริษัทเลิกประชุมเพราะอันตราย ๑๐ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อันตรายแต่พระราชา ... อันตรายต่อพรหมจรรย์ ดูก่อนทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ ใน อาวาสนั้น หรือในอาวาสอื่น พึงประกาศในท่ามกลางสงฆ์ว่า

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า กถาปรารภการบอกลาสิกขา ของ บุคคลมีชื่อนี้ยังค้างอยู่ เรื่องนั้นยังไม่ได้วินิจฉัย ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงวินิจฉัยเรื่องนั้น

ถ้าได้การวินิจฉัยนั้นอย่างนี้ นั้นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ ครั้นถึงวัน อุโบสถ ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำ เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ พึงประกาศใน ท่ามกลางสงฆ์ว่า

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า กถาปรารภการบอกลาสิกขา ของ บุคคลมีชื่อนี้ยังค้างอยู่ เรื่องนั้นยังมิได้วินิจฉัย ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่เธอ เมื่อ เธอยังอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ ไม่พึงสวดปาติโมกข์ ดังนี้ การงดปาติโมกข์เป็นธรรม.

[๔๙๓] อย่างไร ภิกษุชื่อว่าไม่ร่วมสามัคคีที่เป็นธรรม ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ก็ในธรรมวินัยนี้ การไม่ร่วมสามัคคีที่เป็นธรรม ย่อมมีด้วยอาการ ด้วยเพศ ด้วยนิมิตเหล่าใด ภิกษุเห็นภิกษุไม่ร่วมสามัคคีที่เป็นธรรม ด้วยอาการ ด้วยเพศ ด้วยนิมิตเหล่านั้น ก็ภิกษุไม่เคยเห็นภิกษุผู้ไม่ร่วมสามัคคีที่เป็นธรรม เลย แต่ภิกษุอื่นบอกแก่ภิกษุว่า ท่าน ภิกษุมีชื่อนี้ไม่ร่วมสามัคคีที่เป็นธรรม ก็ภิกษุไม่เคยเห็นภิกษุผู้ไม่ร่วมสามัคคีที่เป็นธรรมเลย แม้ภิกษุอื่นก็มิได้บอก แก่ภิกษุว่า ท่านภิกษุมีชื่อนี้ไม่ร่วมสามัคคีที่เป็นธรรมเลย แต่ภิกษุนั่นแหละบอก แก่ภิกษุว่า ท่าน ผมไม่ร่วมสามัคคีที่เป็นธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวัง อยู่ ครั้นถึงวันอุโบสถ ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำ เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ พึงประกาศในท่ามกลางสงฆ์ด้วยได้เห็น ด้วยได้ยิน ด้วยรังเกียจนั้นว่า

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 419

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลมีชื่อนี้ไม่ร่วมสามัคคีที่เป็น ธรรม ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่เธอ เมื่อเธออยู่พร้อมหน้าสงฆ์ ไม่พึงสวดปาติ- โมกข์ดังนี้ การงดปาติโมกข์ เป็นธรรม.

[๔๙๔] อย่างไร ภิกษุชื่อว่าค้านสามัคคีที่เป็นธรรม ดูก่อนภิกษุทั้ง หลาย ในธรรมวินัยนี้ การค้านสามัคคีที่เป็นธรรม ย่อมมีด้วยอาการ ด้วยเพศ ด้วยนิมิตเหล่าใด ภิกษุเห็นภิกษุผู้ค้านสามัคคีที่เป็นธรรม ด้วยอาการ ด้วยเพศ ด้วยนิมิตเหล่านั้น ก็ภิกษุไม่เคยเห็นภิกษุผู้ค้านสามัคคีที่เป็นธรรมเลย แต่ภิกษุ อื่นบอกแก่ภิกษุว่า ท่าน ภิกษุมีชื่อนี้ค้านสามัคคีที่เป็นธรรม ภิกษุมิได้เห็น ภิกษุผู้ค้านสามัคคีที่เป็นธรรมเลย แม้ภิกษุอื่นก็มิได้บอกแก่ภิกษุว่า ท่าน ภิกษุ มีชื่อนี้ค้านสามัคคีที่เป็นธรรม แต่ภิกษุนั้นแหละบอกแก่ภิกษุว่า ท่าน ผมค้าน สามัคคีที่เป็นธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ ครั้นถึงวันอุโบสถ ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำ เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ พึงประกาศในท่ามกลาง สงฆ์ ด้วยได้เห็น ด้วยได้ยิน ด้วยรังเกียจนั้นว่า

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลมีชื่อนี้ค้านสามัคคีที่ที่เป็น ธรรม ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่เธอ เมื่อเธออยู่พร้อมหน้าสงฆ์ ไม่พึงสวดปาติ- โมกข์ ดังนี้ การงดปาติโมกข์เป็นธรรม.

[๔๙๕] ่ เมื่องดปาติโมกข์แล้ว บริษัทเลิกประชุม เพราะอันตราย ๑๐ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อันตรายแต่พระราชา ... อันตรายต่อพรหมจรรย์ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ ในอาวาสนั้น หรือในอาวาสอื่น พึงประกาศในท่ามกลางสงฆ์ว่า

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า กถาปรารภการค้านสามัคคีที่เป็น ธรรมของบุคคลมีชื่อนี้ยังค้างอยู่ เรื่องนั้นยังมิได้วินิจฉัย ถ้าความพร้อมพรั่ง ของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงวินิจฉัยเรื่องนั้น

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 420

ถ้าได้การวินิจฉัยนั้นอย่างนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ ครั้นถึงวัน อุโบสถ ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำ เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ พึงประกาศใน ท่ามกลางสงฆ์ว่า

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า กถาปรารภการค้านสามัคคีที่เป็น ธรรมของบุคคลมีชื่อนี้ยังค้างอยู่ เรื่องนั้นยังไม่ได้วินิจฉัย ข้าพเจ้างดปาติโมกข์ แก่เธอ เมื่อเธออยู่พร้อมหน้าสงฆ์ ไม่พึงสวดปาติโมกข์ ดังนี้ การงดปาติโมกข์ เป็นธรรม.

[๔๙๖] อย่างไร ภิกษุชื่อว่ามีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจ ด้วย ศีลวิบัติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และ รังเกียจ ด้วยศีลวิบัติ ด้วยอาการ ด้วยเพศ ด้วยนิมิตเหล่าใด ภิกษุเห็นภิกษุ ที่มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจ ด้วยศีลวิบัติ ด้วยอาการ ด้วยเพศ ด้วย นิมิตเหล่านั้น ก็ภิกษุไม่เคยเห็นภิกษุที่มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจ ด้วย ศีลวิบัติเลย แต่ภิกษุอื่นบอกแก่ภิกษุว่า ท่าน ภิกษุมีชื่อนี้ มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจ ด้วยศีลวิบัติ ก็ภิกษุไม่เคยเห็นภิกษุที่มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และ รังเกียจ ด้วยศีลวิบัติเลย แม้ภิกษุอื่นก็มิได้บอกแก่ภิกษุว่า ท่าน ภิกษุมีชื่อนี้ มีผู้ได้เห็น และรังเกียจ ด้วยศีลวิบัติ แต่ภิกษุนั่นแหละบอกแก่ภิกษุว่า ท่าน ผมมีผู้ที่ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจ ด้วยศีลวิบัติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวัง อยู่ ครั้นถึงวันอุโบสถ ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำ เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ พึงประกาศในท่ามกลางสงฆ์ ด้วยได้เห็น ด้วยได้ยิน ด้วยรังเกียจนั้นว่า

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลมีชื่อนี้มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และ รังเกียจ ด้วยศีลวิบัติ ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่เธอ เมื่อเธออยู่พร้อมหน้าสงฆ์ ไม่พึงสวดปาติโมกข์ ดังนี้ การงดปาติโมกข์เป็นธรรม.

[๔๙๗] อย่างไร ภิกษุชื่อว่ามีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจ ด้วย อาจารวิบัติ ก่อนดูภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีผู้ได้เห็น ได้ยิน

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 421

และรังเกียจ ด้วยอาจารวิบัติ ด้วยอาการ ด้วยเพศ ด้วยนิมิตเหล่าใด ภิกษุ เห็นภิกษุที่มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจ ด้วยอาจารวิบัติ ด้วยอาการ ด้วย เพศ ด้วยนิมิตเหล่านั้น ก็ภิกษุไม่เคยเห็นภิกษุที่มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจ ด้วยอาจารวิบัติ แต่ภิกษุอื่นบอกแก่ภิกษุว่า ท่าน ภิกษุมีชื่อนี้ มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจ ด้วยอาจารวิบัติ ก็ภิกษุไม่เคยเห็นภิกษุที่มีผู้ได้เห็น ได้ ยิน และรังเกียจ ด้วยอาจารวิบัติเลย แม้ภิกษุอื่นก็มิได้บอกแก่ภิกษุว่า ภิกษุ มีชื่อนี้มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจ ด้วยอาจารวิบัติ แต่ภิกษุนั้นแหละ บอกแก่ภิกษุว่า ท่าน ผู้มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจ ด้วยอาจารวิบัติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ ครั้งถึงอุโบสถ ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำ เมื่อ บุคลนั้น อยู่พร้อมหน้าสงสงฆ์ พึงประกาศในท่ามกลางสงฆ์ด้วยได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจว่า

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลมีชื่อนี้มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และ รังเกียจด้วยอาจารวิบัติ ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่เธอ เมื่อเธออยู่พร้อมหน้าสงฆ์ ไม่พึงสวดปาติโมกข์ ดังนี้ การงดปาติโมกข์เป็นธรรม.

[๔๙๘] อย่างไร ภิกษุชื่อว่ามีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจ ด้วย ทิฏฐิวิบัติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และ รังเกียจด้วยทิฏฐิวิบัติ ด้วยอาการ ด้วยเพศ ด้วยนิมิตเหล่าใด ภิกษุที่มีผู้ได้ เห็นได้ยิน และรังเกียจด้วยทิฏฐิวิบัติ ด้วยอาการ ด้วยนิมิตเหล่านั้น ก็ภิกษุ ไม่เคยเห็นภิกษุที่มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจด้วยทิฏฐิวิบัติ แต่ภิกษุอื่นบอก แก่ภิกษุว่า ท่าน ภิกษุมีชื่อนี้ มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจด้วยทิฏฐิวิบัติ ก็ภิกษุไม่เคยเห็นภิกษุที่มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจด้วยทิฏฐิวิบัติเลย แม้ ภิกษุอื่นก็ไม่ได้บอกแก่ภิกษุว่า ท่าน ภิกษุมีชื่อนี้ ผู้ได้เห็น ได้ยิน และ

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 422

รังเกียจด้วยทิฏฐิวิบัติ แต่ภิกษุนั้นแหละบอกแก่ภิกษุว่า ท่าน ผมมีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจด้วยทิฏฐิวิติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ ครั้นถึง วันอุโบสถ ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำ เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ พึงประกาศ ในท่ามกลางสงฆ์ด้วยได้เห็น ด้วยได้ยิน ด้วยรังเกียจนั้นว่า

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลมีชื่อนี้ มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจด้วยทิฏฐิวิบัติ ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่เธอ เมื่อเธออยู่พร้อมหน้า สงฆ์ไม่พึงสวดปาติโมกข์ ดังนี้ การงดปาติโมกข์เป็นธรรม

การงดปาติโมกข์เป็นธรรม ๑๐ ประการ นี้แล.

ภาณวาร ที่ ๑ จบ

พระอุบาลีทูลถามอธิกรณ์

[๔๙๙] ครั้งนั้น ท่านพระอุบาลีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวาย บังคมนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้ ปรารถนาจะรับอธิกรณ์ที่ตนรับ พึงรับอธิกรณ์ที่ประกอบด้วยองค์เท่าไร

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ปรารถนาจะรับอธิกรณ์ พึงรับอธิกรณ์ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ:-

๑. ภิกษุผู้ปรารถนาจะรับอธิกรณ์ พึงพิจารณาอย่างนี้ว่า เราปรารถนา จะรับอธิกรณ์นี้ เป็นกาลสมควรหรือไม่ที่จะรับ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ ว่าเป็นกาลไม่ควรที่จะรับอธิกรณ์ นี้หาใช่เป็นกาลสมควรไม่ อธิกรณ์นั้น ภิกษุ ไม่พึงรับ

๒. ก็ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า นี้เป็นกาลควรที่จะรับอธิกรณ์ นี้ หาใช่กาลไม่สมควรไม่ ภิกษุนั้นพึงพิจารณาต่อไปว่า ที่เราปรารถนาจะรับ

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 423

อธิกรณ์นี้ อธิกรณ์นี้เป็นเรื่องจริงหรือไม่ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า อธิกรณ์นี้เป็นเรื่องไม่จริง หาใช่เป็นเรื่องจริงไม่ อธิกรณ์นั้น ภิกษุไม่พึงรับ

๓. ก็ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า อธิกรณ์นี้เป็นเรื่องจริง หา ใช่เป็นเรื่องไม่จริงไม่ ภิกษุนั้นพึงพิจารณาต่อไปว่า เราปรารถนาจะรับอธิกรณ์ นี้ อธิกรณ์นี้ประกอบด้วยประโยชน์หรือไม่ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า อธิกรณ์นี้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ หาใช่ประกอบด้วยประโยชน์ไม่ ภิกษุ ไม่พึงรับ

๔. ก็ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า อธิกรณ์นี้ประกอบด้วยประโยชน์ หาใช่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ไม่ ภิกษุนั้นพึงพิจารณาต่อไปว่า เมื่อ เรารับอธิกรณ์นี้ไว้ จักได้ภิกษุผู้เคยเห็นกัน เคยคบกัน เป็นฝ่ายโดยธรรม โดยวินัยหรือไม่ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เมื่อเรารับอธิกรณ์นี้ไว้ จัก ไม่ได้ภิกษุผู้เคยเห็นกัน เคยคบกัน เป็นฝ่ายโดยธรรมโดยวินัย อธิกรณ์นั้น ภิกษุไม่พึงรับ

๕. ก็ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เมื่อเรารับอธิกรณ์นี้ไว้ จัก ได้ภิกษุผู้เคยเห็นกัน เคยคบกัน เป็นฝ่ายโดยธรรมโดยวินัย ภิกษุนั้นพึง พิจารณาต่อไปว่า เมื่อเรารับอธิกรณ์นี้ไว้ ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาท ความแตกแห่งสงฆ์ ความร้าวรานแห่งสงฆ์ ความ ถือต่างแห่งสงฆ์ การกระทำต่างแห่งสงฆ์ ซึ่งมีการนั้นเป็นเหตุ จักมีแก่สงฆ์ หรือไม่ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เมื่อเรารับอธิกรณ์นี้ไว้ ความบาด หมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาท ความแตกแห่งสงฆ์ ความ ร้าวรานแห่งสงฆ์ ความถือต่างแห่งสงฆ์ การกระทำต่างแห่งสงฆ์ ซึ่งมีการนั้น เป็นเหตุจักมีแก่สงฆ์ อธิกรณ์นั้น ภิกษุไม่พึงรับ

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 424

ก็ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เมื่อเรารับอธิกรณ์นี้ไว้ ความบาด หมาง. ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาท ความแตกแห่งสงฆ์ ความ ร้าวรานแห่งสงฆ์ ความถือต่างแห่งสงฆ์ การกระทำต่างแห่งสงฆ์ ซึ่งมีการนั้น เป็นเหตุ จักไม่มีแก่สงฆ์ อธิกรณ์นั้น ภิกษุพึงรับ

อุบาลี อธิกรณ์ที่ประกอบด้วยองค์ ๕ อย่างนี้แล ภิกษุรับไว้จักไม่ทำ ความเดือดร้อนแม้ในภายหลังแล.

ทูลถามการโจท

[๕๐๐] พระอุบาลีทูลถามว่า ภิกษุผู้โจทก์ ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาธรรมเท่าไรในตน แล้วโจทผู้อื่น พระพุทธเจ้าข้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ ปรารถนาจะ โจทผู้อื่น พึงพิจารณาธรรม ๕ ประการในตน แล้วโจทผู้อื่น ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาอย่างนี้ว่า เรามีความประพฤติ ทางกายบริสุทธิ์หรือหนอ เราประกอบด้วยความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ ไม่มี ช่อง ไม่มีตำหนิ ธรรมนี้มีแก่เราหรือไม่ ถ้าภิกษุไม่ใช่เป็นผู้มีความประพฤติ ทางกายบริสุทธิ์ ประกอบด้วยความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ ไม่มีช่อง ไม่มี ตำหนิ เธอย่อมมีผู้กล่าวว่า เชิญท่านจงศึกษาความประพฤติทางกายเสียก่อน เธอย่อมจะมีผู้กล่าวดังนี้.

[๕๐๑] ดูก่อนอุบาลี อนึ่ง ภิกษุผู้โจทก์ ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึง พิจารณาอย่างนี้ว่า เรามีความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์หรือหนอ เราประกอบ ด้วยความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ ไม่มีช่อง ไม่มีตำหนิ ธรรมนี้มีแก่เรา หรือไม่ ถ้าภิกษุไม่ใช่เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ ประกอบด้วย ความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ ไม่มีช่อง ไม่มีตำหนิ เธอย่อมจะมีผู้กล่าวว่า เชิญท่านจงศึกษาความประพฤติทางวาจาเสียก่อน เธอย่อมจะมีผู้กล่าวดังนี้.

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 425

[๕๐๒] ดูก่อนอุบาลี อนึ่ง ภิกษุผู้โจทก์ ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึง พิจารณาอย่างนี้ว่า จิตของเรามีเมตตาปรากฏ ไม่อาฆาตในสพรหมจารีทั้งหลาย หรือหนอ ธรรมนี้มีแก่เราหรือไม่ ถ้าภิกษุไม่ใช่เป็นผู้มีเมตตาจิตปรากฏ ไม่ อาฆาตในสพรหมจารีทั้งหลาย เธอย่อมจะมีผู้กล่าวว่า เชิญท่านเข้าไปตั้งเมตตา จิตในสพรหมจารีทั้งหลาย เธอย่อมจะมีผู้กล่าวดังนี้.

[๕๐๓] ดูก่อนอุบาลี อนึ่ง ภิกษุผู้โจทก์ ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึง พิจารณาอย่างนี้ว่า เราเป็นพหูสูต ทรงสุตะ เป็นที่สั่งสมสุตะหรือหนอ ธรรม เหล่านั้นใด ไพเราะในเบื้องต้น ไพเราะในท่ามกลาง ไพเราะในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง ธรรมเห็น ปานนั้น เป็นธรรมอันเราสดับมาก ทรงไว้คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดีแล้ว ด้วยปัญญาธรรมนี้มีแก่เราหรือไม่ ถ้าภิกษุไม่ใช่เป็นพหูสูต ทรงสุตะ เป็นที่ สั่งสมสุตะ ธรรมเหล่านั้นใด ไพเราะในเบื้องต้น ไพเราะในท่ามกลาง ไพเราะ ในที่สุดประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ สิ้น เชิง ธรรมเห็นปานนั้น ไม่เป็นธรรมอันเธอสดับมาก ทรงไว้คล่องปาก ขึ้น ใจ แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา เธอย่อมจะมีผู้กล่าวว่า เชิญท่านจงเล่าเรียน ปริยัติเสียก่อน เธอย่อมจะมีผู้กล่าวดังนี้.

[๕๐๔] ดูก่อนอุบาลี อนึ่ง ภิกษุผู้โจทก์ ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึง พิจารณาอย่างนี้ว่า เราจำปาติโมกข์ทั้งสองได้ดี โดยพิสดาร สวดไพเราะ คล่องแคล่ว วินิจฉัยถูกต้องโดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะหรือหนอ ธรรมนี้มี แก่เราหรือไม่ ถ้าภิกษุไม่ใช่เป็นผู้จำปาติโมกข์ทั้งสองได้ดีโดยพิสดาร สวด ไพเราะ คล่องแคล่ววินิจฉัยถูกต้องโดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะ เธอถูกถาม ว่า ท่าน ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสิกขาบทนี้ที่ไหน จะตอบไม่ได้ เธอย่อม จะมีผู้กล่าวว่า เชิญท่านเล่าเรียนวินัยเสียก่อน เธอย่อมจะมีผู้กล่าวดังนี้.

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 426

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาธรรม ๕ ประการนี้ในตน แล้วพึงโจทผู้อื่น.

[๕๐๕] พระอุบาลีทูลถามว่า พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้โจทก์ปรารถนา จะโจทผู้อื่น พึงตั้งธรรมเท่าไรไว้ในตน แล้วโจทผู้อื่น

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ปรารถนาจะโจท ผู้อื่น พึงตั้งธรรม ๕ ประการไว้ในตน แล้วโจทผู้อื่น คือ :-

๑. เราจักกล่าวโดยกาลอันควร จักไม่กล่าวโดยกาลอันไม่ควร

๒. จักกล่าวด้วยคำจริง จักไม่กล่าวด้วยคำอันไม่เป็นจริง

๓. จักกล่าวด้วยคำสุภาพ จักไม่กล่าวด้วยคำหยาบ

๔. จักกล่าวด้วยคำประกอบด้วยประโยชน์ จักไม่กล่าวด้วยคำไร้ ประโยชน์

๕. จักมีเมตตาจิตกล่าว จักไม่มุ่งร้ายกล่าว

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึงตั้งธรรม ๕ ประการนี้ไว้ในตน แล้วโจทผู้อื่น.

ผู้โจทก์โดยไม่เป็นธรรมต้องเดือดร้อน

[๕๐๖] พระอุบาลีทูลถามว่า ภิกษุผู้โจทก์โดยไม่เป็นธรรม พึงถึง ความเดือดร้อนด้วยอาการเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์โดยไม่เป็นธรรม พึงถึงความเดือดร้อนด้วยอาการ ๕ คือ:-

๑. ท่านโจทโดยกาลไม่ควร ไม่โจทโดยกาลอันควร ท่านต้องเดือด ร้อน

๒. ท่านโจทด้วยเรื่องไม่จริง ไม่โจทด้วยเรื่องจริง ท่านต้องเดือดร้อน

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 427

๓. ท่านโจทด้วยคำหยาบ ไม่โจทด้วยคำสุภาพ ท่านต้องเดือดร้อน

๔. ท่านโจทด้วยเรื่องไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่โจทด้วยเรื่อง ประกอบด้วยประโยชน์ ท่านต้องเดือดร้อน

๕. ท่านมุ่งร้ายโจท มิใช่มีเมตตาจิตโจท ท่านต้องเดือดร้อน ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์โดยไม่เป็นธรรม พึงถึงความเดือดร้อน ด้วยอาการ ๕ นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุแม้อื่น ไม่พึงสำคัญเรื่องที่ โจทด้วยคำเท็จ.

ผู้ถูกโจทโดยไม่เป็นธรรมไม่ต้องเดือดร้อน

[๕๐๗] พระอุบาลีทูลถามว่า ก็ภิกษุผู้ถูกโจทก์โดยไม่เป็นธรรม ไม่ ต้องเดือดร้อนด้วยอาการเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์โดยไม่เป็น ธรรม ไม่ต้องเดือดร้อน ด้วยอาการ ๕ คือ:-

๑. ท่านถูกโจทโดยกาลไม่ควร ไม่ถูกโจทโดยกาลอันควร ท่านไม่ ต้องเดือดร้อน

๒. ท่านถูกโจทด้วยเรื่องไม่จริง ไม่ได้ถูกโจทด้วยเรื่องจริง ท่านไม่ ต้องเดือดร้อน

๓. ท่านถูกโจทด้วยคำหยาบ ไม่ถูกโจทด้วยคำสุภาพ ท่านไม่ต้อง เดือดร้อน

๔. ท่านถูกโจทด้วยเรื่องไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ได้ถูกโจทด้วย เรื่องประกอบด้วยประโยชน์ ท่านไม่ต้องเดือดร้อน

๕. ท่านถูกโจทด้วยมุ่งร้าย ไม่ถูกโจทด้วยเมตตาจิต ท่านไม่ต้อง เดือดร้อน.

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 428

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ถูกโจทโดยไม่เป็นธรรม ไม่ต้องเดือดร้อนด้วย อาการทั้ง ๕ นี้.

ผู้โจทย์โดยเป็นธรรมไม่ต้องเดือดร้อน

[๕๐๘] พระอุบาลีทูลถามว่า ภิกษุผู้โจทก์โดยเป็นธรรม พึงถึงความ ไม่เดือดร้อน ด้วยอาการเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอุบาลี. ภิกษุผู้โจทก์โดยเป็นธรรม พึงถึงความไม่เดือดร้อน ด้วยอาการ ๕ คือ :-

๑. ท่านโจทโดยกาลอันควร ไม่ใช่โจทโดยกาลอันไม่ควร ท่านไม่ ต้องเดือดร้อน

๒. ท่านโจทด้วยเรื่องจริง ไม่ใช่โจทด้วยเรื่องไม่จริง ท่านไม่ต้อง เดือดร้อน

๓. ท่านโจทด้วยคำสุภาพ ไม่ใช่โจทด้วยคำหยาบ ท่านไม่ต้อง เดือดร้อน

๔. ท่านโจทด้วยเรื่องประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ใช่โจทด้วยเรื่องไม่ ประกอบด้วยประโยชน์ ท่านไม่ต้องเดือดร้อน

๕. ท่านมีเมตตาจิตโจท ไม่ใช่มุ่งร้ายโจท ท่านไม่ต้องเดือดร้อน.

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์โดยเป็นธรรม พึงถึงความไม่เดือดร้อนด้วย อาการ ๕ นี้ ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุแม้อื่นก็พึงสำคัญว่าควรโจท ด้วยเรื่องจริง.

ผู้ถูกโจทโดยธรรมต้องเดือดร้อน

[๕๐๙] พระอุบาลีทูลถามว่า ก็ภิกษุผู้ถูกโจทโดยธรรม พึงถึงความ เดือดร้อนด้วยอาการเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า.

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 429

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ถูกโจทโดยธรรม พึงถึงความเดือดร้อนด้วยอาการ ๕ คือ:-

๑. ท่านถูกโจทโดยกาลอันควร ไม่ใช่ถูกโจทโดยกาลอันไม่ควร ท่าน ต้องเดือดร้อน

๒. ท่านถูกโจทด้วยเรื่องจริง ไม่ใช่ถูกโจทด้วยเรื่องไม่เป็นจริง ท่าน ต้องเดือดร้อน

๓. ท่านถูกโจทด้วยคำสุภาพ ไม่ใช่ถูกโจทด้วยคำหยาบ ท่านต้อง เดือดร้อน

๔. ท่านถูกโจทด้วยเรื่องประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ใช่ถูกโจทด้วย เรื่องไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ท่านต้องเดือดร้อน

๕. ท่านถูกโจทด้วยเมตตาจิต ไม่ใช่ถูกโจทด้วยมุ่งร้าย ท่านต้อง เดือดร้อน.

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ถูกโจทโดยธรรม พึงถึงความเดือดร้อนด้วยอาการ ๕ นี้แล.

ผู้โจทก์พึงมนสิกาธรรม ๕ ประการ

[๕๑๐] พระอุบาลีทูลถามว่า ภิกษุผู้โจทก์ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึง มนสิการธรรมเท่าไรไว้ในตน แล้วโจทผู้อื่น พระพุทธเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ปรารถนาจะ โจทผู้อื่น พึงมนสิการธรรม ๕ อย่างไว้ในตน แล้วโจทผู้อื่น คือ :-

๑. ความการุญ

๒. ความหวังประโยชน์

๓. ความเอ็นดู

๔. ความออกจากอาบัติ

๕. ความทำวินัยเป็นเบื้องหน้า.

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 430

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้โจทย์ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึงมนสิการธรรม ๕ อย่างนี้ไว้ในตน แล้วโจทผู้อื่น.

ผู้ถูกโจทก์พึงตั้งอยู่ในธรรม ๒ ประการ

[๕๑๑] พระอุบาลีทูลถามว่า ก็ภิกษุผู้ถูกโจทก์ พึงตั้งอยู่ในธรรม เท่าไร พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ถูกโจทก์ พึงตั้งอยู่ ในธรรม ๒ ประการ คือ ความจริง ๑ ความไม่ขุนเคือง ๑.

ปาติโมกขฐปนขันธกะ ที่ ๙ จบ

ในขันธกะนี้มี ๓๐ เรื่อง ๒ ภาณวาร

หัวข้อประจำขันธกะ

[๕๑๒] เรื่องปาปภิกษุในอุโบสถ ถูกไล่ ๓ ครั้ง ไม่ออกไป ถูก พระโมคคัลลานะฉุดออก เรื่องอัศจรรย์ในศาสนาของพระชินเจ้า ทรงเปรียบ เทียบมหาสมุทร คือ อนุปุพพสิกขา. เปรียบด้วยมหาสมุทรอันลุ่มลึกโดยลำดับ พระสาวกไม่ละเมิดสิกขาบท เปรียบด้วยมหาสมุทรตั้งอยู่ตามปกติไม่ล้นฝั่งสงฆ์ ย่อมขับไล่บุคคลทุศีลออก เปรียบด้วยมหาสมุทรซัดซากศพขึ้นฝั่ง วรรณะ ๔ เหล่า บวชเป็นบรรพชิตแล้ว ละนามและโคตรเดิม ดุจแม่น้ำใหญ่ไหลไปสู่ มหาสมุทรแล้ว ละนามและโคตรเดิม ภิกษุเป็นอันมากปรินิพพาน เปรียบด้วย น้ำไหลไปเต็มมหาสมุทร พระธรรมวินัยมีวิมุตติรสรสเดียว เปรียบด้วยมหาสมุทรมีรสเค็มรสเดียว พระธรรมวินัยมีรัตนะมาก เป็นที่อยู่ของพระอริยบุคคล

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 431

๘ จำพวก เปรียบด้วยมหาสมุทรเป็นที่อยู่ของหมู่สัตว์ แล้วยังคุณในพระศาสนา ให้ดำรงอยู่ เรื่องงดปาติโมกข์ในวันอุโบสถ เรื่องพระฉัพพัคคีย์คิดว่า ใครๆ ไม่รู้เรา เรื่องภิกษุยกโทษก่อน.

เรื่องงดปาติโมกข์เป็นธรรม และไม่เป็นธรรม มีมูล ๑.

เรื่องงดปาติโมกข์เป็นธรรม และไม่เป็นธรรม มีมูล ๒.

เรื่องงดปาติโมกข์เป็นธรรม และไม่เป็นธรรม มีมูล ๓.

เรื่องงดปาติโมกข์เป็นธรรม และไม่เป็นธรรม มีมูล ๔.

เรื่องงดปาติโมกข์เป็นธรรม และไม่เป็นธรรม มีมูล ๕.

เรื่องงดปาติโมกข์เป็นธรรม และไม่เป็นธรรม มีมูล ๖.

เรื่องงดปาติโมกข์เป็นธรรม และไม่เป็นธรรม มีมูล ๗.

เรื่องงดปาติโมกข์เป็นธรรม และไม่เป็นธรรม มีมูล ๘.

เรื่องงดปาติโมกข์เป็นธรรม และไม่เป็นธรรม มีมูล ๙.

เรื่องงดปาติโมกข์เป็นธรรม และไม่เป็นธรรม มีมูล ๑๐.

เรื่องงดปาติโมกข์เพราะวิบัติ ๔ อย่าง คือ ศีล อาจาระ ทิฏฐิ และ อาชีวะ.

เรื่องงดปาติโมกข์ในส่วน ๕ คือ ปาราชิก สังฆาทิเสส ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ และทุกกฏ.

เรื่องงดปาติโมกข์ในส่วน ๖ มีวิธีอย่างนี้ คือ เพราะศีล อาจาระ ทิฏฐิวิบัติ ที่มีภิกษุมิได้ทำและทำ.

เรื่องงดปาติโมกข์ในส่วน ๗ คือ ปาราชิก สังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ และทุพภาสิต.

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 432

เรื่องงดปาติโมกข์ เพราะศีล อาจาระ ทิฏฐิ และอาชีววิบัติ ที่ภิกษุ มิได้ทำและทำ รวม ๘ อย่าง.

เรื่องงดปาติโมกข์มี ๙ วิธี คือ เพราะศีล อาจาระ ทิฏฐิ ที่ภิกษุมิ ได้ทำและทั้งทำและไม่ทำ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแก่ผู้รู้ตามเป็นจริงอย่างนี้.

จงทราบการงดปาติโมกข์ ๑๐ อย่าง คือ ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก ๑ กถาปรารภภิกษุผู้ต้องอาบัติปาราชิกยังค้างอยู่ ๑ ภิกษุบอกลาสิกขา ๑ กถา ปรารภภิกษุผู้บอกลาสิกขายังค้างอยู่ ๑ ภิกษุร่วมสามัคคี ๑ กถาค้านสามัคคี ๑ ค้านสามัคคีที่ค้าง ๑ มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจด้วยศีลวิบัติ ๑ ด้วย อาจารบัติ ๑ ด้วยทิฏฐิวิบัติ ๑.

เรื่องภิกษุเห็นภิกษุเอง ภิกษุอื่นบอกภิกษุนั้น หรือภิกษุผู้ต้องอาบัติ ปาราชิกนั้น บอกความจริงแก่ภิกษุนั้น ภิกษุนั้นงดปาติโมกข์.

เรื่องบริษัทเลิกประชุม เพราะอันตราย ๑๐ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระราชา โจร ไฟ น้ำ มนุษย์ อมนุษย์ สัตว์ร้าย สัตว์เลื้อยคลาน ชีวิต พรหมจรรย์ จงทราบการงดปาติโมกข์ที่เป็นธรรม และไม่เป็นธรรมตามแนว ทาง.

เรื่องโจทโดยกาลอันควร โจทด้วยเรื่องจริง โจทด้วยเรื่องเป็นประโยชน์จักได้ฝักฝ่าย จักมีความทะเลาะเป็นต้น ผู้เป็นโจทก์มีกาย วาจา บริสุทธิ์ มีเมตตาจิต เป็นพหูสูต รู้ปาติโมกข์ทั้งสอง.

เรื่องภิกษุโจทโดยกาลอันควร ด้วยเรื่องจริง ด้วยคำสุภาพ ด้วยเรื่อง เป็น ประโยชน์ ด้วยเมตตาจิต.

เรื่องภิกษุเดือดร้อน โดยอธรรม พึงบรรเทาเหมือนอย่างนั้น.

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 433

เรื่องภิกษุผู้โจทก์และถูกโจทเป็นธรรม พึงบรรเทาความเดือดร้อน เรื่องพระสัมพุทธทรงประกาศข้อปฏิบัติสำหรับภิกษุผู้ถูกโจทก์ไว้ ๕ อย่าง คือ ความการุญ ความหวังประโยชน์ ความเอ็นดู ความออกจากอาบัติ ความทำ วินัยเป็นเบื้องหน้า.

เรื่องทั้งอยู่ในความสัตย์และความไม่ขุ่นเคือง นี้เป็นธรรมดาของ จำเลยแล.

หัวข้อประจำขันธกะ จบ