ไม่ควรห้ามใจ และ ควรห้ามใจ ต่ออารมณ์ใดๆ

 
Avitathata
วันที่  2 ม.ค. 2565
หมายเลข  41866
อ่าน  562

จากอรรถกถานี้

บุคคลไม่ควรห้ามใจแต่อารมณ์ทั้งปวงที่เป็นเหตุให้ใจมาถึงความสำรวม

บาปย่อมเกิดขึ้นแต่อารมณ์ใดๆ
บุคคลพึงห้ามใจแต่อารมณ์นั้นๆ .

บรรดาคำเหล่านั้น คำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มโน ยตตฺตมาคตํ ได้แก่ ไม่พึงห้ามใจโดยประการทั้งปวง คือว่าธรรมอะไรๆ ที่กล่าวแล้ว ไม่ควรห้ามใจไปเสียทั้งหมด เพราะว่าธรรมที่เป็นเหตุให้ใจมาสู่ความสำรวมอันใดที่เกิดขึ้นโดยนัยว่า เราจักให้ทาน จักรักษาศีล อันเป็นเหตุนำมาซึ่งความสำรวมใจเป็นต้นนี้ บุคคลไม่พึงห้าม ด้วยว่าข้อนี้เป็นความพอกพูนเป็นความเจริญโดยแท้.
คำว่า ยโต ยโต จ ปาปกํ ได้แก่ อกุศลย่อมเกิดแต่ธรรมอะไรๆ บุคคลพึงห้ามใจเฉพาะธรรมนั้นๆ ดังนี้แล.

จบอรรถกถามโนนิวารณสูตรที่ ๔


ขอเรียนสอบถามค่ะ

คือ สงสัยว่า เมื่อธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา อารมณ์ใดๆ เป็นเหตุให้กุศล อกุศล เกิดขึ้นแล้ว จะห้ามไม่ให้เกิดก็ย่อมไม่ได้

แต่มีพระพุทธพจน์ที่ทรงแสดงถึงการไม่ห้ามใจ และห้ามใจ ก็รู้สึกว่าไม่ค่อยเข้าใจเลยค่ะ รบกวนท่านช่วยอธิบายเพิ่มเติมเพื่อความเข้าใจด้วยค่ะ

กราบขอบพระคุณค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 4 ม.ค. 2565

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ห้ามใจ ก็ต้องเข้าใจเบื้องต้น ทั้งงหมด มีแต่ จิต เจตสิก รูป ไม่มีเรา และทั้งหมดเป็นอนัตตา แม้แต่การห้ามใจ ก็ไม่พ้นจากธรรมที่เป็น จิต เจตสิกที่เกิดขึ้น พระสูตร ลึกซึ้งโดยอรรถะ ดังนั้นก็ต้องเข้าใจให้ถูกต้องว่า ห้ามใจนั้น เป็นหน้าที่ของสติและปัญญา เมื่อเกิดขึ้น ย่อมห้ามอกุศลไม่ให้เกิด เพราะสติและปัญญาเกิดรู้ความจริงในขณะนั้น จึงเป็นการห้ามใจ ถ้าไม่เกิด จะไปห้ามใจ จะให้สติและปัญญาที่ไม่เกิด ให้เกิดก็ไม่ได้ นี่คือความลึกซึ้งของ พระสูตรที่ลึกซึ้งโดย อรรถะ ควาหมมายที่ลึกซึ้ง พระพุทธเจ้าแสดงถึงความจริงของสิ่งที่ควรและไม่ควร แต่ให้รู้ว่า ควรไม่ควร เป็นหน้าที่ของธรรมทั้งสิ้นที่เป็นธรรมไม่ใช่เรา เป็นอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ เกิดแล้วแต่เหตุปัจจัยนั่นเองครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
Avitathata
วันที่ 4 ม.ค. 2565

ทุกๆ การคิด ทุกๆ การกระทำ เป็นเพียงสภาพธรรมที่เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย

ในส่วนที่ไม่ควรห้ามใจ เข่น

บุญกริยาวัตถุ 10 เมื่อได้ศึกษาแล้วเข้าใจว่าเป็นเหตุแห่งบุญ เมื่อปัญญาเกิดแล้ว จึงกระทำ (ไม่มีเราที่กระทำ) เพราะรู้ว่าจะนำมาซึ่งผลที่ดี

ในส่วนที่ควรห้ามใจ เช่น

การทำสมาธิ โดยต้องการให้ใจสงบ แต่ไม่เข้าใจว่า นี่ไม่ใช่เหตุแห่งบุญ เพราะเกิดจากกิเลส ไม่มีปัญญา กระทำไปก็เพิ่มพูนกิเลสแทน จึงไม่ควรกระทำ

เข้าใจอย่างนี้ถูกต้องใช่มั้ยคะ

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 4 ม.ค. 2565

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

มั่นคงในความเป็นจริงของธรรม ที่ไม่ใช่เรา ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ไม่อยู่ในำอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น ความเข้าใจถูกเห็นถูก เป็นประโยชน์เกื้อกูลอย่างยิ่ง ปัญญาเข้าใจถูก ว่า สิ่งใด ผิด สิ่งใด ถูก แล้ว ละทิ้งสิ่งที่ผิด ไม่ทำสิ่งที่ผิด แล้วประพฤติในสิ่งที่ถูก ไม่มีเรา ครับ

...ยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
Avitathata
วันที่ 4 ม.ค. 2565

กราบอนุโมทนา อ. paderm และ อ.khampan ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
chatchai.k
วันที่ 4 ม.ค. 2565

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ