พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

บาลีปฏิปทา ๔ บาลีอารมณ์ ๔ และ บาลีแจกฌานอย่างละ ๑๖

  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 480

ปฏิปทา ๔

[๑๖๒] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะมีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าธรรมเป็นกุศล.

[๑๖๓] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์เป็นทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะมีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

[๑๖๔] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์เป็นสุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะมีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 481

[๑๖๕] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะมีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

[๑๖๖] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ฯลฯ ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ฯลฯ ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นสุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ฯลฯ ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่าธรรมเป็นกุศล.

ปฏิปทา ๔ จบ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 482

อารมณ์ ๔

[๑๖๗] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์มีกําลังน้อย มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ อยู่ในสมัยใดผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

[๑๖๘] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์มีกําลังน้อย มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

[๑๖๙] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์มีกําลังมาก มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

[๑๗๐] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 483

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์มีกําลังมาก มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

[๑๗๑] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์มีกําลังน้อย มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ มีกําลังน้อย มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ มีกําลังมาก มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ มีกําลังมาก มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะมีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

อารมณ์ ๔ จบ

แจกฌานอย่างละ ๑๖

[๑๗๒] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา มีกําลังน้อย มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 484

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า เป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา มีกําลังน้อย มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา มีกําลังมาก มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา มีกําลังมาก มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

[๑๗๓] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็น

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 485

ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา มีกําลังน้อย มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา มีกําลังน้อย มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ อยู่ในสมัยใดผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา มีกําลังมาก มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อริกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากการ สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา มีกําลังมาก มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

[๑๗๔] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 486

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นสุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา มีกําลังน้อย มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นสุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา มีกําลังน้อย มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นสุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา มีกําลังน้อย มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นสุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา มีกําลังน้อย มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 487

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

[๑๗๕] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีสิณเป็นอารมณ์ เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา มีกําลังน้อย มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา มีกําลังน้อย มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา มีกําลังน้อย มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็น

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 488

สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา มีกําลังมาก เป็นอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

[๑๗๖] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์.

เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา มีกําลังน้อย มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ

เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา มีกําลังน้อย มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ

เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา มีกําลังมาก มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ

เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา มีกําลังมาก มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ

เป็นทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา มีกําลังน้อย มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ

เป็นทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา มีกําลังน้อย มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ

เป็นทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา มีกําลังมาก มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ

เป็นทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา มีกําลังมาก มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ

เป็นสุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา มีกําลังน้อย มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ

เป็นสุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา มีกําลังน้อย มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ

เป็นสุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา มีกําลังมาก มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ

เป็นสุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา มีกําลังมาก มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ

เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา มีกําลังน้อย มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ

เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา มีกําลังน้อย มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ

เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา มีกําลังมาก มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 489

เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา มีกําลังมาก มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

แจกฌานอย่างละ ๑๖ จบ

[๑๗๗] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีอาโปกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ ที่มีเตโชกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ ที่มีวาโยกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ ที่มีนีลกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ ที่มีปีติกสิณเป็นอารมณ ์ ฯลฯ ที่มีโลหิตกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ ที่มีโอทาตกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะมีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

กสิณ ๘ แจกอย่างละ ๑๖ จบ

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 490

อรรถกถาจิตตุปปาทกัณฑ์

อธิบายปฏิปทา ๔

บัดนี้ เพื่อแสดงประเภทลําดับปฏิปทา เพราะธรรมดาว่า ฌานนี้ย่อมสําเร็จด้วยลําดับปฏิปทานั้น ฉะนั้น จึงทรงปรารภคํามีอาทิว่า กตเม ธมฺมา กุสลา อีก. ในปฏิปทาเหล่านั้น ฌานที่ชื่อว่า ทุกขาปฏิปทา เพราะอรรถว่า ฌานนั้นปฏิบัติลําบาก ที่ชื่อว่า ทันธาภิญญา เพราะฌานนั้นรู้ได้ยาก ด้วยประการฉะนี้ แม้คําทั้ง ๓ คือ ทุกขาปฏิปทาก็ดี ทันธาภิญญาก็ดี ปฐวีกสิณก็ดี เป็นชื่อของฌานทั้งนั้น. แม้ในคําเป็นต้น ว่า ทุกฺขาปฏิปทํ ขิปฺปาภิฺํ ก็นัยนี้เหมือนกัน.

บรรดาปฏิปทาเป็นต้นเหล่านั้น การเจริญฌานตั้งแต่เริ่มตั้งใจครั้งแรกจนถึงอุปจารแห่งฌานนั้นๆ เกิดขึ้นเป็นไป เรียกว่า ปฏิปทา. ส่วนปัญญาที่ดําเนินไปตั้งแต่อุปจาร จนถึงอัปปนา เรียกว่า อภิญญา. ก็ปฏิปทานี้นั้น ย่อมเป็นทุกข์แก่บุคคลบางคนอธิบายว่า ชื่อว่า ปฏิบัติยากไม่ได้เสพความสุขเพราะความที่ปัจจนีกธรรมมีนิวรณ์เป็นต้นทําให้ฟุ้งขึ้น. ปฏิปทาของบางคนเป็นสุข เพราะไม่มีปัจจนิกธรรมเช่นนั้น แม้อภิญญาของบางคนก็ช้าคือเป็นธรรมชาติอ่อน ไม่เป็นไปโดยรวดเร็ว อภิญญาของบางคนรวดเร็วคือไม่ช้า เป็นไปโดยรวดเร็ว เพราะฉะนั้น บุคคลใด เมื่อข่มกิเลสทั้งหลายด้วยวิปัสสนาญาณตั้งแต่ต้น ลําบากอยู่ ย่อมข่มได้โดยยาก พร้อมทั้งสังขารและสัมปโยคะ ปฏิปทาของบุคคลนั้น ชื่อว่า ทุกขาปฏิปทา (ปฏิบัติลําบาก).

ส่วนบุคคลใด ข่มกิเลสได้แล้ว อบรมอัปปนาอยู่ ย่อมบรรลุถึงความเป็นองค์ฌานได้โดยกาลช้านาน ปฏิปทาของบุคคลนั้น ชื่อว่า ทันธาภิญญา

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 491

(รู้ได้ช้า) . บุคคลใดย่อมบรรลุถึงความเป็นองค์ฌานได้โดยเร็ว ปฏิปทาของบุคคลนั้น ชื่อว่า ขิปปาภิญญา (รู้ได้เร็ว) . บุคคลใดเมื่อข่มกิเลสทั้งหลายไม่ลําบากข่มได้โดยง่าย ปฏิปทาของบุคคลนั้น ชื่อว่า สุขาปฏิปทา (ปฏิบัติสะดวก) .

    ในอธิการแห่งฌานเหล่านั้น สัปปายะและอสัปปายะก็ดี บุรพกิจมีการตัดปลิโพธเป็นต้นก็ดี อัปปนาโกศลก็ดี ข้าพเจ้าอธิบายไว้ในจิตภาวนานิทเทสในวิสุทธิมรรคแล้ว ในปฏิปทามีสัปปายะเป็นต้นเหล่านั้น บุคคลใดเสพอสัปปายะ ปฏิปทาของบุคคลนั้นก็เป็นทุกขาปฏิปทาและทันธาภิญญา. บุคคลใดเสพสัปปายะ ปฏิปทาของบุคคลนั้นก็เป็นสุขาปฏิปทาและขิปปาภิญญา. ส่วนบุคคลใดเสพอสัปปายะในส่วนเบื้องต้น ย่อมเสพสัปปายะในเวลาภายหลัง หรือว่า เสพสัปปายะในกาลส่วนเบื้องต้น เสพอสัปปายะในกาลภายหลัง บัณฑิตพึงทราบว่าปฏิปทาและอภิญญาของบุคคลนั้นปะปนกัน.

    อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบว่า พระโยคาวจรไม่ทําบุรพกิจมีการตัดปลิโพธเป็นต้นอย่างนั้นให้สําเร็จก่อนแล้วเจริญภาวนา ปฏิปทาของเขา เป็นทุกขาปฏิปทา โดยปริยายตรงกันข้าม เป็นสุขาปฏิปทา อนึ่ง เมื่อพระโยคาวจรไม่ทําอัปปนาโกศลให้สําเร็จ อภิญญาของเขาก็เป็น ทันธาภิญญา เมื่อทําอัปปนาโกศลให้สําเร็จอภิญญาของเขาก็เป็น ขิปปาภิญญา.

    อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบประเภทแห่งปฏิปทาและอภิญญาเหล่านั้นด้วยอํานาจตัณหาและอวิชชา และด้วยอํานาจแห่งการบําเพ็ญสมถะและวิปัสสนา. จริงอยู่ปฏิปทาของบุคคลผู้ถูกตัณหาครอบงําแล้ว เป็นทุกขาปฏิปทา ปฏิปทาของผู้ไม่ถูกตัณหาครอบงําแล้ว เป็นสุขาปฏิปทา และปฏิปทาของบุคคลผู้ถูกอวิชชาครอบงําแล้ว เป็นทุกขาภิญญา ปฏิปทาของผู้ไม่ถูกอวิชชาครอบงําแล้ว

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 492

เป็นขิปปาภิญญา อนึ่ง บุคคลใดไม่สร้างความดีในสมถะไว้ ปฏิปทาของบุคคลนั้นเป็นทุกขาปฏิปทา ปฏิปทาของบุคคลผู้สร้างความดีในสมถะไว้เป็นสุขาปฏิปทา. ก็บุคคลใดไม่ทําอธิการไว้ในวิปัสสนา ปฏิปทาของบุคคลนั้นเป็นทันธาภิญญา ปฏิปทาของผู้ทําอธิการไว้ในวิปัสสนาเป็นขิปปาภิญญา.

    อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบประเภทแห่งปฏิปทาและอภิญญาเหล่านั้นด้วยสามารถแห่งกิเลส และอินทรีย์. จริงอยู่ ปฏิปทาและอภิญญาของบุคคลมีกิเลสกล้า มีอินทรีย์อ่อนก็เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา. ส่วนปฏิปทาและอภิญญาของผู้มีอินทรีย์กล้าก็เป็นขิปปาภิญญา. ปฏิปทาและอภิญญาของบุคคลผู้มีกิเลสอ่อน อินทรีย์อ่อนก็เป็นสุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา. ส่วนปฏิปทาและอภิญญาของบุคคลผู้มีอินทรีย์กล้าก็เป็นขิปปาภิญญา.

    บรรดาปฏิปทาและอภิญญาเหล่านี้ โดยประการที่กล่าวมานี้ บุคคลใดย่อมบรรลุฌาน เพราะปฏิบัติลําบากและรู้ได้ช้า ฌานนั้นของบุคคลนั้น เรียกว่าทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา. แม้คําที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. ในอธิการแห่งฌานนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า สติเป็นสภาพสมควรแก่ปฐมฌานเป็นต้นนั้นย่อมตั้งโดยชอบ ปัญญาเป็นฐิติภาคินี (มีส่วนตั้งมั่น) และพึงทราบปฏิปทาในการข่มไว้ด้วยสติตามที่กล่าวแล้วอย่างนี้ หรือด้วยความใคร่ในฌานนั้นๆ และพึงทราบอภิญญาในการอบรมอัปปนาของผู้บรรลุอุปจารฌานนั้นๆ .

    อนึ่ง ปฏิปทาและอภิญญาย่อมมีแม้ด้วยสามารถแห่งการบรรลุก็ได้เหมือนกัน. เพราะว่า แม้ทุติยฌานที่บุคคลบรรลุปฐมฌานที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาแล้ว บรรลุก็เป็นเช่นเดียวกันนั่นแหละ แม้ในฌานที่ ๓ ฌานที่ ๔ก็นัยนี้แหละ พึงทราบความต่างกัน ๔ อย่างด้วยสามารถแห่งปฏิปทาแม้ในฌานปัญจกนัย เหมือนในฌานจตุกนัย. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสฌาน ๒ นัย เป็นหมวด ๙ เป็น ๔ เพราะอํานาจแห่งปฏิปทาด้วยประการฉะนี้. ในฌานหมวด ๙

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 493

ปฏิปทา ๔ เหล่านั้น ว่าโดยพระบาลี ได้จิต ๓๖ ดวง แต่ว่าโดยอรรถ (ใจความ) ได้จิต ๒๐ ดวงเท่านั้น เพราะความที่ฌานจตุกนัยก็รวมอยู่ในฌานปัญจกนัยแล.

ปฏิปทา จบ

อธิบายอารมณ์ของฌาน ๔

บัดนี้ ชื่อว่า ฌานนี้มี ๔ อย่าง แม้โดยประเภทอารมณ์ เหมือนประเภทปฏิปทา เพราะฉะนั้น เพื่อทรงแสดงประเภทอารมณ์นั้นแห่งฌานนั้นจึงเริ่มคําเป็นต้น ว่า กตเม ธมฺมา กุสลา ดังนี้อีก.

พึงทราบวินิจฉัยในรูปาวจรกุศลฌานนั้นมีคําเป็นต้น ว่า ปริตฺตํ ปริตฺตารมฺมณํ (ฌานมีกําลังน้อย มีอารมณ์เล็กน้อย) ต่อไป ฌานใดไม่คล่องแคล่ว (มีคุณน้อย) ไม่สามารถเป็นปัจจัยแก่ฌานในเบื้องบน ฌานนี้ ชื่อว่า ปริตตะ ส่วนฌานใด เป็นไปในอารมณ์มีนิมิตเท่ากระด้ง หรือเท่าขันน้ำ ซึ่งขยายขึ้นไม่ได้ฌานนี้ชื่อว่า ปริตตะ อารมณ์เป็นปริตตะของฌานนี้มีอยู่ เพราะเหตุนั้นฌานนั้น จึงชื่อว่า ปริตตารมณ์ (มีอารมณ์เล็กน้อย). ฌานใดคล่องแคล่วอบรมดีแล้ว สามารถเป็นปัจจัยแก่ฌานเบื้องบน ฌานนี้ชื่อว่า อัปปมาณ. ฌานใดเป็นไปในอารมณ์อันกว้างขวาง ฌานนั้นก็ชื่อว่า อัปปมาณ เพราะกําหนดนิมิตที่เจริญได้. อารมณ์เป็นอัปปมาณ มีอยู่แก่ฌานนั้น เพราะเหตุนั้น ฌานนั้นจึงชื่อว่า อัปปมาณารมณ์ (อารมณ์ไม่มีประมาณ). อนึ่ง พึงทราบนัยที่เจือกันเพราะความที่ลักษณะตามที่กล่าวแล้วเจือกัน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสธรรมหมวด ๙ ไว้ ๔ หมวด แม้ด้วยสามารถแห่งอารมณ์ ดังพรรณนามาฉะนี้อนึ่งการนับจิตในประเภทแห่งอารมณ์นี้ เหมือนกับประเภทแห่งปฏิปทานั่นแล.

อารมณ์ของฌาน ๔ จบ

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 494

อธิบายอารมณ์และปฏิปทาเจือกัน

บัดนี้เพื่อแสดงนัย ๑๖ ครั้ง เจือด้วยอารมณ์และปฏิปทาจึงทรงเริ่มคําเป็นต้นว่า กตเม ธมฺมา กุสลา ดังนี้. บรรดานัยเหล่านั้น ฌานพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในนัยแรกชื่อว่า หีนะ เพราะเหตุ ๔ อย่างคือ เพราะเป็นทุกขาปฏิปทา (ปฏิบัติลําบาก) เพราะเป็นทันธาภิญญา (รู้ได้ช้า) เพราะเป็นปริตตะ (ไม่ชํานาญ) เพราะเป็นปริตตารัมมณะ (มีอารมณ์เล็กน้อย) ฌานที่ตรัสไว้ในนัยที่ ๑๖ ชื่อว่า ปณีตะ เพราะเหตุ ๔ อย่าง คือ เพราะเป็นสุขาปฏิปทา เพราะเป็นขิปปาภิญญา เพราะเป็นอัปปมาณะ (ชํานาญ) เพราะเป็นอัปปมาณารัมมณะ (มีอารัมณ์ไม่มีประมาณ). ในนัยที่เหลือ ๑๔ นัย พึงทราบความเป็นหีนะและปณีตะ ด้วยเหตุหนึ่งเหตุสองและเหตุสาม.

ถามว่า ก็นัยนี้ท่านแสดงไว้เพราะเหตุไร?

ตอบว่า เพราะความเกิดขึ้นแห่งฌาน เป็นเหตุ.

จริงอยู่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงสุทธิกฌานในปฐวีกสิณด้วยสามารถแห่งฌานจตุกนัย และฌานปัญจตุกนัย ทรงแสดงสุทธิกปฏิปทา และสุทธิการมณ์ในปฐวีกสิณด้วยสามารถแห่งฌานจตุกนัย และฌานปัญจกนัยเหมือนกัน. บรรดาจตุกนัยและปัญจกนัยทั้งสองเหล่านั้น เทวดาเหล่าใด ย่อมอาจเพื่อจะตรัสรู้สุทธิกฌานในปฐวีกสิณที่พระองค์แสดงอยู่ด้วยสามารถแห่งฌานจตุกนัย ก็ทรงแสดงจตุกนัยในสุทธิกฌานด้วยสามารถแห่งสัปปายะแก่เทวดาเหล่านั้น.

เทวดาเหล่าใด ย่อมอาจเพื่อจะตรัสรู้สุทธิกฌานในปฐวีกสิณที่พระองค์ทรงแสดงด้วยสามารถแห่งฌานปัญจกนัย ก็ทรงแสดงปัญจกนัย ด้วยสามารถแห่งสัปปายะแก่เทวดาเหล่านั้น.

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 495

    เทวดาเหล่าใด ย่อมอาจเพื่อจะตรัสรู้สุทธิกฌานในสุทธิกปฏิปทาและในสุทธิการมณ์ ที่ทรงแสดงด้วยสามารถจตุกนัยก็ทรงแสดงจตุกนัยในสุทธิกปฏิปทา และในสุทธิการมณ์ ด้วยสามารถสัปปายะแก่เทวดาเหล่านั้น.

    เทวดาเหล่าใด ย่อมอาจเพื่อจะตรัสรู้สุทธิกฌานในสุทธิกปฏิปทาและในสุทธิการมณ์ ที่ทรงแสดงด้วยสามารถแห่งปัญจกนัย ก็ทรงแสดงปัญจกนัยในสุทธิกปฏิปทาและสุทธิการมณ์ ด้วยสามารถแห่งสัปปายะแก่เทวดาเหล่านั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทําเทศนาด้วยสามารถแห่งอัธยาศัยของบุคคลตามที่กล่าวด้วยประการฉะนี้.

    อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นผู้เทศนาไพเราะ ทรงแตกฉานในปฏิสัมภิทา ทรงมีพระทศพลญาณและเวสารัชชญาณบริสุทธิ์ สามารถกําหนดเทศนาด้วยอํานาจแห่งนัยใดๆ ก็ได้เพราะความที่พระองค์ฉลาดในการบัญญัติธรรม โดยที่ธรรมทั้งหลายพระองค์ทรงแทงตลอดดีแล้วตามความเป็นจริงพร้อมทั้งรสและลักษณะ. เพราะฉะนั้น พระองค์จึงทรงทําเทศนาด้วยสามารถแห่งฌานสุทธิกจตุกนัยเป็นต้นในปฐวีกสิณนั้น เพราะเหตุที่ทรงเทศนาไพเราะนี้ (เทสนาวิลาส)

    ก็ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งยังฌานให้เกิดขึ้น เว้นอารมณ์และปฏิปทาก็ไม่สามารถจะให้ฌานเกิดขึ้นได้ เพราะฉะนั้น จึงตรัสนัยสิ้น ๑๖ ครั้งนี้ เพราะการบรรลุฌานเป็นเหตุโดยการกําหนด ด้วยคํามีประมาณเท่านี้ เป็นอันตรัสหมวด ๙ ไว้ ๒๕ นัย คือ สุทธิกนวกะ ๑ นัย ปฏิปทานวกะ ๔ นัย อารัมมณนวกะ ๔ นัย และ นวกะ ๑๖ นัยนี้แหละ บรรดานวกธรรม ๒๕ นัยเหล่านั้น ในนวกะหนึ่งๆ มีนัย ๕๐ คือ จตุกนัย ๒๕ ปัญจกนัย ๒๕. บรรดานัย ๕๐ เหล่านั้นว่าโดยพระบาลีได้ฌานจิต ๒๒๕ ดวง คือ นัย ๒๕ ในจตุกนัย ได ้๑๐๐ นัย

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 496

(๒๕ X ฌาน ๔) ในปัญจกนัยได้ ๑๒๕ นัย แต่เมื่อว่าโดยอรรถได้จิต ๑๒๕ ดวงเท่านั้น เพราะความที่ฌานจตุกนัยก็รวมเข้าในฌานปัญจกนัย. ก็ในนิทเทสแห่งจิตแต่ละดวงในบรรดาจิต ๒๒๕ ดวงเหล่านั้น ในพระบาลี มีมหาวาระ คือธรรมววัฏฐานะเป็นต้น มีอย่างละ ๓. ก็มหาวาระเหล่านั้นในที่นั้นๆ ท่านย่อแสดงพอเป็นนัยเท่านั้น ดังนี้แล.

ปฐวีกสิณ จบ

อธิบายอาโปกสิณเป็นต้น

บัดนี้ ฌานเหล่านี้ย่อมเกิดขึ้นแม้ในอาโปกสิณเป็นต้น เพราะฉะนั้นเพื่อแสดงฌานเหล่านั้น จึงทรงเริ่มคําเป็นต้นว่า กตเม ธมฺมา กุสลา ดังนี้อีก. ในฌานเหล่านั้น นัยแห่งบาลีทั้งหมด การอธิบายเนื้อความ การนับจํานวนจิต การย่อวาระ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้ในปฐวีกสิณนั่นแหละแต่นัยแห่งภาวนาแม้ทั้งหมดตั้งแต่ทําบริกรรมกสิณ ข้าพเจ้าประกาศไว้ในวิสุทธิมรรคทั้งนั้น. ก็แต่ว่าในมหาสกุลูทายิสูตร ท่านกล่าวกสิณไว้ ๑๐ อย่าง ในกสิณ ๑๐ เหล่านั้น มหัคคตวิญญาณที่เป็นไปในอากาศก็ดี วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ที่เกิดขึ้นเพราะกระทําบริกรรมในอากาศนั้นก็ดีรวมเทศนาไว้ในอรูปโดยประการทั้งปวง เพราะฉะนั้น วิญญาณกสิณ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงไม่ตรัสไว้ในที่นี้.

ก็กสิณุคฆาฏิมากาศ (อากาศที่เพิกกสิณทั้ง ๙ ออกเว้นอากาสกสิณ) ก็ดี ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นไปเพราะทําอากาศที่เพิกนั้นให้เป็นอารมณ์ก็ดี ปริจเฉทากาศมีนิมิตที่พึงถือเอาในช่องฝาเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่งก็ดี ฌานจตุกนัยและฌานปัญจกนัยที่เกิดขึ้นเพราะทําอากาศนั้นให้เป็นอารมณ์ก็ดีเรียกว่าอากาส-

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 497

กสิณ. บรรดาอากาสกสิณทั้ง ๔ นั้น นัยเบื้องต้น (๒ นัยแรก) รวมอยู่ในอารูปเทศนา นัยหลัง (๒ นัยหลัง) รวมอยู่ในรูปาวจรเทศนาด้วยประการฉะนี้อากาสกสิณ จึงไม่กล่าวไว้ในรูปาวจรเทศนานี้เพราะความเป็นของปะปนกัน แต่ฌานที่เกิดขึ้นในการกําหนดปริจเฉทากาศ ย่อมเป็นมรรคเพราะความเข้าถึงรูปภพ เพราะฉะนั้น จึงควรถือเอาฌานนั้น ฌานที่เป็นจตุกนัยและปัญจกนัยเท่านั้น ย่อมเกิดขึ้นในปริจเฉทากาศนั้น อรูปฌานย่อมไม่เกิดขึ้น.

    ถามว่า เพราะเหตุไร จึงไม่เกิด.

    ตอบว่า เพราะไม่ได้เพิกกสิณออก.

    จริงอยู่ อากาสกสิณนั้นแม้เพิกอยู่บ่อยๆ ก็เป็นอากาศนั่นแหละ ย่อมไม่ได้การเพิกกสิณขึ้นในอรูปฌานนั้น เพราะฉะนั้น ปริจเฉทากาศฌาน ซึ่งเกิดขึ้นในที่นั้น จึงเป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบันเป็นเหตุแห่งอภิญญา เป็นบาทให้วิปัสสนา ไม่เป็นบาทให้นิโรธ แต่ว่าการดับโดยลําดับในรูปาวจรฌานนี้จนถึงปัญจมฌานเป็นเหตุแห่งวัฏฏะเท่านั้น ก็ฌานนี้ (ปริจเฉทากาศ) ฉันใดแม้ฌานทั้งหลายที่เกิดขึ้นในกสิณก่อนก็ฉันนั้น แต่ความที่กสิณก่อนเป็นบาทแห่งนิโรธ จึงเป็นการแปลกกันในปริจเฉทากาศนั้น. คําที่เหลือในที่นี้ คําใดที่ควรจะกล่าวในอากาสกสิณ คําทั้งหมดนั้นได้กล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคนั่นแล.

    ส่วนพระโยคาวจรผู้ปรารถนาแสดงฤทธิ์ต่างๆ นัยอาทิว่า แม้คนเดียวก็เป็นหลายคนได้ดังนี้ทําสมาบัติ ๘ ให้เกิดในกสิณ ๘ อันเป็นเบื้องต้นแล้วพึงฝึกจิตโดยอาการ ๑๔ อย่างเหล่านี้ คือ

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 498

    ๑. กสิณานุโลมโต (เข้าฌานลําดับกสิณ)

    ๒. กสิณปฏิโลมโต (เข้าฌานย้อนกสิณ)

    ๓. กสิณานุโลมปฏิโลมโต (เข้าฌานตามสําดับและย้อนกสิณ)

    ๔. ฌานานุโลมโต (เข้าตามลําดับฌาน)

    ๕. ฌานปฏิโลมโต (เข้าย้อนลําดับฌาน)

    ๖. ฌานานุโลมปฏิโลมโต (เข้าฌานตามลําดับและย้อนฌาน)

    ๗. ฌานุกันติกโต (เข้าฌานโดยข้ามลําดับ)

    ๘. กสิณุกันติกโต (เข้าฌานโดยข้ามกสิณ)

    ๙. ฌานกสิณุกันติกโต (ข้ามทั้งฌานและกสิณ)

    ๑๐. อังคสังกันติโต (เข้าฌาน ๕ โดยก้าวล่วงองค์)

    ๑๑. อารัมมณสังกันติโต (เข้าฌานโดยเปลี่ยนอารมณ์)

    ๑๒. อังคารัมมณสังกันติโต (เข้าตามลําดับฌานและกสิณ)

    ๑๓. อังคววัฏฐานโต (กําหนดรู้องค์ฌาน)

    ๑๔. อารัมมณววัฏฐานโต (กําหนดรู้อารมณ์) .

    เรื่องพิสดารแห่งการฝึกจิตเหล่านั้น ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคทั้งนั้นแล ก็พระโยคาวจรไม่เคยอบรมมาก่อน เป็นอาทิกัมมิกะ ไม่ฝึกจิตโดยอาการ ๑๔ อย่าง อย่างนี้ จักยังการแสดงฤทธิ์ต่างๆ ให้สําเร็จด้วยประการที่กล่าวมานี้ นั่นมิใช่ฐานะที่มีได้ จริงอยู่ แม้การบริกรรมกสิณของพระโยคาวจรผู้เริ่มเป็นภาระ (ของยาก) ก็บรรดาผู้เริ่มบริกรรมกสิณตั้งร้อยองค์พันองค์ องค์เดียวย่อมสามารถ. พระโยคาวจรผู้ทํากสิณบริกรรมแล้ว การที่

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 499

จะทํานิมิตให้เกิดขึ้นก็เป็นภาระ (ของยาก) ในบรรดาร้อยองค์ พันองค์องค์เดียวเท่านั้นย่อมสามารถ. เมื่อนิมิตเกิดขึ้นแล้ว ขยายนิมิตให้เจริญขึ้นแล้วบรรลุอัปปนาก็เป็นภาระ (ของยาก) ในร้อยองค์พันองค์ องค์เดียวเท่านั้นย่อมสามารถ แม้ผู้บรรลุอัปปนาได้แล้ว การฝึกจิตโดยอาการ ๑๔ ก็เป็นภาระ (ของยาก) ในร้อยองค์พันองค์ องค์เดียวย่อมสามารถ แม้ผู้ฝึกจิตโดยอาการ ๑๔ อย่างแล้ว ชื่อว่า การแสดงฤทธิ์ต่างๆ ก็เป็นภาระ (ของยาก) ในร้อยองค์พันองค์ องค์เดียวเท่านั้นย่อมสามารถ แม้ผู้แสดงฤทธิ์ได้แล้ว ชื่อว่าการเข้าฌานได้รวดเร็วก็เป็นภาระ (ของยาก) ในบรรดาร้อยองค์พันองค์จะมีองค์หนึ่งเท่านั้นเข้าฌานได้รวดเร็ว เหมือนพระรักขิตเถระผู้มีพรรษา ๘ โดยการอุปสมบท ในบรรดาท่านผู้มีฤทธิ์ประมาณสามแสนองค์ ผู้มาพยาบาลพระมหาโรหณคุตตเถระผู้อาพาธในเถรัมพัตถลวิหารเรื่องพิสดารในวิสุทธิมรรคนั่นแล.

    กสิณกถา จบ