พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

รูปาวจรกุศล กสิณ ฌาน จตุกนัย ปัญจกนัย

  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 437

รูปาวจรกุศล กสิณ ฌาน

จตุกนัย

[๑๓๙] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 438

[๑๔๐] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ บรรลุทุติยฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ภายในผ่องใส เพราะวิตกวิจารสงบ จิตถึงความเป็นธรรมชาติผุดขึ้นดวงเดียว ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต ปีติ สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น.

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ

[๑๔๑] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๘ ฌานมีองค์๓ มรรคมีองค์ ๔ พละ ๗ เหตุ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธรรมายตนะ ๑ ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น.

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ

[๑๔๒] สังขารขันธ์ มีอยู่ในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ผัสสะ เจตนา ปีติ เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์วิญญาณ ขันธ์นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 439

[๑๔๓] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ เพราะคลายปีติได้อีกด้วย จึงเป็นผู้เพ่งโดยอุปบัติ มีสติสัมปชัญญะอยู่และเสวยสุขด้วยนามกาย พระอริยะทั้งหลายย่อมกล่าวบุคคลนั้นว่า เป็นผู้เพ่งโดยอุปบัติ มีสติอยู่เป็นสุขดังนี้ เพราะฌานใด บรรลุตติยฌานนั้นที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น.

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ

[๑๔๔] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๘ ฌานมีองค์ ๒ มรรคมีองค์ ๔ พละ ๗ เหตุ ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธรรมายตนะ ๑ ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น.

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศลฯสฯ

[๑๔๕] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ผัสสะ เจตนา เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์สัญญาขันธ์วิญญาณขันธ์นี้ ชื่อว่า สังขารขันธ์มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 440

[๑๔๖] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ บรรลุจตุตถฌานที่มีปรวีกสิณเป็นอารมณ์ไม่มีทุกข์ไม่มีสุขเพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ในสมัยใด ผัสสะเวทนา สัญญา เจตนา จิต อุเบกขา เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ อุเบกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใดมีอยู่ในสมัยนั้น.

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ

[๑๔๗] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๘ ฌานมีองค์ ๒ มรรคมีองค์ ๔ พละ ๗ เหตุ ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธรรมายตนะ ๑ ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น.

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ

[๑๔๘] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ผัสสะ เจตนา เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

จตุกนัย จบ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 441

อรรถกถาจิตตุปปาทกัณฑ์

อธิบายรูปาวจรกุศล

บัดนี้ เพื่อจะแสดงรูปาวจรกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเริ่มคํา

เป็นต้นว่า กตเม ธมฺมา กุสลา (ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?) ดังนี้. บรรดาคําเหล่านั้น คําว่า รูปูปปตฺติยา มคฺคํ ภาเวติ (พระโยคาวจรเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ) ดังนี้ ความว่า รูปภพท่านเรียกว่า รูป. คําว่า อุปปตฺติ (ความเข้าถึง) ได้แก่ความบังเกิด คือความเกิด ความเกิดพร้อม. คําว่า มคฺโค ได้แก่ อุบาย. ก็ความหมายถ้อยคําในคําว่า มรรค นี้ดังนี้.

สภาวธรรมที่ชื่อว่า มรรค เพราะอรรถว่า ย่อมค้นหา คือ ย่อมแสวงหา ย่อมให้เกิด ย่อมให้สําเร็จซึ่งความเข้าถึงนั้น. มีอธิบายว่าความเข้าถึงความบังเกิด ความเกิด ความเกิดพร้อมย่อมมีในรูปภพด้วยมรรคใด พระโยคาวจรย่อมเจริญมรรคนั้น ดังนี้. ถามว่า ก็ความเข้าถึงรูปภพด้วยมรรคนี้ได้โดยนิยมหรือ. ตอบว่า ไม่ใช่โดยนิยม. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเจริญสมาธิ บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ชัด ย่อมรู้พร้อม ย่อมเห็นตามความเป็นจริง ดังนี้ เพราะว่า แม้การก้าวล่วงรูปภพโดยส่วนแห่งการแทงตลอดย่อมมีไม่ได้ ก็แต่ว่า ชื่อว่ามรรคอื่นนอกจากมรรคนี้ เพื่อความเข้าถึงรูปภพย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า พระโยคาวจรเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ดังนี้. อนึ่ง เมื่อว่าโดยอรรถ ธรรมดามรรคนี้เป็นเจตนาก็มี เป็นธรรมสัมปยุตด้วยเจตนาก็มี เป็นทั้ง ๒ คือเป็นทั้งเจตนาทั้งธรรมที่สัมปยุตด้วยเจตนาก็มี.

จริงอยู่ เจตนา ชื่อว่า มรรค ดังในประโยคนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร เรา (ตถาคต) ย่อมรู้ทั่วถึงนรก และมรรค (เจตนา) ที่ให้สัตว์ไปสู่นรก ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 442

    ธรรมที่สัมปยุตด้วยเจตนา ชื่อว่า มรรค (ทาง) ดังในประโยคนี้ว่า

    ธรรมเหล่านี้ คือ ศรัทธา หิริ กุศลทาน เป็นทางดําเนินของสัตบุรุษ ก็สัตบุรุษย่อมกล่าวทางนี้เป็นทางทิพย์ เพราะว่าบุคคลย่อมไปสู่เทวโลกด้วยทางนี้ ดังนี้.

    เจตนาก็ดี ธรรมที่สัมยุตด้วยเจตนาก็ดี ชื่อว่า มรรค ในพระสูตรมีสังขารูปปัตติสูตรเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นมรรค นี้เป็นปฏิปทาดังนี้. แต่ในที่นี้ทรงประสงค์เอาธรรมที่สัมปยุตด้วยเจตนา เพราะพระบาลีว่า ฌานํ ดังนี้. แต่เพราะเจตนาสัมปยุตด้วยฌาน ย่อมเป็นเหตุให้ปฏิสนธิ ฉะนั้นเจตนาก็ดี ธรรมที่สัมปยุตด้วยเจตนาก็ดี ย่อมสมควรเหมือนกัน.

    คําว่า ภาเวติ (ย่อมเจริญ) ได้แก่ ย่อมให้เกิด คือย่อมให้บังเกิด ย่อมให้เจริญ. เนื้อความแห่งความเจริญ (ภาวนา) ในที่นี้มีเพียงนี้ก่อน. แต่ในที่อื่น ว่าด้วยความหมายแห่งอุปสรรค มีเนื้อความโดยเป็นอีกอย่างหนึ่งอย่างนี้ว่า สัมภาวนา (การยกย่อง) ปริภาวนา (การอบรม) วิภาวนา (การชี้แจง)

    บรรดาบททั้ง ๓ เหล่านั้น เนื้อความนี้ว่า ดูก่อนอุทายี สาวกทั้งหลายของเราในศาสนานี้ ย่อมยกเราในอธิศีลว่า พระสมณโคตะมีศีลประกอบด้วยศีลขันธ์อย่างยิ่ง ดังนี้ ชื่อว่า สัมภาวนา ได้แก่เชื่อมั่น.เนื้อความนี้ว่า สมาธิอันศีลอบรมแล้วย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ปัญญาอันสมาธิอบรมแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก จิตอันปัญญาอบรมแล้วย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายโดยชอบทีเดียว ดังนี้ ชื่อว่า ปริภาวนา ได้แก่

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 443

การอบรม. เนื้อความนี้ว่า เชิญท่านชี้แจงรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเถิดดังนี้ ชื่อว่า วิภาวนา ได้แก่การชี้แจงทําเป็นข้อ.

    ส่วนปฏิทานี้ว่า ดูก่อนอุทายี ยังมีข้ออื่นอีก เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลาย โดยประการทั้งสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ชื่อว่า ย่อมเจริญสติปัฏฐาน ๔ ดังนี้ ชื่อว่า สําเร็จแล้วด้วยภาวนา เพราะอรรถว่าให้เกิดคือให้เจริญ. ในที่แม้นี้ ปฏิปทานี้เท่านั้นทรงประสงค์เอาแล้ว เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า ภาเวติ ได้แก่ย่อมให้เกิด คือให้บังเกิดขึ้น ให้เจริญขึ้นดังนี้.

    ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ในกามาวจรกุศลนิทเทส ทรงกระทําเทศนามีธรรมเป็นประธาน แต่ในรูปวาจรนิทเทสไม่ทําเหมือนอย่างนั้น คือได้ทรงทําเทศนาบุคคลเป็นประธาน. ตอบว่า เพราะจะชําระปฏิทาให้หมดจด. จริงอยู่ รูปาวจรนิทเทสนี้ พระโยคาวจรพึงชําระให้หมดจดได้ด้วยปฏิปทา ๔ อย่างใดอย่างหนึ่ง เว้นจากปฏิปทาเสียจะเกิดเหมือนกามาวจรได้ไม่. อนึ่งธรรมดาปฏิปทานี้เมื่อบุคคลผู้ปฏิบัติยังมีอยู่จึงมีอยู่ เพราะฉะนั้น เพื่อจะแสดงเนื้อความนั้น จึงทรงทําเทศนามีบุคคลเป็นประธาน จึงตรัสว่า พระโยคาวจรเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ดังนี้.

    คําว่า วิวิจฺเจว กาเมหิ ความว่า สงัดแล้ว คือเว้นแล้ว ก้าวล่วงแล้ว จากกามทั้งหลาย ก็ เอวอักษร ในคําว่า วิวิจฺเจว กาเมหิ นี้พึงทราบว่า ใช้ในอรรถว่า นิยม (แน่นอน) ก็เพราะ เอวอักษร มีอรรถว่าแน่นอน ฉะนั้น จึงทรงแสดงซึ่งความที่กามทั้งหลายแม้ไม่มีอยู่ในสมัยเป็นที่เข้าปฐมฌานอยู่นั้นเป็นปฏิปักษ์ต่อปฐมฌานนั้น และแสดงถึงการบรรลุปฐมฌานนั้น โดยการสละกามได้ขาดแล้ว. ถามว่า อย่างไร? ตอบว่า

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 444

ก็เมื่อบุคลกําหนดไปอย่างนี้ว่า สงัดจากกามทั้งหลาย ดังนี้ ฌานนี้จึงปรากฏ ก็กามทั้งหลายเป็นปฏิปักษ์ต่อฌานนี้แน่ เพราะกามทั้งหลายยังอยู่ ฌานนี้ก็เป็นไปไม่ได้ เปรียบเหมือนเมื่อความมืดยังมีอยู่ แสงสว่างแห่งประทีปก็ยังไม่มี ฉะนั้น การบรรลุฌานนั้นได้ เพราะการสละกามเหล่านั้นนั่นแหละ เปรียบเหมือนละฝังนี้ จึงไปถึงฝังโน้นได้ เพราะฉะนั้น เอวอักษรนั้น จึงทําความว่าแน่นอน ดังนี้.

    ในปฐมฌานนั้น พึงมีคําท้วงว่า ก็เพราะเหตุไร เอวอักษร นี้ท่านกล่าวไว้ในบทต้นเท่านั้น ไม่กล่าวไว้ในบทหลัง พระโยคาวจรแม้สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้วพึงเข้าฌานอยู่ได้หรือ? ตอบว่า ข้อนี้ ไม่พึงเห็นอย่างนั้น เพราะว่า เอวอักษรนี้ท่านกล่าวไว้ในบทต้น เพราะการสลัดออกซึ่งกามนั้นด้วยว่า ฌานนี้เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งกามทั้งหลายนั่นเหละ เพราะเป็นเหตุก้าวล่วงกามธาตุ และเพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อกามราคะ เหมือนอย่างตรัสไว้ว่า เนกขัมมะ คือการสลัดออกจากกามทั้งหลายนี้. อนึ่ง เอวอักษรนี้ แม้ในบทหลังก็ควรนํามากล่าวไว้ในที่นี้เหมือนดังที่ตรัสไว้ว่า อิเธว ภิกฺขเว ปโม สมโณ อิธ ทุติโย สมโน (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะที่หนึ่ง มีในธรรมวินัยนี้เท่านั้น สมณะที่สองก็มีในธรรมวินัยนี้เหมือนกัน) ฉะนั้น. เพราะใครๆ ที่ยังไม่สละอกุศลธรรมกล่าวคือนิวรณ์ แม้เหล่าอื่นจากกามนี้แล้ว ก็ไม่อาจเข้าฌานอยู่ได้ ฉะนั้น พึงใช้ เอวอักษร นี้แม้ในบททั้งสอง อย่างนี้ว่า วิวจฺเจว กาเมหิ วิวิจฺเจว อกุสเลหิ ธมฺเมหิ ดังนี้. ก็ด้วยพระดํารัสที่ไม่ทั่วไปว่า วิวิจฺจ นี้ วิเวกแม้ทั้งหมดมีตทังควิเวกเป็นต้น และกายวิเวกเป็นต้น ย่อมรวมลงแม้ในบททั้งสองก็จริง ถึงอย่างนั้น ในที่นี้ พึงเห็นวิเวก ๓ เท่านั้น คือ กายวิเวก จิตตวิเวก วิขัมภนวิเวก.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 445

    ก็ด้วยบทว่า กาเมหิ นี้ วัตถุกามทั้งหลายที่ตรัสไว้ในนิทเทส โดยนัยเป็นต้นว่า วัถถุกามเป็นไฉน? คือรูปที่น่าชอบใจ ดังนี้. และกิเลสกามทั้งหลาย ตรัสไว้ในนิทเทสนั้นนั่นแหละ ในวิภังค์อย่างนี้ว่า ฉันทะ ชื่อว่ากาม ราคะชื่อว่ากาม ฉันทราคะชื่อว่ากาม สังกัปปกามชื่อว่าราคะ กามสังกัปปราคะชื่อว่ากาม ธรรมเหล่านั้น เรียกว่า กาม ดังนี้ อกุศลเหล่านั้นแม้ทั้งหมดพึงเห็นว่ารวมกันในที่นี้แล. ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ ชื่อความว่า วิวิจฺเจว กาเมหิ (สงัดจากกามทั้งหลาย) จะพึงมีความหมายว่า สงัดแล้วจากวัตถุกามทั้งหลายบ้างก็สมควร. ด้วยคําว่า วิวิจฺเจว กาเมหิ นั้น ตรัสว่าเป็นกายวิเวก.

    คําว่า วิวิจฺจ อกุสเลหิ ธมฺเมหิ (สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย) อธิบายว่า สงัดแล้วจากกิเลสกามทั้งหลาย หรืออกุศลธรรมทั้งหมด ดังนี้ก็สมควร. ด้วยคําว่า วิวิจฺจ อกุสเลหิ ธมฺเมหิ นั้น ตรัสถึงจิตตวิเวก. ก็ในบรรดาบททั้ง ๒ เหล่านั้น บทแรกย่อมเป็นอันตรัสการสละความสุขในกาม เพราะตรัสถึงความสงัด จากวัตถุกามทั้งหลายนั่นแหละ บทที่สอง ตรัสอธิบายถึงการกําหนดความสุขในเนกขัมมะ เพราะตรัสถึงความสงัดจากกิเลสกามทั้งหลาย. ก็เพราะตรัสถึงความสงัดจากวัตถุกามและกิเลสกามด้วยประการฉะนี้นั่นแหละ พึงทราบความหมายว่า บรรดาคําเหล่านั้น ด้วยบทแรกตรัสการละสังกิเลสวัตถุ บทที่สองตรัสการละสังกิเลส. บทแรก ตรัสสละเหตุแห่งความโลเล บทที่สองตรัสการสละเหตุความเป็นพาล ด้วยบทแรกตรัสปโยคสุทธิ บทที่สองตรัสอบรมอัธยาศัยของจิต ดังนี้ก็มี. ในกามตามคําว่า กาเมหิ นี้ ในฝ่ายวัตถุกามมีนัยเพียงเท่านี้ก่อน. ส่วนในฝ่ายกิเลสกาม กามฉันทะนั่นแหละมีประเภทมิใช่น้อยด้วยคําเป็นต้นอย่างนี้ คือ ฉันทะชื่อว่ากาม ราคะชื่อว่ากาม ท่านประสงค์เอาว่า กาม. ก็กามฉันทะนั้นแม้นับเนื่องด้วยอกุศลธรรม แต่

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 446

เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อองค์ฌาน จึงตรัสไว้ส่วนหนึ่งในวิภังค์ โดยนัยมีอาทิว่าบรรดากามเหล่านั้น กามฉันทะเป็นไฉน?

    อีกนัยหนึ่ง กามตรัสไว้ในบทแรกเพราะเป็นกิเลสกาม ในบทที่สองตรัสไว้เพราะนับเนื่องในอกุศล. ก็เพราะกามนั้นแยกมิใช่น้อย จึงไม่ตรัสว่า กามโต แต่ตรัสว่า กาเมหิ ดังนี้. อนึ่ง แม้มีธรรมเหล่าอื่นที่เป็นอกุศลธรรม แต่ตรัสเฉพาะนีวรณธรรมเท่านั้น โดยทรงถือนิวรณ์เป็นข้าศึกและขัดขวางองค์ฌานเบื้องสูงไว้ในวิภังค์ โดยนัยมีอาทิว่า ในมาติกาเหล่านั้น ธรรมเป็นอกุศลเป็นไฉน? คือ กามฉันทะ ดังนี้. จริงอยู่ นิวรณธรรมทั้งหลายเป็นข้าศึกต่อองค์ฌาน. อธิบายว่า นิวรณ์ทั้งหลายเป็นปฏิปักษ์ เป็นตัวกําจัด เป็นตัวพิฆาตองค์ฌานเหล่านั้น. จริงอย่างนั้น ในคัมภีร์เปฏกะกล่าวไว้ว่า สมาธิเป็นปฏิปักษ์ต่อกามฉันทะ ปีติเป็นปฏิปักษ์ต่อพยาบาท วิตกเป็นปฏิปักษ์ต่อถีนมิทธะ สุขเป็นปฏิปักษ์ต่ออุทธัจจกุกกุจจะ วิจารเป็นปฏิปักษ์ต่อวิจิกิจฉา ด้วยอาการอย่างนี้ ในบททั้ง ๒ เหล่านั้น ย่อมเป็นอันตรัสวิเวกเป็นเครื่องข่มกามฉันทะด้วยบทว่า วิวิจฺเจว กาเมหิ นี้ ตรัสวิเวกเป็นเครื่องข่มนิวรณ์แม้ทั้ง ๕ ด้วยบทว่า วิวิจฺจ อกุสเลหิ นี้.

    อนึ่ง ว่าโดยนัยที่ยังมิได้อธิบาย ย่อมเป็นอันตรัสวิเวกเป็นเครื่องข่มกามฉันทะด้วยบทที่หนึ่ง (วิวิจฺจเจว กาเมหิ) ย่อมเป็นอันตรัสวิเวกเป็นเครื่องละนิวรณ์ที่เหลือด้วยบทที่สอง (วิวิจฺจ อกุสเลหิ) . อนึ่ง ในบรรดาอกุศลมูล ๓ อย่างย่อมเป็นอันตรัสวิเวกเป็นเครื่องข่มโลกอันเป็นอารมณ์แห่งกามคุณ ๕ ประเภท ด้วยบทที่หนึ่ง (วิวิจฺเจ กาเมหิ) ด้วยบทที่สอง (วิวิจฺจอกุสเลหิ) ย่อมเป็นอันตรัสวิเวกเป็นเครื่องข่มโทสะและโมหะซึ่งเป็นอารมณ์อันต่างด้วยอาฆาตวัตถุเป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง บรรดาธรรมทั้งหลายมี

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 447

โอฆะเป็นต้น ด้วยบทแรก (วิวิจฺเจว กาเมหิ) ย่อมเป็นอันตรัสวิเวกอันเป็นเครื่องข่มกามโอฆะ กามโยคะ กามาสวะ กามุปทาน อภิฌากายคัณฐะ และกามราคสัญโญชน์ ด้วยบทที่สอง (วิวิจฺจ อกุสเลหิ) ย่อมเป็นอันตรัสวิเวกเป็นเครื่องข่มโอฆะ โยคะ อาสวะ อุปาทาน คัณฐะ และสัญโญชน์ที่เหลือ อนึ่ง ด้วยบทต้น (วิวิจฺเจว กาเมหิ) ย่อมเป็นอันตรัสวิเวกเป็นเครื่องข่มตัณหาและธรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหานั้น ด้วยบทที่สอง (วิวิจฺจ อกุสเลหิ) ย่อมเป็นอันตรัสวิเวกเป็นเครื่องข่มอวิชชา และธรรมที่สัมปยุตด้วยอวิชชานั้น. อีกนัยหนึ่ง ด้วยบทแรก (วิวิจฺเจว กาเมหิ) พึงทราบว่า ตรัสวิเวกเป็นเครื่องข่มจิต ๘ ดวงที่สัมปยุตด้วยโลภะ ด้วยบทที่สอง (วิวิจฺจ อกุสเลหิ) ย่อมเป็นอันตรัสวิเวกเป็นเครื่องข่มอกุศลจิต ๔ ดวงที่เหลือ. การประกาศเนื้อความในคํานี้ว่า วิวิจฺเจว กาเมหิ วิวิจฺจ อกุสเลหิ ธมฺเมหิ ดังนี้เท่านี้ก่อน.

ว่าด้วยองค์ฌาน

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงองค์ที่ปฐมฌานละได้แล้ว ด้วยคําประมาณเท่านี้บัดนี้ เพื่อแสดงสัมปโยคธรรม จึงตรัสคําเป็นต้นว่า สวิตกฺกํ สวิจารํ ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น ฌานตรัสเรียกว่า สวิตก สวิจาร เพราะความเป็นไปร่วมกับวิตกและวิจาร ชื่อว่า ถึงความเป็นรูปาวจรเพราะสัมปโยคะด้วยอัปปนา โดยการจําแนกลักษณะเป็นต้น ตามที่กล่าวในหนหลัง ดุจนี้ไม้ที่มีดอกและผล ฉะนั้น. แต่ในวิภังค์ท่านทําเทศนาเป็นปุคคลาธิฏฐาน โดยนัยมีอาทิว่า พระโยคาวจรเป็นผู้เข้าถึงแล้ว เข้าถึงพร้อมแล้ว ด้วยวิตก ด้วยวิจารนี้. ส่วนเนื้อความในวิภังค์แม้นั้น พึงเห็นตามที่กล่าวแล้วนั่นแหละ.

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 448

    พึงทราบวินิจฉัยในคําว่า วิเวกชํ นี้ ความสงัดท่านเรียกว่า วิเวก อธิบายว่า ปราศจากนิวรณ์. อีกนัยหนึ่ง ชื่อว่า วิเวก เพราะสงัดแล้วอธิบายว่า กองธรรมที่สัมปยุตด้วยฌานสงัดจากนีวรณ์. ปีติและสุข ชื่อว่า วิเวกชะ (เกิดแต่วิเวก) เพราะอรรถว่า เกิดแต่วิเวกนั้น หรือเกิดในวิเวกนั้น.

    พึงทราบวินิจฉัยในคําว่า ปีติ สุขํ นี้ ความว่า ปีติและความสุขเป็นคําที่ข้าพเจ้าอธิบายไว้ในหนหลังแล้วนั่นแหละ. บรรดาปีติและสุขเหล่านั้น ปีติ ๕ อย่าง มีประการตามที่กล่าวแล้ว ผรณาปีติเป็นมูลรากแห่งอัปปนาสมาธิเจริญถึงความเป็นองค์ประกอบของสมาธิ ท่านประสงค์เอาว่า ปีติในอรรถนี้ ปีตินี้ แสะสุขนี้มีอยู่แก่ฌานนี้ หรือในฌานนี้ เพราะฉะนั้น ฌานนี้ ท่านจึงเรียกว่า มีปีติและสุข ดังนี้.

    อีกอย่างหนึ่ง ปีติและสุข ชื่อว่า ปีติและสุข เหมือนศัพท์ว่าธรรมและวินัย ชื่อว่า ธรรมวินัยเป็นต้น. ปีติและสุขเกิดแต่วิเวกมีอยู่แก่ฌานนี้หรือในฌานนี้ เพราะเหตุนั้น ฌานนี้จึงชื่อว่า มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก แม้ดังพรรณนามาฉะนี้. เหมือนอย่างว่า ฌานมีปีติและสุขเกิดแต่วิเวก ฉันใด ปีติและสุขในฌานนี้ ก็เกิดแต่วิเวกฉันนั้นเหมือนกัน. อนึ่ง ปีติและสุขนั้นมีอยู่แก่ฌานนี้ เพราะฉะนั้น ท่านกล่าวว่าปีติและสุขเกิดแต่วิเวกด้วยบทเดียวเท่านั้นก็สมควร. แต่ในวิภังค์ ท่านกล่าวไว้โดยนัยเป็นต้นว่า สุขนี้สหรคตด้วยปีตินี้ดังนี้ ส่วนความหมายพึงเห็นตามนัยวิภังค์นั้นนั่นแล.

    พึงทราบวินิจฉัยในคําว่า ปมชฺฌานํ นี้ ต่อไป

    ฌานที่ชื่อว่า ที่หนึ่ง เพราะนับตามลําดับ. ชื่อว่า ที่หนึ่ง เพราะเกิดขึ้นก่อนดังนี้ก็มี. ชื่อว่า ที่หนึ่ง เพราะพระโยคาวจร พึงเข้าก่อนดังนี้ก็มี. การกําหนดแม้นี้มิใช่แน่นอน เพราะพระโยคาวจรผู้ได้สมาบัติ ๘ มีวสีประพฤติ

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 449

มาแล้ว ย่อมสามารถเพื่อจะเข้าฌานตั้งแต่ต้นจนถึงที่สุดก็ได้ สามารถเข้าฌานกระทําตั้งแต่ที่สุดลงมาถึงเบื้องต้นก็ได้ สามารถเข้าฌานหนึ่งภายในระหว่างก็ได้ ก็ฌานนั้น ชื่อว่า ที่หนึ่ง เพราะอรรถว่าเกิดขึ้นก่อน ด้วยประการฉะนี้.

    บทว่า ฌานํ ได้แก่ ฌาน ๒ อย่างคือ อารัมมณูปนิชฌาน และลักขณูปนิชฌาน. บรรดาฌานทั้ง ๒ นั้น สมาบัติ ๘ ย่อมเข้าไปเพ่งอารมณ์มีปฐวีกสิณเป็นต้น เพราะเหตุนั้น ฌานนั้นจึงถึงการนับว่าเป็น อารัมมณูปนิชฌาน. ส่วนวิปัสสนา มรรค และผล ชื่อว่า ลักขณูปนิฌาน. บรรดาวิปัสสนา มรรค ผลเหล่านั้น วิปัสสนาชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะการเข้าไปเพ่งลักษณะมีอนิจจลักษณะเป็นต้น. มรรคชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะกิจที่วิปัสสนาทําแล้วสําเร็จด้วยมรรค. ส่วนผลชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะเข้าไปเพ่งลักษณะอันเป็นความจริง คือนิโรธสัจจะ บรรดาอารัมมณูปนิชฌานและลักขณูปนิชฌานทั้ง ๒ นั้น ในที่นี้ท่านประสงค์เอาอารัมมณูปนิชฌานเพราะฉะนั้น ฌานนั้น พึงทราบว่า ชื่อว่า ฌาน เพราะเข้าไปเพ่งอารมณ์หรือเพราะเป็นเครื่องเผาธรรมที่เป็นข้าศึก ดังนี้.

    บทว่า อุปสมปชฺช ได้แก่ เข้าถึงแล้ว คือ บรรลุแล้ว. อีกอย่างหนึ่งอธิบายว่า ให้เข้าถึงแล้ว หรือให้สําเร็จแล้ว. แต่ในวิภังค์กล่าวว่า บทว่า อุปสมฺปชฺช ได้แก่ การได้ การได้เฉพาะ การบรรลุ การบรรลุพร้อมการถูกต้อง การทําให้แจ้ง การเข้าถึงปฐมฌาน ดังนี้. ความหมายแม้แห่งฌานนั้นพึงเห็นเหมือนในวิภังค์นั้นนั่นแหละ.

    บทว่า วิหรติ ได้แก่ความพรั่งพร้อมแห่งฌานมีประการตามที่กล่าวแล้วว่า โดยการอยู่แห่งอิริยาบถอันสมควรแก่ฌานนั้น ย่อมให้สําเร็จ การเคลื่อนไหว การเป็นไป การรักษา การดําเนินไป การให้ดําเนินไป การเที่ยว

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 450

ไป การอยู่แห่งอัตภาพ สมจริงดังที่ตรัสไว้ในวิภังค์ว่า บทว่า วิหรติ ได้แก่ ย่อมเคลื่อนไหว ย่อมเป็นไป ย่อมคุ้มครอง ย่อมดําเนินไป ย่อมให้ดําเนินไป ย่อมเที่ยวไป ย่อมอยู่ เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า วิหรติ ดังนี้.

ว่าด้วยปฐวีกสิณ

พึงทราบวินิจฉัยในคําว่า ปวีกสิณํ นี้ ต่อไป

แม้ปฐวีมณฑล (วงกลมแห่งพื้นดิน) ท่านก็เรียกว่า ปฐวีกสิณ เพราะอรรถว่าเป็นวัตถุสําหรับเพ่ง. แม้นิมิตที่ได้แล้วเพราะอาศัยปฐวีกสิณนั้นก็ชื่อว่า ปฐวีกสิณ. แม้ฌานที่ได้เฉพาะแล้วในนิมิต ก็ชื่อว่า ปฐวีกสิณ.บรรดาความหมายเหล่านั้น ฌาน พึงทราบว่าเป็นปฐวีกสิณ ในความหมายนี้. ก็ในความหมายว่า พระโยคาวจรเข้าฌานกล่าวคือปฐวีกสิณอยู่ดังนี้มีเนื้อความย่อดังนี้

ก็กุลบุตรผู้ใคร่บรรลุพระอรหัตกระทําบริกรรมในปฐวีกสิณนี้ ยังฌานหมวด ๔ ฌานหมวด ๕ ให้เกิดขึ้นแล้ว เจริญวิปัสสนามีฌานเป็นปทัฏฐานพึงทําอย่างไร? เบื้องต้น ควรชําระศีล ๔ คือ ปาฏิโมกขสังวรศีล อินทริยสังวรศีล อาชีวปาริสุทธิศีล ปัจจยสันนิสสิตศีลให้หมดจดก่อน เมื่อดํารงอยู่ในศีลดีแล้วก็ตัดปลิโพธที่มีอยู่ในปลิโพธ ๑๐ ประการที่มีอยู่ มีอาวาสปลิโพธเป็นต้นนั้น แล้วเข้าไปหากัลยาณมิตรผู้ให้กรรมฐาน ใคร่ครวญกรรมฐานที่สมควรแก่จริตของตนในบรรดากรรมฐาน ๓๘ ประการ ที่มีมาในพระบาลีถ้าปฐวีกสิณนี้สมควรแก่จริงของตนก็พึงถือเอากรรมฐานนี้เท่านั้น ละวิหารที่ไม่สมควรแก่การเจริญฌานอยู่ในวิหารที่เหมาะสม ตัดความกังวลเล็กๆ น้อยๆ รักษาบริกรรมและนิมิตกสิณ เว้นอสัปปาย ๗ แห่ง เสพเสนาสนสัปปายะ

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 451

๗ แห่ง พึงทําภาวนาวิธีทั้งหมดอันมีอัปปนาโกศล ๑๐ อย่าง ไม่ให้ตกหล่นพึงปฏิบัติเพื่อบรรลุฌาน เนื้อความสังเขปมีเพียงนี้. ส่วนความพิสดาร พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้ในวิสุทธิมรรค. อนึ่ง ในกสิณแม้อื่นจากนี้ ก็พึงทราบเหมือนในปฐวีกสิณนี้จริงอยู่ วิธีทั้งหมดแห่งกรรมฐานทั้งปวงแห่งวิธิการเจริญภาวนาข้าพเจ้าถือเอาโดยนัยแห่งอรรถกถาแล้วขยายให้พิสดารในวิสุทธิมรรคแล้ว จะมีประโยชน์อะไรด้วยวิธีการเจริญกรรมฐานนั้นในวิธีการที่จะกล่าวซ้ำอีกในที่นั้นๆ เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจักไม่ขยายความอีก. แต่ว่า ข้าพเจ้าจักไม่ทําเนื้อความที่มาในพระบาลีในหนหลัง ให้ตกหล่นจะพรรณนาตามลําดับบทติดต่อกันไป.

บทว่า ตสฺมึ สมเย ความว่า ในสมัยที่เข้าปฐมฌานอยู่นั้น ธรรม ๕๖ ตามลําดับมีประการตามที่กล่าวในกามาวจรกุศลจิตดวงหนึ่งเหล่านี้คือผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ย่อมมี ก็ความแปลกกันในปฐมฌานนี้มีอย่างเดียวคือ ธรรม ๕๖ เหล่านั้นเป็นกามาวจร ธรรม ๕๖ ที่กล่าวนี้เป็นมหัคคตะเป็นรูปาวจร ธรรมที่เหลือนอกจากนี้เป็นเช่นเดียวกันทั้งนั้น ส่วน เยวาปนกธรรม และธรรม ๔ อย่างมีฉันทะเป็นต้น ย่อมหาได้ในฌานนี้. โกฏฐาสวาระและสุญญตวาระ ย่อมเป็นไปตามปกตินั่นแหละดังนี้แล.

ปฐมฌานจบ

อธิบายทุติยฌาน

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งทุติยฌาน ต่อไป

บทว่า วิตกฺกวิจารานํ วูปสมา (เพราะวิตกวิจารสงบ) ความว่า ความสงบ คือ เพราะความก้าวล่วงธรรมทั้ง ๒ เหล่านี้คือ วิตกและวิจาร มีอธิบายว่า เพราะความที่วิตกและวิจารไม่ปรากฏในฌานที่ ๒ ในบรรดาฌาน

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 452

ทั้ง ๒ นั้น ธรรมที่เป็นปฐมฌานแม้ทั้งหมด ย่อมไม่มีในทุติยฌานแม้โดยแท้ เพราะว่า ธรรมทั้งหลายมีผัสสะเป็นต้น ในปฐมฌานก็อย่างหนึ่ง ในทุติยฌานนี้ก็อย่างหนึ่งก็จริง ถึงอย่างนั้น ก็พึงทราบว่า คําที่ตรัสอย่างนี้ว่า เพราะวิตกและวิจารสงบ เพื่อแสดงว่าการบรรลุทุติยฌานเป็นต้นเป็นอย่างอื่นจากปฐมฌานย่อมมีเพราะก้าวล่วงองค์หยาบๆ

    ในบทว่า อชฺฌตฺตํ (ภายใน) นี้ท่านประสงค์เอาภายในเป็นของตนเอง แต่ในวิภังค์ตรัสคํามีประมาณเท่านี้ว่าเฉพาะตัว ชื่อว่า อัชฌัตตะ ก็เพราะบทว่า อชฺฌตฺตํ นี้ ท่านประสงค์เอาบทว่า นิยกชฺฌตฺตํ ฉะนั้นในบทว่า อชฺฌตฺตํ จึงมีอธิบายว่า เกิดในภายในของตน หรือเกิดในสันดานของตน. ศรัทธา เรียกว่า ความผ่องใสในบทว่า สมฺปสาทนํ นี้. แม้ฌานก็เรียกว่าความผ่องใส เพราะประกอบด้วยความผ่องใส เหมือนผ้า ชื่อว่า ผ้าเขียว เพราประกอบด้วยสีเขียว. อีกอย่างหนึ่ง เพราะฌานนั้นยังจิตให้แจ่มใส เพราะประกอบด้วยความผ่องใส และเพราะความสงบความกําเริบวิตกและวิจารฉะนั้นจึงตรัสว่า สมฺปสาทนํ (ความผ่องใส) . ก็ในการกําหนดเนื้อความนี้พึงทราบความสัมพันธ์แห่งบทอย่างนี้ว่า สมฺปสาทนํ เจตโส แต่ในการกําหนดเนื้อความบทแรก บทว่า เจตโส นี้ พึงประกอบกับบท เอโกทิภาวํ . ในบทนั้นมีการประกอบเนื้อความดังต่อไปนี้.

    สมาธิใด ย่อมผุดขึ้นเป็นเอก เพราะเหตุนั้น สมาธินั้น จึงชื่อว่า เอโกทิ อธิบายว่า สมาธินั้นเป็นภาวะที่เลิศประเสริฐผุดขึ้น เพราะวิตกและวิจารไม่เจริญ (เกิด) ขึ้นในภายใน. จริงอยู่ แม้บุคคลผู้ประเสริฐที่สุด เขาก็เรียกว่า เป็นเอกในโลก ดังนี้. อีกอย่างหนึ่ง แม้จะกล่าวว่าสมาธิที่เว้นวิตกละวิจารเป็นเอกไม่มีสหายผุดขึ้น ดังนี้ก็ควร. อีกนัยหนึ่ง สมาธิใดย่อมยัง

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 453

สัมปยุตตธรรมให้ผุดขึ้น เพราะเหตุนั้น สมาธินั้น จึงชื่อว่า อุทิ คือย่อมให้สัมปยุตตธรรมตั้งขึ้น สมาธินั้นเป็นเอกเพราะอรรถว่าประเสริฐด้วย และยังสัมปยุตตรรมให้ผุดขึ้นด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เอโกทิ. คําว่า เอโกทินี้ เป็นชื่อของสมาธิ. ทุติฌานใดย่อมยังสมาธิชื่อว่า เอโกทินี้ให้เกิดให้เจริญ เพราะเหตุนั้น ทุติยฌานนี้จึงชื่อว่า เอโกทิภาวะ ก็เพราะสมาธินี้นั้นเป็นเอกเป็นสภาวะที่ยังสัมปยุตตธรรมให้ผุดขึ้นย่อมมีแก่จิต มิใช่มีแก่สัตว์ มิใช่มีแก่ชีวะ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคํานี้ว่า เจตโส เอโกทิภาวํ ดังนี้

    ถามว่า ศรัทธานี้ และสมาธิมีชื่อว่า เอโกทิ นี้ มีอยู่แม้ในปฐมฌานมีใช่หรือ เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร ทุติยฌานนี้นั่นแหละ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เป็นเครื่องผ่องใส และเป็นเอโกทิภาวะอีกเล่า. ตอบว่าเพราะว่า ปฐมฌานนั้นยังไม่ผ่องใสแท้เพราะกําเริบด้วยวิตกวิจาร เหมือนน้ำที่ขุ่นเพราะระลอกคลื่น ฉะนั้น แม้เมื่อศรัทธามีอยู่ก็ไม่ตรัสว่า สมฺปสาทนํ (ความผ่องใส) อนึ่ง แม้สมาธิในปฐมฌานนี้ก็ยังไม่ปรากฏ เพราะยังไม่ผ่องใสแท้นั่นแหละ ฉะนั้น ปฐมฌานนั้น จึงไม่ตรัสว่า เอโกทิภาวะ แต่ในทุติยฌานนี้ศรัทธามีกําสังได้โอกาส เพราะไม่มีวิตกและวิจารเป็นปลิโพธ (กังวลใจ) แม้สมาธิก็ปรากฏเพราะการได้ศรัทธาเป็นกําลังและเป็นสหาย ฉะนั้น ทุติยฌานนี้เท่านั้นพึงทราบว่า ตรัสไว้อย่างนั้น. ส่วนในวิภังค์ ตรัสไว้เพียงเท่านี้ว่าบทว่า สมฺปสาทนํ (ผ่องใส) ได้แก่ศรัทธา (ความเชื่อ) กิริยาที่เชื่อความปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง. คําว่า เจตโส เอโกทิภาวํ (ธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ) ได้แก่ ความตั้งอยู่ การตั้งมั่นแห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิดังนี้. พึงทราบการพรรณนาเนื้อความนี้กับพระดํารัสที่ตรัสไว้อย่างนั้น ย่อมไม่ผิดเทียบเคียงกันอยู่ ย่อมลงกันได้ ฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 454

    บทว่า อวิตกฺกํ อวิจารํ (ไม่วิตกไม่มีวิจาร) มีวิเคราะห์ว่า ชื่อว่า อวิตก (ไม่มีวิตก) เพราะอรรถว่า วิตกในทุติยฌานนี้ หรือของทุติยฌานนี้ไม่มี เพราะความที่วิตกนั้นละได้แล้วด้วยภาวนา. ชื่อว่า อวิจาร (ไม่มีวิจาร) โดยนัยนี้เหมือนกัน. แม้ในวิภังค์ก็ตรัสไว้ วิตกนี้ และวิจารนี้ ย่อมสงบระงับเข้าไประงับ ดับไป ดับไปอย่างราบคาบ ถูกทําให้พินาศไป ให้ละลายไปถูกทําให้แห้งไป ถูกทําให้ผากไป ถูกทําให้สิ้นสุด ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร ด้วยประการฉะนี้.

    ในข้อนี้หากมีผู้ท้วงแม้ด้วยคํานี้ว่า เพราะการเข้าไปสงบวิตกและวิจารดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส ก็สมบูรณ์แล้วมิใช่หรือ เมื่อเป็นเช่นนั้นเพราะเหตุไร จึงตรัสว่า ไม่มีวิตกไม่มีวิจารอีกเล่า. ตอบว่า ได้ความหมายนี้สําเร็จแล้วอย่างนั้นนั่นแหละ แต่คําว่า ไม่มีวิตกไม่มีวิจารนี้เป็นคําที่แสดงความข้อนั้นก็หาไม่ ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วมิใช่หรือว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนี้ว่า วิตกฺกวิจารานํ วูปสมา ดังนี้ เพื่อแสดงว่า การบรรลุทุติยฌานเป็นต้นเป็นอย่างหนึ่งจากปฐมฌาน ย่อมมีได้เพราะก้าวล่วงองค์หยาบๆ ดังนี้.

    อีกอย่างหนึ่ง คํานี้เป็นเหตุแสดงเหตุแห่งภาวะสัมปสาททนะและเอโกทิอย่างนี้ว่า ทุติยฌานนี้ ชื่อว่า สัมปสาทนะ เพราะสงบวิตกและวิจาร มิใช่เข้าไปสงบกิเลสที่กําเริบตามกาล ฌานนั้น ชื่อว่า เอโกทิภาวะ สงบวิตกและวิจาร มิใช่ละนิวรณ์ได้เหมือนอุปจารฌาน มิใช่องค์ฌานปรากฏเหมือนปฐมฌาน. อนึ่ง ทุติยฌานนี้ ชื่อว่า อวิตักกะอวิจาร เพราะเข้าไปสงบวิตกและวิจาร มิใช่เพราะไม่มีเองเหมือนตติยฌานและจตุตถฌาน และเหมือนจักขุวิญาณเป็นต้น เพราะฉะนั้น คําว่า ไม่มีวิตกไม่มีวิจารนี้ เป็นคําแสดงเหตุแห่งความที่ทุติยฌานนั้นเป็นธรรมชาติไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มิใช่เป็นคําแสดง

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 455

เพียงความไม่มีวิตกไม่มีวิจาร. ส่วนคําว่า อวิตกฺกํ อวิจารํ นี้ เป็นคําแสดงเพียงสักว่าความไม่มีวิตกและวิจารเท่านั้น เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสอวิตักกะอวิจารแล้ว ก็พึงตรัสอีกโดยแท้.

บทว่า สมาธิชํ (เกิดแต่สมาธิ) ความว่า เกิดแต่สมาธิในปฐมฌานหรือแต่สมาธิที่สัมปยุตกัน. บรรดาสมาธิทั้ง ๒ นั้น แม้ฌานที่หนึ่งเกิดแต่สมาธิที่สัมปยุตกันก็จริง. แต่ที่แท้ สมาธินี้เท่านั้น ย่อมควรกล่าวคําว่า สมาธิเพราะเป็นสมาธิที่ไม่หวั่นไหวเกินไป โดยเป็นการเว้นจากการกําเริบของวิตกและวิจาร และเพราะเป็นเหตุให้สมาธิผ่องใสดี ฉะนั้น เพื่อกล่าวยกย่องทุติยฌานนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสคําว่า สมาธิชํ นี้ทีเดียว. คําว่า ปีติสุขํ นี้ มีนัยตามที่กล่าวมาแล้ว. คําว่า ทุติยํ นี้ ชื่อว่า ที่สองโดยลําดับแห่งการนับ. ที่ชื่อว่า ที่สอง เพราะอรรถว่า ย่อมบรรลุฌานที่สองนี้ ดังนี้ก็ได้.

ในคําว่า ตสฺมึ สมเย ผสฺโส โหติ เป็นต้น พึงทราบการลดบทวิตกและวิจารในฌานหมวด ๕ พึงทราบการลดบทสัมมาสังกัปปะในหมวด ๕แห่งมรรค. พึงทราบวินิจฉัยบทที่มีการจําแนกและไม่มีการจําแนกด้วยสามารถแห่งหมวด ๕ แห่งฌานและหมวด ๕ แห่งมรรคเหล่านั้น. แม้ในโกฏฐาสวาระก็มีพระบาลีมาว่า ฌานประกอบด้วยองค์ ๓ มรรคประกอบด้วยองค์ ๔ ดังนี้. คําที่เหลือนอกจากนี้เป็นเช่นกับปฐมฌานนั่นแล.

ทุติยฌานจบ

อธิบายตติยฌาน

พึงทราบวินิจฉัยในตติยฌานนิทเทส ต่อไป

บทว่า ปีติยา จ วิราคา (เพราะคลายปีติ) ความว่าความรังเกียจหรือความก้าวล่วงปีติมีประการตามที่กล่าวแล้ว ชื่อว่า วิราคะ (ความคลายราคะ)

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 456

ก็ จ ศัพท์ในระหว่างศัพท์ทั้งสองมีอรรถว่า ประมวลมา คือย่อมประมวลมาซึ่งความสงบ หรือย่อมประมวลมาซึ่งความสงบและวิจาร. ในการประมวลมาทั้ง ๒ นั้น ในกาลใดจศัพท์ย่อมประมวลซึ่งความสงบเท่านั้น ในกาลนั้นพึงทราบการประกอบความอย่างนี้ว่า เพราะคลายปีติ และเพราะความสงบยิ่งขึ้นไปเล็กน้อย. เนื้อความที่ประกอบนี้ พึงเห็นว่า วิราคะ (ความคลายราคะ) มีอรรถว่ารังเกียจ. แต่ว่า ในกาลใดจศัพท์ย่อมประมวลมาซึ่งความสงบวิตกและวิจารในกาลนั้น พึงทราบการประกอบเนื้อความอย่างนี้ว่า เพราะคลายปีติและเพราะความสงบวิตกและวิจารยิ่งขึ้นเล็กน้อย. ก็ว่าด้วยการประกอบเนื้อความนี้วิราคะ (ความคลายราคะ) มีอรรถว่าก้าวล่วง เพราะฉะนั้น พึงเห็นเนื้อความนี้ว่า เพราะการก้าวล่วงปีติ และเพราะสงบวิตกและวิจารดังนี้. ก็วิตกและวิจารเหล่านั้นสงบแล้วในทุติยฌานก็จริง ถึงอย่างนั้น ท่านก็กล่าวคําว่า เพราะความสงบวิตกและวิจารนี้ไว้เพื่ออธิบายแนวทางของฌานนี้และเพื่อจะกล่าวชมฌานนี้. จริงอยู่ เนื้อกล่าวคําว่า วิตกฺกวิจารานํ วูปสมา ดังนี้ ตติยฌานนี้ ย่อมปรากฏชัดว่า ความเข้าไปสงบวิตกและวิจารเป็นอุบายเครื่องบรรลุฌานนี้แน่แท้. เหมือนอย่างว่าการละท่านกล่าวไว้ในอริยมรรคที่ ๓ อย่างนี้ว่า เพราะละสัญโญชน์เบื้องต่ํา ๕ มีสักกายทิฏฐิเป็นต้น แม้ที่ยังมิได้ละดังนี้ ย่อมเป็นการกล่าวถึงคุณความดี เพื่อให้เกิดการอุตสาหะแก่บุคคลผู้ขวนขวายเพื่อบรรลุมรรคนั้น ฉันใด การสงบวิตกและวิจาร แม้ที่ยังไม่สงบตามที่ตรัสไว้ในตติยฌานนี้ ย่อมเป็นการกล่าวชมเชยคุณฉันนั้น เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเนื้อความนี้ว่า เพราะก้าวล่วงปีติ และเพราะความสงบวิตกและวิจารทั้งหลายดังนี้.

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 457

ในคําว่า อุเปกฺขโก จ วิหรติ นี้ มีวิเคราะห์ว่า ธรรมที่ชื่อว่า อุเบกขา เพราะอรรถว่า ย่อมเห็นโดยความเกิดขึ้น อธิบายว่าย่อมเห็นเสมอคือเห็นอยู่โดยไม่ตกไปเป็นฝ่ายไหน. พระโยคาวจรผู้พรั่งพร้อมด้วยตติยฌานตรัสเรียกว่า อุเปกฺขโก (ผู้เข้าไปเพ่ง) เพราะประกอบด้วยอุเบกขาอันบริสุทธิ์ไพบูลย์มีกําลังนั้น.

ว่าด้วยอุเบกขา ๑๐ อย่าง

ก็อุเบกขามี ๑๐ อย่าง คือ

ฉฬังคูเบกขา (อุเบกขาของพระขีณาสพคือตัตรมัชฌัตตตา)

พรหมวิหารูเบกขา (อุเบกขาในพรหมวิหารคือตัตรมัชฌัตตตา)

โพชฌังคูเบกขา (อุเบกขาในสัมโพชฌงค์คือตัตรมัชฌัตตตา)

วิริยูเบกขา (อุเบกขาคือความเพียร)

สังขารูเบกขา (อุเบกขาในฌานและวิปัสสนาคือปัญญา)

เวทนูเบกขา (อุเบกขาเวทนา)

วิปัสสนูเบกขา (อุเบกขาในวิปัสสนาคือปัญญา)

ตัตรมัชฌัตตูเบกขา (ตัตรมัชฌัตตเจตสิก)

ฌานูเบกขา (อุเบกขาในฌานคือตัตรมัชฌัตตตา)

ปาริสุทธิอุเบกขา (อุเบกขาทําสติให้บริสุทธิ์คือตัตรมัชฌัตตตา).

บรรดาอุเบกขา ๑๐ เหล่านั้น อุเบกขาใดเป็นธรรมบริสุทธิ์เป็นปกติในคลองแห่งอารมณ์ ๖ ที่น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนาในทวาร ๖ ของพระขีณาสพเป็นอาการมีอยู่ที่มาในพระบาลีอย่างนี้ว่า ภิกษุผู้เป็นขีณาสพในธรรมวินัยนี้เห็นรูป ด้วยจักษุแล้วไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีสติ มีความรู้สึกตัว วางเฉยอยู่เทียว ย่อมอยู่ ดังนี้อุเบกขานี้ ชื่อว่า ฉฬังคูเบกขา.

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 458

    ก็อุเบกขาใดมีอาการเป็นกลางในสัตว์ทั้งหลาย มีมาในพระบาลีอย่างนี้ว่า ภิกษุมีใจประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปสู่ทิศหนึ่งอยู่ ดังนี้ อุเบกขานี้ชื่อว่า อุเบกขาในพรหมวิหาร.

    อุเบกขาใดมีความเป็นกลางในสหชาตธรรมทั้งหลาย ที่มาในพระบาลีว่า ภิกษุเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อาศัยวิเวกดังนี้ อุเบกขานี้ชื่อว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์.

    อุเบกขาใด กล่าวคือความเพียรที่ไม่หย่อนไม่ยิ่งของความเพียรเกินไปมาในพระบาลีอย่างนี้ว่า ภิกษุมนสิการนิมิตอุเบกขาตลอดกาล ดังนี้ อุเบกขานี้ ชื่อว่า วิริยูเบกขา.

    อุเบกขาใดมีอาการเป็นกลาง มีการกําหนดพิจารณานีวรณ์เป็นต้น มีมาในพระบาลีอย่างนี้ว่า สังขารูเบกขาเท่าไร ย่อมเกิดขึ้นด้วยอํานาจสมาธิ สังขารูเบกขาเท่าไร ย่อมเกิดขึ้นด้วยอํานาจวิปัสสนา สังขารูเบกขา ๘ อย่างย่อมเกิดขึ้นด้วยอํานาจสมาธิ สังขารูเบกขา ๑๐ อย่าง ย่อมเกิดขึ้นด้วยอํานาจวิปัสสนา ดังนี้ อุเบกขารนี้ ชื่อว่า สังขารูเบกขา.

    อุเบกขาใดที่หมายรู้ในความไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุข ที่มาในพระบาลีอย่างนี้ว่า กามาวจรกุศลจิต ย่อมเกิดขึ้นในสมัยนั้น ดังนี้ อุเบกขานี้ชื่อว่า เวทนูเบกขา.

    อุเบกขาใดมีความเป็นกลางในการค้นหาพิจารณา ที่มาในพระบาลีอย่างนี้ว่า สิ่งใดมีอยู่เป็นแล้ว ย่อมละสิ่งนั้นเสีย ภิกษุย่อมได้เฉพาะซึ่งอุเบกขาดังนี้ อุเบกขานี้ชื่อว่า วิปัสสนูเบกขา.

    อุเบกขาใดยังสหชาตธรรมให้เป็นไปสม่ําเสมอ ที่มาในเยวาปนกธรรมทั้งหลายมีฉันทะเป็นต้น อุเบกขานี้ชื่อว่า ตัตรมัชฌัตตูเบกขา.

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 459

    อุเบกขาใดเป็นชาติตกไปในความสุขแห่งฌานนั้น แม้เป็นสุขอันเลิศที่มาในพระบาลีอย่างนี้ว่า เป็นผู้เพ่งอยู่ดังนี้ ชื่อว่า ฌานูเบกขา.

    อุเบกขาใดบริสุทธิ์จากปัจจนิกธรรมทั้งปวง ไม่ต้องขวนขวายแม้ในการสงบปัจจนิกธรรม ที่มีมาในพระบาลีอย่างนี้ว่า ฌานที่ ๔ มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา ดังนี้ อุเบกขานี้ชื่อว่า ปาริสุทธิอุเบกขา.

    บรรดาอุเบกขาทั้ง ๑๐ เหล่านั้น ฉฬังคูเบกขา พรหมวิหารูเบกขา โพชฌังคูเบกขา ตัตรมัชฌัตตูเบกขา ฌานูเบกขา ปาริสุทธิอุเบกขา โดยอรรถเป็นอย่างเดียวกัน คือเป็นตัตรมัชฌัตตเบกขา. แต่ว่าความแตกต่างกันแห่งอุเบกขาตามที่กล่าวมานั้น เพราะแยกประเภทนั้นๆ ไว้ ดุจความแตกต่างกันแห่งคนแม้คนเดียว คือโดยเป็นเด็ก เป็นหนุ่ม เป็นผู้ใหญ่ เป็นเสนาบดีและเป็นพระราชาเป็นต้น เพราะฉะนั้น บรรดาฉฬังคูเบกขาเป็นต้นเหล่านั้นในที่ใดไม่มีฉฬังคูเบกขา พึงทราบว่าในที่นั้นมีโพชฌังคูเบกขาเป็นต้น หรือว่าในที่ใดไม่มีโพชฌังคูเบกขา พึงทราบว่า ในที่นั้นมีฉฬังคูเบกขาเป็นต้น.

    อนึ่ง อุเบกขา ๖ เหล่านั้น ว่าโดยอรรถมีภาวะเป็นอันเดียวกัน ฉันใด แม้สังขารูเบกขาและวิปัสสนูเบกขาก็เป็นภาวะอันเดียวกัน ฉันนั้น. ก็สังขารูเบกขาและวิปัสสนูเบกขานั้นคือปัญญานั่นเอง แตกแยกเป็น ๒ ด้วยสามารถแห่งกิจ. เหมือนอย่างว่า เมื่อบุรุษถือไม้มีสัณฐานเหมือนเท้าแพะแสวงหางูซึ่งเข้าไปสู่บ้านในเวลาเย็น เห็นงูนั้นนอนในที่หลบซ่อนในกองสิ่งของก็มองดูอยู่ด้วยสงสัยว่า ใช่งูหรือไม่หนอ เห็นเครื่องหมายดอกจันทน์ก็หมดความสงสัยจึงเป็นผู้วางเฉยในการที่จะวินิจฉัยว่าเป็นงูหรือมิใช่ ฉันใด เมื่อพระโยคาวจรผู้ปรารภวิปัสสนาเห็นไตรลักษณ์ด้วยวิปัสสนาญาณแล้ว ความเป็นผู้วางเฉยในการที่จะพิจารณาสังขารทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้นย่อมเกิดขึ้น ฉันนั้น ความเป็นผู้วางเฉย (มัชฌัตตตา) นี้ ชื่อว่า วิปัสสนาอุเบกขา

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 460

    เหมือนอย่างว่า เมื่อบุรุษนั้นเอาไม้มีสัณฐานเหมือนเท้าแพะกดคองูแล้วแสวงหาอาการที่จะปลอดภัยว่า โดยวิธีใด เราจะจับงูนี้ไม่ลําบาก และโดยอุบายอย่างไร เราจึงจะไม่ให้งูกัดเราได้ ดังนี้ การวางเฉย (มัชฌัตตตา) ในการจับจึงมีฉันใดเมื่อพระโยคาวจรเห็นภพทั้ง ๓ ดุจไฟติดทั่วแล้ว เพราะเห็นไตรลักษณ์ ก็มีความวางเฉย (มัชฌัตตตา) ในการยึดถือสังขารฉันนั้นเหมือนกัน มัชฌัตตตานี้ ชื่อว่า สังขารูเบกขา. ด้วยประการตามที่กล่าวมานี้ แม้สังขารูเบกขาจะสําเร็จได้ก็เพราะวิปัสสนูเบกขาสําเร็จแล้วโดยแท้. ก็อุเบกขา (คือปัญญา) นี้แยกออกเป็น ๒ อย่างโดยกิจนี้ กล่าวคือการวางเฉยในการพิจารณา และในการยึดถือ ดังนี้. ส่วนวิริยูเบกขา และเวทนูเบกขาโดยอรรถต่างกัน และต่างจากอุเบกขาที่เหลือด้วย.

    บรรดาอุเบกขาเหล่านั้น ตามที่กล่าวมาในที่นี้ ท่านประสงค์เอาฌานูเบกขา. ฌานูเบกขานั้นมีความวางตนเป็นกลางเป็นลักษณะ มีความไม่คํานึงถึงเป็นรส มีการไม่ขวนขวายเป็นปัจจุปัฏฐาน มีความคลายปีติเป็นปทัฏฐาน.

    ในอธิการแห่งฌานที่ ๓ นี้ หากมีผู้ค้านว่า ฌานูเบกขานี้โดยอรรถก็เป็นตัตรมัชฌัตตตูเบกขามิใช่หรือ และตัตรมัชฌัตตตูเบกขานั้น ก็มีอยู่ในปฐมฌานและทุติยฌาน เพราะเหตุนั้น แม้ในปฐมฌานและทุติยฌานนั้นฌานูเบกขานี้ก็ควรกล่าวว่า อุเปกฺขโก จ วิหรติ (ผู้เพ่งอยู่) ดังนี้ เพราะเหตุไร จึงไม่ตรัสฌานูเบกขาไว้. ตอบว่า เพราะปฐมฌานและทุติยฌานนี้มีกิจยังไม่แจ่มแจ้ง. จริงอยู่ กิจคือความแจ่มแจ้งในปฐมฌานและทุติยฌานนั้นไม่มี เพราะถูกธรรมอันเป็นข้าศึกทั้งหลายมีวิตกเป็นต้นครอบงําแล้ว แต่ในตติยฌานนี้ ไม่มีข้าศึกคือวิตกวิจารและปีติครอบงําแล้ว เป็นดุจยกศีรษะขึ้นได้แล้ว มีกิจอันแจ่มแจ้งแล้ว เพราะฉะนั้น จึงกล่าวฌานูเบกขาไว้ในตติยฌานนี้แล.

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 461

    จบการพรรณนาความทั้งปวงแห่งคําว่า อุเปกฺขโก จ วิหรติ เพียงนี้.

    บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในคําว่า สโต จ สมฺปชาโน (มีสติและสัมปชัญญะ) นี้ต่อไป.

    บุคคลใด ย่อมระลึกได้ เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นจึงชื่อว่า มีสติ. บุคคลใด ย่อมรู้ทั่วโดยชอบ เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นจึงชื่อว่า มีสัมปชานะ (ผู้รู้ทั่วโดยชอบ) . พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสติและสัมปชัญญะไว้โดยปุคคลาธิษฐาน. บรรดาสติและสัมปชัญญะนั้น สติมีการระลึกเป็นลักษณะ. มีการไม่หลงลืมเป็นรส มีการอารักขาเป็นปัจจุปัฏฐาน... สัมปชัญญะมีความไม่หลงลืมอารมณ์ (การรู้ทั่วโดยชอบ) เป็นลักษณะ มีการพิจารณา (หรือมีการถึงฝัง) เป็นรส มีการใคร่ครวญเป็นปัจจุปัฏฐาน...

    บรรดาฌานเหล่านั้น สติและสัมปชัญญะนี้ แม้มีอยู่ในฌานเบื้องต้นก็จริง เพราะว่า เมื่อพระโยคาวจรมีสติหลงลืม ไม่มีสัมปชัญญะ แม้แต่เพียงอุปจารฌานก็ย่อมไม่สําเร็จ จะป่วยกล่าวไปไยถึงอัปปนาเล่า ถึงอย่างนั้นเพราะความที่ฌานทั้งหลาย (ปฐมฌานทุติยฌาน) เหล่านั้นเป็นองค์อันหยาบทางไป (คติ) ของจิตจะต้องเป็นทางสบาย เหมือนทางไปของบุคคลบนแผ่นดินฉะนั้น กิจแห่งสติและสัมปชัญญะในฌานต้นๆ นั้นยังไม่มีกําลังกล้า แต่เพราะฌานที่ ๓ นี้เป็นฌานมีอารมณ์สุขุม เพราะละองค์ฌานหยาบๆ ได้การดําเนินไปแห่งจิตอันกิจ (หน้าที่) ของสติและสัมปชัญญะประคองไว้แล้วนั่นแหละอันพระโยคีพึงปรารถนา เหมือนบุรุษเดินไปในที่แหลมคม ฉะนั้น เพราะเหตุนั้น สติและสัมปชัญญะ จึงตรัสไว้ในตติยฌานนี้เท่านั้น.

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 462

    พึงทราบเนื้อความนี้ให้ยิ่งขึ้นอีกหน่อยหนึ่งว่า เปรียบเหมือนลูกโคซึ่งยังดื่มนมแม่โค เจ้าของพรากออกไปแล้วไม่รักษาไว้ ย่อมกลับมาหาแม่โคอีกนั่นแหละ ฉันใด สุขในตติยฌานนี้ก็ฉันนั้น อันพระโยคาวจรพรากจากปีติได้แล้ว สุขนั้นไม่รักษาไว้ด้วยสติและสัมปชัญญะ ก็พึงกลับมาหาปีติอีกนั่นแหละ สุขนั้นก็เพ่งสัมปยุตด้วยปีติโดยแท้. อนึ่ง สัตว์ทั้งหลายย่อมยินดีในสุขและสุขนี้ (ตติยฌาน) ก็มีสุขที่ชอบใจยิ่ง เพราะไม่มีสุขอื่นยิ่งกว่านี้ แต่ด้วยอานุภาพแห่งสติและสัมปชัญญะในตติยฌานนี้ ไม่มีความยินดีในสุข หาใช่ด้วยอานุภาพอื่นไม่ เพราะฉะนั้น เพื่อแสดงความต่างกันแห่งเนื้อความแม้นี้ จึงตรัสคําว่าสติและสัมปชัญญะไว้ในตติยฌานนี้ทีเดียว.

    บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในคําว่า สุขฺจ กาเยน ปฏิสํเวเทติ (และเสวยสุขด้วยนามกาย) นี้ต่อไป.

    ความผูกใจในการเสวยเฉพาะความสุข ของบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยตติยฌานย่อมไม่มีแม้ก็จริง แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะความสุขของพระโยคาวจรนั้นสัมปยุตด้วยนามกาย หรือว่า พระโยคาวาวจรนั้นพึงเสวยสุขใดนั้นอันสัมปยุตด้วยนามกาย หรือเพราะรูปอันประณีตยิ่ง อันตั้งขึ้นด้วยนามกายนั้นถูกต้องรูปกายของพระโยคาวจรนั้น แม้เธอออกจากฌานแล้ว ก็ยังเสวยความสุขเพราะความที่กายนั้นอันรูปประณีตยิ่งถูกต้องแล้ว เพราะฉะนั้น เมื่อจะแสดงเนื้อความนั้นจึงตรัสคําว่า สุขฺจ กาเยน ปฏิสํ เวทติ ดังนี้.

    บัดนี้ พึงทราบอธิบายในคําว่า ยนฺตํ อริยา อาจิกฺขนฺติ อุเปกฺขโก สติมา สุขวิหารี (พระอริยะทั้งหลายย่อมกล่าวว่า บุคคลผู้เพ่งเฉย มีสติอยู่เป็นสุข) ดังนี้ต่อไปว่า

    พระอริยทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมแต่งตั้ง ย่อมเปิดเผย ย่อมจําแนก ย่อมกระทําให้ง่าย ย่อมประกาศ

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 463

ย่อมสรรเสริญซึ่งบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยตติยฌานนั้น เพราะฌานใดเป็นเหตุเพราะฌานใดเป็นการณะ.

    ถามว่า ย่อมสรรเสริญ อย่างไร?

    ตอบว่า ย่อมสรรเสริญว่า เป็นผู้เพ่งเฉย มีสติ อยู่เป็นสุข.

    บัณฑิตพึงทราบการประกอบเนื้อความในข้อนั้น อย่างนี้ว่า พระโยคาวจรเข้าถึงฌานที่ ๓ นั้นอยู่. เพราะเหตุไร พระอริยะทั้งหลายจึงสรรเสริญพระโยคีนั้นอย่างนี้ เพราะท่านเป็นผู้ควรแก่การสรรเสริญ. จริงอยู่ พระโยคาวจรนี้เป็นผู้เพ่งเฉยในตติยฌานอันมีความสุขที่ชอบใจยิ่ง แม้ถึงที่สุดแห่งความสุขก็ไม่ถูกความติดใจในสุขดึงมาในตติยฌานนั้น และชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะมีสติตั้งมั่นโดยประการที่ปีติจะไม่เกิดขึ้น และย่อมเสวยที่ไม่เศร้าหมอง ที่พระอริยะใคร่ ที่อริยชนเสพแล้วนั่นแหละด้วยนามกาย เพราะเหตุนั้น พระโยคีนั้นจึงควรเพื่อสรรเสริญ. ด้วยประการดังกล่าวมานี้ บัณฑิตพึงทราบว่า พระอริยเจ้าเหล่านั้น เมื่อจะประกาศคุณอันเป็นเหตุควรแก่การสรรเสริญอย่างนี้พระโยคาวจรนั้นเป็นผู้เพ่งเฉย มีสติอยู่เป็นสุข เพราะท่านควรแก่การสรรเสริญดังนี้.

    คําว่า ตติยํ (ที่ ๓) คือ ชื่อว่า เป็นที่ ๓ เพราะนับตามลําดับ. ฌานนี้ ชื่อว่า ที่ ๓ เพราะอรรถว่า ย่อมเข้าถึงครั้งที่ ๓. พึงทราบวินิจฉัยในบทที่จําแนกและไม่จําแนกในคําเป็นต้นว่า ตสฺมึ สมเย ผสฺโส โหติ ดังนี้ ในหมวด ๕ แห่งฌาน แม้บทแห่งปีติก็ต้องลดไปด้วยสามารถแห่งฌานแม้นั้น. แม้ในโกฏฐาสวาระก็ตรัสว่า ฌานมีองค ์๒ คําที่เหลือเป็นเช่นกันทุติยฌานนั่นแหละ ดังนี้แล.

    ตติยฌานจบ

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 464

อธิบายจตุตถฌาน

พึงทราบนิทเทสแห่งจตุตถฌาน ต่อไป.

บทว่า สุขสฺส จ ปหานา ทุกฺขสฺส จ ปหานา (เพราะละสุขและทุกข์ได้) ได้แก่ การละสุขทางกาย และทุกข์ทางกาย. คําว่า ปุพฺเพว คือ การละนั้นมีในกาลก่อนทีเดียว มิใช่มีในขณะแห่งจตุตถฌานไม่. คําว่า โสมนสฺสโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมา (เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิท) ความว่า เพราะถึงการตั้งอยู่ไม่ได้แห่งธรรมทั้ง ๒ เหล่านี้ คือ สุขทางใจและทุกข์ทางใจ คํานี้ท่านอธิบายว่า เพราะละเสียแล้ว.

ถามว่า ก็การละสุขและทุกข์ทางใจเหล่านั้นมีในกาลไร.

ตอบว่า ในขณะแห่งอุปุจารฌานทั้ง ๔.

จริงอยู่ พระโยคาวจรละโสมนัสได้ในขณะแห่งอุปจาระของฌานที่ ๔ เท่านั้น ส่วนทุกข์ โทมนัส และสุขย่อมละได้ในขณะแห่งอุปจาระของฌานที่หนึ่ง ที่สอง และที่สาม. โดยประการฉะนี้ บัณฑิตพึงทราบการละสุข ทุกข์โสมนัส และโทมนัส แม้ไม่ตรัสไว้โดยลําดับแห่งการละองค์ฌานเหล่านั้นแต่ก็ตรัสแม้ในฌานที่ ๔ นี้ โดยลําดับแห่งอุทเทสแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ในอินทริยวิภังค์นั่นแล.

ถามว่า ก็องค์ฌานเหล่านั้น พระโยคาวจรย่อมละได้ในขณะอุปจาระของฌานนั้นๆ ไซร้ เมื่อเป็นเช่นนี้ เพราะเหตุไร จึงตรัสความดับในฌานทั้งหลายอย่างนี้ว่าก็ทุกขินทรีย์เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไปไม่มีส่วนเหลือในที่ไหน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัย สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ทุกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่มีส่วนเหลือใน

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 465

ที่นี้... ก็โทมนัสสินทรีย์ ฯลฯ สุขินทรีย์ ฯลฯ โสมนัสสินทรีย์เกิดขึ้นด้วยแล้ว ย่อมดับไปไม่มีส่วนเหลือในที่ไหน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าจตุตถฌานไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละทุกข์และสุข และดับโสมนัสและโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นต้นให้สติบริสุทธิ์อยู่ โสมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่มีส่วนที่เหลือในที่นี้ ดังนี้. ตอบว่า เพราะความดับดียิ่ง.

    อันที่จริง ความดับองค์ฌานเหล่านั้นในปฐมฌานเป็นต้น ก็เป็นการดับดียิ่งเหมือนกัน แต่การดับในขณะแห่งอุปจารฌานไม่ชื่อว่า ความดับที่ดียิ่งจริงอย่างนั้น เมื่อทุกขินทรีย์แม้ดับแล้วในอุปจาระแห่งปฐมฌานในอาวัชชนะต่างๆ ความเกิดขึ้นแห่งทุกขินทรีย์ จะพึงมีได้เพราะสัมผัสอันเกิดแต่เหลือบยุงเป็นต้น หรือว่า เพราะความลําบากเกิดแต่การนั่งในที่อันไม่เสมอ ส่วนภายในอัปปนา ทุกขินทรีย์นั้นหาเกิดขึ้นไม่.

    อีกอย่างหนึ่ง ทุกขินทรีย์ในอุปจารฌานแม้นี้ ยังไม่ดับอย่างสนิทเพราะยังมิได้ถูกปฏิปักขธรรม (คือฌาน) ปราบปราม แต่ว่า ภายในอัปปนากายทั้งปวงได้หยั่งลงสู่ความสุขแล้วด้วยการแผ่ไปแห่งปีติ ทุกขินทรีย์ของพระโยคาวจรผู้มีกายอันหยั่งลงแล้วในความสุข ย่อมเป็นธรรมดับสนิท เพราะอันปฏิปักขธรรมกําจัดแล้ว

    อนึ่ง โทมนัสสินทรีย์แม้พระโยคาวจรละได้แล้วในอุปจารแห่งทุติยฌานในอาวัชชนจิตต่างๆ นั่นแหละ โทมนัสสินทรีย์นี้ก็จะพึงเกิดขึ้น เพราะความลําบากกาย และความคับแค้นใจ อันมีวิตกและวิจารเป็นปัจจัยยังมีอยู่ แต่เมื่อไม่มีวิตกและวิจาร โทมนัสสินทรีย์จะไม่เกิดเลย แต่เมื่อวิตกและวิจารมีอยู่ในที่ใดโทมนัสสินทรีย์ก็ย่อมเกิดขึ้นในที่นั้น คือว่า วิตกและวิจารในอุปจาร

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 466

แห่งทุติยฌานอันพระโยคาวจรยังละไม่ได้ เพราะฉะนั้น โทมนัสสินทรีย์ก็พึงเกิดขึ้นในที่นั้น เพราะความที่วิตกและวิจารเป็นปัจจัยที่ยังละไม่ได้ ส่วนในทุติยฌาน โทมนัสสินทรีย์เกิดไม่ได้เลย เพราะความที่วิตกและวิจารเป็นปัจจัยนั้นท่านละได้แล้ว.

    อนึ่ง ในอุปจารแห่งตติยฌาน สุขินทรีย์แม้พระโยคาวจรละได้แล้วจะพึงเกิดขึ้นแก่กายที่รูปอันประณีตมีปีติเป็นสมุฏฐานถูกต้องแล้ว ส่วนในตติยฌาน สุขินทรีย์จะเกิดไม่ได้เลย เพราะว่า ปีติซึ่งเป็นปัจจัยแก่สุขในตติยฌานย่อมดับไปโดยประการทั้งปวง.

    อนึ่ง ในอุปจารแห่งจตุตถฌาน โสมนัสสินทรีย์แม้พระโยคีละแล้วก็พึงเกิดขึ้นได้ เพราะความเป็นสภาวะใกล้ต่อสุข และเพราะยังไม่ก้าวล่วงโดยชอบ โดยที่ไม่มีอุเบกขาที่ถึงอัปปนา ส่วนในจตุตถฌาน โสมนัสสินทรีย์จะเกิดไม่ได้เลย เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสกระทําให้ถือเอาโดยไม่มีส่วนเหลือในที่นั้นๆ อย่างนี้ว่า ก็ทุกขินทรีย์เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไปไม่มีส่วนเหลือในที่นี้ ดังนี้.

    ในอธิการแห่งจตุตถฌานนี้ มีผู้ท้วงว่า ถ้าเวทนาเหล่านั้นแม้พระโยคีละแล้วในอุปจารแห่งฌานนั้นๆ ด้วยอาการอย่างนี้แล้ว เพราะเหตุไร ในที่นี้จึงนํามาตรัสอีกเล่า. ตอบว่า เพื่อให้เข้าใจ. จริงอยู่ เวทนาที่ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขนี้ใด ซึ่งตรัสไว้ในองค์แห่งฌานนี้ว่า ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุข ดังนี้เวทนานั้นสุขุมรู้ได้โดยยาก ใครๆ ไม่อาจเข้าใจได้โดยง่าย เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงนําเวทนาเหล่านี้ทั้งหมดมาอีกเพื่อให้กําหนดได้โดยง่าย เปรียบเหมือนนายโคบาลต้องการจับโคดุตัวหนึ่งที่ใครๆ ไม่อาจ เพื่อจะ

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 467

เข้าไปจับโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง จึงต้อนโคทั้งหมดเข้าไปในคอกเดียวกัน ทีนั้นเขาจึงต้อนออกไปทีละตัว มันก็ออกมาโดยลําดับ จึงชี้ให้จับว่า โคตัวนี้ คือโคดุนั้น พวกท่านจงจับมัน ฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงเวทนาเหล่านั้น ที่ทรงประมวลมาด้วยอาการอย่างนี้แล้ว ใครๆ ก็อาจเพื่อให้บุคคลกําหนดเวทนานั้นได้ว่า สภาวะใดไม่ใช่สุข ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่โสมนัส ไม่ใช่โทมนัส สภาวะนี้เป็นอทุกขมสุขเวทนา ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเวทนาเหล่านั้นเพื่อทรงชี้ถึงปัจจัยเพื่อเจโตวิมุตติ (คือ ความหลุดพ้นแห่งใจ) ที่ไม่มีทุกข์และสุข เพราะว่า การละสุขและทุกข์เป็นเป็นปัจจัยเพื่อเจโตวิมุตตินั้น เหมือนอย่าง พระธรรมทินนาเถรี กล่าวไว้ว่า (๑) จตฺตาโรโ ข อาวุโส ปจฺจยา อทุกฺขมสุขาย เจโตวิมุตฺติยา สมาปตฺติยา ฯเปฯ สมาปตฺติยา ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ปัจจัยแห่งสมาบัติ ที่เป็นเจโตวิมุตติ อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มี๔ อย่างแล ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าถึงจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์และสุข เพราะละสุขและทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสในก่อนเสียได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ปัจจัยแห่งสมาบัติที่เป็นเจโตวิมุตติอันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข ๔ อย่างนี้แล.

อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบว่า สังโยชน์มีสักกายทิฏฐิเป็นต้น ที่พระอริยเจ้าละได้แล้วในมรรคอื่น (ปฐมมรรคเป็นต้น) พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะทรงยอย่องมรรคที่ ๓ จึงตรัสว่า ละแล้วในมรรคที่ ๓ นั้น ดังนี้ ฉันใด


(๑) ม. มู เล่ม ๑๒. ๕๐๓/๕๔๓

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 468

เพื่อทรงยกย่องฌานนั้น จึงตรัสถึงอทุกขมสุขเวทนานั้น ในฌานที่ ๔ นี้ฉันนั้น.หรืออีกอย่างหนึ่ง พึงทราบตรัสอทุกขมสุขนั้น เพื่อแสดงถึงความที่ราคะและโทสะเป็นสภาพไกลยิ่งในฌานที่ ๔ นี้ โดยขจัดปัจจัยได้แล้ว จริงอยู่ บรรดาฌานเหล่านั้น สุขเป็นปัจจัยแก่โสมนัส โสมนัสเป็นปัจจัยแก่ราคะ ทุกข์เป็นปัจจัยแก่โทมนัส โทมนัสเป็นปัจจัยแก่โทสะ ราคะและโทสะพร้อมทั้งปัจจัยอันจตุตถฌานขจัดแล้ว เพราะขจัดความสุขเป็นต้นได้แล้ว เพราะฉะนั้น ราคะและโทสะ จึงชื่อว่า มีอยู่ในที่ไกลยิ่ง ดังนี้.

    คําว่า อทุกฺขมสุขํ ความว่า ชื่อว่า อทุกข์ เพราะความไม่มีทุกข์ชื่อว่า อสุข เพราะความไม่มีสุข. ด้วยคําว่า อทุกฺขมสุขํ นี้ ย่อมทรงแสดงเวทนาที่ ๓ อันเป็นปฏิปักษ์ต่อทุกข์และสุข ในจุตตถฌานนี้ มิใช่ทรงแสดงเพียงความไม่ทุกข์ไม่สุขแต่ตรัสว่าความไม่ทุกข์ไม่สุข ชื่อว่า เวทนาที่ ๓ เป็นอุเบกขาดังนี้ก็มี.

    อุเบกขาเวทนานั้น พึงทราบว่า มีการเสวยอารมณ์ตรงกันข้ามกับอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์เป็นลักษณะ มีความเป็นกลางเป็นรส มีการไม่ปรากฏชัดเป็นปัจจุปัฏฐาน มีการดับความสุขเป็นปทัฏฐาน.

    คําว่า อุเปกฺขาสติปาริสุทฺธึ (มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา) ได้แก่ มีสติบริสุทธิ์ อันอุเบกขาให้เกิดขึ้นแล้ว เพราะในฌานนี้ สติบริสุทธิ์ดีแล้วก็ความบริสุทธิ์ของสตินี้อันอุเบกขาทําแล้ว มิใช่ธรรมอื่นทําให้ เพราะเหตุนั้นจตุตถฌานนี้ จึงชื่อว่า มีสติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขา ดังนี้. แม้ในวิภังค์พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสว่า สตินี้ อันอุเบกขานี้ เปิดแล้ว เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาดังนี้

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 469

อนึ่ง ความบริสุทธิ์แห่งสติในฌานนี้ย่อมมีได้ด้วยอุเบกขาใด อุเบกขานั้น ว่าโดยเนื้อความ พึงทราบว่า เป็นตัตรมัชฌัตตตา ดังนี้ก็ในจตุตถฌานนี้ สติเท่านั้นบริสุทธิ์แล้วด้วยอุเบกขานั้นเพียงอย่างเดียวก็หาไม่ ที่แท้สัมปยุตตธรรมแม้ทั้งหมดก็บริสุทธิ์เพราะอุเบกขาเหมือนกัน แต่ตรัสเทศนาไว้โดยยกสติเป็นประธาน บรรดาฌานเหล่านั้น อุเบกขานี้ แม้จะมีอยู่ในฌานเบื้องต่ํา ๓ ก็จริงถึงอย่างนั้น ก็ไม่ทําให้สติและสัมปยุตตธรรมบริสุทธิ์ผุดผ่อง เปรียบเหมือนดวงจันทร์แม้มีอยู่ในกลางวันก็ไม่บริสุทธิ์ผ่องใส เพราะกลางวันถูกรัศมีพระอาทิตย์ข่ม และเพราะไม่ได้ราตรีอันเป็นสภาคะ โดยเป็นราตรีแจ่มใส หรือราตรีที่อุปการะแก่ตนฉันใด แม้ดวงจันทร์ คือ ตัตรมัชฌัตตตุเบกขานี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะถูกเดชแห่งธรรมอันเป็นข้าศึกมีวิตกเป็นต้นครอบงํา และไม่ได้ราตรีอันเป็นสภาวะคืออุเบกขาเวทนา แม้จะมีอยู่ในฌานมีปฐมฌานเป็นต้น ก็ไม่บริสุทธิ์ เปรียบเหมือนดวงจันทร์ไม่บริสุทธิ์ผุดผ่องในเวลากลางวัน รัศมีแห่งดวงจันทร์ ก็ไม่บริสุทธิ์ แม้สหชาตธรรมมีสติเป็นต้นก็ไม่บริสุทธิ์เหมือนกัน เพราะฉะนั้น ในบรรดาฌานเหล่านั้น แม้ฌานหนึ่งก็ไม่ตรัสว่า มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แต่ในจตุตถฌานนี้ ดวงจันทร์ คือตัตรมัชฌัตตตุเบกขานี้ บริสุทธิ์ยิ่งนักเพราะได้ราตรีคือ อุเบกขาเวทนาเป็นสภาคะ เพราะไม่ถูกเดชแห่งข้าศึกมีวิตกเป็นต้นครอบงํา เพราะเหตุที่อุเบกขานั้นเป็นธรรมบริสุทธิ์ แม้สหชาตธรรมมีสติเป็นต้นก็บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ดุจรัศมีแห่งดวงจันทร์ที่บริสุทธิ์แล้ว เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า จตุตถฌานนี้เท่านั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มีสติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขา ดังนี้.

    คําว่า จตุตฺถํ แปลว่า ที่ ๔ โดยลําดับแห่งการนับ. ฌานนี้ ชื่อว่า ฌานที่ ๔ เพราะอรรถว่า ย่อมบรรลุครั้งที่ ๔. ในคําว่า ผสฺโส โหติ

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 470

เป็นต้น พึงทราบในผัสสปัญจกะ (หมวด ๕ แห่งผัสสะ) ว่า เวทนานั้นเป็นอุเบกขาเวทนาเท่านั้น. อนึ่ง ในหมวด ๕ แห่งฌาน และหมวด ๘ แห่งอินทรีย์ ก็ตรัสว่า เป็นอุเบกขา เป็นอุเบกขินทรีย์นั่นแล. บทที่เหลือนอกนี้ไม่มีในฌานที่ ๓ แม้ในฌานที่๔ นี้ ก็ไม่มีเหมือนกัน. แม้ในโกฏฐาสวารก็ตรัสว่า ฌานมีองค์ ๒ คํานี้พึงทราบด้วยสามารถแห่งอุเบกขาและจิตเตกัคคตานั่นแหละ. คําที่เหลือทั้งปวงเป็นเช่นกับตติยฌานนั่นแล.

ฌานจุตกนัยจบ

ปัญจกนัย

[๑๔๙] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

[๑๕๐] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ บรรลุทุติยฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ไม่มีวิตก มีแต่วิจาร กับปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 471

สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะอวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น.

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ

[๑๕๑] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๘ ฌานมีองค์ ๔ มรรคมีองค์ ๔ พละ ๗ เหตุ ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธรรมายตนะ ๑ ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น.

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ

[๑๕๒] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ผัสสะ เจตนา วิจาร ปีติ เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ หรือนามธรรมที่อิงอาศัย เกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้นเว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

[๑๕๓] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ บรรลุตติยฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ภายในผ่องใส เพราะวิตกวิจารสงบ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนาจิต ปีติ สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 472

วิริยินทรีย์ สิตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้นหรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น.

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ

[๑๕๔] ก็ขันธ์ อายตนะ ๒ ธาตุ๒ อาหาร ๓ อินทรีย ์๘ ฌานมีองค์ ๓ มรรคมีองค์ ๔ พละ ๗ เหตุ ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธรรมมายตนะ ๑ ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น.

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

[๑๕๕] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ผัสสะ เจตนา ปีติ เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

[๑๕๖] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ เพราะคลายปีติได้อีกด้วย ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์อยู่ในสมัยใด ผัสสะเวทนา สัญญา เจตนา จิต สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น. หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใดอยู่ในสมัยนั้น.

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 473

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธรรมเป็นกุศล ฯลฯ

[๑๕๗] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๘ฌานมีองค์ ๒ มรรคมีองค ์๔ พละ ๗ เหตุ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธรรมายตนะ ๑ ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น.

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ

[๑๕๘] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ผัสสะ เจตนา เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้นเว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

[๑๕๙] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ บรรลุปัญจมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต อุเบกขา เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะอวิกเขปะมีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น.

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 474

[๑๖๐] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๘ ฌานมีองค ์๒ มรรคมีองค์ ๔ พละ ๗ เหตุ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธรรมายตนะ ๑ ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยใด หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น.

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ

[๑๖๑] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ผัสสะ เจตนา เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้นเว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ปัญจกนัย จบ

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 475

อรรถกถาจิตตุปปาทกัณฑ์

อธิบายฌานปัญจกนัย

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มปัญจกนัย (นัยแห่งฌานหมวด ๕) ว่า กตเม ธมฺมา กุสลา (ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน) ดังนี้.

ถามว่า เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงฌานปัญจกนัยตอบว่า เพราะแสดงตามอัธยาศัยของบุคคล และเพราะความงามแห่งเทศนาได้ยินว่า ในเทวบริษัทที่ประชุมกัน วิตกของเทวดาบางพวกเท่านั้นปรากฏเป็นของหยาบ ส่วนวิจาร ปีติ สุข เอกัคคตาจิตปรากฏเป็นของสงบ พระศาสดาทรงจําแนกชื่อทุติยฌานมีองค์ ๔ ซึ่งไม่มีวิตก มีแต่วิจาร ด้วยสามารถแห่งสัปปายะแก่เทวดาเหล่านั้น บางพวกมีวิจารปรากฏโดยเป็นของหยาบ ปีติ สุขเอกัคคตาจิตปรากฏโดยเป็นของสงบ พระศาสดาก็ทรงจําแนกชื่อตติยฌานมีองค์ ๓ ด้วยสามารถสัปปายะแก่เทวดาเหล่านั้น บางพวกมีปีติปรากฏโดยเป็นของหยาบ สุขเอกัคคตาจิตปรากฏโดยความสงบ พระศาสดาก็ทรงจําแนกชื่อจตุตถฌาน มีองค์ ๒ ด้วยสามารถสัปปายะแก่เทวดาเหล่านั้น บางพวกมีสุขปรากฏโดยเป็นของหยาบ อุเบกขาและเอกัคคตาจิตปรากฏโดยความสงบพระศาสดาก็ทรงจําแนกชื่อปัญจมฌานมีองค์ ๒ ด้วยสามารถแห่งสัปปายะแก่เทวดาเหล่านั้น นี้ชื่อว่า อัธยาศัยของบุคคลก่อน.

ส่วนชื่อว่า เทศนาที่ถึงความงามแห่งเทศนา เพราะธรรมธาตุใดอันเวไนยสัตว์แทงตลอดดีแล้ว ธรรมธาตุนั้น พระตถาคตทรงแทงตลอดมาดีแล้ว เพราะฉะนั้น พระศาสดาผู้ทรงบรรลุถึงความงามแห่งเทศนา ผู้ฉลาดในวิธีเทศนาเพราะทรงมีพระญาณใหญ่ ทรงกําหนดเทศนาได้ตามพระประสงค์

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 476

ด้วยสามารถแห่งองค์นั้นๆ ในที่นี้ ทรงจําแนกปฐมฌานมีองค์ ๕ ทุติยฌานมีองค์ ๔ คือไม่มีวิตก มีแต่วิจาร ตติยฌานมีองค์ ๓ จตุตถฌานมีองค์ ๒ ปัญจมฌานก็มีองค์ ๒ นั่นแหละ นี้ ชื่อว่า เทศนาวิลาส (ความงามแห่งเทศนา)

อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสมาธิ ๓ เหล่าใดในพระสูตรว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมาธิ๓ เหล่านี้ คือ

สวิตักกสวิจารสมาธิ

อวิตักกวิจารมัตตสมาธิ

อวิตักกอวิจารสมาธิ.

บรรดาสมาธิเหล่านั้น สวิตักกสวิจารสมาธิ และอวิตักกอวิจารสมาธิ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจําแนกแสดงไว้ในหนหลังแล้ว. ส่วน อวิตักกวิจารมัตตสมาธิ ยังมิได้ทรงแสดงไว้ เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า เพื่อแสดงอวิตักวิจารมัตตสมาธินั้น จึงทรงเริ่มปัญจกนัยนี้. ในนิทเทสแห่งทุติยฌานในปัญจกนัยนั้น บรรดาธรรมมีผัสสะเป็นต้น ธรรมมีเพียงวิตกที่ลดลง ส่วนในโกฏฐาสวารเนื้อความว่า ฌานมีองค์ ๔ มรรคมีองค์ ๔ ดังนี้ เท่านั้นที่แปลกกัน คําที่เหลือทั้งหมดเช่นกับปฐมฌานนั่นแหละ. และฌานที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ในจตุกนัยเป็นฌานที่ ๓ ที่ ๔ ที่ ๕ ในปัญจกนัยนี้ เพื่อแสดงลําดับการบรรลุฌานเหล่านั้น พึงทราบนัยดังต่อไปนี้.

ได้ยินว่า บุตรของอํามาตย์คนหนึ่ง มาสู่พระนครจากชนบทเพื่อเข้าเฝ้าพระราชา เขาเฝ้าพระราชาเพียงวันเดียวเท่านั้น แล้วผลาญทรัพย์ทั้งหมดด้วยการดื่มสุราวันหนึ่ง พวกนักเลงแก้ผ้าเขาซึ่งเมาสุราแล้วเอาเสื่อลําแพนเก่า

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 477

มาปิดไว้ แล้วเอาออกจากโรงสุรา ผู้รู้วิชาดูลักษณะคนหนึ่งเห็นเขานอนหลับที่กองหยากเยื่อ จึงสันนิษฐานว่า บุรุษคนนี้จักเป็นที่พึ่งแก่มหาชนได้ เราควรช่วยบุรุษนี้ จึงให้อาบน้ำชําระร่างกาย ให้นุ่งห่มผ้าเนื้อหยาบคู่หนึ่ง แล้วให้อาบด้วยน้ำหอมอีก แล้วให้นุ่งห่มผ้าทุกูลเนื้อละเอียด ให้ขึ้นสู่ปราสาท ให้บริโภคโภชนะอย่างดี แล้วมอบคนปรนนิบัติให้ด้วยคําว่า พวกเธอจงบําเรอผู้นี้อย่างนี้ แล้วหลีกไป.

    ต่อจากนั้นพวกคนใช้เหล่านั้น ก็ยกเขาให้ขึ้นสู่ที่นอนก็เพื่อป้องกันไม่ให้เขาไปร้านดื่มสุรา คนปรนนิบัติ ๔ คน ได้ยืนกดมือและเท้าเขาไว้ คนหนึ่งนวดเท้า คนหนึ่งเอาพัดใบตาลมาพัดโบก คนหนึ่งนั่งดีดพิณขับกล่อมอยู่. เขาหายเมื่อยแล้วเพราะหลับบนที่นอนหน่อยหนึ่งแล้วตื่นขึ้นไม่สามารถทนการกดมือและเท้าได้ จึงคุกคามด้วยคําว่า ใครมากดเท้ากดมือเราไว้ จงออกไป คนเหล่านั้นก็ออกไปเพียงคําเดียวเท่านั้น เขาก็หลับไปอีกหน่อยหนึ่งแล้วก็ตื่นขึ้น ทนการนวดเท้าไม่ได้จึงพูดว่า ใครมานวดเท้าของเราจงออกไป แม้คนนวดเท้านั้นก็หลีกไปเพียงคําเดียวนั่นแหละ เขาหลับไปอีกหน่อยหนึ่งตื่นขึ้นทนลมพัดใบตาลเหมือนลมเจือฝนไม่ได้ จึงพูดว่า นั่นใครจงออกไป แม้คนนั้นก็หลีกไปเพียงคําเดียวเท่านั้น เขาหลับไปอีกหน่อยหนึ่งตื่นขึ้นทนเสียงเพลงขับเหมือนหลาวแทงหูไม่ได้ จึงคุกคามคนดีดพิณ แม้คนดีดพิณก็ออกไปเพียงคําเดียวเหมือนกัน ที่นั้นเขาละอุปัทวะ (ความรบกวน) คือความเมื่อยล้า การถูกกด การบีบนวดการถูกลมพัด และเพลงขับประโคมจึงนอนสบาย ตื่นขึ้นแล้วได้ไปเฝ้าพระราชา แม้พระราชาก็ได้พระราชทานความเป็นใหญ่ให้แก่เขา เขาได้เป็นที่พึ่งแก่มหาชนเกิดขึ้นแล้ว.

    ในเรื่องนั้น พึงเห็นกุลบุตรผู้ครองเรือนถึงความเสื่อมโทรม เพราะความพินาศไปแห่งทรัพย์เป็นอเนกนี้ เปรียบเหมือนบุตรแห่งอํามาตย์ผู้ถึงความเสื่อมโทรม เพราะพินาศไปด้วยการดื่มน้ำเมานั้น. พระตถาคตเปรียบเหมือน

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 478

บุคคลผู้รู้วิชาดูลักษณะ การที่พระตถาคตทรงสันนิษฐานว่า กุลบุตรนี้จักเป็นที่พึ่งแก่มหาชนได้ สมควรจะบรรพชา ดังนี้ เปรียบเหมือนบุรุษผู้รู้วิชาดูลักษณะ สันนิษฐานว่า บุคคลนี้จักเป็นที่พึ่งแก่มหาชน สมควรจะช่วยเหลือต่อมากุลบุตรได้บรรพชา เปรียบเหมือนบุตรอํามาตย์นั้นได้อาบน้ำทําความชําระร่างกาย ต่อมากุลบุตรนี้ ได้นุ่งห่มผ้าคือศีล ๑๐ เหมือนบุตรอํามาตย์นั้นนุ่งผ้าเนื้อหยาบ การที่กุลบุตรนี้ได้อาบน้ำหอม คือ ปาฏิโมกขสังวรศีลเป็นต้นเปรียบเหมือนบุตรของอํามาตย์นั้นได้อาบน้ำหอมอีก. การที่กุลบุตรนี้ได้นุ่งห่มผ้าทุกูลพัสตร์ คือถึงพร้อมด้วยศีลวิสุทธิ์ตามที่กล่าวแล้ว เปรียบเหมือนบุตรของอํามาตย์นั้น ได้นุ่งห่มผ้าทุกูลเนื้อละเอียดอีก. การที่กุลบุตรนี้ นุ่งห่มผ้าทุกูลคือศีลวิสุทธิขึ้นสู่ปราสาท คือสมาธิภาวนา เปรียบเหมือนบุตรของอํามาตย์นั้นนุ่งห่มผ้าทุกูลเนื้อละเอียดขึ้นสู่ปราสาท.

    ต่อจากนั้นกุลบุตรนี้ได้การบริโภคอมตธรรม มีสติและสัมปชัญญะเป็นต้นซึ่งมีอุปการะต่อสมาธิ เปรียบเหมือนบุตรของอํามาตย์นั้นบริโภคอาหารอย่างดี. การที่กุลบุตรนี้ ถูกวิตกและวิจารยกขึ้นสู่อุปจารแห่งฌานเปรียบเหมือนบุตรของอํามาตย์นั้นบริโภคอาหารแล้ว ถูกผู้บําเรอทั้งหลายยกขึ้นสู่ที่นอน. เนกขัมมวิตกของกุลบุตรนี้ บีบคั้นจิตในอารมณ์เพื่อป้องกันมุ่งหน้าต่อกามสัญญา เปรียบเหมือนชาย ๔ คน กดเท้ากดมือของบุตรแห่งอํามาตย์นั้นไว้ เพื่อมิให้ไปสู่โรงดื่มอีก. วิจารที่เคล้าเคลียจิตในอารมณ์ของกุลบุตรนี้ เปรียบเหมือนบุรุษบีบนวดเท้าของอํามาตย์นั้น. ปีติอันให้ซึ่งความเยือกเย็นใจของกุลบุตรนี้ เปรียบเหมือนการให้บุรุษเอาพัดใบตาลพัดโบกให้บุตรของอํามาตย์นั้น. โสมนัสอนุเคราะห์จิตของกุลบุตรนี้เปรียบเหมือนนักดนตรีทําการอนุเคราะห์โสตของบุตรของอํามาตย์นั้น. การที่กุลบุตรบรรเทาความเมื่อยคือปราศจากนิวรณ์ โดยอาศัยอุปจารฌานเข้าถึงปฐมฌานนี้ เปรียบเหมือนบุตรของอํามาตย์นั้น บรรเทาความเมื่อยล้าหน่อยหนึ่ง

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ธ.ค. 2564

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 479

ด้วยการเข้าไปสู่ที่นอนแล้วหลับไป. การที่กุลบุตรนี้ออกจากปฐมฌานเห็นโทษวิตก เพราะทนวิตกบีบคั้นจิตไม่ได้ จึงละวิตกเข้าฌานที่เป็นอวิตักกวิจารมัตตสมาธิ (ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร) เปรียบเหมือนการที่บุตรของอํามาตย์หลับแล้วตื่นขึ้นคุกคามคนผู้กดมือกดเท้า เพราะทนต่อการกดมือกดเท้าไม่ได้เพราะคนเหล่านั้นหลีกไป จึงหลับหน่อยหนึ่ง.

    ต่อจากนั้น การที่กุลบุตรนี้ออกจากทุติยฌานเป็นต้นบ่อยๆ เห็นโทษวิจารเป็นต้น โดยลําดับ เพราะไม่อาจทนต่อวิจารเป็นต้น ซึ่งมีโทษตามที่กล่าวแล้ว และเพราะละวิจารเป็นต้นเหล่านั้น จึงเข้าฌานที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจารไม่มีปีติ ละโสมนัสได้แล้ว เปรียบเหมือนบุตรอํามาตย์นั้นนอนหลับแล้วตื่นขึ้นบ่อยๆ คุกคามคนผู้บีบนวดเท้าเป็นต้น โดยลําดับตามที่กล่าวแล้วเพราะไม่อาจทนต่อการบีบนวดเท้าเป็นต้น และเพราะคนนวดเท้าเป็นต้นเหล่านั้นออกไปแล้ว จึงเข้าถึงความหลับหน่อยหนึ่งบ่อยๆ . ก็เมื่อกุลบุตรแม้นี้ออกจากปัญจมฌานเข้าถึงวิปัสสนามรรคบรรลุพระอรหัต เปรียบเหมือนบุตรของอํามาตย์นั้นลุกจากที่นอนไปเฝ้าพระราชา แล้วถึงพร้อมด้วยอิสริยยศ. แม้ความที่กุลบุตรแม้นี้บรรลุพระอรหัตแล้วเป็นที่พึ่งแก่ชนเป็นอันมาก พึงทราบเหมือนความที่บุตรของอํามาตย์นั้นได้อิสริยยศแล้วเป็นที่พึ่งแก่ชนเป็นอันมาก ฉะนั้น. จริงอยู่ ด้วยความเกิดขึ้นแห่งพระอรหัตมีประมาณเท่านี้ กุลบุตรนี้ ก็ชื่อว่าเป็นบุญเขตอันยอดเยี่ยมฉะนี้แล.

    ฌานปัญจกนัยจบ

    ด้วยคํามีประมาณเท่านี้ย่อมเป็นอันประกาศชื่อ สุทธิกนวกะ (ความบริสุทธิ์ ๙) อันต่างโดยฌานจตุกนัย และฌานปัญจกนัย แต่เมื่อว่าโดยอรรถสุทธิกนวกะนั้นพึงทราบว่าเป็นฌานปัญจกนัยนั่นเอง เพราะฌานจตุกนัยรวมเข้าในฌานปัญจกนัยได้