มีอนันตรปัจจัยใด ที่ไม่เป็นสมนันตรปัจจัยหรือไม่

 
Witt
วันที่  26 ธ.ค. 2564
หมายเลข  41803
อ่าน  488

กราบเรียนถามครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 27 ธ.ค. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

อนันตรปัจจัย คือสภาพธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกที่เกิดขึ้นและดับไป เมื่อดับไปจึงเป็นปัจจัยให้จิต เจตสิกดวงต่อไปเกิดขึ้นโดยไม่มีระหว่างขั้นเลย เพราะฉะนั้น จิตเจตสิกที่ดับไปจึงเป็นอนันตรปัจจัยให้จิต เจตสิกดวงต่อไปเกิดขึ้นทันที

สมนันตรปัจจัย สภาพธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกที่เกิดขึ้นและดับไป เมื่อดับไปจึงเป็นปัจจัยให้จิตเจตสิกดวงต่อไปเกิดขึ้น โดยไม่มีระหว่างขั้นและด้วยดี ต่างกับตรงอนันตรปัจจัยที่ว่าเมื่อจิตและเจตสิก ประเภทนั้นดับไปเป็นสมนันตรปัจจัยเป็นปัจจัยให้จิต เจตสิกอื่นเกิดต่อเป็นลำดับด้วยดี เช่น เมื่อจักขุวิญญาณจิตดับไป จิตอื่นก็เกิดต่อทันทีไม่มีระหว่างขั้นและเกิดเป็นลำดับด้วยดี สัมปฏิจฉันนจิตเกิดต่อ เป็นลำดับด้วยดี

จักขุวิญญาณจิตดับ สันตีรณจิตจะเกิดต่อไม่ได้ ต้องเป็นสัมปฏิจฉันนจิตจึงเกิดต่อเป็นลำดับด้วยดีเป็นสมนันตรปัจจัย

เมื่อจิตและเจตสิก เกิดขึ้นแล้วดับไป เป็นปัจจัยให้จิต และเจตสิกขณะต่อไปเกิดขึ้น โดยไม่มีระหว่างคั่น ซึ่งเมื่อไม่มีระหว่างคั่นแล้ว ยังจะต้องเป็นลำดับด้วยดี ด้วย จะสับลำดับกันไม่ได้ เพราะตามความเป็นจริงของจิตแล้วจะต้องเกิดขึ้นเป็นไปตามลำดับ จิตที่เกิดขึ้นแล้วดับไป เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย และ สมนันตรปัจจัย ให้จิตขณะต่อไปเกิดขึ้น ดังนั้น มีอนันตรปัจจัย ก็ต้องมีสมนันตรปัจจัย เสมอครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
Witt
วันที่ 27 ธ.ค. 2564

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
chatchai.k
วันที่ 27 ธ.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 27 ธ.ค. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ปัจจัยทั้งสองปัจจัย คือ อนันตรปัจจัย (ความเป็นปัจจัย โดยไม่มีระหว่างคั่น, ไม่มีธรรมอย่างอื่นคั่น) และ สมนันตรปัจจัย (ความเป็นปัจจัย โดยไม่มีระหว่างคั่นด้วยดี หรือ ที่เข้าใจกัน คือ ความเป็นปัจจัยโดยเป็นลำดับด้วยดี) นั้น ทั้งสองปัจจัยนี้ หมายถึงเฉพาะนามธรรม คือ จิต และ เจตสิกที่เกิดร่วมด้วย เท่านั้น เมื่อจิต (และเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย) เกิดขึ้นแล้วดับไป เป็นปัจจัยให้จิต (และเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย) ขณะต่อไปเกิดขึ้น โดยไม่มีระหว่างคั่น ซึ่งเมื่อไม่มีระหว่างคั่นแล้ว ยังจะต้องเป็นลำดับด้วยดี ด้วย จะสับลำดับกันไม่ได้ เพราะตามความเป็นจริงของจิตแล้วจะต้องเกิดขึ้นเป็นไปตามลำดับ จิตที่เกิดขึ้นแล้วดับไป เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย และ สมนันตรปัจจัย ให้จิตขณะต่อไปเกิดขึ้น ซึ่งจิตขณะต่อไปที่เกิดขึ้น (รวมทั้งเจตสิก) นั้น ก็เป็นผลของอนันตรปัจจัยและสมนันตรปัจจัย นั่นเอง ครับ

ขอเชิญศึกษาเพิ่มเติมจากคำบรรยายของท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์
ได้ที่หัวข้อด้านล่างนี้ ครับ

แนวทางเจริญวิปัสสนา แผ่นที่ ๒๓ (ครั้งที่ 1321-1380)


...ยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
chatchai.k
วันที่ 27 ธ.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Witt
วันที่ 27 ธ.ค. 2564

อ้างอิงจาก ความคิดเห็น 4 โดย khampan.a

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ปัจจัยทั้งสองปัจจัย คือ อนันตรปัจจัย (ความเป็นปัจจัย โดยไม่มีระหว่างคั่น, ไม่มีธรรมอย่างอื่นคั่น) และ สมนันตรปัจจัย (ความเป็นปัจจัย โดยไม่มีระหว่างคั่นด้วยดี หรือ ที่เข้าใจกัน คือ ความเป็นปัจจัยโดยเป็นลำดับด้วยดี) นั้น ทั้งสองปัจจัยนี้ หมายถึงเฉพาะนามธรรม คือ จิต และ เจตสิกที่เกิดร่วมด้วย เท่านั้น เมื่อจิต (และเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย) เกิดขึ้นแล้วดับไป เป็นปัจจัยให้จิต (และเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย) ขณะต่อไปเกิดขึ้น โดยไม่มีระหว่างคั่น ซึ่งเมื่อไม่มีระหว่างคั่นแล้ว ยังจะต้องเป็นลำดับด้วยดี ด้วย จะสับลำดับกันไม่ได้ เพราะตามความเป็นจริงของจิตแล้วจะต้องเกิดขึ้นเป็นไปตามลำดับ จิตที่เกิดขึ้นแล้วดับไป เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย และ สมนันตรปัจจัย ให้จิตขณะต่อไปเกิดขึ้น ซึ่งจิตขณะต่อไปที่เกิดขึ้น (รวมทั้งเจตสิก) นั้น ก็เป็นผลของอนันตรปัจจัยและสมนันตรปัจจัย นั่นเอง ครับ

ขอเชิญศึกษาเพิ่มเติมจากคำบรรยายของท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์
ได้ที่หัวข้อด้านล่างนี้ ครับ

แนวทางเจริญวิปัสสนา แผ่นที่ ๒๓ (ครั้งที่ 1321-1380)


...ยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ...

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ