พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ปุราเภทสุตตนิทเทสที่ ๑๐

 
บ้านธัมมะ
วันที่  22 พ.ย. 2564
หมายเลข  40771
อ่าน  468

[เล่มที่ 66] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 1

อัฏฐกวัคคิกะ

ปุราเภทสุตตนิทเทสที่ ๑๐

ว่าด้วยคําถามของพระพุทธนิมิต หน้า 1

อธิบายคําว่า ภควา หน้า 3

ว่าด้วยความทําไว้ในเบื้องหน้า ๒ อย่าง หน้า 6

ว่าด้วยเหตุให้เกิดความโกรธ ๑๐ อย่าง หน้า 8

ว่าด้วยผู้ไม่สะดุ้ง หน้า 10

ว่าด้วยไม่โอ้อวด หน้า 11

ว่าด้วยผู้ไม่มีความรําคาญ หน้า 12

ว่าด้วยปัญญาเรียกว่ามันตา หน้า 14

ว่าด้วยการสํารวมวาจา หน้า 14

ว่าด้วยผู้ไม่มีตัณหา หน้า 16

ว่าด้วยผู้ไม่เศร้าโศก หน้า 17

ว่าด้วยผัสสะ หน้า 18

ว่าด้วยผู้หลีกเร้น หน้า 20

ว่าด้วยความหลอกลวง ๓ อย่าง หน้า 20

ว่าด้วยความคะนอง ๓ อย่าง หน้า 24

ว่าด้วยความคะนอง ๓ อย่าง หน้า 25

ว่าด้วยผู้น่ารังเกียจและไม่น่ารังเกียจ หน้า 29

ว่าด้วยผู้ส่อเสียด หน้า 31

ว่าด้วยกามคุณ หน้า 32

ว่าด้วยความดูหมิ่น หน้า 33

ว่าด้วยรู้ธรรมแล้วไม่ต้องเชื่อใครอีก หน้า 35

ว่าด้วยผู้ไม่คลายกําหนัด หน้า 37

ว่าด้วยศึกษาเพราะอยากได้ลาภ หน้า 38

ว่าด้วยโกรธเพราะไม่ได้ลาภ หน้า 40

ว่าด้วยความพิโรธ หน้า 41

ว่าด้วยอุเบกขามีองค์ ๖ หน้า 44

ว่าด้วยมานะ หน้า 47

ว่าด้วยกิเลสหนา ๗ ประการ หน้า 48

ว่าด้วยความอาศัย หน้า 49

ว่าด้วยตัณหา หน้า 50

ว่าด้วยกาม ๒ หน้า 51

ว่าด้วยเครื่องร้อยรัด ๔ อย่าง หน้า 51

ว่าด้วยตัณหามีชื่อต่างๆ หน้า 52

ว่าด้วยบุตรเป็นต้น หน้า 53

ว่าด้วยทิฏฐิ หน้า 54

ว่าด้วยพระอรหันต์ไม่มีโทษห้อมล้อม หน้า 56

ว่าด้วยความกําหนด ๒ อย่าง หน้า 58

ว่าด้วยผู้ไม่ความยึดถือ หน้า 59

ว่าด้วยผู้ไม่เศร้าโศก หน้า 60

ว่าด้วยผู้ไม่ลําเอียง หน้า 61

ว่าด้วยผู้สงบ หน้า 62

อรรถกถาปุราเภทสุตตนิทเทสที่ ๑๐ หน้า 63


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 66]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 1

พระสุตตันตปิฎก

ขุททกนิกาย มหานิทเทส

เล่มที่ ๕ ภารที่ ๒

อัฏฐกวัคคิกะ (๑)

ปุราเภทสุตตนิทเทสที่ ๑๐

    [๓๗๔] (พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า) บุคคลมีความเห็นอย่างไรมีศีลอย่างไร อันบัณฑิตกล่าวว่า เป็นผู้เข้าไปสงบแล้วข้าแต่พระโคดม พระองค์ถูกถามแล้ว ขอจงตรัสบอกบุคคลนั้น ซึ่งเป็นนรชนผู้อุดม แก่ข้าพระองค์.

ว่าด้วยคำถามของพระพุทธนิมิต

    [๓๗๕] คำว่า มีความเห็นอย่างไร ในคำว่า บุคคลมีความเห็นอย่างไร มีศีลอย่างไร อันบัณฑิตกล่าวว่า เป็นผู้เข้าไปสงบแล้วความว่า บุคคลประกอบด้วยความเห็นเช่นไร คือ ด้วยความดำรงอยู่อย่างไร ด้วยประการอย่างไร ด้วยส่วนเปรียบอย่างไร เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า มีความเห็นอย่างไร. คำว่า มีศีลอย่างไร ความว่า บุคคลประกอบ


๑. บาลีเล่มที่ ๒๙. คำนี้พม่าเป็นอัฏฐกวัคคะ.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 2

ด้วยศีลเช่นไร คือ ด้วยความดำรงอยู่อย่างไร ด้วยประการอย่างไร ด้วย ส่วนเปรียบอย่างไร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มีความเห็นอย่างไร มีศีล อย่างไร. คำว่า อันบัณฑิตกล่าวว่า เป็นผู้เข้าไปสงบแล้ว ความว่า อัน บัณฑิตกล่าว เรียก บอก พูด แสดง แถลงว่า เป็นผู้สงบเข้าไปสงบ ดับ ระงับแล้ว. พระพุทธนิมิตตรัสถามถึงอธิปัญญาว่า มีความเห็นอย่างไร ตรัสถามถึงอธิศีลว่า มีศีลอย่างไร ตรัสถามถึงอธิจิตว่า เป็นผู้เข้าไปสงบ แล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลมีความเห็นอย่างไร มีศีลอย่างไร อันบัณฑิตกล่าวว่า เป็นผู้เข้าไปสงบแล้ว.

[๓๗๖] คำว่า ซึ่งบุคคลนั้น ในคำว่า ข้าแต่พระโคดม ... ขอ จงตรัสบอกบุคคลนั้น ... แก่ข้าพระองค์ ความว่า บุคคลที่ถาม ที่ขอ ให้บอก ขอจงตรัสบอก ขอให้ประสาท พระพุทธนิมิตนั้น ย่อมตรัส เรียกพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้พุทธเจ้า โดยพระโคตรว่า ข้าแต่พระโคดม. คำว่า ขอจงตรัสบอก คือ ตรัสเล่า บอก แสดง แถลง แต่งตั้ง เปิด เผย จำแนก ทำให้ตื้น ประกาศ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระโคดม ... ขอจงตรัสบอกบุคคลนั้น ... แก่ข้าพระองค์.

[๓๗๗] คำว่า ถูกถามแล้ว ในคำว่า ถูกถามแล้ว ... ซึ่งเป็น นรชนผู้อุดม ความว่า ถูกถาม ถูกสอบถาม ขอให้บอก ขอเชิญให้ ทรงแสดง ขอให้ประสาท. คำว่า ซึ่งเป็นนรชนผู้อุดม ความว่า ซึ่งเป็น นรชนผู้เลิศ ประเสริฐ วิเศษ เป็นประธาน สูงสุด บวร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ซึ่งเป็นนรชนผู้อุดม เพราะเหตุนั้น พระพุทธนิมิตจึงตรัสว่า

บุคคลมีความเห็นอย่างไร มีศีลอย่างไร อันบัณฑิต กล่าวว่า เป็นผู้เข้าไปสงบแล้ว ข้าแต่พระโคดม พระองค์

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 3

ถูกถามแล้ว ขอจงตรัสบอกบุคคลนั้น ซึ่งเป็นนรชนผู้อุดม แก่ข้าพระองค์

[๓๗๘] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า) ก่อนแต่กายแตก พระอรหันต์เป็นผู้ปราศจากตัณหา ผู้ไม่อาศัยส่วนเบื้องต้น อันใครๆ ไม่นับได้ในส่วนท่ามกลาง ความทำไว้ใน เบื้องหน้ามิได้มี แก่พระอรหันต์นั้น.

อธิบายคำว่า ภควา

[๓๗๙] คำว่า (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า) ก่อนแต่กายแตก พระอรหันต์ เป็นผู้ปราศจากตัณหา ความว่า ก่อนแต่กายแตก คือ ก่อนแต่อัตภาพแตก ก่อนแต่ทอดทิ้งซากศพ ก่อนแต่ขาดชีวิตินทรีย์ พระอรหันต์เป็นผู้ปราศจากตัณหา คือ เป็นผู้มีตัณหาหายไป สละไป สำรอกออก ปล่อย ละ สละคืน เป็นผู้ปราศจากราคะ คือ เป็นผู้มี ราคะหายไป สละไป สำรอกออก ปล่อย ละ สละคืนแล้ว เป็นผู้หาย หิว ดับแล้ว เย็นแล้ว เป็นผู้เสวยสุขมีตนดังพรหมอยู่. บทว่า ภควา เป็นคำกล่าวเรียกด้วยความเคารพ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ภควา เพราะ อรรถว่า ผู้ทำลายราคะ ทำลายโทสะ ทำลายโมหะ ทำลายมานะ ทำลาย ทิฏฐิ ทำลายเสี้ยนหนาม ทำลายกิเลส และเพราะอรรถว่า ทรงจำแนก แจกแจง ซึ่งธรรมรัตนะ เพราะอรรถว่า ทรงทำที่สุดแห่งภพทั้งหลาย เพราะอรรถว่า มีพระกายอันอบรมแล้ว มีศีลอันอบรมแล้ว มีจิตอันอบรม แล้ว มีปัญญาอันอบรมแล้ว อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงซ่องเสพเสนาสนะอันเป็นป่าละเมาะ ป่าทึบ อันสงัด มีเสียงน้อย ปราศจากเสียงกึกก้อง

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 4

ปราศจากชนผู้สัญจรไปมา เป็นที่ควรทำกรรมลับของมนุษย์ สมควรแก่ หลีกออกเร้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงมีส่วนแห่งจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา อันมีอรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งฌาน ๔ อัปปมัญญา ๔ อรูปสมาบัติ ๔ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงมีส่วนแห่งวิโมกข์ ๘ อภิภายตนะ ๘ (ฌานเป็นที่ตั้งแห่งความครอบงำ อารมณ์) อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ (รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ สัญญาเวทยิตนิโรธ ๑) เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงมีส่วนแห่งสัญญาภาวนา ๑๐ กสิณสมาบัติ ๑๐ อานาปานสติสมาธิ อสุภฌานสมาบัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งตถาคตพละ ๑๐ เวสารัชญาณ ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ พุทธธรรม ๖ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. พระนามว่า ภควา นี้ พระมารดา พระบิดา พระภาคา พระภคินี มิตร อำมาตย์ พระญาติสาโลหิต สมณพราหมณ์ เทวดา มิได้เฉลิมให้ พระนามว่า ภควา นี้ เป็นวิโมกขันตินาม (พระนามมีในอรหัตผลในลำดับ แห่งอรหัตมรรค) เป็นสัจฉิกาบัญญัติ (บัญญัติที่เกิดเพราะทำให้แจ้งซึ่ง พระอรหัตผลและธรรมทั้งปวง) พร้อมด้วยการทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ณ ดวงแห่งโพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายผู้ตรัสรู้แล้ว

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 5

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ก่อนแต่กายแตก พระอรหันต์เป็นผู้ปราศจากตัณหา.

[๓๘๐] อดีตกาล ท่านเรียกว่า ส่วนเบื้องต้น ในคำว่า ผู้ไม่ อาศัยส่วนเบื้องต้น พระอรหันต์ปรารภถึงอดีตกาล ละตัณหา สละคืน ทิฏฐิเสียแล้ว เพราะละตัณหา ละคืนทิฏฐิเสียแล้ว จึงชื่อว่า เป็นผู้ไม่อาลัย ส่วนเบื้องต้น แม้ด้วยเหตุอย่างนี้.

อีกอย่างหนึ่ง พระอรหันต์ไม่เป็นไปตามความเพลินในรูปว่า ใน อดีตกาลเราได้มีรูปอย่างนี้ ไม่เป็นไปตามความเพลินในนามว่า ในอดีตกาล เราได้มีเวทนาอย่างนี้ ... มีสัญญาอย่างนี้ ... มีสังขารอย่างนี้ ... มี วิญญาณอย่างนี้ จึงชื่อว่า เป็นผู้ไม่อาศัยส่วนเบื้องต้น แม้ด้วยเหตุอย่างนี้.

อีกอย่างหนึ่ง พระอรหันต์มิได้มีวิญญาณเนื่องด้วยฉันทราคะใน จักษุและรูปว่า ในอดีตกาล เราได้มีจักษุดังนี้ มีรูปดังนี้ เพราะเป็น ผู้ไม่มีวิญญาณเนื่องด้วยฉันทราคะ. จึงไม่เพลินซึ่งจักษุและรูปนั้น เมื่อไม่ เพลินซึ่งจักษุและรูปนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้ไม่อาศัยส่วนเบื้องต้น แม้ด้วยเหตุ อย่างนี้ มิได้มีวิญญาณเนื่องด้วยฉันทราคะในหูและเสียงว่า ในอดีตกาล เราได้มีหูดังนี้ มีเสียงดังนี้ ในอดีตกาล เราได้มีจมูกดังนี้ มีกลิ่นดังนี้ ... ในอดีตกาล เราได้มีลิ้นดังนี้ มีรสดังนี้ ในอดีตกาล เราได้มีกายดังนี้ มีโผฏฐัพพะดังนี้ ในอดีตกาล เราได้มีใจดังนี้ มีธรรมารมณ์ดังนี้ เพราะ เป็นผู้ไม่มีวิญญาณเนื่องด้วยใจและธรรมารมณ์นั้น จึงไม่เพลินซึ่งใจและ ซึ่งธรรมารมณ์นั้น เมื่อไม่เพลินซึ่งใจและซึ่งธรรมารมณ์นั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้ไม่อาศัยส่วนเบื้องต้น แม้ด้วยเหตุอย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 6

อีกอย่างหนึ่ง พระอรหันต์ย่อมไม่พอใจ ไม่ชอบใจซึ่งความหัวเราะ การเจรจา การปราศรัยและการเล่นหัวกับมาตุคามในกาลก่อน และไม่ถึง ความปลื้มใจด้วยความหัวเราะ การเจรจา การปราศรัยและการเล่นหัว กับมาคุคามที่มีในคราวก่อนนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้ไม่อาศัยส่วนเบื้องต้น แม้ ด้วยเหตุอย่างนี้.

[๓๘๑] ปัจจุบันกาล ท่านเรียกว่า ส่วนท่ามกลาง ในคำว่า ผู้อันใครๆ ไม่นับได้ในส่วนท่ามกลาง พระอรหันต์ปรารภถึงปัจจุบันกาล ละตัณหา สละคืนทิฏฐิแล้ว เพราะละตัณหา สละคืนทิฏฐิแล้ว อัน ใครๆ ไม่นับได้ว่า เป็นผู้กำหนัด ขัดข้อง หลงใหล ผูกพัน ยึดถือ ถึงความกวัดแกว่ง ถึงความไม่ตกลง ถึงโดยเรี่ยวแรง พระอรหันต์ละ อภิสังขารเหล่านั้นได้แล้ว เพราะละอภิสังขารได้แล้ว อันใครๆ ไม่นับ ได้โดยคิดว่า เป็นผู้เกิดในนรก เกิดในกำเนิดดิรัจฉาน เกิดในเปรตวิสัย เป็นมนุษย์ เป็นเทวดา เป็นสัตว์มีรูป เป็นสัตว์ไม่มีรูป เป็นสัตว์มี สัญญา เป็นสัตว์ไม่มีสัญญา หรือเป็นสัตว์มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ พระอรหันต์นั้น ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ไม่มีการณะ อันเป็นเครื่องถึง การนับ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้อันใครๆ ไม่นับได้ในส่วนท่ามกลาง.

ว่าด้วยความทำไว้ในเบื้องหน้า ๒ อย่าง

[๓๘๒] คำว่า นั้น ในคำว่า ความทำไว้ในเบื้องหน้ามิได้มีแก่ พระอรหันต์นั้น คือ พระอรหันตขีณาสพ ชื่อว่า ความทำไว้เบื้องหน้า ได้แก่ความทำไว้ในเนื่องหน้า ๒ อย่าง คือ ความทำไว้ในเบื้องหน้าด้วย ตัณหา ๑ ความทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่า ความทำไว้

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 7

ในเบื้องหน้าด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่า ความทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยทิฏฐิ พระอรหันต์นั้น ละความทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยตัณหา สละคืนความทำ ไว้ในเบื้องหน้าด้วยทิฏฐิแล้ว เพราะละความทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยตัณหา สละคืนความทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยทิฏฐิ จึงไม่กระทำตัณหา หรือทิฏฐิ ไว้ในเบื้องหน้าเที่ยวไป คือ ไม่มีตัณหาเป็นธงชัย ไม่มีตัณหาเป็นธงยอด ไม่มีตัณหาเป็นใหญ่ ไม่มีทิฏฐิเป็นธงชัย ไม่มีทิฏฐิเป็นธงยอด ไม่มีทิฏฐิ เป็นใหญ่ ไม่เป็นผู้อันตัณหาหรือทิฏฐิแวดล้อมทั่วไป แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า ความทำไว้ในเบื้องหน้ามิได้มีแก่พระอรหันต์นั้น.

อีกอย่างหนึ่ง พระอรหันต์ไม่เป็นไปตามความเพลินในรูปว่า ใน อนาคตกาล เราพึงมีรูปอย่างนี้ ไม่เป็นไปตามความเพลินในนามว่า ใน อนาคตกาล เราพึงมีเวทนาอย่างนี้ ... มีสัญญาอย่างนี้ ... มีสังขารอย่าง นี้ ... มีวิญญาณอย่างนี้ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ จึงชื่อว่า ความทำไว้ในเบื้อง หน้ามิได้มีแก่พระอรหันต์นั้น.

อีกอย่างหนึ่ง พระอรหันต์ย่อมไม่ตั้งจิตเพื่อได้จักษุและรูปที่ยังไม่ ได้ว่า ในอนาคตกาลเราพึงมีจักษุดังนี้ มีรูปดังนี้ เพราะเหตุไม่ตั้งจิตไว้ จึงไม่เพลินจักษุและรูปนั้น เมื่อไม่เพลินจักษุและรูปนั้น ความทำไว้ใน เบื้องหน้ามิได้มีแก่พระอรหันต์นั้น แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ไม่ทั้งจิตเพื่อได้หู และเสียงที่ยังไม่ได้ว่า ในอนาคตกาลเราพึงมีหูดังนี้ ... ในอนาคตกาล เราพึงมีจมูกดังนี้ มีกลิ่นดังนี้ ... ในอนาคตกาล เราพึงมีลิ้นดังนี้ มีรส ดังนี้ ... ในอนาคตกาล เราพึงมีกายดังนี้ มีโผฏฐัพพะดังนี้ ... ในอนาคตกาล เราพึงมีใจดังนี้ มีธรรมารมณ์ดังนี้ เพราะเหตุไม่ตั้งจิตไว้ จึงไม่

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 8

เพลินซึ่งใจและธรรมารมณ์นั้น เมื่อไม่เพลินซึ่งใจ และธรรมารมณ์นั้น ความทำไว้ในเบื้องหน้ามิได้มีแก่พระอรหันต์นั้น แม้ด้วยเหตุอย่างนี้.

อีกอย่างหนึ่ง พระอรหันต์ย่อมไม่ตั้งจิตเพื่อได้ภพที่ยังไม่ได้ว่า เรา จักเป็นเทพเจ้าหรือเป็นเทวดาตนใดตนหนึ่ง ด้วยศีล ด้วยวัตร ด้วยตบะ หรือด้วยพรหมจรรย์นี้ เพราะเหตุไม่ตั้งจิตไว้ จึงไม่เพลินภพนั้น เมื่อ ไม่เพลินภพนั้น ความทำไว้ในเบื้องหน้ามิได้มีแก่พระอรหันต์นั้น แม้ ด้วยเหตุอย่างนี้ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

(พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า) ก่อนแต่กายแตก พระอรหันต์เป็นผู้ปราศจากตัณหา ไม่อาศัยส่วนเบื้องต้นอัน ใครๆ ไม่นับได้ในส่วนท่ามกลาง ความทำไว้ในเบื้อง หน้ามิได้มีแก่พระอรหันต์นั้น.

[๓๘๓] บุคคลนั้นแล ผู้ไม่โกรธ ไม่สะดุ้ง ไม่โอ้อวด ไม่ มีความคะนอง พูดด้วยปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน สำรวมวาจา เป็นมุนี.

ว่าด้วยเหตุให้เกิดความโกรธ ๑๐ อย่าง

[๓๘๔] ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ผู้ไม่โกร ในคำว่า ผู้ไม่ โกรธไม่สะดุ้ง ก็แต่ว่าความโกรธควรกล่าวก่อน ความโกรธ ย่อมเกิด ด้วยอาการ ๑๐ อย่าง คือ ความโกรธย่อมเกิดด้วยอาการว่า เขาได้ประพฤติ สิ่งไม่เป็นประโยชน์แก่เราแล้ว ๑ เขากำลังประพฤติสิ่งไม่เป็นประโยชน์ แก่เรา ๑ เขาจักประพฤติสิ่งไม่เป็นประโยชน์แก่เรา ๑ เขาได้ประพฤติสิ่ง

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 9

ไม่เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้เป็นที่รักชอบใจของเราแล้ว ๑ เขากำลังประ - พฤติสิ่งไม่เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้เป็นที่รักชอบใจของเรา ๑ เขาจัก ประพฤติสิ่งไม่เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ๑ เขา ได้ประพฤติสิ่งเป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา๑ เขา กำลังประพฤติสิ่งเป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ๑ เขาจักประพฤติสิ่งเป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ๑ ความโกรธย่อมเกิดในที่มิใช่เหตุ ๑.

ความปองร้าย ความมุ่งร้าย ความขัดเคือง ความขุ่นเคือง ความ เคือง ความเคืองทั่ว ความเคืองเสมอ ความชัง ความชังทั่ว ความชัง เสมอ ความพยาบาทแห่งจิต ความประทุษร้ายในใจ ความโกรธ กิริยา ที่โกรธ ความเป็นผู้โกรธ ความชัง กิริยาที่ชัง ความเป็นผู้ชัง ความ พยาบาท กิริยาที่พยาบาท ความเป็นผู้พยาบาท ความพิโรธ ความ พิโรธตอบ ความเป็นผู้ดุร้าย ความเพาะวาจาชั่ว ความไม่แช่มชื่นแห่ง จิต นี้เรียกว่า ความโกรธ.

อีกอย่างหนึ่ง ควรรู้ความโกรธมากโกรธน้อย บางครั้งความโกรธ เป็นแต่เพียงทำจิตให้ขุ่นมัว แต่ยังไม่ถึงให้หน้าเง้าหน้างอก็มี บางครั้ง ความโกรธเป็นเพียงทำให้หน้าเง้าหน้างอแต่ยังไม่ทำให้คางสั่นก็มี บางครั้ง ความโกรธเป็นแต่เพียงทำให้คางสั่น แต่ยังไม่ให้เปล่งผรุสวาจาก็มี บาง ครั้ง ความโกรธเป็นแต่เพียงให้เปล่งผรุสวาจา แต่ยังไม่ให้เหลียวดูทิศ ต่างๆ ก็มี บางครั้งความโกรธเป็นแต่เพียงให้เหลียวดูทิศต่างๆ แต่ยัง ไม่ให้จับท่อนไม้และศาสตราก็มี บางครั้ง ความโกรธเป็นแต่เพียงให้จับ ท่อนไม้และศาสตรา แต่ยังไม่ให้เงื้อท่อนไม้และศาสตราก็มี บางครั้งความ

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 10

โกรธเป็นแต่เพียงให้เงื้อท่อนไม้และศาสตรา แต่ยังไม่ให้ท่อนไม้และ ศาสตราถูกต้องก็มี บางครั้ง ความโกรธเป็นแต่เพียงให้ท่อนไม้และศาสตรา ถูกต้อง แต่ยังไม่ทำให้เป็นแผลเล็กแผลใหญ่ก็มี บางครั้ง ความโกรธเป็น แต่เพียงทำให้เป็นแผลเล็กแผลใหญ่ แต่ยังไม่ให้กระดูกหักก็มี บางครั้ง ความโกรธเป็นแต่เพียงให้กระดูกหักแต่ยังไม่ให้อวัยวะน้อยใหญ่หลุดไปก็มี บางครั้งความโกรธเป็นแต่เพียงให้อวัยวะน้อยใหญ่หลุดไป แต่ยังไม่ให้ ชีวิตดับก็มี บางครั้งความโกรธเป็นแต่เพียงให้ชีวิตดับ แต่ยังไม่เสียสละ ชีวิตของตนให้หมดไปก็มี เมื่อใด ความโกรธให้ฆ่าบุคคลอื่นแล้ว จึงให้ ฆ่าคน เมื่อนั้น ความโกรธเป็นไปรุนแรงอย่างหนัก ถึงความเป็นของ มากอย่างยิ่ง ความโกรธนั้น อันบุคคลใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้นได้ เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ บุคคลนั้นเรียกว่า ผู้ ไม่โกรธ บุคคลชื่อว่าเป็นผู้ไม่โกรธ เพราะละความโกรธได้แล้ว เพราะ กำหนดรู้วัตถุแห่งความโกรธ เพราะตัดเหตุแห่งความโกรธเสีย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่โกรธ.

ว่าด้วยผู้ไม่สะดุ้ง

[๓๘๕] คำว่า ผู้ไม่สะดุ้ง ความว่า ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้สะดุ้ง หวาดเสียว สยดสยอง ภิกษุนั้น ย่อมสะดุ้ง หวาดเสียว สยดสยองกลัว ถึงความสะดุ้งว่า เราไม่ได้สกุล ไม่ได้หมู่คณะ ไม่ได้ อาวาส ไม่ได้ลาภ ไม่ได้ยศ ไม่ได้สรรเสริญ ไม่ได้สุข ไม่ได้จีวร ไม่ ได้บิณฑบาต ไม่ได้เสนาสนะ ไม่ได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ไม่ได้ บุคคลผู้พยาบาลในคราวเป็นไข้ เราจะไม่เป็นผู้มีชื่อเสียงปรากฏ ภิกษุใน

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 11

ธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่สะดุ้ง ไม่หวาดเสียว ไม่สยดสยอง ภิกษุนั้น ย่อม ไม่สะดุ้ง ไม่หวาดเสียว ไม่สยดสยอง ไม่กลัว ไม่ถึงความสะดุ้งว่า เรา ไม่ได้สกุล ไม่ได้หมู่คณะ ไม่ได้อาวาส ไม่ได้ลาภ ไม่ได้ยศ ไม่ได้ สรรเสริญ ไม่ได้สุข ไม่ได้จีวร ไม่ได้บิณฑบาต ไม่ได้เสนาสนะ ไม่ได้ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ไม่ได้บุคคลผู้พยาบาลในคราวเป็นไข้ เราไม่เป็น ผู้มีชื่อเสียงปรากฏ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่โกรธ ผู้ไม่สะดุ้ง.

ว่าด้วยไม่โอ้อวด

[๓๘๖] คำว่า ผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีความรำคาญ ความว่า ภิกษุ บางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้อวด โอ้อวด ภิกษุนั้น ย่อมอวด ย่อม โอ้อวดว่า เราเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลบ้าง ถึงพร้อมด้วยวัตรบ้าง ถึงพร้อม ศีลและวัตรบ้าง ถึงพร้อมด้วยชาติบ้าง ถึงพร้อมด้วยโคตรบ้าง ถึงพร้อม ด้วยความเป็นบุตรแห่งสกุลบ้าง ถึงพร้อมด้วยความเป็นผู้มีรูปงามบ้าง ถึง พร้อมด้วยทรัพย์บ้าง ถึงพร้อมด้วยการปกครองบ้าง ถึงพร้อมด้วยหน้าที่ การงานบ้าง ถึงพร้อมด้วย หลักแหล่งแห่งศิลปศาสตร์บ้าง ถึงพร้อมด้วย วิทยฐานะบ้าง ถึงพร้อมด้วยการศึกษาบ้าง ถึงพร้อมด้วยปฏิภาณบ้าง ถึง พร้อมด้วยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่งบ้าง ออกบวชจากสกุลสูงบ้าง ออกบวช จากสกุลใหญ่บ้าง ออกบวชจากสกุลมีโภคสมบัติมากบ้าง ออกบวชจากสกุล มีโภคสมบัติยิ่งใหญ่บ้าง เป็นผู้มีชื่อเสียงปรากฏมียศกว่าพวกคฤหัสถ์และ บรรพชิตบ้าง เป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัช บริขารบ้าง เป็นผู้ทรงจำพระสูตรบ้าง ทรงจำพระวินัยบ้าง เป็นธรรมกถึก บ้าง เป็นผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรบ้าง

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 12

เป็นผู้ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือทรงไตรจีวรเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับตรอกเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือไม่ฉันภัต ในภายหลังเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือไม่นอนเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถืออยู่ใน เสนาสนะที่เขาจัดให้อย่างไรเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ได้ปฐมฌานบ้าง เป็นผู้ ได้ทุติยฌานบ้าง เป็นผู้ได้ตติยฌานบ้าง เป็นผู้ได้จตุตถฌานบ้าง เป็นผู้ ได้อากาสานัญจายตนสมาบัติบ้าง เป็นผู้ได้วิญญาณัญจายตนสมาบัติบ้าง เป็นผู้ได้อากิญจัญายตนสมาบัติบ้าง เป็นผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติบ้าง บุคคลไม่อวด ไม่โอ้อวดอย่างนี้ บุคคลงด เว้น เว้นขาด ออก สลัด พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องด้วยความอวด เป็นผู้มีจิตปราศจากแดน กิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่โอ้อวด.

ว่าด้วยผู้ไม่มีความรำคาญ

[๓๘๗] ชื่อว่า ความรำคาญ ในคำว่า ผู้ไม่มีความรำคาญ ได้แก่ ความรำคาญมือบ้าง ความรำคาญเท้าบ้าง ความรำคาญทั้งมือและเท้าบ้าง ความสำคัญในสิ่งไม่ควรว่าควร ความสำคัญในสิ่งควรว่าไม่ควร ความ สำคัญในสิ่งที่ไม่มีโทษว่ามีโทษ ความสำคัญในสิ่งที่มีโทษว่าไม่มีโทษ ความรำคาญ กิริยาที่รำคาญ ความเป็นผู้รำคาญ ความเดือดร้อนจิต ความกลุ้มใจเห็นปานนี้ นี้เรียกว่า ความรำคาญ อีกอย่างหนึ่ง ความ รำคาญ ความเดือดร้อนจิต ความกลุ้มใจ ย่อมเกิดขึ้นเพราะเหตุ ๒ ประการ คือ เพราะกระทำและเพราะไม่กระทำ.

ความรำคาญ ความเดือดร้อนจิต ความกลุ้มใจ ย่อมเกิดขึ้นเพราะ กระทำและเพราะไม่กระทำอย่างไร ความรำคาญ ความเดือดร้อนจิต ความกลุ้มใจย่อมเกิดขึ้นว่า เราทำแต่กายทุจริต เราไม่ได้ทำกายสุจริต

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 13

เราทำแต่วจีทุจริต เราไม่ได้ทำวจีสุจริต เราทำแต่มโนทุจริต เราไม่ได้ ทำมโนสุจริต เราทำแต่ปาณาติบาต เราไม่ได้ทำเจตนางดเว้นจากปาณาติ- บาต เราทำแต่อทินนาทาน เราไม่ได้ทำเจตนาเครื่องงดเว้นจาก อทินนาทาน เราทำแต่กาเมสุมิจฉาจาร เราไม่ได้ทำเจตนาเครื่องงดเว้น จากกาเมสุมิจฉาจาร เราทำแต่มุสาวาท เราไม่ได้ทำเจตนาเครื่องงดเว้น จากมุสาวาท เราทำแต่ปิสุณาวาจา เราไม่ได้ทำเจตนาเครื่องงดเว้นจาก ปิสุณาวาจา เราทำแต่ผรุสวาจา เราไม่ได้ทำเจตนาเครื่องงดเว้นจากผรุสวาจา เราทำแต่สัมผัปปลาปะ เราไม่ได้ทำเครื่องงดเว้นจากสัมผัปปลาปะ เราทำแต่อภิชฌา เราไม่ได้ทำอนภิชฌา เราทำแต่พยาบาท เราไม่ได้ทำ อัพยาบาท เราทำแต่มิจฉาทิฏฐิ เราไม่ได้ทำสัมมาทิฏฐิ ความรำคาญ ความเดือดร้อนจิต ความกลุ้มใจ ย่อมเกิดขึ้นเพราะกระทำและเพราะไม่ กระทำอย่างนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ความรำคาญ ความเดือดร้อนจิต ความกลุ้มใจ ย่อมเกิดขึ้นว่า เราเป็นผู้ไม่กระทำความบริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย เราเป็น ผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เราเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ เราเป็นผู้ไม่หมั่นประกอบในความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ เราเป็นผู้ไม่ ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ เราไม่ได้เจริญสติปัฏฐาน ๔ เราไม่ได้เจริญ สัมมัปปธาน ๔ เราไม่ได้เจริญอิทธิบาท ๔ เราไม่ได้เจริญอินทรีย์ ๕ เราไม่ได้เจริญพละ ๕ เราไม่ได้เจริญโพชฌงค์ ๗ เราไม่ได้เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เราไม่ได้กำหนดรู้ทุกข์ เราไม่ได้ละสมุทัย เราไม่ได้เจริญ มรรค เราไม่ได้ทำให้แจ้งนิโรธ ความรำคาญนี้ อันบุคคลใดละตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 14

บุคคลนั้นเรียกว่าไม่มีความรำคาญ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีความรำคาญ.

ว่าด้วยปัญญาเรียกว่ามันตา

[๓๘๘] คำว่า ผู้พูดด้วยปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน ความว่า ปัญญา เรียกว่ามันตา ได้แก่ปัญญา ความรู้ทั่ว ฯลฯ ความไม่หลง ความเลือก เฟ้นธรรม ความเห็นชอบ บุคคลกำหนดกล่าววาจาด้วยปัญญา แม้กล่าว มาก พูดมาก แสดงมาก แถลงมาก ก็ไม่กล่าววาจาที่กล่าวชั่ว พูดชั่ว เจรจาชั่ว ปราศรัยชั่ว บอกเล่าชั่ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้พูดด้วย ปัญญา. ความฟุ้งซ่าน ในคำว่า ผู้ไม่ฟุ้งซ่านเป็นไฉน ความฟุ้งซ่าน ความไม่สงบจิต ความที่จิตกวัดแกว่ง ความที่จิตหมุนไป นี้เรียกว่า ความฟุ้งซ่าน ความฟุ้งซ่านนั้น อันบุคคลใดละ ตัดขาด สงบ ระงับ แล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้นได้ เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ บุคคลนั้นชื่อว่า ผู้ไม่ฟุ้งซ่าน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้พูดด้วยปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน.

ว่าด้วยการสำรวมวาจา

[๓๘๙] คำว่า บุคคลนั้นแล สำรวมวาจา เป็นมุนี ความว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ละมุสาวาท เว้นขาดจากมุสาวาท พูดจริง ดำรง คำสัตย์ มีถ้อยคำมั่นคงเชื่อถือได้ ไม่พูดให้เคลื่อนคลาดแก่โลก ละปิสุณาวาจา เว้นขาดจากปิสุณาวาจา ฟังจากข้างนี้แล้ว ไม่ไปบอกข้างโน้น เพื่อทำลายคนหมู่นี้ หรือฟังจากข้างโน้นแล้ว ไม่มาบอกคนหมู่นี้ เพื่อ ทำลายคนหมู่โน้น เป็นผู้สมานคนที่แตกกันบ้าง ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียง

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 15

กันบ้าง มีความพร้อมเพรียงเป็นที่มายินดี ยินดีในบุคคลที่พร้อมเพรียง กัน มีความเพลิดเพลินในบุคคลที่พร้อมเพรียงกัน กล่าววาจาที่ทำให้เขา พร้อมเพรียงกัน ด้วยประการฉะนี้ ละผรุสวาจา เว้นขาดจากผรุสวาจา กล่าววาจาที่ไม่มีโทษ อันไพเราะโสต เป็นที่ตั้งแห่งความรัก หยั่งลงถึง หทัย เป็นคำของชาวเมือง ที่ชนหมู่มากพอใจชอบใจ ละสัมผัปปลาปะ เว้นขาดจากสัมผัปปลาปะ พูดโดยกาลควร พูดจริง พูดอิงอรรถ พูด อิงธรรม พูดอิงวินัย กล่าววาจาเป็นหลักฐาน มีที่อ้างอิง มีส่วนสุด ประกอบด้วยประโยชน์โดยกาลอันควร เป็นผู้ประกอบด้วยวจีสุจริต ๔ กล่าววาจาปราศจากโทษ ๔ งดเว้น เว้นขาด ออก สลัด พ้นขาด ไม่ประกอบด้วยดิรัจฉานกถา ๓๒ ประการ เป็นผู้มีจิตปราศจากเขตแดน อยู่ ย่อมกล่าวกถาวัตถุ ๑๐ อย่าง คือ อัปปิจฉกถา สันตุฏฐิกถา ปวิเวกกถา อสังสัคคกถา วิริยารัมภกถา สีลกถา สมาธิกถา ปัญญากถา วิมุตติกถา วิมุตติญาณทัสสนกถา สติปัฏฐานกถา สัมมัปปธานกถา อิทธิบาทกถา อินทริยกถา พลกถา โพชฌังคกถา มรรคกถา ผลกถา นิพพานกถา.

คำว่า ผู้สำรวมวาจา คือ ผู้สำรวม สำรวมเฉพาะ คุ้มครอง ปกครอง รักษา ระวัง สงบแล้ว. คำว่า มุนี ความว่า ญาณเรียกว่า โมนะ ฯลฯ ก้าวล่วงธรรมเครื่องข้อง และตัณหาเพียงดังว่าข่าย บุคคล นั้นชื่อว่า มุนี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลนั้นแล สำรวมวาจา เป็น มุนี เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 16

บุคคลผู้นั้นแลผู้ไม่โกรธ ไม่สะดุ้ง ไม่โอ้อวด ไม่ มีความรำคาญ พูดด้วยปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน สำรวมวาจา เป็นมุนี.

[๓๙๐] บุคคลผู้ไม่มีตัณหาเครื่องเกี่ยวข้องในอนาคต ไม่ เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ผู้เห็นวิเวกในผัสสะทั้งหลาย และไม่ถูกนำไปในเพราะทิฏฐิทั้งหลาย.

ว่าด้วยผู้ไม่มีตัณหา

[๓๙๑] คำว่า บุคคลผู้ไม่มีตัณหาเครื่องเกี่ยวข้องในอนาคต ความว่า ตัณหา เรียกว่า ตัณหา เครื่องเกี่ยวข้อง ได้แก่ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล ตัณหาเครื่องเกี่ยวข้อง นั้น อันบุคคลใดละ. ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผา เสียแล้วด้วยไฟคือญาณ แม้เพราะเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า ผู้ไม่มีตัณหา เครื่องเกี่ยวข้องในอนาคต.

อีกอย่างหนึ่ง บุคคลผู้ไม่เป็นไปตามความเพลินในรูปว่า ใน อนาคตกาล เราพึงมีรูปอย่างนี้ ไม่เป็นไปตามความเพลินในนามว่า ใน อนาคตกาล เราพึงมีเวทนาอย่างนี้ มีสัญญาอย่างนี้ มีสังขารอย่างนี้ มี วิญญาณอย่างนี้ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า ผู้ไม่มีตัณหาเครื่อง เกี่ยวข้องในอนาคต.

อีกอย่างหนึ่ง บุคคลไม่ตั้งจิตเพื่อได้จักษุและรูปที่ยังไม่ได้ว่า ใน อนาคตกาล เราพึงมีจักษุดังนี้ มีรูปดังนี้ เพราะเหตุที่ไม่ตั้งจิตไว้ จึง ไม่เพลินจักษุและรูปนั้น เมื่อไม่เพลินจักษุและรูปนั้น ก็เป็นผู้ไม่มีตัณหา

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 17

เครื่องเกี่ยวข้องในอนาคต แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ไม่ตั้งจิตเพื่อได้หูและ เสียงที่ยังไม่ได้ว่า ในอนาคตกาล เราพึงมีหูดังนี้ มีเสียงดังนี้ ... ใน อนาคตกาล เราพึงมีจมูกดังนี้ มีกลิ่นดังนี้ ... ในอนาคตกาล เราพึง มีลิ้นดังนี้ มีรสดังนี้ ... ในอนาคตกาล เราพึงมีกายดังนี้ มีโผฏฐัพพะ ดังนี้ ... ในอนาคตกาล เราพึงมีใจดังนี้ มีธรรมารมณ์ดังนี้ เพราะเหตุ ที่ไม่ดังจิตไว้ จึงไม่เพลินซึ่งใจและธรรมารมณ์นั้น เมื่อไม่เพลินซึ่งใจ และธรรมารมณ์นั้น ก็เป็นผู้ไม่มีตัณหาเครื่องเกี่ยวข้องในอนาคต แม้ด้วย เหตุอย่างนี้.

อีกอย่างหนึ่ง บุคคลไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้ภพที่ยังไม่ได้ว่า เราจักเป็น เทพหรือเทวดาตนใดตนหนึ่ง ด้วยศีล ด้วยวัตร ด้วยตบะ หรือด้วย พรหมจรรย์นี้ เพราะเหตุที่ไม่ตั้งจิตไว้ จึงไม่เพลินภพนั้น เมื่อไม่เพลิน ภพนั้น ก็เป็นผู้ไม่มีตัณหาเครื่องเกี่ยวข้องในอนาคต แม้ด้วยเหตุอย่างนี้.

ว่าด้วยผู้ไม่เศร้าโศก

[๓๙๒] คำว่า ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ความว่า ไม่ เศร้าโศกถึงวัตถุที่แปรปรวน หรือเมื่อวัตถุแปรปรวนไปแล้ว ก็ไม่เศร้า โศกถึง คือ ไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก ไม่รำพันถึง ไม่ทุบอกคดร่ำครวญ ไม่ถึงความหลงใหลว่า จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย ของเรา แปรปรวนไปแล้ว รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ของเรา แปรปรวนไปแล้ว สกุล หมู่ คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ของเรา แปรปรวน ไปแล้ว จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ของเรา แปรปรวนไปแล้ว มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่หญิง น้องหญิง

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 18

บุตร ธิดา มิตร พวกพ้อง ญาติสาโลหิต ของเรา แปรปรวนไปแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว.

ว่าด้วยผัสสะ

[๓๙๓] ชื่อว่า ผัสสะ ในคำว่า ผู้เห็นวิเวกในผัสสะทั้งหลาย ได้แก่จักษุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส อธิวจนสัมผัส ปฏิฆสัมผัส สัมผัสอันเกื้อกูลแก่สุขเวทนา สัมผัสอันเกื้อกูลแก่ทุกขเวทนา สัมผัสอันเกื้อกูลแก่อทุกขมสุขเวทนา ผัสสะ อันเป็นกุศล ผัสสะอันเป็นอกุศล ผัสสะอันเป็นอัพยากตะ ผัสสะอันเป็น กามาวจร ผัสสะอันเป็นรูปาวจร ผัสสะอันเป็นอรูปาวจร ผัสสะอันเป็น สุญญตะ ผัสสะอันเป็นอนิมิตตะ ผัสสะอันเป็นอัปปณิหิตะ ผัสสะอันเป็น โลกิยะ ผัสสะอันเป็นโลกุตระ ผัสสะอันเป็นอดีต ผัสสะอันเป็นอนาคต ผัสสะอันเป็นปัจจุบัน ผัสสะความถูกต้อง กิริยาที่ถูกต้อง ความเป็นแห่ง ความถูกต้องเห็นปานนี้ นี้ชื่อว่าผัสสะ. คำว่า ผู้เห็นวิเวกในผัสสะทั้งหลาย ความว่า บุคคลเห็นจักษุสัมผัสว่า เป็นของว่างจากความเป็นคนบ้าง จาก ธรรมที่เนื่องในตนบ้าง จากความเที่ยงบ้าง จากความยั่งยืนบ้าง จาก ความเป็นของเที่ยงบ้าง จากธรรมที่ไม่แปรปรวนบ้าง เห็นโสตสัมผัส เห็นฆานสัมผัส เห็นชิวหาสัมผัส เห็นกายสัมผัส เห็นมโนสัมผัส เห็น อธิวจนสัมผัส เห็นปฏิฆสัมผัส เห็นสัมผัสอันเกื้อกูลแก่สุขเวทนา เห็น สัมผัสอันเกื้อกูลแก่ทุกขเวทนา เห็นสัมผัสอันเกื้อกูลแก่อทุกขมสุขเวทนา เห็นผัสสะอันเป็นกุศล เห็นผัสสะอันเป็นอกุศล เห็นผัสสะอันเป็นอัพยากตะ เห็นผัสสะอันเป็นกามาวจร เห็นผัสสะอันเป็นรูปาวจร เห็นผัสสะ

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 19

อันเป็นอรูปาวจร เห็นผัสสะอันเป็นสุญญตะ เห็นผัสสะอันเป็นอนิมิตตะ เห็นผัสสะอันเป็นอัปปณิหิตะ เห็นผัสสะอันเป็นโลกิยะ เห็นผัสสะอันเป็น โลกุตระว่า เป็นของว่างจากความเป็นคนบ้าง จากธรรมที่เนื่องในตนบ้าง จากความเที่ยงบ้าง จากความยั่งยืนบ้าง จากความเป็นของเที่ยงบ้าง จาก ธรรมที่ไม่แปรปรวนบ้าง.

อีกอย่างหนึ่ง บุคคลย่อมเห็นผัสสะอันเป็นอดีตว่า เป็นของว่าง จากผัสสะอันเป็นอนาคตและผัสสะอันเป็นปัจจุบัน เห็นผัสสะอันเป็น อนาคตว่า เป็นของว่างจากผัสสะอันเป็นอดีตและผัสสะอันเป็นปัจจุบัน เห็นผัสสะอันเป็นปัจจุบันว่า เป็นของว่างจากผัสสะอันเป็นอดีตและผัสสะ อันเป็นอนาคต.

อีกอย่างหนึ่ง ผัสสะเหล่าใด เป็นอริยะ ไม่มีอาสนะเป็นโลกุตระ อันปฏิสังยุตด้วยสุญญตผัสสะ บุคคลย่อมเห็นผัสสะเหล่านั้นว่า เป็นของ ว่างจากราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความดีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวด ความ กระด้าง ความแข็งดี ความถือตัว ความดูหมิ่น ความเมา ความ ประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความ เร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้เห็นวิเวกในผัสสะทั้งหลาย.

[๓๙๔] คำว่า และไม่ถูกนำไปในเพราะทิฏฐิทั้งหลาย ความว่า ทิฏฐิ ๖๒ อันบุคคลนั้นละ ตักขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิด ขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ บุคคลอันทิฏฐิย่อมไม่นำไป ไม่นำออกไป ไม่ลอยไป ไม่เลื่อนไป และบุคคลนั้นไม่กลับถึง ไม่กลับมาสู่ทิฏฐินั้น

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 20

โดยความเป็นแก่นสาร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า และไม่ถูกนำไปในเพราะ ทิฏฐิทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

บุคคลผู้ไม่มีตัณหาเครื่องเกี่ยวข้องในอนาคต ไม่ เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ผู้เห็นวิเวกในผัสสะทั้งหลาย และไม่ถูกนำไปเพราะทิฏฐิทั้งหลาย.

[๓๙๕] บุคคลเป็นผู้หลีกเร้น ไม่หลอกลวง ไม่ทะเยอทะยาน ไม่ตระหนี่ ไม่คะนอง ไม่เป็นที่รังเกียจและไม่ประกอบ ในความเป็นผู้มีวาจาส่อเสียด.

ว่าด้วยผู้หลีกเร้น

[๓๙๖] คำว่า เป็นผู้หลีกเร้น ในคำว่า บุคคลเป็นผู้หลีกเร้น ไม่หลอกลวง ความว่า เพราะละเสียแล้วซึ่งราคะ โทสะ โมหะ ความ โกรธ ความผูกโกรธ ฯลฯ อกุสลาภิสังขารทั้งปวง จึงชื่อว่า ผู้หลีกเร้น สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็น ผู้หลีกเร้นอย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละ ความถือตัวว่า เป็นเราแล้ว มีรากอันตัดขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาล ยอดด้วน ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้หลีกเร้นอย่างนี้แล เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้หลีกเร้น.

ว่าด้วยความหลอกลวง ๓ อย่าง

[๓๙๗] เรื่องความหลอกลวง ในคำว่า ไม่หลอกลวง มี ๓ อย่าง

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 21

คือเรื่องความหลอกลวง กล่าวด้วยการซ่องเสพปัจจัย ๑ เรื่องความ หลอกลวงอาศัยอิริยาบถ ๑ เรื่องความหลอกลวง กล่าวด้วยการพูดเลียบ เคียง ๑.

เรื่องความหลอกลวงกล่าวด้วยการซ่องเสพปัจจัยเป็นไฉน พวก คฤหบดีในโลกนี้ ย่อมนิมนต์ภิกษุด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ คิลานปัจจัยเภสัชบริขารภิกษุนั้นมีความปรารถนาลามกอันความปรารถนา ครอบงำ มีความต้องการด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย เภสัชบริขาร อาศัย ความเป็นผู้อยากได้มาก ย่อมบอกคืนจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เธอย่อมพูดอย่างนี้ว่า ประโยชน์ อะไรแก่สมณะด้วยจีวรมีค่ามาก สมณะควรเที่ยวเลือกเก็บผ้าเก่าจากป่าช้า กองหยากเยื่อ หรือร้านตลาด แล้วทำสังฆาฏิใช้ ข้อนั้นเป็นการสมควร ประโยชน์อะไรแก่สมณะด้วยบิณฑบาตอันมีค่ามาก สมณะควรสำเร็จความ เป็นอยู่ด้วยก้อนข้าวที่ได้มาด้วยปลีแข้ง โดยความประพฤติแสวงหา ข้อนั้น เป็นการสมควร ประโยชน์อะไรแก่สมณะด้วยเสนาสนะมีค่ามาก สมณะ ควรอยู่ที่โคนต้นไม้ อยู่ที่ป่าช้า หรืออยู่ในที่แจ้ง ข้อนั้นเป็นการสมควร ประโยชน์อะไรแก่สมณะด้วยคิลานปัจจัยเภสัชบริขารมีค่ามาก สมณะพึง ทำยาด้วยมูตรเน่าหรือชิ้นลูกสมอ ข้อนั้นเป็นการสมควร เธออาศัยความ เป็นผู้อยากได้มากนั้น จึงทรงจีวรที่เศร้าหมอง ซ่องเสพเสนาสนะที่ เศร้าหมอง และฉันคิลานปัจจัยเภสัชบริขารที่เศร้าหมอง พวกคฤหบดี เห็นภิกษุนั้นแล้ว ย่อมทราบอย่างนี้ว่า สมณะนี้มีความปรารถนาน้อย เป็นผู้สันโดษสงัด ไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ ปรารภความเพียร มีวาทะ กำจัดกิเลส ก็ยิ่งนิมนต์เธอด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 22

เภสัชบริขาร เธอก็กล่าวอย่างนี้ว่า เพราะประจวบด้วยเหตุ ๓ ประการ กุลบุตรผู้มีศรัทธาย่อมประสบบุญมาก คือเพราะประจวบด้วยศรัทธา กุลบุตรผู้มีศรัทธาก็ประสบบุญมาก เพราะประจวบด้วยไทยธรรม กุลบุตร ผู้มีศรัทธาย่อมประสบบุญมาก เพราะประจวบด้วยพระทักขิไณยบุคคล กุลบุตรผู้มีศรัทธาย่อมประสบบุญมาก พวกท่านมีศรัทธานี้อยู่ มีไทยธรรม นี้อยู่ ทั้งอาตมาก็เป็นปฏิคาหก ถ้าอาตมาจักไม่รับ พวกท่านก็จักเสื่อมจาก บุญไป อาตมาไม่มีความต้องการด้วยปัจจัยนี้ แต่อาตมาจะรับด้วยความ อนุเคราะห์พวกท่าน จำเดิมแต่นั้น เธอก็รับจีวรมาก รับบิณฑบาตมาก รับเสนาสนะมาก รับคิลานปัจจัยเภสัชบริขารมาก ความกำหน้าสยิ้ว ความเป็นผู้มีหน้าสยิ้ว ความหลอกลวง กิริยาที่หลอกลวง ความเป็นผู้ หลอกลวง เห็นปานนี้ นี้เรียกว่า เรื่องความหลอกลวงกล่าวด้วยการ ซ่องเสพปัจจัย.

เรื่องความหลอกลวงกล่าวด้วยอิริยาบถเป็นไฉน ภิกษุบางรูปใน ธรรมวินัยนี้ มีความปรารถนาลามก อันความปรารถนาครอบงำ มีความ ประสงค์ในการยกย่อง คิดว่า ประชุมชนจักยกย่องเราด้วยอุบายอย่างนี้ จึงสำรวมการเดิน สำรวมการนั่ง สำรวมการนอน ย่อมตั้งสติเดิน ตั้งสติ ยืน ตั้งสตินั่ง ตั้งสตินอน ทำเหมือนภิกษุมีสมาธิยืน ทำเหมือนภิกษุมี สมาธินั่ง ทำเหมือนภิกษุมีสมาธินอน และทำเหมือนภิกษุที่เจริญอาปาถกฌาน (เจริญฌานต่อหน้าพวกมนุษย์) การตั้งใจ ตั้งการดำรงอิริยาบถ ความทำหน้าสยิ้ว ความเป็นผู้มีหน้าสยิ้ว ความหลอกลวง กิริยาที่ หลอกลวง ความเป็นผู้หลอกลวง เห็นปานนี้ นี้เรียกว่า เรื่องความ หลอกลวงกล่าวด้วยอิริยาบถ.

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 23

เรื่องความหลอกลวงกล่าวด้วยการพูดเลียบเคียงเป็นไฉน ภิกษุ บางรูปในธรรมวินัยนี้ มีความปรารถนาลามก อันความปรารถนาครอบงำ มีความประสงค์ในการยกย่อง คิดว่า ประชุมชนจักยกย่องเราด้วยอุบาย อย่างนี้ จึงกล่าววาจาอิงอริยธรรม คือพูดว่า สมณะใดทรงจีวรอย่างนี้ สมณะนั้นมีศักดิ์มาก สมณะใดทรงบาตรอย่างนี้ สมณะนั้นมีศักดิ์มาก สมณะใดทรงภาชนะโลหะ ทรงธมกรก ทรงผ้าสำหรับกรองน้ำ ถือลูก กุญแจ สวมรองเท้า ใช้ประคดเอว ใช้สายโยกบาตรอย่างนี้ สมณะนั้น มีศักดิ์มาก พูดว่า สมณะใดมีอุปัชฌากะอย่างนี้ มีอาจารย์อย่างนี้ มีพวก ร่วมอุปัชฌายะอย่างนี้ มีพวกร่วมอาจารย์อย่างนี้ มีมิตรอย่างนี้ มีพวก อย่างนี้ มีพวกที่คบกันมาอย่างนี้ มีสหายอย่างนี้ สมณะนั้นมีศักดิ์มาก พูดว่า สมณะใดอยู่ในวิหารเช่นนี้ สมณะนั้นมีศักดิ์มาก สมณะใดอยู่ใน เรือนมีหลังคาแถบเดียวอย่างนี้ อยู่ในปราสาทอย่างนี้ อยู่ในเรือนมีหลังคา โล้นอย่างนี้ อยู่ในถ้ำอย่างนี้ อยู่ในที่หลีกเร้นอย่างนี้ อยู่ในกุฎีอย่างนี้ อยู่ในเรือนยอดอย่างนี้ อยู่ในป้อมอย่างนี้ อยู่ในโรงกลมอย่างนี้ อยู่ใน เรือนที่พักอย่างนี้ อยู่ในศาลาที่ประชุมอย่างนี้ อยู่ในมณฑปอย่างนี้ อยู่ที่ โคนต้นไม้อย่างนี้ สมณะนั้นมีศักดิ์มาก อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีหน้า บูดเบี้ยว ทำหน้าย่นยู่ยี่ หลอกลวง ปลิ้นปล้อน ตลบตะแลง อันผู้อื่น สรรเสริญด้วยความที่คนวางหน้าว่า สมณะนี้ได้วิหารสมาบัติ อันมีอยู่เห็น ปานนี้ ภิกษุนั้นย่อมกล่าวถ้อยคำเช่นนั้น อันปฏิสังยุตด้วยโลกุตรธรรมและ นิพพานอันลึกลับ สุขุม ละเอียด ปิดบัง ความทำหน้าสยิ้ว ความเป็นผู้มี หน้าสยิ้ว ความหลอกลวง กิริยาที่หลอกลวง ความเป็นผู้หลอกลวง เห็น ปานนี้ นี้เรียกว่า เรื่องความหลอกลวงกล่าวด้วยการพูดเลียบเคียง.

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 24

เรื่องความหลอกลวง ๓ อย่างนี้ อันบุคคลใดละ ตัดขาด สงบ ระงับ แล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ บุคคลนั้นเรียกว่า ผู้ไม่หลอกลวง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้หลีกเร้นไม่หลอกลวง.

[๓๙๘] ตัณหา เรียกว่า ความทะเยอทะยาน ในคำว่า ผู้ไม่ ทะเยอทะยาน ไม่ตระหนี่ ได้แก่ ความกำหนัด ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล ความทะเยอทะยานนั้น อันบุคคลใดละ ตัดขาด สงบ ระงับ แล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ บุคคลนั้นเรียกว่า ผู้ไม่ทะเยอทะยาน ไม่อยากได้ ไม่ยินดี ไม่ปรารถนา ไม่ชอบใจรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สกุล หมู่คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ กามภพ รูปภพ อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ อดีต อนาคต ปัจจุบัน รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบและธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง เพราฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่ทะเยอทะยาน.

ว่าด้วยความคะนอง ๓ อย่าง

คำว่า ผู้ไม่ตระหนี่ ความว่า ความตระหนี่ ๕ อย่าง คือความ ตระหนี่ที่อยู่ ๑ ความตระหนี่สกุล ๑ ความตระหนี่ลาภ ๑ ความตระหนี่ วรรณะ ๑ ความตระหนี่ธรรม ๑ ความตระหนี่ กิริยาที่ตระหนี่ ความ เป็นผู้ตระหนี่ ความเป็นผู้ปรารถนาต่างๆ ความเหนียวแน่น ความเป็น ผู้มีจิตหดหู่เจ็บร้อนในการให้ ความที่จิตอันใครๆ ไม่เชื่อถือได้ในการให้ เห็นปานนี้ นี้เรียกว่า ความตระหนี่.

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 25

อีกอย่างหนึ่ง ความตระหนี่ขันธ์ก็ดี ความตระหนี่ธาตุก็ดี ความ ตระหนี่อายตนะก็ดี นี่เรียกว่าความตระหนี่ ความมุ่งจะเอาก็เรียกว่าความ ตระหนี่ ความตระหนี่นั้นอันบุคคลใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำ ไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ บุคคลนั้นเรียกว่า ผู้ไม่ ตระหนี่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่ทะเยอทะยาน ไม่ตระหนี่.

ว่าด้วยความคะนอง ๓ อย่าง

[๓๙๙] ชื่อว่า ความคะนอง ในคำว่า ผู้ไม่คะนอง ไม่เป็นที่ รังเกียจ ได้แก่ ความคะนอง ๓ อย่าง คือความคะนองทางกาย ๑ ความ คะนองทางวาจา ๑ ความคะนองทางจิต ๑.

ความคะนองทางกายเป็นไฉน? ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้อยู่ใน สงฆ์ก็ดี อยู่ในคณะก็ดี อยู่ในโรงฉันก็ดี อยู่ในเรือนไฟก็ดี อยู่ที่ท่าน้ำ ก็ดี กำลังเข้าไปสู่ละแวกบ้านก็ดี เข้าไปสู่ละแวกบ้านแล้วก็ดี ก็แสดง ความคะนองทางกาย.

ภิกษุอยู่ในสงฆ์แสดงความคะนองทางกายอย่างไร? ภิกษุบางรูป ในธรรมวินัยนี้ อยู่ในสงฆ์ ไม่ทำความยำเกรง ยืนเบียดพวกภิกษุที่เป็น เถระบ้าง นั่งเบียดพวกภิกษุที่เป็นเถระบ้าง ยืนบังหน้าบ้าง นั่งบังหน้า บ้าง นั่งบนอาสนะที่สูงบ้าง นั่งคลุมศีรษะตนบ้าง ยืนตัวแข็ง (ไม่ก้ม) พูดบ้าง แกว่งแขนพูดบ้าง ภิกษุอยู่ในสงฆ์แสดงความคะนองทางกาย อย่างนี้.

ภิกษุอยู่ในคณะแสดงความคะนองทางกายอย่างไร? ภิกษุบางรูป ในธรรมวินัย อยู่ในคณะ ไม่ทำความยำเกรง เมื่อพวกภิกษุที่เป็นเถระ

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 26

ไม่สวมรองเท้าเดินอยู่ ก็สวมรองเท้าเดินไป เมื่อพวกภิกษุที่เป็นเถระเดิน อยู่ในที่จงกรมต่ำ ก็เดินในที่จงกรมสูง เมื่อพวกภิกษุที่เป็นเถระเดินอยู่ บนแผ่นดิน ก็เดินในที่จงกรม ยืนเบียดบ้าง นั่งเบียดบ้าง ยืนบังหน้าบ้าง นั่งบังหน้าบ้าง นั่งบนอาสนะที่สูงบ้าง นั่งคลุมศีรษะตนบ้าง ยืนตัวแข็ง พูดบ้าง แกว่งแขนพูดบ้าง ภิกษุอยู่ในคณะแสดงความคะนองทางกาย อย่างนี้.

ภิกษุอยู่ในโรงฉันแสดงความคะนองทางกายอย่างไร? ภิกษุบางรูป ในธรรมวินัยนี้ อยู่ในโรงฉัน ไม่ทำความยำเกรง นั่งแทรกแซงพวก ภิกษุบางรูปที่เป็นเถระบ้าง นั่งกีดกันอาสนะพวกภิกษุที่เป็นนวกะบ้าง ยืนเบียดบ้าง ยืนบังหน้าบ้าง นั่งบังหน้าบ้าง นั่งบนอาสนะที่สูงบ้าง นั่งคลุมศีรษะคนบ้าง ยืนตัวแข็งพูดบ้าง แกว่งแขนพูดบ้าง ภิกษุอยู่ใน โรงฉันแสดงความคะนองทางกายอย่างนี้.

ภิกษุอยู่ในเรือนไฟแสดงความคะนองทางกายอย่างไร? ภิกษุบาง รูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ในเรือนไฟ ไม่ทำความยำเกรง ยืนเบียดพวกภิกษุ ที่เป็นเถระบ้าง นั่งเบียดพวกภิกษุที่เป็นเถระบ้าง ยืนบังหน้าบ้าง นั่งบัง หน้าบ้าง นั่งบนอาสนะที่สูงบ้าง ไม่บอกก่อนแล้วใส่ฟืนบ้าง ไม่บอก ก่อนแล้วปิดประตูบ้าง ภิกษุอยู่ในเรือนไฟแสดงความคะนองทางกาย อย่างนี้.

ภิกษุอยู่ที่ท่าน้ำแสดงความคะนองทางกายอย่างไร? ภิกษุบางรูป ในธรรมวินัยนี้ อยู่ที่ท่าน้ำ ไม่ทำความยำเกรง ลงเบียดพวกภิกษุที่เป็น เถระบ้าง ลงข้างหน้าบ้าง อาบเบียดบ้าง อาบข้างหน้าบ้าง อาบเหนือ

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 27

น้ำบ้าง ขึ้นเบียดบ้าง ขึ้นข้างหน้าบ้าง ขึ้นข้างเหนือหน้าบ้าง ภิกษุอยู่ที่ท่า น้ำ แสดงความคะนองทางกายอย่างนี้.

ภิกษุกำลังเข้าไปสู่ละแวกบ้านแสดงความคะนองทางกายอย่างไร? ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ กำลังเข้าไปสู่ละแวกบ้าน ไม่ทำความยำเกรง เดินเบียดพวกภิกษุที่เป็นเถระบ้าง เดินข้างหน้าบ้าง เดินขึ้นหน้าพวกภิกษุ ที่เป็นเถระบ้าง ภิกษุกำลังเข้าไปสู่ละแวกบ้านแสดงความคะนองทางกาย อย่างนี้.

ภิกษุเข้าไปสู่ละแวกบ้านแล้ว แสดงความคะนองทางกายอย่างไร? ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เข้าไปสู่ละแวกบ้านแล้ว เมื่อเขาไม่บอกว่าเข้า ไปเถิดพระคุณเจ้า ก็เข้าไป เมื่อเขาไม่บอกว่า ยืนเถิดพระเจ้าข้า ก็ยืน เมื่อเขาไม่บอกว่า นั่งเถิดพระคุณเจ้า ก็นั่ง เข้าไปสู่ที่เป็นโอกาสไม่ควร บ้าง ยืนในที่เป็นโอกาสไม่ควรบ้าง นั่งในที่เป็นโอกาสไม่ควรบ้าง ผลุนผลันเข้าไปในห้องเล็กลับปิดบังของสกุล อันเป็นที่นั่งอยู่แห่งหญิง ของสกุล ธิดาของสกุล สะใภ้ของสกุล กุมารีของสกุลบ้าง จับศีรษะ เด็กบ้าง ภิกษุเข้าไปสู่ละแวกบ้านแล้วแสดงความคะนองทางกายอย่างนี้ นี้ชื่อว่าความคะนองทางกาย.

ความคะนองทางวาจาเป็นไฉน? ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ ในสงฆ์ก็ดี อยู่ในคณะก็ดี เข้าไปสู่ละแวกบ้านแล้วก็ดี ย่อมแสดงความ คะนองทางวาจา.

ภิกษุอยู่ในสงฆ์แสดงความคะนองทางวาจาอย่างไร? ภิกษุบางรูป ในธรรมวินัยนี้ อยู่ในสงฆ์ ไม่ทำความยำเกรง ไม่บอกพวกภิกษุที่เป็น เถระก่อน หรืออันพวกภิกษุที่เป็นเถระไม่เชื้อเชิญ ก็แสดงธรรมแก่ภิกษุ

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 28

ทั้งหลายที่อยู่ในอาราม แก้ปัญหาเอง สวดปาติโมกข์เอง ยืนตัวแข็งพูด บ้าง แกว่งแขนพูดบ้าง ภิกษุอยู่ในสงฆ์แสดงความคะนองทางวาจา อย่างนี้.

ภิกษุอยู่ในคณะแสดงความคะนองทางวาจาอย่างไร? ภิกษุบางรูป ในธรรมวินัยนี้ อยู่ในคณะไม่ทำความยำเกรง ไม่บอกแก่พวกภิกษุที่เป็น เถระก่อน หรืออันพวกภิกษุที่เป็นเถระไม่เชื้อเชิญ ก็แสดงธรรมแก่ภิกษุ ทั้งหลายที่อยู่ในอาราม แก้ปัญหาเอง ยืนตัวแข็งพูดบ้าง แกว่งแขนพูด บ้าง แสดงธรรมแก่ภิกษุณีทั้งหลายที่อยู่ในอาราม แสดงธรรมแก่อุบาสก ทั้งหลายที่อยู่ในอาราม แสดงธรรมแก่อุบาสิกาทั้งหลายที่อยู่ในอาราม แก้ปัญหาเอง ยืนตัวแข็งพูดบ้าง แกว่งแขนพูดบ้าง ภิกษุอยู่ในคณะ แสดงความคะนองทางวาจาอย่างนี้.

ภิกษุเข้าไปสู่ละแวกบ้านแล้วแสดงความคะนองทางวาจาอย่างไร? ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เข้าไปสู่ละแวกบ้านแล้วพูดกะสตรีบ้าง กุมารี บ้าง พูดฟุ้งไปว่า ดูก่อนหญิงมีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ สิ่งอะไรมีอยู่ ยาคูมีไหม ภัตมีไหม ของควรเคี้ยวมีไหม พวกเราจะดื่มอะไร จะฉันอะไร จะเคี้ยวอะไร สิ่งอะไรมีหรือ หรือท่านทั้งหลายจะให้อะไรแก่เรา ภิกษุ เข้าไปสู่ละแวกบ้านแล้วแสดงความคะนองทางวาจาอย่างนี้ นี้ชื่อว่าความ คะนองทางวาจา.

ความคะนองทางจิตเป็นไฉน? ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ มิใช่ เป็นผู้ออกบวชจากสกุลสูง ก็มีจิตวางคนเหมือนกับภิกษุที่ออกบวชจาก

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 29

สกุลสูง มิใช่เป็นผู้ออกบวชจากสกุลใหญ่ ก็มีจิตวางตนเหมือนกับภิกษุ ที่ออกบวชจากสกุลใหญ่ มิใช่เป็นผู้ออกบวชจากสกุลมีโภคสมบัติมาก ก็มีจิตวางตนเหมือนกับภิกษุที่ออกบวชจากสกุลมีโภคสมบัติมาก มิใช่เป็น ผู้ออกบวชจากสกุลมีโภคสมบัติยิ่งใหญ่ ก็มีจิตวางคนเหมือนกับภิกษุที่ออก บวชจากสกุลมีโภคสมบัติยิ่งใหญ่ มิใช่เป็นผู้ทรงจำพระสูตร ก็มีจิต วางตนเหมือนกับภิกษุผู้ทรงจำพระสูตร มิใช่เป็นผู้ทรงจำพระวินัย ... มิใช่ เป็นพระธรรมกถึก ... มิใช่เป็นผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ... มิใช่เป็นผู้ถือเที่ยว บิณฑบาตเป็นวัตร ... มิใช่เป็นผู้ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ... มิใช่เป็นผู้ ถือทรงไตรจีวรเป็นวัตร ... มิใช่เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับตรอก เป็นวัตร ... มิใช่เป็นผู้ถือไม่ฉันภัตหนหลังเป็นวัตร ... มิใช่เป็นผู้ถือไม่ นอนเป็นวัตร ... มิใช่เป็นผู้ถืออยู่ในเสนาสนะที่เขาจัดให้อย่างไรเป็นวัตร ... มิใช่เป็นผู้ได้ปฐมฌาน ฯลฯ มิใช่เป็นผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ก็มีจิตวางตนเหมือนกับภิกษุที่ได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ นี้ชื่อว่าความคะนองทางจิต.

ความคะนอง ๓ ประการนี้ บุคคลใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ บุคคลนั้นเรียกว่า ผู้ไม่ คะนอง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่คะนอง.

ว่าด้วยผู้น่ารังเกียจและไม่น่ารังเกียจ

[๔๐๐] คำว่า ผู้ไม่เป็นที่รังเกียจ ความว่า บุคคลผู้เป็นที่ รังเกียจก็มี ผู้ไม่เป็นที่รังเกียจก็มี.

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 30

ก็บุคคลผู้เป็นที่รังเกียจเป็นไฉน? บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็น คนทุศีล มีบาปธรรม มีความประพฤติอันไม่สะอาดที่พึงระลึกด้วยความ ระแวง มีการงานอันปกปิด ไม่ใช่สมณะ ก็ปฏิญาณว่าคนเป็นสมณะ มิใช่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ก็ปฏิญาณว่าเป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ เป็น ผู้มีความเน่าอยู่ ณ ภายใน มีจิตชุ่มอยู่ด้วยราคะ เป็นดังว่าหยากเยื่อ บุคคล นี้เรียกว่า เป็นที่รังเกียจ.

อีกอย่างหนึ่ง บุคคลผู้มักโกรธ มีความแค้นเคืองมาก ถูกใครว่า เข้าแต่น้อย ก็ขัดใจ โกรธเคือง มุ่งร้าย ปองร้าย ทำความโกรธ ความ เคือง ความไม่ยินดีให้ปรากฏ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นที่รังเกียจ.

อีกอย่างหนึ่ง บุคคลเป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธ ลบหลู่ ตีเสมอ ริษยา ตระหนี่ โอ้อวด มีมารยา เป็นผู้กระด้าง ถือตัวจัด มีความปรารถนา ลามก มีความเห็นผิด มีความถือทิฏฐิของตน มีความถือรั้น มีความสละ คืนยาก บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นที่รังเกียจ.

ก็บุคคลผู้ไม่เป็นที่รังเกียจเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ มีศีลสำรวมด้วยปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรเห็นภัยใน โทษทั้งหลาย มีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาทั้งหลาย บุคคล นี้เรียกว่า ผู้ไม่เป็นที่รังเกียจ.

อีกอย่างหนึ่ง บุคคลไม่เป็นผู้มักโกรธ ไม่มีความแค้นเคืองมาก แม้อันใครๆ ว่ามากก็ไม่ขัดใจ ไม่โกรธเคือง ไม่มุ่งร้าย ไม่ปองร้าย ไม่ทำความโกรธ ความเคือง ความไม่ยินดีให้ปรากฏ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ไม่เป็นที่รังเกียจ.

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 31

อีกอย่างหนึ่ง บุคคลเป็นผู้ไม่ถือโกรธ ไม่ผูกโกรธ ไม่ลบหลู่ ไม่ตีเสมอ ไม่ริษยา ไม่ตระหนี่ ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา ไม่กระด้าง ไม่ถือตัวจัด ไม่มีความปรารถนาลามก ไม่มีความเห็นผิด ไม่ถือทิฏฐิ ของตน ไม่มีความถือรั้น มีความสละคืนง่าย บุคคลนี้เรียกว่าผู้ไม่เป็นที่ รังเกียจ อริยบุคคลทั้งหมดรวมทั้งกัลยาณปุถุชน เรียกว่าผู้ไม่เป็นที่รังเกียจ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่คะนอง ไม่เป็นที่รังเกียจ.

ว่าด้วยผู้ส่อเสียด

[๔๐๑] ชื่อว่า ความเป็นผู้มีวาจาส่อเสียด ในคำว่า และไม่ ประกอบในความเป็นผู้มีวาจาส่อเสียด พึงทราบอธิบายดังต่อไปนี้ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีวาจาส่อเสียด คือฟังจากข้างนี้แล้วไปบอก ข้างโน้น เพื่อทำลายคนหมู่นี้ หรือฟังจากข้างโน้นแล้วมาบอกข้างนี้ เพื่อ ทำลายคนหมู่โน้น เป็นผู้ทำลายคนที่พร้อมเพรียงกันบ้าง สนับสนุนคนที่ แตกกันแล้วบ้าง ชอบผู้ที่เป็นก๊กกัน ยินดีผู้ที่เป็นก๊กกัน เพลินผู้ที่เป็น ก๊กกัน เป็นผู้กล่าววาจาที่ทำให้เป็นก๊กกัน นี้เรียกว่าความเป็นผู้มีคำ ส่อเสียด อีกอย่างหนึ่ง บุคคลย่อมนำคำส่อเสียดเข้าไปด้วยเหตุ ๒ ประการ คือด้วยความมุ่งหมายเป็นที่รัก ๑ มีความประสงค์ให้เขาแตกกัน ๑.

บุคคลนำคำส่อเสียดเข้าไปด้วยความมุ่งหมายเป็นที่รักอย่างไร? บุคคล นำคำส่อเสียดเข้าไปด้วยความมุ่งหมายเป็นที่รักอย่างนี้ว่า เราจักเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ เป็นผู้สนิท เป็นภายใน เป็นที่ดีใจ ของบุคคลนี้ บุคคล นำคำส่อเสียดเข้าไป ด้วยความมุ่งหมายเป็นที่รักอย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 32

บุคคลเป็นผู้มีความประสงค์ให้เขาแตกกันอย่างนี้ว่า คนเหล่านี้พึง เป็นต่างกัน แยกกัน เป็นก๊กกันเป็นสองเหล่า สองพวก สองฝ่า อย่างไร คนเหล่านั้นพึงแตกกัน ไม่ปรองดองกัน พึงอยู่ลำบาก ไม่ผาสุก บุคคลมี ความประสงค์ให้เขาแตกกัน นำคำส่อเสียดเข้าไปอย่างนี้.

คำส่อเสียดนี้ บุคคลใด ละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ บุคคลนั้นไม่ประกอบ ไม่ประกอบ ทั่ว ไม่มาประกอบ ไม่มาประกอบพร้อม ในความเป็นผู้มีวาจาส่อเสียด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า และไม่ประกอบในความเป็นผู้มีวาจาส่อเสียด เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

บุคคลเป็นผู้หลีกเร้น ไม่หลอกลวง ไม่ทะเยอทะยาน ไม่ตระหนี่ ไม่คะนอง ไม่เป็นที่รังเกียจ และไม่ประกอบ ในความเป็นผู้มีวาจาส่อเสียด.

[๔๐๒] บุคคลผู้ไม่มีความยินดีในวัตถุเป็นที่ยินดี ไม่ประกอบ ในความถือตัวจัด ผู้ละเอียด มีปฏิภาณไม่เชื่อใครๆ และไม่คลายกำหนัด.

ว่าด้วยกามคุณ

[๔๐๓] กามคุณ ๕ เรียกว่าวัตถุเป็นที่ยินดี ในคำว่า บุคคลผู้ไม่ มีความยินดีในวัตถุเป็นที่ยินดี เพราะเหตุว่า เทวดาและมนุษย์ย่อมอยาก ได้ ยินดี ปรารถนา รักใคร่ พอใจกามคุณ ๕ โดยส่วนมาก เพราะเหตุนั้น กามคุณ ๕ จึงเรียกว่าวัตถุเป็นที่ยินดี. ความยินดี คือความ

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 33

ปรารถนานั้น อันชนเหล่าใดยังละไม่ได้แล้ว ชนเหล่านั้นก็มีรูปตัณหา ไหลหลั่ง เลื่อนไหล เป็นไปในทางจักษุ มีสัททตัณหาหลั่งไหล เลื่อนไหล เป็นไปทางหู มีคันธตัณหาหลั่งไหล เลื่อนไหล เป็นไปทางจมูก มีรสตัณหาหลั่งไหล เลื่อนไหล เป็นไปทางลิ้น มีโผฏฐัพพตัณหาหลั่งไหล เลื่อนไหล เป็นไปทางกาย มีธรรมตัณหาหลั่งไหล เลื่อนไหล เป็นไป ทางใจ ความยินดี คือความปรารถนานั้น อันชนเหล่าใดละ ตัดขาด สงบระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ ชน เหล่านั้นก็ไม่มีรูปตัณหาหลั่งไหล เลื่อนไหล เป็นไปทางจักษุ ไม่มีสัททตัณหาหลั่งไหล เลื่อนไหล เป็นไปทางหู ไม่มีคันธตัณหาหลั่งไหล เลื่อนไหล เป็นไปทางจมูก ไม่มีรสตัณหาหลั่งไหล เลื่อนไหล เป็นไปทางลิ้น ไม่มีโผฏฐัพพตัณหาหลั่งไหล เลื่อนไหล เป็นไปทางกาย ไม่มีธรรมตัณหาหลั่งไหล เลื่อนไหล เป็นไปทางใจ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่มี ความยินดีในวัตถุเป็นที่ยินดี.

ว่าด้วยความดูหมิ่น

[๔๐๔] คำว่า ไม่ประกอบในความดูหมิ่น ความว่า ความดูหมิ่น เป็นไฉน? บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมดูหมิ่นผู้อื่นโดยชาติบ้าง โดย โคตรบ้าง ฯลฯ โดยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่งบ้าง ความถือตัว กิริยาที่ถือ ตัว ความกำเริบขึ้น ความฟูขึ้น ความถือตัวดังว่าธงชัย ความยกย่องตน ความที่จิตใคร่เป็นดังว่าธงยอดเห็นปานนี้ นี้เรียกว่า ความดูหมิ่นนั้น อัน บุคคลใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้ว ด้วยไฟคือญาณ บุคคลนั้นไม่ประกอบ ไม่ประกอบทั่ว ไม่มาประกอบ

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 34

ไม่มาประกอบพร้อม ในความดูหมิ่น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ไม่ประกอบ ในความดูหมิ่น.

[๔๐๕] คำว่า ผู้ละเอียด มีปฏิภาณ ความว่า ชื่อว่าผู้ละเอียด เพราะประกอบด้วยกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ อริยมรรคมีองค์ ๘ อันละเอียด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ละเอียด.

ผู้มีปฏิภาณ ๓ จำพวก

[๔๐๖] คำว่า มีปฏิภาณ ความว่า บุคคลมีปฏิภาณ ๓ จำพวก คือ บุคคลมีปฏิภาณเพราะปริยัติ ๑ บุคคลมีปฏิภาณเพราะปริปุจฉา ๑ บุคคลมีปฏิภาณเพราะอธิคม ๑.

บุคคลมีปฏิภาณเพราะปริยัติเป็นไฉน? บุคคลบางคนในพระศาสนานี้ เล่าเรียนพระพุทธพจน์ คือสุตตะ เคยยะ เวยยากรณ์ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ ญาณของบุคคลนั้น ย่อมแจ่มแจ้งเพราะอาศัยปริยัติ บุคคลนี้ชื่อว่า ผู้มีปฏิภาณเพราะปริยัติ.

บุคคลมีปฏิภาณเพราะปริปุจฉาเป็นไฉน? บุคคลบางตนในพระศาสนานี้ เป็นผู้ไต่ถามในประโยชน์ของตน ในประโยชน์ที่ควรรู้ ใน ลักษณะ ในเหตุ ในฐานะและอฐานะ ญาณของบุคคลนั้นย่อมแจ่มแจ้ง เพราะอาศัยการไต่ถามนั้น บุคคลนี้ชื่อว่า ผู้มีปฏิภาณเพราะปริปุจฉา.

บุคคลมีปฏิภาณเพราะอธิคมเป็นไฉน? บุคคลบางคนในพระศาสนานี้เป็นผู้ได้บรรลุธรรมทั้งหลาย คือสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 35

สามัญญผล ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ บุคคลนั้นรู้อรรถ รู้ธรรม รู้นิรุตติ เมื่อรู้อรรถ อรรถก็แจ่มแจ้ง เมื่อรู้ธรรม ธรรมก็แจ่มแจ้ง เมื่อ รู้นิรุตติ นิรุตติก็แจ่มแจ้ง ญาณในอรรถ ธรรมและนิรุตติ ทั้ง ๓ นี้ ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา บุคคลใดเข้าถึง เข้าถึงพร้อม เข้าไป เข้าไปพร้อม เข้าไปถึง เข้าไปถึงพร้อม ประกอบแล้ว ด้วยปฏิภาณปฏิสัมภิทาน บุคคล ใดไม่มีประยัติ ไม่มีปริปุจฉา ไม่มีอธิคม ญาณอะไรเล่าจะแจ่มแจ้งแก่ บุคคลนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ละเอียดมีปฏิภาณ.

ว่าด้วยรู้ธรรมแล้วไม่ต้องเชื่อใครอีก

[๔๐๗] คำว่า ไม่เชื่อใครๆ ในคำว่า ไม่เชื่อใครๆ ไม่คลาย กำหนัด ความว่า ภิกษุนั้นย่อมไม่เชื่อธรรมที่รู้ยิ่งด้วยตนเอง อันประจักษ์ แก่ตนเองต่อใครๆ อื่น ซึ่งเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร หรือ พรหม คือไม่เชื่อธรรมที่รู้ยิ่งด้วยตนเอง อันประจักษ์แก่ตนเองว่า สังขาร ทั้งปวงไม่เที่ยง ... สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ... ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ... เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร ฯลฯ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมี ชรามรณะ ... เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ ฯลฯ เพราะชาติดับ ชรา มรณะจึงดับ ... นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เหล่านั้น อาสวะ ฯลฯ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ ... ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง ฯลฯ ธรรมเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง ต่อใครๆ อื่นซึ่งเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร หรือพรหม และไม่เชื่อธรรมที่รู้ยิ่งด้วยตนเอง อันประจักษ์ แก่ตนเอง คือความเกิด ความดับ คุณ โทษ อุบายเครื่องสลัดออกไป

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 36

แห่งผัสสายตนะ ๖ และความเกิด ความดับ คุณ โทษ อุบายเครื่อง สลัดออกไป แห่งอุปาทานขันธ์ ๕ และความเกิด ความดับ คุณ โทษ อุบายเครื่องสลัดออกไป แห่งมหาภูตรูป ๔ ต่อใครๆ อื่นซึ่งเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร หรือพรหม และไม่เชื่อธรรมที่รู้ยิ่งด้วยตนเอง อันประจักษ์แก่ตนเองว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดเป็นธรรมดา สิ่งนั้น ทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา ต่อใครๆ อื่นซึ่งเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร หรือพรหม.

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร เธอย่อมเชื่อ หรือว่า สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว เป็นธรรมชาติ หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ เป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด. ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ในข้อนี้ ข้าพระองค์ไม่ถึงความเชื่อต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ว่า สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ที่บุคคล เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว เป็นธรรมชาติ หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็น เบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สัทธินทรีย์เป็นต้นนั้น ชนเหล่าใดยังไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่ทำให้แจ้ง ไม่ถูกต้องแล้ว ด้วย ปัญญา ชนเหล่านั้น พึงถึงความเชื่อต่อชนอื่นในข้อนั้นโดยแน่นอนว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ ที่บุคคลเจริญเล้ว ทำให้มากแล้ว เป็น คุณชาติ หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ส่วนว่า สัทธินทรีย์เป็นต้นนั้น ชนเหล่าใดรู้เห็น ทราบ ทำให้แจ้ง ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ชนเหล่านั้น ไม่มีความเคลือบแคลง สงสัยในข้อนั้นว่า สัทธินทรีย์ ... ปัญญินทรีย์ ... ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 37

มากแล้ว เป็นคุณชาติ หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะ เป็นที่สุด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สัทธินทรีย์เป็นต้นนั้น ข้าพระองค์รู้ เห็น ทราบ ทำให้แจ้ง ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ข้าพระองค์ไม่มีความ เคลือบแคลงสงสัยในข้อนั้นว่า สัทธินทรีย์ ... ปัญญินทรีย์ ที่บุคคลเจริญ แล้ว ทำให้มากแล้ว เป็นคุณชาติหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร ถูกละๆ ดูก่อนสารีบุตร ความจริง สัทธินทรีย์เป็นต้นนั้น ชนเหล่าใด ยังไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่ทำให้แจ้ง ไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ชนเหล่านั้น พึงถึงความเชื่อต่อชนอื่นในข้อนั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว เป็นคุณชาติ หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ เป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลง แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปว่า

นรชนใด เป็นผู้ไม่เชื่อใครๆ รู้ว่านิพพาน อันปัจจัย อะไรๆ ทำไม่ได้ ตัดที่ต่อ กำจัดโอกาส คลายความหวัง เสียแล้ว นรชนนั้นแล ชื่อว่าเป็นอุดมบุรุษ ดังนี้.

ว่าด้วยผู้ไม่คลายกำหนัด

คำว่า ไม่คลายกำหนัด ความว่า พาลปุถุชนทั้งหมดย่อมกำหนัด พระเสขะ ๗ จำพวก รวมทั้งกัลยาณปุถุชน ย่อมคลายกำหนัด พระอรหันต์ ย่อมไม่กำหนัด ทั้งไม่คลายกำหนัด พระอรหันต์นั้น ชื่อว่าเป็นผู้เว้น

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 38

เพราะสิ้นราคะ ปราศจากราคะ สิ้นโทสะ ปราศจากโทสะ สิ้นโมหะ ปราศจากโมหะ พระอรหันต์นั้น อยู่จบพรหมจรรย์ มีจรณะอันประพฤติ แล้ว ฯลฯ ไม่มีภพใหม่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่เธอใครๆ ไม่คลาย กำหนัด เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

บุคคลผู้ไม่มีความยินดีในวัตถุเป็นที่ยินดี ไม่ประกอบ ในความดูหมิ่น ผู้ละเอียด มีปฏิภาณ ไม่เชื่อใครๆ และไม่คลายกำหนัด.

[๔๐๘] บุคคลไม่ศึกษา เพราะอยากได้ลาภ ไม่โกรธ เพราะ ไม่ได้ลาภ เป็นผู้ไม่พิโรธ และไม่ติดใจในรส เพราะ ตัณหา.

ว่าด้วยศึกษาเพราะอยากได้ลาภ

[๔๐๙] พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ไม่พึงศึกษาเพราะอยากได้ลาภ ไม่โกรธเพราะไม่ได้ลาภ ดังต่อไปนี้ บุคคลย่อมศึกษาเพราะอยากได้ ลาภอย่างไร? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นภิกษุผู้ได้ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เธอมีความดำริ อย่างนี้ว่า เพราะเหตุอะไรหนอ ท่านผู้นี้จึงได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เธอมีความดำริอย่างนี้ว่า เพราะเหตุอะไร หนอ ท่านผู้นี้เป็นผู้ทรงจำพระสูตร ด้วยเหตุนั้น ท่านผู้นี้จึงได้จีวร บิณฑบาตเสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เธอหวังได้ลาภก็เล่าเรียน พระสูตร เพราะเหตุแห่งลาภ เพราะปัจจัยแห่งลาภ เพราะการณะแห่ง

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 39

ลาภ เพราะความเกิดขึ้นแห่งลาภ ภิกษุย่อมศึกษาเพราะอยากได้ลาภ แม้ อย่างนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเห็นภิกษุผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เธอมีความดำริอย่างนี้ว่า เพราะเหตุอะไรหนอ ท่านผู้นี้จึงได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เธอ มีความดำริอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้เป็นผู้ทรงจำพระวินัย ฯลฯ ท่านผู้นี้เป็นผู้ ทรงจำพระอภิธรรม ด้วยเหตุนั้น ท่านผู้นี้จึงได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เธอหวังได้ลาภ ก็เล่าเรียนพระอภิธรรม เพราะเหตุแห่งลาภ เพราะปัจจัยแห่งลาภ เพราะการณะแห่งลาภ และ เพราะความเกิดขึ้นแห่งลาภ ภิกษุย่อมศึกษาเพราะอยากได้ลาภ แม้ อย่างนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเห็นภิกษุผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เธอมีความดำริอย่างนี้ว่า เพราะเหตุอะไรหนอ ท่านผู้นี้จึงได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เธอ มีความดำริอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้เป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ถือการเที่ยว บิณฑบาตเป็นวัตร ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ถือทรงไตรจีวรเป็นวัตร ถือ การเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอกเป็นวัตร ถือไม่ฉันภัตหนหลังเป็นวัตร ถือการนั่งเป็นวัตร ถือการอยู่ในเสนาสนะที่เขาจัดให้อย่างไรเป็นวัตร ด้วยเหตุนั้น ท่านผู้นี้จึงได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย เภสัชบริขาร เธอหวังได้ลาภ ก็เป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ฯลฯ เป็น ผู้ถือการอยู่ในเสนาสนะที่เขาจัดให้อย่างไรเป็นวัตร เพราะเหตุแห่งลาภ

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 40

เพราะปัจจัยแห่งลาภ เพราะการณะแห่งลาภ และเพราะความเกิดขึ้นแห่ง ลาภ ภิกษุย่อมศึกษาเพราะความอยากได้ลาภ แม้อย่างนี้.

ภิกษุไม่ศึกษาเพราะอยากได้ลาภอย่างไร? ภิกษุย่อมไม่ศึกษา เพราะเหตุแห่งลาภ ไม่ศึกษาเพราะปัจจัยแห่งลาภ ไม่ศึกษาเพราะการณะ แห่งลาภ ไม่ศึกษาเพราะความเกิดขึ้นแห่งลาภ ไม่หวังได้ลาภ ย่อม เล่าเรียนพระสูตร ย่อมเล่าเรียนพระวินัย ย่อมเล่าเรียนพระอภิธรรม เพื่อประโยชน์ฝึกตน เพื่อสงบตน เพื่อให้ตนปรินิพพาน อย่างเดียว เท่านั้น ภิกษุไม่ศึกษาเพราะอยากได้ลาภ แม้อย่างนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุไม่ศึกษาเพราะเหตุแห่งลาภ ไม่ศึกษาเพราะ ปัจจัยแห่งลาภ ไม่ศึกษาเพราะการณะแห่งลาภ ไม่ศึกษาเพราะความเกิด ขึ้นแห่งลาภ ไม่หวังได้ลาภ ย่อมเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ถือการเที่ยว บิณฑบาตเป็นวัตร ถือทรงผ้าบังสกุลเป็นวัตร ถือทรงผ้าไตรจีวรเป็นวัตร ถือการเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอกเป็นวัตร ถือไม่ฉันภัตหนหลังเป็น วัตร ถือการนั่งเป็นวัตร ถือการอยู่ในเสนาสนะที่เขาจัดให้อย่างไรเป็น วัตร เพราะอาศัยความปรารถนาน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลากิเลส ความสงัด ความเป็นผู้มีความต้องการด้วยกุศลนี้แต่อย่างเดียวเท่านั้น ภิกษุไม่ศึกษาเพราะอยากได้ลาภ แม้อย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่ ศึกษาเพราะอยากได้ลาภ.

ว่าด้วยโกรธเพราะไม่ได้ลาภ

[๘๑๐] พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ไม่โกรธเพราะไม่ได้ลาภ ดัง ต่อไปนี้ บุคคลย่อมโกรธเพราะไม่ได้ลาภอย่างไร? ภิกษุบางรูปในธรรม-

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 41

วินัยนี้ ยังโกรธ ขัดเคือง แค้นใจ ทำความโกรธ ความขัดเคืองและ ความไม่ยินดีให้ปรากฏว่า เราย่อมไม่ได้สกุล ไม่ได้คณะ ไม่ได้ลาภ ไม่ได้ ยศ ไม่ได้สรรเสริญ ไม่ได้สุข ไม่ได้จีวร ไม่ได้บิณฑบาต ไม่ได้เสนาสนะ ไม่ได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ไม่ได้บุคคลเป็นคิลานุปัฏฐาก เราเป็นผู้มี ชื่อเสียงไม่ปรากฏ บุคคลย่อมโกรธ เพราะไม่ได้ลาภอย่างนี้.

บุคคลย่อมไม่โกรธเพราะไม่ได้ลาภอย่างไร? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่โกรธ ไม่ขัดเคือง ไม่แค้นใจ ไม่ทำความโกรธ ความขัดเคือง และความไม่ยินดีให้ปรากฏว่า เราย่อมไม่ได้สกุล ไม่ได้คณะ ไม่ได้อาวาส ไม่ได้ลาภ ไม่ได้ยศ ไม่ได้สรรเสริญ ไม่ได้จีวร ไม่ได้บิณฑบาตไม่ได้ เสนาสนะ ไม่ได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ไม่ได้บุคคลเป็นคิลานุปัฏฐาก เราเป็นผู้ไม่มีชื่อเสียงปรากฏ บุคคลย่อมไม่โกรธเพราะไม่ได้ลาภอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลไม่ศึกษาเพราะอยากได้ลาภ ไม่โกรธเพราะ ไม่ได้ลาภ.

ว่าด้วยความพิโรธ

[๔๑๑] คำว่า ความพิโรธ ในคำว่า เป็นผู้ไม่พิโรธ และไม่ ติดใจในรสเพราะตัณหา ดังนี้ ได้แก่ความปองร้าย ความมุ่งร้าย ความ ขุ่นเคือง ความเคือง ความเคืองทั่ว ความเคืองเสมอ ความชัง ความชัง ทั่ว ความชังเสมอ ความพยาบาทแห่งจิต ความประทุษร้ายในใจ ความ โกรธ กิริยาที่โกรธ ความเป็นผู้โกรธ ความชัง กิริยาที่ชัง ความเป็น ผู้ชัง ความพยาบาท กิริยาที่พยาบาท ความเป็นผู้พยาบาท ความพิโรธ

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 42

ความพิโรธตอบ ความเป็นผู้ประทุษร้าย ความเพาะวาจาชั่ว ความไม่ แช่มชื่นแห่งจิต นี้เรียกว่า ความพิโรธ ความพิโรธนั้น อันบุคคลใด ละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้ว ด้วยไฟคือญาณ บุคคลนั้นเรียกว่า ผู้ไม่พิโรธ. ชื่อว่าตัณหา ได้แก่ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธรรมตัณหา. ชื่อว่ารส ได้แก่ รสที่ราก รสที่ลำต้น รสที่เปลือก รสที่ใบ รสที่ดอก รสที่ผล รสเปรี้ยว รสหวาน รสขม รสเผ็ดร้อน รสเค็ม รสปร่า รสเฝื่อน รสฝาด รสอร่อย รสไม่อร่อย รสเย็น รสร้อน. มีสมณพราหมณ์บางพวกติดใจในรส สมณพราหมณ์พวกนั้น เที่ยวแสวง หารสอันเลิศ ด้วยปลายลิ้น ได้รสเปรี้ยวก็แสวงหารสไม่เปรี้ยว ได้รส ไม่เปรี้ยวก็แสวงหารสเปรี้ยว ได้รสหวานก็แสวงหารสไม่หวาน ได้รส ไม่หวานก็แสวงหารสหวาน ได้รสขมก็แสวงหารสไม่ขม ได้รสไม่ขมก็ แสวงหารสขม ได้รสเผ็ดร้อนก็แสวงหารสไม่เผ็ดร้อน ได้รสไม่เผ็ดร้อน ก็แสวงหารสเผ็ดร้อน ได้รสเค็มก็แสวงหารสไม่เค็ม ได้รสไม่เค็มก็ แสวงหารสเค็ม ได้รสปร่าก็แสวงหารสไม่ปร่า ได้รสไม่ปร่าก็แสวงหา รสปร่า ได้รสเฝื่อนก็แสวงหารสฝาด ได้รสฝาดก็แสวงหารสเฝื่อน ได้ รสอร่อยก็แสวงหารสไม่อร่อย ได้รสไม่อร่อยก็แสวงหารสอร่อย ได้ รสเย็นก็แสวงหารสร้อน ได้รสร้อนก็แสวงหารสเย็น สมณพราหมณ์ พวกนั้นได้รสใดๆ แล้ว ย่อมไม่ยินดีด้วยรสนั้นๆ ย่อมแสวงหารสอื่นๆ อีก เป็นผู้กำหนัด ปรารถนา ยินดี ติดใจ ลุ่มหลง ข้องเกี่ยว พัวพัน ในรสที่ชอบใจ. ตัณหาในรส อันบุคคลใดละ ตัดขาด สงบ

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 43

ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ บุคคลนั้น พิจารณาด้วยปัญญาแล้ว ย่อมฉันอาหาร ไม่ฉันเพื่อเล่น ไม่ฉันเพื่อ เมา ไม่ฉันเพื่อตกแต่ง ไม่ฉันเพื่อประดับ ฉันเพื่อความดำรงร่างกาย นี้ เพื่อให้ร่างกายนี้เป็นไป เพื่อกำจัดความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์แก่ พรหมจรรย์อย่างเดียวเท่านั้น ด้วยมนสิการว่า เราจะบำบัดเวทนาเก่า เสีย จักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น ความดำเนินไป ความเป็นผู้ไม่มีโทษ ความอยู่สบายของเรา จักมีด้วยอุบายดังนี้ คนทาแผลเพื่อจะบ่มผิว คนหยอดน้ำมันเพลาเกวียนเพื่อจะขนภาระ คนกินเนื้อบุตรเป็นอาหาร เพื่อจะออกจากทางกันดารอย่างเดียวเท่านั้นฉันใด ภิกษุพิจารณาด้วย ปัญญาแล้วพึงฉันอาหารก็ฉันนั้น ไม่ฉันเพื่อเล่น ไม่ฉันเพื่อเมา ไม่ ฉันเพื่อตกแต่ง ไม่ฉันเพื่อประดับ ฉันเพื่อความดำรงกายนี้ เพื่อให้ ร่างกายนี้เป็นไป เพื่อกำจัดความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์แก่พรหมจรรย์ อย่างเดียวเท่านั้น ด้วยมนสิการว่า เราจักบำบัดเวทนาเก่าเสีย จักไม่ให้ เวทนาใหม่เกิดขึ้น ความดำเนินไป ความเป็นผู้ไม่มีโทษ ความอยู่ สบายของเรา จักมีด้วยอุบายดังนี้ ย่อมละ บรรเทา ทำให้สิ้นซึ่งรส ตัณหา ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง เป็นผู้งด เว้น เว้นขาด ออก สลัด พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องด้วยรสตัณหา เป็นผู้มีจิตปราศจากเขต แดนอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้ไม่พิโรธและไม่ติดใจ ในรส เพราะตัณหา เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

บุคคลไม่ศึกษา เพราะอยากได้ลาภ ไม่โกรธ เพราะ ไม่ได้ลาภ เป็นผู้ไม่พิโรธ และไม่ติดใจในรส เพราะ ตัณหา.

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 44

[๔๑๒] บุคคลเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติทุกเมื่อ ไม่สำคัญ ว่าเสมอเขา ไม่สำคัญว่าดีกว่าเขา ไม่สำคัญว่าต่ำกว่า เขาในโลก กิเลสอันหนาทั้งหลายย่อมไม่มีแก่บุคคล นั้น.

ว่าด้วยอุเบกขามีองค์ ๖

[๔๑๓] คำว่า มีอุเบกขา ในคำว่า บุคคลเป็นผู้มีอุเบกขา มี สติทุกเมื่อ ความว่า เป็นผู้ประกอบด้วยอุเบกขามีองค์ ๖ กล่าวคือ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ได้ยินเสียงด้วยหู สูดดมกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้อง โผฏฐัพพะด้วยกาย รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ เห็นรูปที่ชอบใจด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่ ติดใจ ไม่ยินดี ไม่ให้ราคะเกิด กายของบุคคลนั้นตั้งอยู่ (ไม่หวั่นไหว) จิตก็ตั้งอยู่ ดำรงดีอยู่ ณ ภายใน พ้นวิเศษดีแล้ว. อนึ่ง เห็นรูปที่ไม่ ชอบใจด้วยจักษุแล้ว ก็ไม่เสียใจ ไม่โกรธ ไม่หดหู่ ไม่พยาบาท กายของบุคคลนั้น ตั้งอยู่ จิตก็ตั้งอยู่ ดำรงดีอยู่ ณ ภายใน พ้นวิเศษ แล้ว ได้ยินเสียงที่ชอบใจด้วยหู สูดดมกลิ่นที่ชอบใจด้วยจมูก ลิ้มรส ที่ชอบใจด้วยลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะที่ชอบใจด้วยกาย รู้แจ้งธรรมารมณ์ ที่ชอบใจด้วยใจแล้ว ย่อมไม่ติดใจ ไม่ยินดี ไม่ให้ราคะเกิด กายของ บุคคลนั้น ตั้งอยู่ จิตก็ตั้งอยู่ ดำรงดีอยู่ ณ ภายใน พ้นวิเศษดีแล้ว รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่ไม่ชอบใจด้วยใจแล้ว ก็ไม่เสียใจ ไม่โกรธ ไม่หดหู่ ไม่พยาบาท กายของบุคคลนั้นตั้งอยู่ จิตก็ตั้งอยู่ ดำรงดีอยู่ ณ ภายใน พ้นวิเศษดีแล้ว เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว กายของบุคคลนั้นตั้งเฉยอยู่ในรูปที่ ชอบใจและไม่ชอบใจ จิตก็ตั้งเฉยดำรงดีอยู่แล้ว ณ ภายใน พ้นวิเศษดีแล้ว

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 45

ได้ยินเสียงด้วยหู สูดดมกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะ ด้วยกาย รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว กายของบุคคลนั้นตั้งเฉยอยู่ใน ธรรมารมณ์ที่ชอบใจและไม่ชอบใจ จิตก็ตั้งเฉย ดำรงดีอยู่ ณ ภายใน พ้นวิเศษดีแล้ว เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่กำหนัดในอารมณ์เป็น ที่ตั้งแห่งความกำหนัด ไม่ขัดเคืองในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง ไม่หลงในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความหลง ไม่โกรธในอารมณ์เป็นที่ตั้ง แห่งความโกรธ ไม่เศร้าหมองในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความเศร้าหมอง ไม่มัวเมาในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา ได้ยินเสียงด้วยหู สูดดม กลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย รู้แจ้ง ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมไม่กำหนัดในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความ กำหนัด ไม่ขัดเคืองในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง ไม่หลงใน อารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความหลง ไม่โกรธในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ ไม่เศร้าหมองในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความเศร้าหมอง ไม่มัวเมาใน อารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา บุคคลนั้นเป็นแต่เพียงเห็นในรูปที่เห็น เป็นแต่เพียงได้ยินในเสียงที่ได้ยิน เป็นแต่เพียงทราบในกลิ่นรสโผฎ- ฐัพพะที่ทราบ เป็นแต่เพียงรู้แจ้งในธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ไม่คิดในรูป ที่เห็น ไม่ติดในเสียงที่ได้ยิน ไม่ติดในกลิ่น รส และโผฏฐัพพะที่ทราบ ไม่ติดในธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ไม่มีตัณหา อันตัณหาทิฏฐิไม่อาศัย ไม่ พัวพัน พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องในรูปที่เห็น ย่อมมีจิตปราศจากแดนกิเลส อยู่ ไม่มีตัณหา อันตัณหาทิฏฐิไม่อาศัย ไม่พัวพัน พ้นขาด ไม่ เกี่ยวข้อง ในเสียงที่ได้ยิน ในกลิ่น รส และโผฏฐัพพะที่ทราบ ใน ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ย่อมมีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่ พระอรหันต์มีจักษุ ปรากฏ ย่อมเห็นรูปด้วยจักษุ แต่มิได้มีฉันทราคะ มีจิตพ้นวิเศษ

 
  ข้อความที่ 46  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 46

ดีแล้ว มีหูปรากฏ ย่อมได้ยินเสียงด้วยหู แต่มิได้มีฉันทราคะ มีจิต พ้นวิเศษดีแล้ว มีจมูกปรากฏ ย่อมสูดดมกลิ่นด้วยจมูก แต่มิได้มี ฉันทราคะ มีจิตพ้นวิเศษดีแล้ว มีลิ้นปรากฏ ย่อมลิ้มรสด้วยลิ้น แต่ มิได้มีฉันทราคะ มีจิตพ้นวิเศษดีแล้ว มีกายปรากฏ ย่อมถูกต้อง โผฏฐัพพะด้วยกาย แต่มิได้มีฉันทราคะ มีจิตพ้นวิเศษดีแล้ว มีใจปรากฏ ย่อมรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ แต่มิได้มีฉันทราคะ มีจิตพ้นวิเศษดีแล้ว จักษุเป็นธรรมชาติชอบรูป ยินดีในรูป ชื่นชมในรูป พระอรหันต์ฝึก คุ้มครอง รักษา สำรวมจักษุ และย่อมแสดงธรรมเพื่อความสำรวม จักษุนั้น หูเป็นธรรมชาติชอบเสียง จมูกเป็นธรรมชาติชอบกลีน ลิ้น เป็นธรรมชาติชอบรส กายเป็นธรรมชาติชอบโผฏฐัพพะ ใจเป็น ธรรมชาติชอบธรรมารมณ์ ยินดีในธรรมารมณ์ ชื่นชมในธรรมารมณ์ พระอรหันต์ฝึกคุ้มครอง รักษา สำรวมใจ และแสดงธรรมเพื่อความ สำรวมใจนั้น

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ชนทั้งหลาย ย่อมนำพาหนะที่เขาฝึกแล้วไปสู่ที่ ประชุม พระราชาทรงขึ้นพาหนะที่เขาฝึกแล้ว บุคคล ผู้ฝึกฝนแล้วอดกลั้นถ้อยคำที่ล่วงเกินได้ เป็นผู้ประเสริฐ สุดในหมู่มนุษย์ ม้าอัสดร ม้าสินธพผู้อาชาไนย ช้าง ใหญ่กุญชร ที่เขาฝึกแล้ว เป็นสัตว์ประเสริฐ บุคคล ผู้ฝึกตนแล้ว ประเสริฐกว่าสัตว์เหล่านั้น ใครๆ ไม่พึง ไปถึงนิพพาน อันเป็นทิศที่ไม่เคยไป ด้วยยานเหล่านั้น เหมือนบุคคลผู้ฝึกแล้ว มีตนอันฝึกแล้ว ฝึกดีแล้ว ย่อม

 
  ข้อความที่ 47  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 47

ไปถึงได้ พระอรหันต์ไม่หวั่นไหวในมานะทั้งหลาย เป็น ผู้พ้นขาดแล้วจากภพใหม่ เป็นผู้บรรลุถึงแล้วซึ่งภูมิที่ฝึก แล้ว (๑) พระอรหันต์เหล่านั้นเป็นผู้ชนะแล้วในโลก ผู้ใด อบรมอินทรีย์ทั้งหลาย ในโลกทั้งปวง ทั้งในภายใน ทั้งในภายนอก ผู้นั้นฝึกดีแล้ว ทราบโลกนี้และปรโลก แล้ว รอคอยอยู่ซึ่งกาลมรณะ.

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้มีอุเบกขา.

คำว่า ทุกเมื่อ คือ ในกาลทุกเมื่อ ในกาลทั้งปวง ตลอด นิตยกาล ตลอดกาลยั่งยืน ฯลฯ ในตอนวัยหลัง. คำว่า ผู้มีสติ คือ เป็นผู้มีสติด้วยเหตุ ๔ ประการ กล่าวคือ เมื่อเจริญกายานุปัสสนาสติ- ปัฏฐานในกายก็ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานในเวทนา ทั้งหลายก็ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานในจิตก็ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานในธรรมทั้งหลายก็ชื่อว่ามีสติ ฯลฯ บุคคลนั้นเรียกว่า มีสติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ ทุกเมื่อ.

ว่าด้วยมานะ

[๔๑๔] คำว่า ไม่สำคัญว่าเสมอเขา ... ในโลก ความว่า ไม่ยัง มานะให้เกิดโดยชาติบ้าง โดยโคตรบ้าง ฯลฯ โดยวัตถุอย่างใดอย่าง หนึ่งบ้าง ว่าเราเสมอเขา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่สำคัญว่าเสมอเขา ... ในโลก.


๑. อรหัตผล.

 
  ข้อความที่ 48  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 48

[๔๑๕] คำว่า ไม่สำคัญว่าดีกว่าเขา ไม่สำคัญว่าต่ำกว่าเขา ความว่า ไม่ยังความดูหมิ่นให้เกิดขึ้นโดยชาติบ้าง โดยโคตรบ้าง ฯลฯ โดยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่งบ้าง ว่า เราดีกว่าเขา ไม่ยังความถือตัวให้ เกิดขึ้นโดยชาติบ้าง โดยโคตรบ้าง ฯลฯ โดยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง บ้าง ว่า เราเลวกว่าเขา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่สำคัญว่าดีกว่าเขา ไม่สำคัญว่าต่ำกว่าเขา.

ว่าด้วยกิเลสหนา ๗ ประการ

[๔๑๖] คำว่า นั้น ในคำว่า กิเลสอันหนาทั้งหลายย่อมไม่มี แก่บุคคลนั้น ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ. ชื่อว่ากิเลสอันหนาทั้งหลาย คือกิเลสอันหนา ๗ ประการ กล่าวคือ ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลส และกรรม กิเลสอันหนาเหล่านี้มิได้มี คือย่อมไม่มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้แก่บุคคลนั้น เป็นบาปธรรมอันบุคคลนั้นละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กิเลสอันหนาทั้งหลายย่อมไม่มีแก่บุคคลนั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

บุคคลเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติทุกเมื่อ ย่อมไม่สำคัญว่า เสมอเขา ไม่สำคัญว่าดีกว่าเขา ไม่สำคัญว่าต่ำกว่าเขา ในโลก กิเลสอันหนาทั้งหลายย่อมไม่มีแก่บุคคลนั้น.

[๔๑๗] ผู้ใดไม่มีความอาศัย รู้ธรรมแล้วไม่อาศัย ไม่มี ตัณหาในภพหรือในความปราศจากภพ.

 
  ข้อความที่ 49  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 49

ว่าด้วยความอาศัย

[๔๑๘] คำว่า ผู้ใด ในคำว่า ผู้ใดไม่มีความอาศัย คือพระอรหันตขีณาสพ. ชื่อว่า ความอาศัย ได้แก่ นิสัย ๒ ประการ คือ ตัณหานิสัย ๑ ทิฏฐินิสัย ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่าตัณหานิสัย ฯลฯ นี้ชื่อว่า ทิฏฐินิสัย ฯลฯ ผู้นั้น ละตัณหานิสัย สละคืนทิฏฐินิสัย เพราะละตัณหานิสัย สละคืนทิฏฐินิสัย ความอาศัยมิได้มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้แก่ผู้ใด คือ ความอาศัยนั้น อันบุคคลใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ใด ไม่มีความอาศัย.

[๔๑๙] คำว่า รู้แล้ว ในคำว่า รู้ธรรมแล้วไม่อาศัย ความว่า รู้ ทราบ พิจารณา เทียบเคียง ให้แจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้งว่า สังขาร ทั้งปวงไม่เที่ยง ... สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ... .ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ฯลฯ รู้ ทราบ พิจารณา เทียบเคียง ให้แจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้งว่า สิ่งใด สิ่งหนึ่งมีความเกิดเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา.

คำว่า ไม่อาศัย ได้แก่ นิสัย ๒ ประการ คือตัณหานิสัย ๑ ทิฏฐินิสัย ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่าตัณหานิสัย ฯลฯ นี้ชื่อว่าทิฏฐินิสัย ผู้ใดละ ตัณหานิสัย สละคืนทิฏฐินิสัย เป็นผู้ไม่อาศัย ไม่พัวพัน ไม่เข้าถึง ไม่ติดใจ ไม่น้อมใจไป ออก สละ พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้อง ซึ่งจักษุ หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สกุล คณะ อาวาส ฯลฯ รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ ที่ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง เป็นผู้มีจิตทำให้ปราศจากแดงกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า รู้ธรรมแล้วไม่อาศัย.

 
  ข้อความที่ 50  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 50

ว่าด้วยตัณหา

[๔๒๐] ชื่อว่า ตัณหา ในคำว่า ไม่มีตัณหาในภพและในความ ปราศจากภพ คือรูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธรรมตัณหา. คำว่า ใด คือ พระอรหันตขีณาสพ. คำว่า ในภพ คือ ในภวทิฏฐิ. คำว่า ในความปราศจากภพ คือ ใน วิภวทิฏฐิ. คำว่า ในภพ คือ ในสัสสตทิฏฐิ. คำว่า ในความปราศจาก ภพ คือ ในอุจเฉททิฏฐิ. คำว่า ในภพ คือ ในความเกิดบ่อยๆ ใน ความไปบ่อยๆ ในอุปบัติบ่อยๆ ในปฏิสนธิบ่อยๆ ในอันให้อัตภาพ เกิดบ่อยๆ ตัณหาย่อมไม่มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้แก่ผู้ใด คือตัณหา นั้นอันผู้ใดละ ตัดขาด สงบ ระงับ ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้ว ด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ใดไม่มีตัณหาในภพและในความ ปราศจากภพ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ผู้ใดไม่มีความอาศัย รู้ธรรมแล้วไม่อาศัย ไม่มี ตัณหาในภพ และในความปราศจากภพ.

[๔๓๑] เรากล่าวบุคคลนั้นผู้ไม่เพ่งในกามทั้งหลายว่า เป็น ผู้เข้าไปสงบ กิเลสเป็นเครื่องร้อยรัดทั้งหลาย ย่อม ไม่มีแก่บุคคลนั้น บุคคลนั้นได้ข้ามตัณหา อันชื่อว่า วิสัตติกาแล้ว.

[๔๒๒] คำว่า เรากล่าวบุคคลนั้น ... ว่า เป็นผู้เข้าไปสงบ ความ ว่า เรากล่าว บอก พูด แสดง แถลง ซึ่งบุคคลนั้นว่าเป็นผู้สงบ

 
  ข้อความที่ 51  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 51

เข้าไปสงบ เงียบ ดับ ระงับแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เรากล่าว บุคคลนั้น ... .ว่า เป็นผู้เข้าไปสงบ.

ว่าด้วยกาม ๒

[๔๒๓] โดยอุทานว่า กาม ในคำว่า ผู้ไม่เพ่งในกามทั้งหลาย กามมี ๒ อย่าง คือ วัตถุกาม ๑ กิเลสกาม ๑ ฯลฯ กามเหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม ฯลฯ กามเหล่านั้นเรียกว่ากิเลสกาม บุคคลนั้นกำหนดรู้วัตถุ กามแล้ว ละ สละ บรรเทา ทำให้สิ้นให้ถึงความไม่มีในภายหลังแล้ว ซึ่งกิเลสกาม ชื่อว่าเป็นผู้ไม่เพ่งในกามทั้งหลาย คือเป็นผู้ปราศจาก สละ สำรอก ปล่อย ละ สละคืนกามเสียแล้ว เป็นผู้ปราศจาก สละ สำรอก ปล่อย ละ สละคืนราคะเสียแล้ว เป็นผู้หายหิว ดับแล้ว เย็นแล้ว เสวยสุข มีตนเป็นดุจพรหมอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่เพ่งในกาม ทั้งหลาย.

ว่าด้วยเครื่องร้อยรัด ๔ อย่าง

[๔๒๔] ชื่อว่า กิเลสเครื่องร้อยรัด ในคำว่า กิเลสเครื่อง ร้อยรัดทั้งหลาย ย่อมไม่มีแก่บุคคลนั้น คือกิเลสเครื่องร้อยรัด ๔ อย่าง ได้แก่ กิเลสเครื่องร้อยรัดทางกาย คืออภิชฌา พยาบาท สีลัพพัตตปรามาส อิทังสัจจาภินิเวส (ความถือมั่นว่าสิ่งนี้จริง) ความกำหนัดใน ทิฏฐิของตน. ชื่อว่า กิเลสเครื่องร้อยรัดทางกาย คืออภิชฌา ความ อาฆาต ความไม่ยินดี ในวาทะของชนเหล่าอื่น. ชื่อว่า กิเลสเครื่อง ร้อยรัดทางกาย คือพยาบาท. ความยึดถือศีลหรือพรต หรือศีลและพรต

 
  ข้อความที่ 52  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 52

ของตน. ชื่อว่า กิเลสเครื่องร้อยรัดทางกาย คือสีลัพพัตตปรามาส ทิฏฐิของตน. ชื่อว่า กิเลสเครื่องร้อยรัดทางกาย คืออิทังสัจจาภินิเวส. คำว่า นั้น ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ. คำว่า กิเลสเครื่องร้อยรัด ทั้งหลาย ย่อมไม่มีแก่บุคคลนั้น ความว่า กิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งหลาย ย่อมไม่มี คือมิได้มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้ คือเป็นกิเลสอันบุคคล นั้นละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้ว ด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งหลาย ย่อมไม่มีแก่บุคคลนั้น.

ว่าด้วยตัณหามีชื่อต่างๆ

[๔๒๕] คำว่า บุคคลนั้นได้ข้ามตัณหาอันชื่อว่าวิสัตติกาแล้ว ความว่า ตัณหาเรียกว่าวิสัตติกา ได้แก่ ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล. คำว่า วิสัตติกา ความว่า เพราะอรรถว่า อะไร ตัณหาจึงชื่อว่า วิสัตติกา. เพราะอรรถว่า ซ่านไป เพราะอรรถว่า แผ่ ไป เพราะอรรถว่า แล่นไป เพราะอรรถว่า ไม่สม่ำเสมอ เพราะอรรถว่า ครอบงำ เพราะอรรถว่า สะท้อนไป เพราะอรรถว่า เป็นเหตุให้พูดผิด เพราะอรรถว่า มีมูลรากเป็นพิษ เพราะอรรถว่า มีผลเป็นพิษ เพราะ อรรถว่า มีเครื่องบริโภคเป็นพิษ ตัณหาจึงชื่อว่า วิสัตติกา.

อีกอย่างหนึ่ง ตัณหานั้นแผ่ไปในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สกุล คณะ อาวาส ฯลฯ แล่นไป ซ่านไปในรูปที่เห็นเสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง เพราะฉะนั้น ตัณหา จึงชื่อว่า วิสัตติกา. คำว่า บุคคลนั้นได้ข้ามตัณหาอันชื่อว่าสัตติกาแล้ว

 
  ข้อความที่ 53  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 53

ความว่า บุคคลนั้น ได้ข้าม ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ล่วงเลย เป็นไป ล่วงตัณหาอันชื่อว่าวิสัตติกานี้แล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลนั้นได้ ข้ามตัณหาอันชื่อว่าวิสัตติกาแล้ว เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง ตรัสว่า

เรากล่าวบุคคลนั้นผู้ไม่เพ่งในกามทั้งหลายว่า เป็นผู้ เข้าไปสงบ กิเลสเป็นเครื่องร้อยรัดทั้งหลาย ย่อมไม่มีแก่ บุคคลนั้น บุคคลนั้นได้ข้ามตัณหาอันชื่อว่าวิสัตติกาแล้ว.

[๔๒๖] บุตร ปศุสัตว์ ไร่นา และที่ดิน ย่อมไม่มีแก่ บุคคลนั้น อัตตทิฏฐิก็ดี นิรัตตทิฏฐิก็ดี ย่อมไม่เข้าไปได้ ในบุคคลนั้น.

ว่าด้วยบุตรเป็นต้น

[๔๒๗] ศัพท์ว่า ในคำว่า บุตร ปศุสัตว์ ไร่นา และที่ดิน ย่อมไม่มีแก่บุคคลนั้น เป็นปฏิเสธ, คำว่า นั้น คือ พระอรหันตขีณาสพ. ชื่อว่าบุตร ได้แก่บุตร ๔ จำพวก คือ บุตรเกิดแต่ตน ๑ บุตรเกิดในเขต ๑ บุตรที่เขาให้ ๑ บุตรที่เกิดในสำนัก ๑. คำว่า ปศุสัตว์ คือ แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา. คำว่า ไร่นา คือ ไร่ข้าวสาลี ไร่ข้าวเจ้า ไร่ถั่วราชมาษ ไร่ข้าวเหนียว ไร่ข้าวละมาน ไร่งา. คำว่า ที่ดิน คือ ที่เรือน ที่ฉาง ที่หน้าเรือน ที่หลังเรียน ที่สวน ที่อยู่. คำว่า บุตร ปศุสัตว์ ไร่นา และที่ดิน ย่อมไม่มีแก่บุคคลนั้น คือ ความยึดถือบุตร ความยึดถือปศุสัตว์ ความยึดถือไร่นา ความยึดถือที่ดิน ย่อมไม่มี มิได้

 
  ข้อความที่ 54  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 54

มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้แก่บุคคลนั้น คือ เป็นสภาพอันบุคคลนั้นละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุตร ปศุสัตว์ ไร่นา และที่ดิน ย่อมไม่มีแก่ บุคคลนั้น.

ว่าด้วยทิฏฐิ

[๘๒๘] สัสสตทิฏฐิชื่อว่าอัตตา ในคำว่า อัตตทิฏฐิก็ดี นิรัตตทิฏฐิก็ดี ย่อมไม่เข้าไปได้ในบุคคลนั้น ดังนี้ ย่อมไม่มี. อุจเฉททิฏฐิ ชื่อว่านิรัตตา ย่อมไม่มี สิ่งที่ยึดถือชื่อว่า อัตตา ย่อมไม่มี สิ่งที่พึง ปล่อยวางชื่อว่า นิรัตตา ย่อมไม่มี. สิ่งที่ยึดถือย่อมไม่มีแก่บุคคลใด สิ่ง ที่พึงปล่อยวางก็ไม่มีแก่บุคคลนั้น สิ่งที่พึงปล่อยวางย่อมไม่มีแก่บุคคลใด สิ่งที่พึงยึดถือก็ไม่มีแก่บุคคลนั้น บุคคลนั้นผู้เป็นพระอรหันต์ ก้าวล่วง ความถือและปล่อยวางแล้ว ล่วงเลยความเจริญและความเสื่อมแล้ว บุคคล นั้นอยู่จบแล้ว มีจรณะอันประพฤติแล้ว ฯลฯ ภพใหม่ ย่อมไม่มีแก่ บุคคลนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อัตตทิฏฐิก็ดี นิรัตตทิฏฐิก็ดี ย่อมไม่ เข้าไปได้ในบุคคลนั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

บุตร ปศุสัตว์ ไร่นา และที่ดิน ย่อมไม่มีแก่บุคคล นั้น อัตตทิฏฐิก็ดี นิรัตตทิฏฐิก็ดี ย่อมไม่เข้าไปได้ใน บุคคลนั้น.

[๔๒๙] พวกปุถุชนทั้งพวกสมณะและพราหมณ์ พึงกล่าว โดยโทษใด โทษนั้นไม่ห้อมล้อมบุคคลนั้น เพราะฉะนั้น บุคคลนั้นย่อมไม่หวั่นไหวในเพราะวาทะทั้งหลาย.

 
  ข้อความที่ 55  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 55

[๔๓๐] คำว่า ปุถุชน ในคำว่า พวกปุถุชนทั้งพวกสมณะและ พราหมณ์ พึงกล่าวโดยโทษใด ความว่า เพราะอรรถว่า กระไร จึงชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า ให้กิเลสหนาเกิด เพราะอรรถว่า เป็นผู้มีสักกายทิฏฐิอันยังไม่กำจัดมาก เพราะอรรถว่า เป็นผู้เลือกหน้าศาสดามาก เพราะอรรถว่า เป็นผู้อันคติทั้งปวง ร้อยไว้มาก เพราะอรรถว่า ย่อม ปรุงแต่งด้วยอภิสังขารต่างๆ มาก เพราะอรรถว่า ย่อมลอยไปเพราะ ห้วงกิเลสต่างๆ มาก เพราะอรรถว่า ย่อมเดือดร้อนเพราะกิเลส เป็น เหตุให้เร่าร้อนต่างๆ มาก เพราะอรรถว่า เป็นผู้กำหนัดยินดี ชอบใจ หลงใหล ติดใจ เกาะเกี่ยว พัวพันมากในกามคุณ ๕ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อันนิวรณ์ ๕ ร้อยรัด ปกคลุม ปิดบัง หุ้มห่อไว้มาก จึงชื่อว่า ปุถุชน. คนพวกใดพวกหนึ่งผู้เข้าถึง ถึงพร้อมด้วยการบวชภายนอก ศาสนานี้ ชื่อว่า สมณะ. คนพวกใดพวกหนึ่ง ผู้อ้างตนว่าเป็นผู้เจริญ ชื่อว่า พราหมณ์. คำว่า พวกปุถุชนทั้งพวกสมณะและพราหมณ์ พึง กล่าวโดยโทษใด ความว่า พวกปุถุชนพึงกล่าวโดยราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ อุทธัจจะ วิจิกิจฉาใด และพึงกล่าวโดยอนุสัยใดว่า เป็น ผู้กำหนัด ขัดเคือง หลงใหล ผูกพัน ถือมั่น ถึงความฟุ้งซ่าน ถึง ความไม่แน่นอน หรือถึงโดยเรี่ยวแรง กิเลสเครื่องปรุงแต่งเหล่านั้น อัน บุคคลนั้นละแล้ว เพราะเป็นผู้ละกิเลสเครื่องปรุงแต่งได้แล้ว พวกปุถุชน พึงกล่าวถึงคติโดยเหตุใดว่า บุคคลนั้นเกิดในนรก เกิดในกำเนิด เดียรัจฉาน เกิดในเปรตวิสัย เป็นมนุษย์ เป็นเทวดา เป็นสัตว์มีรูป เป็นสัตว์ไม่มีรูป เป็นสัญญีสัตว์ เป็นอสัญญีสัตว์ เป็นเนวสัญญีนาสัญญีสัตว์ บุคคลนั้นไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ไม่มีการณะที่เป็นเครื่องกล่าว คือ

 
  ข้อความที่ 56  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 56

บอก พูด แสดง แถลง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พวกปุถุชนทั้งพวก สมณะและพราหมณ์พึงกล่าวโดยโทษใด.

ว่าด้วยพระอรหันต์ไม่มีโทษห้อมล้อม

[๔๓๑] คำว่า นั้น ในคำว่า โทษนั้นไม่ห้อมล้อมบุคคลนั้น ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ. ชื่อว่าความห้อมล้อม ได้แก่ความห้อมล้อม ๒ อย่าง คือ ความห้อมล้อมแห่งตัณหา ๑ ความห้อมล้อมแห่งทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ข้อว่าความห้อมล้อมแห่งตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความห้อมล้อมแห่งทิฏฐิ. บุคคลนั้นละความห้อมล้อมแห่งตัณหา สละคืนความห้อมล้อมแห่งทิฏฐิ เสียแล้ว เพราะเป็นผู้ละความห้อมล้อมแห่งตัณหา สละคืนความห้อมล้อม แห่งทิฏฐิเสียแล้ว จึงไม่ทำตัณหาและทิฏฐิออกหน้า คือ เป็นผู้ไม่มีตัณหา เป็นธงชัย ไม่มีตัณหาเป็นธงยอด ไม่มีตัณหาเป็นใหญ่ ไม่มีทิฏฐิเป็น ธงชัย ไม่มีทิฏฐิเป็นธงยอด ไม่มีทิฏฐิเป็นใหญ่ ไม่เป็นผู้อันตัณหาหรือ ทิฏฐิห้อมล้อมเที่ยวไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า โทษนั้นไม่ห้อมล้อมบุคคลนั้น.

[๔๓๒] คำว่า ตสฺมา ในคำว่า เพราะฉะนั้น บุคคลนั้นย่อมไม่ หวั่นไหวในเพราะวาทะทั้งหลาย ความว่า เพราะเหตุนั้น เพราะการณะ นั้น เพราะเหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น เพราะนิทานนั้น บุคคลนั้นย่อม ไม่หวั่นไหว คือ ไม่โยกโคลง ไม่เอน ไม่เอียง ไม่สะท้าน ไม่สะเทือน ในเพราะวาทะ ในเพราะอุปวาทะทั้งหลาย คือ เพราะความนินทา ติเตียน ความไม่สรรเสริญ ไม่ยกย่องคุณความดี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะฉะนั้น บุคคลนั้นย่อมไม่หวั่นไหวในเพราะว่าวาทะทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

 
  ข้อความที่ 57  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 57

พวกปุถุชนทั้งพวกสมณะและพราหมณ์ พึงกล่าวโดย โทษใด โทษนั้นไม่ห้อมล้อมบุคคลนั้น เพราะฉะนั้น บุคคลนั้นย่อมไม่หวั่นไหวในเพราะวาทะทั้งหลาย.

[๔๓๓] บุคคลนั้นเป็นมุนี ปราศจากความกำหนัด ไม่ตระหนี่ ย่อมไม่กล่าวในความเป็นผู้สูงกว่าเขา ไม่กล่าวในความ เป็นผู้เสมอเขา ไม่กล่าวในความเป็นผู้ต่ำกว่าเขา เป็น ผู้ไม่มีความกำหนัด ย่อมไม่ถึงความกำหนัด.

[๔๓๔] ตัณหาเรียกว่า ความกำหนัด ในคำว่า ปราศจากความ กำหนัด ไม่ตระหนี่ ได้แก่ ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล ความกำหนัดนั้น อันบุคคลใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้ว ด้วยไฟคือญาณ บุคคลนั้นเรียกว่าผู้ปราศ- จากความกำหนัด. บุคคลนั้นไม่กำหนัด ไม่ยินดี ไม่หลง ไม่ติดใจ เป็น ผู้ที่มีความกำหนัดปราศไป กำจัด คลายออก ปล่อย สละคืนแล้ว ในรูป ฯลฯ ในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง เป็นผู้หายหิว ดับแล้ว เย็นแล้ว เป็นผู้มีตนเป็นดัง พรหมเสวยสุขอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ปราศจากความกำหนัด.

ชื่อว่า ความตระหนี่ ในคำว่า ไม่ตระหนี่ ได้แก่ความตระหนี่ ๕ ประการ คือ ความตระหนี่อาวาส ความตระหนี่สกุล ความตระหนี่ลาภ ความตระหนี่วรรณะ ความตระหนี่ธรรม ความตระหนี่ ฯลฯ ความ หวงไว้ นี้เรียกว่า ความตระหนี่. ความตระหนี่นั้น อันบุคคลใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ

 
  ข้อความที่ 58  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 58

บุคคลนั้น เรียกว่า ไม่ตระหนี่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ปราศจากความ กำหนัด ไม่ตระหนี่.

[๔๓๕] คำว่า มุนี ในคำว่า บุคคลนั้นเป็นมุนี ย่อมไม่กล่าว ในความเป็นผู้สูงกว่าเขา ไม่กล่าวในความเป็นผู้เสมอเขา ไม่กล่าวใน ความเป็นผู้ต่ำกว่าเขา ความว่า ญาณเรียกว่าโมนะ ฯลฯ ก้าวล่วงธรรม เป็นเครื่องข้องและตัณหาเพียงดังข่าย บุคคลนั้นชื่อว่ามุนี บุคคลผู้เป็น มุนี ย่อมไม่กล่าว คือ ไม่บอก ไม่พูด ไม่แสดง ไม่แถลงว่า เราเป็น ผู้ดีกว่าเขาบ้าง เราเป็นผู้เสมอเขาบ้าง เราเป็นผู้เลวกว่าเขาบ้าง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลนั้นเป็นมุนี ย่อมไม่กล่าวในความเป็นผู้สูงกว่าเขา ไม่กล่าวในความเป็นผู้เสมอเขา ไม่กล่าวในความเป็นผู้ต่ำกว่าเขา.

ว่าด้วยความกำหนด ๒ อย่าง

[๔๓๖] ชื่อว่า ความกำหนด ในคำว่า เป็นผู้ไม่มีความกำหนด ย่อมไม่ถึงความกำหนด ได้แก่ความกำหนด ๒ อย่าง คือ ความกำหนด ด้วยตัณหา ๑ ความกำหนดด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วย ตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยทิฏฐิ. บุคคลนั้นละความกำหนด ด้วยตัณหา สละคืนความกำหนดด้วยทิฏฐิเสียแล้ว เพราะเป็นผู้ละความ กำหนดด้วยตัณหา สละความกำหนดด้วยทิฏฐิ จึงย่อมไม่ถึง คือ ย่อมไม่ เข้าถึง ไม่เข้าไปถึง ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น ซึ่งความกำหนดด้วย ทิฏฐิ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมไม่ถึงความกำหนด.

ชื่อว่า ความกำหนด ในคำว่า เป็นผู้ไม่มีความกำหนด ได้แก่

 
  ข้อความที่ 59  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 59

ความกำหนด ๒ อย่าง คือความกำหนดด้วยตัณหา ๑ ความกำหนดด้วย ทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความกำหนด ด้วยทิฏฐิ บุคคลนั้นละความกำหนดด้วยตัณหา สละคืน ความกำหนด ด้วยทิฏฐิแล้ว เพราะเป็นผู้ละความกำหนดด้วยตัณหา สละคืนความ กำหนดด้วยทิฏฐิ จึงย่อมไม่กำหนดด้วยตัณหา หรือความกำหนดด้วย ทิฏฐิ คือ ไม่ให้เกิด ไม่ให้เกิดพร้อม ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดเฉพาะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้ไม่มีความกำหนด ย่อมไม่ถึงความกำหนด เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

บุคคลนั้นเป็นมุนี ปราศจากความกำหนัด ไม่ตระหนี่ ย่อมไม่กล่าวในความเป็นผู้สูงกว่าเขา ไม่กล่าวในความ เป็นผู้เสมอเขา ไม่กล่าวในความเป็นผู้ต่ำกว่าเขา เป็นผู้ ไม่มีความกำหนด ย่อมไม่ถึงความกำหนด.

[๔๓๓] ผู้ใดไม่มีความถือว่าของในในโลก เมื่อสิ่งที่ถือว่า ของตนไม่มี ย่อมไม่เศร้าโศก และไม่ถึงความลำเอียง ในธรรมทั้งหลาย ผู้นั้นแลเรียกว่า ผู้สงบ.

ว่าด้วยผู้ไม่ความยึดถือ

[๔๓๘] คำว่า ผู้ใด ในคำว่า ผู้ใดไม่มีความถือว่าของตนใน โลก คือ พระอรหันตขีณาสพ. คำว่า ไม่มีความถือว่าของตน คือ ผู้ใด ไม่ความถือ ความยึดมั่น ความถือมั่น ความติดใจ ความน้อมใจถึง

 
  ข้อความที่ 60  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 60

ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อะไรๆ ว่า นี้ของเรา หรือว่า นี้ของตนเหล่าอื่น ฯลฯ เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อ ว่า ผู้ใดไม่มีความถือว่าของคนในโลก.

ว่าด้วยผู้ไม่เศร้าโศก

[๔๓๙] คำว่า เมื่อสิ่งที่ถือว่าของตนไม่มี ย่อมไม่เศร้าโศก ความว่า ไม่เศร้าโศกถึงวัตถุที่แปรปรวนไปแล้ว หรือเมื่อวัตถุแปรปรวน ไปแล้วไม่เศร้าโศกถึง คือไม่เศร้าโศกถึง ไม่ลำบากใจ ไม่คร่ำครวญ ไม่ทุบอกร่ำไร ไม่ถึงความหลงใหลว่า จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย ใจของเรา แปรปรวนไปแล้ว รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะของเรา แปรปรวนไปแล้ว สกุล คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขารของเรา แปรปรวนไปแล้ว มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่หญิง น้องหญิง บุตร ธิดา มิตร พวกพ้อง ญาติสาโลหิตของเรา แปรปรวนไปแล้ว แม้เพราะเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ไม่มี.

อีกอย่างหนึ่ง ผู้ใดเป็นผู้อันความไม่ยินดี คือ ทุกขเวทนาถูกต้อง ครอบงำ กลุ้มรุม ประกอบแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศกถึง ไม่ลำบากใจ ไม่ คร่ำครวญ ไม่ทุบอกร่ำไร ไม่ถึงความหลงใหล คือ เป็นผู้อันโรคจักษุ โรคหู โรคจมูก โรคลิ้น โรคกาย โรคศีรษะ โรคที่หู โรคปาก โรคฟัน โรคไอ โรคหืด โรคไข้หวัด โรคไข้พิษ โรคไข้เซื่องซึม โรคในท้อง โรคลมสลบ โรคบิด โรคจุกเสียด โรคลงราก โรคเรื้อน

 
  ข้อความที่ 61  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 61

โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ โรคลมบ้าหมู. โรคหิดเปื่อย โรคหิตด้าน โรคหูด โรคละลอก โรคคุดทะราด โรคอาเจียนโลหิต โรคน้ำดีเดือด โรคเบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวง อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน อาพาธสันนิบาต อาพาธเกิดแต่ฤดูแปรปรวน อาพาธเกิดแต่การบริหารไม่สม่ำเสมอ อาพาธ เกิดแต่ความเพียรเกินกำลัง อาพาธเกิดแต่วิบากของกรรม ความหนาว ความร้อน ความหิว ความระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ความ สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เสือกคลานถูกต้อง ครอบงำ กลุ้มรุม ประกอบเข้า ย่อมไม่เศร้าโศกถึง ไม่ลำบากใจ ไม่ คร่ำครวญ ไม่ทุบอกร่ำไร ไม่ถึงความหลงใหล แม้เพราะเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า ย่อมไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ไม่มี.

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อวัตถุไม่มีอยู่ คือไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้ ย่อม ไม่เศร้าโศก ไม่ลำบากใจ ไม่คร่ำครวญ ไม่ทุบอกร่ำไร ไม่ถึงความ หลงใหลว่า โอ สิ่งนั้นของเราหนอ สิ่งนั้นไม่มีแก่เราหนอ สิ่งนั้นควรมี แก่เราหนอ เราไม่ได้สิ่งนั้นหนอ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า เมื่อ สิ่งที่ถือว่าของตนไม่มี ย่อมไม่เศร้าโศกถึง.

ว่าด้วยผู้ไม่ลำเอียง

[๔๔๐] คำว่า และย่อมไม่มีความลำเอียงในธรรมทั้งหลาย ความว่า ไม่ถึงฉันทาคติ ไม่ถึงโทสาคติ ไม่ถึงโมหาคติ ไม่ถึงภยาคติ ไม่ถึงด้วยสามารถแห่งราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ อุทธจัจะ วิจิกิจฉา

 
  ข้อความที่ 62  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 62

อนุสัยไม่ดำเนินออก เลื่อน เคลื่อนไปด้วยธรรมทั้งหลาย อันทำให้ เป็นพวก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่ถึงความลำเอียงในธรรมทั้งหลาย.

ว่าด้วยผู้สงบ

[๔๔๑] คำว่า บุคคลนั้นแลเรียกว่า ผู้สงบ ความว่า ผู้นั้น เราเรียก คือ บอก พูด แสดง แถลงว่า ผู้สงบ เข้าไปสงบ เข้าไปสงบ พิเศษ ดับ ระงับแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้นั้นแล เรียกว่า ผู้สงบ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ผู้ใดไม่มีความถือว่าของตนในโลก เมื่อสิ่งที่ถือว่า ของตนไม่มีอยู่ ย่อมไม่เศร้าโศกถึง และไม่ถึงความ ลำเอียงในธรรมทั้งหลาย ผู้นั้นแลเรียกว่า ผู้สงบ.

จบปุราเภทสุตตนิทเทสที่ ๑๐

 
  ข้อความที่ 63  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 63

สัทธัมมปัชโชติกา

อรรถกถาขุททกนิกาย มหานิทเทส

ภาคที่ ๒

อรรถกถาปุราเภทสุตตนิทเทสที่ ๑๐

พึงทราบวินิจฉัยในปุราเภทสุตตนิเทสที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้.

พึงทราบเรื่องราวที่เกิดขึ้นโดยเหมือนกันแห่งสัตว์นี้ว่า กถํทสฺสี บุคคลมีความเห็นอย่างไร ดังนี้เป็นต้น และสูตรอื่นจากสูตรนี้อีก ๕ สูตร คือ กลหวิวาทสูตร ๑ จูฬวิยูหสูตร ๑ มหาวิยูหสูตร ๑ ตุวฏกสูตร ๑ อัตตทัณฑสูตร ๑ แต่โดยต่างกันพึงทราบดังต่อไปนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะทรงแสดงธรรมให้เป็นที่สบายของ เทวดาที่เป็นราคจริตในมหาสมัยนั้น ทรงให้พระพุทธนิมิตตรัสถามปัญหา กะพระองค์แล้วจึงได้ตรัส สัมมาปริพพชานียสูตร ขึ้นด้วยประการใด ในมหาสมัยนี้ก็ด้วยประการนั้นเหมือนกัน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบ จิตของทวยเทพผู้มีจิตเกิดขึ้นว่า ก่อนกายแตกควรจะทำอะไรหนอ เพื่อ ทรงอนุเคราะห์ทวยเทพเหล่านั้น จึงทรงพาพระพุทธนิมิตพร้อมด้วยภิกษุ บริวาร ๒,๕๐๐ รูปม้าทางอากาศ แล้วทรงให้พระพุทธนิมิตทูลถามพระองค์ จึงได้ตรัสพระสูตรนี้. ตรัสไว้อย่างไร. ตรัสไว้ดังต่อไปนี้ ธรรมดา พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นผู้ใหญ่ยิ่ง เป็นสัตว์ผู้วิเศษ รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ได้รู้แจ้ง ได้ถึง ได้แสวงหา ได้เที่ยวตามไปด้วยใจ ของโลกพร้อมด้วยเทวโลกด้วยตนเอง บรรดารูปารมณ์ที่จำแนกออกไป โดยมีสีเขียวเป็นต้น รูปารมณ์ไรๆ หรือบรรดาสัททารมณ์ที่จำแนกออก

 
  ข้อความที่ 64  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 64

ไปโดยมีเสียงกลองเป็นต้น อารมณ์มีสัททารมณ์เป็นต้นไรๆ มิได้มีในที่ ไหนๆ คือไม่มาสู่คลองในห้วงพระญาณของพระพุทธเจ้าเหล่านั้นเลย. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่เทวดา และมนุษย์ได้เห็น ได้ฟัง ได้รู้ ได้รู้แจ้ง ได้ถึง ได้เที่ยวตามไปด้วยใจของ โลกพร้อมด้วยเทวโลก เราย่อมรู้สิ่งนั้น เราได้รู้ทั่วถึงสิ่งนั้นดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงกระทำทวยเทพเหล่านั้นทั้งหมดให้เป็น ๒ ส่วน โดยเป็นภัพพะ (ควร) และอภัพพะ (ไม่ควร). สัตว์ทั้งหลายที่กล่าวไว้ โดยนัยมีอาทิว่า สัตว์ทั้งหลายผู้ประกอบด้วยเครื่องกั้นคือกรรม ชื่อว่า อภัพพะ. พระพุทธเจ้าทั้งหลายมิได้ทรงเหลียวแลสัตว์เหล่านั้น แม้อยู่ใน ที่เดียวกัน. ส่วนสัตว์ตรงกันข้าม ชื่อว่า ภัพพะ. พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เสด็จไปสงเคราะห์สัตว์เหล่านั้นแม้อยู่ไกล. ในที่ประชุมเทวดานั้น เทวดา เหล่าใดเป็นอภัพพะ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงละเทวดาเหล่านั้น ทรงสำรวจ เทวดาพวกที่เป็นภัพพะ ครั้นทรงสำรวจแล้วได้ทรงทำให้เป็น ๖ ส่วน ตามจริต คือพวกที่เป็นราคจริตประมาณเท่านี้ พวกที่เป็นโทสจริตเป็นต้น ประมาณเท่านี้. ต่อแต่นั้น พระองค์ทรงใคร่ครวญถึงพระธรรมเทศนา เป็นที่สบายของเทวดาเหล่านั้น จึงทรงกำหนดเทศนาไว้ว่า เราจักแสดง สัมมาปริพพาชนียสูตรแก่เทวดาจำพวกราคจริต จักแสดงกลหวิวาทสูตร แก่เทวดาจำพวกโทสจริต จักแสดงมหาวิยูหสูตรแก่เทวดาจำพวกโมหจริต จักแสดงจูฬวิยูหสูตรแก่เทวดาจำพวกวิตกจริต จักแสดงตุวฏกสูตรแก่ เทวดาจำพวกศรัทธาจริต จักแสดงปุราเภทสูตรแก่เทวดาจำพวกพุทธิจริต แล้วทรงคำนึงถึงบริษัทนั้นต่อไปว่า บริษัทจะพึงรู้โดยอัตตัชฌาสัย (อัธยาศัยของตน) โดยปรัชฌาสัย (อัธยาศัยของผู้อื่น) โดยอัตถุปัตติกะ

 
  ข้อความที่ 65  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 65

(เรื่องราวที่เกิดขึ้น) หรือโดยปุจฉาวสะ (อำนาจของคำถาม) หนอ. ครั้น พระองค์ทรงทราบว่า บริษัทจะพึงรู้ได้ด้วยอำนาจคำถาม จึงทรงดำริว่าจะมี ใครบ้างไหมหนอที่สามารถจะกำหนดอัธยาศัยของเทวดาทั้งหลาย แล้วถาม ปัญหาตามจริต ทรงเห็นว่า บรรดาภิกษุทั้ง ๕๐๐ รูปเหล่านั้นแม้แต่รูป เดียวก็ไม่สามารถ. แล้วจึงทรงหวนระลึกถึงพระอสีติมหาสาวก และ พระอัครสาวกทั้งสอง ทรงเห็นว่า แม้ท่านเหล่านั้นก็ไม่สามารถ จึงทรงดำริ ต่อไปว่า หากเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าเล่าจะสามารถหรือไม่หนอ ทรงทราบ ว่า แม้พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ไม่สามารถ จึงหวนระลึกถึงท้าวสักกะและท้าว สุยามะเป็นต้น องค์ใดองค์หนึ่งจะพึงสามารถบ้าง หากท้าวสักกะและ ท้าวสุยามะองค์ใดองค์หนึ่งสามารถก็จะให้ถาม พระองค์จะแก้ด้วยพระองค์ เอง. แต่ท่านเหล่านั้นก็ไม่มีใครสามารถ.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำริว่า พระพุทธเจ้าเช่นเรา เท่านั้นพึงสามารถ แต่ยังมีพระพุทธเจ้าองค์อื่นในที่ไหนอีกบ้างไหม. พระองค์จึงแผ่พระญาณอันหาที่สุดมิได้ไปในโลกธาตุอันไม่มีที่สุด ตรวจดู โลก มิได้ทรงเห็นพระพุทธเจ้าองค์อื่นเลย ข้อที่พระองค์มิได้ทรงเห็นผู้ เสมอด้วยพระองค์ในบัดนี้ไม่น่าอัศจรรย์เลย แม้ในที่พระองค์ประสูติก็ มิได้ทรงเห็นผู้เสมอด้วยพระองค์ ตามนัยดังกล่าวแล้วในอรรถกถาพรหมชาลสูตร จึงได้ทรงบันลือสีหนาทแม้ในธรรมที่ใครๆ ให้เป็นไปไม่ได้ว่า อคฺโคหมสฺมิ โลกสฺส เราเป็นผู้เลิศแห่งโลกดังนี้. ครั้นพระองค์มิได้ทรง เห็นผู้อื่นเสมอด้วยพระองค์อย่างนี้จึงทรงดำริว่า หากเราถามแล้วตอบด้วย ตนเอง เทวดาเหล่านั้นก็ไม่สามารถจะรู้แจ้งแทงตลอดได้ ก็เมื่อพระพุทธเจ้าองค์อื่นถาม และเมื่อเราตอบจักน่าอัศจรรย์กว่า และเทวดา

 
  ข้อความที่ 66  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 66

ทั้งหลายก็จักสามารถรู้แจ้งแทงตลอดได้ เพราะฉะนั้น เราจักเนรมิตพระพุทธนิมิต แล้วทรงเข้าฌานมีอภิญญาเป็นบาท ทรงกระทำบริกรรมด้วย กามาวจรจิตว่า การถือบาตรและจีวร การดู การเหลียว การคู้ การเหยียด จงเหมือนเราเถิด. แล้วทรงอธิษฐานด้วยรูปาวจรจิตว่า ขอพระพุทธนิมิต จงมา ดุจแหวกมณฑลพระจันทร์ซึ่งโผล่ขึ้นจากการล้อมของภูเขายุคนธร ด้านทิศปราจีนเถิด. หมู่เทพเห็นดังนั้นจึงกล่าวว่า คะโน่นท่านทั้งหลาย พระจันทร์โผล่ขึ้นอีกดวงแล้ว. พอใกล้เข้ามา หมู่เทพละพระจันทร์กล่าวว่า ไม่ใช่พระจันทร์ พระอาทิตย์ขึ้น พอใกล้เข้ามาอีก ไม่ใช่พระอาทิตย์ เป็น เทพวิมานองค์หนึ่ง พอใกล้เข้ามา ไม่ใช่เทพวิมาน เป็นเทพบุตรองค์หนึ่ง พอใกล้เข้ามาอีก ไม่ใช่เทพบุตร เป็นมหาพรหมองค์หนึ่ง พอใกล้เข้ามา อีก ไม่ใช่มหาพรหม เป็นพระพุทธเจ้าอีกองค์หนึ่งเสด็จมา ดังนี้. บรรดา ทวยเทพเหล่านั้น เทพที่เป็นปุถุชนคิดกันว่า การประชุมเทวดานี้จักมี พระพุทธเจ้าองค์เดียวหรือมีถึงสององค์. พวกเทพที่เป็นอริยะคิดกันว่า โลกธาตุหนึ่งมิได้มีพระพุทธเจ้าถึงสองพระองค์ พระผู้มีพระภาคเจ้าคงจะ ทรงเนรมิตพระพุทธเจ้าพระองค์อื่นให้คล้ายพระองค์เป็นแน่.

ลำดับนั้น เมื่อหมู่เทพกำลังดูอยู่นั้นเอง พระพุทธนิมิตเสด็จมาถึง มิได้ไหว้พระทศพล ทำเสมอๆ กันในที่เฉพาะพระพักตร์แล้วประทับนั่ง ณ อาสนะที่เนรมิตไว้. พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระมหาปุริสุลักษณะ ๓๒ แม้ พระพุทธนิมิตก็มี ๓๒ เหมือนกัน. พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระฉัพพรรณรังสีซ่านออกจากพระวรกาย แม้พระพุทธนิมิตก็เหมือนกัน. พระรัศมีใน พระวรกายของพระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมกระทบในพระวรกายของพระพุทธนิมิต. พระรัศมีของพระพุทธนิมิตก็ย่อมกระทบในพระวรกายของ

 
  ข้อความที่ 67  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 67

พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระรัศมีเหล่านั้นพุ่งออกจากพระวรกายของพระพุทธเจ้าทั้งสองพระองค์จรดถึงภวัคคพรหม กลับจากภวัคคพรหมจรดลง บนที่สุดขม่อมของทวยเทพแล้วประดิษฐาน ณ ขอบปากจักรวาล. ห้อง จักรวาลทั้งสิ้นไพโรจน์ดุจเรือนเจดีย์ที่ผูกด้วยไม้จันทันโค้งทำด้วยทองคำ. ทวยเทพในหมื่นจักรวาลรวมกันในจักรวาลเดียวเข้าไปยืนอยู่ระหว่างห้อง พระรัศมีของพระพุทธเจ้าทั้งสองพระองค์.

พระพุทธนิมิต พอประทับนั่งเท่านั้น เมื่อจะทูลถามถึงอธิปัญญา เป็นต้น จึงตรัสคาถาโดยนัยมีอาทิว่า กถํทสฺสี กถํสีโล อุปสนฺโตติ วุจฺจติ ความว่า บุคคลมีความเห็นอย่างไร มีศีลอย่างไร อันบัณฑิตกล่าวว่าเป็นผู้ เข้าไปสงบแล้ว ดังนี้.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถานั้นก่อน. พระพุทธนิมิตนั้นถามถึงอธิ- ปัญญาว่า บุคคลมีความเห็นอย่างไร ถามถึงอธิศีลว่า มีศีลอย่างไร ถาม ถึงอธิจิตว่า เป็นผู้เข้าไปสงบแล้ว. บทที่เหลือชัดเจนดีแล้ว. เพื่อความ แจ่มแจ้งในปัญหาที่พระพุทธนิมิตถามเป็นต้น ท่านกล่าวได้ในปิฎก๑ว่าดังนี้.

บุคคลสอบถามอยู่ ย่อมเข้าถึงธรรมอันเป็นกุศลประกอบด้วยประโยชน์ ย่อมไม่จุติ ย่อมไม่เกิด พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมทรงกล่าวถึงบุคคลนั้นเป็นไฉน.

บุคคลมีสงสารสิ้นไปแล้ว ยังไม่คลายความกำหนัด ยังไม่เป็นพระเสกขะ ยังไม่เห็นธรรม ยังไม่เป็นพระขีณาสพ ยังทรงร่างกายไว้ในที่สุด พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมทรงกล่าวถึงบุคคลนั้นเป็นไฉน.


๑. อรรถกถาว่า ไม่มีในพระไตรปิฎก.

 
  ข้อความที่ 68  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 68

บุคคลเป็นผู้ไม่พร้อมด้วยทุกขสัจจะ ไม่พร้อมด้วย มรรคสัจจะ จะดับจากสมุทยสัจจะทั้งใกล้ไกลได้แต่ไหน พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมทรงกล่าวถึงบุคคลนั้นเป็นไฉน.

จิตนั้นไม่มีเหตุ มีอาศัยรูป มีปัจจัย ไม่ใช่อสังขตะ มีอสังขตะเป็นอารมณ์ ไม่ใช่รูป พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรง กล่าวถึงบุคคลนั้นเป็นไฉน.

ในคาถาเหล่านั้น คาถาที่หนึ่งพึงทราบว่า ท่านกล่าวหมายถึง พระพุทธนิมิต. คาถาที่สองกล่าวหมายถึงพระโพธิสัตว์ผู้มีภพสุดท้าย. คาถาที่ สามกล่าวหมายถึงท่านผู้ตั้งอยู่ในอรหัตผล. คาถาที่สี่พึงทราบว่า ท่านกล่าว หมายถึงจิตตฺ๑สมังคีอันเป็นปุเรจาริก (เที่ยวไปในก่อน) ในมโนทวารแห่ง การพิจารณาถึงนิพพานในอรูปภพ.

บทว่า กีทิเสน ทสฺสเนน คือ ด้วยการเห็นเช่นไร. บทว่า กึสณฺิเตน ด้วยความดำรงอยู่อย่างไร คือด้วยการเห็นคล้ายกันอย่างไร. บทว่า กึปกาเรน ด้วยประการอย่างไร คือด้วยวิธีอย่างไร. บทว่า กึปฏิภาเคน ด้วยส่วนเปรียบอย่างไร คือด้วยอาการอย่างไร. บทว่า ยํ ปุจฺฉามิ ได้แก่ ข้าพระองค์ถามถึงบุคคลใด ขอจงตรัสพยากรณ์ถึงบุคคล นั้นแก่ข้าพระองค์. บทว่า ยาจามิ คือ ขอให้บอก. บทว่า อชฺเฌสามิ คือ ขอให้ตรัสบอก. บทว่า ปสาเทมิ ขอให้ประสาท คือขอยังความ โสมนัสให้เกิดในพระสันดานของพระองค์. บทว่า พฺรูหิ ตรัสเล่าเป็น บทยกหัวข้อของบทไขความ. บทว่า อาจิกฺข บอก คือกล่าวด้วยอำนาจ แห่งธรรมที่ควรแสดง. บทว่า เหเสหิ แสดง คือชี้ให้เห็น. บทว่า ปญฺาเปหิ แถลง คือให้รู้ ท่านกล่าวว่าตั้งอัปปนา (ความแนบแน่น)


๑. ได้แก่ มโนทวารวัชชนะจิต.

 
  ข้อความที่ 69  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 69

ไว้ด้วยหัวข้อคือญาณจึงแถลงให้รู้. บทว่า ปฏฺเปหิ แต่งตั้ง คือบัญญัติ อธิบายว่า ให้เป็นไป. หรือขอจงตั้งไว้ด้วยหัวข้อคือญาณ. บทว่า วิวร เปิดเผย คือขอจงทำให้เปิดเผย อธิบายว่า เปิดเผยแล้วจึงแสดง. บทว่า วิภช จำแนก ความว่า ชี้แจงด้วยการจำแนกแสดง. บทว่า อุตฺตานีกโรหิ ทำให้ตื้น คือขอจงทำให้ปรากฏ. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อาจิกฺข เป็น รากเหง้าของบททั้งหลาย ๖ บทมีเทศนาเป็นต้น. ท่านกล่าวบท ๖ บทมี เทศนาเป็นต้น เพื่อเปิดเผยความนั้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า เทเสหิ ความว่า ขอพระองค์จงแสดงโดยยกหัวข้อก่อนโดยสังเขปเพื่ออุคฆติตัญญู (เพียงยกหัวขึ้นก็รู้ทันที). จริงอยู่บุคคลผู้เป็นอุคฆติตัญญู ย่อมรู้แจ้งแทง ตลอดธรรมที่ท่านกล่าวโดยย่อและรู้ครั้งแรก. บทว่า ปญฺาเปหิ ความว่า ขอพระองค์จงทรงแถลงด้วยการขยายความแห่งบทที่ย่อไว้ก่อนโดยพิสดาร เมื่อ วิปจิตัญญู (รู้ต่อเมื่อขยายความในหัวข้อออกไป) ผู้มีปัญญาด้วยใจ ยินดีต่อธรรมเหล่านั้น. บทว่า ปฏฺเปหิ ความว่า ขอพระองค์จงทรงแต่ง ตั้งด้วยการขยายความจำแนกข้อความที่ขยายให้กว้างขวางออกไปอีก. บทว่า วิวร ความว่า ขอพระองค์จงทรงเปิดเผยถ้อยคำแห่งบทที่ขยายนั้นบ่อยๆ. บทว่า วิภช ความว่า ขอพระองค์จงทรงจำแนกด้วยการอธิบายจำแนก ข้อความที่ตรัสไว้แล้วบ่อยๆ. บทว่า อุตฺตานีกโรหิ ความว่า ขอพระองค์จงทรงทำให้ตื้นด้วยตรัสข้อที่เปิดเผยแล้วให้พิสดาร และด้วยตรัสข้อที่ พิสดารด้วยการชี้แจง. เทศนานี้เพื่อรู้แจ้งแทงตลอดของเนยยบุคคล (บุคคลผู้ควรแนะนำสั่งสอนได้). ก็ในการตอบปัญหาพระผู้มีพระภาคเจ้า มิได้ทรงแก้อธิปัญญาเป็นต้น โดยสรุปเมื่อจะทรงแสดงถึงการสงบกิเลสที่ ท่านกล่าวว่าเป็นผู้เข้าไปสงบ โดยสภาวะมีอธิปัญญาเป็นต้น โดยอนุโลม

 
  ข้อความที่ 70  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 70

แก่อัธยาศัยของเทวดาต่างๆ จึงได้ตรัสคาถามีคาถาอาทิว่า วีตตณฺโห ผู้ ปราศจากตัณหา ดังนี้.

ในคาถาเหล่านั้น พึงทราบการเชื่อมคาถานี้ว่า ตํ พฺรูมิ อุปสนฺโต เรากล่าวผู้นั้นว่า เป็นผู้เข้าถึงความสงบแล้วดังนี้ แห่ง ๘ คาถาตอนต้น. แต่นั้นพึงทราบนัยการพิจารณาบทตามลำดับ ด้วยบทหลังทั้งหมดนี้ว่า สเว สนฺโตติ วุจฺจติ ผู้นั้นแลเรากล่าวว่า เป็นผู้สงบ ดังนี้ แห่งคาถา ทั้งหลายอื่น.

บทว่า วีตตณฺโห ปุรา เภทา ก่อนแต่กายแตกพระอรหันต์เป็นผู้ ปราศจากตัณหา คือพระอรหันต์ละตัณหาได้ก่อนแต่กายแตกแล้ว. บทว่า ปุพฺพมนฺตมนิสฺสิโต คือ ผู้ไม่อาศัยส่วนเบื้องต้นมีกาลในอดีตเป็นต้น. บทว่า เวมชฺเฌ นูปสงฺเขยฺโย อันใครๆ นับไม่ได้ในส่วนกลาง คือ อันใครๆ นับไม่ได้โดยนัยมีอาทิว่า พระอรหันต์ยินดีแล้วในกาลอันเป็น ปัจจุบัน. บทว่า ตสฺส นตฺถิ ปุเรกฺขตํ การทำไว้ในเบื้องหน้ามิได้มี แก่พระอรหันต์นั้น คือพระอรหันต์นั้นมิได้มีแม้การทำไว้ในเบื้องหน้าใน กาลอันเป็นอนาคต เพราะไม่มีการทำไว้เบื้องหน้าทั้งสอง พึงทราบการ ประกอบความอย่างนี้ว่า เรากล่าวผู้นั้นว่าเป็นผู้เข้าไปสงบแล้ว ดังนี้.

บทว่า ปุรา กายสฺส เภทา ก่อนแต่กายแตก คือก่อนแต่กรชกาย (ร่างกาย) แตกนั่นเอง. บทว่า อตฺตภาวสฺส ได้แก่ อัตภาพ ทั้งสิ้น. บทว่า กเฬวรสฺส นิกฺเขปา ก่อนแต่ทิ้งซากศพ คือตั้งสรีระไว้.

บทว่า ชีวิตินฺทฺริยสฺส อุปจฺเฉทา ก่อนแต่ขาดชีวิตินทรีย์ คือ ก่อนแต่ขาดชีวิตินทรีย์สองอย่าง.

 
  ข้อความที่ 71  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 71

บทว่า ปุพฺพนฺโต วุจฺจติ อตีโต อทฺธา อดีตกาลท่านเรียกว่าส่วน เบื้องต้น คืออดีตกาลอันเป็นส่วนเบื้องต้นท่านกล่าวว่า กาลล่วงไปแล้ว. บทว่า อตีตํ อทฺธานํ อารพฺภ พระอรหันต์ปรารภถึงอดีตกาล คือ ละตัณหาได้เพราะอาศัยอดีตกาล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงถึง ภัทเทกรัตตปริยาย (ปริยาย ว่าด้วยราตรีเดียวเจริญ) แม้อื่นอีกจึงตรัสคำมีอาทิว่า อถวา อีกอย่างหนึ่ง ดังนี้. ในบทเหล่านั้นบทว่า เอวรูโป อโหสึ เราได้มีรูปอย่างนั้น คือ เราได้มีรูปอย่างนั้นโดยเป็นรูปที่น่าพอใจอย่างนี้ว่า แม้จะดำก็ได้มีสีเหมือน แก้วมณีสีคราม. ในอดีตกาลเราได้มีเวทนาอย่างนี้ ด้วยอำนาจสุขเวทนา โสมนัสเวทนาอันเป็นกุศล เราได้มีสัญญาอย่างนี้ ได้มีสังขารอย่างนี้ ได้มี วิญญาณอย่างนี้ ด้วยอำนาจสัญญาเป็นต้นอันสัมปยุตด้วยเวทนานั้นนั่นเอง. ในบทเหล่านั้น บทว่า นนฺทึ สมนฺนาเนติ ไม่เป็นไปตามความเพลิดเพลิน คือพระอรหันต์ทั้งหลายไม่เป็นไปตามความอยากในรูปเป็นต้น เหล่านั้น หรือทิฏฐิอันสัมปยุตด้วยความอยากนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงมหากัจจานภัทเทกรัตตปริ- ยายโดยปริยายอื่นอีก จึงตรัสคำมีอาทิว่า อถวา อิติ เม จกฺขุํ อโหสิ อีกอย่างหนึ่ง เราได้มีจักษุดังนี้. ในบทเหล่านั้นบทว่า จกฺขุํ ได้แก่ จักษุ- ประสาท. บทว่า รูปา ได้แก่ รูปอันมีสมุฏฐาน ๔. โดยนัย นี้พึงทราบแม้อายตนะที่เหลือ. บทว่า วิญฺาณํ ได้แก่ วิญญาณอัน เป็นที่อาศัย. บทว่า น ตหภินนฺทติ ไม่เพลินจักษุและรูปนั้น คือไม่ เพลินจักษุและรูปนั้นด้วยอำนาจตัณหาและทิฏฐิ. บทว่า มโน ในบทนี้ ว่า อิติ เม มโน อโหสิ อิติ ธมฺมา เราได้มีใจดังนี้ มีธรรมารมณ์ดังนี้

 
  ข้อความที่ 72  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 72

เป็นภวังคจิต. บทว่า ธมฺมา ได้แก่ ธรรมารมณ์อันเป็นไปในภูมิ ๓. บทว่า หสิตลปิตกีฬิตานิ ได้แก่ หัวเราะเจรจาเล่น คือหัวเราะจน เห็นฟัน เจรจาพร่ำเพรื่อและเล่นกายกรรมเป็นต้น. บทว่า น ตทสฺสาเทติ คือ พระอรหันต์ย่อมไม่พอใจการหัวเราะเป็นต้น เหล่านั้น. บทว่า น ตํ นิกาเมติ ไม่ชอบใจการหัวเราะเป็นต้นนั้น คือไม่ทำความใคร่. บทว่า น เตน จ วิตฺตึ อาปชฺชติ คือ พระอรหันต์ไม่ถึงความปลื้มใจ คือความ ยินดีด้วยการหัวเราะเป็นต้นนั้น.

บทว่า ตํ ตํ ปจฺจยํ ปฏิจฺจ อุปฺปนฺโน เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัย นั้นๆ คือปัจจุบัน. บทว่า รตฺโตติ นูปสงฺเขยฺโย คือ อันใครๆ นับ ไม่ได้ว่าเป็นผู้กำหนัดด้วยความยินดี. แม้ในตอนต่อๆ ไปก็มีนัยนี้เหมือน กัน. พึงทราบความเป็นไปตามความเพลิน อันได้แก่ความเป็นไปด้วย ตัณหาและทิฏฐิ ด้วยอำนาจรูปที่ประณีตและน่าพึงพอใจเป็นต้น แม้ใน บทมีอาทิว่า เอวํรูโป สิยา พึงเป็นผู้มีอย่างนี้เป็นรูปดังนี้. บทว่า น ปณิทหติ คือ ไม่ตั้งอยู่ด้วยอำนาจความปรารถนา. บทว่า อปฺปณิธานปจฺจยา เพราะเหตุไม่ตั้งใจไว้ คือเพราะเหตุไม่ตั้งความปรารถนาไว้.

บทว่า อสนฺตาสี ผู้ไม่สะดุ้ง คือไม่สะดุ้งเพราะไม่ได้นั้นๆ. บท ว่า อวิกตฺถี ผู้ไม่โอ้อวด คือมีปกติไม่โอ้อวดด้วยศีลเป็นต้น. บทว่า อกุกฺกุจฺโจ ไม่มีความคะนอง คือเว้นจากความคะนองมือเป็นต้น. บทว่า มนฺตภาณี พูดด้วยปัญญา คือกำหนดด้วยปัญญาก่อนแล้วจึงกล่าว. บทว่า อนุทฺธโต ไม่ฟุ้งซ่าน คือเว้น จากการฟุ้งซ่าน. บทว่า สเว วาจายโต สำรวมวาจา คือสำรวมระวังการพูด เป็นผู้กล่าววาจาเว้น จากโทษ ๔ ประการ.

 
  ข้อความที่ 73  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 73

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ผู้ไม่โกรธในคำว่าผู้ไม่โกรธ คือเว้น จากความโกรธ ก็แต่ว่าความโกรธควรกล่าวก่อนที่จะกล่าวคำใด. บทว่า โกโธ ตาว วตฺตพฺโพ ได้แก่ ควรกล่าวความโกรธก่อน. บทว่า ทสหากาเรหิ โกโธ ชายติ ความโกรธย่อมเกิดด้วยอาการ ๑๐ อย่าง. บทว่า อนตฺถํ เม อจริ เขาได้ประพฤติสิ่งไม่เป็นประโยชน์แก่เรา คือ ได้กระทำความไม่เจริญให้แก่เรา. พึงทราบความในทุกบทโดยทำนองนี้. อีกอย่างหนึ่ง ความโกรธย่อมเกิดในที่ไม่ใช่ฐานะ คือไม่ใช่เหตุที่ควร โกรธ เพราะบางคน ฝนตกมากก็โกรธ ฝนไม่ตกเลยก็โกรธ พระอาทิตย์ ร้อนไปก็โกรธ ไม่ร้อนก็โกรธ เมื่อลมพัดก็โกรธ ไม่พัดก็โกรธ ไม่ สามารถจะกวาดใบไม้ที่ต้นโพธิ์ได้ก็โกรธ ไม่สามารถจะห่มจีวรได้ก็โกรธ ลม สะดุดหกล้มก็โกรธตอ ท่านกล่าวว่า ความอาฆาตย่อมเกิดในที่อัน ไม่ใช่ฐานะหมายถึงข้อนี้. ความต่างแห่งกรรมบถย่อมมีได้เพราะเกิดขึ้น ปรารภสัตว์ทั้งหลายในฐานะ ๙ อย่างในหนหลังนั้น. แต่ความอาฆาตในที่ ไม่ใช่ฐานะเกิดในสังขารทั้งหลายย่อมไม่กระทำความต่างแห่งกรรมบถ. จิต ปองร้ายเพราะจิตเกิดอาฆาต. ความมุ่งร้ายมีกำลังกว่า. ความขัดเคืองด้วย อำนาจความเบียดเบียน. ความขุ่นเคืองเพราะโกรธตอบ. ความเคืองด้วย อำนาจความโกรธ. บทว่า ความเคืองทั่ว ความเคืองเสมอ เพิ่มด้วยอำนาจ ของอุปสัค. ความชังด้วยอำนาจการประทุษร้าย. บทว่า ความชังทั่ว ความ ชังเสมอ เพิ่มด้วยอำนาจของอุปสัค. ความที่จิตเห็นผิด อาการเห็นผิด อาการเปลี่ยนแปลง ชื่อว่าความพยาบาทแห่งจิต. ชื่อว่าความประทุษร้าย ทางใจเพราะใจเกิดประทุษร้าย. ความโกรธด้วยอำนาจความเคือง. กิริยาที่ โกรธมีอาการเคือง. ความเป็นผู้โกรธคือความเป็นผู้เคือง. ความชังเพราะ

 
  ข้อความที่ 74  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 74

ความประทุษร้าย. อาการชังคือกิริยาที่ชัง. ความเป็นผู้ชังคือความเป็นผู้ ประทุษร้าย. ความพยาบาทคือความปองร้ายเพราะละภาวะเดิม. อาการ ปองร้ายคือกิริยาที่พยาบาท. ความพิโรธเพราะความมุ่งร้าย. ความพิโรธ ตอบเพราะความมุ่งร้ายบ่อยๆ. บทนี้ท่านกล่าวด้วยอำนาจของอาการพิโรธ และอาการพิโรธตอบ. คนกระด้างดุร้ายท่านกล่าวว่า ความเป็นผู้ดุร้าย ความเป็นผู้ดุร้ายชื่อว่าจัณฑิกกะ. ชื่อว่าเป็นผู้เพาะวาจาชั่ว เพราะไม่เป็นผู้ เพาะวาจาดี การพูดชั่วยังไม่บริบูรณ์ทีเดียว. จริงอยู่ ในเวลาโกรธย่อมไม่มี คำพูดที่บริบูรณ์. แม้บทว่าวาจาบริบูรณ์จะมีแก่ใครๆ ก็ไม่เป็นประมาณ. อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า ชื่อว่า อัสสุโรปะ เพราะเพาะน้ำตา ด้วยอรรถ ว่าให้เกิดน้ำตา. นั่นไม่ใช่เหตุเพราะแม้ดีใจก็เกิดน้ำตาได้. ความไม่แช่มชื่น แห่งจิตเพราะไม่มีใจแช่มชื่น โดยตรงกันข้ามกับมีใจแช่มชื่นดังได้กล่าวไว้ ในหนหลัง. ก็เพราะความไม่แช่มชื่นแห่งจิตนั้นย่อมมีแก่จิตเท่านั้นไม่มี แก่สัตว์ ฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า จิตฺตสฺส แห่งจิต. บทว่า อธิมตฺตปริตฺตตา เวทิตพฺพา ควรรู้ความโกรธมากโกรธน้อย คือความมากและความน้อย อธิบายว่า ความโกรธมีกำลังมากและมีกำลังอ่อน. บทว่า กิญฺจิ กาเล คือ บางครั้ง. ปาฐะว่า กิญฺจิ กาลํ บางเวลาบ้าง. บทว่า จิตฺตาวิลกรณมตฺโต โหติ คือ ความโกรธเป็นเพียงทำจิตให้ขุ่นมัว. อธิบายว่า เป็นเพียงทำจิตให้เศร้าหมอง. ปาฐะว่า จิตฺตปิฬากรณมตฺโต เป็น เพียงกระทำการบีบคั้นจิตบ้าง. นั้นไม่ดี. อธิบายว่า เป็นเพียงทำจิตนั้น ให้ลำบาก. บทว่า น จ ตาว มุขกุลานวิกุลาโน โหติ แต่ยังไม่ ถึงให้หน้าเง้าหน้างอก็มี คือไม่ถึงทำหน้าเบี้ยวหน้าบูดก็มี. บทว่า น จ ตาว หนุสญฺโจปโน โหติ ความโกรธไม่ถึงทำให้คางสั่นก็มี คือไม่ถึง

 
  ข้อความที่ 75  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 75

ทำให้คางสั่นไปมาก็มี. บทว่า น จ ตาว ผรุสวาจํ นิจฺฉารโณ โหติ ความโกรธยังไม่ให้เปล่งผรุสวาจาก็มี คือความโกรธยังไม่ถึงออกภายนอก ด้วยการเปล่งผรุสวาจาตัดจุดสำคัญของร่างกายของตนอื่น. บทว่า น จ ตาว ทิสาวิทิสํ อนุวิโลกโน โหติ ความโกรธไม่ถึงให้เหลียวดูทิศต่างๆ ก็มี คือไม่ถึงให้เหลียวดูทิศน้อยบ่อยๆ เพื่อหาท่อนไม้เป็นต้น เพื่อเงื้อตี คนอื่น. บทว่า น จ ตาว ทณฺฑสตฺถปรามสโน โหติ ความโกรธ ยังไม่ถึงจับท่อนไม้และศัสตราก็มี คือไม่ถึงจับท่อนไม้และศัสตรามีคมข้าง เดียวเป็นต้น เพื่อความอาฆาต. บทว่า น จ ตาว ทณฺฑสตฺถํ อพฺภุกฺ- กิรโณ โหติ ความโกรธยังไม่ถึงเงื้อท่อนไม้และศัสตราก็มี คือไม่ถึงเงื้อท่อนไม้และศัสตราประหารดังที่กล่าวไว้แล้วก็มี. บทว่า น จ ตาว ทณฺฑสตฺถํ อภินิปาตโน โหติ ความโกรธยังไม่ถึงให้ท่อนไม้และศัสตรา ถูกต้องก็มี คือยังไม่ถึงขว้างท่อนไม้และศัสตราสองอย่างเพื่อประหารคน อื่น. บทว่า น จ ตาว ฉิทฺทวิฉิทฺหกรโณ โหติ ความโกรธยังไม่ถึงทำ ให้เป็นแผลใหญ่ก็มี คือไม่ทำให้ร่างกายคนอื่นแยกออกเป็นเสี่ยงๆ ด้วย การขว้างท่อนไม้และศัสตราเป็นต้น และไม่ทำให้เป็นแผลโดยอาการหลาย อย่าง. ปาฐะว่า ฉินฺหวิฉินฺทกรโณ ก็มีบ้าง. บทว่า น จ ตาว สมฺภญฺชนปลิภญฺชโน โหติ ความโกรธยังไม่ถึงทำให้กระดูกหักก็มี คือ ยังไม่ถึงทำให้ร่างกายขาดเป็นจุณวิจุณไป. บทว่า น จ ตาว องฺคมงฺคาปกฑฺฒโน โหติ ความโกรธยังไม่ถึงทำให้อวัยวะน้อยใหญ่หลุดไปก็มี คือ ยังไม่ถึงทำให้อวัยวะน้อยใหญ่แหลกละเอียดไป. บทว่า น จ ตาว ชีวิตา ปนาสโน โหติ ความโกรธยังไม่ถึงให้ชีวิตดับก็มี คือยังไม่ถึงให้ชีวิตินทรีย์ ดับ. บทว่า น จ ตาว สพฺพงฺคปริจฺจาคาย สณฺิโต โ หติ ความโกรธ

 
  ข้อความที่ 76  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 76

ไม่ถึงเสียสละชีวิตของตนให้หมดไปก็มี คือยังไม่ถึงเพื่อให้ชีวิตทั้งหมดของ ผู้อื่นพินาศ หรือชีวิตของตนพินาศ. ข้อนี้ท่านอธิบายว่า เมื่อใดดำรงอยู่ เพื่อฆ่าผู้อื่นแล้วจึงฆ่าคน เมื่อนั้นชื่อว่าสละอวัยวะให้หมด. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

บุคคลฆ่าความโกรธเสียได้ย่อมอยู่เป็นสุข ฆ่าความ โกรธได้แล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก ดูก่อนพราหมณ์ พระอริยเจ้าทั้งหลาย ทรงสรรเสริญการฆ่าความโกรธ อันมีราก เป็นพิษ มียอดหวาน เพราะว่าบุคคลฆ่าความโกรธได้ แล้วย่อมไม่เศร้าโศก.

บทว่า ยโต แปลว่า เมื่อใด. บทว่า ปรปุคฺคลํ ฆาเตตฺวา ความโกรธให้ฆ่าบุคคลอื่น คือทำบุคคลอื่นให้พินาศ. บทว่า อตฺตานํ ฆาเตติ ความโกรธให้ฆ่าตน คือยังตนให้ตาย. บทว่า ปรมุสฺสาหคโต ความโกรธเป็นไปรุนแรงอย่างหนัก คือถึงความมีกำลังอย่างยิ่ง. บทว่า ปรมเวปุลฺลปฺปตฺโต คือ ถึงความเป็นของมากอย่างยิ่ง. บทว่า โกธสฺส ปหีนตฺตา เพราะละความโกรธได้แล้ว คือเพราะความโกรธมีประการดังกล่าว แล้วได้ด้วยอนาคามิมรรค. บทว่า โกชวตฺถุสฺส ปริญฺาตตฺตา เพราะ กำหนดรู้วัตถุแห่งความโกรธ คือเพราะกำหนดรู้วัตถุอันได้แก่สิ่งน่ารัก ไม่น่ารัก และสิ่งอันไม่ใช่ฐานะอันเป็นที่ตั้งเป็นเหตุแห่งความโกรธ ด้วย ญาตปริญญา (กำหนดรู้ด้วยการรู้) ติรณปริญญา (กำหนดรู้ด้วยการ พิจารณา). บทว่า โกธเหตุสฺส อุปจฺฉินฺนตฺตา เพราะตัดเหตุแห่งความ โกรธเสีย คือเพราะตัดจิตตุปบาทอันสหรคตด้วยโทมนัสอันเป็นเหตุให้ ความโกรธเกิด.

 
  ข้อความที่ 77  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 77

บทว่า ตาสี เป็นผู้สะดุ้ง คือมีความกลัวเป็นปกติ. บทว่า อุตฺตาสี เป็นผู้หวาดเสียว คือมีความกลัวอย่างยิ่งเป็นปกติ. บทว่า ปริตฺตาสี เป็นผู้สยดสยอง คือมีความกลัวเป็นปกติโดยรอบ. บทว่า ภายติ ย่อมกลัว คือย่อมถึงความกลัว. บทว่า สนฺตาสํ อาปชฺตติ ย่อมถึงความสะดุ้ง คือย่อมถึงความผิดรูป. บทว่า กตฺถี โหติ เป็นผู้อวด คือมีปกติกล่าว คุณของคน. บทว่า วิกตฺถี เป็นผู้โอ้อวด คือเป็นผู้มีปกติกล่าวคุณโดย ประการต่างๆ หลายอย่าง. บทว่า ชาติยา วา ถึงพร้อมด้วยชาติบ้าง คือถึงพร้อมด้วยชาติมีความเป็นกษัตริย์เป็นต้น. บทว่า โคตฺเตน วา ด้วย โคตรบ้าง คือโคตรชั้นอุกฤษฏ์ มีโคตมโคตรเป็นต้น. บทว่า โกลปุตฺ- ติเกน วา ด้วยเป็นบุตรแห่งตระกูลบ้าง คือด้วยความเป็นผู้มีตระกูล ใหญ่. บทว่า วณฺณโปกฺขรตาย วา ด้วยความเป็นผู้มีรูปงามบ้าง คือ ด้วยความเป็นผู้มีร่างกายสมบูรณ์ด้วยผิวพรรณ. สรีระท่านเรียกว่า โปกขระ อธิบายว่า เพราะมีรูปงามสมบูรณ์ด้วยผิวพรรณแห่งสรีระนั้น. บทว่า ธเนน วา เป็นอาทิ มีความง่ายทั้งนั้น.

บทว่า กุกฺกุจฺจํ ความรำคาญ เป็นบทแสดงหัวข้อของบทขยาย. ในบทนั้น การทำที่น่าเกลียดชื่อว่า กุกฺกตํ. ความเป็นแห่งการกระทำอัน น่าเกลียดนั้น ชื่อว่า กุกกุจจะ. ความน่าเกลียดนั้นพึงเห็นว่า มีความเดือด ร้อนในภายหลังเป็นลักษณะ มีการเศร้าโศกถึงสิ่งที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำ เป็นรส มีความเดือดร้อนเป็นปัจจุปัฏฐานะ (ความปรากฏ) มีการกระทำ และไม่กระทำเป็นปทัฏฐานดุจความเป็นทาส. บทว่า หตฺถกุกฺกุจฺจมฺปิ ความรำคาญมือบ้าง คือท่าความน่าเกลียดด้วยมือ ชื่อว่า กุกฺกตํ. ความเป็น แห่งความน่าเกลียดด้วยมือนั้นชื่อว่า หัตถกุกกุจจะ แม้ในความทำความ

 
  ข้อความที่ 78  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 78

รำคาญด้วยเท้าเป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า อกปฺปิเย กปฺปิยสญฺ- ิตา ความสำคัญในสิ่งไม่ควรว่าควร คือเคี้ยวกินเนื้อหมีว่าเป็นเนื้อสุกร บริโภคโภชนะอันเป็นอกัปปิยะว่าเป็นโภชนะอันเป็นกัปปิยะ บริโภคใน เวลาวิกาลด้วยสำคัญว่าเป็นกาล ดื่มน้ำที่เป็นอกัปปิยะ ว่าเป็นน้ำกัปปิยะ นี้ ชื่อว่าความสำคัญในสิ่งไม่ควรว่าควร. บทว่า กปฺปิเย อกปฺปิยสญฺิตา ความสำคัญในสิ่งควรว่าไม่ควร คือเคี้ยวกินเนื้อสุกรว่าเป็นเนื้อหมี เคี้ยว กินเนื้อมฤคว่าเป็นเนื้อเสือเหลือง บริโภคโภชนะที่เป็นกัปปิยะว่าเป็น โภชนะที่เป็นอกัปปิยะ บริโภคในกาลสำคัญว่าเป็นในเวลาวิกาล ดื่มน้ำ ที่เป็นกัปปิยะว่าเป็นอกัปปิยะ นี้ชื่อว่าสำคัญในสิ่งควรว่าไม่ควร. บทว่า อวชฺเช วชฺชสญฺิตา คือ ความสำคัญในสิ่งไม่มีโทษว่ามีโทษ. บทว่า วชฺเช วชฺชสญฺิตา คือ ความสำคัญในสิ่งมีโทษว่าไม่มีโทษ. บทว่า กุกฺกุจฺจายนา ความรำคาญ คืออาการแห่งความรำคาญ. บทว่า กุกฺกุจฺ- จายิตฺตฺตํ กิริยาที่รำคาญ คือความเป็นสิ่งที่น่ารำคาญ. บทว่า เจตโส วิปฺปฏิสาโร ความเดือดร้อนจิต คือจิตผิดรูปจิตพล่าน. บทว่า มโนวิเลโข คือ ความกลุ้มใจ. บทว่า กตตฺตา จ อกตตฺตา จ เพราะทำและ เพราะไม่ทำ คือเพราะทำกายทุจริตเป็นต้น และเพราะไม่ทำกายสุจริตเป็น ต้น. บทว่า กตํ เม กายทุจฺจริตํ เราทำกายทุจริต คือเราทำความ ประพฤติทุจริตทางกาย เพราะความเน่าของกิเลสทางกาย. บทว่า อกตํ เม กายสุจริตํ เราไม่ทำกายสุจริต คือเราไม่ทำความประพฤติสุจริตทางกาย. แม้ในวจีทุจริต และวจีสุจริตเป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า จิตฺตสฺส แห่งจิต คือไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล. บทว่า อุทฺธจฺจํ ฟุ้งซ่าน. บทว่า อวูปสโม คือ ไม่สงบ. บทว่า เจตโส วิกฺเขโป

 
  ข้อความที่ 79  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 79

ได้แก่ จิตกวัดแกว่ง. บทว่า ภนฺตตฺตํ จิตฺตสฺส ความที่จิตหมุนไป คือความที่จิตหมุนไป ดุจยานหมุนไปและโคหมุนไปเป็นต้น. ด้วยบทนี้ ท่านกล่าวความดิ้นรนในอารมณ์เดียวนั่นแล. จริงอยู่ ความฟุ้งซ่านย่อม ดิ้นรนไปในอารมณ์เดียว ความสงสัยย่อมดิ้นรนไปในอารมณ์ต่างๆ บทว่า อิทํ วุจฺจติ อุทฺธจฺจํ คือ นี้ท่านเรียกว่าความฟุ้งซ่าน.

บทว่า มุสา ในบทว่ามุสวาทํ ปหาย ละมุสาวาท นี้เป็นวจีประโยค หรือกายประโยค อันหักเสียซึ่งประโยชน์ของผู้มุ่งจะกล่าวให้ผิด เจตนาอัน มีกายประโยคหรือวจีประโยคเป็นที่ตั้งของผู้พูดเพื่อให้คนอื่นเข้าใจผิด โดย ความประสงค์จะพูดให้ผิด ชื่อว่ามุสาวาท. อีกนัยหนึ่ง. บทว่า มุสา คือเป็น วัตถุที่ไม่จริง ไม่แท้. บทว่า วาโท คือ การให้เขารู้วัตถุนั้นโดยความเป็น จริงโดยความแท้. อนึ่งโดยลักษณะเจตนาอันจะให้เขารู้อย่างนั้นตั้งขึ้นแก่ผู้ ประสงค์จะให้ผู้อื่นรู้วัตถุอันไม่เป็นจริงโดยความเป็นจริง ก็ชื่อว่ามุสาวาท. ซึ่งมุสาวาทนั้น. บทว่า ปหาย ละมุสาวาทนั้น คือละความเป็นผู้ทุศีลอันได้ แก่ เจตนาจะพูดเท็จนี้เสีย. บทว่า ปฏิวิรโต เว้นขาด คืองดเว้นจาก ความเป็นผู้ทุศีลนั้นตั้งแต่เวลาละได้แล้ว. พึงทราบความในบททั้งหลายเห็น ปานนี้แม้อื่นโดยนัยนี้ว่า แม้ความคิดว่าจักล่วงก็ยังไม่มี จะกล่าวไปทำไมถึง ธรรมอันควรรู้ด้วยจักษุโสตะและกายเล่า. ชื่อว่า สจฺจวาที เพราะพูดจริง. ชื่อว่า สจฺจสนฺโธ ดำรงคำสัตย์ เพราะสืบทอดคำสัตย์ไว้ด้วยความจริง อธิบายว่า ไม่พูดเท็จในระหว่างๆ. เพราะคนใดบางครั้งพูดเท็จ บาง ครั้งพูดจริง คำสัตย์ของบุคคลนั้นไม่สืบต่อด้วยความสัตย์ เพราะเขาพูด เท็จในระหว่าง เพราะฉะนั้น คนนั้นได้ชื่อว่าไม่ดำรงคำสัตย์. บุคคลนี้ไม่พูด เท็จ แม้เพราะเหตุความเป็นอยู่ ย่อมดำรงความสัตย์ไว้ด้วยความสัตย์เหมือน

 
  ข้อความที่ 80  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 80

กัน ก็ไม่ชื่อว่าเป็นผู้ดำรงคำสัตย์, บทว่า เถโต คือมั่นคง. อธิบายว่า มีถ้อยคำมั่นคง, บุคคลคนหนึ่งเป็นผู้มีถ้อยคำไม่มั่นคง ดุจสีย้อมผ้า ดุจหลัก ปักที่กองแกลบ และดุจฟักวางบนหลังม้าฉะนั้น คนหนึ่งมีถ้อยคำมั่นคง ดุจรอยจารึกบนแผ่นหิน และดุจเสาเขื่อนฉะนั้น. แม้จะเอาดาบตัดศีรษะก็ ไม่ยอมพูดเป็นคำสอง. บุคคลนี้ท่านเรียกว่าผู้มีวาจามั่นคง. บทว่า ปจฺจยิโก คือเชื่อถือได้ อธิบายว่า มั่นอยู่ในคำสัตย์. จริงอยู่ คนบางคนเชื่อถือไม่ได้ เมื่อเขากล่าวว่า คนโน้นพูดเรื่องอะไร ก็พูดว่า พวกท่านอย่าเชื่อคำของ เขาเลย. คนหนึ่งเชื่อถือได้ เมื่อเขากล่าวว่า คนโน้นพูดเรื่องอะไรก็พูดว่า ผิว่า คนนั้นพูดถือเป็นประมาณได้ ไม่ต้องสอบสวน นี้ต้องเป็นอย่างนั้น ดังนี้ บุคคลนี้ท่านกล่าวว่า เป็นบุคคลเชื่อถือได้. บทว่า อวิสํวาทโก โลกสฺส ไม่พูดให้เคลื่อนคลาดแก่โลก อธิบายว่า ไม่พูดให้ชาวโลก เข้าใจผิด เพราะเป็นผู้กล่าวคำสัตย์นั้น. พึงทราบความในบทมีอาทิว่า ปิสุณาวาจํ ปหาย ละปิสุณาวาจา ดังต่อไปนี้ วาจาที่บุคคลพูดทำให้ เขารักตน ทำความส่อเสียดแก่ผู้อื่น ชื่อว่าปิสุณาวาจา. วาจาที่ทำความหยาบ ให้คนบ้าง ให้ผู้อื่นบ้าง แม้วาจาเองก็หยาบไม่เพราะหู ไม่สุขใจ ชื่อว่า ผรุสวาจา. บุคคลผู้กล่าวคำเพ้อเจ้อไม่มีประโยชน์ ชื่อว่าสัมผัปปลาปะ. แม้ เจตนาใดอันเป็นเหตุแห่งคำพูดเหล่านั้น ย่อมได้ชื่อว่าปิสุณาวาจาเป็นต้น เหมือนกัน เจตนานั้นท่านประสงค์เอาในที่นี้. บทว่า อิเมสํ เภทาย เพื่อ ทำลายคนหมู่นี้ คือเพื่อทำลายผู้ที่ฟังในสำนักของผู้ที่กล่าววาจาแต่สำนักนี้. บทว่า ภินฺนานํ วา สนฺธาตา สมานคนที่แตกกัน คือเมื่อมิตร สองคนหรือผู้ที่ร่วมอุปัชฌาย์กันเป็นต้น แตกกันด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง เข้าไปหาคนๆ หนึ่ง แล้วกล่าวคำมีอาทิว่า การแตกกันนี้ไม่สมควรแก่

 
  ข้อความที่ 81  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 81

ท่านทั้งหลายผู้เกิดในตระกูลเช่นผู้เป็นพหูสูตอย่างนี้ ชื่อว่าทำความสมาน. บทว่า อนุปฺปทาตา ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกัน คือส่งเสริมคนที่ สมานกัน. อธิบายว่า เห็นคนสองคนพร้อมเพรียงกัน แล้วกล่าวคำ มีอาทิว่า นี้สมควรแก่พวกท่านผู้เกิดในตระกูลเห็นปานนี้ ประกอบด้วย คุณเห็นปานนี้แล้วทำให้หนักแน่นยิ่งขึ้น. ชื่อว่า สมคฺคาราโม เพราะ มีความพร้อมเพรียงเป็นที่มายินดี. อธิบายว่า ความพร้อมเพรียงไม่มีในที่ใด ไม่ควรแม้จะอยู่ในที่นั้น. บาลีว่า สมคฺคราโม ดังนี้บ้าง. ความอย่างเดียว กัน. บทว่า สมคฺครโต คือ ยินดีในบุคคลผู้พร้อมเพรียงกัน อธิบายว่า ละบุคคลเหล่านั้นแล้วไม่ปรารถนาจะไปในที่อื่น. ชื่อว่า สมคฺคนนฺที เพราะ เห็นก็ดี ฟังก็ดี ซึ่งบุคคลผู้พร้อมเพรียงกันย่อมยินดี. บทว่า สมคฺคกรณึ วาจํ ภาสิตา กล่าววาจาทำให้เขาพร้อมเพรียงกัน คือกล่าววาจาที่ทำให้ สัตว์ทั้งหลายพร้อมเพรียงกันอันแสดงถึงคุณของความสามัคคี มิใช่นอก เหนือไป. เจตนาหยาบโดยส่วนเดียวยังกายประโยคและวจีประโยคให้ตั้งขึ้น ตัดความรักของบุคคลอื่น ชื่อว่า ผรุสวาจา. บทว่า เนลา กล่าววาจา ที่ไม่มีโทษ โทษท่านเรียกว่าเอลา. ชื่อว่า เนลา เพราะวาจาไม่มีโทษ. ดุจ เนลา ที่ท่านกล่าวไว้ในคาถานี้ว่า เนลงฺโค เสตปจฺฉาโท ไม่มีโทษ (บริสุทธิ์) คลุมด้วยผ้าขาว. บทว่า กณฺณสุขา ไพเราะโสต คือวาจาสบายหู เพราะไพเราะด้วยพยัญชนะไม่เกิดแสลงหูดุจเข็มแทงหู. ชื่อว่า เปมนิยา เพราะไม่เกิดความโกรธ ให้เกิดความรักไปทั่วกาย เพราะไพเราะ ด้วยอรรถบทว่า หทยงฺคมา วาจาหยั่งลงถึงหทัย. ชื่อว่า หทยงฺคมา เพราะไม่มีอะไรกระทบไปถึงหทัยเข้าไปสู่จิตโดยสะดวก. ชื่อว่า โปรี เพราะ เป็นคำของชาวเมือง บริบูรณ์ด้วยคุณ. อนึ่ง ชื่อว่า โปรี เพราะเป็นเด็กดี

 
  ข้อความที่ 82  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 82

ดุจนารีผู้เจริญในบุรี. อีกอย่างหนึ่งชื่อว่า โปรี เพราะเป็นวาจาของชาวเมือง. อธิบายว่า เป็นคำพูดของชาวเมือง. จริงอยู่ ชาวเมืองเป็นผู้พูดเหมาะสม ย่อมเรียกคนปูนบิดาว่าบิดา คนปูนพี่ว่าพี่. ชื่อว่า พหุชนกนฺตา เพราะ คำพูดเห็นปานนี้ ย่อมเป็นที่พอใจของชนหมู่มาก. ชื่อว่า พหุชนมนาปา เพราะเป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก ทำความงดงามให้แก่ใจ ด้วยเป็นวาจา ที่พอใจ. อกุศลเจตนาอันยังกายประโยค และวจีประโยคให้ตั้งขึ้นด้วย ให้รู้ความไม่มีประโยชน์ชื่อว่า สัมผัปปลาปะ. ชื่อว่า กาลวาที เพราะพูด ถูกกาลอันควร. อธิบายว่า พูดตามกำหนดกาลที่ควรพูด. ชื่อว่า ภูตวาที เพราะพูดจริงแท้ตามความจริง. ชื่อว่า อตฺถวาที เพราะพูดอิงประโยชน์ ปัจจุบันและประโยชน์ในภายหน้า. ชื่อว่า ธมฺมวาที เพราะพูดอิงโลกุตรธรรม ๙. ชื่อว่า วินยวาที เพราะพูดอิงสังวรวินัย (การสำรวม) และ ปหานวินัย (การละ). ชื่อว่า นิธานวตี เพราะมีวาจาเป็นหลักฐาน ที่ท่าน เรียกว่านิธาน. อธิบายว่า กล่าวคำพูดอันควรจำไว้ในหทัย. บทว่า กาเลน โดยกาลอันควร คือแม้เมื่อจะกล่าววาจาเห็นปานนี้ก็ไม่กล่าวในกาลอันไม่ ควรว่า เราจักกล่าววาจาอันมีหลักฐาน. แต่กล่าวในกาลอันควร. บทว่า สาปเทสํ มีที่อ้างอิง อธิบายว่า พร้อมด้วยอุปมา พร้อมด้วยเหตุ. บทว่า ปริยนฺตวตึ มีส่วนสุด อธิบายว่า แสดงหัวข้อแล้วกล่าวไปตามที่ หัวข้อของวาจานั้นปรากฏ. บทว่า อตฺถสญฺหิตํ ประกอบด้วยประโยชน์ คือกล่าววาจาประกอบด้วยประโยชน์ เพราะมีประกอบด้วยอรรถที่ผู้นั้น กล่าว สมบูรณ์ด้วยอรรถอันผู้กล่าวจำแนกไว้หลายนัย สามารถถือเอาได้. อธิบายว่า มิใช่ยกบทอื่นแล้วกล่าวบทอื่น. บทว่า จตุทฺโทสาปคตํ วาจํ ภาสติ กล่าววาจาปราศจากโทษ ๔ คือกล่าววาจาปราศจากโทษ ๔ มีมุสาวาทเป็นต้น.

 
  ข้อความที่ 83  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 83

บทว่า ทฺวตฺตึสาย ติรจฺฉานกถาย คือ ไม่ประกอบด้วยดิรัจฉานกถา ๓๒ ประการของสัตว์ผู้พ้นจากสวรรค์. บทว่า ทส กถาวตฺถูนิ กถาวัตถุ ๑๐ ประการ คือเหตุอันเป็นวัตถุแห่งกถาอาศัยวิวัฏฏะ (นิพพาน) ๑๐ ประการมีความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อยเป็นต้น. บทว่า อปฺปิจฺโฉ มีความปรารถนาน้อย ในบทว่า อปฺปิจฺฉกถํ นี้ ได้แก่ เว้นความปรารถนา ไม่มีความปรารถนา ไม่มีความอยาก. อันที่จริงพยัญชนะ ในบทว่า อปฺ- ปิจฺโฉ นี้ ดูเหมือนจะยังมีพยัญชนะเหลืออยู่. แต่อรรถไม่มีอะไรเหลืออยู่ เลย. เพราะพระขีณาสพไม่มีความปรารถนาแม้แต่น้อย. อีกอย่างหนึ่ง ในความปรารถนานี้พึงทราบประเภทดังนี้ คือความปรารถนาลาภคนอื่น เพื่อตน ความปรารถนาลามก ความปรารถนาใหญ่ ความปรารถนาน้อย. ในประเภทความปรารถนาเหล่านั้นพึงทราบดังนี้ ความปรารถนาลาภ ของผู้อื่นเพราะไม่อิ่มในลาภของตน ชื่อว่าปรารถนาลาภคนอื่นเพื่อตน. ผู้ประกอบด้วยความปรารถนาลาภคนอื่นเพื่อตนนั้น แม้ขนมสุกในภาชนะ หนึ่งที่เขาใส่บาตรของตน ก็ปรากฏเหมือนยังไม่สุกดีและเหมือนเล็กน้อย. วันรุ่งขึ้นเขาใส่บาตรของผู้อื่น ก็ปรากฏเหมือนสุกดีแล้วและเหมือนมาก. ความสรรเสริญในคุณอันไม่มี และความไม่รู้จักประมาณในการรับ ชื่อว่ามี ความปรารถนาลามก. ความปรารถนาลามกนั้นมาแล้วโดยนัยมีอาทิว่า คน บางคนในโลกนี้เป็นผู้ไม่มีศรัทธาปรารถนาว่า ขอให้ชนรู้จักเราว่าเป็นผู้มี ศรัทธา. บุคคลผู้ประกอบด้วยความปรารถนาลาภนั้น ย่อมตั้งอยู่ในความ หลอกลวง. ความสรรเสริญคุณอันมีอยู่ และความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณใน การรับ ชื่อว่ามีความปรารถนาใหญ่. แม้ความปรารถนาใหญ่นั้น ก็มา แล้วโดยนัยนี้ว่า คนบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีศรัทธา ย่อมปรารถนาว่า ชน

 
  ข้อความที่ 84  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 84

จงรู้จักเราว่าเป็นผู้มีศรัทธา ย่อมปรารถนาว่า ชนจงรู้จักเราว่าเป็นผู้มีศีล ดังนี้ บุคคลผู้ประกอบด้วยความปรารถนาใหญ่นั้นเป็นผู้ไม่อิ่มด้วยท่อนผ้า, แม้มารดาผู้ให้กำเนิดก็ไม่สามารถเหนี่ยวรั้งความคิดของเขาได้. สมดังที่ ท่านกล่าวไว้ว่า

กองไฟ มหาสมุทร และบุคคลผู้มีความปรารถนา ใหญ่ ชนทั้งหลายให้ปัจจัยจนเต็มเกวียน แม้ทั้งสาม ประเภทนั้นก็หาอิ่มไม่.

ส่วนความเป็นผู้ปิดบังคุณอันมีอยู่ และรู้จักประมาณในการรับ ชื่อ ว่า มีความปรารถนาน้อย. บุคคลผู้ประกอบด้วยความปรารถนาน้อยนั้น เพราะประสงค์จะปกปิดคุณแม้ที่มีอยู่ในตน ถึงมีศรัทธา ก็ไม่ปรารถนาว่า ขอชนจงรู้จักเราว่าเป็นผู้มีศรัทธา ถึงมีศีล เป็นผู้สงัด เป็นพหูสูต เป็นผู้ ปรารภความเพียร เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยสมาธิ เป็นผู้มีปัญญาเป็นพระขีณาสพ ก็ไม่ปรารถนาว่าชนจงรู้จักเราว่า เป็นพระขีณาสพ เหมือนพระมัชฌันติกเถระฉะนั้น. ก็แลภิกษุผู้มีความปรารถนาน้อยอย่างนี้ ย่อมยังลาภ ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ทำลาภที่เกิดขึ้นแล้วให้ถาวร ยังจิตของทายกให้ยินดี. มนุษย์ทั้งหลายเลื่อมใสแล้วในวัตรของภิกษุนั้นย่อมถวายมาก โดยอาการ ที่ภิกษุนั้นเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย จึงรับแต่น้อย.

ยังมีความปรารถนาน้อยอื่นอีก ๔ อย่าง คือ ปรารถนาน้อยใน ปัจจัย ปรารถนาน้อยในธุดงค์ ปรารถนาน้อยในปริยัติ ปรารถนาน้อยใน อธิคม (ความสำเร็จ, การบรรลุ). ใน ๔ อย่างนั้น ความปรารถนาน้อย ในปัจจัย ๔ ชื่อว่า ปรารถนาน้อยในปัจจัย. ภิกษุใดรู้กำลังของทายก รู้กำลังของไทยธรรม รู้กำลังของตน ผิว่า ไทยธรรมมีมาก ทายกประสงค์

 
  ข้อความที่ 85  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 85

จะให้น้อยย่อมรับแต่น้อยด้วยกำลังของทายก. ไทยธรรมมีน้อย ทายก ประสงค์จะให้มาก ย่อมรับแต่น้อยด้วยกำลังของไทยธรรม. แม้ไทยธรรม ก็มีมาก แม้ทายกก็ประสงค์จะให้มาก รู้กำลังของตนย่อมรับพอประมาณ เท่านั้น. ไม่ประสงค์จะให้รู้ว่าการสมาทานธุดงค์มีอยู่ในตน ภิกษุนั้น ชื่อว่า เป็นผู้มีความปรารถนาน้อยในธุดงค์. ส่วนภิกษุใดไม่ประสงค์จะ ให้รู้ว่าตนเป็นพหูสุต ภิกษุนี้ชื่อว่า เป็นผู้มีความปรารถนาน้อยในปริยัติ. ส่วนภิกษุใดได้เป็นพระโสดาบันเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ปรารถนา จะให้รู้ว่าตนเป็นพระโสดาบันเป็นต้น ภิกษุนี้ชื่อว่า เป็นผู้มีความปรารถนา น้อยในอธิคม. ส่วนพระขีณาสพละความปรารถนาลาภคนอื่นเพื่อตน ความปรารถนาลามก ความปรารถนาใหญ่ได้แล้ว ชื่อว่า เป็นผู้มีความ ปรารถนาน้อย เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยความปรารถนาน้อยด้วยความ บริสุทธิ์ คือไม่โลภอันเป็นปฏิปักษ์ต่อความปรารถนาโดยประการทั้งปวง. พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงโทษในธรรมเหล่านั้นว่า ดูก่อนอาวุโส ทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ คือความปรารถนาลาภคนอื่นเพื่อตน ความ ปรารถนาลามก ความปรารถนาใหญ่ควรละเสีย ทรงแสดงว่า ควรประพฤติสมาทานความเป็นผู้ปรารถนาน้อยเห็นปานนี้ ชื่อว่าตรัส อปฺปิจฺฉกถา ความปรารถนาน้อย.

เราจักแสดงอรรถที่ต่างกันในบทเป็นต้นว่า สนฺตุฏฺิกถํ กล่าวถึง สันโดษ. แต่พึงทราบการประกอบโดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. บทว่า สนฺ- ตุฏฺิกถํ คือกถาอิงความยินดีปัจจัยตามมีตามได้. ก็สันโดษนั้นมี ๑๒ อย่าง. ๑๒ อย่างนั้นอย่างไร. คือสันโดษในจีวรมี ๓ อย่าง คือ ยถาลาภสันโดษ ๑ ยถาพลสันโดษ ๑ ยถาสารุปปสันโดษ ๑. แม้ในบิณฑบาตเป็นต้นก็เหมือน กัน. จะพรรณนาถึงประเภทของสันโดษนั้นต่อไป.

 
  ข้อความที่ 86  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 86

ภิกษุในศาสนานี้ได้จีวรดีก็ตาม ไม่ดีก็ตาม ภิกษุนั้นใช้สอยจีวรนั้น เท่านั้น ไม่ปรารถนาอย่างอื่น แม้ได้ก็ไม่รับ นี้ชื่อว่า ยินดีตามได้ในจีวร ของภิกษุนั้น (ยถาลาภสันโดษ). อนึ่ง ภิกษุใดปกติมีกำลังน้อย หรือถูก อาพาธและชราครอบงำ ห่มจีวรหนักย่อมลำบาก ภิกษุนั้นแลกเปลี่ยน จีวรนั้นกับภิกษุที่ชอบกัน แล้วใช้สอยจีวรผืนที่เบาเป็นผู้สันโดษ. นี้ชื่อ ว่า ยินดีตามกำลังในจีวรของภิกษุนั้น (ยถาพลสันโดษ). ภิกษุรูปอื่นได้ ปัจจัยประณีต ภิกษุนั้นได้จีวรมีค่ามาก มีจีวรผ้าไหมเป็นต้นผืนใดผืนหนึ่ง หรือจีวรหลายผืนแล้วถวายว่า ผืนนี้สมควรแก่พระเถระผู้บวชนาน ผืนนี้ สมควรแก่ท่านผู้เป็นพหูสูต ผืนนี้สมควรแก่ภิกษุอาพาธ ผืนนี้สมควร แก่ภิกษุผู้มีลาภน้อย ดังนี้ แล้วเลือกจีวรเก่าๆ ของภิกษุเหล่านั้น หรือ จีวรที่เปื้อนจากกองหยากเยื่อเป็นต้น เอาจีวรเหล่านั้นใช้เป็นสังฆาฏิ ย่อม เป็นผู้สันโดษ. นี้ชื่อว่า ยินดีตามความสมควรในจีวรของภิกษุนั้น (ยถาสารุปปสันโดษ).

ส่วนภิกษุในศาสนานี้ได้บิณฑบาตเศร้าหมองก็ตาม ประณีตก็ตาม ภิกษุนั้นยังชีวิตให้เป็นไปด้วยบิณฑบาตนั้นเท่านั้น ไม่ปรารถนาอย่างอื่น แม้ได้ก็ไม่รับ นี้ชื่อว่า ยินดีตามได้ในบิณฑบาตของภิกษุนั้น. อนึ่ง ภิกษุใดได้บิณฑบาตอันแสลงหรือผิดสำแดงของตน ฉันบิณฑบาตนั้นแล้ว ไม่สบาย ภิกษุนั้นถวายบิณฑบาตนั้นแก่ภิกษุผู้ชอบพอกันแล้วฉันโภชนะ เป็นที่สบายจากมือของภิกษุนั้น แล้วบำเพ็ญสมณธรรม ย่อมเป็นผู้สันโดษ. นี้ชื่อว่า ยินดีตามกำลังในบิณฑบาตของภิกษุนั้น. ภิกษุรูปอื่นได้บิณฑบาต อันประณีตมาก ภิกษุนั้นถวายแก่ภิกษุผู้บวชนาน ผู้เป็นพหูสูต ผู้มีลาภน้อย ผู้อาพาธ เหมือนถวายจีวรนั้น หรือเที่ยวบิณฑบาต แล้วฉันอาหารสำรวม

 
  ข้อความที่ 87  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 87

ที่เหลือของภิกษุเหล่านั้น ย่อมเป็นผู้สันโดษ. นี้ชื่อว่า ยินดีตามสมควร ในบิณฑบาตของภิกษุนั้น.

อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ได้เสนาสนะที่ชอบใจก็ตาม ไม่ชอบใจก็ตาม ภิกษุนั้นไม่เกิดโสมนัส ไม่เกิดขุ่นข้องด้วยเสนาสนะนั้น ย่อมยินดีตาม ได้ แม้โดยที่สุดเครื่องลาดทำด้วยหญ้า. นี้ชื่อว่า ยินดีตามได้ในเสนาสนะ ของภิกษุนั้น. อนึ่งภิกษุใดได้เสนาสนะอันทำลายสุขภาพก็ตาม ทำให้ เจ็บป่วยก็ตาม เมื่ออยู่ในเสนาสนะใดไม่สบาย ภิกษุนั้นให้เสนาสนะนั้น แก่ภิกษุผู้ชอบพอกัน แม้อยู่ในเสนาสนะอันเป็นที่สบายในสำนักของภิกษุ นั้น ก็เป็นผู้สันโดษ. นี้ชื่อว่า ยินดีตามกำลังในเสนาสนะของภิกษุนั้น ภิกษุรูปอื่นมีบุญมาก ได้เสนาสนะอันประณีตมาก มีถ้ำ มณฑป และ เรือนยอดเป็นต้น ภิกษุนั้นถวายแก่ภิกษุผู้บวชนาน เป็นพหูสูต มีลาภน้อย ผู้อาพาธ เหมือนถวายจีวรเหล่านั้นแล้ว แม้จะอยู่ในที่ไหนๆ ก็ย่อมเป็น ผู้สันโดษ. นี้ชื่อว่า ยินดีตามสมควรในเสนาสนะของภิกษุนั้น. แม้ภิกษุใด สำเหนียกอยู่ว่า ชื่อว่าเสนาสนะดีเกินไป เป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เมื่อภิกษุนั่ง ณ เสนาสนะนั้นย่อมถูกความหลับครอบงำ ย่อมก้าวลงสู่ความ ง่วงเหงาหาวนอน ความวิตกลามกย่อมปรากฏแก่ภิกษุผู้ตื่นอยู่อีกแล้วไม่ รับเสนาสนะเช่นนั้นแม้มาถึงแล้ว ภิกษุนั้นปฏิเสธเสนาสนะนั้นแล้ว แม้ อยู่ในกลางแจ้งและโคนต้นไม้เป็นต้น ก็เป็นผู้สันโดษ. แม้นี้ก็ชื่อว่า ยินดี ตามสมควรในเสนาสนะของภิกษุนั้น.

อนึ่ง ภิกษุได้เภสัชเศร้าหมองก็ตาม ภิกษุนั้นได้เภสัชใดยินดีด้วย เภสัชนั้นเท่านั้น ไม่ปรารถนาอย่างอื่น แม้ได้ก็ไม่รับ. นี้ชื่อว่า ยินดีตาม

 
  ข้อความที่ 88  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 88

ได้ในคิลานปัจจัยของภิกษุนั้น. อนึ่ง ภิกษุใดต้องการน้ำมันแต่ได้น้ำอ้อย ภิกษุนั้นถวายน้ำอ้อยนั้นแก่ภิกษุผู้ชอบพอกันแล้วรับน้ำมันจากมือของภิกษุ นั้น หรือแสวงหาอย่างอื่น แม้เอาน้ำมันและน้ำอ้อยเหล่านั้นทำเภสัช ก็ เป็นผู้สันโดษเหมือนกัน. นี้ชื่อว่า ยินดีตามกำลังในคิลานปัจจัยของภิกษุ นั้น. ภิกษุรูปอื่นมีบุญมากได้เภสัชอันประณีต มีน้ำมันและน้ำอ้อยเป็นต้น ภิกษุนั้นถวายแก่ภิกษุผู้บวชนาน ผู้เป็นพหูสูต ผู้มีลาภน้อย ผู้อาพาธ เหมือนถวายจีวรนั้นแล้ว แม้ยังชีวิตของภิกษุเหล่านั้นรูปใดๆ ที่มาแล้วๆ ให้เป็นไป ก็เป็นผู้สันโดษเหมือนกัน. อนึ่งภิกษุใดอันภิกษุตั้งของหวาน ๔ อย่างไว้ในภาชนะเดียวกันแล้วกล่าวว่า พระคุณเจ้าจงรับสมอดองด้วย น้ำมูตรในภายในภาชนะหนึ่งที่พระคุณเจ้าปรารถนาเถิด หากโรคของ ภิกษุนั้นสงบด้วยขนานใดขนานหนึ่งในยาเหล่านั้น ห้ามของหวาน ๔ ว่า ชื่อว่า สมอดองด้วยน้ำมูตร อันพระพุทธเจ้าเป็นต้นทรงสรรเสริญ แล้ว เอาสมอดองด้วยน้ำมูตรทำเภสัช ย่อมเป็นผู้สันโดษอย่างยิ่งทีเดียว. นี้ชื่อว่า ยินดีตามสมควรในคิลานปัจจัยของภิกษุนั้น. บรรดาสันโดษแต่ละ ๓ อย่าง ในปัจจัยทั้งหลาย เฉพาะอย่างเหล่านั้น ท่านกล่าวว่า ยถาสารุปปสันโดษ (ยินดีตามสมควร) เป็นเลิศ. พระอรหันต์เป็นผู้สันโดษด้วยสันโดษแม้ ๓ อย่างเหล่านั้นในปัจจัยอย่างหนึ่งๆ.

บทว่า ปวิเวกกถํ ได้แก่ กถาเกี่ยวกับความสงัด. จริงอยู่ ความ สงัดมี ๓ อย่าง คือ สงัดกาย ๑ สงัดจิต ๑ สงัดจากอุปธิ (กิเลส) ๑. ใน ความสงัด ๓ อย่างนั้น รูปหนึ่งเดิน รูปหนึ่งยืน รูปหนึ่งนั่ง รูปหนึ่งนอน รูปหนึ่งเข้าไปบิณฑบาต รูปหนึ่งก้าวไป รูปหนึ่งเดินจงกรม รูปหนึ่ง เที่ยวไป รูปหนึ่งอยู่ นี้ชื่อว่า กายปวิเวก (สงัดกาย). สมาบัติ ๘ ชื่อว่า

 
  ข้อความที่ 89  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 89

จิตตปวิเวก (สงัดจิต). นิพพานชื่อว่า อุปธิปวิเวก (สงัดจากกิเลส). สมดัง ที่ท่านกล่าวไว้ว่า กายปวิเวกของผู้มีกายตั้งอยู่ในความสงัด จิตตปวิเวกของ ผู้ยินดีในเนกขัมมะแล้ว อุปธิปวิเวกของบุคคลผู้ไม่มีอุปธิ ผู้มีจิตบริสุทธิ์ ถึงความผ่องแผ้วอย่างยิ่ง ถึงนิพพานแล้วดังนี้.

สังสัคคะ (ความเกี่ยวข้อง) ในบทว่า อสํสคฺคกถํ (กถาเรื่องการ ไม่เกี่ยวข้องกัน) นี้มีอยู่ ๕ อย่าง คือ สวนสังสัคคะ (เกี่ยวข้องด้วยการฟัง) ๑ ทัสสนสังสัคคะ (เกี่ยวข้องด้วยการเห็น) ๑ สมุลลปนสังสัคคะ (เกี่ยวข้อง ด้วยการสนทนา) ๑ สัมโภคสังสัคคะ (เกี่ยวข้องด้วยการบริโภคร่วมกัน) ๑ กายสังสัคคะ (เกี่ยวข้องทางกาย) ๑.

ในสังสัคคะ ๕ อย่างนั้น ภิกษุในศาสนานี้ได้ฟังมาว่า ที่บ้านหรือ นิคมโน้นมีหญิงหรือหญิงวัยรุ่น มีรูปสวย น่าดู น่ารัก ประกอบด้วยผิว พรรณงามยิ่งนัก ดังนี้ ภิกษุนั้นได้ฟังดังนั้นแล้วตกหลุมรัก ไม่สามารถ จะประพฤติพรหมจรรย์อยู่ได้ หมดกำลังที่จะเล่าเรียน เวียนมาเพื่อความ เป็นคนเลว เพราะเหตุนั้น ราคะจึงเกิดด้วยวิถีแห่งโสตวิญญาณของภิกษุนั้น ผู้ฟังซึ่งสมบัติมีรูปเป็นต้นที่คนอื่นบอกอย่างนี้ หรือฟังเสียงแม้หัวเราะ และรำพันด้วยตนเอง ชื่อว่า สวนสังสัคคะ.

ภิกษุในศาสนานี้ไม่ได้ฟัง แต่เห็นเองซึ่งหญิงหรือหญิงวัยรุ่นรูปสวย น่าดู น่ารัก ประกอบด้วยผิวพรรณงามยิ่งนัก ภิกษุนั้นเห็นเข้าแล้ว ตกหลุมรัก ไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์อยู่ได้ หมดกำลังที่จะเล่าเรียน เวียนมาเพื่อความเป็นคนเลว เพราะเหตุนั้น ราคะจึงเกิดด้วยวิถีแห่งจักขุ- วิญญาณของภิกษุผู้แลดูรูปอันเป็นข้าศึกอย่างนี้ ชื่อว่า ทัสสนสังสัคคะ.

 
  ข้อความที่ 90  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 90

อนึ่ง ราคะเกิดด้วยการสนทนาปราศรัยกันและกัน ชื่อว่า สมุลลปนสังสัคคะ.

ราคะเกิดด้วยภิกษุรับของของภิกษุณี หรือภิกษุณีรับของของภิกษุ แล้วบริโภคร่วมกัน ชื่อว่า สัมโภคสังสัคคะ.

อนึ่ง ราคะเกิดด้วยการจับมือเป็นต้น ชื่อว่า กายสังสัคคะ.

พระอรหันต์ ไม่เกี่ยวข้องกับบริษัท ๔ ด้วยสังสัคคะ ๕ เหล่านี้ พ้นจากการยึดถือ และพ้นจากการเกี่ยวข้อง กล่าวสรรเสริญคุณของการ ไม่เกี่ยวข้อง ชื่อว่ากล่าว อสังสัคคกถา.

ในบทว่า วีริยารมฺภกถา กถาปรารภความเพียรนี้ มีความว่า ภิกษุ ใดเป็นผู้ประคองความเพียรไว้ เป็นผู้มีความเพียรทางกายและทางจิต บริบูรณ์ ในเวลาเดิน ก็ไม่ให้กิเลสเกิด ในเวลายืน นั่ง นอน ก็ไม่ให้ กิเลสเกิด ประพฤติดุจจับบีบงูเห่าด้วยมนต์ และดุจเหยียบศัตรูที่คอ กล่าว สรรเสริญคุณของผู้ปรารภความเพียรเช่นนั้น ชื่อว่ากล่าว วีริยารัมภกถา.

บทว่า สีลํ ในบทว่า สีลกถํ กถาว่าด้วยศีลนี้ ได้แก่ จตุปาริ- สุทธศีล. บทว่า สมาธิ ได้แก่ สมาบัติ ๘ อันมีวิปัสสนาเป็นบาท. บทว่า ปญฺา ได้แก่ ญาณอันเป็นโลกิยะและโลกุตระ. บทว่า วิมุตฺติ ได้แก่ วิมุตติอัน เป็นอรหัตผล. บทว่า วิมุตฺติาณทสฺสนํ ได้แก่ ปัจจเวกขณญาณ ๑๙ อย่าง. เมื่อจะประกาศคุณของศีลเป็นต้น ชื่อว่า กล่าวกถา เรื่องศีลเป็นต้น. บทมีอาทิว่า สติปฏฺานกถํ อันเป็นบทสุดท้ายของบทว่า สงฺคชาลมติจฺจ โส มุนิ ก้าวล่วงธรรมเครื่องข้อง และตัณหาเพียง ดังว่าตาข่าย บุคคลนั้นชื่อว่า เป็นมุนี พึงทราบโดยทำนองดังกล่าว แล้วในบทก่อนๆ.

 
  ข้อความที่ 91  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 91

บทว่า นิราสตฺตี บุคคลผู้ไม่มีตัณหาเครื่องเกี่ยวข้อง คือไม่มี ตัณหา. บทว่า วิเวกทสฺสี ผสฺเสสุ ผู้มีปกติเห็นวิเวกในผัสสะทั้งหลาย ได้แก่เห็นวิเวก ในความเป็นตนเป็นต้น ในจักษุสัมผัสเป็นต้น อันเป็น ปัจจุบัน. บทว่า ทิฏฺีสุ จ น นิยฺยติ และไม่ถูกนำไปในเพราะทิฏฐิ ทั้งหลาย ได้แก่ไม่ถูกนำไปในเพราะทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่งในทิฏฐิ ๖๒.

บทว่า วิปริณตํ วา วติถุํ น โสจติ ไม่เศร้าโศกถึงวัตถุที่แปรปรวน คือละภาวะเดิมแล้วย่อมไม่ถึงความเศร้าโศกในวัตถุไรๆ ที่เสื่อมไป. บทว่า วิปริณตสฺมึ วา คือ เมื่อวัตถุแปรปรวนไปแล้ว. บทว่า จกฺขุสมฺผสฺโส ได้แก่ ผัสสะเกิดพร้อมกับจักขุวิญญาณ ทำจักษุให้เป็นวัตถุ ชื่อว่า จักขุ- สัมผัส. แม้ในผัสสะที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน. อนึ่ง ในบทนี้ผัสสะที่มีใน ก่อน ก็มีจักขุประสาทเป็นต้นเป็นวัตถุทั้งนั้น. มโนสัมผัส มีหทยะเป็นวัตถุ ก็มี ไม่มีวัตถุก็มี ทั้งหมดเป็นผัสสะเป็นไปในภูมิ ๔. บทว่า อธิวจนสมฺผสฺโส คือ เป็นชื่อของสัมผัสนั้นโดยปริยาย. เพราะอรูปขันธ์ ๓ อย่าง หมุนไปตามข้างหลังเอง ย่อมทำชื่อของสัมผัสที่เกิดพร้อมกับตนว่าอธิวจนสัมผัส. บทว่า ปฏิฆสมฺผสฺโส ปฏิฆสัมผัสโดยนิปริยาย สัมผัสเป็นไปใน ปัญจทวาร ชื่อปฏิฆสัมผัส สัมผัสเป็นไปในมโนทวาร ชื่อว่าอธิวจนสัมผัส. บทว่า สุขเวทนีโย ผสฺโส ได้แก่ ผัสสะอันเกิดขึ้นเกื้อกูลแก่สุขเวทนา. แม้ในสัมผัสทั้งสองนอกจากนี้ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า กุสโล ผสฺโส ผัสสะอันเป็นกุศล ได้แก่ผัสสะอันเกิดพร้อมกับกุศลจิต ๒๑. บทว่า อกุสโล ผัสสะเป็นอกุศล ได้แก่ผัสสะอันเกิดพร้อมกับอกุสลจิต ๑๒. บทว่า อุพฺยากโต ผัสสะอันเป็นอัพยากฤต ได้แก่ผัสสะอันเกิดพร้อมกับอัพยากตจิต ๕๖. บทว่า กามารจโร ผัสสะอันเป็นกามาวจร ได้แก่ผัสสะอัน

 
  ข้อความที่ 92  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 92

เกิดพร้อมกับกามาวจรจิต ๕๔. บทว่า รูปาวจโร ผัสสะอันเป็นรูปาวจร ได้แก่ ผัสสะอันเกิดพร้อมกับรูปาวจรจิต ๑๕ มีกุศลจิตเป็นต้น. บทว่า อรูปาวจโร ผัสสะอันเป็นอรูปาวจร ได้แก่ผัสสะที่สัมปยุตด้วยอรูปาวจรจิต ๑๒ ด้วยอำนาจแห่งกุศลจิตและอัพยากตจิต. บทว่า สุญฺโต ผัสสะอัน เป็นสุญญตะ ได้แก่มรรคอันเกิดขึ้นแก่ผู้เห็นแจ้งด้วยอำนาจแห่งอนัตตานุ- ปัสสนา ชื่อว่า สุญญตะ ความเป็นของสูญ. ผัสสะอันเกิดพร้อมกับมรรค นั้นชื่อว่า สุญญตผัสสะ. แม้ในสองบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ใน บทว่า อนิมิตฺโต ผัสสะอันเป็นอนิมิตตะนี้ ได้แก่มรรคอันเกิดขึ้นแก่ผู้ เห็นแจ้งด้วยอำนาจแห่งอนิจจานุปัสสนา ชื่อว่า อนิมิตตะ (หานิมิตมิได้). บทว่า อปฺปณิหิโต ผัสสะอันเป็นอัปปณิหิตะ (ไม่มีที่ตั้ง) ได้แก่มรรค อันเกิดขึ้นแก่ผู้เห็นแจ้งด้วยอำนาจทุกขานุปัสสนาชื่อว่า อัปปณิหิตะ. บทว่า โลกิโย ผัสสะอันเป็นโลกิยะ คือวัฏฏะท่านเรียกว่าโลก เพราะอรรถว่า เสื่อมโทรมแตกสลายไป ธรรมเป็นไปในภูมิ ๓ เป็นโลกิยะเพราะประกอบ อยู่ในโลกด้วยความนับเนื่องกันในวัฏฏะนั้น. บทว่า โลกุตฺตโร ผัสสะ อันเป็นโลกุตระ ได้แก่ผัสสะ ชื่อว่าโลกุตระเพราะข้ามพ้นไปจากโลก. ผัสสะอันเป็นโลกุตระ เพราะไม่นับเนื่องในโลก. บทว่า อตฺเตน วา คือ จากความเป็นคนบ้าง. บทว่า อตฺตนิเยน วา คือ จากธรรมที่เนื่อง ในตนบ้าง.

บทว่า ปฏิลีโน บุคคลเป็นผู้หลีกเร้น คือปราศจากอกุศลธรรม นั้น เพราะละราคะเป็นต้นได้. บทว่า อกุหโก ไม่หลอกลวง คือไม่ทำ ให้พิศวงด้วยวัตถุเป็นเครื่องหลอกลวง ๓ อย่าง. บทว่า อปิหาลุ คือ มี ปกติไม่ทะเยอทะยาน. ท่านอธิบายว่า เว้นจากความปรารถนาและความ

 
  ข้อความที่ 93  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 93

อยาก. บทว่า อมจฺฉรี ไม่ตระหนี่ คือเว้นจากความตระหนี่ ๕ อย่าง. บทว่า อปฺปคพฺโภ ผู้ไม่คะนอง คือเว้นจากความเป็นผู้คะนองกายเป็นต้น. บทว่า อเชคุจฺโฉ ไม่เป็นที่รังเกียจ คือไม่น่ารังเกียจ ชื่นตา ชื่นใจ เพราะสมบูรณ์ด้วยศีลเป็นต้น.

บทว่า เปสุเณยฺเย จ โน ยุโต ไม่ประกอบในความเป็นผู้มีวาจา ส่อเสียด คือไม่ประกอบในความส่อเสียดอันควรนำเข้าไปด้วยอาการสอง อย่าง.

บทว่า ราคสฺส ปหีนตฺตา เพราะละเสียซึ่งราคะ คือเพราะละราคกิเลสได้ด้วยอรหัตมรรค. บทว่า อสฺมิมาโน ปหีโน โหติ เป็นผู้ละความ ถือตัวว่าเป็นเรา คือละความหยิ่งและความถือตัวว่าเป็นเราได้โดยเด็ดขาด. บทว่า ตีณิ กุหนวตฺถูนิ วัตถุแห่งความหลอกลวง ๓ อย่าง คือเหตุให้เกิด ความพิศวง ๓ อย่าง. ในบทมีอาทิว่า ปจฺจยปฏิเสวนสงฺขาตํ กุหนวตฺถุํ เรื่องความหลอกลวงกล่าวด้วยการเสพปัจจัย มีความว่า เมื่อภิกษุได้รับ นิมนต์ด้วยจีวรเป็นต้น ทั้งมีความต้องการจีวรนั้นเหมือนกัน อาศัยความ ปรารถนาลามก และรู้ว่าคหบดีเหล่านั้นมีศรัทธาตั้งมั่นด้วยดีในตนเพราะ การปฏิเสธ เมื่อคหบดีเหล่านั้นคิดว่า น่าอัศจรรย์ใจ พระคุณเจ้ามีความ ปรารถนาน้อย ไม่ปรารถนาจะรับอะไรๆ อีก พึงเป็นสิ่งที่เราได้ดีแล้วหนอ หากพระคุณเจ้าจะพึงรับอะไรๆ แม้มีประมาณน้อยดังนี้ แสดงความประสงค์จะอนุเคราะห์เขาแล้ว ตั้งแต่นั้นมาก็ทำให้พิศวงด้วยการรับ อันเป็น เหตุให้เขานำของเข้าไปถวายเป็นเกวียนๆ. พึงทราบว่า นี้คือเรื่อง หลอกลวงกล่าวด้วยการเสพปัจจัย. อนึ่ง เมื่อภิกษุมีความปรารถนาลามกทำ ให้พิศวงด้วยอิริยาบถอันแสดงความประสงค์จะยกย่อง พึงทราบว่า นี้คือ

 
  ข้อความที่ 94  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 94

เรื่องการหลอกลวงอาศัยอิริยาบถ. อนึ่ง เมื่อภิกษุมีความปรารถนาลามก ทำ ให้พิศวงด้วยอาการนั้นๆ โดยการกล่าวแสดงถึงการบรรลุอุตริมนุสธรรม พึงทราบว่า นี้คือเรื่องหลอกลวงกล่าวด้วยการพูดเลียบเคียง.

ในบทว่า เรื่องการหลอกลวงกล่าวด้วยการเสพปัจจัยเป็นไฉนนี้ พึง ทราบว่า ได้แก่การหลอกลวงกล่าวด้วยการเสพปัจจัย คือกล่าวอย่างนี้ว่า การซ่องเสพปัจจัย. บทว่า อิธ คหปติกา ภิกฺขุํ นิมนฺเตนติ คือ คหบดี ในโลกนี้ย่อมนิมนต์ภิกษุ. ปาฐะอย่างนี้เหมือนกัน. อาจารย์บางพวกกล่าว ว่า นิมนฺเตนฺติ บ้าง วทนฺติ บ้าง. บทว่า จีวรํ ปจฺจกฺขาติ บอกคืน จีวร คือปฏิเสธจีวร. บทว่า เอตํ สารุปฺปํ ยํ สมโณ ข้อนั้นเป็นการ สมควรแก่สมณะ คือข้อนี้สมณะทำการทรงจีวรไว้เป็นการสมควร คือ เหมาะสม. บทว่า ปาปณิกา วา นนฺตกานิ ผ้าเก่าจากตลาด คือผ้าขี้ริ้ว เว้นผ้าใหม่อันตกอยู่ที่ประตูตลาด. บทว่า อุจฺจินิตฺวา คือ เก็บเอามา. บทว่า อุญฺฉาจริยาย คือ ด้วยการเที่ยวไปเพื่อภิกษา. บทว่า ปิณฺฑิยาโลเปน ได้ แก่ ข้าวทำเป็นก้อนได้มา. บทว่า ปูติมุตฺเตน วา ด้วยน้ำมูตรเน่า คือ น้ำมูตรโค. บทว่า โอสธํ กเรยฺย คือ พึงทำเป็นยา. บทว่า ตทุปาทาย คือ ตั้งแต่นั้นมา. บทว่า ธุตวาโท มีวาทะกำจัดกิเลสคือกล่าวคุณแห่งธุดงค์. บทว่า ภิยฺโย ภิยฺโย นิมนฺเตนฺติ ยิ่งนิมนต์ คือนิมนต์บ่อยๆ. บทว่า สมฺมุขีภาวา คือ เพราะประจวบกัน. อธิบายว่า เพราะความมีอยู่. บทว่า ปสวติ คือ ย่อมได้. สามารถจะทำโดยประจวบด้วยศรัทธา เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สทฺธาย สมฺมุขีภาวา เพราะประจวบด้วยศรัทธาเป็นอาทิ. ไทยธรรมหาได้ง่ายแต่ทักขิไณยบุคคลและศรัทธาหาได้ยาก. เพราะศรัทธา ของปุถุชนไม่มั่นคงเปลี่ยนไปทุกๆ ย่างก้าว. ด้วยเหตุนั้นแลแม้พระอัคร-

 
  ข้อความที่ 95  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 95

สาวกเช่นกับพระมหาโมคคัลลานะ ยังไม่สามารถเป็นผู้รับรองปุถุชนนั้น ได้ จึงกล่าวว่า ดูก่อนผู้อาวุโส พระมหาโมคคัลลานะไม่สามารถรับรอง ธรรมสองอย่าง คือโภคะและชีวิตของท่านได้ แต่จะรับรองท่าน ได้ด้วยศรัทธา. บทว่า ปุญฺเน ในบทว่า เอวํ ตุมฺเห ปุญฺเน ปริหีนา ภวิสฺสถ ท่านทั้งหลายจักเป็นผู้เสื่อมจากบุญด้วยอาการอย่างนี้ เป็นตติยาวิภัตติลงในอรรถแห่งปัญจมีวิภัตติ. คือท่านจักเป็นผู้เสื่อมจาก บุญคือหันหลังให้บุญ. บทว่า ภากุฏิกา หน้าสยิ้ว คือทำหน้าสยิ้วด้วยการ เห็นหน้ายู่ยี่. อธิบายว่า มีหน้าเบี้ยวบูด. ชื่อว่า ภากุฏิกะ เพราะมีหน้าสยิ้ว. ความเป็นผู้มีหน้าสยิ้ว ชื่อว่าภากุฏิกะ บทว่า กุหนา ความหลอกลวง คือ ความพิศวง. กิริยาที่หลอกลวง ชื่อว่า กุหายนา. ความเป็นผู้หลอกลวง ชื่อว่า กุหิตัตตะ.

บทว่า ปาปิจฺโฉ มีความปรารถนาลามก คือใคร่จะแสดงคุณที่ ไม่มีอยู่. บทว่า อิจฺฉาปกโต คือ ถูกความปรารถนาครอบงำ. บทว่า สมฺภาวนาธิปฺปาโย มีความประสงค์ในการยกย่อง คือมีอัธยาศัยถือตัวจัด. บทว่า คมนํ สณฺเปติ สำรวมการเดิน คือระมัดระวังการเดินมีการก้าว ไปเป็นต้น. อธิบายว่า ทำความน่าเลื่อมใส. แม้ในบทนอกนี้ก็มีนัยนี้ เหมือนกัน. บทว่า ปณิธาย คจฺฉติ ตั้งสติเดิน คือตั้งใจเดิน. แม้ใน บทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า สนาหิโต วิย คจฺฉติ ทำเหมือน ภิกษุมีสมาธิเดิน คือทำเหมือนภิกษุได้อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า อาปาถกชฺฌายีว โหติ ทำเหมือนภิกษุที่เจริญอาปาถกฌาน (เจริญฌานต่อหน้าพวกมนุษย์) คือแสดงความเป็นผู้สงบ ทำเป็นเหมือน

 
  ข้อความที่ 96  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 96

เข้าฌานต่อหน้าพวกมนุษย์ที่เดินมา. บทว่า อิริยาปถสฺส ได้แก่ อิริยาบถ ๔. บทว่า อาปนา การตั้งใจ คือ จงใจไว้แต่ต้นหรือตั้งใจไว้โดย เอื้อเฟื้อ บทว่า ปนา คือ การตั้งใจ. บทว่า สณฺปนา ทำเป็น ตั้งใจ อธิบายว่า ทำความน่าเลื่อมใส. บทว่า อริยธมฺมสนฺนิสิตํ กล่าววาจาอิงอริยธรรม คือเนื่องด้วยโลกุตรธรรม. บทว่า กุญฺจิกํ คือ ลูก กุญแจสำหรับเปิด. บทว่า มิตฺตา คือ มีความเยื่อใย. บทว่า สนฺทิฏฺา คือ เพียงเห็นกัน. บทว่า สนฺภตฺตา คือ เป็นมิตรสนิทกันมาก. บทว่า อุทฺทณฺโฑ ได้แก่ เรือนที่พักหลังหนึ่ง. บทว่า โกรชิกโกรชิโก คือ ทำหน้าบูดเบี้ยว. อธิบายว่า หน้านิ่วยิ่งนัก. ปาฐะว่า โกรชโก ก็มี. บทว่า ภากุฏิกภากุฏิโก ทำหน้าสยิ้วบูดเบี้ยว คือทำหน้าสยิ้วเป็นปกติ เหลือเกิน บทว่า กุหกกุหโก หลอกลวง คือทำให้พิศวงยิ่งนัก. บทว่า ลปกลปโก ปลิ้นปล้อนตลบตะแลง คือช่างพูดเกินไป. บทว่า มุขสมฺ- ภาวิโต อันผู้อื่นสรรเสริญ คือผู้อื่นสรรเสริญด้วยปากของตน. อาจารย์ บางท่านกล่าวว่า อปฺปิตจิตฺโต คือ ไม่หนำใจ. บทว่า สนฺตานํ มีอยู่ คือมีอยู่เพราะสืบเนื่องด้วยกิเลส. บทว่า สมาปตฺตีนํ สมาบัติ คือธรรม ที่ควรบรรลุ บทว่า คมฺภีรํ ลึกซึ้ง คือที่พึ่งขาดหายไป. บทว่า คุฬฺหํ ลับ คือยากที่จะให้เห็นได้. บทว่า นิปุณํ คือ สุขุม. บทว่า ปฏิจฺฉนฺนํ ปิดบัง คืออธิบายให้รู้แจ้งแทงตลอดได้ยากด้วยอรรถแห่งบท. บทว่า โลกุตฺตรํ คือ แสดงถึงโลกุตรธรรม. บทว่า สุญฺตาปฏิสญฺญุตํ คือ ปฏิสังยุต ด้วยนิพพาน. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า โลกุตฺตรสุญฺตาปฏิสญฺญุตํ ได้แก่ ปฏิสังยุตด้วยนิพพานอันเป็นโลกุตรธรรม.

บทว่า กายิกํ ปคพฺภิยํ ความคะนองทางกาย คือเป็นไปทางกาย

 
  ข้อความที่ 97  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 97

ชื่อว่ากายิกะ. แม้ความคะนองเป็นไปทางวาจาและเป็นไปทางจิต ก็มีนัยนี้ เหมือนกัน. บทว่า อจิตฺติการกโต ไม่ทำความเคารพ คือเว้นจากความ นับถือมาก. บทว่า อนุปาหนานํ จงฺกมนฺตานํ เมื่อภิกษุผู้เป็นเถระเดิน ไม่สวมรองเท้า คืออยู่ในที่ใกล้ภิกษุผู้เป็นเถระผู้เดินไม่สวมรองเท้า หรือ บทนี้เป็นฉัฏฐีวิภัตติลงในอนาทระ คือแปลว่า เมื่อ. บทว่า สอุปาหโน คือ เดินสวมรองเท้า. บทว่า นีเจ จงฺกเม จงฺกมนฺตานํ เมื่อภิกษุผู้เป็น เถระเดินในที่จงกรมต่ำ คือเมื่อภิกษุผู้เป็นเถระเดินจงกรมในพื้นที่ที่มิได้ทำ การกำหนดไว้ เดินจงกรมในที่จงกรมซึ่งกำหนดไว้ เกลี่ยทรายทำที่เกาะ แม้ต่ำ. บทว่า อุจฺเจ จงฺกเม จงฺกมติ เดินในที่จงกรมสูง คือในที่ จงกรมสูงล้อมด้วยเวทีก่ออิฐ. หากล้อมด้วยกำแพงประกอบด้วยซุ้มประตู ก็ย่อมควรเพื่อเดินในที่จงกรมเช่นนั้น ซึ่งปกปิดไว้ด้วยดี ในระหว่างภูเขา ระหว่างป่าและระหว่างพุ่มไม้. แม้ในที่ไม่ปกปิดละอุปจารเสียก็ควร. บท ว่า ฆฏยนฺโตปิ ติฏฺติ ยืนเบียดบ้าง คือยืนใกล้เกินไป. บพว่า ปุรโตปิ- ติฏฺติ คือ ยืนบังหน้าบ้าง. บทว่า ิตโกปิ ภณติ ยืนทื่อพูดบ้าง คือ พูดไม่ก้มเหมือนตอไม้. บทว่า พาหาวิกฺเขปโก แกว่งแขน คือแกว่งแขน ไปข้างโน้นข้างนี้พูด. บทว่า อนุปขชฺช นั่งแทรกแซง คือเข้าไปยังที่ที่ พระเถระทั้งหลายนั่ง. บทว่า นเวปิ ภิกฺขู อาสเนน ปฏิพาหติ นั่งกีด กันอาสนะพวกภิกษุนวกะบ้าง คือไม่นั่งบนอาสนะที่ถึงตนแล้ว เข้าไป แทรกข้างหน้าบ้างข้างหลังบ้าง ชื่อว่ากีดกันอาสนะ. บทว่า อนาปุจฺฉาปิ กฏฺํ ปกฺขิปติ ไม่บอกก่อนแล้วใส่ฟืนบ้าง คือไม่บอกไม่ขอความยินยอม แล้วใส่ฟืนในไฟบ้าง. บทว่า ทฺวารํ ปิทหติ ปิดประตู คือปิดเรือนไฟ. บทว่า โอตรติ หยั่งลง คือเข้าไปยังท่าน้ำ บทว่า นหายติ อาบน้ำ คือ

 
  ข้อความที่ 98  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 98

ชำระร่างกาย. บทว่า อุตฺตรติ ขึ้น คือขึ้นฝั่งจากท่าน้ำ. บทว่า โวกฺ- กมฺมาปิ คือเดินเลยหน้าบ้าง. บทว่า โอวรกานิ ห้องเล็ก คือห้องนอน ที่เขาตกแต่งเป็นห้อง. บทว่า คุฬฺหานิ คือ ปิดบัง. บทว่า ปฏิจฺฉนฺนานิ ปกปิด คือมีอย่างอื่นบังไว้. บทว่า อนชฺฌิฏฺโ วา ไม่ได้เชื้อเชิญ คือ พระเถระมิได้ขอร้องและเธอเชิญว่า ท่านจงฟังธรรมเถิดดังนี้.

บทว่า ปาปธมฺโม มีบาปธรรม คือมีธรรมลามก. บทว่า อสุจิ- สงฺกสฺสรสมาจาโร มีความประพฤติไม่สะอาดที่พึงระลึกด้วยความระแวง คือชื่อว่ามีความประพฤติไม่สะอาดที่พึงระลึกด้วยความระแวง เพราะมี ความประพฤติ คือมีการประกอบที่ผู้อื่นพึงระลึกด้วยความระแวง ผู้เป็น คนทุศีลดังนี้. บทว่า ปฏิจฺฉนฺนกมฺมนฺโต มีการงานอันปกปิด คือมี การงานทางกายและวาจาอันปกปิด. บทว่า อสฺสมโณ คือ มิใช่สมณะ. บทว่า สมณปฏิญฺโ คือ ปฏิญาณณว่าเราเป็นสมณะ. บทว่า อพฺรหฺมจารี คือ เว้นจากถารประพฤติอันประเสริฐ. บทว่า พฺรหฺมจารีปฏิญฺโ ปฏิ- ญาณว่าเป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ คือตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้ว. บทว่า อนฺโตปูติ เน่าใน คือถึงความเป็นผู้เน่าใน เพราะเว้นจากกุศลธรรมใน ภายใน. บทว่า อวสฺสุโต คือ ชุ่มอยู่ด้วยราคะ. บทว่า กสมฺพุชาโต คือ มีสภาพเป็นหยากเยื่อ.

ในบทว่า อาจารโคจรสมฺปนฺโน ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร นี้พึงทราบความต่อไปนี้ ภิกษุมีความเคารพ มีความยำเกรง ถึงพร้อม ด้วยหิริและโอตตัปปะ นุ่งเรียบร้อย ห่มเรียบร้อย ก้าว ถอย มอง เหลียว คู้ เหยียด น่าเลื่อมใส ทอดตา ถึงพร้อมด้วยอิริยาบถ คุ้มครองทวารใน อินทรีย์ทั้งหลาย รู้จักประมาณในการบริโภค ประกอบความเพียรเนืองๆ

 
  ข้อความที่ 99  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 99

ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ มักน้อยสันโดษ ปรารภความเพียร ทำความ เคารพในอภิสมาจาริกวัตร มากไปด้วยความยำเกรงครู นี้ท่านเรียกว่า อาจาระ. พึงทราบอาจาระเพียงเท่านี้ก่อน. ส่วนโคจรมี ๓ อย่าง คือ อุปนิสสยโคจร (โคจรอันเป็นอุปนิสัย) ๑ อารักขโคจร (โคจรอันควร รักษาไว้) ๑ อุปนิพันธโคจร (โคจรอันเข้าไปผูกพัน) ๑.

ในโคจร ๓ อย่างนั้น อุปนิสสยโคจรเป็นอย่างไร. ภิกษุประกอบ ด้วยคุณคือกถาวัตถุ ๑๐ มีมิตรดี เข้าไปอาศัยมิตรดีย่อมได้ฟังสิ่งที่ยังมิได้ เคยฟัง ย่อมทำสิ่งที่ฟังแล้วให้แจ่มแจ้ง ข้ามความสงสัย ทำความเห็นให้ ตรง ทำจิตให้ผ่องใส เมื่อศึกษาตามย่อมเจริญด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา นี้ชื่อว่า อุปนิสสยโคจร. อารักขโคจรเป็นอย่างไร. ภิกษุในศาสนา นี้ เข้าไปในระหว่างเรือนแล้ว เดินไปตามถนน ทอดตา มองดูเพียงชั่ว แอก สำรวมเป็นอย่างดีเดินไป ไม่มองดูช้าง ม้า รถ คนเดินทาง สตรี บุรุษ ไม่แหงนดู ไม่ก้มดู ไม่จ้องทิศน้อยใหญ่เดินไป นี้ชื่อว่าอารักขโคจร. อุปนิพันธโคจรเป็นอย่างไร. สติปัฏฐาน ๔ จิตเข้าไปผูกพันไว้ในสติ- ปัฏฐานข้อใด. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็โดยจรเป็นของตน เป็นของบิดา เป็นวิสัยคืออะไร คือสติปัฏฐาน ๔ นี้ ชื่อว่า อุปนิพันธโคจร. ภิกษุเข้าถึง เข้าถึงพร้อม ประกอบแล้วด้วยอาจาระ นี้ และด้วยโคจรนี้ด้วยประการฉะนี้แหละ ด้วยเหตุนั้นท่านจึงเรียก อาจารโคจรสมฺปนฺโน เป็นผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยอาจาระและโคจร. บทว่า อณุ- มตฺเตสุ วชฺเชสุ ภยทสฺสาวี เห็นภัยในโทษทั้งหลายมีประมาณน้อย คือ มีปกติเห็นภัยในโทษทั้งหลายอันมีประเภทเป็นต้นว่า การต้องอาบัติโดย ไม่เจตนา เสขิยะวัตรและจิตตุปบาทอันเป็นอกุศล มีประมาณน้อย. บทว่า

 
  ข้อความที่ 100  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 100

สมาทาย สิกฺขติ สิกฺขาปเทสุ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย คือ ถือเอาโดยชอบศึกษาสิกขาบทที่ควรศึกษาอย่างใดอย่างหนึ่งในสิกขาบททั้งหลาย. อนึ่ง ในบทว่า ปาฏิโมกฺขสํวรสํวุ โต สำรวมระวังในพระปาติโมกข์ นี้ ท่านแสดงถึงศีล คือการสำรวมในพระปาติโมกข์ด้วยเทศนาอันเป็น บุคลาธิษฐาน ด้วยเหตุเพียงเท่านี้. พึงทราบบททั้งปวงมีอาทิว่า อาจารโคจรสมฺปนฺโน ท่านกล่าวเพื่อแสดงถึงการปฏิบัติ ของผู้ปฏิบัติที่มีศีล สมบูรณ์แล้ว.

บทว่า สาติเยสุ อนสิสาวี บุคคลผู้ไม่มีความยินดีในวัตถุเป็นที่ น่ายินดี คือเว้นจากความชมเชยด้วยตัณหาในกามคุณทั้งหลาย อันเป็น วัตถุที่น่ายินดี. บทว่า สณฺโห ผู้ละเอียด คือประกอบด้วยกายกรรม เป็นต้นอันละเอียด. บทว่า ปฏิภาณวา มีปฏิภาณ คือประกอบด้วยปริยัติ ปริปุจฉา (การสอบกาม) อธิคม (การบรรลุ) และปฏิภาณ. บทว่า น สทฺโธ ไม่มีศรัทธา คือไม่เชื่อถึงธรรมที่บรรลุเองของใครๆ. บทว่า น วิรชฺชติ ไม่คลายกำหนัด คือไม่คลายกำหนัดในบัดนี้ เพราะความ กำหนัดคลายไปแล้วเพราะความสิ้นไป.

บทว่า เยสํ เอสา สาติยา ความยินดีนั้นของบุคคลเหล่าใด ได้แก่ความปรารถนาในกามคุณ มีวัตถุน่ายินดีของบุคคลเหล่าใด. บทว่า ตณฺหา อปฺปหีนา ตัณหาอันสัมปยุตด้วยความชมเชย อันบุคคลยังละไม่ได้ ด้วยอรหัตมรรค. บทว่า เตสํ จกฺขุโต รูปตณฺหา สวติ ชนเหล่านั้น ก็มีรูปตัณหาไหลหลั่งไปทางจักษุ คือตัณหามีรูปเป็นอารมณ์สัมปยุตด้วย ชวนวิถีจิตอันเป็นไปแล้ว ย่อมเกิดจากจักขุทวารของชนเหล่านั้น. บทว่า ปสวติ ไหลไป คือ โดยภูมิตัณหาย่อมไหลไปถึงภวัคคพรหม โดยธรรม ย่อมไหลไปถึงโคตรภู. บทว่า สนฺทติ หลั่งไหล คือไหลไปสู่ปากเบื้องต่ำ

 
  ข้อความที่ 101  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 101

ดุจกระแสน้ำ. บทว่า ปวตฺตติ ย่อมเป็นไป คือเป็นไปด้วยเกิดขึ้นบ่อยๆ. แม้ในทวารที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ตัณหาเป็นอันละแล้วด้วยดีด้วย อรหัตมรรคโดยตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้วในธรรมฝ่ายขาว รูปตัณหาย่อม ไม่ไหลไปทางจักษุของชนเหล่านั้น.

บทว่า สณฺเหน กายกมฺเมน สมนฺนาคโต เป็นผู้ประกอบด้วย กายกรรมอันละเอียด คือเป็นผู้พร้อมเพรียงเป็นอันเดียวกันด้วยกายกรรม อันอ่อนโยนไม่หยาบ. แม้ในวจีกรรมเป็นต้นก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ในบท ทั้งหลายมีอาทิว่า สณฺเหหิ สติปฏฺาเนหิ ความว่า สติปัฏฐานเป็นต้น เป็นธรรมเจือด้วยโลกิยะและโลกุตระ ปัญญาอันได้แก่ปฏิภาณ ๓ สอบ สวนถึงอรรถอันได้เล่าเรียนมาเป็นต้น สามารถทำการสังเกตการทำให้แจ้ง การกำหนด ด้วยการบรรลุโลกิยธรรมและโลกุตรธรรมมีอยู่แก่ผู้ใด ผู้นั้น ชื่อว่ามีปฏิภาณ. บทว่า ตสฺส ปริยตฺตึ นิสฺสาย ปฏิภายติ ญาณของ บุคคลนั้นย่อมแจ่มแจ้งเพราะอาศัยปริยัติ คือญาณของบุคคลนั้นที่ได้เรียน มาแน่นแฟ้นแจ่มแจ้ง เป็นญาณปรากฏอยู่เฉพาะหน้า. บทว่า จตฺตาโร สติปฏฺานา สติปัฏฐาน ๔ คือท่านกล่าวโพธิปักขิยธรรม ๓๗ โดยเจือ ปนกันทั้งโลกิยะและโลกุตระ. พึงทราบว่า ท่านกล่าวปฏิสัมภิทา ๔ ด้วย โลกุตระอันเกิดจากมรรคผล และอภิญญา ๖ ด้วยสามารถอันมีในที่สุด แห่งวิโมกข์. ในบทเหล่านั้น บทว่า จตสฺโส ปฏิสมฺภิทาโย ได้แก่ ประเภทของญาณ ๔. บทว่า ฉ อภิญฺา ได้แก่ อภิญญา ๖ อันยิ่ง มีอิทธิวิธี (แสดงฤทธิ์ได้) เป็นต้น มีอาสวักขยะ (การสิ้นอาสวะ) เป็น ที่สุด. บทว่า ตสฺส คือ ของบุคคล. พึงเชื่อมว่า อตฺโถ ปฏิภายติ อรรถก็แจ่มแจ้ง. บทว่า อตฺโถ เป็นผลอันเกิดแต่เหตุโดยสังเขป. เพราะ

 
  ข้อความที่ 102  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 102

บุคคลย่อมถึง ย่อมบรรลุอรรถนั้นด้วยแล่นไปตามเหตุ ฉะนั้น ท่านจึง กล่าวว่า อตฺโถ ผล. แต่โดยประเภทธรรม ๕ อย่างเหล่านี้ คือปัจจยุปบัน (ผล) อย่างใดอย่างหนึ่ง ๑ นิพพาน ๑ อรรถแห่งภาษิต ๑ วิบาก ๑ กิริยา ๑ พึงทราบว่า อรรถะ. เมื่อพิจารณาถึงอรรถะนั้น เป็นอันรู้ชัด อรรถะนั้นโดยประเภท. บทว่า ธมฺโม เป็นปัจจัย (เหตุ) โดยสังเขป. เพราะปัจจัยนั้นย่อมจัดการสืบทอดให้เป็นไปและให้ถึงอรรถนั้นๆ ฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า ธรรมะ. แต่โดยประเภทธรรม ๕ อย่างเหล่านี้ คือธรรม ที่ให้เกิดผลอย่างใดอย่างหนึ่ง ๑ เหตุ ๑ อริยมรรค ๑ ภาษิตที่เป็นกุศล ๑ ที่เป็นอกุศล ๑ พึงทราบว่า ธรรมะ. เมื่อพิจารณาธรรมนั้น เป็นอันรู้ชัด ธรรมนั้นโดยประเภท, การใช้ภาษาตามสภาวะ การออกเสียง การพูด อันใดในอรรถและในธรรมนั้น เมื่อบุคคลนั้น การทำเสียงในการใช้ภาษา ตามสภาวะ ให้เป็นการพูดการกล่าวการเปล่งเสียง ในการพูด ในการกล่าว ในการเปล่งเสียงให้เป็นอารมณ์แล้วพิจารณา ก็เป็นอันรู้ชัดการใช้ภาษา นั้น. พึงทราบความในบทต่อไปนี้ บทว่า อตฺเถ าเต อตฺโถ ปฏิภายติ เมื่อรู้อรรถ อรรถก็แจ่มแจ้ง คือเมื่ออรรถอันมีประเภทดังที่ นำเสียงของบุคคลนั้นมากล่าวแล้วปรากฏ อรรถมีประเภทดังกล่าวแล้วก็ แจ่มแจ้งแก่บุคคลนั้น ชื่อว่า เป็นผู้มุ่งต่อญาณ. บทว่า ธมฺเม าเต ธมฺโม ปฏิภายติ เมื่อรู้ธรรม ธรรมก็แจ่มแจ้ง คือเมื่อธรรมมีประเภท ดังกล่าวแล้วปรากฏ ธรรมมีประเภทดังกล่าวแล้วก็แจ่มแจ้ง. บทว่า นิรุตฺติยา าตาย นิรุตฺติ ปฏิภายติ เมื่อรู้นิรุตติ นิรุตติก็แจ่มแจ้ง คือเมื่อนิรุตติมีประเภทดังกล่าวแล้วปรากฏ นิรุตติมีประเภทดังกล่าวแล้ว ก็แจ่มแจ้ง. บทว่า อิเมสุ ตีสุ าเณสุ าํ ญาณในญาณ ๓ เหล่านี้

 
  ข้อความที่ 103  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 103

คือเมื่อบุคคลทำญาณทั้งหมดในญาณ ๓ เหล่านั้น คืออรรถธรรมและนิรุตติ ให้เป็นอารมณ์แล้วพิจารณา ญาณอัน มีประเภทในญาณ ๓ เหล่านั้น หรือ ญาณอันมีความพิสดารด้วยโคจรกิจเป็นต้น ในญาณ ๓ เหล่านั้นดังที่กล่าว แล้ว ชื่อว่า ปฏิสัมภิทาญาณ. บทว่า อิมาย ปฏิภาณปฏิสมฺภิทาย ด้วยปฏิภาณปฏิสัมภิทานี้ ท่านกล่าวสรุปว่า บุคคลเข้าไปถึงปัญญากว้างขวางดังกล่าวแล้วนี้ บุคคลนั้นท่านเรียกว่าผู้มีปฏิภาณ. พระพุทธพจน์ ชื่อว่าประยัติ ในบทว่า ยสฺส ปริยตฺติ นตฺถิ ผู้ใดไม่มีปริยัติ ดังนี้. จริงอยู่ ความแตกฉาน ความฉลาด ย่อมมีแก่บุคคลผู้เรียนปริยัตินั้น ประยัติเห็นปานนั้นไม่มีแก่บุคคลใด. บทแห่งคัณฐี (ประมวลคำศัพท์) บท แห่งอรรถ คำวินิจฉัยในบาลีและอรรถกถาเป็นต้น ชื่อว่า ปริปุจฉา ในบท ว่า ปริปุจฺฉา นตฺถิ ไม่มีปริปุจฉา (การตรวจสอบ). ความแตกฉาน ความฉลาดย่อมมีแก่บุคคลผู้กล่าวอรรถในบาลีที่ได้เรียนมาเป็นต้น. การ บรรลุพระอรหัต ชื่อว่า อธิคมะ ในบทว่า อธิคมะ นตฺถิ ไม่มีอธิคม. จริงอยู่ ความแตกฉาน ความฉลาดย่อมมีแก่ผู้บรรลุพระอรหัต. สมบัติ ๓ อย่างดังกล่าวแล้วไม่มีแก่บุคคลใด ญาณอะไรเล่าจักปรากฏแก่บุคคลนั้น คือญาณอันถึงความเป็นประเภทจักปรากฏแก่บุคคลนั้นด้วยเหตุอะไร.

บทว่า สามํ คือ ตนเอง. บทว่า สยมภิญฺาตํ ธรรมที่รู้ยิ่งด้วย ตนเอง คือรู้ด้วยญาณนั้นด้วยตนเอง. บทว่า อตฺตปจฺจกฺขํ ธมฺมํ ธรรม อันประจักษ์ด้วยตนเอง คือตนเห็นเอง. บทว่า น กสฺสจิ สทฺหหติ ไม่ เชื่อใครๆ คือไม่เชื่อผู้อื่น คือไม่ไปด้วยศรัทธา เพราะประจักษ์ด้วยตน เอง. ท่านกล่าวคำมีอาทิว่า อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา สังขารทั้งหลาย มีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ด้วยเห็นปัจจยาการ ๑๒. ท่านกล่าวคำมีอาทิว่า

 
  ข้อความที่ 104  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 104

อวิชฺขานิโรธา เพราะดับอวิชชาหมายถึงการกลับไปแห่งสังสารวัฏ. ท่าน กล่าวว่า อิทํ ทุกฺขํ นี้เป็นทุกข์เป็นต้น ด้วยเห็นอริยสัจ. ท่านกล่าวว่า อิเม อาสวา อาสวะเหล่านี้เป็นต้น โดยปริยายอย่างอื่นด้วยอำนาจกิเลส ด้วยอำนาจการเห็นสัจธรรม. ท่านกล่าวว่า อิเม ธมฺมา อภิญฺเยฺยา ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่งเป็นต้น ด้วยอำนาจการเห็นธรรมที่ควรรู้ยิ่ง ที่ควร กำหนดรู้ ที่ควรละและที่ควรทำให้แจ้ง. ท่านกล่าวคำมีอาทิว่า ฉนฺนํ ผสฺสายตนานํ ผัสสายตนะ ๖ ด้วยอำนาจการเห็น การเกิด การดับคุณโทษ และอุบายเครื่องสลัดออกไปแห่งสฬายตนะ ๖ ขันธ์ทั้งหลายท่านกล่าวด้วย อำนาจการเห็นมีอาทิอย่างนี้ ความเกิดและความเสื่อมแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ โดยอาการ ๒๕ อย่าง ความพอใจด้วยอำนาจฉันทราคะในขันธ์เหล่านั้น ความปรวนแปรและโทษของขันธ์เหล่านั้น นิพพานอันได้แก่การสลัดออก ไป ความเกิดมีอวิชชาเป็นต้น แห่งมหาภูตรูป ๔ และความดับในนิโรธ มีอวิชชาเป็นต้น. พึงทราบธรรมเหล่านี้โดยนัยที่กล่าวแล้วในที่นั้นๆ. บทว่า อมฺโคตธํ หยั่งลงสู่อมตะ ชื่อว่า อมตะ เพราะไม่มีความตายอัน ได้แก่มรณะ. ชื่อว่า อมตะ คือเป็นยาบ้าง เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อกิเลส. ชื่อว่า อมโตคธํ เพราะน้อมไปในอมตะนั้น. บทว่า อมตปรายนํ มี อมตะเป็นเบื้องหน้า คือมีอมตะดังกล่าวแล้วเป็นเบื้องหน้า เป็นที่ไป เป็น ทางไปเป็นที่พึ่ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อมตปรายนํ. บทว่า อมตปริโยสานํ มีอมตะเป็นที่สุด คือมีอมตะนั้นเป็นที่สุด เพราะสิ้นสุดสังสารวัฏแล้ว เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อมตปริโยสานํ.

บทว่า ลาภกมฺยา น สิกฺขติ บุคคลไม่ศึกษาเพราะอยากได้ลาภ คือไม่ศึกษาในพระสูตรเป็นต้น เพราะปรารถนาลาภ. บทว่า อวิรุทฺโธ

 
  ข้อความที่ 105  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 105

จ ตณฺหาย รเสสุ นานุคิชฺฌติ ไม่มีการทำร้ายและไม่ติดในรสแห่ง ตัณหา คือเป็นผู้ไม่มีวิโรธ เพราะไม่มีความโกรธและไม่ถึงความอยาก ในรสอันเป็นรากเหง้าแห่งตัณหาเป็นต้น.

บทว่า เกน นุ โข เพราะอะไรหนอ คือความเป็นผู้ตกไปในความ คิดถึงเหตุเพื่อจะได้ลาภ คือในการแสวงหาความริษยา. บทว่า ลาภาภิ- นิพฺพตฺติยา เพราะความเกิดขึ้นแห่งลาภ คือเพราะความเกิดขึ้นแห่ง ปัจจัย ๔ ด้วยความวิเศษ. บทว่า ลาภํ ปริปาเจนฺโต คือ เจริญงอกงาม ในปัจจัย. บทว่า อตฺตทมตฺถาย เพื่อฝึกตน คือเพื่อฝึกตนด้วยปัญญา อันสัมปยุตด้วยวิปัสสนา. บทว่า อตฺตสมตฺถาย เพื่อสงบตน คือเพื่อความ ตั้งมั่นแห่งตนด้วยปัญญาอันสัมปยุตด้วยสมาธิ. บทว่า อตฺตปรินิพฺพาปนตฺถาย เพื่อให้ตนปรินิพพาน คือเพื่อให้ตนปรินิพพานด้วยอนุปาทาปริ- นิพพานของตนด้วยญาณแม้สองอย่าง. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า อยู่ประพฤติ พรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อนิพพานด้วยอนุปาทาปรินิพพาน. บทว่า อปฺปิจฺฉญฺเว นิสฺสาย เพราะอาศัยความปรารถนาน้อย. ความ ปรารถนาน้อย ในบทนี้มี ๔ อย่าง คือ ความปรารถนาน้อยในปัจจัย ๑ ความปรารถนาน้อยในอธิคม ๑ ความปรารถนาน้อยในปริยัติ ๑ ความ ปรารถนาน้อยในธุดงค์ ๑. ความต่างกันแห่งความปรารถนาน้อยเหล่านั้น มีพิสดารแล้วในหนหลัง. ติดแน่นอยู่กับความปรารถนาน้อยนั้น. บทว่า สนฺตุฏฺิเยว ความสันโดษ คือติดแน่นอยู่กับความสันโดษ ๓ อย่างใน ปัจจัย ๔. ความแจ่มแจ้งแห่งสันโดษเหล่านั้นมีพิสดารแล้วในหนหลัง. บทว่า สลฺเลขญฺเว ได้แก่ ความขัดเกลากิเลส. บทว่า อิทมตฺถิตญฺเว ความเป็นผู้มีความต้องการด้วยกุศลนี้ คือความที่บุคคลนั้นมีความต้องการ

 
  ข้อความที่ 106  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 106

ด้วยกุศลธรรมเหล่านี้ จึงชื่อว่า อิทมตฺถิตา อาศัยติดแน่นอยู่กับความ เป็นผู้มีความต้องการด้วยกุศลนี้นั่นแล.

บทว่า รโส รส เป็นบทยกขึ้นแสดงถึงบทไขความ. บทว่า มูลรโส มีรสที่ราก คือมีรสเกิดขึ้นเพราะอาศัยรากอย่างใดอย่างหนึ่ง. แม้ในรส เกิดที่ลำต้น ก็มีนัยนี้แล. บทว่า อมฺพิลํ รสเปรี้ยว มีรสเปรี้ยวของ เปรียงเป็นต้น. บทว่า มธุรํ มีรสหวาน คือมีนมโคและเนยใสเป็นต้น มีรสหวานโดยส่วนเดียว. แต่น้ำผึ้งผสมกับรสฝาดเก็บไว้นานก็เฝื่อนได้. น้ำอ้อยผสมกับรสเค็มเก็บไว้นานก็มีรสปร่าได้. ส่วนเนยใส เก็บไว้นาน แม้ละสีและกลิ่นก็ไม่เสียรส เพราะฉะนั้นเนยใสนั้นจึงมีรสหวานส่วนเดียว. บทว่า ติตฺตกํ รสขม ได้แก่ ใบสะเดาเป็นต้น. บทว่า กฏุกํ รสเผ็ด ได้แก่ ขิง และพริกไทยเป็นต้น. บทว่า โลณิกํ รสเค็ม ได้แก่ เกลือ สินเธาว์เป็นต้น. บทว่า ขาริกํ รสปร่า ได้แก่มะอึกและหน่อไม้เป็นต้น. บทว่า ลมฺพิลํ๑ รสเฝื่อน ได้แก่ พุทรา มะขวิดและใบโลทเป็นต้น. บทว่า กสาวํ รสฝาด ได้แก่สมอไทยเป็นต้น. รสแม้ทั้งหมดเหล่านั้นท่าน ก็กล่าวไว้โดยเป็นวัตถุ. แต่ในที่นี้พึงทราบว่าท่านกล่าวถึงรสอันมีรสนั้นๆ เป็นวัตถุ โดยชื่อมีรสเปรี้ยวเป็นต้น. บทว่า สาทุ รสอร่อย คือรสที่ชอบ. บทว่า อสาทุ รสไม่อร่อย คือรสที่ไม่ชอบ. แม้ด้วยสองบทนี้ก็เป็นอัน มุ่งหมายถึงรสแม้ทั้งหมด. บทว่า สีตํ คือ มีรสเย็น. บทว่า อุณฺหํ คือ มีรสร้อน. รสนี้แม้จะต่างกันโดยประเภทมีรสที่รากเป็นต้น อย่างนี้ก็ไม่ ต่างกันโดยลักษณะเป็นต้น. รสทั้งหมดนี้มีการกระทบที่ลิ้นเป็นลักษณะ ความรู้สึกที่ลิ้นเป็นรส มีรสนั้นนั่นแลเป็นอาหาร เป็นเครื่องปรากฏ. บทว่า เต ชิวฺหคฺเคน รสคฺคานิ คือ สมณพราหมณ์เหล่านั้น เที่ยว


๑. ม. ลมฺพิกํ

 
  ข้อความที่ 107  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 107

แสวงหารสอันเลิศด้วยปลายชิวหาประสาท. บทว่า ปริเยสนฺตา คือ เที่ยว แสวงหา. บทว่า อาหิณฺฑนฺติ คือ เที่ยวไปในที่นั้นๆ. บทว่า เต อมฺพิลํ ลภิตฺวา อนนฺพิลํ ปริเยสนฺติ สมณพราหมณ์เหล่านั้น ได้รสเปรี้ยว ก็แสวงหารสไม่เปรี้ยว คือได้รสเปรี้ยวมีเปรียงเป็นต้น ก็แสวงหารสไม่ เปรี้ยว. เปลี่ยนไปแล้วๆ เล่าๆ อยู่ทั้งหมดอย่างนี้. บทว่า ปฏิสงฺขา โยนิโส อาหารํ อาหาเรติ ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้วจึงฉันอาหาร คือรู้ด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาแล้วจึงฉันโดยอุบายแยบคาย.

บัดนี้เพื่อทรงแสดงอุบายอันแยบคาย จึงตรัสคำเป็นอาทิว่า เนว ทวาย ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า เน หวาย คือ ไม่ฉันเพื่อเล่น. ในบทนั้น นักฟ้อน นักกระโดด เป็นต้น ชื่อว่า บริโภค เพื่อประโยชน์ในการละเล่น. จริงอยู่ การละเล่นอันได้แก่การฟ้อน การขับร้อง นักกลอน นักโศลก ของผู้บริโภคอาหารใด ย่อมประสบความสำเร็จยิ่งๆ ขึ้น ชนเหล่านั้น แสวงหาอาหารนั้นบริโภคโดยไม่ถูกต้องไม่เหมาะสม. แต่ภิกษุนี้มิได้ฉัน อย่างนั้น. บทว่า น มทาย ไม่ฉันเพื่อเมา คือไม่ฉันเพื่อความเจริญแห่ง ความเมาด้วยความถือตัวและความเมาแห่งบุรุษ. ในบทนั้น พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา ชื่อว่าบริโภคเพื่อความเมา. เพราะพระราชา และมหาอำมาตย์เหล่านั้นบริโภคอาหารประณีต มีอาหารที่มีรสกลมกล่อม เป็นต้น เพื่อต้องการความเจริญแห่งความเมาด้วยความถือตัว และความ เมาแห่งบุรุษ. แต่ภิกษุนี้ไม่ฉันอย่างนั้น. บทว่า น มณฺฑนาย คือ ไม่ ฉันเพื่อตกแต่งร่างกาย. ในบทนั้น สตรีที่อาศัยรูปเลี้ยงชีพและชาววังจึงดื่ม เนยใสและน้ำอ้อยเป็นต้น บริโภคอาหารละเอียดอ่อนและนุ่ม ด้วยหวังว่า

 
  ข้อความที่ 108  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 108

ข้อนิ้วมือของเราจักเรียบ ผิวพรรณในร่างกายจักผ่องใสด้วยอาหารอย่างนี้. แต่ภิกษุนี้ไม่ฉันอย่างนั้น. บทว่า น วิภูสนาย ไม่ฉันเพื่อประดับ คือไม่ ฉันเพื่อประดับเนื้อในร่างกาย. ในบทนั้น นักมวยอาชีพ นักมวยปล้ำและ คนใช้กำลังเป็นต้น ย่อมให้ร่างกายอิ่มเอิบด้วยเนื้อและปลาเป็นต้น อัน ละเอียดอ่อนด้วยหวังว่า เนื้อของเราจะบริบูรณ์ เพื่อทนต่อการชกต่อยดังนี้. แต่ภิกษุนี้ไม่ฉันเพื่อประดับแต่งเนื้อในร่างกายอย่างนั้น. บทว่า ยาวเทว เป็นการแสดงข้อกำหนดนิยมถึงประโยชน์ของการฉันอาหาร. บทว่า อิมสฺส กายสฺส ิติยา ฉันเพื่อดำรงกายนี้ คือฉันเพื่อดำรงกรชกายอันมีมหาภูตรูป ๔ นี้. อธิบายว่า นี้เป็นประโยชน์ในการฉันของภิกษุนั้น. บทว่า ยาปนาย เพื่อให้ร่างกายเป็นไป คือฉันเพื่อให้ชีวิตินทรีย์เป็นไป. บทว่า วิหึสุปรติยา เพื่อกำจัดความลำบาก คือความหิวเกิดขึ้นเพราะเหตุที่ไม่บริโภค ชื่อว่า ความลำบาก ฉันเพื่อสงบความลำบากนั้น. พฺรหฺมจริยานุคฺคหาย เพื่อ อนุเคราะห์แก่พรหมจรรย์ คือสิกขา ๓. คำสอนทั้งสิ้น ชื่อว่าพรหมจรรย์ ฉันเพื่ออนุเคราะห์แก่พรหมจรรย์นั้น. บทว่า อิติ เป็นคำไขของอุบาย แยบคาย ได้แก่ด้วยอุบายนี้. บทว่า ปุราณญฺจ เจทนํ ปฏิหงฺขามิ เราจักบำบัดเวทนาเก่าเสีย เวทนาเกิดเพราะเหตุไม่ฉัน ชื่อว่าเวทนาเก่า ฉันด้วยตั้งใจว่า เราจักบำบัดเวทนาเก่านั้นเสีย ดังนี้. บทว่า นวญฺจ เวทนํ น อุปฺปาเทสฺสามิ เราจักไม่ยังเวทนาใหม่ให้เกิดขึ้น เวทนาเกิด ขึ้น เพราะเหตุฉันมากเกินไป ชื่อว่าเวทนาใหม่ ฉันด้วยตั้งใจว่า เรา จักไม่ยังเวทนาใหม่นั้นให้เกิดขึ้นดังนี้. เวทนาเกิดขึ้นเพราะเหตุฉันแล้ว ชื่อว่าเวทนาใหม่ ฉันเพื่อเวทนาใหม่ที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น. บทว่า ยาตฺรา จ เม ภวิสฺสติ การดำเนินไปจักมีแก่เรา คือชีวิตของเราจัก

 
  ข้อความที่ 109  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 109

ดำเนินต่อไปได้. ในบทว่า อนวชฺชตา จ ความไม่มีโทษนี้ ได้แก่ มีโทษ และไม่มีโทษ. ในบทนั้น การแสวงหาไม่เป็นธรรม การรับไม่เป็นธรรม การบริโภคไม่เป็นธรรม นี้ชื่อว่ามีโทษ. การแสวงหาโดยธรรม รับโดย ธรรม พิจารณาแล้วบริโภค ชื่อว่าไม่มีโทษ. ภิกษุบางรูปทำสิ่งไม่มีโทษ ให้เป็นสิ่งมีโทษฉันเสียเกินพอดี เพราะนึกว่าไหนๆ เราก็ได้มาแล้ว ไม่สามารถจะให้อาหารนั้นย่อยได้ ย่อมลำบากด้วยต้องขึ้น และท้องเดิน เป็นต้น. ภิกษุทั้งหลายในวิหารทั้งสิ้น ขวนขวายในการเยียวยารักษา และแสวงหายาให้แก่ภิกษุนั้น เมื่อถูกถามว่า เป็นอะไรเล่า ก็บอกว่า ภิกษุรูปโน้นท้องขึ้น ย่อมนินทาติเตียนว่า ภิกษุรูปนี้ปกติก็เป็นอย่างนี้ ตลอดเวลา ช่างไม่รู้จักประมาณท้องของตนเสียบ้างเลย. ภิกษุนี้ชื่อว่า กระทำสิ่งไม่มีโทษ ให้เป็นสิ่งมีโทษ. ภิกษุไม่ทำอย่างนั้น ฉันด้วยคิดว่า ความไม่มีโทษจักมีแก่เรา. แม้ในบทว่า ผาสุวิหาโร จ ความอยู่สบายนี้ ก็มีทั้งอยู่สบาย และมีทั้งอยู่ไม่สบาย. ในบทนั้น การบริโภคของพราหมณ์ ๕ คนเหล่านี้คือ อาหรหัตถกะ ๑ อลังสาฏกะ ๑ ตัดรวัฏฏกะ ๑ กากมาสกะ ๑ ภุตตวมิตกะ ๑ ชื่อว่าอยู่ไม่สบาย. ในพราหมณ์ ๕ คนเหล่านั้น พราหมณ์ ชื่อว่าอาหรหัตถกะ บริโภคมากไม่สามารถจะลุกขึ้นตามธรรมดาของตนได้ พูดว่า ช่วยฉุดมือที. พราหมณ์ชื่อว่าอลังสาฏกะ เพราะค่าที่ตนมีท้องพลุ้ย เกินไป แม้ลุกขึ้นได้ก็ไม่อาจนุ่งผ้าสาฏกได้. พราหมณ์ชื่อว่าตัตรวัฏฏกะ ไม่สามารถจะลุกขึ้นได้กลิ้งไปในที่นั้นๆ นั่นเอง. พราหมณ์ชื่อว่ากากมาสกะ บริโภคจนล้นปากโดยที่กาสามารถจิกกินได้. พราหมณ์ชื่อว่าภุตตวมิตกะ ไม่อาจให้อาหารอยู่ในปากได้คายเสียในที่นั้นๆ เอง. ภิกษุไม่กระทำอย่าง นี้ ฉันด้วยคิดว่า ความอยู่สบายจักมีแก่เรา. ความเป็นผู้มีท้องเหลือจาก

 
  ข้อความที่ 110  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 110

อาหารสี่ห้าคำ ชื่อว่าอยู่สบาย. อิริยาบถ ๔ ของผู้บริโภคพอดีๆ แล้ว ดื่มน้ำย่อมเป็นไปด้วยความสุข. เพราะฉะนั้น พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร จึงกล่าวไว้อย่างนี้ว่า

บริโภคเหลือไว้สี่ห้าคำแล้วพึงดื่มน้ำ เป็นความเพียง พอสำหรับอยู่สบาย ของภิกษุผู้ทำความเพียร.

อนึ่ง พึงประมวลองค์ทั้งหลายไว้ในที่นี้. ไม่ฉันเพื่อเล่นเป็นองค์หนึ่ง ไม่ฉันเพื่อเมาเป็นองค์หนึ่ง ไม่ฉันเพื่อตกแต่งเป็นองค์หนึ่ง ไม่ฉันเพื่อ ประดับเป็นองค์หนึ่ง ฉันเพื่อดำรงกายนี้ เพื่อให้ร่างกายนี้เป็นไปเป็น องค์หนึ่ง ฉันเพื่อกำจัดความลำบากเป็นองค์หนึ่ง ฉันเพื่ออนุเคราะห์ แก่พรหมจรรย์อย่างเดียวเท่านั้นเป็นองค์หนึ่ง ด้วยมนสิการว่า เราจัก บำบัดเวทนาเก่าเสีย จักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้นเป็นองค์หนึ่ง ความ ดำเนินไปจักมีแก่เราเป็นองค์หนึ่ง. ในบทว่า อนวชฺชตา จ ผาสุวิหาโร จ ความไม่มีโทษ ความอยู่สบายนี้เป็นอานิสงส์ของการฉัน. พระมหาสิวเถระ กล่าวไว้ว่า องค์สี่ที่ห้ามควรอยู่ข้างล่าง ควรประมวลองค์แปดไว้ข้างบน. ในองค์แปดนั้น ฉันเพื่อดำรงกายนี้เป็นองค์หนึ่ง ฉันเพื่อให้ร่างกาย เป็นไปเป็นองค์หนึ่ง ฉันเพื่อกำจัดความลำบากเป็นองค์หนึ่ง ฉัน เพื่ออนุเคราะห์แก่พรหมจรรย์เป็นองค์หนึ่ง ด้วยมนสิการว่า เราจัก บำบัดเวทนาเก่าเป็นองค์หนึ่ง เราจักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้นเป็นองค์ หนึ่ง ความดำเนินไปจักมีแก่เราเป็นองค์หนึ่ง ความไม่มีโทษเป็นองค์ หนึ่ง. ความอยู่สบายเป็นอานิสงส์ของการฉัน. ภิกษุฉันอาหารประกอบ ด้วยองค์ ๘ อย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 111  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 111

บทว่า อุเปกฺขโก มีอุเบกขา คือเป็นผู้ประกอบด้วยฉฬังคุเบกขา. บทว่า สโต มีสติ ได้แก่ประกอบด้วยสติในกายานุปัสสนาเป็นต้น.

อะไรชื่อว่าธรรม คืออุเบกขามีองค์ ๖ ในบทว่า อุเปกฺขโกติ ฉฬงฺคุเปกฺขา สมนฺนาคโต นี้ คือญาณเป็นต้น. เมื่อกล่าวว่า ญาณ ก็ได้แก่กิริยาญาณสัมปยุต ๔. เมื่อกล่าวว่ามีธรรมเป็นเครื่องอยู่เนืองๆ ก็ได้แก่มหาจิต ๘ ดวง. เมื่อกล่าวว่า ไม่มีกำหนัดและขัดเคือง ก็ได้แก่ จิต ๑๐ ดวง. โสมนัส ได้แก่อาเสวนะ. บทว่า จกฺขุนา รูปํ ทิสฺวา เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว คือเห็นรูปด้วยจักขุวิญญาณ สามารถเห็นรูปที่ได้ ด้วยสิ่งที่ชื่อว่าจักษุโดยเหตุ. แต่โบราณาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า จักษุย่อม ไม่เห็นรูปเพราะไม่มี แม้จิตก็ย่อมไม่เห็นรูป เพราะไม่มีจักษุ แต่ย่อม เห็นได้ด้วยจิตอัน มีประสาทเป็นวัตถุกระทบอารมณ์ทางทวาร ก็ในฐานะ เช่นนี้ ชื่อว่าเป็นการกล่าวรวมกัน ดุจในประโยคมีอาทิว่า บุรุษยิงด้วยธนู ดังนี้ เพราะฉะนั้น ความในบทนี้จึงมีว่า เห็นรูปด้วยจักขุวิญญาณดังนี้ บทว่า เนว สุมโน โหติ ไม่ดีใจ คือไม่มีโสมนัสด้วยเกิดโลภะ ด้วยเกิด ฉันทราคะ. บทว่า น ทุมฺมโน ไม่เสียใจ คือไม่มีจิตประทุษร้าย ด้วยเกิด ปฏิฆะ. บทว่า อุเปกฺขโก โหติ วางเฉย คือเห็นเพียงเกิด. เป็นผู้ไม่ตกไป ในฝักฝ่ายทำอิริยาบถให้ปกติ. บทว่า สโต สมฺปชาโน คือ มีสติสมบูรณ์ ด้วยญาณ. บทว่า มนาปํ นาภิคิชฺฌติ ไม่ติดใจ คือไม่อยากไม่ปรารถนา อารมณ์ที่น่าปรารถนาอันเจริญใจ. บทว่า นาภิหํสติ คือ ไม่ยินดี. บทว่า น ราคํ ชเนติ ไม่ให้ราคะเกิด คือไม่เกิดความกำหนัดในอารมณ์ที่น่า ปรารถนานั้น. บทว่า ตสฺส ิโตว กาโย โหติ กายของบุคคลนั้นก็ตั้งอยู่ คือกายมีจักษุเป็นต้นของพระขีณาสพนั้นก็ตั้งอยู่ คือไม่หวั่นไหว เพราะ

 
  ข้อความที่ 112  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 112

เว้นจากความหวั่นไหวได้. บทว่า อมนาปํ ไม่ชอบใจ ได้แก่ อารมณ์ที่ ไม่น่าปรารถนา. บทว่า น มงกุ โหต ไม่เป็นผู้เก้อ คือไม่เสียใจ. บทว่า อปฺปติฏฺิตจิตฺโต ไม่โกรธ คือไม่มีใจตั้งอยู่ด้วยความโกรธ. บทว่า อาลีนนนโส คือ ไม่หดหู่. บทว่า อพฺยาปนฺนเจตโส ไม่พยาบาท คือมี จิตเว้นจากพยาบาท. บทว่า รชนีเย น รชฺชติ ไม่กำหนัดในอารมณ์เป็น ที่ตั้งแห่งความกำหนัด คือไม่เกิดราคะในวัตถุเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด. บทว่า โทสนีเย น ทุสฺสติ ไม่ขัดเคืองในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง คือไม่เกิดโทสะในวัตถุอันทำให้เกิดโทสะ. บทว่า โมหนีเย น มุยฺหติ ไม่หลงในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความหลง คือไม่ให้โมหะเกิดในวัตถุเป็นที่ ตั้งแห่งโมหะ. บทว่า โกปนีเย น กุปฺปติ ไม่ขัดเคืองในอารมณ์เป็นที่ตั้ง แห่งความขัดเคือง คือไม่หวั่นไหวในวัตถุเป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ. บทว่า มทนีเย น มชฺชติ ไม่มัวเมาในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา คือไม่ จมลงในวัตถุเป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา. บทว่า กิเลสนีเย น กิลิสฺสติ ไม่เศร้าหมอง คือไม่เข้าไปเดือดร้อนในวัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งความเข้าไป เดือดร้อน. บทว่า ทิฏฺเ ทิฏฺมตฺโต เป็นเพียงแต่เห็นในรูปที่เห็น คือ เป็นเพียงแต่เห็นในรูปารมณ์ด้วยจักขุวิญญาณ. บทว่า สุเต สุตมตฺโต เป็นแต่เพียงได้ยินในเสียงที่ได้ยินในสัททายตนะด้วยโสตวิญญาณ. บทว่า มุเต มุตมตฺโต เป็นเพียงแต่ทราบในสิ่งที่ทราบ คือเป็นเพียงแต่ยึดถือใน สิ่งที่ถึงแล้วยึดถือไว้ด้วยฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ และกายวิญญาณ. บทว่า วิญฺาเต วิญฺาตมตฺโต เป็นแต่เพียงรู้แจ้งในธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง คือเป็นแต่เพียงรู้ในธรรมารมณ์ที่รู้ด้วยมโนวิญญาณ. บทว่า ทิฏฺเ น ลิมฺปติ ไม่ติดในรูปที่เห็น คือไม่ติดในรูปารมณ์ ที่เห็นแล้วด้วยจักขุ-

 
  ข้อความที่ 113  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 113

วิญญาณ ด้วยการติดด้วยตัณหาและทิฏฐิ. บทว่า ทิฏฺเ อนุปโย ไม่มี ตัณหาในรูปที่เห็น คือไม่มีตัณหาในรูปารมณ์นั้นเอง. บทว่า อนปาโย ได้แก่ ไม่มีจิตประทุษร้าย. บทว่า สํริชฺชติ ย่อมปรากฏ คือย่อมเข้าไป ได้. บทว่า ปสฺสติ คือ แลดู. บทว่า ฉนฺทราโค ความกำหนัดด้วย ความพอใจ คือความเยื่อใย. บทว่า รูปารามํ ชอบรูปารมณ์ ชื่อว่า รูปารามะ เพราะมีรูปเป็นที่ชอบ. บทว่า รูปรตํ คือ ยินดีในรูป. บทว่า รูปสมฺมุทิตํ คือ ชื่นชมในรูป.

บทว่า ทนฺตํ นยนฺติ สมิตึ ชนทั้งหลายย่อมนำพาหนะที่ฝึกแล้วไปสู่ ที่ประชุม คือชนทั้งหลายเมื่อไปท่ามกลางมหาชนในสวน สนามกีฬาเป็นต้น ย่อมเทียมโคหรือม้าที่ฝึกดีแล้วที่ยาน แล้วนำไป. บทว่า ราชา ความว่า แม้พระราชาเมื่อจะเสด็จไปสู่ที่เช่นนั้น ก็ทรงขึ้นพาหนะที่ฝึกดีแล้วนั่นแล.

บทว่า มนนุสฺเสสุ ความว่า บุคคลผู้ฝึกฝนแล้วด้วยอริยมรรค ๔ หมดพยศเป็นผู้ประเสริฐสุดแม้ในหมู่มนุษย์. บทว่า โยติวากฺยํ อดกลั้น ด้วยคำที่ล่วงเกิน ความว่า บุคคลใดอดกลั้น ไม่โต้ตอบ ไม่เดือดร้อน ต่อคำพูดล่วงเกินเห็นปานนั้น แม้เขาพูดอยู่บ่อยๆ บุคคลเห็นปานนี้ ฝึกฝนดีแล้วชื่อว่าผู้ประเสริฐที่สุด. บทว่า อสฺสตรา ม้าอัสดร คือม้าที่เกิด จากแม่ม้า พ่อลา. บทว่า อาชานียา ม้าอาชาไนย คือม้าสามารถรู้ เหตุการณ์ที่สารถีฝึกม้าให้ทำได้เร็วพลัน. บทว่า สินฺธวา ได้แก่ ม้าที่ เกิดในแคว้นสินธพ. บทว่า มหานาคา ช้างใหญ่ คือช้างชาติกุญชร. บทว่า อตฺตทนฺโต บุคคลผู้ฝึกตนแล้ว อธิบายว่า ม้าอัสดรก็ดี ม้าสินธพก็ดี ช้างชาติกุชรก็ดี ที่เขาฝึกแล้วเป็นสัตว์ประเสริฐ ที่เขาไม่ฝึกก็เป็นสัตว์

 
  ข้อความที่ 114  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 114

ไม่ประเสริฐ แต่บุคคลใดฝึกตนดีแล้ว เพราะฝึกตนด้วยธรรมคือมรรค ๔ หมดพยศ บุคคลนี้เป็นผู้ประเสริฐกว่านั้น คือยิ่งกว่าสัตว์ทั้งหมดเหล่านั้น.

บทว่า น หิ เอเตหิ ยาเนหิ อันเป็นทิศที่ไม่เคยไปด้วยยานเหล่านั้น ความว่า บุคคลใดๆ ไม่พึงไปสู่ทิศ คือนิพพานที่เรียกว่า อคตะ เพราะ เป็นทิศไม่เคยไปแม้แต่ฝันด้วยยานมียานช้างเป็นต้น เหมือนบุคคลผู้ฝึกตน แล้วมีตนฝึกด้วยการฝึกอินทรีย์ในเบื้องต้น มีตนฝึกดีแล้วด้วยอริยมรรคภาวนาในเบื้องปลาย หมดพยศ มีปัญญา ย่อมไปสู่ทิศที่ไม่เคยไป คือถึง ภูมิที่ฝึกตนแล้ว (พระอรหันต์) เพราะฉะนั้นการฝึกตนนั้นแลจึงประเสริฐ. บทว่า วิธาสุ น วิกมฺปนฺติ ไม่หวั่นไหวในมานะทั้งหลาย คือไม่หวั่น ไหวในมานะมีอาทิว่า เราเป็นผู้ประเสริฐกว่าผู้ที่ประเสริฐ. บทว่า วิปฺปมุตฺตา ปุนพฺภวา เป็นผู้พ้นขาดแล้วจากภพใหม่ คือเป็นผู้พ้น ด้วยดีแล้วจากการเกิดบ่อยๆ โดยการถือปฏิสนธิในภพใหม่. บทว่า ทนฺตภูมิ อนุปฺปตฺตา เป็นผู้บรรลุถึงภูมิที่ฝึกแล้ว คือบรรลุถึงภูมิคือ อรหัตผล อันเป็นที่ฝึกโดยส่วนเดียว. บทว่า เต โลเก วิชิตาวิโน พระอรหันต์เหล่านั้นเป็นผู้ชนะแล้วในโลก คือพระอรหันต์เหล่านั้นเป็นผู้ ชื่อว่ามีชัยชนะอย่างวิเศษในสัตวโลก.

ก็เพราะผู้มีอินทรีย์อบรมแล้ว ไม่มีภัย ไม่ผิดปกติ ชื่อว่าเป็นผู้ฝึกตน แล้ว ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงความนั้น จึงตรัสคาถาว่า ยสฺสินฺทฺริยานิ ดังนี้เป็นต้น. บทนั้นมีความดังต่อไปนี้ ผู้ใดยกอินทรีย์ หกมีจักขุนทรีย์เป็นต้นขึ้นสู่พระไตรลักษณ์ มีลักษณะที่ไม่เที่ยงเป็นต้น ด้วยโคจรภาวนา (การเจริญอารมณ์) แล้วให้ยึดถือสติและสัมปชัญญะ ด้วยวาสนาภาวนา (บุญหรือบาปที่อบรมมา) แล้วจึงอบรมอินทรีย์เหล่านั้น

 
  ข้อความที่ 115  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 115

ทั้งภายนอกอย่างนี้ ด้วยโคจรภาวนาในภายใน. บทว่า สพฺพโลเก ใน โลกทั้งปวง อธิบายว่า บุคคลรู้แจ้งแทงตลอดโลกนี้ และโลกอื่น คือ ขันธโลกอันสืบต่อจากโลกของตนและคนอื่น อย่างนี้ว่า ความบกพร่อง หรือมีความบกพร่องของอินทรีย์ทั้งหลายในที่ใดๆ อบรมอินทรีย์ในที่นั้นๆ ด้วยการไม่เพ่งเล็งเป็นต้น แล้วประสงค์จะตาย ตายอย่างผู้ฝึกตนแล้วหวัง จะตาย รอคอยเวลาสิ้นชีวิต ไม่กลัวต่อความตาย. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า

เราไม่กลัวความตาย เราไม่มีความใคร่ในชีวิต เรา ไม่หวังมรณะ ไม่หวังชีวิต เรารอคอยความตาย เหมือน ลูกจ้างรอรับของไม่มีพิษฉะนั้น.

บทว่า ภาวิโต ส ทนฺโต คือ ผู้นั้นมีอินทรีย์อบรมแล้วฝึกตนแล้ว. บทว่า นิสฺสยา นิสัย คือตัณหานิสัยและทิฏฐินิสัย. บทว่า ตฺวา ธมฺมํ รู้ธรรม คือรู้ธรรมโดยอาการทั้งหลาย มีความไม่เที่ยงเป็นต้น. บทว่า อนิสฺสิโต คือ อันนิสัยสองอย่างนั้นไม่อาศัยแล้วอย่างนี้. ท่านแสดงไว้ว่า ไม่มีนิสัย คือตัณหาและทิฏฐินอกจากรู้ธรรม. บทว่า ภวาย วิภวาย วา ในภพ หรือในความปราศจากภพ คือ สัสสตทิฏฐิ หรืออุจเฉททิฏฐิ. การขยายความแห่งคาถานี้ง่าย.

บทว่า ตํ พฺรูมิ อุปสนฺโต เรากล่าวบุคคลนั้นว่า เป็นผู้เข้าไปสงบ คือเรากล่าวบุคคลนั้นดังที่กล่าวไว้แล้วในคาถาหนึ่งๆ ว่า เป็นผู้สงบ. บทว่า อตริ โส วิสตฺติกํ บุคคลนั้นข้ามตัณหาอันชื่อว่า วิสัตติกา คือ ได้ข้ามตัณหาใหญ่อันชื่อว่า วิสัตติกา เพราะมีความอยากเป็นต้นนี้ได้แล้ว.

 
  ข้อความที่ 116  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 116

บทว่า อตฺตโน ทิฏฺิยา ราโค อภิชฺฌากายคนฺโถ ความกำหนัด ในทิฏฐิของตน ชื่อว่า กิเลสเครื่องร้อยรัดทางกายคืออภิชฌา ความว่า ความกำหนัด กล่าวคือความยินดีในทิฏฐิที่คนยึดถือ ชื่อว่า กายคันถะ (กิเลสเครื่องร้อยรัดทางกาย) คืออภิชฌา. บทว่า ปรวาเทสุ อาฆาโต อปฺปจฺจโย ความอาฆาต ความไม่ยินดีในวาทะของคนอื่น คือความโกรธ และอาการแสดงความไม่ยินดีในวาทะและการโต้วาทะของคนเหล่าอื่น ชื่อ ว่า กายคันถะ คือพยาบาท. บทว่า อตฺตโน สีลํ วา วตํ วา ศีลหรือ พรตของตน คือ ศีลอันได้แก่การเว้นจากเมถุนที่ตนยึดถือไว้ หรือพรต มีการประพฤติพรตเยี่ยงโคเป็นต้น. บทว่า สีลพฺพตํ วา หรือศีลและ พรตทั้งสองนั้น. บทว่า ปรามาโส การยึดถือ คือยึดถือจากอื่นด้วยคำ มีอาทิว่า ความบริสุทธิ์ย่อมมีด้วยสิ่งนี้. บทว่า อตฺตโน ทิฏฺิ อิทํ- สจฺจาภินิเวโส กายคนฺโถ ทิฏฐิของตน คือความถือมั่นว่าสิ่งนี้จริง ถือทิฏฐิที่คนยึดถือ ชื่อว่า กายคันถะ คือความยึดถือโดยไม่แยบยลว่า สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเป็นโมฆะ ชื่อว่ากายคันถะ คือถือมั่นว่าสิ่งนี้จริง. บทว่า คนฺถา ตสฺส น วิชฺชนฺติ กิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งหลาย ย่อมไม่ มีแก่บุคคลนั้น ได้แก่ทิฏฐิคันถะทั้งสองย่อมไม่มีแก่พระขีณาสพนั้นด้วย โสดาปัตติมรรค. พยาปาทกายคันถะ ย่อมไม่มีด้วยอนาคามิมรรค. อภิชฌากายคันถะ ย่อมไม่มีด้วยอรหัตมรรค.

บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงสรรเสริญผู้เข้าไปสงบนั้น จึง ตรัสคำมีอาทิว่า น ตสฺส ปุตฺตา บุตรทั้งหลายย่อมไม่มีแก่บุคคลนั้น ดังนี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า ปุตฺตา ได้แก่ บุตร ๔ จำพวก มีบุตรเกิดแต่ตน

 
  ข้อความที่ 117  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 117

เป็นต้น. อนึ่ง ในบทนี้ พึงทราบว่า ท่านกล่าวถึงกำหนดบุตรโดยชื่อว่า บุตรเป็นต้น. ก็บุตรเหล่านั้นย่อมไม่มีแก่บุคคลนั้น อธิบายว่า เพราะไม่มี บุตรเหล่านั้น บุตรเป็นต้นจึงไม่มี.

บทว่า อตฺตา ความว่า สัสสตทิฏฐิที่ถือว่า อัตตามีอยู่ย่อมไม่มี. บทว่า นิรตฺตา ความว่า อุจเฉททิฏฐิที่ถือว่าขาดสูญ. บทว่า คหิตํ นตฺถิ ความว่า สิ่งที่ควรยึดถือย่อมไม่มี. บทว่า มุญฺจิตพฺพํ นตฺถิ ความว่า สิ่งที่ควร ปล่อยวางย่อมไม่มี. บทว่า ยสฺส นตฺถิ คหิตํ ได้แก่ สิ่งที่ยึดถือด้วย อำนาจตัณหา และทิฏฐิ ย่อมไม่มีแก่บุคคลใด. บทว่า ตสฺส นตฺถิ มุญฺจิตพฺพํ สิ่งที่ควรปล่อยวางก็ไม่มีแก่บุคคลนั้น. บทว่า คาหมุญฺจนํ สมติกฺกนฺโต ความว่า พระอรหันต์ก้าวล่วงความถือและปล่อยวางแล้ว. บทว่า วุฑฺฒิปริหานิวีติวตฺโต ความว่า พระอรหันต์ล่วงเลยความเจริญและ ความเสื่อมแล้ว.

บทว่า เยน นํ วชฺชุํ ปุถุชฺชนา อโถ สมณพฺราหฺมณา พวก ปุถุชนทั้งพวกสมณะและพราหมณ์ พึงกล่าวโดยโทษใด คือพวกปุถุชน แม้เทวดาและมนุษย์ทั้งหมดรวมทั้งสมณพราหมณ์ พึงกล่าวกะเขาว่า เขา เป็นผู้กำหนัดแล้วก็ดีเป็นผู้ประทุษร้ายแล้วก็ดี ด้วยโทษมีราคะเป็นต้นใด. บทว่า ตํ ตสฺส อปุรกฺขตํ โทษนั้นไม่ห้อมล้อมบุคคลนั้น คือโทษมี ราคะเป็นต้นนั้นไม่ห้อมล้อมบุคคลผู้เป็นพระอรหันต์นั้น. บทว่า ตสฺมา วาเทสุ เนญฺชติ เพราะฉะนั้น บุคคลนั้นย่อมไม่หวั่นไหว ในเพราะ วาทะทั้งหลาย คือไม่หวั่นไหวในเพราะคำพูดนินทา. บทว่า เนญฺชติ เป็นบทยกขึ้นแสดงบทขยายความ. บทว่า น อิญฺชติ คือ ไม่ทำความ หวั่นไหว. บทว่า น จลติ คือ ไม่น้อมไปในเพราะวาทะนั้น. บทว่า

 
  ข้อความที่ 118  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 118

น เวธติ ได้แก่ ไม่ดิ้นรน เพราะไม่สามารถจะให้หวั่นไหวได้. บทว่า น ปเวธติ คือ ไม่สะท้าน. บทว่า น สมฺปเวธติ คือ ไม่สะเทือน.

บทว่า น อุสฺเสสุ วทเต ไม่กล่าวในความเป็นผู้สูงกว่าเขา คือ ทำตนในความวิเศษไว้ภายใน แล้วไม่กล่าวดูหมิ่นว่า เราเป็นผู้วิเศษกว่า เขา. ในสองบทนอกนั้นก็มีนัยนี้.

บทว่า กปฺปนฺเนติ อกปฺปิโย คือ เป็นผู้ไม่มีความกำหนด ย่อมไม่ถึง ความกำหนดสองอย่าง. เพราะเหตุไร. เพราะท่านกล่าวไว้ว่า เป็นผู้ไม่มี ความกำหนด คือละความกำหนดได้แล้ว. การขยายความคาถานี้ง่าย. บทว่า สกํ ของตน คือยึดถือว่า ของเรา. บทว่า อสตา จ น โสจติ เมื่อสิ่งที่ถือว่า ของตนไม่มี ย่อมไม่เศร้าโศก คืออวิชชาและ มานะเป็นต้น ไม่มี ย่อมไม่เศร้าโศก. บทว่า ธมฺเมสุ จ น คจฺฉติ ไม่ถึงความลำเอียงในธรรมทั้งหลาย คือไม่ถึงความลำเอียงด้วยอำนาจ ฉันทาคติเป็นต้นในธรรมทั้งปวง. บทว่า สเว สนฺโตติ วุจฺจติ คือ บุคคล นั้นแลเป็นผู้สูงสุดกว่าคน เรียกว่า เป็นผู้สงบ. การขยายความคาถาแม้นี้ ก็ง่าย.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงจบเทศนาด้วยธรรมเป็นยอดคือพระอรหัต. เมื่อจบเทศนา เทวดาเสนโกฏิได้บรรลุพระอรหัต. การนับจำนวนพระโสดาบันเป็นต้นไม่มี.

จบอรรถกถาปุราเภทสุตตนิเทสที่ ๑๐