พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

กลหวิวาทสุตตนิทเทสที่ ๑๑

 
บ้านธัมมะ
วันที่  22 พ.ย. 2564
หมายเลข  40772
อ่าน  423

[เล่มที่ 66] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 119

อัฏฐกวัคคิกะ

กลหวิวาทสุตตนิทเทสที่ ๑๑


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 66]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 119

กลหวิวาทสุตตนิทเทสที่ ๑๑

[๔๔๒] (๑) (พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า) ความทะเลาะ ความวิวาท ความรำพัน ความโศก ความตระหนี่ ความถือตัว ความดูหมิ่น และคำพูดส่อเสียด มีมาแต่อะไรขอเชิญพระองค์ตรัสบอกว่า กิเลสเหล่านั้นมีมาแต่อะไร?

ว่าด้วยความทะเลาะวิวาท

[๔๔๓] ชื่อว่า ความทะเลาะ ในคำว่า ความทะเลาะ ความวิวาท มีมาแต่อะไร? ความว่า ความทะเลาะและความวิวาททั้งสองนั้นเป็นอย่างเดียวกัน โดยอาการเดียวกัน คือ ความทะเลาะใด ความทะเลาะนั้นเป็นความวิวาท ความวิวาทใด ความวิวาทนั้นเป็นความทะเลาะ อีกอย่างหนึ่ง โดยอาการอื่น ความวิวาทที่เป็นเบื้องต้นแห่งความทะเลาะ เรียกว่า ความวิวาท กล่าวคือแม้พระราชาก็วิวาทกับพวกพระราชา แม้พวกกษัตริย์ก็วิวาทกับพวกกษัตริย์ แม้พวกพราหมณ์ก็วิวาทกับพวกพราหมณ์ แม้พวกคฤหบดีก็วิวาทกับพวกคฤหบดี แม้มารดาก็วิวาทกับบุตร แม้บุตรก็วิวาทกับมารดา แม้บิดาก็วิวาทกับบุตร แม้บุตรก็วิวาทกับบิดา แม้พี่น้องชายก็วิวาทกับพี่น้องหญิง แม้พี่น้องหญิงก็วิวาทกับพี่น้องชาย แม้สหายก็วิวาทกับสหาย นี้ชื่อว่า ความวิวาท.

ความทะเลาะเป็นไฉน? พวกบุคคลผู้ครองเรือนขวนขวายหาโทษกัน ก็ทำความทะเลาะกันด้วยกาย ด้วยวาจา พวกบรรพชิตต้องอาบัติอยู่ก็ทำความทะเลาะกันด้วยกาย ด้วยวาจา นี่ชื่อว่า ความทะเลาะ.


๑. เลขข้อในบาลีเล่ม ๒๙ ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๔๔๑ ซึ่งซ้ำกับเลขข้อสุดท้ายของสูตรที่ ๑๐ แต่ในที่นี้เรียงตามเป็นจริง แก้เป็น ๔๔๒ ในจนจบข้อ ๙๘๗ ในบาลี ซึ่งในที่นี้จะเป็นข้อ ๙๘๘

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 120

คำว่า ความทะเลาะ ความวิวาท มีมาแต่อะไร? ความว่า พระพุทธนิมิตสอบถาม ขอให้ตรัสบอก เชิญให้ทรงแสดง ขอให้ ประสาท ซึ่งมูล เหตุ นิทาน เหตุเกิด แดนเกิด สมุฏฐาน อาหาร อารมณ์ ปัจจัย สมุทัยแห่งความทะเลาะและ.ความวิวาทว่า ความทะเลาะ และความวิวาทมีมาคือเกิด เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏ มาแต่อะไร คือ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดงเกิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความทะเลาะ ความวิวาท มีมาแต่อะไร.

ว่าด้วยความรำพัน

[๔๔๔] ชื่อว่า ความรำพัน ในคำว่า ความรำพัน ความโศก ความตระหนี่ ความว่า ความเพ้อถึง ความรำพัน กิริยาที่เพ้อถึง กิริยา ที่รำพันถึงความเป็นผู้เพ้อถึง ความเป็นผู้รำพันถึง ความพูดเพ้อ ความ บ่นเพ้อ ความพร่ำเพ้อ อาการพร่ำเพ้อ ความเป็นผู้พร่าเพ้อ ของตน ผู้ถูกความเสื่อมแห่งญาติกระทบเข้าบ้าง ที่ถูกความเสื่อมเพราะโรคกระทบ เข้าบ้าง ที่ถูกความเสื่อมแห่งทิฏฐิกระทบเข้าบ้าง ที่ประจวบกับความ เสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่งบ้าง ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบ เข้าบ้าง.

ว่าด้วยความโศก

ชื่อว่า ความโศก คือ ความเศร้าโศก กิริยาเศร้าโศก ความ เป็นผู้เศร้าโศก ความเศร้าโศกภายใน ความตรมตรอมในภายใน ความ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 121

เดือดร้อนในภายใน ความเร่าร้อนในภายใน ความตรอมเตรียมแห่งจิต ความโทมนัส ลูกศรคือความเศร้าโศก ของคนที่ถูกความเสื่อมแห่งญาติ กระทบเข้าบ้าง ที่ถูกความเสื่อมแห่งโภคสมบัติกระทบเข้าบ้าง ที่ถูกความ เสื่อมเพราะโรคกระทบเข้าบ้าง ที่ถูกความเสื่อมแห่งศีลกระทบเข้าบ้าง ที่ ถูกความเสื่อมแห่งทิฏฐิกระทบเข้าบ้าง ที่ประจวบกับความเสื่อมอย่างใด อย่างหนึ่งบ้าง ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบเข้าบ้าง.

ว่าด้วยความตระหนี่

ชื่อว่า ความตระหนี่ ได้แก่ ความตระหนี่ ๕ ประการ คือ ความ ตระหนี่อาวาส ความตระหนี่สกุล ความตระหนี่ลาภ ความตระหนี่วรรณะ ความตระหนี่ธรรม ความตระหนี่เห็นปานนี้ กิริยาที่ตระหนี่ ความเป็น ผู้ประพฤติตระหนี่ ความเป็นผู้ปรารถนาต่างๆ ความเหนียวแน่น ความ เป็นผู้มีจิตหดหู่เจ็บร้อนในการให้ ความที่จิตอันใครๆ ไม่เชื่อถือได้ใน การให้ นี้เรียกว่า ความตระหนี่. อีกอย่างหนึ่ง ความตระหนี่ขันธ์ก็ดี ความตระหนี่ธาตุก็ดี ความตระหนี่อายตนะก็ดี นี้เรียกว่า ความตระหนี่. ความมุ่งจะเอา ก็เรียกว่าความตระหนี่. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความรำพัน ความโศก ความตระหนี่.

ว่าด้วยความถือตัว

[๔๔๕] ชื่อว่า ความถือตัว ในคำว่า ความถือตัว ความดูหมิ่น และความพูดส่อเสียด พึงทราบอธิบายดังนี้ บุคคลบางคนในโลกนี้ ยังความถือตัวให้เกิดโดยชาติบ้าง โดยโคตรบ้าง โดยความเป็นบุตรแห่ง

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 122

สกุลบ้าง โดยความเป็นผู้มีรูปงามบ้าง โดยทรัพย์บ้าง โดยการปกครอง บ้าง โดยหน้าที่การงานบ้าง โดยหลักแหล่งแห่งศิลปศาสตร์บ้าง โดย วิทยฐานะบ้าง โดยการศึกษาบ้าง โดยปฏิภาณบ้าง โดยวัตถุอย่างใด อย่างหนึ่งบ้าง.

ว่าด้วยความดูหมิ่น

ชื่อว่า ความดูหมิ่น คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมดูหมิ่นผู้อื่น โดยชาติบ้าง โดยโคตรบ้าง ฯลฯ โดยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่งบ้าง.

ว่าด้วยการพูดส่อเสียด

ชื่อว่า ความพูดส่อเสียด คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มี วาจาส่อเสียด คือฟังจากข้างนี้แล้วไปบอกข้างโน้น เพื่อทำลายคนหมู่นี้ หรือฟังจากข้างโน้นแล้วมาบอกข้างนี้ เพื่อทำลายคนหมู่โน้น เป็นผู้ ทำลายคนที่พร้อมเพรียงกันบ้าง สนับสนุนคนที่แตกกันแล้วบ้าง ชอบผู้ที่ เป็นก๊กกัน ยินดีผู้ที่เป็นก๊กกัน เพลินคนที่เป็นก๊กกัน เป็นผู้กล่าววาจาที่ ทำให้เป็นก๊กกัน นี้เรียกว่า ความพูดส่อเสียด. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลย่อมนำ คำส่อเสียดเข้าไปด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ นำคำส่อเสียดเข้าไปด้วยความ มุ่งหมายเป็นที่รัก ๑ มีความประสงค์ให้เขาแตกกัน จึงนำคำส่อเสียด เข้าไป ๑.

บุคคลนำคำส่อเสียดเข้าไปด้วยความมุ่งหมายเป็นที่รักอย่างไร? บุคคลนำคำส่อเสียดเข้าไปด้วยความมุ่งหมายเป็นที่รักอย่างนี้ว่า เราจักเป็น ที่รัก เป็นที่ชอบใจ เป็นที่สนิท เป็นภายใน เป็นที่ดีใจ ของบุคคลนี้.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 123

บุคคลผู้มีความประสงค์ให้เขาแตกกัน จึงนำคำส่อเสียดเข้าไป อย่างไร? บุคคลผู้มีความประสงค์ให้เขาแตกกันอย่างนี้ว่า ชนเหล่านั้น พึงเป็นต่างกัน แยกกัน เป็นก๊กกัน เป็นสองเหล่า สองพวก สองฝ่าย ชนเหล่านี้ พึงแตกกัน ไม่ปรองดองกัน พึงอยู่ลำบาก ไม่ผาสุกด้วยอุบาย อย่างไร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความถือตัว ความดูหมิ่น และความพูด ส่อเสียด.

[๔๔๖] คำว่า ขอเชิญพระองค์ตรัสบอกว่า กิเลสเหล่านั้น มี มาแต่อะไร? ความว่า พระพุทธนิมิตตรัสถาม สอบถาม ขอให้ตรัส บอก เชิญให้ทรงแสดง ขอให้ประสาท ซึ่งมูล เหตุ นิทาน เหตุเกิด แดนเกิด สมุฏฐาน อาหาร อารมณ์ ปัจจัย สมุทัย แห่งกิเลส ๘ ประการ นี้ว่า กิเลส ๘ ประการนี้ คือ ความทะเลาะ ความวิวาท ความรำพัน ความโศก ความตระหนี่ ความถือตัว ความดูหมิ่น และความพูดส่อเสียด มีมา คือ เกิด เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏมาแต่อะไร คือ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็น แดนเกิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กิเลสเหล่านั้นมีมาแต่อะไร. คำว่า ขอ เชิญพระองค์จงตรัสบอก คือขอเชิญพระองค์จงตรัสบอก ตรัสตอบ แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนกทำให้ตื้น ประกาศ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ขอเชิญพระองค์จงตรัสบอกว่า กิเลสเหล่านั้นมีมาแต่อะไร เพราะ. เหตุนั้น พระพุทธนิมิตนั้น จึงตรัสถานว่า

ความทะเลาะ ความวิวาท ความรำพัน ความโศก ความตระหนี่ ความถือตัว ความดูหมิ่น และความพูด ส่อเสียด มีมาแต่อะไร ขอเชิญพระองค์จงตรัสบอกว่า กิเลสเหล่านั้นมีมาแต่อะไร

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 124

[๔๔๗] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า) ความทะเลาะ ความวิวาท ความรำพัน ความโศก ความตระหนี่ ความ ถือตัว ความดูหมิ่น และความพูดส่อเสียด มีมาแต่สิ่ง ที่รัก ความทะเลาะ ความวิวาท ประกอบในความตระหนี่ และเมื่อความวิวาทกันเกิดแล้ว ความพูดส่อเสียดก็มี.

ว่าด้วยความทะเลาะ ... มาจากสิ่งที่รัก

[๔๔๘] ชื่อว่า สิ่งที่รัก ในคำว่า ความทะเลาะ ความวิวาท ความรำพัน ความโศก ความตระหนี่ ... มีมาแต่สิ่งที่รัก ได้แก่วัตถุ เป็นที่รัก ๒ อย่าง คือ สัตว์ ๑ สังขาร ๑.

สัตว์ผู้เป็นที่รักเป็นไฉน? ชนเหล่าใดในโลกนี้ เป็นผู้ใคร่ความ เจริญ ใคร่ประโยชน์ ใคร่ความสบาย ใคร่ความปลอดโปร่งจากโยคกิเลส คือ เป็นมารดา เป็นบิดา เป็นพี่น้องชาย เป็นพี่น้องหญิง เป็น บุตร เป็นธิดา เป็นมิตร เป็นพวกพ้อง เป็นญาติ หรือเป็นสาโลหิต ชนเหล่านี้ชื่อว่า สัตว์ผู้เป็นที่รัก. สังขารเป็นที่รักเป็นไฉน? รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่ชอบใจเหล่านั้นชื่อว่า สังขารเป็นที่รัก.

ชนทั้งหลาย แม้ผู้มีความหวาดระแวงในการแย่งชิงวัตถุที่รัก ย่อม ทะเลาะกัน คือเมื่อวัตถุที่รักกำลังถูกแย่งชิงเอาไป ย่อมทะเลาะกันบ้าง เมื่อวัตถุที่รักถูกแย่งชิงไปแล้ว ย่อมทะเลาะกันบ้าง แม้ผู้มีความหวาด ระแวงในความแปรปรวนไปแห่งวัตถุที่รัก ย่อมทะเลาะกัน คือเมื่อวัตถุ ที่รักกำลังแปรปรวนไป ย่อมทะเลาะกันบ้าง เมื่อวัตถุที่รักแปรปรวนไป แล้ว ย่อมทะเลาะกันบ้าง แม้ผู้มีความหวาดระแวงในการแย่งชิงวัตถุที่รัก

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 125

ย่อมวิวาทกัน คือเมื่อวัตถุที่รักกำลังถูกแย่งชิงเอาไป ย่อมวิวาทกันบ้าง เมื่อวัตถุที่รักถูกแย่งชิงไปแล้ว ย่อมวิวาทกันบ้าง แม้ผู้มีความหวาดระแวง ในความแปรปรวนไปแห่งวัตถุที่รัก ย่อมวิวาทกัน คือเมื่อวัตถุที่รัก กำลังแปรปรวนไป ย่อมวิวาทกันบ้าง เมื่อวัตถุที่รักแปรปรวนไปแล้ว ย่อมวิวาทกันบ้าง แม้ผู้มีความหวาดระแวงในการแย่งชิงวัตถุที่รักย่อม รำพัน คือเมื่อวัตถุที่รักกำลังถูกแย่งชิงเอาไป ย่อมรำพันบ้าง เมื่อ วัตถุที่รักถูกแย่งชิงไปแล้ว ย่อมรำพันบ้าง แม้ผู้มีความหวาดระแวงใน ความแปรปรวนไปแห่งวัตถุที่รัก ย่อมรำพัน คือเมื่อวัตถุที่รักกำลังแปรปรวนไปแล้ว ย่อมรำพันบ้าง เมื่อวัตถุที่รักแปรปรวนไปแล้ว ย่อมรำพัน บ้าง แม้ผู้มีความหวาดระแวงในการแย่งชิงวัตถุที่รัก ย่อมเศร้าโศก คือ เมื่อวัตถุที่รักกำลังถูกแย่งชิงเอาไป ย่อมเศร้าโศกบ้าง เมื่อวัตถุที่รักถูก แย่งชิงไปแล้วย่อมเศร้าโศกบ้าง แม้ผู้มีความหวาดระแวงในความแปรปรวนไปแห่งวัตถุที่รัก ย่อมเศร้าโศก คือเมื่อวัตถุที่รักกำลังแปรปรวน ไปย่อมเศร้าโศกบ้าง เมื่อวัตถุที่รักแปรปรวนไปแล้ว ย่อมเศร้าโศกบ้าง และย่อมรักษา ปกครอง ป้องกัน หวงห้าม ตระหนี่วัตถุที่รัก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความทะเลาะ ความวิวาท ความรำพัน ความเศร้าโศก ความตระหนี่ มีมาแต่สิ่งที่รัก.

[๔๔๙] คำว่า ความถือตัว ความดูหมิ่น และความพูดส่อเสียด ความว่า ชนทั้งหลายย่อมยังความถือตัวให้เกิดเพราะอาศัยวัตถุที่รัก ย่อม ยังความดูหมิ่นให้เกิดเพราะอาศัยวัตถุที่รัก.

ชนทั้งหลายย่อมยังความถือตัวให้เกิดเพราะอาศัยวัตถุที่รักอย่างไร?

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 126

ชนทั้งหลายย่อมยังความถือตัวให้เกิดเพราะอาศัยวัตถุที่รักอย่างนี้ว่า พวก เรามีปกติได้รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่ชอบใจ.

ชนทั้งหลาย ย่อมยังความถือตัวให้เกิด เพราะอาศัยวัตถุที่รัก อย่างไร? ชนทั้งหลายย่อมยังความถือตัวให้เกิดเพราะอาศัยวัตถุที่น่ารัก อย่างนี้ว่า พวกเรามีปกติได้รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ. ที่ชอบใจ ส่วนชนเหล่านั้น ไม่ได้รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่ชอบใจ. คำว่า ความพูดส่อเสียด ความว่า บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็น ผู้มีวาจาส่อเสียด คือฟังจากข้างนี้แล้วไปบอกข้างโน้น เพื่อทำลายคนหมู่ นี้ ฯลฯ บุคคลผู้มีความประสงค์ให้เขาแตกกันอย่างนี้ว่า ... ชนเหล่านี้พึง แตกกัน ไม่ปรองดองกัน พึงอยู่ลำบาก ไม่ผาสุก ด้วยอุบายอย่างไร ก็นำคำส่อเสียดเข้าไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความถือตัว ความดูหมิ่น และความพูดส่อเสียด.

[๔๕๐] คำว่า ความทะเลาะ ความวิวาท ประกอบในความ ตระหนี่ ความว่า กิเลส ๗ ประการนี้ คือ ความทะเลาะ ความวิวาท ความรำพัน ความเศร้าโศก ความถือตัว ความดูหมิ่น ความพูดส่อเสียด ประกอบ ตกแต่ง เนื่อง สืบเนื่อง ในความตระหนี่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความทะเลาะ ความวิวาท ประกอบในความตระหนี่.

[๔๕๑] คำว่า เมื่อความวิวาทกันเกิดแล้ว คำพูดส่อเสียดก็มี ความว่า เมื่อความวิวาทกันเกิด เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏ แล้ว ชนทั้งหลายย่อมนำคำส่อเสียดเข้าไป คือ ฟังจากข้างโน้นเพื่อทำลาย คนหมู่นี้ หรือฟังจากข้างโน้นแล้ว มาบอกข้างนี้ เพื่อทำลายคนหมู่โน้น เป็นผู้ทำลายคนที่พร้อมเพรียงกันบ้าง สนับสนุนคนที่แตกกันแล้วบ้าง

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 127

ชอบผู้ที่เป็นก๊กกันบ้าง ยินดีผู้ที่เป็นก๊กกัน เพลินคนที่เป็นก๊กกัน เป็น ผู้กล่าววาจาที่ทำให้เป็นก๊กกัน นี้เรียกว่า ความพูดส่อเสียด อีกอย่างหนึ่ง ชนทั้งหลายย่อมนำคำส่อเสียดเข้าไปด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ นำคำส่อเสียด เข้าไปด้วยความมุ่งหมายเป็นที่รัก ๑ มีความประสงค์ให้เขาแตกกัน จึง นำคำส่อเสียดเข้าไป ๑.

ชนทั้งหลายนำคำส่อเสียดเข้าไปด้วยความมุ่งหมายเป็นที่รักอย่างไร? ชนทั้งหลายนำคำส่อเสียดเข้าไปด้วยความมุ่งหมายเป็นที่รักอย่างนี้ว่า พวก เราจักเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ เป็นที่สนิท เป็นภายใน เป็นที่ดีใจของ บุคคลผู้นี้.

ชนทั้งหลายผู้มีความประสงค์ให้เขาแตกกัน จึงนำคำส่อเสียดเข้าไป อย่างไร? ชนทั้งหลายผู้มีความประสงค์ให้เขาแตกกันอย่างนี้ว่า ชน เหล่านี้พึงเป็นต่างกัน แยกกัน เป็นก๊กกัน เป็นสองเหล่า เป็นสองพวก เป็นสองฝ่าย ชนเหล่านั้นพึงแตกกัน ไม่ปรองดองกัน พึงอยู่ลำบาก ไม่ ผาสุก ด้วยอุบายอย่างไร ก็นำคำส่อเสียดเข้าไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อความวิวาทกันเกิดแล้ว ความพูดส่อเสียดก็มี เพราะเหตุนั้น พระผู้มี พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ความทะเลาะ ความวิวาท ความรำพัน ความเศร้าโศก ความตระหนี่ ความถือตัว ความดูหมิ่น และ ความพูดส่อเสียด มีมาแต่สิ่งที่รัก ความทะเลาะ ความ วิวาท ประกอบในความตระหนี่ และเมื่อความวิวาทกัน เกิดแล้ว ความพูดส่อเสียดก็มี.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 128

[๔๕๒] (พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า) สิ่งที่รักทั้งหลายในโลก มีอะไรเป็นนิทาน และชนเหล่าใดแล ย่อมเที่ยวไปใน โลกเพราะความโลภ ความโลภของชนเหล่านั้นมีอะไร เป็นนี้ทาน อนึ่ง ความหวังและความสำเร็จหวังที่มีแก่ นรชน. เพื่อข้างหน้านั้น มีอะไรเป็นนิทาน?

ว่าด้วยอะไรเป็นต้นเหตุแห่งสิ่งที่รัก

[๔๕๓] คำว่า สิ่งที่รักทั้งหลายในโลก มีอะไรเป็นนิทาน ความว่า พระพุทธนิมิตตรัสถาม สอบถาม ขอให้ตรัสบอก อัญเชิญให้ ทรงแสดง ขอให้ประสาทซึ่งมูล ฯลฯ สมุทัยแห่งสิ่งที่รักทั้งหลายว่า สิ่ง ที่รักทั้งหลายมีอะไรเป็นนิทาน คือ เกิด เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏมาแต่อะไร คือมีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็น ชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สิ่งที่รักทั้งหลายในโลก มีอะไรเป็นนิทาน.

[๔๕๔] คำว่า และชนเหล่าใดแล ในคำว่า และชนเหล่าใดแล ย่อมเที่ยวไปในโลกเพราะความโลภ ได้แก่พวกกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา มนุษย์. คำว่า เพราะความ โลภ คือความโลภ กิริยาที่โลภ ความเป็นผู้โลภ ความกำหนัดนัก กิริยาที่กำหนัดนัก ความเป็นผู้กำหนัดนัก อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล. คำว่า เที่ยวไป คือ เที่ยวไป อยู่ เปลี่ยนอิริยาบถ ประพฤติ รักษา บำรุง เยียวยา. คำว่า ในโลก คือในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 129

ธาตุโลก อายตนโลก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า และชนเหล่าใดแล ย่อม เที่ยวไปในโลกเพราะความโลภ.

[๔๕๕] คำว่า ความหวังและความสำเร็จหวัง ... มีอะไรเป็น นิทาน? ความว่า พระพุทธนิมิตตรัสถาม สอบถาม ขอให้ตรัสบอก อัญเชิญให้ทรงแสดง ขอให้ประสาทซึ่งมูล ฯลฯ สมุทัยแห่งความหวัง และความสำเร็จหวังว่า ความหวังและความสำเร็จหวัง มีอะไรเป็นนิทาน คือ เกิด บังเกิด เกิดพร้อม บังเกิดเฉพาะ ปรากฏมาแต่อะไร คือมีอะไร เป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความหวังและความสำเร็จหวัง มีอะไรเป็นนิทาน.

[๔๕๖] คำว่า ที่มีแก่นรชนเพื่อข้างหน้า ความว่า ความหวัง และความสำเร็จหวังที่เป็นไปในเบื้องหน้า เป็นเกาะ เป็นที่ป้องกัน เป็นที่ แอบแฝง เป็นที่ระลึกของนรชน คือ นรชนเป็นผู้มีความสำเร็จหวังเป็น ไปในเบื้องหน้า เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ที่มีแก่นรชนเพื่อโลกหน้า เพราะฉะนั้น พระพุทธนิมิตจึงตรัสถามว่า

สิ่งที่รักทั้งหลายในโลก มีอะไรเป็นนิทาน และชน เหล่าใดแล ย่อมเที่ยวไปในโลกเพราะความโลภ ความ โลภของชนเหล่านั้นมีอะไรเป็นนิพาน อนึ่ง ความหวัง และความสำเร็จหวังที่มีแก่นรชนเพื่อข้างหน้านั้น มีอะไร เป็นนิทาน.

[๔๕๗] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า) สิ่งที่รักทั้งหลาย ในโลก มีฉันทะเป็นนิทาน และชนเหล่าใดแล ย่อม

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 130

เที่ยงไปในโลกเพราะความโลภ ความโลภของชนเหล่านั้น มีฉันทะนี้เป็นนิทาน อนึ่ง ความหวังและความ สำเร็จหวังที่มีแก่นรชนเพื่อโลกหน้านั้น ก็มีฉันทะนี้เป็น นิทาน.

[๔๕๘] ชื่อว่า ฉันทะ ในคำว่า สิ่งที่รักทั้งหลายในโลกมีฉันทะ เป็นนิทาน ได้แก่ความพอใจในกาม ความกำหนัดในกาม ความเพลิน ในกาม ความอยากในกาม ความรักในกาม ความเร่าร้อนในกาม ความหลงในกาม ความชอบใจในกาม กามโอฆะ กามโยคะ กามุ- ปาทาน กามฉันทนิวรณ์ ในกามทั้งหลาย อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ฉันทะ ๕ ประการ คือ ความพอใจในการแสวงหา ๑ ความพอใจในการได้ ๑ ความพอใจในการบริโภค ๑ ความพอใจในการสั่งสม ๑ ความพอใจใน การสละ ๑.

ความพอใจในการแสวงหาเป็นไฉน? บุคคลบางคนในโลกนี้ ชอบใจ มีความต้องการ เกิดความพอใจ ย่อมแสวงหารูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ นี้ชื่อว่า ความพอใจในการแสวงหา. ความพอใจในการได้เป็นไฉน? บุคคลบางคนในโลกนี้ ชอบใจ มีความต้องการ เกิดความพอใจ ย่อมได้ซึ่งรูป เสียง กลิ่น รส โผฏ- ฐัพพะ นี้ชื่อว่า ความพอใจในการได้.

ความพอใจในการบริโภคเป็นไฉน? บุคคลบางคนในโลกนี้ ชอบใจ มีความต้องการ เกิดความพอใจ ย่อมบริโภครูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ นี้ชื่อว่า ความพอใจในการบริโภค.

ความพอใจในการสั่งสมเป็นไฉน? บุคคลบางคนในโลกนี้ ชอบใจ

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 131

มีความต้องการ เกิดความพอใจ ย่อมทำการสั่งสมทรัพย์ด้วยความหวังว่า จักมีประโยชน์ในคราวเกิดอันตรายทั้งหลาย นี้ชื่อว่า ความพอใจในการ สั่งสม.

ความพอใจในการสละเป็นไฉน? บุคคลบางคนในโลกนี้ ชอบใจ มีความต้องการ เกิดความพอใจ ย่อมสละทรัพย์เพื่อพวกพลช้าง พวก พลม้า พวกพลรถ พวกพลถือธนู พวกพลเดินเท้า ด้วยความหวังว่า คนพวกนี้จักรักษาคุ้มครองป้องกันเรา นี้ชื่อว่า ความพอใจในการสละ.

ว่าด้วยสิ่งที่รัก ๒ ประการ

คำว่า สิ่งที่รักทั้งหลาย คือสิ่งที่รัก ๒ ประการ ได้แก่สัตว์ ๑ สังขาร ๑ ฯลฯ เหล่านั้นชื่อว่าสัตว์เป็นที่รัก ฯลฯ เหล่านี้ชื่อว่าสังขารเป็น ที่รัก คำว่า สิ่งที่รักทั้งหลายในโลก มีฉันทะเป็นนิทาน คือสิ่งที่รัก ทั้งหลายมีฉันทะเป็นนิทาน มีฉันทะเป็นสมุทัย มีฉันทะเป็นชาติ มีฉันทะ เป็นแดนเกิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สิ่งที่รักทั้งหลายในโลก มีฉันทะ เป็นนิทาน.

[๔๕๙] คำว่า และชนเหล่าใดแล ในคำว่า และชนเหล่าใด แล ย่อมเที่ยวไปในโลกเพราะความโลภ ได้แก่พวกกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา มนุษย์. คำว่า เพราะความ โลภ คือความโลภ กิริยาที่โลภ ความเป็นผู้โลภ ความกำหนัดนัก กิริยาที่กำหนดนัก ความเป็นผู้กำหนัดนัก อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล. คำว่า เที่ยวไป คือเที่ยวไป อยู่ เปลี่ยนอิริยาบถ ประพฤติ รักษา บำรุง เยียวยา. คำว่า ในโลก คือในอบายโลก ฯลฯ อายตนโลก

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 132

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า และชนเหล่าใดแล ย่อมเที่ยวไปในโลกเพราะ ความโลภ.

ว่าด้วยความหวัง

[๔๖๐] คำว่า อนึ่ง ความหวังและความสำเร็จหวัง ก็มีฉันทะ นี้เป็นนิทาน ความว่า ตัณหา เรียกว่าความหวัง ได้แก่ราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล. คำว่า ความสำเร็จหวัง ความว่า บุคคลบาง คนในโลกนี้ เมื่อแสวงหารูป ได้รูป เป็นผู้มีความสำเร็จหวังในรูป เมื่อ แสวงหาเสียง ... กลิ่น ... รส ... เมื่อแสวงหาโผฏฐัพพะ ได้โผฏฐัพพะ เป็นผู้มีความสำเร็จหวังในโผฏฐัพพะ เมื่อแสวงหาสกุล ... คณะ ... อาวาส ... ลาภ ... ยศ ... สรรเสริญ ... สุข ... จีวร ... บิณฑบาต ... เสนาสนะ ... คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร.. พระสูตร ... พระวินัย ... พระอภิธรรม ... อารัญญิกังคธุดงค์ ... ปิณฑปาติกังคธุดงค์ ... สปทานจาริกังคธุดงค์ ... ขลุ- ปัจฉาภัตติกังคธุดงค์ ... เนสัชชิกังคธุดงค์ ... ยถาสันถติกังคธุดงค์ ... ปฐมฌาน ... ทุติยฌาน ... ตติยฌาน ... จตุตถฌาน ... อากาสานัญจายตนสมาบัติ ... วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ... อากิญจัญญายตนสมาบัติ ... เมื่อ แสวงหาเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ เป็นผู้มีความสำเร็จหวังในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ.

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

บุคคลย่อมไถนาด้วยความหวัง หว่านพืชด้วยความ หวัง พวกพ่อค้าหาทรัพย์ ไปสู่สมุทรด้วยความหวัง เรา ย่อมตั้งอยู่ด้วยความหวังใด ความหวังนั้นของเราย่อม สำเร็จ ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 133

ความสำเร็จแห่งความหวัง เรียกว่าความสำเร็จหวัง. คำว่า ความ หวังและความสำเร็จหวัง ก็มีฉันทะนี้เป็นนิทาน ความว่า ความหวัง และความสำเร็จหวัง ก็มีฉันทะนี้เป็นนิทาน คือมีฉันทะเป็นสมุทัย มี ฉันทะเป็นชาติ มีฉันทะเป็นแดนเกิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความหวัง และความสำเร็จหวัง ก็มีฉันทะนี้เป็นนิทาน.

[๔๖๑] คำว่า ที่มีแก่นรชนเพื่อโลกหน้า ความว่า ความหวัง และความสำเร็จหวังที่เป็นเบื้องหน้า เป็นเกาะ เป็นที่ป้องกัน เป็นที่ แอบแฝง เป็นที่ระลึกของนรชน คือนรชนเป็นผู้มีความสำเร็จหวังเป็น เบื้องหน้า เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ที่มีแก่นรชนเพื่อภพหน้า เพราะ เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

สิ่งที่รักทั้งหลายในโลก มีฉันทะเป็นนิทาน และ นรชนเหล่าใดแล ย่อมเที่ยวไปในโลกเพราะความโลภ ความโลภของนรชนเหล่านั้น มีฉันทะนี้เป็นนิทาน อนึ่ง ความหวังและความสำเร็จหวังที่มีแก่นรชนเพื่อโลกหน้า นั้น ก็มีฉันทะนี้เป็นนิทาน.

[๔๖๒] (พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า) ฉันทะในโลกมีอะไรเป็น นิทาน และความตัดสินใจมีมาแต่อะไร อนึ่ง ความ โกรธ ความเป็นผู้พูดเท็จ และความสงสัย มีมาแต่ อะไร และธรรมเหล่าใดแล อันพระสมณะตรัสไว้แล้ว ธรรมเหล่านั้นมีมาแต่อะไร.

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 134

ว่าด้วยฉันทะ ... มีอะไรเป็นเหตุ

[๔๖๓] คำว่า ฉันทะในโลกมีอะไรเป็นนิทาน ความว่า พระพุทธนิมิตตรัสถาม สอบถาม ขอให้ตรัสบอก อัญเชิญให้ทรงแสดง ขอ ให้ประสาทซึ่งมูล ฯลฯ สมุทัยแห่งฉันทะว่า ฉันทะมีอะไรเป็นนิทาน คือ เกิด เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏมาแต่อะไร คือมีอะไร เป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ฉันทะในโลกมีอะไรเป็นนิทาน.

[๔๖๔] คำว่า และความตัดสินใจมีมาแต่อะไร ความว่า พระพุทธนิมิตตรัสถาม สอบถาม ขอให้ตรัสบอก อัญเชิญให้ทรงแสดง ขอ ให้ประสาทซึ่งมูล ฯลฯ สมุทัยแห่งความตัดสินใจว่า ความตัดสินใจมีมา แต่อะไร คือเกิด เกิดพร้อม บังเกิดเฉพาะ ปรากฏมาแต่อะไร คือ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดน เกิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า และความตัดสินใจมีมาแต่อะไร.

[๔๖๕] ชื่อว่า ความโกรธ ในคำว่า อนึ่ง ความโกรธ ความ เป็นผู้พูดเท็จ และความสงสัย คือความความปองร้าย ความมุ่งร้าย ความขัดเคือง ความขุ่นเคือง ความเคืองทั่ว ความเคืองเสมอ ความชัง ความ ชั่งทั่ว ความชังเสมอ ความพยาบาทแห่งจิต ความประทุษร้ายในใจ ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ความเป็นผู้โกรธ ความชัง กิริยาที่ชัง ความ เป็นผู้ชัง ความพยาบาท กิริยาที่พยาบาท ความเป็นผู้พยาบาท ความ พิโรธ ความพิโรธตอบ ความเป็นผู้ดุร้าย ความเพาะวาจาชั่ว ความ เป็นผู้ไม่แช่มชื่นแห่งจิต ความกล่าวเท็จ เรียกว่าความเป็นผู้พูดเท็จ

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 135

ความสงสัย เรียกว่า กถังกถา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อนึ่ง ความโกรธ ความเป็นผู้พูดเท็จและความสงสัย.

[๔๖๖] คำว่า และธรรมเหล่าใด ในคำว่า และธรรมเหล่าใด อันพระสมณะตรัสรู้แล้ว ความว่า ธรรมทั้งหลายใด สหรคต เกิด ร่วมกัน เกี่ยวข้องกัน ประกอบกัน มีความเกิดขึ้นคราวเดียวกัน มีความ ดับคราวเดียวกัน มีวัตถุเดียวกัน มีอารมณ์เดียวกัน กับความโกรธ ความเป็นผู้พูดเท็จ และความสงสัย ธรรมเหล่านี้ เรียกว่าธรรมเหล่าใด. อีกอย่างหนึ่ง คำว่า ธรรมเหล่าใด คือกิเลสทั้งหลายมีชาติเป็นอย่างอื่น ตั้งอยู่แล้วโดยอาการอื่น กิเลสเหล่านั้น เรียกว่าธรรมเหล่าใด. คำว่า อัน พระสมณะตรัสแล้ว ความว่า อันพระพุทธะผู้เป็นสมณะมีบาปธรรมอัน ระงับแล้ว เป็นพราหมณ์มีบาปธรรมอันลอยเสียแล้ว เป็นภิกษุมีมูลแห่ง กิเลสอันทำลายแล้ว ผู้พ้นขาดจากอกุศลมูลเป็นเครื่องผูกทั้งปวง ตรัสไว้ แล้ว คือตรัสโดยทั่ว บอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น ประกาศแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า และธรรมเหล่าใดอัน พระสมณะตรัสไว้แล้ว เพราะฉะนั้น พระพุทธนิมิตนั้น จึงตรัสถามว่า

ฉันทะในโลกมีอะไรเป็นนิทาน และความตัดสินใจ มีมาแต่อะไร อนึ่ง ความโกรธ ความเป็นผู้พูดเท็จ และ ความสงสัยมีมาแต่อะไร และธรรมเหล่าใดอันพระสมณะ ตรัสไว้แล้ว ธรรมเหล่านั้นมีมาแต่อะไร.

[๔๖๗] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า) บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวธรรมใด คือความดีใจ ความเสียใจในโลก ฉันทะ

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 136

ย่อมมีมาเพราะอาศัยธรรมนั้น ชันตุชนเห็นความไม่มี และความมีในรูปทั้งหลาย ย่อมทำความตัดสินใจในโลก.

[๔๖๘] คำว่า ความดีใจ ในคำว่า บัณฑิตทั้งหลายกล่าวธรรม ใด คือความดีใจ ความเสียใจ ในโลก ได้แก่สุขเวทนาและวัตถุที่น่า ปรารถนา. คำว่า ความเสียใจ ได้แก่ทุกขเวทนาและวัตถุที่ไม่น่า ปรารถนา. คำว่า บัณฑิตทั้งหลายกล่าวธรรมใด ... ในโลก คือบัณฑิต ทั้งหลายกล่าวบอก พูด แสดง แถลงธรรมใด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บัณฑิตทั้งหลายกล่าวธรรมใด คือความดีใจ ความเสียใจ ในโลก.

[๔๖๙] คำว่า ฉันทะย่อมมีมาเพราะอาศัยธรรมนั้น ความว่า ฉันทะย่อมมีมา คือมีทั่วไป เกิด เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ เพราะ อาศัย ความดีใจและความเสียใจ คืออาศัยสุขและทุกข์ โสมนัสและโทมนัส วัตถุที่น่าปรารถนาและวัตถุที่ไม่น่าปรารถนา ความยินดีและความยินร้าย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ฉันทะย่อมมีมาเพราะอาศัยธรรมนั้น.

ว่าด้วยความเกิดแห่งรูป

[๔๗๐] คำว่า ในรูปทั้งหลาย ในคำว่า เห็นความไม่มีและมี ในรูปทั้งหลาย ได้แก่มหาภูตรูป ๔ และอุปาทายรูปแห่งมหาภูตรูป ๔.

ความมีแห่งรูปทั้งหลายเป็นไฉน. ความมี คือความเกิด ความเกิดพร้อม ความบังเกิด ความบังเกิดเฉพาะ ความปรากฏแห่งรูปทั้งหลาย นี้ชื่อว่า ความมีแห่งรูปทั้งหลาย.

ความไม่มีแห่งรูปทั้งหลายเป็นไฉน ความสิ้น ความเสื่อม ความ

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 137

แตก ความแตกรอบ ความไม่เที่ยง ความหายไป แห่งรูปทั้งหลาย นี้ชื่อว่า ความไม่มีแห่งรูปทั้งหลาย.

คำว่า เห็นความไม่มีและความมีในรูปทั้งหลาย คือเห็น พบ พิจารณา เทียบเคียง ให้แจ่มแจ้ง ซึ่งความมีและความไม่มีในรูปทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เห็นความไม่มีและความมีในรูปทั้งหลาย.

ว่าด้วยการตัดสินใจ ๒ อย่าง

[๔๗๑] ชื่อว่า ความตัดสินใจ ในคำว่า ชันตุชน ... ย่อมทำ ความตัดสินใจในโลก ได้แก่ความตัดสินใจ ๒ ประการ คือ ความตัด สินใจด้วยตัณหา ๑ ความตัดสินใจด้วยทิฏฐิ ๑.

สัตว์ย่อมทำความตัดสินใจด้วยตัณหาอย่างไร. บุคคลบางคนในโลก นี้ มีโภคสมบัติที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มิได้เกิดขึ้น และมีโภคสมบัติที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ถึงความหมดสิ้นไป เขาจึงมีความดำริอย่างนี้ว่า โภคสมบัติของเราที่ยัง ไม่เกิดขึ้นก็มิได้เกิดขึ้น และโภคสมบัติที่เกิดขึ้นแล้วก็ถึงความหมดสิ้นไป เพราะเหตุอะไรหนอ และเขามีความดำริอย่างนี้ต่อไปว่า เมื่อเราประกอบ เนืองๆ ในเหตุเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ในเพราะการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัย โภคสมบัติที่ยังไม่เกิดขึ้นจึงมิได้เกิดขึ้น และโภคสมบัติที่ เกิดขึ้นแล้วก็ถึงความหมดสิ้นไป เมื่อเราประกอบเนืองๆ ในการเที่ยวไป ในถนนในเวลาค่ำคืน ... เมื่อเราเที่ยวดูมหรสพมากไป ... เมื่อเราประกอบ เนืองๆ ในเหตุเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ในเพราะการเล่นการพนัน ... เมื่อเราประกอบเนืองๆ ในการคบปาปมิตร ... เมื่อเราประกอบเนืองๆ ในความเป็นคนเกียจคร้าน โภคสมบัติที่ยังไม่เกิดขึ้น และโภคสมบัติที่

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 138

เกิดขึ้นแล้วก็ถึงความหมดสิ้นไป ครั้นรู้อย่างนี้แล้ว เขาจึงไม่ประพฤติ ทางความฉิบหายแห่งโภคสมบัติ ๖ ประการ ชันตุชนย่อมทำความตัด สินใจด้วยตัณหา แม้ด้วยประการอย่างนี้ อีกอย่างหนึ่ง บุคคลย่อม ประกอบการงานด้วยกสิกรรมบ้าง ด้วยพาณิชยกรรมบ้าง ด้วยโครักขกรรมบ้าง ด้วยธนูศิลป์บ้าง ด้วยการรับราชการบ้าง ด้วยศิลป์ อย่างใด อย่างหนึ่งบ้าง ชันตุชนย่อมทำความตัดสินใจด้วยตัณหา แม้ด้วยประการ อย่างนี้.

ชันตุชนย่อมทำความตัดสินใจด้วยทิฏฐิอย่างไร. เมื่อจักษุเกิดขึ้น แล้ว ชันตุชนก็รู้ว่า คนของเราเกิดขึ้นแล้ว เมื่อจักษุหายไป ก็รู้ว่าตน ของเราหายไปแล้ว คนของเราปราศจากไปแล้ว ชันตุชนย่อมทำความ ตัดสินใจด้วยทิฏฐิ แม้ด้วยประการอย่างนี้ เมื่อโสตะ ... เมื่อฆานะ ... เมื่อชิวหา ... เมื่อกาย ... เมื่อรูป ... เมื่อเสียง ... เมื่อกลิ่น ... เมื่อรส เมื่อโผฏฐัพพะเกิดขึ้นแล้ว ชันตุชนก็รู้ว่า คนของเราเกิดขึ้นแล้ว เมื่อ โผฏฐัพพะหายไป ก็รู้ว่า คนของเราหายไปแล้ว ตนของเราปราศจากไป ไปแล้ว ชันตุชนย่อมทำความตัดสินใจด้วยทิฏฐิ คือให้เกิด ให้เกิดพร้อม ให้บังเกิด ให้บังเกิดเฉพาะ แม้ด้วยประการอย่างนี้.

คำว่า ชันตุชน คือสัตว์ นระ มาณพ ฯลฯ มนุษย์. คำว่า ในโลก คือในอบายโลก ฯลฯ อายตนโลก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ชันตุชน ... ย่อมทำความตัดสินใจในโลก เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง ตรัสว่า

บัณฑิตทั้งหลายกล่าวธรรมใด คือความดีใจ ความ เสียใจ ในโลก ฉันทะย่อมมีมา เพราะอาศัยธรรมนั้น

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 139

ชันตุชนเห็นความไม่มีในรูปทั้งหลาย ย่อมทำความตัด สินใจในโลก.

[๔๗๒] ธรรมแม้เหล่านี้ คือความโกรธ ความเป็นผู้พูดเท็จ และความสงสัย เมื่อความดีใจและความเสียใจทั้งสอง มีอยู่ ก็มีมา บุคคลผู้มีความสงสัย พึงศึกษาเพื่อทาง แห่งญาณ และธรรมเหล่าใดอันพระสมณะทราบแล้ว จึงตรัสไว้ ธรรมเหล่านั้น เมื่อความดีใจและความเสียใจ ทั้งสองมีอยู่ ก็มีมา.

[๔๗๓] ชื่อว่า ความโกรธ ในคำว่า ความโกรธ ความเป็น ผู้พูดเท็จ และความสงสัย คือความปองร้าย ความมุ่งร้าย ฯลฯ ความ ไม่แช่มชื่นแห่งจิต ความกล่าวเท็จ เรียกว่า ความเป็นผู้พูดเท็จ ความ สงสัย เรียกว่า กถังกถา ความโกรธย่อมเกิดเพราะอาศัยวัตถุที่น่าปรารถนา บ้าง เพราะอาศัยวัตถุที่ไม่น่าปรารถนาบ้าง ความกล่าวเท็จ ย่อมเกิด เพราะอาศัยวัตถุที่น่าปรารถนาบ้าง เพราะอาศัยวัตถุที่ไม่น่าปรารถนาบ้าง ความสงสัยย่อมเกิดเพราะอาศัยวัตถุที่น่าปรารถนาบ้าง เพราะอาศัยวัตถุ ที่ไม่น่าปรารถนาบ้าง.

ว่าด้วยเหตุให้เกิดความโกรธ

ความโกรธย่อมเกิดเพราะอาศัยวัตถุที่ไม่น่าปรารถนาอย่างไร ความ โกรธย่อมเกิดด้วยอาการว่า เขาได้ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 140

แล้ว. ความโกรธย่อมเกิดด้วยอาการว่า เขากำลังประพฤติสิ่งที่ไม่เป็น ประโยชน์แก่เรา. ความโกรธย่อมเกิดด้วยอาการว่า เขาจักประพฤติสิ่งที่ ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา. ความโกรธย่อมเกิดด้วยอาการว่า เขาได้ประพฤติ สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเราแล้ว. ความ โกรธย่อมเกิดด้วยอาการว่า เขากำลังประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ บุคคลผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา. ความโกรธย่อมเกิดด้วยอาการว่า เขา จักประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ แก่บุคคลผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา. ความโกรธย่อมเกิดขึ้นด้วยอาการว่า เขาได้ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์ แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเราแล้ว. ความโกรธย่อมเกิดด้วย อาการว่า เขากำลังประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รัก ที่ชอบใจของเรา. ความโกรธย่อมเกิดด้วยอาการว่า เขาจักประพฤติ สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา. ความโกรธ ย่อมเกิดเพราะอาศัยวัตถุที่ไม่น่าปรารถนาอย่างนี้.

ความโกรธย่อมเกิดเพราะอาศัยวัตถุที่น่าปรารถนาอย่างไร. แม้บุคคล ผู้มีความหวาดระแวงในการแย่งชิงวัตถุที่น่าปรารถนา ย่อมมีความโกรธ เกิด คืนเมื่อวัตถุที่น่าปรารถนากำลังถูกแย่งชิงเอาไป ย่อมมีความโกรธ เกิดบ้าง เมื่อวัตถุที่น่าปรารถนาถูกแย่งชิงไปแล้ว ย่อมมีความโกรธเกิด บ้าง แม้บุคคลผู้มีความหวาดระแวงในความแปรปรวนไปแห่งวัตถุที่น่า ปรารถนา ย่อมมีความโกรธเกิด คือเมื่อวัตถุที่น่าปรารถนาแปรปรวนไป แล้ว ย่อมมีความโกรธเกิดบ้าง ความโกรธย่อมเกิดเพราะอาศัยวัตถุที่น่า ปรารถนาอย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 141

ว่าด้วยเหตุให้เกิดการกล่าวเท็จ

มุสาวาท ย่อมเกิดเพราะอาศัยวัตถุที่ไม่น่าปรารถนาอย่างไร. บุคคล บางคนในโลกนี้ ถูกเขาจำด้วยเครื่องจำคือขื่อ ย่อมกล่าวคำเท็จทั้งที่รู้อยู่ เพื่อพ้นจากเครื่องจำนั้น ถูกเขาจำด้วยเครื่องจำ คือเชือก ... ถูกเขาจำ ด้วยเครื่องจำคือโซ่ตรวน ... ถูกเขาจำด้วยเครื่องจำคือหวาย ... ถูกเขาจำ ด้วยเครื่องจำคือเถาวัลย์ ... ถูกเขาจำด้วยเครื่องจำคือเครื่องล้อม ... ถูกเขา จำด้วยเครื่องจำ คือบ้าน นิคมและนคร ... ถูกเขาจำด้วยเครื่องจำคือ ชนบท ย่อมกล่าวคำเท็จทั้งที่รู้อยู่ เพื่อพ้นจากเครื่องจำนั้น มุสาวาทย่อม เกิดเพราะอาศัยวัตถุที่ไม่น่าปรารถนาอย่างนี้.

มุสาวาท ย่อมเกิดเพราะอาศัย วัตถุที่น่าปรารถนาอย่างไร. บุคคล บางคนในโลกนี้ ย่อมกล่าวเท็จทั้งที่รู้อยู่เพราะเหตุแห่งรูปที่ชอบใจ ย่อม กล่าวเท็จทั้งที่รู้อยู่เพราะเหตุแห่งเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่ชอบใจ เพราะเหตุแห่งจีวร เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ เพราะเหตุแห่งคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร มุสาวาทย่อมเกิดเพราะอาศัยวัตถุ น่าปรารถนาอย่างนี้.

ว่าด้วยเหตุให้เกิดความสงสัย

ความสงสัยย่อมเกิดเพราะอาศัยวัตถุที่ไม่น่าปรารถนาอย่างไร. ความ สงสัยย่อมเกิดเพราะอาศัยวัตถุที่ไม่น่าปรารถนาว่า เราจักพ้นจากโรค นัยน์ตาหรือหนอ หรือเราจักไม่พ้นจากโรคนัยน์ตา เราจักพ้นจากโรค จมูกหรือหนอ จากโรคที่ลิ้นหรือหนอ จากโรคกาย ... จากโรคศีรษะ หรือหนอ จากโรคที่ใบหู จากโรคปาก เราจักพ้นจากโรคฟันหรือหนอ

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 142

หรือเราจักไม่พ้นจากโรคฟัน ความสงสัยย่อมเกิดเพราะอาศัยวัตถุที่ไม่น่า ปรารถนาอย่างนี้.

ความสงสัยย่อมเกิดเพราะอาศัยวัตถุที่น่าปรารถนาอย่างไร ความ สงสัยย่อมเกิดเพราะอาศัยวัตถุที่น่าปรารถนาว่า เราจักได้รูปที่ชอบใจ หรือหนอ หรือเราจักไม่ได้รูปที่ชอบใจ เราจักได้เสียง กลิ่น รส โผฏ- ฐัพพะ สกุล คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ เราจักได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารที่ชอบใจหรือหนอ หรือเรา จักไม่ได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารที่ชอบใจ ความสงสัยย่อมเกิดเพราะอาศัย วัตถุที่น่าปรารถนาอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความโกรธ ความเป็น ผู้พูดเท็จและความสงสัย.

[๔๗๔] คำว่า ธรรมแม้เหล่านี้ ... เมื่อความดีใจและความเสีย ใจทั้งสองมีอยู่ ก็มีมา ความว่า เมื่อความดีใจและเสียใจมีอยู่ คือเมื่อ สุขและทุกข์ โสมนัสและโทมนัส วัตถุที่น่าปรารถนาและวัตถุที่ไม่น่า ปรารถนา ความยินดีและเพราะความยินร้าย มีอยู่ คือปรากฏ อันตน เข้าไปได้อยู่ ธรรมแม้เหล่านี้ ... ก็มีมา ฉะนั้น จึงชื่อว่า ธรรมแม้เหล่านี้ ... เมื่อความดีใจและความเสียใจ ทั้งสองมีอยู่ ก็มีมา.

ว่าด้วยสิกขา ๓

[๔๗๕] คำว่า บุคคลผู้มีความสงสัย พึงศึกษาเพื่อทางแห่ง ญาณ ความว่า แม้ญาณก็ชื่อว่าทางแห่งญาณ แม้อารมณ์แห่งญาณก็ชื่อว่า ทางแห่งญาณ แม้ธรรมทั้งหลายอันเกิดร่วมกับญาณก็ชื่อว่าทางแห่งญาณ เปรียบเหมือนอริยมรรคก็ชื่อว่าทางแห่งอริยะ เทวมรรคก็ชื่อว่าทางแห่ง

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 143

เทวดา พรหมมรรคก็ว่าทางแห่งพรหมฉันใด แม้ญาณก็ชื่อว่าทางแห่ง ญาณ แม้อารมณ์แห่งญาณชื่อว่าทางแห่งญาณ แม้ธรรมทั้งหลายอันเกิด ร่วมกับญาณก็ชื่อว่าทางแห่งญาณฉันนั้น. สิกขา ในคำว่า พึงศึกษา มี ๓ อย่าง คือ อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา ๑ อธิปัญญาสิกขา ๑.

อธิศีลสิกขาเป็นไฉน. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวม แล้วด้วยความสำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติ เห็นภัยในโทษทั้งหลายมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท ทั้งหลาย ศีลขันธ์น้อย ศีลขันธ์ใหญ่ ศีลเป็นที่พึ่ง เป็นเบื้องต้น เป็น เบื้องบาท เป็นความสำรวม เป็นความระวัง เป็นปาก เป็นประธาน แห่งความถึงพร้อมแห่งธรรมทั้งหลายฝ่ายอกุศล นี้ชื่อว่า อธิศีลสิกขา.

อธิจิตตสิกขาเป็นไฉน. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ จึงบรรลุจตุตถฌาน นี้ชื่อว่า อธิจิตตสิกขา.

อธิปัญญาสิกขาเป็นไฉน. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาอันให้ถึงความเกิดและความดับ เป็นอริยะ ชำแรก กิเลส อันให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดตามความเป็น จริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา และรู้ชัดตามความเป็น จริงว่า เหล่านี้อาสวะ ฯลฯ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ นี้ชื่อว่า อธิปัญญาสิกขา.

คำว่า ผู้มีความสงสัย พึงศึกษาเพื่อทางแห่งญาณ ความว่า บุคคล ผู้มีความสงสัย เคลือบแคลง ลังเล เป็นสองทาง ไม่แน่ใจ พึงศึกษา อธิศีลบ้าง อธิจิตบ้าง อธิปัญญาบ้าง เพื่อความบรรลุญาณ เพื่อความ ถูกต้องญาณ เพื่อความทำให้แจ่มแจ้งญาณ บุคคลเมื่อนึกถึงสิกขา ๓ นี้

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 144

พึงศึกษา คือเมื่อรู้ เมื่อเห็น เมื่อพิจารณา เมื่ออธิษฐานจิต เมื่อน้อม ใจไปด้วยศรัทธา เมื่อประคองความเพียร เมื่อตั้งสติ เมื่อตั้งจิต เมื่อรู้ชัด ด้วยปัญญา เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อละธรรมที่ควรละ เมื่อเจริญธรรมที่ควรเจริญ เมื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรม ที่ควรทำให้แจ้ง ก็พึงศึกษา ประพฤติเอื้อเฟื้อ ประพฤติเอื้อเฟื้อโดยชอบ สมาทานประพฤติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลผู้มีความสงสัย พึงศึกษา เพื่อทางแห่งญาณ.

ว่าด้วยธรรมที่พระสมณะทราบ

[๔๗๖] คำว่า และธรรมเหล่าใด อันพระสมณะทราบแล้ว จึง ตรัสไว้ ความว่า ธรรมทั้งหลายอันพระสมณะทรงทราบ ทรงรู้ พิจารณา เทียบเคียงให้แจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้งแล้ว ตรัสไว้ ตรัสสอน ตรัสบอก ทรงแสดงบัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น ประกาศแล้ว คือทรงทราบ ทรงรู้ พิจารณา เทียบเคียง ให้แจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้ง แล้ว ตรัสไว้ ตรัสสอน ตรัสบอก ทรงแสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น ประกาศแล้วว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวง เป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร ฯลฯ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ เพราะอวิชชาดับ สังขาร จึงดับ ฯลฯ เพราะชาติดับ ชรามรณะจึงดับ นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้อาสวะ ฯลฯ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง ธรรมเหล่านี้ควรกำหนดรู้ ธรรมเหล่านั้นควรละ ธรรมเหล่านี้ควรเจริญ ธรรมเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง ความเกิด ความดับ

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 145

คุณ โทษ อุบายเครื่องสลัดออก แห่งผัสสายตนะ ๖ แห่งอุปาทานขันธ์ ๕ แห่งมหาภูตรูป ๔ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวง มีความดับเป็นธรรมดา.

สมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เราแสดงธรรมเพื่อความรู้ยิ่ง เราไม่แสดงธรรมเพื่อความ ไม่รู้ยิ่ง เราแสดงธรรมมีเหตุ เราไม่แสดงธรรมไม่มีเหตุ เราแสดงธรรม มีปาฏิหาริย์ เราไม่แสดงธรรมไม่มีปาฏิหาริย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อ เราแสดงธรรมเพื่อความรู้ยิ่ง ไม่แสดงธรรมเพื่อความไม่รู้ยิ่ง แสดงธรรม มีเหตุ ไม่แสดงธรรมไม่มีเหตุ แสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ไม่แสดงธรรม ไม่มีปาฏิหาริย์อยู่ เธอทั้งหลายควรทำตามโอวาท ควรทำตามอนุสาสนี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง เธอทั้งหลายควรยินดีปราโมทย์ ควรโสมนัสว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมเป็นสวากขาตธรรม พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ก็เมื่อคำเป็นไวยากรณ์นี้ อัน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอยู่ โลกธาตุหมื่นหนึ่งหวั่นไหวแล้ว ดังนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า และธรรมเหล่าใดอันพระสมณะทราบแล้ว จึงตรัสไว้ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ธรรมแม้เหล่านี้ คือความโกรธ ความเป็นผู้พูดเท็จ และความสงสัย เมื่อความดีใจและความเสียใจทั้งสอง มีอยู่ ก็มีมา บุคคลผู้มีความสงสัย พึงศึกษาเพื่อทางแห่ง ญาณและธรรมเหล่าใดอันพระสมณะทราบแล้วจึงตรัสไว้ ธรรมเหล่านั้น เมื่อความดีใจและความเสียใจทั้งสองมี อยู่ ก็มีมา.

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 146

[๔๗๗] (พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า) ความดีใจและความ เสียใจ มีอะไรเป็นนิทาน เมื่อไม่มีอะไร ความดีใจและ ความเสียใจเหล่านี้จึงไม่มี อรรถนั้นใด คือความไม่มี และความมี ขอพระองค์จงตรัสบอกอรรถนั้นว่า มีสิ่งใด เป็นนิทาน แก่ข้าพระองค์.

ว่าด้วยต้นเหตุความดีใจและความเสียใจ

[๔๗๘] คำว่า ความดีใจและความเสียใจ มีอะไรเป็นนิทาน ความว่า พระพุทธนิมิตตรัสถาม สอบถาม ขอให้ตรัสบอก อัญเชิญให้ ทรงแสดง ขอให้ประสาท ซึ่งมูล ฯลฯ สมุทัย แห่งความดีใจและความ เสียใจว่า ความดีใจและความเสียใจ มีอะไรเป็นนิทาน คือเกิด เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏมาแต่อะไร คือมีอะไรเป็นนิทาน มีอะไร เป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความดีใจและความเสียใจ มีอะไรเป็นนิทาน.

[๔๗๙] คำว่า เมื่ออะไรไม่มี ความดีใจและความเสียใจ เหล่านั้นจึงไม่มี ความว่า เมื่ออะไรไม่มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้ ความ ดีใจและความเสียใจ จึงไม่มี ไม่เป็น ไม่เกิด ไม่เกิดพร้อม ไม่บังเกิด ไม่บังเกิดเฉพาะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่ออะไรไม่มี ความดีใจและ ความเสียใจเหล่านั้นจึงไม่มี.

[๔๘๐] คำว่า อรรถนั้นใด คือความไม่มีและความมี ความว่า ความมีแห่งความดีใจและความเสียใจเป็นไฉน ความมี ความเป็น ความ เกิด ความเกิดพร้อม ความบังเกิด ความบังเกิดเฉพาะ ความปรากฏ

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 147

แห่งความดีใจและความเสียใจใด นี้ชื่อว่า ความมีแห่งความดีใจและความ เสียใจ ความไม่มีแห่งความดีใจและความเสียใจเป็นไฉน ความสิ้น ความ เสื่อม ความแตก ความแตกรอบ ความไม่เที่ยง ความหายไปแห่ง ความดีใจและความเสียใจใด นี้ชื่อว่า ความไม่มีแห่งความดีใจและความ เสียใจ. คำว่า อรรถนั้นใด คืออรรถอย่างยิ่งใด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อรรถนั้นใด คือความไม่มีและความมี.

[๔๘๑] คำว่า นั้น ในคำว่า ขอจงตรัสบอกอรรถนั้นว่า มีสิ่ง ใดเป็นนิทานแก่ข้าพระองค์ ความว่า อรรถที่ข้าพระองค์ทูลถาม ขอให้ ตรัสบอก อัญเชิญให้ทรงแสดง ขอให้ประสาท. คำว่า ขอจงตรัสบอก คือขอจงตรัสบอก ทรงแจ้ง ทรงแสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น ทรงประกาศ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ขอจงตรัสบอกอรรถนั้น ... แก่ข้าพระองค์. คำว่า มีสิ่งใดเป็นนิทาน ความว่า มีสิ่งใดเป็นนิทาน มีสิ่งใดเป็นสมุทัย มีสิ่งใดเป็นชาติ มีสิ่งใดเป็นแดนเกิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ขอจงตรัสบอกอรรถนั้นว่า มีสิ่งใดเป็นนิทานแก่ข้าพระองค์ เพราะเหตุนั้น พระพุทธนิมิตนั้นจึงตรัสถามว่า

ความดีใจและความเสียใจ มีอะไรเป็นนิทาน เมื่อ อะไรไม่มี ความดีใจและความเสียใจเหล่านั้นจึงไม่มี อรรถนั้นใด คือความไม่มีและความมี ขอพระองค์จงตรัส บอกอรรถนั้นว่า มีสิ่งใดเป็นนิทาน แก่ข้าพระองค์.

[๔๘๒] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า) ความดีใจและ ความเสียใจ มีผัสสะเป็นนิทาน เมื่อผัสสะไม่มี ความ ดีใจและความเสียใจเหล่านั้นจึงไม่มี อรรถนั้นใด คือ

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 148

ความไม่มีและความมี ข้าพระองค์ขอบอกอรรถนั้นว่า มี ผัสสะนี้เป็นนิทาน แก่พระองค์.

[๔๘๓] คำว่า ความดีใจและความเสียใจ มีผัสสะเป็นนิทาน ความว่า สุขเวทนาเกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นนั่นแหละดับไป สุขเวทนาอัน เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ที่เสวยอยู่ อันเกิด แต่ผัสสะนั้น ก็ดับสงบไป ทุกขเวทนาเกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็น ที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้นนั่นแหละ ดับไป ทุกขเวทนาอันเกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ที่เสวยอยู่ อันเกิดแต่ผัสสะนั้น ก็ดับสงบไป อทุกขมสุขเวทนา เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา เพราะผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นนั่นแหละดับไป อทุกขมสุขเวทนา อันเกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ที่เสวยอยู่ อันเกิดแต่ผัสสะนั้น ก็ดับสงบไป. คำว่า ความดีใจและความเสียใจ มี ผัสสะเป็นนิทาน ความว่า ความดีใจและความเสียใจ มีผัสสะเป็นนิทาน มีผัสสะเป็นสมุทัย มีผัสสะเป็นชาติ มีผัสสะเป็นแดนเกิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความดีใจ ความเสียใจ มีผัสสะเป็นนิทาน.

[๔๘๔] คำว่า เมื่อผัสสะไม่มี ความดีใจและความเสียใจ เหล่านั้นจึงไม่มี ความว่า เมื่อผัสสะไม่มี คือไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้อยู่ ความดีใจและความเสียใจจึงไม่มี คือไม่เป็น ไม่เกิด ไม่เกิดพร้อม ไม่ บังเกิด ไม่บังเกิดเฉพาะ ไม่ปรากฏ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อผัสสะ ไม่มี ความดีใจและความเสียใจเหล่านั้น จึงไม่มี.

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 149

[๔๘๕] คำว่า อรรถนั้นใด คือความไม่มีและความมี ความว่า ภวทิฏฐิก็ดี วิภวทิฏฐิก็ดี ก็มีผัสสะเป็นนิทาน. คำว่า อรรถนั้นใด คือ อรรถอย่างยิ่งใด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อรรถนั้นใด คือความไม่มีและ ความมี.

[๔๘๖] คำว่า นั้น ในคำว่า ขอบอกอรรถนั้นว่า ผัสสะนี้เป็น นิทานแก่พระองค์ ความว่า อรรถที่พระองค์ตรัสถาม ขอให้บอก เชิญ ให้บอก ให้ประสาท. คำว่า ขอบอก คือขอตอบ บอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น ประกาศ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ขอบอกอรรถนั้น ... แก่พระองค์. คำว่า มีผัสสะนี้เป็นนิทาน คือมีผัสสะ นี้เป็นนิทาน มีผัสสะเป็นสมุทัย มีผัสสะเป็นชาติ มีผัสสะเป็นแดนเกิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ขอบอกอรรถนั้นว่า มีผัสสะนี้เป็นนิทานแก่ พระองค์ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า

ความดีใจและความเสียใจ มีผัสสะเป็นนิทาน เมื่อ ผัสสะไม่มี ความดีใจและความเสียใจเหล่านั้นจึงไม่มี อรรถนั้นใด คือความไม่มีและความมี ข้าพระองค์ขอ บอกอรรถนั้นว่า มีผัสสะนี้เป็นนิทาน แก่พระองค์.

[๔๘๗] (พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า) ผัสสะในโลก มีอะไร เป็นนิทาน และความยึดถือมีมาแต่อะไร เมื่ออะไรไม่มี ความถือว่าของเราจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี ผัสสะจึงไม่ ถูกต้อง.

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 150

ว่าด้วยต้นเหตุของผัสสะ ...

[๔๘๘] คำว่า ผัสสะในโลกมีอะไรเป็นนิทาน ความว่า พระพุทธนิมิตตรัสถาม สอบถาม ขอให้ตรัสบอก เชิญให้ทรงแสดง ขอให้ ประสาทซึ่งมูล ฯลฯ สมุทัยแห่งผัสสะว่า ผัสสะมีอะไรเป็นนิทาน คือเกิด เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏมาแต่อะไร คือมีอะไรเป็น นิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผัสสะในโลกมีอะไรเป็นนิทาน.

[๔๘๙] คำว่า และความยึดถือมีมาแต่อะไร ความว่า พระพุทธนิมิตตรัสถาม สอบถาม ขอให้ตรัสบอก เชิญให้ทรงแสดง ขอให้ประสาท ซึ่งมูล ฯลฯ สมุทัย แห่งความยึดถือทั้งหลายว่า ความยึดถือมีมาแต่อะไร คือเกิด เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏมาแต่อะไร คือมีอะไร เป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า และความยึดถือมีมาแต่อะไร.

[๔๙๐] คำว่า เมื่ออะไรไม่มี ความถือว่าของเราจึงไม่มี ความว่า เมื่อไม่มีอะไร ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้อยู่ ความถือว่าของเราจึงไม่มี ไม่เป็น ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้ คือความถือว่า ของเรา อันพระสมณะละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่ออะไรไม่มี ความถือว่าของเราจึงไม่มี.

[๔๙๑] คำว่า เมื่ออะไรไม่มี ผัสสะจึงไม่ถูกต้อง ความว่า เมื่อ อะไรไม่มี ไม่เป็น ก้าวล่วง ล่วงเลย เป็นไปล่วงแล้ว ผัสสะจึงไม่ถูกต้อง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่ออะไรไม่มี ผัสสะจึงไม่ถูกต้อง เพราะเหตุนั้น พระพุทธนิมิตนั้นจึงตรัสถามว่า

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 151

ผัสสะในโลกมีอะไรเป็นนิทาน และความยึดถือ มี มาแต่อะไร เมื่ออะไรไม่มี ความถือว่าของเราจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี ผัสสะจึงไม่ถูกต้อง.

[๔๙๒] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า) ผัสสะเกิดขึ้น เพราะอาศัยนามและรูป ความยึดถือมีความปรารถนา เป็นนิทาน เมื่อความปรารถนาไม่มี ความถือว่าของเรา จึงไม่มี เมื่อรูปไม่มี ผัสสะจึงไม่ถูกต้อง.

[๔๙๓] คำว่า ผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยนามและรูป ความว่า จักษุวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุและรูป ประชุมธรรม ๓ ประการ คือจักษุ รูปในส่วนรูป และสัมปยุตธรรมในส่วนนาม เว้นจักษุสัมผัส เป็นผัสสะ ผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยนามและรูปแม้อย่างนี้. โสตวิญญาณ เกิดขึ้นเพราะอาศัยหูและเสียง ประชุมธรรม ๓ ประการ คือหู เสียงใน ส่วนรูป และสัมปยุตธรรมในส่วนนาม เว้นโสตสัมผัส เป็นผัสสะ ผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยนามและรูป แม้อย่างนี้. ฆานวิญญาณเกิดขึ้น เพราะอาศัยจมูกและกลิ่น ประชุมธรรม ๓ ประการ คือจมูก กลิ่นใน ส่วนรูป และสัมปยุตธรรมในส่วนนาม เว้นฆานสัมผัส เป็นผัสสะ ผัสสะ เกิดขึ้นเพราะอาศัยนามและรูปแม้อย่างนี้. ชิวหาวิญญาณเกิดขึ้นเพราะ อาศัยลิ้นและรส ประชุมธรรม ๓ ประการ คือลิ้น รสในส่วนรูป และ สัมปยุตธรรมในส่วนนาม เว้นชิวหาสัมผัส เป็นผัสสะ ผัสสะเกิดขึ้นเพราะ อาศัยนามและรูปแม้อย่างนี้. กายวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยกายเละโผฏ- ฐัพพะ ประชุมธรรม ๓ ประการ คือกาย โผฏฐัพพะในส่วนรูป และ

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 152

สัมปยุตธรรมในส่วนนาม เว้นกายสัมผัส เป็นผัสสะ ผัสสะเกิดขึ้นเพราะ อาศัยนามและรูปแม้อย่างนี้. มโนวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและ ธรรมารมณ์ ประชุมธรรม ๓ ประการ คือวัตถุ รูป ในส่วนรูป ธรรม ทั้งหลายที่มีรูปในส่วนรูป และสัมปยุตธรรมในส่วนนาม เว้นมโนสัมผัส เป็นผัสสะ ผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยนามและรูปแม้อย่างนี้.

ว่าด้วยความยึดถือมีความปรารถนาเป็นต้นเหตุ

[๔๙๔] คำว่า ความยึดถือมีความปรารถนาเป็นนิทาน ความว่า ตัณหา เรียกว่าความปรารถนา ได้แก่ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โสภะ อกุศลมูล ชื่อว่าความยึดถือ ได้แก่ความยึดถือ ๒ ประการ คือความ ยึดถือด้วยตัณหา ๑ ความยึดถือด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่า ความยึดถือ ด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่า ความยึดถือด้วยทิฏฐิ. คำว่า ความยึดถือมีความ ปรารถนาเป็นนิทาน ความว่า ความยึดถือทั้งหลาย มีความปรารถนา เป็นเหตุ มีความปรารถนาเป็นปัจจัย มีความปรารถนาเป็นการณะ มีความปรารถนาเป็นแดนเกิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความยึดถือมีความ ปรารถนาเป็นนิทาน.

[๔๙๕] คำว่า เมื่อความปรารถนาไม่มี ความถือว่าของเราจึง ไม่มี ความว่า ตัณหา เรียกว่า ความปรารถนา ได้แก่ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล ชื่อว่า ความถือว่าของเรา ได้แก่ความ ถือว่าของเรา ๒ อย่าง คือ ความถือว่าของเราด้วยตัณหา. ความถือว่า ของเราด้วยทิฏฐิ ๑ฯ ลฯ นี้ชื่อว่า ความถือว่าของเราด้วยตัณหาฯ ลฯ นี้ชื่อว่า ความถือว่าของเราด้วยทิฏฐิ. คำว่า เมื่อความปรารถนาไม่มี

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 153

ความถือว่าของเราจึงไม่มี ความว่า เมื่อความปรารถนาไม่มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้อยู่ ความถือว่าของเราจึงไม่มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้ คือ ความถือว่าของเราเหล่านั้น อันพระสมณะละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อความปรารถนาไม่มี ความถือว่าของเราจึงไม่มี.

ว่าด้วยมหาภูตรูป ๔

[๔๙๖] คำว่า รูป ในคำว่า เมื่อรูปไม่มี ผัสสะจึงไม่ถูกต้อง ได้แก่มหาภูตรูป ๔ อุปาทายรูปของมหาภูตรูป ๔. คำว่า เมื่อรูปไม่มี คือรูปย่อมไม่มีโดยเหตุ ๔ อย่าง คือโดยการรู้ โดยการพิจารณา โดย การละ โดยการก้าวล่วง.

รูปไม่มีโดยการรู้อย่างไร พระสมณะย่อมรู้รูป คือย่อมรู้ ย่อม เห็นว่า รูปหมดทุกอย่าง ชื่อว่ารูป ได้แก่มหาภูตรูป ๔ อุปาทายรูปของ มหาภูตรูป ๔ รูปไม่มีโดยการรู้อย่างนี้.

รูปไม่มีโดยการพิจารณาอย่างไร พระสมณะครั้นรู้รูปอย่างนี้แล้ว จึงพิจารณารูป คือพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นของลำบาก เป็นอาพาธ เป็นอย่างอื่น เป็นของชำรุด เป็นเสนียด เป็นอุบาทว์ เป็นภัย เป็นอุปสรรค เป็นของ หวั่นไหว เป็นของแตกพัง เป็นของไม่ยั่งยืน เป็นของไม่มีที่ซ่อนเร้น เป็นของไม่มีที่พึ่ง เป็นของว่าง เป็นของเปล่า เป็นของสูญ เป็นอนัตตา เป็นโทษ เป็นของมีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา เป็นของไม่มีแก่นสาร เป็นมูลแห่งความลำบาก เป็นดังเพชฌฆาต เป็นของปราศจากความ

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 154

เจริญ เป็นของมีอาสวะ เป็นของอันเหตุปัจจัยปรุงแต่ง เป็นเหยื่อแห่งมาร เป็นข้องมีชาติเป็นธรรมดา เป็นของมีชราเป็นธรรมดา เป็นของมีพยาธิ เป็นธรรมดา เป็นของมีมรณะเป็นธรรมดา เป็นของมีความโศก ความ รำพัน ความเจ็บกาย ความเจ็บใจและความแค้นใจเป็นธรรมดา เป็นของ มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา เป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ เป็นของดับไป เป็นของชวนให้หลงแช่มชื่น เป็นอาทีนพ เป็นนิสสรณะ รูปไม่มีโดย การพิจารณาอย่างนี้.

รูปไม่มีโดยการละอย่างไร พระสมณะครั้นพิจารณาอย่างนี้แล้ว จึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง ซึ่งฉันทราคะ ในรูป.

สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันทราคะในรูปใด พวกท่านจงละฉันทราคะนั้นเสีย ฉันทราคะนั้นจักเป็นของ อันพวกท่านละแล้ว มีมูลอันตัดขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ถึงความไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา โดยประการ อย่างนี้ รูปไม่มีโดยการละอย่างนี้.

รูปไม่โดยการก้าวล่วงอย่างไร ผู้ที่ได้อรูปสมบัติทั้ง ๔ แล้วเป็น ผู้ไม่มีรูป คือไม่เจริญรูป ล่วงเลย ก้าวล่วง เป็นไปล่วงรูปเสียได้แล้ว รูปไม่มีโดยการก้าวล่วงอย่างนี้ รูปย่อมไม่มีโดยเหตุ ๔ ประการนี้.

คำว่า เมื่อรูปไม่มี ผัสสะจึงไม่ถูกต้อง ความว่า เมื่อรูปไม่มี ไม่เป็น ล่วงเลย ก้าวล่วง เป็นไปล่วงแล้ว ผัสสะ ๕ ประการ คือจักษุ- สัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส ย่อมไม่ถูกต้อง

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 155

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อรูปไม่มี ผัสสะจึงไม่ถูกต้อง เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยนามและรูป ความยึดถือ มีความปรารถนาเป็นนิทาน เมื่อความปรารถนาไม่มี ความถือว่าของเราจึงไม่มี เมื่อรูปไม่มี ผัสสะจึงไม่ถูก ต้อง.

[๔๘๗] (พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า) เมื่อบุคคลดำเนินอย่างไร รูปจึงไม่มี อนึ่ง สุขและทุกข์ไม่มีอย่างไร รูปเป็นต้น ไม่มีด้วยประการใด ขอพระองค์ตรัสบอกประการนั้น แก่ข้าพระองค์ ข้าพระองค์ได้ตั้งใจว่า จะรู้ประการนั้น.

[๔๙๘] คำว่า เมื่อบุคคลดำเนินอย่างไร รูปจึงไม่มี ความว่า เมื่อบุคคลดำเนินอย่างไร คือปฏิบัติอย่างไร เปลี่ยนอิริยาบถอย่างไร ประพฤติอย่างไร รักษาอย่างไร บำรุงอย่างไร เยียวยาอย่างไร รูปจึง ไม่มี คือไม่เป็นล่วงเลย ก้าวล่วง เป็นไปล่วง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อบุคคลดำเนินอย่างไร รูปจึงไม่มี.

[๔๙๙] คำว่า อนึ่ง สุขและทุกข์ไม่มีอย่างไร ความว่า สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี ไม่มี คือไม่เป็น ล่วงเลย ก้าวล่วง เป็นไปล่วงอย่างไร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อนึ่ง สุขและทุกข์ไม่มีอย่างไร.

[๕๐๐] คำว่า ประการนั้น ในคำว่า รูปเป็นต้นไม่มีด้วยประการ ใด ขอพระองค์ตรัสบอกประการนั้นแก่ข้าพระองค์ ความว่า ประการที่

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 156

ข้าพระองค์ถามขอให้ตรัสบอก เชิญให้ทรงแสดง ขอให้ประสาท เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ประการนั้น. คำว่า ขอตรัสบอก ... แก่ข้าพระองค์ คือ ตรัสบอก ทรงเล่า ทรงแสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น ประกาศแก่ข้าพระองค์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ขอตรัสบอก ... แก่ข้า พระองค์. คำว่า รูปเป็นต้นไม่มี ด้วยประการใด คือรูปไม่มี ไม่เป็น ล่วงเลย ก้าวล่วง เป็นไปล่วง ด้วยประการใด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า รูปเป็นต้นไม่มีด้วยประการใด ขอพระองค์ตรัสบอกประการนั้นแก่ข้าพระองค์.

[๕๐๑] คำว่า จะรู้ประการนั้น ในคำว่า ข้าพระองค์ได้ตั้งใจว่า จะรู้ประการนั้น ความว่า จะรู้ จะรู้ทั่วถึง จะรู้แจ่มแจ้ง จะแทงตลอด ประการนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า จะรู้ประการนั้น. คำว่า ข้าพระองค์ ได้ตั้งใจ คือข้าพระองค์ได้ตั้งจิต ตั้งความดำริ ตั้งวิญญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าพระองค์ได้ตั้งใจว่า จะรู้ประการนั้น เพราะเหตุนั้น พระพุทธนิมิตนั้นจึงตรัสถามว่า

เมื่อบุคคลดำเนินอย่างไร รูปจึงไม่มี อนึ่ง สุขและ ทุกข์ไม่มีอย่างไร รูปเป็นต้นไม่มีด้วยประการใด ขอ พระองค์ตรัสบอกประการนั้นแก่ข้าพระองค์ ข้าพระองค์ ได้ตั้งใจว่า จะรู้ประการนั้น.

[๕๐๒] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า) บุคคลไม่เป็นผู้มี สัญญาโดยสัญญาปกติ ไม่เป็นผู้มีสัญญาโดยสัญญาผิด ปกติ ไม่เป็นผู้ไม่มีสัญญาและไม่เป็นผู้ปราศจากสัญญา

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 157

เมื่อบุคคลดำเนินอย่างนี้รูปจึงไม่มี เพราะว่าส่วนแห่ง ธรรมเครื่องให้เนินช้า มีสัญญาเป็นนิทาน.

[๕๐๓] คำว่า บุคคลไม่เป็นผู้มีสัญญาโดยสัญญาปกติ ไม่เป็น ผู้มีสัญญาโดยสัญญาผิดปกติ ความว่า ชนเหล่าใด ตั้งอยู่โดยสัญญาปกติ ชนเหล่านั้นเรียกว่า เป็นผู้มีสัญญาโดยสัญญาปกติ บุคคลนั้นไม่ตั้งอยู่โดย สัญญาปกติ ชนเหล่าใดเป็นบ้า และเป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ชนเหล่านั้นเรียกว่า เป็นผู้มีสัญญาโดยสัญญาผิดปกติ บุคคลนั้นไม่เป็นบ้า ทั้งไม่เป็นผู้มีจิต ฟุ้งซ่าน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลไม่เป็นผู้มีสัญญาโดยสัญญาปกติ ไม่เป็นผู้มีสัญญาโดยสัญญาผิดปกติ.

[๕๐๔] คำว่า ไม่เป็นผู้ไม่มีสัญญา และไม่เป็นผู้ปราศจาก สัญญา ความว่า ชนเหล่าใดเข้านิโรธ และเป็นอสัญญีสัตว์ ชนเหล่านั้น เรียกว่า เป็นผู้ไม่มีสัญญา. บุคคลนั้นไม่ใช่ผู้เข้านิโรธทั้งไม่ใช่เป็นอสัญญีสัตว์ ชนเหล่าใดได้อรูปสมาบัติ ๔ ชนเหล่านั้นเรียกว่า ไม่เป็นผู้ปราศจาก สัญญา. บุคคลนั้นไม่เป็นผู้ได้อรูปสมาบัติ ๔ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่ เป็นผู้ไม่มีสัญญาและไม่เป็นผู้ปราศจากสัญญา.

[๕๐๕] คำว่า เมื่อบุคคลดำเนินอย่างนี้ รูปจึงไม่มี ความว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ เพราะละสุข ภิกษุนั้นเมื่อ จิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควร แก่การงาน ตั้งมั่นถึงความไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อ ประโยชน์แก่การได้อากาสานัญจายตนสมาบัติ เป็นผู้พร้อมเพรียงด้วย ธรรมเป็นทางแห่งอรูปสมาบัติ เมื่อบุคคลดำเนินอย่างนี้ คือปฏิบัติ ผลัด เปลี่ยนอิริยาบถ ประพฤติ รักษา บำรุง เยียวยาอยู่อย่างนี้ ด้วยประการ

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 158

ดังนี้ รูปจึงไม่มี ไม่เป็น ล่วงเลย ก้าวล่วง เป็นไปล่วง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อบุคคลดำเนินอย่างนี้ รูปจึงไม่มี.

ว่าด้วยธรรมเครื่องเนิ่นช้า

[๕๐๖] คำว่า เพราะว่าส่วนแห่งธรรมเครื่องให้เนิ่นช้า มีสัญญา เป็นนิทาน ความว่า ธรรมเป็นเครื่องให้เนิ่นช้า คือตัณหา ทิฏฐิ มานะ เป็นธรรมมีสัญญาเป็นนิทาน มีสัญญาเป็นสมุทัย มีสัญญาเป็นชาติ มีสัญญา เป็นแดนเกิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะว่าส่วนแห่งธรรมเป็นเครื่อง เนิ่นช้า มีสัญญาเป็นนิทาน เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

บุคคลไม่เป็นผู้มีสัญญาโดยสัญญาปกติ ไม่เป็นผู้มี สัญญาโดยสัญญาผิดปกติ ไม่เป็นผู้ไม่มีสัญญาและไม่ เป็นผู้ปราศจากสัญญา เมื่อบุคคลดำเนินอย่างนี้ รูปจึง ไม่มี เพราะว่าส่วนแห่งธรรมเป็นเครื่องให้เนิ่นช้า มี สัญญาเป็นนิทาน.

[๕๐๗] (พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า) ข้าพระองค์ได้ถูกถาม ธรรมใดแล้ว พระองค์ได้ทรงแถลงธรรมนั้นแก่ข้าพระองค์ แล้ว ข้าพระองค์จะขอทูลถามธรรมส่วนอื่นกะพระองค์ ขอเชิญพระองค์ตรัสบอกธรรมนั้น ก็สมณพราหมณ์บาง พวกอ้างตนเป็นบัณฑิตในโลกนี้ ย่อมกล่าวหมดจดแห่ง ยักษ์ด้วยอรูปสมาบัติเท่านี้หรือหนอ ว่าเป็นธรรมอันเลิศ

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 159

หรือว่าสมณพราหมณ์บางพวก กล่าวความหมดจดอย่าง อื่นกว่าอรูปสมาบัตินี้.

[๕๐๘] คำว่า ข้าพระองค์ได้ทูลถามธรรมใดแล้ว พระองค์ได้ ทรงแถลงธรรมนั้นแก่ข้าพระองค์แล้ว ความว่า ข้าพระองค์ได้ทูลถาม คือขอให้ตรัสบอก เชิญให้ทรงแสดง ขอให้ประสาทซึ่งธรรมใด. คำว่า ได้ทรงแสดงธรรมนั้นแก่ข้าพระองค์แล้ว คือพระองค์ทรงแถลง แถลง ออก ตรัสบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น ประกาศธรรมนั้นแก่ข้าพระองค์แล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าพระองค์ ได้ทูลถามธรรมใดแล้ว พระองค์ได้ทรงแถลงธรรมนั้นแก่ข้าพระองค์ แล้ว.

[๕๐๙] คำว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามธรรมส่วนอื่นกะพระองค์ ขอเชิญพระองค์ตรัสบอกธรรมนั้น ความว่า ข้าพระองค์ขอทูลถาม คือ ขอให้ตรัสบอก เชิญให้ทรงแสดง ขอให้ประสาท ซึ่งธรรมส่วนอื่น กะ พระองค์ คือจะขอทูลถามธรรมยิ่งขึ้นไปกะพระองค์. คำว่า ขอเชิญพระองค์จึงตรัสบอกธรรมนั้น คือขอเชิญพระองค์จงตรัสบอก ชี้บอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น ประกาศธรรมนั้น เพราะ ฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามธรรมส่วนอื่นกะพระองค์ ขอเชิญ พระองค์ตรัสบอกธรรมนั้น.

ว่าด้วยความหมดจดด้วยอรูปสมาบัติ

[๕๑๐] คำว่า ก็สมณพราหมณ์บางพวกอ้างตนเป็นบัณฑิตใน โลกนี้ ย่อมกล่าวความหมดจดแต่งยักษ์ด้วยอรูปสมาบัติเท่านี้หรือหนอ

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 160

ว่าเป็นธรรมอันเลิศ ความว่า สมณพราหมณ์บางพวกย่อมกล่าว บอก พูด แสดง แถลง (ความหมดจด) ว่าเป็นธรรมอันเลิศ ประเสริฐ วิเศษ เป็นประธาน อุดม บวร ด้วยอรูปสมาบัติเท่านี้หรือ. คำว่า ยักษ์ คือ แห่งสัตว์ นรชน มาณพ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิต ผู้เกิด สัตว์เกิด ผู้มีกรรม มนุษย์. คำว่า ความหมดจด คือความหมดจด ความหมดจดวิเศษ ความ หมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบ. คำว่า อ้างตนเป็น บัณฑิตในโลกนี้ คือเป็นผู้กล่าวว่าตนเป็นบัณฑิต เป็นผู้กล่าวว่าตนเป็น ธีรชน ผู้กล่าวว่าตนมีญาณ ผู้กล่าวโดยเหตุ ผู้กล่าวโดยลักษณะ ผู้กล่าว โดยการณ์ ผู้กล่าวโดยฐานะ ในโลกนี้โดยลัทธิของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ก็สมณพราหมณ์บางพวกอ้างตนเป็นบัณฑิตในโลกนี้ ย่อม กล่าวความหมดจดแห่งยักษ์ด้วยอรูปสมาบัติเท่านี้หรือหนอ ว่าเป็นธรรม อันเลิศ.

[๕๑๑] คำว่า หรือว่าสมณพราหมณ์บางพวก กล่าวความหมด จดอย่างอื่นกว่าอรูปสมาบัตินี้ ความว่า หรือว่าสมณพราหมณ์บางพวก ล่วงเลย ก้าวล่วง เป็นไปล่วงอรูปสมาบัติเหล่านี้ ย่อมกล่าว บอก พูด แสดง แถลง ความหมดจด ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบแห่งยักษ์อย่างอื่น คือยิ่งกว่าอรูปสมาบัตินี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า หรือว่าสมณพราหมณ์บางพวก กล่าว ความหมดจดอย่างอื่นกว่าอรูปสมาบัตินี้ เพราะเหตุนั้น พระพุทธนิมิตนั้น จึงตรัสถามว่า

ข้าพระองค์ได้ทูลถามธรรมใดแล้ว พระองค์ทรง แถลงธรรมนั้นแก่ข้าพระองค์แล้ว ข้าพระองค์ขอทูลถาม

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 161

ธรรมส่วนอื่นกะพระองค์ ขอเชิญพระองค์จงตรัสบอก ธรรมนั้น ก็สมณพราหมณ์บางพวกอ้างตนว่า เป็นบัณฑิต ในโลกนี้ ย่อมกล่าวความหมดจดแห่งยักษ์ ด้วยอรูปสมาบัติเท่านี้หรือหนอ ว่าเป็นธรรมอันเลิศ หรือว่าสมณพราหมณ์บางพวก กล่าวความหมดจดอย่างอื่นกว่าอรูปสมาบัตินี้.

[๕๑๒] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า) ก็สมณพราหมณ์ บางพวก อ้างตนเป็นบัณฑิตในโลกนี้ ย่อมกล่าวความ หมดจดแห่งยักษ์ ด้วยอรูปสมาบัติเท่านี้ ว่าเป็นธรรม อันเลิศ บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์ อีกบางพวก อ้างตนเป็นผู้ฉลาด ย่อมกล่าวความสงบใน * อนุปาทิเสส.

[๕๑๓] คำว่า ก็สมณพราหมณ์บางพวก อ้างตนเป็นบัณฑิต ในโลกนี้ ย่อมกล่าวความหมดจดแห่งยักษ์ ด้วยอรูปสมาบัตินี้ ว่าเป็น ธรรมอันเลิศ ความว่า ผู้กล่าวความเที่ยง ย่อมกล่าว บอก พูด แสดง แถลง (ความหมดจด) ว่าเป็นธรรมอันเลิศ ประเสริฐ วิเศษ เป็น ประธาน อุดม บวรด้วยอรูปสมาบัติเท่านี้. คำว่า ยักษ์ คือแห่งสัตว์ นรชน มาณพ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิตผู้เกิด สัตว์เกิด ผู้มีกรรม มนุษย์. คำว่า ความหมดจด คือความหมดจด ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้น วิเศษ ความพ้นรอบ. คำว่า อ้างตนเป็นบัณฑิตในโลกนี้ คือเป็นผู้กล่าว


๑. ความสงบและอนุปาทิเสสฝ่ายอุจเฉททิฏฐิ.

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 162

ตนเป็นบัณฑิต เป็นผู้กล่าวว่าตนเป็นนรชน ผู้กล่าวว่าตนมีญาณ ผู้กล่าว โดยเหตุ ผู้กล่าวโดยลักษณะ ผู้กล่าวโดยการณ์ ผู้กล่าวโดยฐานะ ใน โลกนี้ โดยลัทธิของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ก็สมณพราหมณ์บางพวก อ้างตนเป็นบัณฑิตในโลกนี้ ย่อมกล่าวความหมดจดแห่งยักษ์ ด้วยอรูปสมาบัติเท่านี้ ว่าเป็นธรรมอันเลิศ.

[๕๑๔] คำว่า บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์ อีกบางพวกอ้างตนเป็นผู้ฉลาด ย่อมกล่าวความสงบในอนุปาทิเสส ความว่า บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้นแหละ สมณพราหมณ์บางพวก ผู้กล่าวความขาดสูญ กลัวต่อภพ ย่อมยินดีความไม่มีภพ สมณพราหมณ์ พวกนั้น ย่อมกล่าวความสงบ คือความเข้าไปสงบ ความเงียบ ความดับ ความระงับ แห่งสัตว์ว่า ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า ตนนี้เพราะกายแตก ย่อม ขาดสูญ พินาศไป ย่อมไม่มีเบื้องหน้าแต่มรณะ โดยเหตุใด อนุปาทิเสส ย่อมมีโดยเหตุเท่านั้น. คำว่า อ้างตนเป็นผู้ฉลาด ความว่า กล่าวว่าตนเป็น ผู้ฉลาด กล่าวว่าตนเป็นธีรชน กล่าวว่าตนมีญาณ ผู้กล่าวโดยเหตุ ผู้กล่าว โดยลักษณะ ผู้กล่าวโดยการณ์ ผู้กล่าวโดยฐานะ โดยลัทธิของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บรรดาสมณพราหมณ์เหล่าหนึ่ง สมณพราหมณ์อีกบาง พวกอ้างว่า ตนเป็นผู้ฉลาด ย่อมกล่าวความสงบในอนุปาทิเสส เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ก็สมณพราหมณ์บางพวก อ้างตนเป็นบัณฑิตในโลกนี้ ย่อมกล่าวความหมดจดแห่งยักษ์ ด้วยอรูปสมาบัติเท่านี้ ว่าเป็นธรรมอันเลิศ บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 163

สมณพราหมณ์อีกบางพวก อ้างตนเป็นผู้ฉลาด ย่อม กล่าวความสงบในอนุปาทิเสส.

[๕๑๕] มุนีนั้นมีปัญญาเครื่องพิจารณา รู้สมณพราหมณ์ เหล่านั้นว่า เป็นผู้อันทิฏฐิเข้าไปอาศัย และรู้ว่าเป็นผู้ มีทิฏฐิเป็นที่อาศัย รู้แล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมไม่ถึงความ วิวาท เป็นนรชน ย่อมไม่ถึงพร้อมในภพน้อยภพใหญ่.

ว่าด้วยผู้มีปัญญาเครื่องพิจารณา

[๕๑๖] คำว่า เหล่านั้น ในคำว่า รู้สมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็น ผู้อันทิฏฐิเข้าไปอาศัย ความว่า พวกสมณพราหมณ์ที่ดำเนินด้วยทิฏฐิ. คำว่า เป็นผู้อันทิฏฐิเข้าไปอาศัย ความว่า มุนีนั้นรู้ ทราบ พิจารณา เทียบเคียง ให้แจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้งว่า เป็นผู้อันสัสสตทิฏฐิอาศัยแล้ว เป็นผู้อันอุจเฉททิฏฐิอาศัยแล้ว เป็นผู้อันสัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิอาศัย แล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า รู้สมณพราหมณ์เหล่านั้นว่า เป็นผู้อันทิฏฐิ เข้าไปอาศัย.

[๕๑๗] ชื่อว่า มุนี ในคำว่า มุนีนั้นผู้มีปัญญาเครื่องพิจารณา รู้ว่า เป็นผู้มีทิฏฐิเป็นที่อาศัย ความว่า ญาณ เรียกว่า โมนะ ฯลฯ ก้าวล่วงธรรมเป็นเครื่องข้องบุคคลนั้นชื่อว่า มุนี. มุนี รู้ ทราบ พิจารณา เทียบเคียง ให้แจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้งแล้วว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้อันสัสสตทิฏฐิอาศัยแล้ว เป็นผู้อันอุจเฉททิฏฐิอาศัยแล้ว เป็นผู้อัน สัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิอาศัยแล้ว. คำว่า มุนีนั้นผู้มีปัญญาเครื่อง

 
  ข้อความที่ 46  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 164

พิจารณา คือเป็นบัณฑิต มีปัญญา มีความรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาทำลายกิเลส เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มุนีนั้นผู้มีปัญญาเครื่อง พิจารณารู้ว่า เป็นผู้มีทิฏฐิเป็นที่อาศัย.

[๕๑๘] คำว่า รู้แล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมไม่ถึงความวิวาท ความ ว่า รู้ ทราบ พิจารณา เทียบเคียง ให้แจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้งแล้ว เป็นผู้พ้น พ้นวิเศษ พ้นรอบ พ้นวิเศษดี โดยความพ้นวิเศษ เพราะ ไม่ถือมันโดยส่วนเดียว คือรู้ ทราบ พิจารณา เทียบเคียง ให้แจ่มแจ้ง ทำให้แจ้งแล้วว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรม ทั้งปวงเป็นอนัตตา ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้น ทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา จึงเป็นผู้พ้นวิเศษ พ้นรอบ พ้นวิเศษดี โดยความพ้นวิเศษ เพราะไม่ถือมั่นโดยส่วนเดียว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า รู้แล้ว พ้นวิเศษแล้ว. คำว่า ไม่ถึงความวิวาท ความว่า ไม่ทำความทะเลาะ ไม่ทำความบาดหมาง ไม่ทำความโต้เถียง ไม่ทำความวิวาท ไม่ทำความ หมายมั่น.

สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอัคคิเวสสนะ ภิกษุ ผู้มีจิตพ้นวิเศษแล้วอย่างนี้ ย่อมไม่วิวาทกับใครๆ ก็เรื่องใดที่เขาพูดกัน ในโลก ภิกษุนั้นก็มิได้ถือมั่นพูดโดยเรื่องนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า รู้แล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมไม่ถึงความวิวาท.

[๕๑๙] คำว่า ในภพน้อยภพใหญ่ ในคำว่า เป็นธีรชน ย่อม ไม่ถึงพร้อมในภพน้อยและภพใหญ่ ความว่า ย่อมไม่ถึงพร้อม ไม่มา ถึงพร้อม ไม่ถือเอาไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น ในภพน้อยและภพใหญ่ คือใน กรรมวัฏและวิปากวัฏ ในกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในกามภพ ในวิปากวัฏ

 
  ข้อความที่ 47  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 165

เป็นเครื่องเกิดในกามภพ ในกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในรูปภพ ในวิปากวัฏ เป็นเครื่องเกิดในรูปภพ ในกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในอรูปภพ ใน วิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในอรูปภพ ในความเกิดบ่อยๆ ในความไปบ่อยๆ ในความเข้าถึงบ่อยๆ ในปฏิสนธิบ่อยๆ ในความบังเกิดขึ้นแห่งอัตภาพ บ่อยๆ. คำว่า เป็นธีรชน คือเป็นนักปราชญ์ เป็นบัณฑิต มีปัญญา มีความรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาทำลายกิเลส เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า เป็นธีรชน ย่อมไม่ถึงพร้อมในภพน้อยภพใหญ่ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจงตรัสว่า

มุนีนั้นมีปัญญาเครื่องพิจารณา รู้สมณพราหมณ์เหล่า นั้นว่า. เป็นผู้อันทิฏฐิเข้าไปอาศัย และรู้ว่าเป็นผู้มีทิฏฐิ เป็นที่อาศัยอยู่ รู้แล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมไม่ถึงความ วาที เป็นธีรชน ย่อมไม่ถึงพร้อมในภพน้อยภพใหญ่ ดังนี้.

จบกลหวิวาทสุตตนิเทสสที่ ๑๑

อรรถกถากลหวิวาทสุตตนิทเทสที่ ๑๑

พึงทราบวินิจฉัยในกลหวิวาทสุตตนิทเทสที่ ๑๑ ดังต่อไปนี้.

บทว่า กุโต ปหูตา กลหวิวาทา ความทะเลาะความวิวาทมีมาแต่ อะไร ได้แก่กิเลสเหล่านี้ คือความทะเลาะและความวิวาทอันเป็นส่วน เบื้องต้นของความทะเลาะนั้น เกิดมาแต่อะไร. บทว่า ปริเทวโสกา

 
  ข้อความที่ 48  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 166

สหมจฺฉรา จ ความรำพันความโศก ความตระหนี่ เกิดมาแต่อะไร. บทว่า มานาติมานา สหเปสุณา จ ความถือตัว ความดูหมิ่น และคำพูดส่อเสียด เกิดมาแต่อะไร. บทว่า เต ได้แก่ กิเลส ๘ อย่างทั้งหมดเหล่านั้น. บทว่า ตทิงฺฆ พฺรูหิ ขอเชิญพระองค์ตรัสบอกเถิด คือพระพุทธนิมิตทูลว่า ข้าพระองค์ขอทูลวิงวอน ขอพระองค์จงตรัสบอกความที่ข้าพระองค์ทูล ถามนั้นเถิด. บทว่า อิงฺฆ เป็นนิบาต มีความว่าขอร้อง.

บทว่า เอเกน อากาเรน คือ โดยอาการอย่างเดียวกัน. บทว่า อปเรน อากาเรน คือ โดยอาการอื่น. บทว่า อาคาริกา ทณฺฑปสุตา๑ ผู้ครองเรือนหาโทษใส่กัน คือคหบดีเบียดเบียนกัน. บทว่า ปพฺพชิตา อาปตฺตึ อาปชฺชนฺตา คือ บรรพชิตต้องอาบัติอย่างใดอย่างหนึ่งในกอง อาบัติ ๗ กอง. บทว่า กุโต ปหูตา คือ มีมาแต่ไหน. บทว่า กุโต ชาตา เกิดมาแต่ไหน คือได้อัตภาพมาแต่ไหน. เพิ่มอุปสัตไปเป็น กุโต สญฺชาตา คือ เกิดพร้อมมาแต่ไหน. บทว่า กุโต นิพฺพตฺตา บังเกิดมา แต่ไหน คือถึงลักษณะพร้อมที่จะเกิดมาแต่ไหน. เพิ่มอุปสัคลงไปเป็น กุโต อภินิพฺพตฺตา คือ บังเกิดเฉพาะมาแต่ไหน. บทว่า ปาตุภูตา คือ ปรากฏมาแต่ไหน. พึงทราบความในบทว่า กึนิทานา มีอะไรเป็นนิทาน เป็นต้นต่อไปนี้ ชื่อว่า นิทานะ เพราะมอบผลของตน. ชื่อ สมุทยะ เพราะเป็นเหตุตั้งขึ้นแห่งผล. ชื่อว่า ชาติ เพราะเป็นเหตุเกิดผล. ชื่อว่า ปภวะ เพราะเป็นแดงเกิดแห่งผล. บทว่า มูลํ ปุจฺฉติ พระพุทธนิมิต ทูลถานถึงมูลแห่งการทะเลาะ. เพราะการณะชื่อว่า มูละ เพราะเป็นที่ตั้ง. ชื่อว่า เหตุ เพราะอรรถว่า ปรารถนา คือเป็นไปเพื่อสำเร็จผลแก่ตน.


๑. บาลีเป็น รนฺธปสุตา.

 
  ข้อความที่ 49  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 167

ชื่อว่า นิทาน เพราะมอบผลของตนดุจแสดงว่า ขอเชิญท่านรับผลนั้นเถิด. ชื่อว่า สัมภวะ เพราะเป็นเหตุเกิดแห่งผล. ชื่อว่า ปภวะ เพราะเป็น แดงเกิดแห่งผล. ชื่อว่า สมุฏฐานะ เพราะเป็นที่เกิดแห่งผล หรือเป็น เครื่องเกิดแห่งผล. ชื่อว่า อาหาระ เพราะนำมาซึ่งผลของตน. ชื่อว่า อารัมมณะ เพราะยังผลของตนให้ยินดี. ชื่อว่า ปัจจยะ เพราะไม่ปฏิเสธ ผลที่เป็นไปเพราะอาศัยสิ่งนั้น. ชื่อว่า สมุทยะ เพราะเป็นเหตุตั้งขึ้น แห่งผล. เพราะฉะนั้น พึงทราบคำบรรยายแห่งบทเหล่านี้ด้วยประการ ฉะนี้. พระสังคีติกาจารย์กล่าวแสดงโดยนัยมีอาทิว่า พระพุทธนิมิตทูล ถามมูลแห่งการทะเลาะและวิวาท หมายถึงสมุทัย เหตุแห่งความทะเลาะ วิวาทนั้น.

บทว่า ปิยปฺปหูตา คือ เกิดจากวัตถุเป็นที่รัก. บทว่า มจฺเฉรยุตฺตา กลหาวิวาทา ความทะเลาะวิวาทประกอบด้วยความตระหนี่ ด้วยบทนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงแสดงถึงความตระหนี่วัตถุ อันเป็นที่รักอย่าง เดียวเท่านั้น ว่าเป็นเหตุแห่งความทะเลาะวิวาท. พึงทราบว่าธรรมทั้งหมด เหล่านั้น ท่านกล่าวไว้ในที่นี้ด้วยหัวข้อกลหวิวาทะ. ความวิวาทเป็นเหตุ แห่งคำพูดส่อเสียด เหมือนความตระหนี่เป็นเหตุแห่งความวิวาทฉะนั้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เมื่อความวิวาทกันเกิดขึ้นแล้ว คำพูดส่อเสียดก็มี. การชี้แจงคาถานี้มีความง่ายทั้งนั้น.

บทว่า ปิยา สุ โลกสฺมึ กุโตนิทานา เย วาปิ โลภา วิจรนฺติ โลเก พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า สิ่งที่รักทั้งหลายในโลกนี้มีอะไรเป็นเหตุ และชนเหล่าใดแลย่อมเที่ยวไปในโลกเพราะความโลภ ความว่า สิ่งที่รัก ทั้งหลายเหล่าใดที่ท่านกล่าวไว้ในบทนี้ว่า ความทะเลาะเกิดแต่สิ่งที่รักดังนี้

 
  ข้อความที่ 50  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 168

สิ่งที่รักทั้งหลายเหล่านั้น ในโลกมีอะไรเป็นเหตุ มิได้กล่าวถึงสิ่งที่รักอย่าง เดียว แม้กษัตริย์เป็นต้น ยังเที่ยวไปเพราะความโลภ ถูกความโลภครอบงำ ย่อมเที่ยวไปเพราะความโลภเป็นเหตุ. พระพุทธนิมิตทูลถามสองความ ด้วยคาถาเดียวว่า ก็ความโลภนั้นของชนเหล่านั้นมีอะไรเป็นเหตุ. อนึ่ง ในบทว่า กุโตนิทานา นี้ พึงทราบว่า แปลง โต เป็นปฐมาวิภัตติว่า กึนิ- นิทานา กึเหตุกา. แต่ในสมาสไม่มีลบ โต นั้น. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า นิทานา แปลว่า เกิดแล้ว ความว่า เกิดขึ้นแล้ว. เพราะฉะนั้น ท่านจึง กล่าวว่า กุโตนิทานา จึงมีความว่า เกิดจากอะไร เกิดขึ้นแล้วจากอะไร. บทว่า อาสา จ นิฏฺา จ ได้แก่ ความหวังและความสำเร็จความหวังนั้น. บทว่า เย สมฺปรายาย นรสฺส โหนฺติ ได้แก่ ความหวังและความสำเร็จ ความหวังที่มีแก่นรชนเพื่อโลกหน้า ท่านอธิบายว่า เป็นที่ไปในเบื้องหน้า นี้เป็นคำถามข้อหนึ่งเท่านั้น.

บทว่า ทีปา โหนฺติ เป็นเกาะ คือเป็นที่พึ่ง. บทว่า สรณา โหนฺติ เป็นที่ระลึก คือเป็นที่ให้ทุกข์พินาศไป. บทว่า นิฏฺาปรายโน โหติ คือ เป็นผู้มีความสำเร็จเป็นเบื้องหน้า.

บทว่า ฉนฺทานิทานานิ มีฉันทะเป็นนิทาน ได้แก่ มีฉันทะ มีความ พอใจในกามเป็นต้นเป็นนิทาน. บทว่า เย วาปิ โลภา วิจรนฺติ คือ ชนเหล่าใดมีกษัตริย์เป็นต้น เที่ยวไปเพราะความโลภ แม้ความโลภของ ชนเหล่านั้น ก็มีฉันทะเป็นนิทาน เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง แก้ความทั้งสองรวมกัน. บทว่า อิโตนิทานา มีฉันทะที่เป็นนิทานเท่านั้น ท่านอธิบายว่า มีฉันทะเป็นนิทานอย่างเดียว. เพราะบทว่า อิโตนิทานา

 
  ข้อความที่ 51  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 169

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึงฉันทะ. ด้วยว่าความโลภเป็นต้น มีฉันทะ เป็นนิทาน. อนึ่ง พึงทราบความสำเร็จรูปศัพท์ ในบทว่า อิโตนิทานา นี้ โดยนัยดังกล่าวแล้ว. ในบทว่า กุโตนิทานา นี้นั่นแล ความสำเร็จ ด้วยความหวัง ท่านเรียกว่า นิฏฺา เพราะเหตุนั้น ความสำเร็จแห่งอัธยาศัย ท่านกล่าวว่า เป็นการได้เฉพาะ.

บทว่า วินิจฺฉยา ความตัดสินใจ ได้แก่ ตัณหาวินิจฉัย และทิฏฐิ- วินิจฉัย. บทว่า เย จาปิ ธมฺมา สมเณน วุตฺตา ธรรมเหล่าใดแล อัน พระสมณะตรัสไว้ คือธรรมแม้อื่นเหล่าใดแล หรืออกุศลธรรมทั้งหลาย เห็นปานนั้น ประกอบด้วยความโกรธเป็นต้น อันพระพุทธสมณะตรัสไว้ แล้ว ธรรมเหล่านั้นมีมาแต่อะไร.

บทว่า อญฺชาติกา กิเลสทั้งหลายมีชาติเป็นอย่างอื่น คือมีสภาพ เป็นอย่างอื่น. บทว่า อฺวิหิตกา คือ ตั้งอยู่แล้วโดยการอื่น. บทว่า สมิตปาเปน ผู้มีบาปอันระงับแล้ว คือมีบาปอันดับแล้ว. บทว่า พาหิตปาปธมฺเมน มีบาปธรรมอันลอยแล้ว คือมีธรรมอันลามกละได้แล้ว. บทว่า ภินฺนกิเลสมูเลน มีมูลแห่งกิเลสอันทำลายแล้ว คือตัดรากเหง้า แห่งกิเลสได้แล้วดำรงอยู่. บทว่า สพฺพากุสลพนฺธนา ปมุตฺเตน ผู้พ้น ขาดจากอกุศลมูลเป็นเครื่องผูกทั้งปวง คือปล่อยเครื่องผูก คืออกุศลมูล ๑๒ อย่าง แล้วดำรงอยู่. บทว่า วุตฺตา คือ อันพระสมณะตรัสไว้แล้ว. บทว่า ปวุตฺตา ตรัสโดยทั่ว คือตรัสทุกสิ่งทุกอย่าง.

บทว่า ตมฺปนิสฺสาย ปโหติ ฉนฺโท ฉันทะย่อมมี เพราะอาศัย ธรรมนั้น คือฉันทะย่อมมี ด้วยความปรารถนาอยู่ร่วมกัน และพรากจาก

 
  ข้อความที่ 52  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 170

กัน เพราะอาศัยความดีใจและความเสียใจ กล่าวคือทั้งสองอย่างนั้น อัน ได้แก่สุขเวทนาและทุกขเวทนา. ด้วยเหตุเพียงเท่านี้เป็นอันพระพุทธสมณะ ทรงแก้ปัญหานี้ว่า ฉันทะในโลกมีอะไรเป็นนิทาน. บทว่า รูเปสุ ทิสฺวา วิภวํ ภวญฺจ เห็นความไม่มีและความมีในรูปทั้งหลาย คือเห็นความเสื่อม และความเกิดในรูปทั้งหลาย. บทว่า วินิจฺฉยํ กูรุเต ชนฺตุ โลเก สัตว์ เกิดย่อมทำความตัดสินในโลก คือสัตว์เกิดนี้ย่อมทำความตัดสินด้วยตัณหา เพื่อให้ได้ลาภ และความตัดสินด้วยทิฏฐิ โดยนัยมีอาทิว่า อัตตาของเรา เกิดแล้วดังนี้. ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ก็เป็นอันพระพุทธสมณะทรงแก้ปัญหา นี้ว่า แม้ความตัดสินเกิดมาแต่ไหน ดังนี้.

บทว่า สาตาสาตํ นิสฺสาย อาศัยความยินดีและความเสียใจ คือ ทำอุปนิสัยให้ชุ่มชื่นและร่วงโรย. บทว่า อิฏฺานิฏฺํ ได้แก่ อารมณ์น่า ปรารถนา และอารมณ์ไม่น่าปรารถนา. บทว่า สุรา ในบทนี้ว่า สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺานานุโยคํ ประกอบเนืองๆ ในเหตุเป็นที่ตั้งแห่ง ความประมาทในเพราะการดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัย สุรามี ๕ อย่าง คือสุราทำด้วยแป้ง ๑ สุราทำด้วยขนม ๑ สุราทำด้วยข้าวสุก ๑ สุราใส่ น้ำเชื้อ ๑ สุราผสมด้วยเครื่องปรุง ๑. บทว่า เมรยํ ได้แก่ น้ำดอง ๕ อย่าง คือน้ำดองดอกไม้ ๑ น้ำดองผลไม้ ๑ น้ำดองดอกมะซาง ๑ น้ำดอง น้ำอ้อยงบ ๑ น้ำดองผสมเครื่องปรุง ๑. แม้ทั้งหมดนั้นก็เป็นน้ำเมา ด้วย ทำผู้อื่นให้เมา. บทว่า ปมาทฏฺานํ คือ เป็นเหตุแห่งความประมาท. บทนี้เป็นชื่อของเจตนาของผู้ที่ดื่มน้ำเมานั้น. บทว่า อนุโยคํ ได้แก่ ประกอบเนืองๆ ในเหตุเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทในเพราะการดื่มน้ำเมา

 
  ข้อความที่ 53  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 171

คือสุราและเมรัยนั้น คือทำบ่อยๆ. ก็เพราะเมื่อเราประกอบเนืองๆ ซึ่งเหตุ เป็นที่ตั้งแห่งความประมาท โภคสมบัติที่เกิดขึ้นแล้วก็ย่อมเสื่อมไป และที่ ยังไม่เกิดจึงไม่เกิดขึ้น ฉะนั้น ย่อมรู้ว่าโภคสมบัติของเราย่อมถึงความเสื่อม สิ้นไป. ในบททั้งปวงก็เหมือนอย่างนี้. บทว่า วิกาลวิสิขาจริยานุโยคํ ประกอบเนืองๆ ในการเที่ยวมากไปในถนนในเวลาค่ำคืน คือในเวลาไม่ สมควร. บทว่า สมชฺชาภิจรณํ เที่ยวดูมหรสพบ่อยๆ คือไปดูมหรสพ เช่นดูการฟ้อนรำเป็นต้นบ่อยครั้ง. บทว่า อาลสฺสานุโยคํ ประกอบ เนืองๆ ในความเป็นคนเกียจคร้าน คือขวนขวายมุ่งแต่อยู่ในความเป็นคน เกียจคร้าน. บทว่า อปายมุขานิ น เสวติ ไม่เสพทางแห่งความฉิบหาย คือไม่เสพประตูแห่งความฉิบหายแห่งโภคสมบัติทั้งหลาย. บทว่า กสิยา วา คือ ด้วยกสิกรรมบ้าง. บทว่า วณิชฺชาย วา คือ ด้วยพาณิชยกรรมอันเป็น ธรรมบ้าง. บทว่า โครกฺเขน วา ด้วยโครักขกรรม คือการเลี้ยงโคบ้าง. บทว่า อิสฺสตฺเถน วา คือ ด้วยธนะศิลป์บ้าง. บทว่า ราชโรปริเสน วา คือ ด้วยรับราชการบ้าง. บทว่า สิปฺปญฺตเรน วา คือ ด้วยศิลปะอย่างใด อย่างหนึ่ง ในบรรดาศิลปะ มีช่างทำหม้อเป็นต้น. บทว่า ปฏิปชฺชติ คือ ประกอบการงาน. บทว่า จกฺขุสฺมึ อุปฺปนฺเน ชานาติ คือ เมื่อจักษุ เกิดขึ้น สัตว์ก็รู้ คือยึดถือทิฏฐิว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นแล้ว. บทว่า จกฺขุสฺมึ อนฺตรหิเต คือ เมื่อจักษุนั้นหายไป. บทว่า อตฺตา เม อนฺตรหิโต อัตตาของเราหายไปแล้ว คือยึดถือทิฏฐิว่า อัตตาของเราหายไปแล้ว. บทว่า วิคโต เม อตฺตา คือ อัตตาของเราล่วงไปแล้ว. แม้ในบทมี อาทิว่า โสตสฺมึ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

 
  ข้อความที่ 54  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 172

บทว่า เอเตปิ ธมฺมา ทฺวยเมว สนฺเต ธรรมแม้เหล่านี้ เมื่อ ความดีใจและความเสียใจทั้งสองมีอยู่ คือธรรมมีความโกรธเป็นต้นเหล่านี้ เมื่อความดีใจและความเสียใจทั้งสองมีอยู่ ก็มีมา คือเกิดขึ้น. ด้วยเหตุ เพียงนี้ก็เป็นอันพระพุทธสมณะทรงแก้แม้ปัญหาข้อที่ ๓ แล้ว. พระพุทธสมณะเมื่อจะทรงแสดงถึงอุบายละความสงสัย ของผู้ที่ยังมีความสงสัยใน ปัญหาที่พระองค์แก้แล้วอย่างนี้ จึงตรัสว่า กถํกถี าณปถาย สิกฺเข ผู้มีความสงสัยพึงศึกษาเพื่อทางแห่งญาณ ดังนี้. ท่านอธิบายไว้ว่า พึง ศึกษาสิกขา ๓ เพื่อบรรลุญาณคือญาณทัสสนะ. เพราะเหตุไร. เพราะ ธรรมอันพระสมณะทราบแล้ว จึงตรัสไว้ คือเพราะว่าพระพุทธสมณะทรงรู้ ธรรมทั้งหลายแล้วจึงตรัสไว้. ความไม่รู้ในธรรมทั้งหลายมิได้มีแก่พระสมณะ นั้น แต่บุคคลผู้มีความสงสัยไม่รู้ธรรมเหล่านั้น เพราะความที่ตนไม่มีญาณ ก็ไม่พึงรู้ คือไม่พึงรู้ด้วยโทษแห่งการแสดงก็หาไม่ เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า ผู้สงสัยพึงศึกษาเพื่อทางแห่งญาณ เพราะธรรมอันพระสมณะทรงรู้แล้ว จึงตรัสไว้.

บทว่า ปกฺเขปพนฺธเนน วา พนฺโธ คือ ถูกเขาจำด้วยการขังไว้ใน เรือนจำ. บทว่า ปริกฺเขปพนฺธเนน วา พนฺโธ ถูกเขาจำด้วยเครื่องจำ คือล้อมรั้ว. ในบทมีอาทิว่า คามพนฺธเนน ด้วยเครื่องจำคือบ้าน มีอธิบายว่า เมื่อไม่ได้เพื่อจะออกไปจากที่นั้นๆ ก็ชื่อว่าถูกเขาจำด้วย เครื่องจำคือบ้านเป็นต้น.

บทว่า ตสฺส พนฺธนสฺส โมกฺขตฺถาย คือ เพื่อพ้นจากเครื่องจำ ดังที่กล่าวแล้วนั้น.

บทว่า าณมฺปิ าณปโถ แม้ญาณ ก็ชื่อว่าทางแห่งญาณ คือ ญาณที่เกิดขึ้นก่อนเป็นสื่อของญาณที่เกิดต่อๆ มา เพราะเหตุนั้นแม้ญาณ

 
  ข้อความที่ 55  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 173

ก็เป็นทางแห่งญาณ. บทว่า ณาณสฺส อารมฺมณมฺปิ าณปโล แม้อารมณ์ แห่งญาณ ก็ชื่อว่าเป็นทางแห่งญาณ คือแม้ปัจจัยแห่งญาณ ก็ชื่อว่าเป็นทาง แห่งญาณ เพราะหน่วงอารมณ์นั้นแล้วเกิดขึ้น. บทว่า าณสหภูโนปิ ธมฺมา าณปโถ แม้ธรรมทั้งหลายอันเกิดร่วมกับญาณ ก็ชื่อว่าทาง แห่งญาณ คือแม้ธรรมทั้งหลายที่เป็นจิตเจตสิกอันเหลือ เกิดร่วมกับญาณ ก็เป็นทางแห่งญาณ. บัดนี้ พระพุทธสมณะเมื่อจะทรงให้แจ่มแจ้งด้วย อุปมา จึงตรัสว่า ยถา อริยมคฺโค อริยปโถ เปรียบเหมือนอริยมรรค ก็ชื่อว่าทางแห่งอริยะ ดังนี้เป็นต้น.

บทว่า กถํกถี ปุคฺคโล คือ บุคคลผู้มีความสงสัย. บทว่า สกงฺโข คือ มีความเคลือบแคลง. บทว่า สวิเลโข มีความลังเล คือมีความขัดแย้ง ในจิต. บทว่า สเทฺวฬฺหโก เป็นสองทาง คือกังขาอยู่. บทว่า สริจิกิจฺโฉ คือ ไม่แน่ใจ. บทว่า าณาธิคมาย คือ เพื่อได้ญาณ. บทว่า าณทสฺสนาย เพื่อเห็นญาณ คือเพื่อแทงตลอดญาณ. อีกอย่างหนึ่งเพื่อประสบญาณ. บทว่า าณสจฺฉิกิริยาย คือ เพื่อทำให้แจ่มแจ้งซึ่งญาณ.

บทว่า สนิทานาหํ เราแสดงธรรมมีเหตุ คือเรา (พระพุทธสมณะ) แสดงธรรมมีเหตุมีปัจจัย. บทว่า สปฺปาฏิหาริยํ เราแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ คือนำสัตว์ให้พ้นทุกข์. บทว่า โน อปฺปาฏิหาริยํ เราไม่แสดงธรรมไม่มี ปาฏิหาริย์ คือแสดงธรรมไม่ทำให้สัตว์พ้นจากทุกข์.

บทว่า สาตาสาตํ ในบทว่า สาตํ อสาตญฺจ กุโตนิทานา ความ ดีใจและความเสียใจมีอะไรเป็นนิทาน นี้ท่านประสงค์เอาสุขเวทนาและ ทุกขเวทนานั่นเอง. บทว่า น ภวนฺติ เหเต คือ ความดีใจและเสียใจ เหล่านั้นย่อมไม่มี. บทว่า วิภวํ ภวญฺจาปิ ยเมตมตฺถํ เอตมฺเม ปพฺรูหิ

 
  ข้อความที่ 56  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 174

ยโตนิทานํ ความว่า อรรถนั้นใด คือความไม่มีและความมีแห่งความ ดีใจและความเสียใจ ขอพระองค์จงตรัสบอกอรรถนั้นว่า มีสิ่งใดเป็น นิทานแก่ข้าพระองค์ ในบทนี้ เปลี่ยนรูปลิงค์. ควรจะเป็นดังที่ท่าน อธิบายไว้ว่า สาตาสาตานํ วิภโว ภโว จาติ โย เอส อตฺโถ เอตมฺมํ ปพฺรูหิ. ความอย่างเดียวกับที่กล่าวแล้ว. ในบทว่า ยโตนิทานํ นี้ พึงทราบ โดยอรรถว่า ความไม่มีและความมี คือความเห็นว่าไม่มีและมีนั่นเอง อันเป็นวัตถุแห่งความดีใจและความเสียใจ. เป็นความจริงดังนั้นในฝ่าย แก้ปัญหานี้ แม้ความเห็นว่ามี ก็มีผัสสะเป็นนิทาน แม้ความเห็นว่าไม่มี ก็มีผัสสะเป็นนิทาน เพราะเหตุนั้น จักกล่าวในนิเทศต่อไป. ในนิเทศ แห่งคาถานี้ไม่มีข้อที่ควรกล่าว.

บทว่า อิโตนิทานํ คือ มีผัสสะเป็นนิทาน. บทว่า กิสฺมึ วิภูเต น ผุสนฺติ ผสฺสา เมื่ออะไรไม่มีผัสสะจึงไม่ถูกต้อง คือเมื่ออะไรล่วงไปแล้ว ผัสสะ ๕ มีจักษุสัมผัสเป็นต้น จึงไม่ถูกต้อง แม้คาถานี้ก็ไม่มีอะไรควรกล่าว.

บทว่า นามญฺจ รูปญฺจ ปฏิจฺจ ผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยนาม และรูป คือเพราะอาศัยนามที่ประกอบกัน และรูปคือวัตถุเป็นอารมณ์. บทว่า รูเป วิภูเต น ผุสนฺติ ผสฺสา เมื่อรูปไม่มี ผัสสะจึงไม่ถูกต้อง คือเมื่อรูปล่วงแล้ว ผัสสะ ๕ จึงไม่ถูกต้อง.

บทว่า ติณฺณํ สงฺคติ ผสฺโส ประชุมธรรม ๓ ประการ ผัสสะ จึงเกิดขึ้น. คือผัสสะย่อมเกิดขึ้นเพราะประชุมธรรม ๓ ประการ คือจักษุ รูปและวิญญาณ. บทว่า จกฺขุญฺจ รูปา จ รูปสฺมึ จักษุรูป ในส่วนรูป คือ ประสาทจักษุ รูปารมณ์ อารมณ์ตั้งไว้ในส่วนรูป. บทว่า จกฺขุสมฺผสฺสํ เปตฺวา เว้นจักษุสัมผัส คือปล่อยผัสสะอันเกิดขึ้นเพราะประชุมธรรม

 
  ข้อความที่ 57  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 175

๓ ประการ. บทว่า สมฺปยุตฺตกา ธมฺมา นามสฺมึ สัมปยุตธรรมในส่วน นาม ธรรมในส่วนนามเกิดพร้อมกับผัสสะ มีเวทนาเป็นต้นที่เหลือ. แม้ในบทว่า โสตญฺจ ปฏิจฺจ อาศัยหูเป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า จตูหิ การเณหิ รูปํ วิภูตํ โหติ คือ รูปล่วงไปด้วยเหตุ ๔ อย่าง (โดยการรู้ โดยการพิจารณา โดยการละ โดยการก้าวล่วง). บทว่า ญาตวิภูเตน โดยการรู้ คือทำให้ปรากฏแล้วก้าวล่วง. บทว่า ตีรณวิภูเตน โดยการพิจารณา คือพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น แล้ว ก้าวล่วง. บทว่า ปหานวิภูเตน โดยการละ คือโดยการล่วงไป เพราะ ละฉันทราคะ. บทว่า สมติกฺกมวิภูเตน โดยการก้าวล่วง คือโดยการ ก้าวล่วงด้วยสามารถการได้อรูปสมาบัติ ๔.

บทว่า กถํ สเมตสฺส คือ ปฏิบัติอย่างไร. บทว่า วิโภติ รูปํ รูปจึง ไม่มี หรือไม่พึงมี. บทว่า สุขํ ทุกฺขํ วา ความว่า พระพุทธนิมิตทูลถาม ถึงรูปที่น่าปรารถนา และไม่น่าปรารถนานั่นเอง.

บทว่า ชาเนยฺยาม คือ จักรู้. บทว่า อาชาเนยฺยาม คือ จักรู้ทั่ว ถึง. บทว่า วิชาเนยฺยาม คือ จักรู้แจ้งหลายๆ อย่าง. บทว่า ปฏิวิชาเนยฺยาม จักรู้แจ่มแจ้ง คือจักรู้โดยชอบ. บทว่า ปฏิวิชฺเฌยฺยาม จัก แทงตลอด คือจักตรัสรู้ด้วยจิต.

บทว่า น สญฺสญฺี บุคคลไม่เป็นผู้มีสัญญา โดยสัญญาปกติ คือบุคคลนั้นไม่เป็นผู้มีสัญญาโดยสัญญาปกติ เมื่อบุคคลปฏิบัติอย่างนี้ รูป จึงไม่มี. บทว่า น วิสญฺสญฺญ บุคคลไม่เป็นผู้มีสัญญาโดยสัญญาผิดปกติ คือไม่เป็นผู้มีสัญญาโดยสัญญาผิดปกติ แม้ไม่มีสัญญา ได้แก่คนบ้าหรือคน มีจิตฟุ้งซ่าน. บทว่า โนปิ อสญฺี ไม่เป็นผู้ไม่มีสัญญา คือแม้เว้นจาก

 
  ข้อความที่ 58  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 176

สัญญาก็ไม่ใช่. ได้แก่ ท่านผู้เข้านิโรธ หรือสัตว์ไม่มีสัญญา. บทว่า น วิภูตสญฺี ไม่เป็นผู้ปราศจากสัญญา คือไม่เป็นผู้มีสัญญาก้าวล่วงแล้ว โดยนัยมีอาทิว่า สพฺพโส รูปสญฺานํ แห่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง คือได้อรูปฌาน. บทว่า เอวํ สเมตสฺส วิโภติ รูปํ เมื่อปฏิบัติอย่างนี้รูปจึง ไม่มี คือบุคคลนั้นเมื่อจิตตั้งมั่นแล้วอย่างนี้ ไม่ตั้งอยู่ในความเป็นผู้มีสัญญา โดยสัญญานี้แล้ว ฯลฯ ย่อมนำจิตที่ท่านกล่าวไว้แล้วนั้นไป เพื่อได้ อากาสานัญจายตนสมาบัติ เพราะเหตุนั้นเมื่อบุคคลปฏิบัติอย่างนี้ คือมีความ พร้อมในอรูปมรรค รูปจึงไม่มี. บทว่า สญฺานิทานา หิ ปปญฺจสงฺขา เพราะส่วนแห่งธรรมที่เนิ่นช้ามีสัญญาเป็นนิทาน ท่านแสดงไว้ว่า แม้เมื่อ บุคคลปฏิบัติแล้วอย่างนี้ ธรรมที่เนิ่นช้ามีตัณหาเป็นต้น อันมีสัญญานั้น เป็นนิทานเป็นอันยังละไม่ได้เลย.

บทว่า อสญฺญฺโน วุจฺจนฺติ นิโรธสมาปนฺนา ผู้เข้านิโรธท่านเรียกว่า เป็นผู้ไม่มีสัญญา คือผู้เข้านิโรธเพราะดับสัญญาและเวทนา ท่านกล่าวว่า เป็นผู้ไม่มีสัญญา เพราะสัญญาไม่มี. บทว่า อสญฺสตฺตา เป็นอสัญญีสัตว์ คือเกิดในอสัญญีภพ เพราะไม่มีสัญญาโดยประการทั้งปวง. บทว่า โส ใน บทนั้นว่า โส เอวํ สมาหิเต จิตฺเต ได้แก่ ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิอยู่อย่าง นี้. บทว่า เอวํ นี้ แสดงถึงการก้าวไปสู่จตุตถฌาน. อธิบายว่า ได้จตุตถฌาน ตามลำดับนี้. บทว่า สมาหิเต คือ จิตเป็นสมาธิด้วยสมาธิในจตุตถฌานนี้. อนึ่ง ในบทว่า ปริสุทฺเธ เป็นต้น ได้แก่ จิตบริสุทธิ์ด้วยความบริสุทธิ์ แห่งอุเบกขาและสติ. ชื่อว่าจิตผุดผ่อง เพราะเป็นจิตบริสุทธิ์นั้นเอง. อธิบายว่า ผ่องใส. ชื่อว่าจิตไม่มีกิเลส เพราะกิเลสมีราคะเป็นต้น ถูก กำจัดออกไปด้วยการทำลายปัจจัยมีสุขเวทนาเป็นต้น ชื่อว่าจิตปราศจาก

 
  ข้อความที่ 59  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 177

อุปกิเลส เพราะไม่มีกิเลสนั่นเอง. จิตเศร้าหมองด้วยกิเลส ชื่อว่าจิตอ่อน เพราะอบรมดีแล้ว. อธิบายว่า จิตถึงความชำนาญ. เพราะจิตเป็นไปใน อำนาจ จึงเรียกว่าจิตอ่อน. ชื่อว่าจิตควรแก่การงานเพราะจิตอ่อนนั่นเอง ท่านอธิบายว่า ควรแก่การงาน เหมาะแก่การงาน. เพราะว่าจิตอ่อน เป็นจิตที่ควรแก่การงาน เหมือนทองคำบริสุทธิ์. แม้จิตทั้งสองอย่างนั้น ก็เป็นจิตที่อบรมดีแล้วนั่นเอง. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้สักอย่างเดียว เหมือนจิตที่อบรม แล้วทำให้มากแล้วเป็นจิตอ่อนควรแก่การงานนี้เลย.

ในบรรดาจิตเหล่านั้นชื่อว่าจิตตั้งมั่น เพราะตั้งมั่นอยู่ในความบริสุทธิ์ เป็นต้น. ชื่อว่าจิตถึงความไม่หวั่นไหว เพราะเป็นจิตตั้งมั่นนั่นเอง. อธิบาย ว่าไม่หวั่น ไม่ไหว. อีกอย่างหนึ่งชื่อว่าจิตตั้งมั่น เพราะตั้งอยู่ในอำนาจของ ตนโดยความเป็นจิตอ่อนและควรแก่การงาน. ชื่อว่าจิตถึงความไม่หวั่นไหว เพราะกำหนดไว้ด้วยศรัทธาเป็นต้น. จริงอยู่ จิตที่กำหนดไว้ด้วยศรัทธา ย่อมไม่หวั่น เพราะความไม่เชื่อ. จิตที่กำหนดไว้ด้วยความเพียรย่อมไม่ หวั่นไหว เพราะความเกียจคร้าน. จิตที่กำหนดไว้ด้วยสติย่อมไม่หวั่นไหว เพราะความประมาท. จิตที่กำหนดไว้ด้วยสมาธิย่อมไม่หวั่นไหว เพราะ ความฟุ้งซ่าน. จิตที่กำหนดไว้ด้วยปัญญาย่อมไม่หวั่นไหว เพราะอวิชชา จิตที่กำหนดไว้ด้วยแสงสว่าง ย่อมไม่หวั่นไหว เพราะความมืดคือกิเลส เป็นอันว่าจิตถึงความไม่หวั่นไหว กำหนดแล้วด้วยธรรม ๖ ประการเหล่านั้น จิตประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นจิตควรแก่อภินิหาร (อำนาจบุญกุศล) เพราะ ได้อากาสานัญจายตนสมาบัติ.

อีกนัยหนึ่ง ชื่อว่าจิตมีสมาธิ เพราะมีสมาธิในจตุตถฌาน. ชื่อว่า

 
  ข้อความที่ 60  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 178

จิตบริสุทธิ์ เพราะไกลจากนิวรณ์. ชื่อว่าจิตผ่องแผ้ว เพราะก้าวล่วงวิตก เป็นต้น. ชื่อว่าจิตไม่มีกิเลส เพราะไม่มีความเคลื่อนไหวไปในความ ปรารถนาลามกอันเป็นข้าศึกแก่การได้ฌาน. บทว่า อิจฺฉาวจรานํ มีอธิบาย ว่า เคลื่อนไปในความปรารถนา คือหยั่งลงเป็นไปด้วยอำนาจความ ปรารถนาเป็นปัจจัยแห่งความโกรธมีประการต่างๆ. อนึ่ง ชื่อว่าจิตปราศ- จากอุปกิเลส เพราะปราศจากอุปกิเลสแห่งจิตมีอภิชฌาเป็นต้น. พึงทราบ แม้ทั้งสองอย่างนั้นโดยทำนองเดียวกันกับอนังคณสูตรและวัตถุสูตร. ชื่อว่า จิตอ่อน เพราะถึงความชำนาญ. ชื่อว่าจิตควรแก่การงาน เพราะเข้าถึง อิทธิบาท. ชื่อว่าจิตตั้งมั่นถึงความไม่หวั่นไหว เพราะเข้าถึงความประณีต ด้วยการบำเพ็ญภาวนาให้บริบูรณ์. อธิบายว่า จิตตั้งมั่นโดยอาการที่จิต ไม่มีความหวั่นไหว ไม่ถึงความหวั่นไหว. จิตประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้ เป็นจิตควรแก่อภินิหาร เป็นบาท คือเป็นปทัฏฐานเพื่อได้อากาสานัญจายตนสมาบัติ.

บทว่า อรูปมคฺคสมงฺคี เป็นผู้พร้อมเพรียงด้วยธรรมเป็นทางแห่ง อรูปสมาบัติ คือเป็นผู้ไม่เสื่อมจากธรรมเป็นทางให้ถึงอรูปสมาบัติ. บทว่า ปปญฺจาเยว ปปญฺจสงฺขา ได้แก่ ธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้ามีตัณหาเป็นต้น ชื่อว่า ธรรมเป็นส่วนแห่งความเนิ่นช้า.

บทว่า เอตฺตาวตคฺคํ โน ฯลฯ วทนฺติ เอตฺโต ก็สมณพราหมณ์ บางพวกอ้างคนเป็นบัณฑิตในโลกนี้ ย่อมกล่าวความหมดจดแห่งยักษ์ ด้วยอรูปสมาบัติเพียงเท่านี้ หรือว่าเป็นธรรมอันเลิศ หรือว่าสมณพราหมณ์ บางพวกกล่าวความหมดจดอย่างอื่นกว่าอรูปสมาบัตินี้ คือพระพุทธนิมิต ทูลถามว่า สมณพราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตในโลกนี้ ย่อมกล่าวความหมดจด

 
  ข้อความที่ 61  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 179

ของสัตว์ด้วยอรูปสมาบัติเพียงเท่านี้ หรือว่าเป็นธรรมอันเลิศ หรือว่ากล่าว ความหมดจดแม้อย่างอื่นยิ่งกว่าอรูปสมาบัตินี้. บทว่า เอตฺโต อรูปสมาปตฺติโต คือ กว่าอรูปสมาบัตินี้.

บทว่า เอตฺตาวตฺคฺคมฺปิ วทนฺติ เหเก คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส ตอบว่า สมณพราหมณ์ผู้มีวาทะว่าเที่ยง บางพวกสำคัญคนว่าเป็นบัณฑิต ย่อมกล่าวความหมดจดแห่งยักษ์ด้วยอรูปสมาบัติเพียงเท่านี้ว่า เป็นธรรม อันเลิศ. บทว่า เตสํ ปุเนเก สมยํ วทนฺติ คือ บรรดาสมณพราหมณ์ เหล่านั้น สมณพราหมณ์อีกบางพวก มีวาทะว่าสูญย่อมกล่าวความสงบว่า เป็นความสูญ. บทว่า อนุปาทิเสเส กุสลาวทานา คือ สมณพราหมณ์ อ้างตนว่าเป็นผู้ฉลาด ย่อมกล่าวความสงบในอนุปาทิเสส.

บทว่า ภวตชฺชิตา กลัวต่อภพ. บทว่า วิภวํ อภินนฺทนฺติ ย่อมยินดี ความไม่มีภพ คือยินดีเพราะอาศัยความขาดสูญ. บทว่า เตสตฺตสฺส สมํ สมณพราหมณ์เหล่านั้นย่อมกล่าวถึงความสงบแห่งสัตว์ คือสมณพราหมณ์ เหล่านั้นผู้มีวาทะว่าสูญ ย่อมกล่าวถึงความสงบ คือความไม่เกิดของบุคคล. บทว่า อุปสมํ ความเข้าไปสงบ คือความสงบอย่างยิ่ง. บทว่า วูปสมํ ความเงียบ คือสันติ. บทว่า นิโรธํ ความดับ คือความไม่เกิด. บทว่า ปฏิปสฺสทฺธํ ความระงับ คือไม่เกิดอีกต่อไป.

บทว่า เอเต จ ตฺวา อุปนิสฺสิตา มุนีรู้สมณพราหมณ์นั้นว่า เป็นผู้อันทิฏฐิเข้าไปอาศัย คือรู้ว่าสมณพราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้มีทิฏฐิ อาศัยสัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิ. บทว่า ตฺวา มุนิ นิสฺสเย โส วิมํสี มุนีนั้นมีปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา รู้ว่าสมณพราหมณ์เป็นผู้มีทิฏฐิเป็นที่ อาศัย คือมุนีนั้นเป็นผู้มีปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา เป็นบัณฑิต เป็นพระ-

 
  ข้อความที่ 62  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 180

พุทธมุนี รู้ว่าสมณพราหมณ์เป็นผู้มีทิฏฐิเป็นที่อาศัย. บทว่า ตฺวา วิมุตฺโต รู้แล้ว พ้นวิเศษแล้ว คือรู้ธรรมทั้งหลายโดยความเป็นทุกข์และ ไม่เที่ยงเป็นต้น แล้วพ้นวิเศษ. บทว่า ภวาภวาย น สเมติ ไม่ถึง พร้อมในภพน้อยภพใหญ่ คือไม่ถึงพร้อมด้วยการเกิดบ่อยๆ. บทว่า อปรามสํ ความว่า ภิกษุนั้นมิได้ถือมั่น คือไม่ถึงความถือมั่น.

จบอรรถกถากลหวิวาทสุตตนิทเทสที่ ๑๑