พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. โรหิณีเถรีคาถา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  21 พ.ย. 2564
หมายเลข  40750
อ่าน  401

[เล่มที่ 54] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 370

เถรีคาถา วีสตินิบาต

๒. โรหิณีเถรีคาถา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 54]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 370

๒. โรหิณีเถรีคาถา

[๔๖๘] พระโรหิณีเถรี กล่าวอุทานเป็นคาถา ซึ่งเป็นคำที่บิดาและตนเองพูดจาโต้ตอบกันว่า

บิดาถามข้าพเจ้าว่า

ลูกเอ๋ย ลูกหลับก็พูดว่าสมณะ ตื่นก็พูดว่าสมณะระบุแต่สมณะเท่านั้น เห็นทีลูกบวชเป็นสมณะเสียแน่แท้ โรหิณีเอ๋ย ลูกถวายข้าวน้ำอย่างสมบูรณ์แก่เหล่าสมณะ พ่อขอถาม บัดนี้ เพราะเหตุไร เหล่าสมณะจึงเป็นที่รักของลูก พวกสมณะไม่ชอบทำงานเกียจคร้าน อาศัยแต่ของที่คนอื่นให้เลี้ยงชีพ หวังแต่จะได้ชอบของอร่อย เพราะเหตุไร เหล่าสมณะจึงเป็นที่รักของลูก.

ข้าพเจ้าตอบว่า

ท่านพ่อขา ท่านพ่อสอบถามไล่เลียงเอากะลูกเรื่องคุณของสมณะ เสียตั้งนาน ลูกจักระบุปัญญา ศีลและความพากเพียรของสมณะเหล่านั้นแก่ท่านพ่อดังนี้.สมณะทั้งหลายรักงาน ไม่เกียจคร้าน ทำแต่งานที่ประเสริฐสุด จึงละราคะโทสะได้ เพราะเหตุนั้นเหล่าสมณะจึงเป็นที่รักของลูก.สมณะทั้งหลาย กำจัดมูลรากทั้ง ๓ ของบาป [โลภะ โทสะ โมหะ] ทำแต่งานสะอาด จึงละบาปนั้นได้หมด เพราะเหตุนั้น เหล่าสมณะจึงเป็นที่รักของลูก.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 371

    กายกรรมของสมณะเหล่านั้นสะอาด วจีกรรมก็สะอาด มโนกรรมก็สะอาด เพราะเหตุนั้น เหล่าสมณะจึงเป็นที่รักของลูก

    สมณะเหล่านั้นไร้มลทิน บริสุทธิ์ทั้งภายในทั้งภายนอก ดุจสังข์และมุกดา ธรรมฝ่ายขาวก็บริบูรณ์เพราะเหตุนั้น เหล่าสมณะจึงเป็นที่รักของลูก.สมณะเหล่านั้น เป็นพหูสูต สดับมาก ทรงธรรมเป็นพระอริยะ เป็นอยู่โดยธรรม มีจิตมีอารมณ์เดียว มีสติ เพราะเหตุนั้น เหล่าสมณะจึงเป็นที่รักของลูก.

    สมณะเหล่านั้น เป็นพหูสูต สดับมาก ทรงธรรมเป็นพระอริยะ เป็นอยู่โดยธรรม ย่อมแสดงอรรถและธรรม เพราะเหตุนั้น เหล่าสมณะจึงเป็นที่รักของลูก.

    สมณะเหล่านั้น อยู่ป่าไกลผู้คน มีสติ พูดด้วยปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน รู้ที่สุดทุกข์ เพราะเหตุนั้น เหล่าสมณะจึงเป็นที่รักของลูก.

    สมณะเหล่านั้น หลีกออกจากหมู่บ้านใดไป ก็ไม่เหลียวดูอยู่อย่างกังวลในหมู่บ้านนั้น ไม่มีเยื่อใย ไปเลย เพราะเหตุนั้น เหล่าสมณะจึงเป็นที่รักของลูก.

    สมณะเหล่านั้น ไม่เก็บสะสมข้าวไว้ในยุ้งฉาง ไม่เก็บไว้ในหม้อ ไม่เก็บไว้ในกระเช้า แสวงหาแต่อาหารสำเร็จรูป เพราะเหตุนั้น เหล่าสมณะจึงเป็นที่รักของลูก.

    สมณะเหล่านั้น ไม่รับเงิน ไม่รับทอง ไม่รับรูปิยะ ยังชีวิตให้เป็นไปด้วยปัจจัยที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า เพราะเหตุนั้น เหล่าสมณะจึงเป็นที่รักของลูก.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 372

    สมณะเหล่านั้น บวชมาแต่สกุลต่างๆ กัน ชนบทต่างๆ กัน ก็รักซึ่งกันและกัน เพราะเหตุนั้นเหล่าสมณะจึงเป็นที่รักของลูก.

บิดาพูดกะข้าพเจ้าว่า

    โรหิณีลูกพ่อ ลูกมีความเชื่อความเคารพอย่างแรงกล้าในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ลูกเกิดมาในสกุล เพื่อประโยชน์แก่พวกเราแท้หนอ ลูกรู้จักพระรัตนตรัยนั้นว่า เป็นบุญเขตอันยอดเยี่ยม สมณะเหล่านั้นคงจะรับทักษิณาทานของเราบ้างนะลูก เพราะว่ายัญคือบุญที่ตั้งไว้ในสมณะเหล่านั้น คงจักมีผลไพบูลย์แก่พวกเราแน่.

ข้าพเจ้าจึงกล่าวกะบิดาว่า

    ถ้าพ่อท่านกลัวทุกข์ พ่อท่านไม่รักทุกข์ ก็ขอพ่อท่านถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์เช่นนั้นเป็นสรณะ สมาทานศีล ข้อนั้นจงเป็นประโยชน์แก่พ่อท่านเถิด.

บิดากล่าวว่า

    พ่อขอถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์เช่นนั้นเป็นสรณะ ขอสมาทานศีล ข้อนั้นจงเป็นประโยชน์แก่พ่อเถิด.

    แต่ก่อน พ่อเป็นพราหมณ์เผ่าพันธุ์แห่งพรหมแต่มาบัดนี้ พ่อเป็นพราหมณ์โสตถิยะ ผู้มีวิชชา ๓ จบเวท อาบน้ำคือเสร็จกิจแล้ว.

    จบโรหิณีเถรีคาถา

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 373

๒. อรรถกถาโรหิณีเถรีคาถา

    คาถาว่า สมณาติ โภติ สุปิ ดังนี้เป็นต้น. เป็นคาถาของพระโรหิณีเถรี.

    พระเถรีแม้รูปนี้ ก็บำเพ็ญบารมีมาในพระพุทธเจ้า พระองค์ก่อนๆ สร้างสมกุศลอันเป็นอุปนิสสัยแห่งพระนิพพานมาในภพนั้นๆ นับแต่กัปนี้ไป ๙๑ กัปก็บังเกิดในเรือนสกุล ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า วิปัสสี รู้เดียงสาแล้ว เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเที่ยวบิณฑบาตในนครพันธุมวดีในวันหนึ่ง จึงรับบาตรมาบรรจุขนมแล้ว ถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า เกิดปีติโสมนัสแล้วถวายบังคมด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ด้วยบุญนั้น นางก็เวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์ สั่งสมธรรมเครื่องปรุงแต่งวิโมกข์ตามลำดับ ในพุทธุปบาทกาลนี้ก็บังเกิดในเรือนพราหมณ์ ผู้มีสมบัติมาก กรุงเวสาลี ได้ชื่อว่าโรหิณี รู้เดียงสาแล้ว เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ ณ กรุงเวสาลี ก็ไปวิหาร ฟังธรรม เป็นโสดาบัน แสดงธรรมแก่บิดามารดาทำให้เกิดความเลื่อมใสในพระศาสนา ให้บิดามารดาอนุญาตแล้ว ตัวเองก็บวช ทำกิจกรรมในวิปัสสนา ไม่นานนักก็บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ๔ ด้วยเหตุนั้น ท่านพระสังคีติกาจารย์จึงกล่าวไว้ในคัมภีร์อปทานว่า (๑)

    ในครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้ถวายขนมแด่พระพุทธเจ้าพระนามว่า วิปัสสี ผู้เสด็จเที่ยวไปบิณฑบาตในพระนครพันธุมวดี ด้วยกรรมที่ทำดีนั้น และด้วยความตั้งใจไว้ถูก ข้าพเจ้าทำจิตให้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าข้าพเจ้านั้นก็เข้าถึงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ข้าพเจ้าครองความเป็นพระมเหสีของท้าวสักกะเทวราชถึง ๓๖ พระองค์


    ๑. ไม่มีในบาลีอปทาน.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 374

ครองความเป็นมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิ ๕๐ พระองค์ ธรรมดาว่าความปรารถนาทางใจ ก็สำเร็จแก่ข้าพเจ้าทุกอย่าง ข้าพเจ้าเสวยสมบัติ ทั้งในหมู่เทวดา ทั้งในหมู่มนุษย์ เมื่อถึงภพสุดท้าย ข้าพเจ้าเกิดในสกุลพราหมณ์ ชื่อโรหิณี พวกญาติพากันรักนักหนา ข้าพเจ้าไปสำนักภิกษุฟังธรรมตามเป็นจริงเกิดสลดใจ จึงบวชไม่มีเหย้าเรือน ข้าพเจ้าตั้งความเพียรโดยแยบคายจึงบรรลุพระอรหัตนั้น ในกัปนับแต่กัปที่ ๙๑ ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้ถวายปุวทาน [ถวายขนม] อันใด ข้าพเจ้าไม่รู้จักทุคติ นี้เป็นผลของปุวทานอันนั้น กิเลสทั้งหลาย ข้าพเจ้าก็เผาเสียแล้ว ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ทำเสร็จแล้ว.

    พระโรหิณีเถรี ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว ก็พิจารณาทบทวนความเป็นมาของตน แล้วกล่าวเป็นอุทาน ซึ่งคาถาทั้งหลาย ที่บิดาและตนเองพูดจาโต้ตอบกัน ในเวลาที่ตนเป็นพระโสดาบันแต่ก่อน บิดาถามข้าพเจ้าว่า

    ลูกเอ๋ย ลูกหลับก็พูดว่าสมณะ ตื่นก็พูดว่าสมณะระบุแต่สมณะเท่านั้น เห็นที่ลูกจักบวชเป็นสมณะเสียแน่แท้ โรหิณีเอ๋ย ลูกถวายข้าวน้ำอย่างสมบูรณ์แก่เหล่าสมณะ พ่อขอถาม ณ บัดนี้ เพราะเหตุไรเหล่าสมณะจึงเป็นที่รักของลูก พวกสมณะ ไม่ชอบทำงาน เกียจคร้าน อาศัยแต่ของที่คนอื่นให้เลี้ยงชีพหวังแต่จะได้ ชอบของอร่อย เพราะเหตุไร เหล่าสมณะจึงเป็นที่รักของลูก.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 375

ข้าพเจ้าตอบว่า

    ท่านพ่อขา ท่านพ่อสอบถามไล่เลียงเอากะลูกเรื่องคุณของสมณะเสียตั้งนาน ลูกจักระบุปัญญาศีลและความพากเพียรของสมณะเหล่านั้นแก่ท่านพ่อดังนี้

    สมณะทั้งหลายรักงาน ไม่เกียจคร้าน ทำแต่งานประเสริฐสุด จึงละราคะโทสะได้ เพราะเหตุนั้นเหล่าสมณะจึงเป็นที่รักของลูก.

    สมณะทั้งหลาย กำจัดมูลรากทั้ง ๓ ของบาป [โลภะ โทสะ โมหะ] ทำแต่งานสะอาด จึงละบาปนั้นได้หมด เพราะเหตุนั้น เหล่าสมณะจึงเป็นที่รักของลูก.

    กายกรรมของสมณะเหล่านั้นสะอาด วจีกรรมก็สะอาด มโนกรรมก็สะอาด เพราะเหตุนั้น เหล่าสมณะจึงเป็นที่รักของลูก.

    สมณะเหล่านั้น ไร้มลทิน บริสุทธิ์ทั้งภายในทั้งภายนอก ดุจสังข์และมุกดา ธรรมฝ่ายขาวก็บริบูรณ์เพราะเหตุนั้น เหล่าสมณะจึงเป็นที่รักของลูก.

    สมณะเหล่านั้น เป็นพหูสูตสดับมาก ทรงธรรมเป็นพระอริยะ เป็นอยู่โดยธรรม ย่อมแสดงอรรถและธรรม เพราะเหตุนั้น เหล่าสมณะจึงเป็นที่รักของลูก.

    สมณะเหล่านั้น เป็นพหูสูตสดับมาก ทรงธรรมเป็นพระอริยะ เป็นอยู่โดยธรรม มีจิตมีอารมณ์เดียวมีสติ เพราะเหตุนั้น เหล่าสมณะจึงเป็นที่รักของลูก.

    สมณะเหล่านั้น อยู่ป่าไกลผู้คน มีสติ พูดด้วยปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน รู้ที่สุดทุกข์ เพราะเหตุนั้น เหล่าสมณะจึงเป็นที่รักของลูก.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 376

    สมณะเหล่านั้น หลีกออกจากหมู่บ้านใดไปก็ไม่เหลียวดูอย่างกังวลในหมู่บ้านนั้น ไม่มีเยื่อใยไปเลย เพราะเหตุนั้น เหล่าสมณะจึงเป็นที่รักของลูก.

    สมณะเหล่านั้น ไม่เก็บสะสมข้าวไว้ในฉาง ไม่เก็บไว้ในหม้อ ไม่เก็บไว้ในกระเช้า แสวงหาแต่อาหารสำเร็จรูป เพราะเหตุนั้น เหล่าสมณะจึงเป็นที่รักของลูก.

    สมณะเหล่านั้น ไม่รับเงิน ไม่รับทอง ไม่รับรูปิยะ ยังชีวิตให้เป็นไปด้วยปัจจัยที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า เพราะเหตุนั้น เหล่าสมณะจึงเป็นที่รักของลูก.

    สมณะเหล่านั้น บวชมาแต่สกุลต่างๆ กัน ชนบทต่างๆ กัน ก็รักซึ่งกันและกัน เพราะเหตุนั้นเหล่าสมณะจึงเป็นที่รักของลูก.

บิดาพูดกะข้าพเจ้าว่า

    โรหิณีลูกพ่อ ลูกมีความเชื่อความเคารพอย่างแรงกล้า ในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ลูกเกิดมาในสกุล เพื่อประโยชน์แก่พวกเราแท้หนอ ลูกรู้จักพระรัตนตรัยนั้นว่าเป็นบุญเขตอันยอดเยี่ยม สมณะเหล่านั้น คงจะรักทักษิณาทานของเราบ้างนะลูก เพราะว่ายัญคือบุญที่ตั้งไว้ในสมณะเหล่านั้น คงจักมีผลไพบูลย์แก่พวกเราแน่.

ข้าพเจ้าจึงกล่าวกะบิดาว่า

    ถ้าพ่อท่านกลัวทุกข์ พ่อท่านไม่รักทุกข์ ก็ขอพ่อท่านถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เช่นนั้นเป็นสรณะ

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 377

สมาทานศีล ข้อนั้น จงเป็นประโยชน์แก่พ่อท่านเถิด.

บิดากล่าวว่า

    พ่อขอถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์เช่นนั้นเป็นสรณะ ขอสมาทานศีล ข้อนั้น จงเป็นประโยชน์แก่พ่อเถิด.

    แต่ก่อน พ่อเป็นพราหมณ์เผ่าพันธุ์แห่งพรหม แต่มาบัดนี้ พ่อเป็นพราหมณ์โสตถิยะ ผู้มีวิชชา ๓ จบเวท อาบน้ำคือเสร็จกิจแล้ว.

    พระโรหิณีเถรีได้กล่าวคาถาดังว่ามานี้.

    พราหมณ์ผู้บิดา ซึ่งไม่ต้องการสมมติในภิกษุทั้งหลายสำหรับธิดาตนกล่าว ๓ คาถาข้างต้น ในคาถาเหล่านั้น.บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมณาติ โภติ สุปิ ความว่า ลูกเอ๋ยแม้เวลาลูกหลับ ลูกก็ระบุว่า สมณะ สมณะ หลับก็พูดถ้อยคำที่เกี่ยวกับสมณะเท่านั้น. บทว่า สมณาติ ปพุชฺฌสิ ความว่า ลูกแม้ลุกขึ้นจากหลับ ตื่น คือลุกจากการนอน ก็กล่าวอย่างนี้ว่าสมณะ. บทว่า สมณาเนว กิตฺเตสิ ความว่า ลูกประกาศสมณะหรือสรรเสริญคุณของสมณะเท่านั้น ทุกเวลาไปเลย.บทว่า สมณี นูน ภวิสฺสสิ ความว่า บัดนี้ลูกแม้ตัวยังเป็นคฤหัสถ์ เห็นทีลูกจักมีจิตใจเป็นสมณะเป็นแน่ อีกนัยหนึ่ง. บทว่า สมณี นูน ภวิสฺสสิได้แก่ บัดนี้ ลูกแม้เป็นคฤหัสถ์ ไม่นานนักเห็นทีลูกจักเป็นสมณะอย่างเดียวเพราะจิตใจลูกโน้มน้อมไปในสมณะเท่านั้น. บทว่า ปเวจฺฉสิ ได้แก่ ให้.บทว่า โรหิณี ทานิ ปุจฺฉามิ ความว่า พราหมณ์เมื่อจะถามธิดาของตน

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 378

จึงกล่าวว่า ลูกโรหิณี บัดนี้ พ่อจะถามลูก. บทว่า เกน เต สมณา ปิยาความว่า ลูกโรหิณี ทั้งหลับ ทั้งตื่น ทั้งเวลาอื่นๆ ลูกก็ประกาศแต่คุณของสมณะเท่านั้น เพราะเหตุชื่ออะไรสมณะทั้งหลาย จึงเกิดเป็นผู้น่ารักสำหรับลูก.

    บัดนี้ พราหมณ์เมื่อจะบอกโทษในเหล่าสมณะแก่ธิดา จึงกล่าวคาถาว่า อกมฺมกามา เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อกมฺมกามา แปลว่า ไม่รักงาน ได้แก่ ไม่อยากทำงานอะไรๆ ที่จะนำประโยชน์มาแก่ตนและคนอื่นๆ . บทว่า อลสา แปลว่า เกียจคร้าน. บทว่า ปรทตฺตูปชีวิโนได้แก่ อาศัยของที่คนอื่นเขาให้เลี้ยงชีพเป็นปกติ. บทว่า อสํสุกา ได้แก่คอยหวังแต่อาหารและผ้าเป็นต้น จากคนอื่นนั่นแหละ. บทว่า สาทุกามาได้แก่ ปรารถนาแต่อาหารที่ดีที่อร่อยเท่านั้น. พราหมณ์เมื่อไม่รู้จักคุณของเหล่าสมณะ ก็กล่าวโทษนั้นทุกอย่างที่ตนคิดขึ้นมาเอง.

    โรหิณีฟังคำบิดานั้นแล้ว ก็ดีใจว่า เราได้โอกาสกล่าวถึงคุณของพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายแล้ว ประสงค์จะประกาศคุณของภิกษุทั้งหลาย ก่อนอื่นเมื่อจะแจ้งความโสมนัสในการประกาศถึงภิกษุเหล่านั้น โนลำดับแรก จึงกล่าวคาถาว่า จิรสฺสํ วต มํ ตาต เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จิรสิสํ วต แปลว่า โดยกาลนานหนอ. โรหิณีเรียกบิดาด้วยคำว่า ตาต. บทว่า สมณานํ ความว่า พ่อท่านไถ่ถามไล่เลียงถึงเหล่าสมณะ หรือคุณของเหล่าสมณะที่พึงรักสำหรับลูก. บทว่า เตสํ ได้แก่ เหล่าสมณะ. บทว่า ปญฺาสีลปรกฺกมํ ได้แก่ ปัญญา ศีล และความอุตสาหะ.

    บทว่า กิตฺตยิสฺสามิ ได้แก่ จักกล่าว. โรหิณี ครั้นปฏิญาณแล้วเมื่อจะประกาศถึงสมณะเหล่านั้น แต่เพื่อจะปลดเปลื้องโทษ ซึ่งพราหมณ์บิดานั้นกล่าวไว้ว่า เป็นผู้ไม่รักงานเกียจคร้านเสียก่อน แล้วแสดงคุณตรงกันข้ามกับที่พราหมณ์บิดากล่าวนั้น จึงกล่าวคาถาว่า กมฺมกามา เป็นต้น. บรรดา

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 379

บทเหล่านั้น บทว่า กมฺมกามา ความว่า สมณะเหล่านั้น ประสงค์คือปรารถนางานต่างโดยวัตรปฏิบัติเป็นต้น คือกิจหน้าที่ของสมณะให้บริบูรณ์ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่าผู้รักงาน สมณะเหล่านั้น เป็นผู้ขวนขวายในสมณกิจนั้นขมักเขม้นพยายามไม่เกียจคร้าน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าผู้ไม่เกียจคร้าน อนึ่งสมณะเหล่านั้น กระทำงานนั้นอันประเสริฐ สูงสุด ซึ่งนำมาเพื่อพระนิพพานอย่างเดียว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ทำงานอันประเสริฐสุด. อนึ่ง สมณะเหล่านั้น กำลังกระทำอยู่ ชื่อว่ากำลังละราคะ โทสะ คือการทำงาน โดยวิธีการที่จะละราคะ โทสะเสียได้ เพราะการปฏิบัตินั้นไม่มีโทษ. บทว่า เตน เมสมณา ปิยา ความว่า เพราะการปฏิบัติโดยชอบตามที่กล่าวมานั้น เหล่าสมณะจึงควรเป็นที่รักสำหรับลูก.

    บทว่า ตีณิ ปาปสฺส มูลานิ ได้แก่ มูลรากของอกุศล มี ๓ กล่าวคือ โลภะ โทสะ โมหะ. บทว่า ธุนนฺติ ได้แก่ ทำลาย คือละ. บทว่า สุจิการิโน ได้แก่ ทำงานที่ไม่มีโทษ. บทว่า สพฺพปาปํ ปหีเนสํ ได้แก่ ละบาปนั้นได้หมด เพราะบรรลุอรหัตมรรค.

    โรหิณีนั้น เพื่อจะแยกแสดงอรรถที่กล่าวโดยย่อว่า สมณา สุจิการิโน อย่างนี้แล้ว จึงกล่าวคาถาว่า กายกมฺมํ เป็นต้น. คำนี้รู้ง่ายทั้งนั้น.บทว่า วิมลา สงฺขมุตฺตาว ความว่า ปราศจากมลทิน เว้นจากมลทินมีราคะเป็นต้น ประดุจสังข์ขัดดีแล้ว และประดุจมุกดา. บทว่า สทฺธาสนฺตรพาหิรา ความว่า ทั้งภายในทั้งภายนอก ชื่อว่าสันตรพาหิระ สะอาดทั้งภายในทั้งภายนอก คือมีอาสยะและประโยคพยายามอันหมดจด. บทว่า ปุณฺณา สุกฺกาน ธมฺมานํ ความว่า บริบูรณ์ด้วยธรรมฝ่ายขาวส่วนเดียวคือธรรมที่ไม่มีโทษ ได้แก่ ประกอบพร้อมด้วยศีลขันธ์เป็นต้น อันเป็นธรรมของพระอเสขะ.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 380

    สุตะมีสุตตะเคยยะเป็นต้น ของสมณะเหล่านั้นมาก หรือว่าสมณะเหล่านั้น เกิดแล้วด้วยสุตะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อพหูสูต อธิบายว่า ประกอบพร้อมด้วยพาหุสัจจะทางปริยัติ และพาหุสัจจะทางปฏิเวธ สมณะเหล่านั้นย่อมทรงธรรมแม้ทั้งสองนั้นไว้ได้ เหตุนั้น จึงชื่อว่า ธมฺมธรา ผู้ทรงธรรมสมณะเหล่านั้น ย่อมดำเนินไปด้วยสิกขาบทที่เป็นอาจาระและสมาจารแก่สัตว์ทั้งหลาย เหตุนั้น จึงชื่อว่าอริยะ. สมณะเหล่านั้น ย่อมเป็นอยู่โดยธรรม คือชอบธรรม เหตุนั้น จึงชื่อว่า ธมฺมชีวี. บทว่า อตฺถํ ธมฺมญฺจ เทเสนฺติได้แก่ กล่าวประกาศอรรถแห่งภาษิต และเทศนาธรรม ก็หรือว่าย่อมแสดงย่อมสอนธรรมที่ไม่ไปปราศจากอรรถ และอรรถที่ไม่ไปปราศจากธรรม.

    บทว่า เอกคฺคจิตฺตา ได้แก่มีจิตมั่นคง. บทว่า สติมนฺโต ได้แก่ มีสติตั้งมั่น. บทว่า ทูรงฺคมา ได้แก่ ไปป่า. สมณะเหล่านั้น ละถิ่นที่ใกล้มนุษย์ไปเสียไกล หรือไปยังที่ไกลตามที่ชอบใจด้วยฤทธานุภาพ เหตุนั้นจึงชื่อว่า ทูรังคมะผู้ไปไกล. ปัญญา ท่านเรียกว่ามันตา. สมณะเหล่านั้น ชื่อว่ามันตภาณี เพราะมีปกติพูดด้วยปัญญานั้น. บทว่า อนุทฺธตา ได้แก่ ไม่ฟุ้งซ่าน คือเว้นความฟุ้งซ่าน มีจิตสงบ. บทว่า ทุกฺขสฺสนฺตํ ปชานฺนติ ได้แก่ แทงตลอดพระนิพพาน อันเป็นที่สุดแห่งทุกข์ในวัฏฏะ.

    บทว่า น วิโลเกนฺ กิญฺจนํ ความว่า สมณะเหล่านั้น ออกไปจากบ้านหมู่ใด ก็ไม่เหลียวมองสัตว์หรือสังขารไรๆ ในบ้านหมู่นั้นด้วยความอาลัย ที่แท้ไม่มีความเยื่อใย หลีกไปเลย.

    บทว่า น เต สํ โกฏฺเ โอเปนฺติ ความว่า สมณะเหล่านั้นไม่สะสม ไม่เก็บรวม ซึ่งสมบัติส่วนตัวไว้ในคลัง [ยุ้ง, ฉาง] เพราะไม่มีความจำเป็นเช่นนั้น. บทว่า กุมฺภึ ได้แก่ในหม้อ. บทว่า ขโฬปิยํ ได้แก่ ในกระเช้า. บทว่า ปรินิฏฺิตเมสานํ ได้แก่ แสวงหาอาหารสำเร็จรูปเพื่อประโยชน์ของคนอื่นๆ ในสกุลอื่นๆ .

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 381

    บทว่า หิรญฺญํ ได้แก่ กหาปณะ. บทว่า รูปิยะ ได้แก่ เงิน.บทว่า ปจฺจุปฺปนฺเนน ยาเปนฺติ ได้แก่ ไม่เศร้าโศกถึงอดีตเรื่องที่ล่วงมาแล้ว และไม่มุ่งหวังอนาคตเรื่องที่ยังไม่มาถึง ย่อมดำรงชีพคือยังอัตภาพให้เป็นไป ด้วยปัจจัยปัจจุบัน คือที่เกิดเฉพาะหน้า.

    บทว่า อญฺญมญฺญํ ปิหยนฺติ ได้แก่ กระทำไมตรีในกันและกัน.บาลีว่า ปิหายนฺติ ดังนี้ก็มี ความก็อย่างนั้นเหมือนกัน.

    พราหมณ์นั้น ฟังคุณของภิกษุทั้งหลายในสำนักธิดาอย่างนี้แล้ว มีใจเลื่อมใส เมื่อจะสรรเสริญธิดา จึงกล่าวคาถาว่า อตฺถาย วต เป็นต้น.บทว่า อนฺหมฺปิ แปลว่า ของเราบ้าง. บทว่า ทกฺขิณํ ได้แก่ ไทยธรรม.บทว่า เอตฺถ ได้แก่ ในสมณะเหล่านั้น. บทว่า ยญฺโ ได้แก่ ทานธรรม. บทว่า วิปุโล ได้แก่ มีผลไพบูลย์. คำที่เหลือ มีนัยดังกล่าวมาแล้วทั้งนั้น.

    พราหมณ์ตั้งอยู่ในสรณะและศีลอย่างนี้แล้ว ต่อมา เกิดความสลดใจก็บวชเจริญวิปัสสนาตั้งอยู่ในพระอรหัต พิจารณาทบทวนความเป็นมาของตนเมื่อจะอุทาน จึงกล่าวคาถาว่า พรฺหฺมพนฺธุ เป็นต้น ความของอุทานนั้นได้กล่าวมาแล้วในหนหลังทั้งนั้น.

    จบ อรรถกถาโรหิณีเถรีคาถา