พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. กิสาโคตมีเถรีคาถา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  21 พ.ย. 2564
หมายเลข  40746
อ่าน  380

[เล่มที่ 54] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 300

เถรีคาถา เอกาทสกนิบาต

๑. กิสาโคตมีเถรีคาถา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 54]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 300

เอกาทสกนิบาต

๑. กิสาโคตมีเถรีคาถา

[๔๖๔] พระกิสาโคตมีเถรีกล่าวว่า

เฉพาะโลก พระมุนีทรงสรรเสริญความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร คนเมื่อคบกัลยาณมิตร แม้เป็นพาล ก็พึงเป็นบัณฑิตได้บ้าง.

ควรคบแต่สัตบุรุษคนดี คนคบสัตบุรุษ ปัญญาย่อมเจริญได้เหมือนกัน คนคบสัตบุรุษจะพึงพ้นจากทุกข์ได้ทุกอย่าง.

บุคคลพึงรู้จักอริยสัจ แม้ทั้ง ๔ คือ ทุกข์ ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ และมรรคมีองค์ ๘.

ยักษิณีตนหนึ่งกล่าวตำหนิความเป็นหญิงไว้ว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงฝึกคนที่ควรฝึกตรัสว่าความเป็นหญิงเป็นทุกข์ แม้การเป็นหญิงร่วมสามีก็เป็นทุกข์ หญิงบางพวกย่อมคลอดครั้งเดียว บางพวกก็เชือดคอตนเอง บางพวกที่เป็นสุขุมาลชาติละเอียดอ่อน ทนทุกข์ไม่ได้กินยาพิษ สัตว์ในครรภ์และหญิงผู้มีครรภ์ ย่อมประสบความพินาศย่อยยับทั้งสองคน

พระปฏาจาราเถรีเล่าว่า

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 301

ข้าพเจ้าครรภ์แก่ใกล้คลอด เดินทางไปยังไม่ทันถึงเรือนตน ก็คลอดบุตรที่ระหว่างทาง พบสามีตายบุตรทั้งสองก็ตาย สามีก็ตายเสียที่ทางเปลี่ยว ข้าพเจ้ากลายเป็นคนยากไร้ มารดาบิดาและพี่ชาย ถูกเผาบนเชิงตะกอนเดียวกัน เมื่อตระกูลเสื่อมตกเป็นคนยากไร้ข้าพเจ้าต้องเสวยทุกข์หาประมาณมิได้ น้ำตาของข้าพเจ้าไหลตลอดมาหลายพันชาติ.

ข้าพเจ้าอยู่ท่ามกลางสุสาน แม้เนื้อบุตรก็ต้องกินข้าพเจ้ามีตระกูลเสื่อมแล้ว สามีตายแล้ว [เป็นหม้าย] คนทั้งปวงติเตียนแล้วก็ได้บรรลุอมตธรรม.

อริยมรรคมีองค์ ๘ อันให้ถึงอมตธรรมข้าพเจ้าก็อบรมแล้ว แม้พระนิพพานก็กระทำให้แจ้งแล้วข้าพเจ้าได้พบกระจกธรรมแล้ว.

ข้าพเจ้าตัดความโศกศัลย์ได้แล้ว ปลงภาระแล้วกระทำกรณียะเสร็จแล้ว ข้าพเจ้าชื่อกีสาโคตมีเถรี ผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วกล่าวคำนี้ไว้.

จบ กีสาโคตมีเถรีคาถา

จบ เอกาทสนิบาต

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 302

อรรถกถาเอกาทสกนิบาต

๑. อรรถกถากิสาโคตมีเถรีคาถา

    ใน เอกาทสนิบาต คาถาว่า กลฺยาณมิตฺตตา เป็นต้น เป็นคาถาของ พระกีสาโคตมีเถรี มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

    ได้ยินว่า พระเถรีรูปนี้ ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ก็บังเกิดในเรือนสกุลกรุงหังสวดี รู้เดียงสาแล้ว วันหนึ่งฟังธรรมในสำนักพระศาสดา เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุณีรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นเลิศของเหล่าภิกษุณีผู้ทรงจีวรปอน ก็สร้างสมกุศลให้ยิ่งๆ ขึ้นไป ท่องเที่ยวอยู่ในเทวดาและมนุษย์ถึงแสนกัป ในพุทธุปบาทกาลนี้ ก็บังเกิดในสกุลเข็ญใจ กรุงสาวัตถี ชื่อของนางว่า โคตมี แต่เพราะตัวผอม เขาจึงเรียกว่า กีสาโคตมี นางไปมีสามี บิดามารดาและญาติดูหมิ่นว่า เป็นลูกสาวของสกุลเข็ญใจ นางคลอดลูกชายออกมาคนหนึ่ง เพราะได้ลูกชาย บิดามารดาและญาติก็ทำสัมมานะยกย่องนาง แต่ลูกชายนางก็ตายเสียขณะที่วิ่งเล่นได้ ด้วยเหตุนั้น นางจึงเกิดบ้าเพราะความเศร้าโศก.

    นางคิดว่า เมื่อก่อนเราถูกดูหมิ่น นับตั้งแต่ลูกชายเราเกิดก็ได้รับยกย่อง คนเหล่านี้พยายามจะทิ้งลูกชายเราไว้ข้างนอก จึงอุ้มร่างลูกชายที่ตายแล้วไป โดยความบ้าเพราะความเศร้าโศก ตระเวนไปในนคร ตามลำดับประตูเรือนโดยกล่าวขอร้องว่า ขอท่านโปรดให้ยาแก่ลูกชายของข้าด้วยเถิด ผู้คนทั้งหลายบริภาษด่าว่า จะเอายาแก้ตายมาแต่ไหน นางก็ไม่เชื่อคำของคนเหล่านั้น ครั้งนั้น ชายบัณฑิตผู้หนึ่งคิดว่า หญิงคนนี้จิตฟุ้งซ่านเป็นบ้าเพราะ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 303

โศกเศร้าถึงลูกชาย พระทศพลเท่านั้นคงจักทรงรู้จักยาสำหรับหญิงคนนี้ จึงกล่าวว่า แม่คุณ ไปเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วทูลถามถึงยาสำหรับลูกชายของแม่นางสิ นางไปพระวิหาร เวลาพระศาสดาทรงแสดงธรรม ทูลถามว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า โปรดทรงประทานยาสำหรับ ลูกชายของข้าพระองค์ด้วยเถิด พระศาสดาทรงเห็นอุปนิสัยของนาง จึงตรัสว่า ไปสิ เข้าพระนครเรือนหลังใดไม่เคยมีคนตาย จงนำเมล็ดผักกาดจากเรือนหลังนั้นมา. นางรับพระพุทธดำรัสว่า ดีละพระเจ้าข้า ดีใจก็เข้าพระนครไปในเรือนหลังแรก พูดว่า พระศาสดาโปรดให้ข้านำเมล็ดผักกาดไป เพื่อทำยาสำหรับลูกชายของข้าถ้าในเรือนหลังนี้ ไม่เคยมีใครๆ ตาย โปรดให้เมล็ดผักกาดแก่ข้าด้วยเถิดคนในเรือนหลังนั้นกล่าวว่า ใครเล่าจะสามารถนับคนที่ตายไปแล้ว ในเรือนหลังนี้ได้. นางไปเรือนหลังที่สอง-สาม ด้วยพุทธานุภาพ ก็หายบ้า อยู่ในปกติจิตจึงคิดว่า จะประโยชน์อะไรด้วยเมล็ดผักกาดนั้น พอกันที สำหรับเมล็ดผักกาดในที่นี้ นางคิดว่า ธรรมเนียมนี้นี่แหละ คงจักมีทั่วพระนครความจริงนี้คงจักเป็นข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงอนุเคราะห์ด้วยหวังดี ทรงเห็นแล้ว ก็ได้ความสลดใจ จากที่นั้น ก็ออกไปข้างนอก ทิ้งลูกชายที่ป่าช้าผีดิบกล่าวคาถานี้ว่า

ธรรมคืออนิจจตา ความไม่เที่ยง มิใช่เป็นธรรมของชาวบ้าน มิใช่ของชาวนิคมและมิใช่ของตระกูลหนึ่ง หากแต่เป็นธรรมของชาวโลกทั้งหมดรวมทั้งเทวโลกด้วย.

ก็แลนางครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ก็ไปเฝ้าพระศาสดา พระศาสดาตรัสถามนางว่า โคตมี เจ้าได้เมล็ดผักกาดมาแล้วหรือ. นางกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กิจกรรมเมล็ดผักกาดเสร็จแล้ว พระเจ้าข้า ขอทรงโปรดเป็นที่พึ่งของข้าพระองค์ด้วยเถิด ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสคาถาแก่นางว่า

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 304

มฤตยู ย่อมพานรชน ผู้มัวเมาในบุตรและสัตว์เลี้ยง มีใจฟุ้งซ่านไป เหมือนกระแสน้ำหลากขนาดใหญ่ พัดพาชาวบ้านที่มัวหลับใหลไปฉะนั้น.

จบคาถา นางก็ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล ตามอาการที่ยืนอยู่ ทูลขอบรรพชากะพระศาสดา พระศาสดาทรงอนุญาตให้บรรพชาในสำนักของภิกษุณีนางถวายบังคมพระศาสดา ทำประทักษิณเวียนขวา ๓ รอบ แล้วไปสำนักภิกษุณี บรรพชาอุปสมบทแล้ว ไม่นานนัก ทำโยนิโสมนสิการเจริญวิปัสสนาครั้งนั้น พระศาสดาตรัสพระคาถาประกอบด้วยโอภาสแก่นางดังนี้ว่า

ผู้เห็นอมตบท มีชีวิตอยู่วันเดียว ยังประเสริฐว่าผู้ไม่เห็นอมตบท มีชีวิตอยู่ถึง ๑๐๐ ปี.

จบพระคาถา นางก็บรรลุพระอรหัต ในการใช้สอยบริขารก็อุกฤษฏ์อย่างยิ่ง ครองแต่จีวรที่ประกอบด้วยความปอน ๓ อย่าง. ครั้งนั้นพระศาสดาประทับอยู่ ณ พระเชตวันวิหาร กำลังทรงสถาปนาพระภิกษุณีทั้งหลายไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะตามลำดับก็ทรงสถาปนาพระเถรีไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศของเหล่าภิกษุณีผู้ทรงจีวรปอน. พระเถรีนั้นพิจารณาการปฏิบัติของตน คิดว่า เราอาศัยพระศาสดาจึงให้คุณวิเศษนี้ ได้กล่าวคาถาเหล่านั้นโดยมุข คือการสรรเสริญกัลยาณมิตรว่า

เฉพาะโลก พระมุนีทรงสรรเสริญความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร คนเมื่อคบกัลยาณมิตร แม้เป็นพาลก็พึงเป็นบัณฑิตได้บ้าง.

ควรคบแต่สัตบุรุษคนดี คนคบสัตบุรุษ ปัญญาย่อมเจริญได้เหมือนกัน คนคบสัตบุรุษจะพึงพ้นจากทุกข์ได้ทุกอย่าง.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 305

บุคคลพึงรู้จักอริยสัจแม้ทั้ง ๔ คือทุกข์ ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ และมรรคมีองค์ ๘.

ยักษิณีตนหนึ่งกล่าวตำหนิความเป็นหญิงไว้ว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงฝึกคนที่ควรฝึก ตรัสว่า ความเป็นหญิงเป็นทุกข์ แม้การเป็นหญิงร่วมสามีก็เป็นทุกข์ หญิงบางพวก ย่อมคลอดครั้งเดียว บางพวกก็เชือดคอตนเอง บางพวกที่เป็นสุขุมาลชาติ ทนทุกข์ไม่ได้ก็กินยาพิษ สัตว์ในครรภ์และหญิงผู้มีครรภ์ย่อมประสบความพินาศก็ย่อยยับทั้งสองคน.

พระปฏาจาราเถรีเล่าว่า

ข้าพเจ้าครรภ์แก่ใกล้คลอด เดินทางไปยังไม่ทันถึงเรือนตน ก็คลอดบุตรระหว่างทาง พบสามีตายบุตรทั้งสองก็ตาย สามีก็ตายเสียที่หนทางเปลี่ยวข้าพเจ้ากลายเป็นคนยากไร้ มารดาบิดาและพี่ชายถูกเผาบนเชิงตะกอนเดียวกัน เมื่อตระกูลเสื่อมตกเป็นคนยากไร้ ข้าพเจ้าต้องเสวยทุกข์หาประมาณมิได้น้ำตาของข้าพเจ้าไหลตลอดมาหลายพันชาติ.ข้าพเจ้าอยู่ท่ามกลางสุสาน แม้เนื้อบุตรก็ต้องกินข้าพเจ้ามีตระกูลเสื่อมแล้ว สามีตายแล้ว คนทั้งปวงติเตียนแล้ว ก็ได้บรรลุอมตธรรม.

อริยมรรคมีองค์ ๘ อันให้ถึงอมตธรรม ข้าพเจ้าก็อบรมแล้ว แม้พระนิพพานก็กระทำให้แจ้งแล้วข้าพเจ้าได้พบกระจกธรรมแล้ว.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 306

    ข้าพเจ้าตัดความโศกศัลย์ได้แล้ว ปลงภาระแล้วกระทำกรณียะเสร็จแล้ว ข้าพเจ้าชื่อกีสาโคตมีเถรีผู้มีจิตหลุดพ้นแล้ว กล่าวคำนี้.

    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กลฺยาณมิตฺตตา ความว่า ชื่อว่ากัลยาณมิตร เพราะมีมิตรงาม เจริญ ดี ผู้สมบูรณ์ด้วยความมีศีลเป็นต้นกำลังมีทุกข์ ถูกกำจัดประโยชน์เกื้อกูลอันใด บุคคลใดเป็นมิตรมีอุปการะช่วยเขาโดยอาการทุกอย่าง อย่างนั้น บุคคลนั้น ชื่อว่า กัลยาณมิตร ความเป็นแห่งกัลยาณมิตรนั้น ชื่อว่ากัลยาณมิตตตา คือความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร มิตรดี.บทว่า มุนินา ได้แก่ พระศาสดา. บทว่า อุทฺทิสฺส วณฺณิตา ได้แก่เฉพาะสัตว์โลก ว่า บุคคลควรดำเนินตามกัลยาณมิตร ทรงสรรเสริญไว้โดยนัยเป็นต้นว่า "ดูก่อนอานนท์ ความมีมิตรดี ความมีสหายดี ความมีเพื่อนดี เป็นตัวพรหมจรรย์ทั้งหมดเลย ข้อที่ภิกษุจักเป็นผู้มีศีล สำรวมในปาติโมกขสังวรอยู่ ก็พึงหวังได้ สำหรับเมฆิยภิกษุ ผู้มีมิตรดี ผู้มีสหายคี ผู้มีเพื่อนดี" ดังนี้.

    คำว่า กลฺยาณมิตฺเต ภชมาโน เป็นต้น เป็นคำแสดงอานิสงส์ของความเป็นผู้มีมิตรดี. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปิ พาโล ปณฺฑิโตอสฺส ความว่า บุคคลผู้คบกัลยาณมิตร แม้เป็นพาลมาก่อน เพราะเว้นข้อที่สดับฟังเป็นต้น ก็พึงเป็นบัณฑิตได้บ้าง เพราะสดับฟังข้อที่ยังไม่ได้สดับฟังเป็นต้น.

    บทว่า ภซิตพฺพา สปฺปุริสา ความว่า เพราะเหตุที่บุคคลแม้เป็นพาลก็เป็นบัณฑิตได้ สัตบุรุษทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น บุคคลก็พึงซ่องเสพด้วยการเข้าไปหาตามเวลาสมควรเป็นอาทิ. บทว่า ปญฺา ตถา ปวฑฺฒติภชนฺตานํ ประกอบความว่า สำหรับบุคคลผู้คบกัลยาณมิตร ปัญญาย่อมเจริญ

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 307

เพิ่มพูน บริบูรณ์ เหมือนอย่างบรรดาบุคคลเหล่านั้น บุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง เมื่อคบสัตบุรุษ จะพึงพ้นจากทุกข์มีชาติเป็นต้นได้หมดฉะนั้น.

    พระเถรี เมื่อแสดงวิธีพ้นทุกข์ ด้วยวิธีคบกัลยาณมิตร จึงกล่าวคำว่าทุกฺขณฺเจว วิชาเนยฺย เป็นอาทิ. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จตฺตาริอริยสจฺจานิ ประกอบความว่า พึงรู้แจ้งแทงตลอดอริยสัจ ๔ เหล่านี้ คือทุกข์ ทุกขสมุทัย นิโรธ และมรรคมีองค์ ๘.

    สองคาถาว่า ทุกฺโข อิตฺถิภาโว เป็นต้น ยักษิณีตนหนึ่งเมื่อติเตียนความเป็นหญิงกล่าวไว้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุกฺโข อิตฺถิภาโวอกฺขาโต ความว่า ความเป็นหญิง พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงฝึกคนที่ควรฝึกตรัสว่าเป็นทุกข์ เพราะโทษทั้งหลายมีเป็นต้นอย่างนี้ว่า ความอ่อนแอ การตั้งท้อง ความเป็นอยู่ที่ต้องอาศัยคนอื่นทุกเวลา. บทว่า สปตฺติกมฺปิ ทุกฺขํได้แก่ การอยู่ที่มีศัตรู แม้การอยู่ร่วมกับหญิงร่วมสามีก็เป็นทุกข์ อธิบายว่าแม้อันนี้ก็เป็นโทษในความเป็นหญิง. บทว่า อปฺเปกจฺจา สกึ วิชาตาโยได้แก่ หญิงบางพวกคลอดคราวเดียวเท่านั้น ก็ทนทุกข์ในการคลอดท้องแรกไม่ได้. บทว่า คลเก อปิ กนฺตนฺติ ได้แก่ เชือดคอตนเองบ้าง. บทว่าสุขุมาลินิโย วิสานิ ขาทนฺติ ได้แก่ หญิงที่มีร่างกายละเอียดอ่อน [สุขุมาลชาติ] ทนความลำบาก เพราะความที่ตนเป็นคนละเอียดอ่อนไม่ได้ก็กินยาพิษบ้าง ในคำว่า ชนมารกมชฺฌคตา สัตว์เกิดในครรภ์ผู้หลง ท่านเรียกว่า ชนมารกะ คือทารกผู้ฆ่าชนคือมารดา อธิบายว่า ทารกผู้ฆ่ามารดา ที่อยู่ตรงกลาง คืออยู่ในท้อง ได้แก่สัตว์ในท้องผู้หลง. บทว่า อุโภปิ พฺยสนานิอนฺโภนฺติ ความว่า ชนแม้ทั้งสองคือ สัตว์เกิดในท้องและมารดาผู้มีครรภ์ย่อมประสบความตายและความพินาศย่อยยับ. ส่วนอาจารย์อื่นอีกกล่าวว่า กิเลสทั้งหลาย ชื่อว่าผู้ฆ่าชน, ภริยาและสามีแม้ทั้งสอง ซึ่งอยู่ท่ามกลางแห่งกิเลส

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 308

เหล่านั้นคือตกอยู่ในสันดานกิเลส ย่อมประสบความพินาศโดยอำนาจความเร่าร้อนแห่งกิเลสในปัจจุบันนี้ ย่อมประสบความพินาศโดยอำนาจความเศร้าหมองแห่งทุคติในอนาคต เขาว่า ยักษิณีนั้นรำลึกถึงทุกข์ที่ตนประสบในอัตภาพก่อน จึงกล่าวสองคาถานี้ ส่วนพระเถรีได้กล่าวย้ำเพื่อชี้แจงโทษ ในความเป็นหญิง.

    สองคาถาว่า อุปวิชญฺา คฺจฉนฺตี เป็นต้น พระเถรีกล่าวปรารภประวัติของพระปฏาจาราเถรี. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปวิชญฺาคจฺฉนฺตี ประกอบความว่า ข้าพเจ้ามีครรภ์แก่ใกล้คลอดเดินทางไปยังไม่ทันถึงเรือนตนเอง ก็คลอดบุตรเสียที่หนทาง ได้พบสามีตาย.

    บทว่า กปณิกายา แปลว่า ผู้ยากไร้ เขาว่าสองคาถานี้ พระเถรีกล่าวเพื่อชี้แจงโทษในความเป็นหญิง โดยกระทำตามอาการที่นางปฏาจารา ผู้ประสบความบ้าเพราะความเศร้าโศกในครั้งนั้น กล่าวไว้.

    พระเถรีครั้นนำเอาเรื่องแม้ทั้งสองนี้มาเป็นอุทาหรณ์แล้ว บัดนี้ เมื่อจะชี้แจงทุกข์ที่ตนประสบจึงกล่าวว่า ขีณกุลิเน เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้นบทว่า ขีณกุลิเน ได้แก่มีตระกูลต้องประสบความเสื่อมโภคะเป็นต้น. บทว่ากปเณ ได้แก่ผู้ถึงความตกต่ำอย่างยิ่ง ก็คำทั้งสองนี้ เป็นคำกล่าวปรึกษาตนเท่านั้น. บทว่า อนุภูตํ เต ทุกฺขํ อปริมาณํ ความว่า ท่านเสวยทุกข์มิใช่น้อยในอัตภาพนี้ หรือในอัตภาพก่อนแต่อัตภาพนี้ บัดนี้ พระเถรีเพื่อจะแจกแสดงทุกข์นั้น โดยเอกเทศ จึงกล่าวว่า อสฺสู จ เต ปวตฺตํเป็นต้น คำนั้นมีความว่า นางผู้หมุนเวียนอยู่ในสังสารวัฏฏ์ ซึ่งมีเงื่อนต้นเงื่อนปลายตามไปไม่รู้แล้วนี้ น้ำตาไหลนอง เพราะถูกความเศร้าโศกครองงำมากหลายพันชาติ. ก็คำนี้พระเถรีกล่าวไม่แปลก น้ำตาพึงมีจำนวนมากกว่าน้ำแห่งมหาสมุทร.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 309

    บทว่า วสิตา สุสานมชฺเฌ ความว่า เป็นนางสุนัขบ้าน นางสุนัขจิ้งจอก คอยกินเนื้อมนุษย์ อยู่กลางป่าช้า. บทว่า ขาทิตานิปุตฺตมํสานิ ได้แก่ กินแม้แต่เนื้อบุตร ครั้งที่เป็นเสือโคร่ง เสือเหลืองและเสือปลา เป็นต้น. บทว่า หตกุลิกา ได้แก่ มีวงศ์สกุลพินาศแล้ว. บทว่าสพฺพครหิตา ได้แก่ ถูกผู้ครองเรือนทุกคนติเตียน คือถึงความตำหนิ. บทว่ามตปติกา แปลว่า หญิงหม้าย ก็พระเถรีกล่าวยึดทั้งสามประการนี้ ที่มาถึงตนตามลำดับในอัตภาพก่อน แม้เป็นอย่างนี้ ก็ยังบรรลุอมตธรรม คือบรรลุพระนิพพาน ที่มีการเสพกัลยาณมิตรที่ได้มาเอง.

    บัดนี้ พระเถรีเพื่อแสดงการบรรลุอมตะนั้นนั่นแลให้ปรากฏ จึงกล่าวว่า ภาวิโต เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภาวิโต ได้แก่ ให้มีแล้ว ให้เกิดแล้ว ให้เจริญแล้ว โดยการอบรมและตรัสรู้. บทว่า ธมฺมาทาสํอเวกฺขึหํ ได้แก่ข้าพเจ้าได้พบได้เห็นกระจกทำด้วยธรรม.

    บทว่า อหมมฺหิ กนฺตสลฺลา ความว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้มีกิเลสดุจลูกศรมีราคะเป็นต้นอันถอนได้แล้วด้วยอริยมรรค. บทว่า โอหิตภารา ได้แก่มีภาระคือกามขันธ์ กิเลสและอภิสังขารอันปลงลงแล้ว. บทว่า กตํ หิกรณียํ ได้แก่กิจ ๑๖ มีต่างโดยปริญญากิจเป็นต้น ข้าพเจ้าก็กระทำเสร็จแล้ว. ด้วยบทว่า สุวิมุตฺตจิตฺตา อิมํ ภณิ พระเถรีกล่าวถึงตนเองเหมือนคนอื่นว่า พระกิสาโคตมีเถรี ผู้มีจิตหลุดพันแล้วโดยประการทั้งปวง ได้กล่าวความนี้โดยการผูกเป็นคาถา ด้วยคำว่า กลฺยาณมิตฺตตา เป็นต้นในอปทาน (๑) ของพระเถรีนี้ ในข้อนั้น มีดังนี้

    พระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมมุตตระ ผู้ทรงถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง ทรงเป็นผู้นำ ทรงอุบัติในแสนกัปนับแต่กัปนี้


    ๑. จุ. อ. ๓๓/ข้อ ๑๖๒ กีสาโคตมีเถรีอปทาน.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 310

    ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเกิดในตระกูลหนึ่งในกรุงหังสวดี เข้าเฝ้าพระผู้ประเสริฐกว่านรชนถึงพระองค์เป็นสรณะ.

    ข้าพเจ้าได้ฟังธรรมของพระองค์ ซึ่งประกอบด้วยสัจจะ ๔ ที่ไพเราะจับใจอย่างยิ่ง นำมาซึ่งสันติสุขในวัฏฏะ.

    ครั้งนั้น พระพุทธธีระยอดบุรุษ เมื่อทรงสถาปนา ทรงยกย่องภิกษุณีผู้ทรงจีวรปอนไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ.

    ข้าพเจ้าฟังคุณของพระภิกษุณีแล้วเกิดปีติไม่ใช่น้อย ถวายสักการะแด่พระพุทธเจ้าตามกำลังสามารถเคารพพระธีรมุนีพระองค์นั้น ปรารถนาตำแหน่งนั้น.

    ครั้งนั้น พระสัมพุทธเจ้าผู้นำ ทรงอนุโมทนาเพื่อได้ตำแหน่งว่า ในแสนกัปนับแต่กัปนี้ไป พระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม ทรงสมภพในราชสกุลพระเจ้าโอกกากราช จักเป็นศาสดาในโลก ท่านจักมีชื่อว่ากีสาโคตมี จักเป็นทายาท เป็นโอรสในธรรมของพระองค์ ถูกเนรมิตโดยธรรม จักเป็นสาวิกาของพระศาสดา.

    ครั้งนั้น ข้าพเจ้าฟังพระพุทธดำรัสนั้นแล้วก็ยินดี มีจิตมีเมตตา บำรุงพระชินพุทธเจ้าผู้เป็นนายกพิเศษด้วยปัจจัย ๔ ตลอดชีวิต.

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 311

    ด้วยกรรมที่ทำมาดีเหล่านั้น และด้วยการตั้งใจไว้ชอบ ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้วก็ไปสู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์.

    พระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสป เป็นพราหมณ์ผู้มียศมาก เป็นยอดของศาสดาทั้งหลาย ทรงอุบัติในภัทรกัปนี้.

    ครั้งนั้น พระเจ้ากาสีพระนามว่า กิกิ เป็นจอมนรชนในกรุงพาราณสีราชธานี ทรงเป็นอุปฐากพระพุทธเจ้าผู้ทรงแสวงคุณยิ่งใหญ่.

    ข้าพเจ้าเป็นพระราชธิดาองค์ที่ ๕ ของพระเจ้ากาสีพระองค์นั้น ปรากฏพระนามว่าธัมมา ฟังธรรมของพระชินเจ้าผู้เลิศ ชอบใจการบรรพชา.

    ครั้งนั้น พระชนกของพวกข้าพเจ้าไม่ทรงอนุญาต พวกข้าพเจ้าจึงอยู่ในพระราชมณเฑียรไม่เกียจคร้าน บำเพ็ญโกมาริพรหมจรรย์มา ๒๐,๐๐๐ ปีเป็นพระราชธิดา ผู้อยู่ในความสุข บันเทิงยินดีเป็นนิตย์ในการบำรุง พระพุทธเจ้า เป็นพระราธิดา๗ พระองค์คือ สมณี สมณคุตตา ภิกขุณี ภิกขุทาสิกา ธัมมา สุธัมมา และสังฆทาสิกา ที่ครบ ๗.

    บัดนี้ ก็คือ เขมา อุบลวรรณา ปฏาจารากุณฑลา [กุณฑลเกสา] ข้าพระองค์ ธรรมทินนาวิสาขา ที่ครบ ๗.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 312

    ด้วยกรรมที่ทำดีเหล่านั้น และด้วยการตั้งใจไว้ชอบ ข้าพเจ้าละกายมนุษย์ ก็ไปสู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์.

    บัดนี้ ภพสุดท้าย ข้าพเจ้าเกิดในตระกูลเศรษฐีเมื่อตระกูลยากจนไม่มีทรัพย์ต่ำต้อยลงก็ไปสู่ตระกูลมีทรัพย์ [มีสามี] เว้นสามีคนเดียว คนนอกนั้นก็เกลียดข้าพเจ้าว่าเป็นคนไม่มีทรัพย์.

    คราวใด ข้าพเจ้าคลอดบุตร คราวนั้นก็แสดงแก่คนทั้งปวง คราวใด บุตรนั้นยังอ่อนเจริญวัย ก็เป็นดังดวงใจ ประสบสุขเป็นที่รักของข้าพเจ้าดังชีวิตตนเอง คราวนั้น บุตรนั้นไปสู่อำนาจพระยายม [ตาย] ข้าพเจ้ามีดวงหน้าเศร้าหมองอัสสุชลคลอตา มีหน้าร่ำไห้ พาศพบุตรที่ตายเดินครวญคร่ำรำพัน.

    ครั้งนั้น ข้าพเจ้าถูกบัณฑิตผู้หนึ่งชี้แนะ จึงไปเฝ้าพระผู้ทรงเป็นหมอยอดเยี่ยมกราบทูลว่า พระเจ้าข้า ขอโปรดประทานยาสำหรับทำบุตรให้ฟื้นคืนชีพ

    พระชินเจ้าผู้ทรงฉลาดในอุบาย บำบัดทุกข์ตรัสว่า เจ้าจงนำเมล็ดผักกาดจากเรือนที่ไม่มีคนตายมาสิ.

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 313

    ครั้งนั้น ข้าพเจ้าไปกรุงสาวัตถีก็ไม่พบเรือนเช่นนั้น จะได้เมล็ดผักกาดมาแต่ไหนเล่า เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงได้สติ ทิ้งศพบุตร เข้าไปเฝ้าพระผู้ทรงเป็นผู้นำโลก พระผู้มีพระสุรเสียงไพเราะเห็นข้าพเจ้าแต่ไกล จึงตรัสว่า ผู้เห็นความเกิดและความเสื่อมสิ้น มีชีวิตเป็นอยู่วันเดียว ประเสริฐกว่าผู้ไม่เห็นความเกิดและความเสื่อมสิ้น มีชีวิตเป็นอยู่ตั้ง๑๐๐ ปี.

    ธรรมคืออนิจจตา ความไม่เที่ยง มิใช่ธรรมของชาวบ้าน มิใช่ธรรมของชาวนิคม และมิใช่ธรรมของตระกูลหนึ่ง หากเป็นธรรมของชาวโลกทั้งหมด รวมทั้งเทวโลก.

    ข้าพเจ้านั้น ฟังพระคาถานี้แล้ว ทำธรรมจักษุให้บริสุทธิ์แล้ว แต่นั้น ก็รู้แจ้งสัทธรรมออกบวชไม่มีเรือน.

    ข้าพเจ้าบวชอย่างนั้นแล้ว ก็พยายามอยู่ในคำสอนของพระชินเจ้า ไม่นานนัก ก็บรรลุพระอรหัต.

    ข้าพเจ้าชำนาญในฤทธิ์ ในทิพโสตธาตุ รู้จิตผู้อื่น กระทำตามคำสอนของของพระศาสดา.

    ข้าพเจ้ารู้ปุพเพนิวาสญาณ ชำระทิพยจักษุทำอาสวะให้สิ้นไปหมด เป็นผู้บริสุทธิ์ไร้มลทิน.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 314

    พระศาสดา ข้าพเจ้าบำรุงแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ทำเสร็จแล้ว ภาระหนักข้าพเจ้าก็ปลงลงแล้ว ตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพข้าพเจ้าก็ถอนเสียแล้ว.

    ข้าพเจ้าออกจากเรือนบวชไม่มีเรือน เพื่อประโยชน์อันใด ประโยชน์อันนั้น ข้าพเจ้าก็บรรลุแล้วตามลำดับ ธรรมเครื่องสิ้นสังโยชน์ทุกอย่างข้าพเจ้าก็บรรลุแล้ว.

    ญาณในอรรถ ธรรม นิรุตติ และปฏิภาณของข้าพเจ้าบริสุทธิ์ ไร้มลทิน เพราะอานุภาพของพระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐสุด.

    ข้าพเจ้านำผ้ามาแต่กองขยะ จากป่าช้า และจากทางรก ทำเป็นผ้าสังฆาฏิจากผ้านั้น ทรงแต่จีวรที่ปอน.

    พระชินเจ้า ผู้นำพิเศษในบริษัททั้งหลาย ทรงยินดีในคุณ คือการทรงจีวรปอนนั้น จึงทรงสถาปนาข้าพเจ้าไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ.

    กิเลสทั้งหลาย ข้าพเจ้าก็เผาเสียแล้ว ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ทำเสร็จแล้ว.

    จบ อรรถกถากีสาโคตมีเถรีคาถา

    จบ อรรถกถาเอกาทสกนิบาต