พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. วาสิฏฐีเถรีคาถา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  21 พ.ย. 2564
หมายเลข  40734
อ่าน  418

[เล่มที่ 54] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 211

เถรีคาถา ฉักกนิบาต

๒. วาสิฏฐีเถรีคาถา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 54]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 211

๒. วาสิฏฐีเถรีคาถา

[๔๕๒] พระวาสิฏฐีเถรี กล่าวคาถาเป็นอุทานว่า

ข้าพเจ้าถูกความเศร้าโศกถึงบุตรบีบคั้น มีจิตฟุ้งซ่าน หมดความรู้สึก เปลือยกาย สยายผม เที่ยวซมซานไปตามที่ต่างๆ.

ข้าพเจ้าได้เที่ยวไปในถนน กองหยากเยื่อ ในป่าช้า ในตรอกใหญ่ตรอกน้อย อดๆ อยากๆ ตลอดสามปี.

ภายหลังได้พบพระสุคต ผู้ฝึกคนที่ยังไม่ได้ฝึกตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง หาภัยแต่ที่ไหนมิได้ กำลังเสด็จไปยังกรุงมิถิลา กลับได้สติแล้ว เข้าไปถวาย

พระโคดมพระองค์นั้น ทรงแสดงธรรมโปรดข้าพเจ้าด้วยพระกรุณา ข้าพเจ้าฟังธรรมพระองค์แล้วออกบวชไม่มีเรือน เพียรพยายามในคำสอนของพระศาสดา ได้ทำให้แจ้งซึ่งธรรมอันรุ่งเรืองเกษม.ข้าพเจ้าถอนและความโศกอันมีพระอรหัตเป็นที่สุดได้หมดแล้ว เพราะข้าพเจ้ากำหนดรู้วัตถุที่ตั้ง เหตุเกิดแห่งความโศกทั้งหลายได้.

จบ วาสิฏฐีเถรีคาถา

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 212

๒. อรรถกถาวาเสฏฐีเถรีคาถา

(๑)

คาถาว่า ปุตฺตโสเกนหํ อฏฺฏา ดังนี้เป็นต้น เป็นคาถาของพระวาเสฏฐีเถรี.

พระเถรีแม้รูปนี้ก็บำเพ็ญบารมี ในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานมาในภพนั้นๆ มีธรรมเครื่องปรุงแต่งวิโมกข์ที่รวบรวมมาโดยลำดับ เที่ยวเวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายในพุทธุปบาทกาลนี้ ก็ไปบังเกิดในเรือนแห่งตระกูลกรุงเวสาลี เจริญวัยแล้วมารดาบิดาก็ยกให้กุลบุตรผู้มีชาติเสมอกัน มีสามีแล้ว ก็อยู่ด้วยกันเป็นสุขกับสามีนั้น ได้บุตรคนหนึ่ง เมื่อบุตรนั้นตาย ในเวลาที่วิ่งเล่นได้ ถูกความเศร้าโศกถึงบุตรบีบคั้น ก็กลายเป็นบ้า เมื่อหมู่ญาติและสามีช่วยกันเยียวยาแก้ไขก็หนีไป เมื่อคนเหล่านั้นไม่รู้ หมุนออกไปเพราะความบ้าแล้วถึงมิถิลานครแล้วได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประเสริฐ ทรงฝึก รักษาพระองค์แล้วสำรวมอินทรีย์ กำลังเสด็จไปในระหว่างถนนในมิถิลานครนั้น ครั้นเห็นแล้ว ก็หายบ้า ได้ปกติจิตพร้อมกับการเห็น เพราะพุทธานุภาพ ครั้งนั้น พระศาสดาทรงแสดงธรรมแก่นางโดยย่อ นางได้ฟังธรรมนั้นแล้วกลับได้ความสังเวช ทูลขอบวชกะพระศาสดา ได้บวชในภิกษุณีทั้งหลายตามพระดำรัสสั่งของพระศาสดาทำกิจเบื้องต้นแล้ว ก็ได้เริ่มวิปัสสนา พากเพียรพยายามอยู่ไม่นานนัก ก็บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ๔ เพราะมีญาณแก่กล้า พิจารณาการปฏิบัติของตนแล้ว ได้กล่าวคาถาเหล่านั้นเป็นอุทานว่า

ข้าพเจ้าถูกความเศร้าโศกถึงบุตรบีบคั้น มีจิตฟุ้งซ่านหมดควานรู้สึก เปลือยกายสยายผม เที่ยวชมซานไปตามที่ต่างๆ .


๑. บาลี เป็น วาสิฏฐีเถรีคาถา.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 213

    ข้าพเจ้าได้เที่ยวไปในถนน กองหยากเยื่อในป่าช้าในตรอกใหญ่และตรอกน้อย อดๆ อยากๆ ตลอดสามปี ภายหลังได้พบพระสุคต ผู้ฝึกบุคคลที่ยังไม่ได้ฝึกตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง หาภัยแต่ที่ไหนมิได้ กำลังเสด็จไปสู่กรุงมิถิลา กลับได้สติแล้ว เข้าไปถวายบังคมพระโคดมพระองค์นั้นได้ทรงแสดงธรรมโปรดข้าพเจ้าด้วยพระกรุณา ข้าพเจ้าฟังธรรมของพระองค์แล้วออกบวชไม่มีเรือน เพียรพยายามในคำสอนของพระศาสดาได้ทำให้แจ้งซึ่งบทธรรมอันรุ่งเรืองเกษม.

    ข้าพเจ้าถอนและละความโศกอันมีอรหัตเป็นที่สุดได้หมดแล้ว เพราะข้าพเจ้ากำหนดรู้วัตถุที่ตั้ง เหตุเกิดแห่งความโศกทั้งหลายได้.

    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อฏฺฏา แปลว่า บีบคั้น อนึ่ง พระบาลีก็เช่นนี้แล อธิบายว่า บีบคั้น เบียดเบียน. บทว่า ขิตฺตจิตฺตา ได้แก่ มีหทัยฟุ้งซ่านเพราะความบ้าเกิดจากความโศก ถัดจากนั้น ชื่อว่าหมดความรู้สึกเพราะปราศจากความรู้สึกตามปกติ. ชื่อว่าเปลือยกาย เพราะปราศจากผ้านุ่งห่มเหตุไม่มีหิริและโอตตัปปะ. ชื่อว่าสยายผม เพราะมีผมไม่ได้สางเลย. บทว่าเตน เตน ความว่า เราได้เที่ยวไปจากบ้านสู่บ้าน จากเมืองสู่เมือง จากถนนสู่ถนน. ศัพท์ว่า อถ แปลว่า ภายหลัง ได้แก่ เวลาสิ้นกรรมที่ทำให้เป็นบ้า. บทว่า สุคตํ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าพระสุคตเพราะทรงพระดำเนินงาม เพราะเสด็จไปสู่สถานที่ดีเพราะตรัสโดยชอบ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 214

และเพราะเสด็จไปโดยชอบ. บทว่า มิถิลํ ปติ ความว่า กำลังเสด็จมุ่งสู่มิถิลา คือกรุงมิถิลา.

บทว่า สจิตฺตํ ปฏิลทฺธาน ได้แก่ ละความบ้ากลับได้ปกติจิตของตน เพราะพุทธานุภาพ.

บทว่า ยุญฺชนฺตี สตฺถุ วจเน ได้แก่ ทำความเพียร คือตามประกอบภาวนาในคำสอนของพระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า. บทว่า สจฺฉากาสึปทํ สิวํ ความว่า ได้ทำให้แจ้งซึ่งบทคือพระนิพพานธรรมอันรุ่งเรืองเกษมไม่ถูกโยคะ ๔ เบียดเบียน. บทว่า เอตทนฺติกา ความว่า ความโศกทั้งหลายชื่อว่า เอตทันติกะ เพราะมีพระอรหัตที่ข้าพเจ้าบทลุในบัดนี้เป็นที่สุดเป็นปริโยสาน อธิบายว่า บัดนี้ เหตุเกิดแห่งความโศกเหล่านั้นไม่มี. บทว่ายโต โสกาน สมฺภโว ประกอบความว่า เพราะเหตุที่ข้าพเจ้ากำหนดรู้เหตุเกิดแห่งความโศกมีลักษณะไหม้เกรียมอยู่ภายใน วัตถุกล่าวคืออุปาทานขันธ์ ๕ที่ตั้งแห่งความโศกเหล่านั้น ด้วยญาตปริญญากำหนดรู้ด้วยการรู้ ตีรณปริญญากำหนดรู้ด้วยการพิจารณา ปหานปริญญากำหนดรู้ด้วยการละ เพราะฉะนั้นความโศกจึงมีอรหัตผลนั้นเป็นที่สุด.

จบอรรถกถาวาเสฏฐีเถรีคาถา