พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. ปัญจสตาปฏาจาราเถรีคาถา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  21 พ.ย. 2564
หมายเลข  40733
อ่าน  341

[เล่มที่ 54] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 206

เถรีคาถา ฉักกนิบาต

๑. ปัญจสตาปฏาจาราเถรีคาถา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 54]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 206

ฉักกนิบาต

๑. ปัญจสตาปฏาจาราเถรีคาถา

[๔๕๑] พระปฏาจาราเถรีกล่าวอบรมพระเถรี ๕๐๐ รูป ทีละคนว่า

    ท่านไม่รู้ทางของสัตว์ใด ซึ่งมาแล้วหรือไปแล้ว เหตุไฉน ท่านจึงร้องไห้ถึงสัตว์ที่มาแล้วนั้นว่า บุตรของเรา.

    ส่วนท่านรู้ทางของสัตว์นั้น ผู้มาแล้วหรือไปแล้วจึงไม่เศร้าโศกถึงสัตว์นั้นเลย เพราะว่าสัตว์ทั้งหลายมีอย่างนี้เป็นธรรมดา.สัตว์อันเขามิได้เชื้อเชิญก็มาจากที่นั้น เขามิได้อนุญาตก็ไปจากที่นี้.

    เขามาจากที่ไหนกันแน่หนอ อยู่ได้ ๒ - ๓ วันก็ไปแล้วสู่ทางอื่นจากที่นี้ก็มี กำลังไปสู่ทางอื่นจากที่นั้นก็มี เขาละ [ตาย] ไปแล้ว ท่องเที่ยวอยู่โดยรูปของมนุษย์ จักไปก็มี เขามาอย่างใด ก็ไปอย่างนั้นจะคร่ำครวญเพราะเหตุนั้นไปทำไม.

    พระปัญจสตาปฏาจาราเถรี กล่าวเฉพาะทีละรูปว่า

    แม่เจ้าช่วยถอนความโศกศัลย์ของข้าพเจ้า ซึ่งแอบอยู่ในหัวใจ เห็นได้ยากออกได้แล้ว แม่เจ้าช่วย

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 207

บรรเทาความโศกถึงบุตรของข้าพเจ้า ซึ่งถูกความโศกครอบงำไว้.

วันนี้ ข้าพเจ้านั้น ถอนความโศกศัลย์ได้แล้วหายอยาก ดับสนิทแล้ว ข้าพเจ้าขอถึงพระมุนีพุทธเจ้า ทั้งพระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะ.

จบ ปัญจสตาปฏาจาราเถรีคาถา

อรรถกถาฉักกนิบาต

๑. อรรถกถาปัญจสตมัตตาเถรีคาถา (๑)

ในฉักกนิบาต คาถาว่า ยสฺส มคฺคํ น ชานาสิ เป็นต้น เป็นคาถาของพระปัญจสตมัตตาเถรี มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

หญิงแม้เหล่านั้น บำเพ็ญบารมีมาในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ สั่งสมกุศล ซึ่งเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานมาในภพๆ นั้น มีธรรมเครื่องปรุงแต่งวิโมกข์อันสร้างสมมาโดยลำดับ ในพุทธุปบาทกาลนี้ ก็เกิดในเรือนครอบครัวนั้นๆ เติบโตเป็นสาวแล้ว มารดาบิดาก็จัดให้มีสามี ได้บุตรหลายตนในตระกูลนั้นๆ เมื่ออยู่ครองเรือน มีบุตรก็ตายหมด เพราะพวกเขามีชาติเสมอกัน ทำกรรมมาเหมือนกัน ถูกความเศร้าโศกถึงบุตรครอบงำแล้ว เข้าไปหาพระปฏาจาราเถรี ไหว้แล้วก็นั่งบอกถึงเหตุแห่งความเศร้าโศกของตน.พระเถรี เมื่อบรรเทาความโศกของหญิงเหล่านั้น จึงแสดงธรรมด้วยคาถา๔ คาถาเหล่านี้ว่า


๑. บาลีว่า ปัญจสตาปฏาจาราเถรีคาถา.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 208

ท่านไม่รู้ทางของสัตว์ใด ซึ่งมาแล้วหรือไปแล้วเหตุไฉนท่านจึงร้องไห้ถึงสัตว์ที่มาแล้วนั้น ว่าบุตรของเรา ส่วนท่านรู้ทางของสัตว์นั้น ผู้มาแล้วหรือไปแล้ว จึงไม่เศร้าโศกถึงสัตว์นั้นเลย เพราะว่าสัตว์ทั้งหลายมีอย่างนี้เป็นธรรมดา.

สัตว์อันเขามิได้เชื้อเชิญ ก็มาจากที่นั้น เขามิได้อนุญาต ก็ไปจากที่นี้ เขามาจากที่ไหนกันแน่หนอ อยู่ได้ ๒ - ๓ วัน ก็ไปแล้วสู่ทางอื่นจากที่นี้ก็มี กำลังไปสู่ทางอื่นจากที่นั้นก็มี เขาละ [ตาย] ไปแล้ว ท่องเที่ยวอยู่โดยรูปของมนุษย์ จักไปก็มี เขามาอย่างใด ก็ไปอย่างนั้น จะคร่ำครวญเพราะเหตุนั้นไปทำไม.

หญิงเหล่านั้น ได้ฟังธรรมของพระปฏาจาราเถรีนั้นแล้ว เกิดความสังเวชใจจึงพากันบวชในสำนักของพระเถรี ครั้นบวชแล้ว บำเพ็ญวิปัสสนากัมมัฏฐาน ไม่นานนักก็ตั้งอยู่ในพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ๔ เพราะธรรมเครื่องอบรมบ่มวิมุตติแก่เต็มที่แล้ว. ลำดับนั้นพระเถรี ๕๐๐ รูปเหล่านั้นพิจารณาการปฏิบัติของตนเพราะบรรลุพระอรหัตแล้ว พร้อมด้วยคาถาโอวาทที่ว่า ท่านไม่รู้ทางของสัตว์ใด เป็นต้น จึงต่างคนต่างกล่าวคาถาเหล่านี้เป็นอุทานว่า

แม่เจ้า ช่วยถอนความโศกศัลย์ของข้าพเจ้า ซึ่งแอบอยู่ในหัวใจ เห็นได้ยากออกได้แล้ว แม่เจ้า ช่วยบรรเทาความโศกถึงบุตรของข้าพเจ้าซึ่งถูกความโศกครอบงำไว้ วันนี้ข้าพเจ้าถอนความโศกศัลย์ได้แล้ว

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 209

หายหิว ดับสนิทแล้ว ข้าพเจ้าขอถึงพระมุนีพุทธเจ้าทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ.

    พระเถรีจำนวน ๕๐๐ รูป ต่างคนต่างกล่าวคาถาเหล่านี้.บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยสฺส มคฺคํ น ชานาสิ อาคตสฺสคตสฺส วา ความว่า ท่านไม่รู้ทางมาของสัตว์ใด ซึ่งมาแล้วในที่นี้ หรือทางไปของสัตว์ใดซึ่งไปแล้วจากที่นี้ ท่านกล่าวหมายเอาการเข้าถึงภพที่เป็นอดีตและอนาคตติดต่อกัน. บทว่า ตํ กุโต จาคตํ สตฺตํ ความว่า ไฉนคือเพราะเหตุไร ท่านจึงทำความยึดถือให้เกิดขึ้นอย่างเดียวว่า บุตรของเรา แล้วร้องไห้ถึงสัตว์ผู้นั้น ซึ่งเป็นเสมือนบุรุษผู้มาพบกันในระหว่างทางกับผู้ที่มายังทางมาทางไปอันไม่รู้จักแล้ว คือทางที่มาจากคติไรๆ อย่างนี้ ไม่ทันทำความคุ้นเคยกันโดยประการทั้งปวง อธิบายว่า ไม่มีเหตุที่จะร้องไห้ในข้อนี้เพราะบุตรยังไม่ทันทำกิจหน้าที่ปฏิการะตอบแทนเลย.

    บทว่า มคฺคญฺจ โขสฺส ชานาสิ ความว่า ส่วนท่านรู้ทางมาของสัตว์นั้น ซึ่งท่านยอมรับรู้ว่าบุตรผู้มาแล้ว และทางไปของเขาผู้ไปแล้วบทว่า น นํ สมนุโสเจสิ ความว่า ท่านก็ไม่ควรเศร้าโศกถึงเขาอย่างนี้เลย.เพราะอะไร เพราะว่าสัตว์ทั้งหลายมีอย่างนี้เป็นธรรมดา เพราะปัจจุบันสัตว์ทั้งหลายยังละเว้นเป็นต่างๆ คือพลัดพรากจากของรักของเจริญใจทั้งหลายทั้งปวง เพราะคนไม่มีอำนาจในของรักนั้น จะป่วยกล่าวไปไยในภพภายภาคหน้าเล่า.

    บทว่า อยาจิโต ตโตคจฺฉิ (๑) ความว่า เขาอันใครๆ มิได้วอนเชิญจากปรโลกนั้น ก็มาในที่นี้ บาลีว่า อาคโต มาแล้ว ดังนี้ก็มี ความก็อย่างนั้นเหมือนกัน. บทว่า อนนุญฺาโต อิโต คโต ความว่า เขาอันใครๆ มิได้อนุญาตจากอิธโลก [โลกนี้] ก็ไปปรโลก [โลกอื่น] . บทว่า กุโตจิ ได้แก่


    ๑. ม. ตตาคจฺนิ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 210

จากคติใดคติหนึ่งมีนิรยะเป็นต้น. บทว่า นูน คือสงสัย. บทว่า วสิตฺวากติปาหก ความว่า พักอยู่ในที่นี้เพียงน้อยวัน. บทว่า อิโตปิอญฺเน คโต ความว่า เขาไปทางภพอื่นจากภพแม้นี้ คือเข้าถึงภพแม้อื่นจากภพนี้ ด้วยอำนาจปฏิสนธิ. บทว่า ตโตปญฺเน คจฺฉติ ความว่าเขาจักไปทางอื่นจากภพแม้นั้น คือจักเข้าถึงภพอื่น.

    บทว่า เปโต ความว่า เขาจากไปคือเข้าถึงภพนั้นๆ แล้ว ก็ไปจากภพนั้น. บทว่า มนุสฺสรูเปน นั่นเป็นเพียงตัวอย่าง ความว่า โดยความเป็นมนุษย์และโดยความเป็นดิรัจฉานเป็นต้น. บทว่า สํสรนฺโต ได้แก่เวียนว่ายอยู่ด้วยอำนาจความเกิดไปๆ มาๆ . บทว่า ยถาคโต ตถา คโตความว่า เขามิได้รับเชิญก็มาจากคติที่ยังไม่รู้อย่างใด เขาอันใครๆ มิได้อนุญาตก็ไปจากคติที่ยังไม่รู้อย่างนั้น.

    บทว่า กา ตตฺถ ปริเทวนา ความว่า จะคร่ำครวญไปไยในข้อนั้น คือในกามาวจรที่ไม่อยู่ในอำนาจเช่นนั้น อธิบายว่าประโยชน์อะไรเล่าด้วยการคร่ำครวญ คำที่เหลือมีนัยที่กล่าวมาแล้วทั้งนั้น.

    ก็ในคาถาเหล่านั้น ๕ คาถาแรก พระปฏาจาราเถรีอบรมหญิง ๕๐๐เหล่านั้น แยกเป็นคนๆ ไป โดยการบรรเทาความเศร้าโศก. ส่วน ๖ คาถา พึงเห็นว่าภิกษุณีประมาณ ๕๐๐ รูปเหล่านั้น ผู้ตั้งอยู่ในโอวาทของพระปฏาจาราเถรีนั้น พากันบวชได้บรรลุคุณวิเศษแล้วได้กล่าวเฉพาะเป็นคนๆ ไป.

    บทว่า ปญฺจสตา ปฏาจารา ความว่า ภิกษุณี ๕๐๐ รูปเหล่านี้ได้ชื่อว่า ปฏาจารา เพราะได้รู้คำที่พระปฏาจาราเถรีกล่าว เพราะได้โอวาทในสำนักของพระปฏาจาราเถรี.

    จบ อรรถกถาปัญจสตมัตตาเถรีคาถา