พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. อัฑฒกาสีเถรีคาถา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  21 พ.ย. 2564
หมายเลข  40701
อ่าน  412

[เล่มที่ 54] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 52

เถรีคาถา ทุกนิบาต

๔. อัฑฒกาสีเถรีคาถา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 54]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 52

๔. อัฑฒกาสีเถรีคาถา

    [๔๒๓] ชนบทกาสีมีส่วยประมาณเท่าใด ส่วยของเราก็มีประมาณเท่านั้น ชาวนิคมกำหนดราคาแคว้นกาสีแล้ว ตั้งราคาเราไว้ครึ่งหนึ่งของราคาแคว้นกาสี ภายหลังเราเบื่อหน่ายในรูป เมื่อเบื่อหน่ายจึงคลายกำหนัด เราอย่าพึงแล่นไปสู่ชาติสงสารอีกบ่อยๆ วิชชา ๓ เราทำให้แจ้งแล้ว เราได้ปฏิบัติคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว.

    จบ อัฑฒกาสีเถรีคาถา

๔. อรรถกถาอัฑฒกาสีเถรีคาถา

    คาถาว่า ยาว กาสิชนปโท เป็นต้น เป็นคาถาของพระเถรีชื่ออัฑฒกาสี.

    เล่ากันว่า พระเถรีองค์นี้เกิดในเรือนตระกูลในกาลพระกัสสปทศพลรู้ความแล้วไปฟังธรรมยังสำนักภิกษุณีทั้งหลาย ได้ศรัทธาบรรพชาแล้ว ด่าพระเถรีขีณาสพผู้บรรลุปฏิสัมภิทาองค์หนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่ในศีลของภิกษุณีด้วยวาทะว่า หญิงแพศยา เคลื่อนจากอัตภาพนั้นแล้วไหม้อยู่ในนรก ในพุทธุปปาทกาลนี้เกิดในตระกูลเศรษฐีมีสมบัติโอฬารในแคว้นกาสี เจริญวัยแล้วตกจากฐานะลงเป็นหญิงแพศยา เพราะผลของวจีทุจริตที่ทำไว้ในก่อน เธอมีชื่อว่าอัฑฒกาสีการบรรพชาและการอุปสมบทโดยทูตของเธอมาแล้วในขันธกะนั่นแล สมจริงดังที่กล่าวไว้ว่า

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 53

ก็โดยสมัยนั้นแล หญิงแพศยาอัฑฒกาสีบรรพชาในภิกษุณีทั้งหลายและนางประสงค์จะไปกรุงสาวัตถี เพื่ออุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า พวกนักเลงรู้ข่าวว่า หญิงแพศยาอัฑฒกาสีประสงค์จะไปกรุงสาวัตถี จึงดักปล้นกลางทาง หญิงแพศยาอัฑฒกาสีรู้ว่าพวกนักเลงดักปล้นกลางทาง จึงส่งทูตไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าพระองค์ประสงค์จะอุปสมบท จะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ. ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถาในเพราะนิทานนี้ ในเพราะเรื่องนี้ ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้อุปสมบทแม้โดยทูต ดังนี้.

    พอได้อุปสมบทอย่างนี้แล้ว เธอเจริญวิปัสสนาไม่นานนักก็ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในอปทานว่า (๑)

    ในภัทรกัปนี้มีพระพุทธเจ้าเผ่าพงศ์พรหมมียศมาก พระนามว่า กัสสปะ ประเสริฐกว่าพวกบัณฑิตเสด็จอุบัติแล้ว ครั้งนั้น ข้าพเจ้าบวชในศาสนาของพระพุทธเจ้านั้น สำรวมในปาติโมกข์และอินทรีย์ ๕ รู้จักประมาณในอาหาร ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่ บำเพ็ญเพียรอยู่ ข้าพเจ้ามีใจชั่วด่าภิกษุณีผู้ปราศจากอาสวะ ได้กล่าวในคราวนั้นว่า อีแพศยา ข้าพเจ้าต้องหมกไหม้อยู่ในนรก เพราะบาปกรรมนั้นและด้วยกรรมที่ยังเหลืออยู่นั้น ข้าพเจ้าได้เกิดในสกุลหญิงแพศยา ต้องอาศัยคนอื่นเขาโดยมากทีเดียว และในชาติหลัง ข้าพเจ้าเกิดในตระกูลเศรษฐีแคว้นกาสี มีรูปสมบัติเหมือนอัปสรในเทวโลก ด้วยผลแห่งพรหมจรรย์


    ๑. ขุ. ๓๓/ข้อ ๑๒๗ อัฑฒกาสีเถรีอปทาน.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 54

มหาชนเห็นข้าพเจ้างามน่าทัศนา จึงตั้งไว้ในตำแหน่งหญิงแพศยา ประจำกรุงราชคฤห์อันอุดมเพราะผลที่ข้าพเจ้าด่าภิกษุณี ข้าพเจ้าได้ฟังพระสัทธรรมที่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐตรัสแล้ว สมบูรณ์ด้วยบุพวาสนา ได้บวชเป็นพระภิกษุณี เมื่อเดินทางไปเฝ้าพระพิชิตมารนั้นเพื่อจะอุปสมบท ทราบข่าวพวกนักเลงดักอยู่กลางทาง จึงได้อุปสมบทโดยทูต กรรมทุกอย่างทั้งบุญและบาปหมดสิ้นไปแล้ว ข้ามพ้นสงสารทั้งปวงแล้ว ความเป็นหญิงแพศยาก็สิ้นไปแล้ว ข้าแต่พระมหามุนี ข้าพเจ้ามีความชำนาญในอิทธิฤทธิ์ทั้งหลาย และในทิพโสตธาตุ มีความชำนาญเจโตปริยญาณ ข้าพเจ้ารู้บุพเพนิวาสญาณและทิพยจักษุอันหมดจดวิเศษ มีอาสวะทั้งปวงสิ้นแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มี ข้าแต่พระมหาวีระ ญาณในอรรถ ในธรรม ในนิรุตติ และในปฏิภาณของข้าพระองค์เกิดขึ้นในสำนักของพระองค์ ข้าพเจ้าเผากิเลสแล้ว ฯลฯ ปฏิบัติคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว.ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว พระเถรีได้กล่าวคาถาเหล่านี้เป็นอุทานว่า

    ชนชาวกาสีมีส่วยประมาณเท่าใด ส่วยของเราก็มีประมาณเท่านั้น ชาวนิคมกำหนดราคาแคว้นกาสีแล้ว ตั้งราคาเราไว้ครึ่งหนึ่งของราคาแคว้นกาสี ภายหลังเราเบื่อหน่ายในรูป เมื่อเบื่อหน่ายจึงคลายกำหนัด เราอย่าพึงแล่นไปสู่ชาติสงสารอีกบ่อยๆ วิชชา ๓

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 55

เราทำให้แจ้งแล้ว เราได้ปฏิบัติคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว.

    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยาว กาสีชนปโท สุงฺโก เมตตฺตโก อหุ ความว่า ส่วยมีในชนบทกาสี ชื่อกาสีชนบท กาสีชนบทนั้นมีส่วยประมาณเท่าใด ส่วยของเราก็มีประมาณเท่านั้น ก็ส่วยนั้นประมาณเท่าไรประมาณพันหนึ่ง เล่ากันว่า ในแคว้นกาสีครั้งนั้น รายได้ดีเกิดขึ้นแก่พระราชาในวันหนึ่งด้วยอำนาจส่วย ประมาณพันหนึ่ง แม้ทรัพย์ที่นางอัฑฒกาสีได้ในวันหนึ่งจากมือของพวกผู้ชาย ก็ประมาณเท่านั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ยาว กาสิชนปโท สุงฺโก เม ตตฺตโก อหุ ดังนี้ ก็นางได้ชื่อว่า กาสี เพราะกำหนดด้วยส่วยในกาสีชนบทนั้น. พวกมนุษย์ส่วนมากเมื่อไม่สามารถจะให้ถึงพันได้ จึงให้ครึ่งหนึ่งจากกำหนดนั้น แล้วไปรื่นรมย์กันตอนกลางวันเท่านั้น. เพราะมนุษย์พวกนั้น นางนี้จึงได้รู้กันทั่วไปว่า อัฑฒกาสี เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ตํ กตฺวา เนคโม อคฺฆํอฑฺเฒนคฺฆํ เปสิ มํ ซึ่งมีความว่า ชาวนิคม คือชนผู้อยู่ในนิคม ทำทรัพย์ ๕๐๐ นั้นเป็นราคาแล้วตั้งเราแม้เป็นอนัคฆะตีราคาไม่ได้ เพราะเป็นนางแก้วให้มีราคาครึ่งหนึ่ง มีสมัญญาว่า อัฑฒกาสี เป็นนิมิต อธิบายว่าเรียกเราอย่างนั้น.

    บทว่า อถ นิพฺพินฺทหํ รูเป ความว่า เราอาศัยรูปร่างเลี้ยงชีพอยู่อย่างนี้ ต่อมาภายหลังได้อาศัยพระศาสนาจึงเบื่อหน่ายในรูป คือเห็นว่ารูปไม่เทียงแม้ด้วยประการนี้ รูปนี้เป็นทุกข์ ไม่งามแม้ด้วยประการนี้ จึงไม่พอใจรูปนั้น. บทว่า นิพฺพินฺทญฺจ วิรชฺชหํ ความว่า และเมื่อเราเบื่อหน่ายจึงถึงความเป็นอื่นคือความคลายกำหนัดจากรูปนั้น. ก็ด้วยนิพฺพินฺทศัพท์ในคาถานี้ แสดงถึงตรุณวิปัสสนา ด้วยวิราคศัพท์แสดงถึงพลววิปัสสนา มีอธิบายว่า

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 56

เมื่อหน่ายย่อมคลายความกำหนัด เพราะคลายกำหนัดย่อมหลุดพ้นด้วยบทว่า มา ปุน ชาติสํสารํ สนธาเวยฺยํ ปุนปฺปุนํ นี้ ท่านแสดงถึงอาการของความเบื่อหน่ายและความคลายกำหนัด ด้วยบทว่า ติสฺโส วิชฺชาเป็นต้น แสดงการถึงที่สุดของอาการเหล่านั้น. ข้อนั้นมีนัยดังกล่าวแล้วแล.

    จบ อรรถกถาอัฑฒกาสีเถรีคาถา