พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๗. ธัมมาเถรีคาถา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  20 พ.ย. 2564
หมายเลข  40694
อ่าน  297

[เล่มที่ 54] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 39

เถรีคาถา เอกนิบาต

๑๗. ธัมมาเถรีคาถา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 54]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 39

๑๗. ธัมมาเถรีคาถา

[๔๑๘] เราทุพพลภาพ มีกายสั่นเทา ถือไม้เท้าเที่ยวบิณฑบาต ได้ล้มลงบนแผ่นดินตรงนั้นเอง ครั้งนั้น จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะเห็นโทษในกาย.

จบ ธัมมาเถรีคาถา

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 40

๑๗. อรรถกถาธัมมาเถรีคาถา

    คาถาว่า ปิณฺฑปาตํ จริตฺวาน เป็นต้น เป็นคาถาของพระเถรีชื่อธัมมา.

    แม้พระเถรีองค์นี้ก็ได้สร้างสมบุญบารมีไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมกุศลที่เป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้นๆ ได้รวบรวมบุญสมภารไว้แล้ว ในพุทธุปปาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนตระกูล กรุงสาวัตถี เจริญวัยแล้วไปสู่เรือนของสามีที่สมควรกัน ได้ศรัทธาในศาสนาของพระศาสดา ประสงค์จะบวชแต่สามีไม่อนุญาต ภายหลังเมื่อสามีตายแล้ว บวชเจริญวิปัสสนา วันหนึ่งเที่ยวภิกขาจารแล้ว กำลังเดินมาวิหารหกล้มลง จึงทำเรื่องนั้นแหละเป็นอารมณ์เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ได้กล่าวคาถานี้เป็นอุทานว่า

    เราทุพพลภาพ มีกายสั่นเทา ถือไม้เท้าเที่ยวบิณฑบาต ได้ล้มลงบนแผ่นดินตรงนั้นเอง ครั้งนั้นจิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะเห็นโทษในกาย

    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปิณฺฑปาตํ จริตฺวาน ฑณฺฑมาทายทุพฺพลา ความว่า ใช้ไม้เท้าค้ำยันเที่ยวไปในเมืองเพื่อต้องการบิณฑบาตคือเที่ยวภิกขาจาร. บทว่า ฉมา ได้แก่ บนแผ่นดิน คือพื้นดิน อธิบายว่าล้มลงบนพื้นดิน เพราะเท้าทั้งสองไม่มีกำลัง. บทว่า ทิสฺวา อาทีนวํ กาเยความว่า เห็นโทษในสรีระโดยประการต่างๆ มีไม่งาม ไม่เที่ยง เป็นทุกข์เป็นอนัตตาเป็นต้น ด้วยปัญญาจักษุ. บทว่า อถ จิตฺตํ วิมุจฺจิ เม ความว่าจิตของเราหลุดพ้นแล้วจากกิเลสทั้งหลาย เพราะข่มไว้ด้วยนิพพิทานุปัสสนา

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 41

เป็นต้น ที่เป็นไปข้างหน้าด้วยอาทีนวานุปัสสนา ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว คือพ้นวิเศษแล้วโดยประการทั้งปวง ด้วยสมุจเฉทวิมุตติตามลำดับมรรคผล และด้วยปฏิปัสสัทธิวิมุตติอีก. อธิบายว่า บัดนี้ สิ่งที่จะต้องหลุดพ้นไม่มีแก่พระเถรีนั้น.อนึ่ง การกล่าวคาถาเป็นอุทานนี้แหละ เป็นการพยากรณ์พระอรหัตผลของพระเถรีนั้นแล.

จบ อรรถกถาธัมมาเถรีคาถา