การปฏิบัติธรรม

 
สุทัศน์
วันที่  17 มิ.ย. 2550
หมายเลข  4023
อ่าน  886

อยากทราบ การที่เราพยายามลดกิเลส ไม่ทราบเป็นการฝืนธรรมชาติของมนุษย์หรือไม่


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 17 มิ.ย. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ธรรมชาติ คือ ความจริงของโลก ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ คือ อนิจจัง ทุกขังอนัตตาของสภาพธัมมะ กิเลสเป็นธัมมะ เป็นอนัตตา หมายถึง ไม่ใช่เรา บังคับ

บัญชาไม่ได้ มีเหตุปัจจัยเกิดก็เกิดใช่ไหมครับ โกรธ บังคับให้โกรธได้ไหม บังคับให้ไม่ให้โกรธได้ไหม ถ้ามีเหตุปัจจัยที่จะโกรธ ก็บังคับไม่ได้เพราะเป็นธรรม ในเมื่อเราบอกว่าทุกอย่างเป็นธรรม ไม่มีเรา มีแต่ธรรมดังนั้น เป็นเราที่จะละกิเลส หรือมีสภาพธัมมะอย่างหนึ่งที่เป็นตัวลดละกิเลส นั่นก็คือ สภาพธัมมะที่เรียกว่า ปัญญา ปุถุชนมีปัญญาน้อยหรือมาก ตามความเป็นจริงก็ต้องน้อย เพราะปุถุชน หมายถึง ผู้หนาด้วยกิเลส กิเลสมากเพราะปัญญาน้อย ในเมื่อปัญญาน้อยมาก จะทำให้กิเลสน้อยลงในเมื่อปัญญาน้อยมากได้ไหม ก็ไม่ได้ ดังนั้นการที่มีเราที่จะพยายามที่ลดละกิเลส ซึ่งจริงๆ ต้องเป็นหน้าที่ของธัมมะคือ ปัญญา แล้วจะฝืนกับธรรมชาติ ฝืนกับความจริงของธรรมว่า ไม่ใช่เรา เป็นธรรมที่ทำหน้าที่ บังคับบัญชาไม่ได้หรือไม่ ถ้าไม่มีปัญญาก็บังคับกิเลสให้ลดลงไม่ได้ ด้วยความอยาก พยายามที่จะลดในเมื่อไม่มีปัญญาครับ แต่ถ้ามีปัญญามาก จะต้องพยายามลดกิเลสไหม หรือปัญญาเขาก็ทำหน้าที่ของเขาเองอยู่แล้วคือ ละกิเลสครับ

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
พุทธรักษา
วันที่ 19 มิ.ย. 2550

อนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 19 มิ.ย. 2550

การพยายามลดละกิเลสเป็นการไปบังคับ โดยที่ไม่รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงว่า ที่กิเลสเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยไม่ใช่ตัวเรา ละกิเลสเป็นเรื่องของการทวนกระแส แต่ไม่ใช่เป็นการทวนด้วยความเป็นตัวตน แต่ต้องด้วยการอบรมเจริญปัญญา จึงจะรู้จักสภาพของกิเลสตามความเป็นจริง

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 30 ม.ค. 2567

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ