พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. มักขสูตร ว่าด้วยละมักขะได้เป็นพระอนาคามี

 
บ้านธัมมะ
วันที่  9 พ.ย. 2564
หมายเลข  40026
อ่าน  279

[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 86

เอกนิบาต

ปาฏิโภควรรคที่ ๑

๕. มักขสูตร

ว่าด้วยละมักขะได้เป็นพระอนาคามี


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 45]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 86

๕. มักขสูตร

ว่าด้วยละมักขะได้เป็นพระอนาคามี

[๑๘๓] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายละธรรมอย่างหนึ่งได้ เราเป็นผู้ รับรองเธอทั้งหลายเพื่อความเป็นพระอนาคามี ธรรมอย่างหนึ่งเป็นไฉน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 87

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายละธรรมอย่างหนึ่ง คือ มักขะได้ เราเป็นผู้ รับรองเธอทั้งหลายเพื่อความเป็นพระอนาคามี.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

ชนผู้เห็นแจ้งทั้งหลาย รู้ชัดด้วยดีซึ่ง มักขะอันเป็นเหตุให้สัตว์ผู้ลบหลู่ไปสู่ทุคติ แล้วละได้ ครั้นละได้แล้ว ย่อมไม่มาสู่ โลกนี้อีกในกาลไหนๆ.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบมักขสูตรที่ ๕

อรรถกถามักขสูตร

ในมักขสูตรที่ ๕ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า มกฺขํ ได้แก่ ลบหลู่คุณท่าน. จริงอยู่ ผิว่าคนลบหลู่นั้นเหมือน จับคูถแล้วประหารผู้อื่น กายของตนย่อมเปื้อนก่อนทีเดียว แม้ดังนั้น ท่านก็กล่าว ว่า เป็นผู้มักลบหลู่คุณผู้อื่น เพราะการทำเช่นนั้น โดยประสงค์จะลบหลู่คุณของ ผู้อื่น. เป็นความจริง คนลบหลู่นั้นย่อมลบหลู่ คือ ล้างคุณของผู้อื่นให้พินาศไป ดุจผ้าเช็ดน้ำ เช็ดน้ำที่ติดตัวของผู้อาบน้ำ ฉะนั้น จริงอยู่ ท่านกล่าวว่า มกฺโข (ผู้ลบหลู่คุณท่าน) เพราะทำลายกำจัดสักการะอัน ใหญ่ ซึ่งเป็นที่ปรากฏ แก่คนเหล่าอื่น. พึงเห็นว่าคนลบหลู่นั้น มีการลบล้างคุณผู้อื่นเป็นลักษณะ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 88

มีการทำให้คนทั้งหลายพินาศเป็นกิจรส มีการปกปิดคุณของเขาเป็นอาการ ปรากฏ. แต่โดยใจความ พึงเห็นว่า คนลบหลู่เป็นผู้มีจิตตุบาทสหรคต ด้วย โทมนัสอันเป็นไป โดยอาการลบล้างคุณของผู้อื่น. บทว่า ปชหถ อธิบายว่า เธอทั้งหลายจงพิจารณาโทษมีประเภทดังกล่าวแล้วในมักขะนั้น และโทษมีนัย ดังกล่าวแล้วในโทสะ และอานิสงส์ในการละโทษตามที่กล่าวนั้น แล้วละ ด้วยตทังคะเป็นต้นในส่วนเบื้องต้น ขวนขวายให้เกิดวิปัสสนา แล้วละไม่ให้มี ส่วนเหลือด้วยตติยมรรค.

บทว่า มกฺขิตาเส ได้แก่ เป็นผู้ลบล้างคุณของผู้อื่น คือ ป้ายร้าย ความดีของผู้อื่น. อธิบายว่า เป็นผู้ขจัดคุณแม้ของตน จากการที่ลบล้างคุณ ของผู้อื่นนั้นด้วย. บทที่เหลือมีนัยดังได้กล่าวแล้วนี้แล.

จบอรรถกถามัขสูตรที่ ๕