พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. โกธสูตร ว่าด้วยละความโกรธได้เป็นอนาคามี

 
บ้านธัมมะ
วันที่  9 พ.ย. 2564
หมายเลข  40025
อ่าน  352

[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 85

เอกนิบาต

ปาฏิโภควรรคที่ ๑

๔. โกธสูตร

ว่าด้วยละความโกรธได้เป็นอนาคามี


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 45]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 85

๔. โกธสูตร

ว่าด้วยละความโกรธได้เป็นอนาคามี

[๑๘๒] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้นข้าพเจ้าได้สดับ มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายละธรรมอย่างหนึ่งได้ เราเป็นผู้ รับรองเธอทั้งหลาย เพื่อความเป็นพระอนาคามี ธรรมอย่างหนึ่งเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายละธรรมอย่างหนึ่ง คือโกธะได้ เราเป็นผู้ รับรองเธอทั้งหลายเพื่อความเป็นพระอนาคามี.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์นี้ดังนี้ว่า

ชนผู้เห็นแจ้งทั้งหลาย รู้ชัดด้วยดี ซึ่งโกธะอันเป็นเหตุให้สัตว์ผู้โกรธไปสู่ ทุคติ แล้วละได้ ครั้นละได้แล้ว ย่อม ไม่มาสู่โลกนี้อีกในกาลไหนๆ.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 86

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบโกธสูตรที่ ๔

อรรถกถาโกธสูตร

ในโกธสูตรที่ ๔ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า โกธํ คือ โทสะ เพราะโทสะนั้นแล ท่านกล่าวอย่างนี้รู้ด้วย อัธยาศัยของบุคคลผู้รู้โดยปริยายของโกธะ ฉะนั้น พึงทราบความในสูตรนี้ โดยนัยที่กล่าวแล้วในสูตรที่ ๒ นั่นแล. อีกอย่างหนึ่ง พึงเห็นความโกรธมี ความขัดเคืองเป็นลักษณะ มีทำความอาฆาตเป็นรส มีความวิบัติแห่งจิตเป็น อาการปรากฏ ความเน่าของจิต. พึงทราบความต่างกันแม้นี้.

จบอรรถกถาโกธสูตรที่ ๔