พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. มานสูตร ว่าด้วยละมานะได้เป็นอนาคามี

 
บ้านธัมมะ
วันที่  9 พ.ย. 2564
หมายเลข  40027
อ่าน  288

[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 88

เอกนิบาต

ปาฏิโภควรรคที่ ๑

๖. มานสูตร

ว่าด้วยละมานะได้เป็นอนาคามี


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 45]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 88

๖. มานสูตร

ว่าด้วยละมานะได้เป็นอนาคามี

[๑๘๘] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายละธรรมอย่างหนึ่งได้ เราเป็นผู้ รับรองเธอทั้งหลายเพื่อความเป็นพระอนาคามี ธรรมอย่างหนึ่งเป็นไฉน ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายละธรรมอย่างหนึ่ง คือ มานะได้ เราเป็นผู้รับรอง เธอทั้งหลายเพื่อความเป็นพระอนาคามี.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 89

ชนผู้เห็นแจ้งทั้งหลาย รู้ชัดด้วยดีซึ่ง มานะอันเป็นเหตุให้สัตว์ผู้ถือตัวไปสู่ทุคติ แล้วละได้ ครั้นละได้แล้ว ย่อมไม่มาสู่ โลกนี้ในกาลไหนๆ.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบมานสูตรที่ ๖

อรรถกถามานสูตร

ในมานสูตรที่ ๖ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า มานํ ได้แก่ มีใจหยิ่งอาศัยชาติเป็นต้น. ด้วยว่าคนมีใจพอง นั้น ท่านกล่าวว่า มาโน (ผู้มีความถือตัว) เพราะอรรถว่า เป็นเหตุทำให้ สำคัญโดยนัยเป็นต้นว่า เสยฺโยหมสฺมิ เราเป็นผู้ประเสริฐ หรือสำคัญตนเอง หรือเป็นผู้ยกย่องการนับถือ. มานะนี้นั้นมี ๓ อย่าง คือ มานะว่า เราเป็นผู้ ประเสริฐกว่า ๑ มานะว่า เราเป็นผู้เสมอเขา ๑ มานะว่า เราเป็นเลว ๑. พึง เห็นมานะมีการหยิ่งเป็นลักษณะอีก ๙ อย่าง คือ มานะว่า เราเป็นผู้ประเสริฐ กว่าผู้ประเสริฐ ๑ เสมอกับผู้ประเสริฐ ๑ เลวกว่าผู้ประเสริฐ ๑ ประเสริฐ กว่าผู้เสมอ ๑ เสมอกับผู้เสมอ ๑ เลวกว่าผู้เสมอ ๑ ประเสริฐกว่าผู้เลว ๑ เสมอกับผู้เลว ๑ เลวกว่าผู้เลว ๑ มีการถือตัวเป็นกิจรส หรือมีการยกย่อง เป็นกิจรส มีความเป็นคนพองเป็นอาการปรากฏ หรือมีความยิ่งใหญ่เป็น อาการปรากฏ เป็นดุจคนบ้า มีความโลภปราศจากทิฏฐิเป็นปทัฏฐาน.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 90

บทว่า ปชหถ มีอธิบายว่า เธอทั้งหลายจงพิจารณาโทษมีประเภท เป็นต้นอย่างนี้ว่า มานะทั้งหมดนั้นมีการยกตนและข่มผู้อื่นเป็นนิมิต เป็นเหตุ ไม่ทำการกราบไหว้การต้อนรับ อัญชลีกรรมและสามีจิกรรมเป็นต้นในท่านผู้ อยู่ในฐานะที่ควรเคารพ เป็นเหตุให้ถึงความประมาทโดยความเมาในชาติและ เมาในคนเป็นต้น และอานิสงส์ของความไม่มีมานะอันตรงกันข้ามกับโทษนั้น แล้วเริ่มตั้งจิตอ่อนน้อมในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ดุจคนจัณฑาลเข้าไปสู่ ราชสภาแล้วละมานะนั้นด้วยตทังคปหานในส่วนเบื้องต้น เจริญวิปัสสนา ละด้วย อนาคามิมรรค. ในสูตรนี้ท่านประสงค์มานะอันอนาคามิมรรคพึงฆ่าเท่านั้น.

บทว่า มตฺตาเส ได้แก่เป็นผู้มัวเมาด้วยมานะมีมัวเมาในชาติและมัว เมาในคนเป็นต้น อันเป็นเหตุให้ถึงความประมาทเป็นต้น ยกย่องตนแล้ว มัวเมา. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

แต่ใน ๖ สูตร หรือในคาถาทั้งหลายตามลำดับเหล่านี้พระผู้มีพระภาคเจ้า ยังภิกษุทั้งหลายให้ถึงอนาคามิผลแล้วจึงจบเทศนา.

ในท่านผู้บรรลุอนาคามิผลนั้นได้เป็นพระอนาคามี ๕ ด้วยอำนาจภพที่ เกิด คือ อวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี อกนิฏฐา. บรรดาพระอนาคามี ๕ เหล่านั้น ท่านที่เกิดในชั้นอวิหา ชื่อว่า อวิหา. ท่านเหล่านั้นมี ๕ คือ อนฺตราปรินิพฺพายี (ท่านผู้จะปรินิพพานในระหว่างอายุยังไม่ทันถึงกึ่ง) ๑ อุปหจฺจปรินิพฺพายี (ท่านผู้จะปรินิพพานต่อเมื่ออายุพันกึ่งแล้วจวนถึงที่สุด) ๑ อสงฺขารปรินิพฺพายี (ท่านผู้จะปรินิพพานด้วยต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง) ๑ สสงฺขารปรินิพฺพายี (ท่านผู้จะปรินิพพานด้วยต้อใช้ความเพียรเรี่ยวแรง) ๑ อุทฺธํโสโตอกนิฏฺคามี (ท่านผู้มีกระแสเบื้องบนไปสู่อกนิฏฐภพ) ๑. ท่าน ที่ชื่ออัตปปา สุทัสสา สุทัสสี ก็เหมือนอย่างนั้น แก่ท่านผู้เป็นอุทธังโสโต อกนิฏฐคามี ย่อมสิ้นสุดในชั้นอกนิฏฐา.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 91

บรรดาพระอนาคามี ๕ เหล่านั้น ท่านผู้เกิดในชั้นวิหาเป็นต้นแล้ว ปรินิพพานด้วยการดับกิเลสเพื่อบรรลุพระอรหัต ไม่เกินกึ่งอายุ ชื่อว่า อนุ- ตราปรินิพฺพายี. ท่านผู้ปรินิพพานพ้นกึ่งอายุ คือ ๕๐๐ กัป เป็นเกณฑ์ เริ่มต้นในชั้นอวิหาเป็นต้น ชื่อว่า อุปหจฺจปรินิพพายี. ท่านผู้ปรินิพพาน ด้วยการดับกิเลสโดยลำบากน้อยไม่ต้องทำความเพียรนัก ชื่อว่า อสงฺขารปริ- นิพฺพายี. ท่านผู้ปรินิพพาน ด้วยความยากลำบากต้องทำความ. เพียรแรงกล้า ชื่อว่า สงฺขารปรินิพฺพายี. ส่วนท่านที่ชื่อว่า อุทฺธํโสโต เพราะมีกระแส คือตัณหา และกระแสคือมรรคในเบื้องบนโดยถือเบื้องบนในชั้นวิหาเป็นต้น. ชื่อว่า อกนิฏฺคามี เพราะไม่อาจเกิดในชั้นอวิหาเป็นต้น แล้วบรรลุพระอรหัตได้ จึงดำรงอยู่ในชั้นนั้นชั่วอายุแล้ว จึงไปสู่ชั้นอกนิฏฐาด้วยการถือเอา ปฏิสนธิ.

ก็ในสูตรนี้พึงทราบอกนิฏฐคามี ๔ หมวดคือ อุทฺธํโสโต อกนิฏฺ- คามี ท่านผู้มีกระแสเบื้องบนไปสู่อกนิฏฐภพ) ๑ อุทฺธํโสโจ นอกนิฏฺ- คามี (ท่านผู้มีกระแสเบื้องบนไม่ไปสู่อกนิฏฐภพ) ๑ นอุทฺธํโสโต อกนิฏฺ- คามี (ท่านผู้ไม่มีกระแสเบื้องบนไปสู่อกนิฏฐภพ) ๑ น อุทฺธํโสโต น อกนิฏฺคามี (ผู้ไม่มีทั้งกระแสเบื้องบน ทั้งไม่ไปสู่อกนิฏฐภพ) ๑. ถามว่า อย่างไร. ตอบว่า ผู้ที่ชำระเทวโลก ๔ ตั้งแต่ชั้นอวิหาแล้วไปสู่ชั้นอกนิฏฐาจึง ปรินิพพาน ชื่อ อุทฺธํโสโต อกนิฏฺคามี. ท่านผู้ชำระเทวโลก ๓ แล้ว ดำรงอยู่ในเทวโลกชั้นสุทัสสี จึงปรินิพพาน ชื่อว่า อุทธํโสโต นอกนิฏฺ- คามี ท่านผู้ไปสู่อกนิฏฐภพต่อจากนี้นั่นแลชื่อว่า นอุทฺธํโสโต อกนิฏฺคามี. ส่วนผู้ที่ดำรงอยู่ในเทวโลก ๔ ชั้นต่ำ แล้วปรินิพพานที่ชั้นนั้นๆ ชื่อว่า น อุทฺธํโสโต นอกนิฏฺคามี.

บรรดาพระอนาคามีเหล่านั้น พระอนาคามี ๓ จำพวกคือท่านผู้เกิด

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 92

ในชั้นอวิหา แล้วปรินิพพานต่ำกว่า ๑๐๐ กัป ๑ ท่านผู้ปรินิพพานในที่สุด ๒๐๐ กัป ๑ ท่านผู้ปรินิพพาพในเมื่อยังไม่ถึง ๕๐๐ กัป ๑ ชื่อว่าอันตราปรินิพพายี. สมดังที่ท่านกล่าวว่า อุปฺปนฺนํ วา สมนนฺตรา อปฺปตฺตํ วา เวมชฺฌํ เกิดขึ้นแล้วในระหว่างหรือว่ายังไม่บรรลุในท่ามกลาง ดังนี้. จริงอยู่ท่าน สงเคราะห์แม้มรรคที่บรรลุแล้วด้วย วา ศัพท์.

พระอนาคามีผู้เป็นอันตรายปรินิพพายี ๓ จำพวกอย่างนี้เป็นอุปหัจจปริ- นิพพายี พวก ๑ เป็นอุทธังโสโต พวก ๑. ในท่านเหล่านั้น ท่านที่เป็นอสังขาร ปรินิพพายี ๕ เป็นสสังขารปรินิพพายี ๕ รวมเป็น ๑๐. อนึ่ง สุทธาวาส ๔ คือ ในชั้นอตัปปา สุทัสสา สุทัสสี มีอย่างละ ๑๐ หมวดรวมเป็น ๔๐. เพราะไม่มี กระแสในเบื้องบนในชั้นอกนิฏฐา จึงเป็นอันตราปรินิพพายี ๓ เป็นอุปหัจจปริ- นิพพายี ๑ เป็นอสังขารปรินิพพายี เป็นสสังขารปรินิพพายี ๔ รวมเป็น ๘ จึงเป็นพระอนาคามี ๔๘ เหล่านี้ด้วยประการฉะนี้. พึงเห็นว่าในพระสูตรนี้ท่าน ถือเอาพระอนาคามีทั้งหมดเหล่านั้น ด้วยคำอันไม่ต่างกัน.

จบอรรถ กถามานสูตรที่ ๖