พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. เวรสูตร ว่าด้วยภัยเวร ๕ ประการ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 ต.ค. 2564
หมายเลข  39251
อ่าน  332

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 370

จตุตถปัณณาสก์

อุปาสกวรรคที่ ๓

๔. เวรสูตร

ว่าด้วยภัยเวร ๕ ประการ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 370

๔. เวรสูตร

ว่าด้วยภัยเวร ๕ ประการ

[๑๗๔] ครั้งนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดี อุบาสกไม่ละภัยเวร ๕ ประการ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 371

เราเรียกว่า ผู้ทุศีลด้วย ย่อมเข้าถึงนรกด้วย ภัยเวร ๕ ประการเป็นไฉน? คือ การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม การพูดเท็จ การดื่มน้ำเมา คือ สุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ดูก่อนคฤหบดี อุบาสกผู้ไม่ละภัยเวร ๕ ประการ นี้แล เราเรียกว่า ผู้ทุศีลด้วย ย่อมเข้าถึงนรกด้วย.

ดูก่อนคฤหบดี อุบาสกผู้ละภัยเวร ๕ ประการ เราเรียกว่า ผู้มีศีลด้วย ย่อมเข้าถึงสุคติด้วย ภัยเวร ๕ ประการเป็นไฉน? คือ การฆ่าสัตว์ ฯลฯ การดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ดูก่อนคฤหบดี อุบาสกผู้ละภัยเวร ๕ ประการ นี้แล เราเรียกว่า ผู้มีศีลด้วย ย่อมเข้าถึงสุคติด้วย.

ดูก่อนคฤหบดี อุบาสกผู้ฆ่าสัตว์ ย่อมประสบภัยเวรใด ทั้งในปัจจุบัน ทั้งในสัมปรายภพ ย่อมเสวยทุกขโทมนัสใด แม้ทางจิต เพราะเหตุฆ่าสัตว์ อุบาสกผู้งดเว้นจากปาณาติบาต ย่อมไม่ประสบภัยเวรนั้น ทั้งในปัจจุบัน และในสัมปรายภพ ย่อมไม่เสวยทุกขโทมนัสนั้น แม้ทางจิต ภัยเวรนั้นของอุบาสก ผู้งดเว้นจากปาณาติบาตย่อมสงบระงับด้วยประการ ฉะนี้ อุบาสกผู้ลักทรัพย์ ... ประพฤติผิดในกาม ... พูดคำเท็จ ... ดื่มน้ำเมา คือ สุรา และเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ย่อมประสบภัยเวรใด ทั้งในปัจจุบัน และสัมปรายภพ ย่อมเสวยทุกขโทมนัสใด แม้ทางจิต เพราะเหตุแห่งการดื่มน้ำเมา คือ สุรา และเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท อุบาสกผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุรา และเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ย่อมไม่ประสบภัยเวรนั้น ทั้งในปัจจุบัน และในสัมปรายภพ ย่อมไม่เสวยทุกขโทมนัส แม้ทางจิต ภัยเวรนั้นของอุบาสก ผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุรา และเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ย่อมสงบระงับด้วยประการ ฉะนี้.

นรชนใดย่อมฆ่าสัตว์ ถือเอาสิ่งของ ที่เจ้าของมิได้ให้ในโลก คบชู้ภรรยาของ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 372

ผู้อื่น กล่าวคำเท็จ และประกอบการดื่ม สุราเมรัยเนืองๆ นรชนนั้น ไม่ละเวร ๕ ประการแล้ว เราเรียกว่า เป็นผู้ทุศีล มีปัญญาทราม ตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงนรก.

นรชนใดไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ถือเอาสิ่งของ ที่เจ้าของมิได้ให้ในโลก ไม่คบชู้ภรรยาของผู้อื่น ไม่กล่าวคำเท็จ และไม่ประกอบการดื่มสุรา และเมรัย นรชนนั้น ละเวร ๕ ประการแล้ว เราเรียกว่า เป็นผู้มีศีล มีปัญญา เมื่อตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงสุคติ.

จบเวรสูตรที่ ๔

อรรถกถาเวรสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในเวรสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ภยานิ ได้แก่ ภัยอันทำให้จิตสะดุ้งแล้ว. บทว่า เวรานิ ได้แก่ อกุศลเวรบ้าง บุคคลเวรบ้าง. บทว่า เจตสิกํ ได้แก่ ทุกข์อาศัยจิต. บทว่า ทุกฺขํ ได้แก่ ทุกข์ มีกายประสาท เป็นวัตถุที่ตั้ง. บทว่า โทมนสฺสํ ได้แก่ โทมนัสเวทนา. ในสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสการละ ด้วยวิรัติ เจตนางดเว้น.

จบอรรถกถา เวรสูตรที่ ๔