พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. นิรยสูตร ว่าด้วยธรรมทําให้เหมือนตกนรกและขึ้นสวรรค์

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 ต.ค. 2564
หมายเลข  39250
อ่าน  320

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 369

จตุตถปัณณาสก์

อุปาสกวรรคที่ ๓

๓. นิรยสูตร

ว่าด้วยธรรมทําให้เหมือนตกนรก และขึ้นสวรรค์


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 369

๓. นิรยสูตร

ว่าด้วยธรรมทำให้เหมือนตกนรก และขึ้นสวรรค์

[๑๗๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เหมือนถูกนำมาวางไว้ในนรก ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน? คือ อุบาสกเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ เป็นผู้ดื่มน้ำเมา คือ สุรา และเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 370

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ นี้แล เหมือนถูกนำมาวางไว้ในนรก.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เหมือนถูกเชิญมาอยู่ในสวรรค์ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน? คือ อุบาสกเป็นผู้งดเว้น จากปาณาติบาต ฯลฯ เป็นผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุรา และเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ นี้แล เหมือนถูกเชิญมาอยู่ในสวรรค์.

จบนิรยสูตรที่ ๓

อุปาสกวรรควรรณนา ที่ ๓

อรรถกถาสารัชชสูตรที่ ๑ วิสารทสูตรที่ ๒ นิรยสูตรที่ ๓

สูตรที่ ๑ - ๒ - ๓ แห่งอุปาสกวรรคที่ ๓ ท่านกล่าวถึง อคาริยปฏิบัติ (ข้อปฏิบัติของผู้ครองเรือน.) แม้จะเป็นพระโสดาบัน และพระสกทาคามี อคาริยปฏิบัติ ก็ย่อมควรทั้งนั้น.

จบอรรถกถา สูตรที่ ๑ - ๒ - ๓