พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. เถรสูตร ว่าด้วยธรรมที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์แก่ชนมาก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 ต.ค. 2564
หมายเลข  39158
อ่าน  303

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 210

ทุติยปัณณาสก์

เถรวรรคที่ ๔

๘. เถรสูตร

ว่าด้วยธรรมที่เป็นประโยชน์ และไม่เป็นประโยชน์แก่ชนมาก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 210

๘. เถรสูตร

ว่าด้วยธรรมที่เป็นประโยชน์ และไม่เป็นประโยชน์แก่ชนมาก

[๘๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อสิ่งมิใช่ประโยชน์ เพื่อมิใช่สุข เพื่อความฉิบหายแก่ชนมาก เพื่อมิใช่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ แก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุผู้เถระเป็นรัตตัญญูบวชนาน ๑ เป็นผู้มีชื่อเสียง มียศ มีชนหมู่มากเป็นบริวาร ปรากฏแก่พวกคฤหัสถ์ และบรรพชิต ๑ เป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ๑ เป็นพหูสูต ทรงไว้ซึ่งสุตะ สะสมสุตะ เป็นผู้ได้สดับมาก ทรงจำไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอด ด้วยดีด้วยทิฏฐิ ซึ่งธรรมทั้งหลาย อันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง ๑ เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นวิปริต เธอย่อมยังชนหมู่มาก ให้ห่างเหินจากสัทธรรม ให้ตั้งอยู่ในอสัทธรรม ชนหมู่มากย่อมยึดถือทิฏฐานุคติของเธอว่า เธอเป็นภิกษุ ผู้เถระรัตตัญญูบวชนาน ดังนี้บ้าง เธอเป็นภิกษุผู้เถระ มีชื่อเสียง มียศ มีชนหมู่มากเป็นบริวาร ปรากฏแก่พวกคฤหัสถ์ และบรรพชิต ดังนี้บ้าง เธอเป็นภิกษุผู้เถระได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ดังนี้บ้าง เธอเป็นภิกษุผู้เถระ ผู้เป็นพหูสูต ทรงไว้ซึ่งสุตะ สะสมสุตะ ดังนี้บ้าง ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระ ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อสิ่งที่มิใช่ประโยชน์ เพื่อมิใช่สุข เพื่อความฉิบหายแก่ชนมาก เพื่อมิใช่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ แก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 211

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข เพื่อความเจริญแก่ชนมาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุผู้เถระย่อมเป็นพระเถระรัตตัญญู บวชนาน ๑ เป็นผู้มีชื่อเสียง มียศ มีชนหมู่มากเป็นบริวาร ปรากฏแก่พวกคฤหัสถ์และบรรพชิต ๑ เป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ๑ เป็นพหูสูต ทรงไว้ซึ่งสุตะ สะสมสุตะ เป็นผู้ได้สดับมาก ทรงจำไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอด ด้วยดีด้วยทิฏฐิ ซึ่งธรรมทั้งหลาย อันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง ๑ เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นไม่วิปริต เธอย่อมยังชนหมู่มาก ให้ห่างเหินจากอสัทธรรม ให้ตั้งอยู่ในสัทธรรม ชนหมู่มากย่อมยึดถือ ทิฏฐานุคติของเธอว่า เธอเป็นภิกษุผู้เถระรัตตัญญู บวชนาน ดังนี้บ้าง เธอเป็นภิกษุผู้เถระ มีชื่อเสียง มียศ มีชนหมู่มากเป็นบริวาร ปรากฏแก่พวกคฤหัสถ์ และบรรพชิต ดังนี้บ้าง เธอเป็นภิกษุผู้เถระ ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย เภสัชบริขาร ดังนี้บ้าง เธอเป็นภิกษุผู้เถระ ผู้เป็นพหูสูต ทรงไว้ซึ่งสุตะ สะสมสุตะ ดังนี้บ้าง ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระ ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ นี้แล ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข เพื่อความเจริญแก่ชนมาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข แก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย.

จบเถระสูตรที่ ๘

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 212

อรรถกถาเถรสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในเถรสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า เถโร ได้แก่ เป็นผู้ถึงความมั่นคง. บทว่า รตฺตญฺู ได้แก่ เป็นผู้รู้ราตรีเป็นอันมากที่ล่วงแล้ว ตั้งแต่วันบวช. บทว่า าโต ได้แก่ ที่เขารู้จัก คือปรากฏแล้ว. บทว่า ยสสฺสี ได้แก่ เป็นผู้อาศัยยศ. บทว่า มิจฺฉาทิฏฺิโก ได้แก่ เป็นผู้เห็นโดย ไม่เห็นตามความเป็นจริง. บทว่า สทฺธมฺมา วุฏฺาเปตฺวา ได้แก่ ชักชวนให้ออกจากธรรมคือ กุศลกรรมบถ ๑๐. บทว่า อสทฺธมฺเม ปติฏฺาเปติ ได้แก่ ให้ตั้งอยู่ในอกุศลกรรมบถ ๑๐.

จบอรรถกถา เถรสูตรที่ ๘