พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. ปฐมเสขสูตร ว่าด้วยธรรมและไม่เสื่อมของพระเสขะ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 ต.ค. 2564
หมายเลข  39159
อ่าน  302

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 212

ทุติยปัณณาสก์

เถรวรรคที่ ๔

๙. ปฐมเสขสูตร

ว่าด้วยธรรมเป็นไปเพื่อความเสื่อม และไม่เสื่อมของพระเสขะ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 212

๙. ปฐมเสขสูตร

ว่าด้วยธรรมเป็นไปเพื่อความเสื่อม และไม่เสื่อมของพระเสขะ

[๘๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม แก่ภิกษุผู้เสขะ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ยินดี ในการก่อสร้าง ๑ ความเป็นผู้ยินดี ในการเจรจาปราศรัย ๑ ความเป็นผู้ยินดี ในการนอน ๑ ควานเป็นผู้ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ๑ ไม่พิจารณาจิต ตามที่หลุดพ้นแล้ว ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการ นี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 213

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไป เพื่อความไม่เสื่อม แก่ภิกษุผู้เสขะ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ไม่ยินดี ในการก่อสร้าง ๑ ความเป็นผู้ไม่ยินดี ในการเจรจาปราศรัย ๑ ความเป็นผู้ไม่ยินดี ในการนอน ๑ ความเป็นผู้ไม่ยินดี ในการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ๑ พิจารณาจิตตามที่หลุดพ้นแล้ว ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการ นี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อม แก่ภิกษุผู้เสขะ.

จบปฐมเสขสูตรที่ ๙

อรรถกถาเสขสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในปฐมเสขสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้:-

บทว่า เสกฺขสฺส ได้แก่ ภิกษุผู้ยังต้องศึกษา คือ ยังมีกิจที่จะต้องทำ. บทว่า ปริหานาย ได้แก่ เพื่อความเสื่อมจากคุณเบื้องสูง. ความยินดี ในนวกรรมการก่อสร้าง ชื่อ กมฺมารามตา. ความยินดี ในการสนทนาปราศรัย [คุยกัน] ชื่อ ภสฺสารามตา. ความยินดี ในการนอนหลับ ชื่อว่า นิทฺทารามตา. ความยินดี ในการคลุกคลีด้วยหมู่ ชื่อ สงฺคณิการามตา. บทว่า ยถาวิมุตฺตํ จิตฺตํ น ปจฺจเวกฺขติ ความว่า ไม่พิจารณาจิตตามที่หลุดพ้นแล้ว พิจารณาถึงโทษที่ตนละได้ และคุณที่ตนได้เหล่านั้นแล้ว ย่อมไม่ทำความพยายาม เพื่อได้คุณเบื้องสูงอีก. ในสูตรนี้ ตรัสเหตุแห่งความเสื่อม และเหตุแห่งความเจริญ ด้วยคุณเบื้องสูงของพระเสขะ ๗ จำพวก ด้วยประการอย่างนี้. ก็ข้อใดเป็นเหตุ แห่งความเสื่อมของพระเสขะ ข้อนั้นก็เป็นข้อที่หนึ่ง ของปุถุชนเหมือนกัน ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถา ปฐมเสขสูตรที่ ๙