พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. สีลสูตร ว่าด้วยธรรม ๕ ที่เป็นเหตุให้พระเถระเป็นที่เคารพ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 ต.ค. 2564
หมายเลข  39157
อ่าน  299

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 208

ทุติยปัณณาสก์

เถรวรรคที่ ๔

๗. สีลสูตร

ว่าด้วยธรรม ๕ ที่เป็นเหตุให้พระเถระเป็นที่เคารพ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 208

๗. สีลสูตร

ว่าด้วยธรรม ๕ ที่เป็นเหตุให้พระเถระเป็นที่เคารพ

[๘๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุผู้เถระเป็นผู้มีศีล สำรวมในปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระ และโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ๑ เป็นพหูสูต ทรงไว้

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 209

ซึ่งสุตะ สะสมสุตะ เป็นผู้ได้สดับมาก ทรงจำไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ ซึ่งธรรมทั้งหลายอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง ๑ เป็นผู้มีวาจาไพเราะ พูดวาจาอ่อนหวาน ประกอบด้วย วาจาของชาวเมืองที่สละสลวย ไม่มีโทษ ให้รู้ความหมายได้ ๑ เป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ๑ กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ นี้แล ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์.

จบสีลสูตรที่ ๗

อรรถกถาสีลสูตร

สีลสูตรที่ ๗ ง่ายทั้งนั้น. ก็ในสูตรนี้ ศีลก็ศีลของพระขีณาสพ แม้พาหุสัจจะก็พาหุสัจจะของพระขีณาสพ. แม้วาจาก็วาจาอันงามของพระขีณาสพ เหมือนกัน แม้ฌานก็พึงทราบว่า ท่านกล่าวว่าเป็นกิริยาฌานเท่านั้น.

จบอรรถกถา สีลสูตรที่ ๗