พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. ปฏิสัมภิทาสูตร ว่าด้วยธรรม ๕ ที่เป็นเหตุให้พระเถระเป็นที่เคารพ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 ต.ค. 2564
หมายเลข  39156
อ่าน  344

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 207

ทุติยปัณณาสก์

เถรวรรคที่ ๔

๖. ปฏิสัมภิทาสูตร

ว่าด้วยธรรม ๕ ที่เป็นเหตุให้พระเถระเป็นที่เคารพ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 207

๖. ปฏิสัมภิทาสูตร

ว่าด้วยธรรม ๕ ที่เป็นเหตุให้พระเถระเป็นที่เคารพ

[๘๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุผู้เถระเป็นผู้บรรลุอัตถปฏิสัมภิทา ๑ เป็นผู้บรรลุธรรมปฏิสัมภิทา ๑ เป็นผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทา ๑ เป็นผู้บรรลุปฏิภาณปฏิสัมภิทา ๑ เป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน ในกรณียกิจน้อยใหญ่ ของเพื่อนพรหมจรรย์ที่ควรจัดทำ เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญา เครื่องใคร่ครวญวิธีการในกิจนั้น เป็นผู้สามารถเพื่อทำ เป็นผู้สามารถเพื่อจัดแจง ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล้ว ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์.

จบปฏิสัมภิทาสูตรที่ ๖

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 208

อรรถกถาปฏิสัมภิทา

พึงทราบวินิจฉัย ในปฏิสัมภิทาสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อตฺถปฏิสมฺภิทาปฺปตฺโต ได้แก่ เป็นผู้ได้ญาณแตกฉาน ในอรรถ ๕. บทว่า ธมฺมปฏิสมฺภิทาปฺปตฺโต ได้แก่ เป็นผู้ได้ญาณแตกฉาน ในธรรม ๔ อย่าง. บทว่า นิรุตฺติปฏิสมฺภิทาปฺปตฺโต ได้แก่ เป็นผู้ได้ญาณแตกฉาน ในธรรมนิรุตติ. บทว่า ปฏิภาณปฏิสมฺภิทาปฺปตฺโต ได้แก่ เป็นผู้ได้ญาณอันแตกฉาน ในญาณเหล่านั้น. แต่ภิกษุผู้บรรลุปฏิภาณปฏิสัมภิทานั้น ย่อมรู้ญาณ ๓ เหล่านั้นเท่านั้น หาทำกิจของญาณเหล่านั้นไม่. บทว่า อุจฺจาวจานิ ได้แก่ ใหญ่น้อย. บทว่า กึกรณียานิ ได้แก่ กิจที่ควรทำอย่างนี้.

จบอรรถกถา ปฏิสัมภิทาสูตรที่ ๖