พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. จังกมสูตร ว่าด้วยอานิสงส์แห่งการจงกรม ๕ ประการ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  25 ต.ค. 2564
หมายเลข  39096
อ่าน  367

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 54

ปฐมปัณณาสก์

ปัญจังคิกวรรคที่ ๓

๙. จังกมสูตร

ว่าด้วยอานิสงส์แห่งการจงกรม ๕ ประการ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 54

๙. จังกมสูตร

ว่าด้วยอานิสงส์แห่งการจงกรม ๕ ประการ

[๒๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการจงกรม ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุผู้เดินจงกรม ย่อมเป็นผู้อดทนต่อการเดินทางไกล ๑ ย่อมเป็นผู้อดทนต่อการบำเพ็ญเพียร ๑ ย่อมเป็นผู้มีอาพาธน้อย ๑ อาหาร

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 55

ที่กิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มแล้ว ย่อมย่อยไปโดยดี ๑ สมาธิที่ได้ เพราะการเดินจงกรม ย่อมตั้งอยู่ได้นาน ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการเดินจงกรม ๕ ประการ นี้แล.

จบจังกมสูตรที่ ๙

อรรถกถาจังกมสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในจังกมสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อทฺธานกฺขโม โหติ ได้แก่ เมื่อเดินทางไกล ก็เดินได้ทน คือ อดทนได้. บทว่า ปธานกฺขโม ได้แก่ เพียรได้ทน. บทว่า จงฺกมาธิคโต จ สมาธิ ได้แก่ สมาธิแห่งสมาบัติ ๘ อย่างใดอย่างหนึ่ง อันผู้อธิษฐานจงกรมถึงแล้ว. บทว่า จิรฏิติโก โหติ แปลว่า ตั้งอยู่ได้นาน. ด้วยว่า นิมิตอันผู้ยืนอยู่ถือเอา เมื่อนั่งก็หายไป นิมิตอันผู้นั่งถือเอา เมื่อนอนก็หายไป ส่วนนิมิตอันผู้อธิษฐานจงกรม ถือเอาในอารมณ์ ที่หวั่นไหวแล้ว เมื่อยืนก็ดี นั่งก็ดี นอนก็ดี ย่อมไม่หายไป.

จบอรรถกถา จังกมสูตรที่ ๙