พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. สมาธิสูตร ว่าด้วยญาณ ๕ อย่าง

 
บ้านธัมมะ
วันที่  25 ต.ค. 2564
หมายเลข  39094
อ่าน  372

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 43

ปฐมปัณณาสก์

ปัญจังคิกวรรคที่ ๓

๗. สมาธิสูตร

ว่าด้วยญาณ ๕ อย่าง


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 43

๗. สมาธิสูตร

ว่าด้วยญาณ ๕ อย่าง

[๒๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีปัญญารักษาตน มีสติ เจริญสมาธิหาประมาณมิได้เถิด เมื่อเธอมีปัญญารักษาตน มีสติ เจริญสมาธิ หาประมาณมิได้อยู่ ญาณ ๕ อย่าง ย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตน ญาณ ๕ อย่างเป็นไฉน คือ ญาณย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า สมาธินี้มีสุขในปัจจุบัน และมี

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 44

สุขเป็นวิบากต่อไป ๑ สมาธินี้เป็นอริยะ ปราศจากอามิส ๑ สมาธินี้ อันคนเลวเสพไม่ได้ ๑ สมาธินี้ ละเอียด ประณีตได้ ด้วยความสงบระงับ บรรลุได้ ด้วยความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น และมิใช่บรรลุได้ ด้วยการข่มธรรมที่เป็นข้าศึก ห้ามกิเลสด้วยจิตอันเป็นสังขาร ๑ ก็เราย่อมมีสติเข้าสมาธินี้ได้ มีสติออกจากสมาธินี้ได้ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีปัญญารักษาตน มีสติ เจริญสมาธิ อันหาประมาณมิได้เถิด เมื่อเธอทั้งหลาย มีปัญญารักษาตน มีสติ เจริญสมาธิ อันหาประมาณมิได้อยู่ ญาณ ๕ อย่างนี้แล ย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตน.

จบสมาธิสูตรที่ ๗

อรรถกถาสมาธิสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในสมาธิสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อปฺปมาณํ ได้แก่ โลกุตตรสมาธิ อันเว้นจากธรรมที่กำหนดประมาณได้. บทว่า นิปกา ปติสฺสตา ได้แก่ เป็นผู้ประกอบแล้วด้วยปัญญา รักษาตน และสติ. บทว่า ปญฺจ าณานิ ได้แก่ ปัจจเวกขณญาณ ๕. บทว่า ปจฺจตฺตญฺเว อุปฺปชฺชนฺติ แปลว่า ย่อมเกิดขึ้นในตนเท่านั้น. ในบทเป็นต้นว่า อยํ สมาธิ ปจฺจุปฺปนฺนสุโข เจว ท่านประสงค์เอาอรหัตผลสมาธิ. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า มคฺคสมาธิ ดังนี้ก็มี. จริงอยู่ สมาธินั้น ชื่อว่า เป็นสุขในปัจจุบัน เพราะเป็นสุขในขณะที่จิตแน่วสนิท. สมาธิต้นๆ มีสุขเป็นวิบากในอนาคต เพราะเป็นปัจจัยแก่สมาธิ สุขหลังๆ แล. สมาธิ ชื่อว่า เป็นอริยะ เพราะไกลจากกิเลสทั้งหลาย. ชื่อว่า นิรามิส เพราะไม่มี

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 45

อามิสส่วนกาม อามิสส่วนวัฏฏะ อามิสส่วนโลก. ชื่อว่า มิใช่ธรรมที่คนเลว เสพ เพราะเป็นสมาธิอันมหาบุรุษ มีพระพุทธเจ้า เป็นต้น เสพแล้ว. ชื่อว่า สงบ เพราะสงบอังคาพยพ คือ กาย สงบอารมณ์ และสงบจากความกระวนกระวาย ด้วย อำนาจสรรพกิเลส. ชื่อว่า ประณีต เพราะอรรถว่า ไม่เดือดร้อน. ชื่อว่า ได้ความระงับ เพราะความระงับกิเลสอันตนได้แล้ว หรือตนได้ความระงับกิเสส. บทว่า ปฏิปฺปสฺสทฺธํ ปฏิปฺปสฺสทฺธิ นี้ โดยความได้เป็นอันเดียวกัน อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าได้ความระงับ เพราะผู้มีกิเลสอันระงับ หรือผู้ไกลจากกิเลสได้แล้ว. ชื่อว่า ถึงเอโกทิ เพราะถึงด้วยความมีธรรมเอกผุดขึ้น หรือถึงความมีธรรมเอกผุดขึ้น. ชื่อว่า ไม่ต้องใช้ความเพียรข่มห้าม เพราะไม่ต้องใช้จิต อันมีสังขาร คือความเพียรข่มห้ามกิเลส อันเป็นข้าศึกบรรลุเหมือนอย่างสมาธิ ของผู้ที่ยังมีอาสวะ อันไม่คล่องแคล่ว ภิกษุเมื่อเข้าสมาธินั้น หรือออกจากสมาธินั้น ย่อมมีสติเข้าสติออก หรือว่า มีสติเข้ามีสติออกโดยกาล ตามที่กำหนดไว้ เพราะเป็นผู้ไพบูลย์ด้วยสติ เพราะฉะนั้น ปัจจยปัจจเวกขณญาณ ความรู้พิจารณาเห็นปัจจัย ในสมาธินี้อันใด เกิดขึ้นเฉพาะตัวเท่านั้น แก่ภิกษุผู้พิจารณา เห็นอย่างนี้ว่า สมาธินี้ มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบาก ในอนาคต ปัจจยปัจจเวกขณญาณนั้น ก็เป็นญาณอย่างหนึ่ง ในบทที่เหลือก็นัยนี้. ญาณ ๕ เหล่านี้ ย่อมเกิดเฉพาะตนเท่านั้น ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถา สมาธิสูตรที่ ๗