พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. วิมุตติสูตร ว่าด้วยเหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  25 ต.ค. 2564
หมายเลข  39093
อ่าน  665

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 40

ปฐมปัณณาสก์

ปัญจังคิกวรรคที่ ๓

๖. วิมุตติสูตร

ว่าด้วยเหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 40

๖. วิมุตติสูตร

ว่าด้วยเหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการ

[๒๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการนี้ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุ ผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมบรรลุธรรม อันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป แสดงธรรมแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ในธรรมนั้น ตามที่พระศาสดา หรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้อยู่ในฐานะครูแสดงแก่เธอ เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจเกิดปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติ ข้อที่ ๑ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรม อันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดา หรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ ก็แต่ว่าภิกษุ ย่อมแสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่น โดยพิสดาร เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ที่ภิกษุแสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมา แก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์... เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติ ข้อที่ ๒...

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 41

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดา หรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่น โดยพิสดาร ก็แต่ว่าภิกษุ ย่อมทำการสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมา โดยพิสดาร เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ในธรรมนั้น ตามที่ภิกษุสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์... เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติ ข้อที่ ๓...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดา หรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรม เท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่น โดยพิสดาร แม้ภิกษุก็ไม่ได้ ทำการสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมา โดยพิสดาร ก็แต่ว่าภิกษุย่อมตรึกตรอง ใคร่ครวญธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ในธรรมนั้น ตามที่ภิกษุตรึกตรองใคร่ครวญ ธรรมตามที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์... เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติ ข้อที่ ๔...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดา หรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรม เท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่น โดยพิสดาร ภิกษุก็ไม่ได้สาธยายธรรม เท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมา โดยพิสดาร แม้ภิกษุก็ไม่ได้ตรึกตรอง ใคร่ครวญธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ ก็แต่ว่าสมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่ง เธอเล่าเรียนมาด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี ทรงไว้

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 42

ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ในธรรมนั้น ตามที่เธอเล่าเรียนสมาธินิมิต อย่างใดอย่างหนึ่งมาด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี ทรงไว้ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อมีใจเกิดปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติ ข้อที่ ๕ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุ ผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ ที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรม อันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการ นี้แล ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุ ผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ ที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรม อันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ.

จบวิมุตติสูตรที่ ๖

อรรถกถาวิมุตติสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในวิมุตติสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า วิมุตฺตายตนานิ แปลว่า เหตุแห่งการหลุดพ้น. บทว่า ยตฺถ ได้แก่ ในวิมุตตายตนะ (เหตุแห่งการหลุดพ้น) ใด. บทว่า สตฺถา ธมฺมํ เทเสติ ได้แก่ พระศาสดาทรงแสดงสัจธรรม ๘. บทว่า อตฺถปฏิสํเวทิโน ได้แก่ รู้ความแห่งบาลี. บทว่า ธมฺมปฏิสํเวทิโน ได้แก่

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 43

รู้บาลี. บทว่า ปามุชฺชํ ได้แก่ ปีติอย่างอ่อน. บทว่า ปีติ ได้แก่ ปีติ มีกำลังอันเป็นอาการยินดี. บทว่า กาโย ได้แก่ นามกาย. บทว่า ปสฺสมฺภติ คือ สงบนิ่ง. บทว่า สุขํ เวเทติ ได้แก่ ได้ความสุข. บทว่า จิตฺตํ สมาธิยติ ได้แก่ จิตตั้งมั่น ด้วยสมาธิชั้นอรหัตผล. จริงอยู่ ภิกษุนี้เมื่อฟังธรรมนั้น ย่อมรู้จักฌานวิปัสสนา มรรค และผล ในที่ฌานเป็นต้น มาแล้วๆ เมื่อภิกษุนั้นรู้อย่างนี้ ปีติก็เกิด ในระหว่างปีตินั้น ภิกษุนั้นก็ไม่ท้อถอย บำเพ็ญอุปจารกัมมัฏฐาน เจริญวิปัสสนาแล้ว ย่อมบรรลุพระอรหัต. ทรงหมายถึงพระอรหัตนั้น จึงตรัสว่า จิตฺตํ สมาธิยติ ดังนี้. แม้ในบทที่เหลือ ก็นัยนี้เหมือนกัน. แต่นี้เป็นความต่างกัน. บทว่า สมาธินิมิตฺตํ ได้แก่ สมาธิในอารมณ์ ๓๘ อย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า สมาธินิมิต. แม้ในบทเป็นต้นว่า สุคฺคหิตํ โหติ กัมมัฏฐาน อันผู้เรียนกัมมัฏฐานในสำนักอาจารย์ เป็นอันเรียนแล้วด้วยดี ใส่ใจไว้ด้วยดี ทรงจำไว้ด้วยดี. บทว่า สุปฺปฏิวิทฺธํ ปญฺาย ได้แก่ ทำให้ประจักษ์ดี ด้วยปัญญา. บทว่า ตสฺมึ ธมฺเม ได้แก่ ในธรรมคือบาลี ที่มาแห่งกัมมัฏฐานนั้น. ในสูตรนี้ตรัส วิมุตตายตนะแม้ทั้ง ๕ ถึงอรหัต.

จบอรรถกถา วิมุตติสูตรที่ ๖