พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. ตัณหาสูตร ว่าด้วยตัณหาเป็นดังข่าย

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 ต.ค. 2564
หมายเลข  38994
อ่าน  296

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 538

จตุตถปัณณาสก์

มหาวรรคที่ ๕

๙. ตัณหาสูตร

ว่าด้วยตัณหาเป็นดังข่าย


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 538

๙. ตัณหาสูตร

ว่าด้วยตัณหาเป็นดังข่าย

[๑๙๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงตัณหาเช่นดังข่าย ท่องเที่ยวไป แผ่ซ่านไป เกาะเกี่ยวอยู่ในอารมณ์ต่างๆ เป็นเครื่องปกคลุมหุ้มห่อสัตว์ โลกนี้ ซึ่งนุงเหมือนกลุ่มด้ายอันยุ่งเหยิง ขอดเป็นปมเป็นเหมือนหญ้าปล้อง ไม่ไห้ล่วงพ้นอบาย ทุคติ วินิบาต และสงสารไปได้ เธอทั้งหลายจงพึง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ตัณหาเช่นดังข่าย ท่องเที่ยวไป แผ่ซ่านไป เกาะเกี่ยวอยู่ในอารมณ์ต่างๆ เป็นเครื่องปกคลุมหุ้มห่อสัตว์โลกนี้ ซึ่งนุงเหมือนกลุ่มด้ายอันยุ่งเหยิง ขอดเป็นปม เป็นเหมือนหญ้ามุงกระต่ายและหญ้าปล้อง ไม่ให้ล่วงพ้นอบาย ทุคติ วินิบาต และสงสารไปได้นั้น เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัณหาวิจริต ๑๘ ประการนี้ อาศัยขันธบัญจกภายใน ตัณหาวิจริต ๑๘ ประการนี้ อาศัยขันธบัญจกภายนอก ตัณหาวิจริต ๑๘ ประการอันอาศัยขันธบัญจกภายในเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีความถือว่า เรามี ก็ย่อมมีความถือว่า เราเป็นอย่างนี้ เราเป็นอย่างนั้น

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 539

เราเป็นอย่างอื่น เราไม่เป็นอยู่ เราพึงเป็นอย่างนี้ เราพึงเป็นอย่างนั้น เราพึงเป็นอย่างอื่น แม้ไฉนเราพึงเป็น แม้ไฉนเราพึงเป็นอย่างนี้ แม้ไฉนเรา พึงเป็นอย่างนั้น แม้ไฉนเราพึงเป็นอย่างอื่น เราจักเป็น เราจักเป็นอย่างนี้ เราจักเป็นอย่างนั้น เราจักเป็นอย่างอื่น ตัณหาวิจริต ๑๘ ประการนี้อาศัย ขันธบัญจกภายใน. ตัณหาวิจริต ๑๘ ประการอันอาศัยขันธบัญจกภายนอกเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีความถือว่า เรามีด้วยขันธบัญจกนี้ ก็ย่อมมีความถือว่า เราเป็นอย่างนี้ด้วยขันธบัญจกนี้ เราเป็นอย่างนั้นด้วยขันธบัญจกนี้ เราเป็นอย่างอื่นด้วยขันธบัญจกนี้ เราเป็นอยู่ด้วยขันธบัญจกนี้ เราไม่เป็นอยู่ด้วยขันธบัญจกนี้ เราพึงเป็นด้วยขันธบัญจกนี้ เราพึงเป็นอย่างนี้ ด้วยขันธบัญจกนี้ เราพึงเป็นอย่างอื่นด้วยขันธบัญจกนี้ เราพึงเป็นอย่างอื่น ด้วยขันธบัญจกนี้ แม้ไฉนเราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยขันธบัญจกนี้ แม้ไฉนเราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยขันธบัญจกนี้ แม้ไฉนเราพึงเป็นอย่างอื่นด้วยขันธบัญจกนี้ เราจักเป็นด้วยขันธบัญจกนี้ เราจักเป็นอย่างนี้ด้วยขันธบัญจกนี้ เราจักเป็นอย่างนั้นด้วยขันธบัญจกนี้ เราจักเป็นอย่างอื่นด้วยขันธบัญจกนี้ ตัณหาวิจริต ๑๘ ประการนี้อาศัยขันธบัญจกภายนอก ตัณหาวิจริต ๑๘ ประการอาศัยขันธบัญจกภายใน ตัณหาวิจริต ๑๘ ประการอาศัยขันธบัญจกภายนอก ด้วยประการฉะนี้ รวมเรียกว่า ตัณหาวิจริตเห็นปานนี้ ที่เป็นอดีต ๓๖ อนาคต ๓๖ เป็น ปัจจุบัน ๓๖ รวมเป็นตัณหาวิจริต ๑๐๘ ด้วยประการฉะนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัณหานี้นั้นแล เช่นดังข่าย ท่องเที่ยวไปแผ่ซ่านไป เกาะเกี่ยวอยู่ในอารมณ์ต่างๆ เป็นเครื่องปกคลุมหุ้มห่อสัตว์โลกนี้ ซึ่งนุงเหมือน ด้ายอันยุ่งเหยิง ขอดเป็นปมเป็นเหมือนหญ้ามุงกระต่ายและหญ้าปล้อง ไม่ให้ล่วงพ้นอบาย ทุคติวินิบาต และสงสารไปได้.

จบตัณหาสูตรที่ ๙

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 540

อรรถกถาตัณหาสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในตัณหาสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ชาลินึ คือ เสมือนตาข่าย. อธิบายว่า ขึ้นชื่อว่าตาข่ายที่เขาถักไว้ยุ่งเหยิงโดยรอบ ฉันใด แม้ตัณหาก็ฉันนั้น ท่านเรียกว่า ชาลินี เพราะเป็นเสมือนตาข่าย. ตัณหาชื่อว่า ชาลินี เพราะตัณหานี้ครอบงำภพ ๓ อยู่ มีตาข่ายอันเป็นส่วนของตนในภพนั้นๆ ดังนี้ก็มี. บทว่า สํสริตํ คือ ท่องไปในภพนั้นๆ อยู่. บทว่า วิสฏํ ได้แก่ แผ่ไป คือ ซ่านไป. บทว่า วิสตฺติกํ ได้แก่ ข้องติดอยู่ในภพนั้นๆ. อีกอย่างหนึ่ง พึงเห็นความโดยนัย เป็นต้นว่า ตัณหาชื่อวิสัตติกา มีรากเป็นพิษ ตัณหาชื่อวิสัตติกา มีผลเป็นพิษ ดังนี้. บทว่า อุทฺธสฺโต ได้แก่ ปกคลุมเบื้องบน. บทว่า ปริโยนทฺโธ ได้แก่ หุ้มรัดไว้โดยรอบ

บทว่า ตนฺตากุลกชาโต คือ ยุ่งเหยิงเหมือนด้ายยุ่ง. อธิบายว่า ด้ายของช่างหูก เก็บไว้ไม่ดี ถูกหนูกัด ย่อมยุ่งเหยิงในที่นั้นๆ ยากที่จะกำหนด ปลายกับปลาย หรือโคนกับโคน ว่านี้ปลาย นี้โคนดังนี้ ฉันใด สัตว์ทั้งหลาย ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถูกตัณหานี้รึงรัด วุ่นวายยุ่งเหยิง ไม่สามารถจะทำทางแล่นออกแห่งตัณหาของตนให้ตรงได้. บทว่า คุลาคุณฺฑิกชาโต ได้แก่ ด้ายที่ชุบน้ำข้าวของช่างหูก ท่านเรียกว่า คุลาคุณฑิกะ (ด้ายชุบน้ำข้าว) อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า รังของนางนกชื่อว่า คุลา ดังนี้ก็มี พึงประกอบความโดยนัยก่อนว่า แม้ทั้งสองนั้น ก็ยุ่งยากที่จะกำหนดปลายกับปลาย หรือ โคนกับโคน ฉันใด.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 541

บทว่า มุญฺชปพฺพชภูโต ได้แก่ เกิดเป็นดุจหญ้ามุงกระต่าย และหญ้าปล้อง คือ โลกเกิดเป็นเช่นนั้น. การที่จะถือเอาเชือกที่เขาทุบหญ้าเหล่านั้นๆ ทำแล้วตกไปในที่ไหนๆ ในเวลาที่มันเก่าแล้ว ก็ยากที่จะเก็บกำหนดปลายหรือโคนของหญ้าเหล่านั้นได้ว่า นี้ปลาย นี้โคน ดังนี้ ผู้ที่ตั้งอยู่ในความพยายาม เฉพาะตัวจึงสามารถทำเชือกแม้นั้นให้ตรงได้ เว้นพระโพธิสัตว์เสีย สัตว์อื่นก็ไม่สามารถจะทำลายตาข่าย คือตัณหา โดยธรรมดาของตนแล้ว ทำทางแล่นออก จากทุกข์ของตนให้ตรงได้ ฉันใด โลกนี้ก็ฉันนั้น ถูกตาข่ายคือตัณหาหุ้มรัดไว้ ย่อมไม่ล่วงพ้นอบาย ทุคติ วินิบาต วัฏสงสารไปได้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อปาโย ได้แก่ นรก กำเนิดเดียรัจฉาน เปตติวิสัยและอสุรกาย. แม้ทั้งหมดเหล่านั้นท่านเรียกว่า อบาย เพราะไม่มีความเจริญ กล่าวคือ ความงอกงาม. อนึ่ง ชื่อว่าทุคติเพราะความเป็นทางไปแห่งทุกข์. ชื่อวินิบาต เพราะตกไปจากกายที่เป็นสุข. ส่วนนอกนี้ มีอธิบายว่า

ลำดับแห่งขันธ์ ธาตุ อายตนะ เป็นไปอยู่ไม่ขาดสาย ท่านเรียกว่า สงสาร.

โลกไม่ล่วงไม่พ้นทั้งหมดนั้น โดยที่แท้โลกถือเอาจุติและปฏิสนธิ บ่อยๆ อย่างนี้ คือ ต่อจากจุติถือเอาปฏิสนธิ ต่อจากปฏิสนธิถือเอาจุติ ย่อมหมุนเวียนไปในภพ ๓ กำเนิด ๔ คติ ๕ วิญญาณฐิติ ๗ สัตตาวาส ๙ ดุจเรือถูกลมซัดไปในมหาสมุทร ดุจโคที่เทียมยนต์.

บทว่า อชฺฌตฺติกสฺส อุปาทาย แปลว่า อาศัยขันธบัญจกภายใน. บทว่า อชฺฌตฺติกสฺส นี้เป็นฉัฏฐิวิภัตติลงในอรรถแห่งทุติยาวิภัตติ. บทว่า พาหริสฺส อุปาทาย แปลว่า อาศัยขันธบัญจกภายนอก. บทว่า อสฺมีติภิกฺขเว สติ ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การรวมถือเอาด้วยอำนาจตัณหา มานะทิฏฐิ อาศัยขันธบัญจกภายในนี้ใด ย่อมมีความนึกว่าเราเป็นย่อมมี คือ ความนึกในขันธบัญจกนั้น. ก็ในบททั้งหลายมีอาทิว่า อิตฺถสฺมีติ โหติ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 542

ดังนี้ เมื่อมีการยึดถือโดยรวบรัดอย่างนี้ว่า เป็นเรา ย่อมเป็นอันยึดถือโดยส่วนสอง คือ ไม่เทียบและเทียบ ในบทเหล่านั้นบทว่า อนุปนิธาย ความว่า ไม่เทียบเหตุอื่น คือ ความนึกว่าเราเป็นอย่างนี้ ย่อมมี เพราะทำให้เป็นอารมณ์ในธรรม คือความลามกตามภาวะของตน อธิบายว่า ความนึกว่าใน บรรดากษัตริย์เป็นต้น เราเป็นอย่างนี้ ย่อมมีด้วยอำนาจตัณหามานะและทิฏฐิ อย่างนี้. นี้คือการไม่เทียบยึดถือ. ส่วนการเทียบยึดถือมีสองอย่าง คือ โดยเสมอกัน และโดยไม่เสมอกัน เพื่อทรงแสดงข้อนั้น จึงตรัสว่า เราเป็นอย่างนี้ และเราเป็นอย่างอื่น. ในบทเหล่านั้นบทว่า เอวสฺมิ นี้ได้แก่ เทียบยึดถือ โดยเสมอกันว่า เราเป็นเหมือนกษัตริย์องค์นี้ เป็นเหมือนพราหมณ์ผู้นี้. บทว่า อญฺถาสฺมิ ความว่า ก็ยึดถือโดยไม่เสมอกันดังนี้ว่า เราเป็นคนเลว หรือเป็นคนดีกว่า นอกจากกษัตริย์องค์นี้ พราหมณ์ผู้นี้. พึงทราบตัณหาวิจริต (ความคิดนึกด้วยอำนาจตัณหา) ๔ อย่าง เหล่านี้โดยอำนาจปัจจุบันกาลก่อน. ก็ตัณหาวิจริตสองเหล่านี้คือ อสสฺมีติ สตสฺมีติ พึงทราบว่า เพราะเหตุที่ บทว่า อสสฺมิ นี้เป็นชื่อของความเที่ยงของสิ่งที่ไม่เที่ยง บทว่า สตสฺมิ เป็นชื่อของความไม่เที่ยงของสิ่งที่เที่ยง ฉะนั้นจึงตรัสด้วยอำนาจสัสสตทิฏฐิ และอุจเฉททิฏฐิ. ตัณหาวิจริต ๔ มีคำว่าสันติเป็นต้น ต่อจากนี้ตรัสด้วยอำนาจ ความสงสัยและความปริวิตก. ในตัณหาวิจริตทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า สนฺติ โหติ พึงทราบความอย่างนี้ว่า ความนึกว่า เราพึงเป็นย่อมมี. ส่วนอธิบาย ในบทนี้พึงถือเอาโดยนัยที่กล่าวแล้วในหมวด ๔ ก่อนๆ อีกอย่างหนึ่ง ตัณหา วิจริต ๔ มีคำว่าสันติเป็นอาทิ ตรัสด้วยอำนาจความปรารถนา และความตั้งใจ อย่างนี้ว่า ไฉนเราจะพึงเป็นดังนี้. ตัณหาวิจริตแม้เหล่านั้นพึงทราบโดยนัยที่ กล่าวแล้วในหมวด ๔ ก่อนๆ ก็ตัณหาวิจริต ๔ มีคำว่า ภวิสฺสนฺติ เป็นอาทิ ตรัสด้วยอำนาจอนาคตกาล. พึงทราบเนื้อความแห่งตัณหาวิจริตเหล่านั้น โดย นัยที่กล่าวแล้วในหมวด ๔ ก่อนๆ นั้นแล.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 543

บัณฑิตพึงทกให้แจ้งตัณหาวิจริต ๑๘ เหล่านี้ คือ ทิฏฐิสีสะ ๒ สุทธสีสะ ๔ สีสมูลกะ ๑๒.

ก็ในคุณหาวิจริตเหล่านั้น ๒ หัวข้อเหล่านี้คือ อสฺมีติ ความนึกว่า เราเป็น ๑ อิตฺถสฺมีติ ความนึกว่าเราเป็นอย่างนี้ ๑ ชื่อว่า ทิฏิสีสะ. ๔ หัวข้อเหล่านั้นคือ เอวสฺมีติ ความนึกว่าเราเป็นอย่างนั้น ๑ อญฺาถาสฺมีติ ความนึกว่าเราเป็นอย่างอื่น ๑ อสสฺมีติ ความนึกว่าเราเป็นคนไม่ดี ๑ สตสฺมีติ ความนึกว่า เราเป็นคนดี ๑ ชื่อสุทธสีสะ. ๑๒ หัวข้อ คือ ตัณหาวิจริต ๓ มีอาทิว่า อิตฺถสฺมีติ ชื่อว่าสีสมูลกะ พึงทราบธรรมคือตัณหาวิจริต ๑๘ เหล่านี้คือ ทิฏฐสีสะ ๒ สุทธสีสะ ๔ สีสมูลกะ ๑๒ ดังกล่าวมาฉะนี้. พึงทราบตัณหาวิจริต ๑๘ อาศัยขันธปัญจกภายในเหล่านี้ก่อน. ส่วนในตัณหาวิจริตอาศัย ขันธปัญจกภายนอกก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า อิมินา พึงทราบความต่างกันนี้ คือ ด้วยรูปนี้หรือ ฯลฯ ด้วยวิญญาณนี้. บทที่เหลือเป็นเช่นนั้นเหมือนกัน. บทว่า อิติ เอวรูปานิ อตีตานิ ฉตฺตึส ได้แก่ตัณหาวิจริต ๓๖ ในกาลเป็นอดีตของบุคคลแต่ละคน. บทว่า อนาคตานิ ฉตฺตึส ได้แก่ตัณหาวิจริต ๓๖ ในอนาคตกาล ของบุคคลแต่ละคน. บทว่า ปจฺจุปฺปนฺนานิ ฉตฺตึส ได้แก่ ตัณหาวิจริต ๓๖ ในปัจจุบันกาลของบุคคลคนหนึ่ง หรือมากคนตามเหตุที่เป็นจริง. ตัณหาวิจริตในอดีตกาล ๓๖ ในอนาคตกาล ๓๖ ในปัจจุบันกาล ๓๖ โดยทำนองนี้แหละของสัตว์ทั้งหมด. จริงอยู่ สัตว์ทั้งหลายอันต่างกันด้วยตัณหามานะทิฏฐิ หาประมาณมิได้ ไม่มีที่สุด. ก็ในบทว่า อฏฺตณฺหา วิจริตสตํ โหติ นี้ พึงเห็นความอย่างนี้ว่า ตัณหาวิจริตรวมเป็น ๑๐๘ ดังนี้.

จบอรรถกถาตัณหาสูตรที่ ๙