พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. นิกกัฏฐสูตร ว่าด้วยบุคคล ๔ จําพวก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ต.ค. 2564
หมายเลข  38930
อ่าน  330

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 356

ตติยปัณณาสก์

ปุคคลวรรคที่ ๔

๘. นิกกัฏฐสูตร

ว่าด้วยบุคคล ๔ จําพวก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 356

๘. นิกกัฏฐสูตร

ว่าด้วยบุคคล ๔ จำพวก

[๑๓๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๔ จำพวกเป็นไฉน คือ

นิกฺกฏฺากาโย อนิกฺกฏฺจิตฺโต บุคคลมีกายออก แต่จิตไม่ออก

อนิกฺกฏฺกาโย นิกฺกฏฺจิตฺโต บุคคลมีกายไม่ออก แต่จิตออก

อนิกฺกฏฺกาโย จ อนิกฺกฏฺจิตฺโต จ บุคคลมีกายก็ไม่ออก จิตก็ไม่ออก

นิกฺกฏฺกาโย จ นิกฺกฏฺจิตฺโต จ บุคคลมีกายก็ออก จิตก็ออก

บุคคลมีกายออก แต่จิตไม่ออกเป็นอย่างไร? บุคคลบางคนเสพเสนาสนะป่าเงียบสงัด แต่บุคคลนั้นตรึกกามวิตกบ้าง พยาบาทวิตกบ้าง วิหิงสาวิตกบ้าง ในเสนาสนะป่าเงียบสงัดนั้น อย่างนี้แล บุคคลมีกายออก แต่จิตไม่ออก

บุคคลมีกายไม่ออก แต่จิตออกเป็นอย่างไร? บุคคลบางคนมิได้เสพเสนาสนะป่าเงียบสงัดเลย แต่บุคคลนั้นตรึกเนกขัมมวิตกบ้าง อพยาบาทวิตกบ้าง อวิหิงสาวิตกบ้าง ในเสนาสนะนั้น อย่างนี้แล บุคคลมีกายไม่ออก แต่จิตออก

บุคคลมีกายก็ไม่ออก จิตก็ไม่ออกเป็นอย่างไร? บุคคลบางคนมิได้เสพเสนาสนะป่าเงียบสงัด ทั้งตรึกกามวิตกบ้าง พยาบาทวิตกบ้าง วิหิงสาวิตกบ้าง ในเสนาสนะนั้น อย่างนี้แล บุคคลมีกายก็ไม่ออก จิตก็ไม่ออก

บุคคลมีกายก็ออก จิตก็ออกเป็นอย่างไร? บุคคลบางคนเสพเสนาสนะป่าเงียบสงัด ทั้งตรึกเนกขัมมวิตกบ้าง ตรึกอพยาบาทวิตกบ้าง ตรึกอวิหิงสาวิตกบ้าง ในเสนาสนะนั้น อย่างนี้แล บุคคลมีกายก็ออก จิตก็ออก

ภิกษุทั้งหลาย นี้แลบุคคล ๔ จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก.

จบนิกกัฏฐสูตรที่ ๘

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 357

อรรถกถานิกกัฏฐสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในนิกกัฏฐสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า นิกฺกฏฺกาโย แปลว่า มีกายออกไป. บทว่า อนิกฺกฏฺจิตฺโต แปลว่า มีจิตไม่ออก. ท่านอธิบายว่า คนมีกายเท่านั้นออกจากบ้าน แม้อยู่ในป่า ก็ยังเอาจิตเข้าบ้านอยู่นั่นเอง. เนื้อความในบททุกบท พึงทราบโดยนัยนี้.

จบอรรถกถานิกกัฏฐสูตรที่ ๘