พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. อุคฆฏิตัญูสูตร ว่าด้วยบุคคล ๔ จําพวก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ต.ค. 2564
หมายเลข  38925
อ่าน  399

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 350

ตติยปัณณาสก์

ปุคคลวรรคที่ ๔

๓. อุคฆฏิตัญุสูตร

ว่าด้วยบุคคล ๔ จําพวก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 350

๓. อุคฆฏิตัญญุสูตร

ว่าด้วยบุคคล ๔ จำพวก

[๑๓๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก ๔ จำพวกเป็นไฉน คือ

อุคฆปฏิตัญญูบุคคล

วิปจิตัญญูบุคคล

เนยยบุคคล

ปทปรมบุคคล

นี้แล บุคคล ๔ จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก.

จบอุคฆฏิตัญญุสูตรที่ ๓

อรรถกถาอุคฆฏิตัญญุสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอุคฆฏิตัญญุสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-

พึงทราบความต่างกันแห่งบุคคลแม้ ๔ จำพวก ด้วยสูตรนี้ ดังนี้ อุคฆฎิตัญญูบุคคลเป็นไฉน? บุคคลตรัสรู้ธรรมขณะที่ท่านยกหัวข้อขึ้นแสดง เรียกว่า อุคฆฏิตัญญูบุคคล. วิปจิตัญญูบุคคลเป็นไฉน? บุคคลตรัสรู้ธรรม ต่อเมื่อท่านแจกแจงความโดยพิสดาร เรียกว่า วิปจิตัญญูบุคคล. เนยยบุคคล เป็นไฉน? บุคคลต้องเรียน ต้องสอบถาม ต้องใส่ใจโดยแยบคาย ต้องคบหา อยู่ใกล้กัลยาณมิตร จึงตรัสรู้ธรรมตามลำดับขั้นตอน เรียกว่า เนยยบุคคล. ปทปรมบุคคลเป็นไฉน? บุคคลฟังมากก็ดี พูดมากก็ดี ทรงจำมากก็ดี สอนมากก็ดี ยังไม่ตรัสรู้ธรรมในชาตินั้น เรียกว่า ปทปรมบุคคล.

จบอรรถกถาอุคฆฏิตัญญุสูตรที่ ๓