พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. ตติยสมาธิสูตร ว่าด้วยบุคคล ๔ จําพวก ที่ ๓

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ต.ค. 2564
หมายเลข  38884
อ่าน  276

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 267

ทุติยปัณณาสก์

อสุรวรรคที่ ๕

๔. ตติยสมาธิสูตร

ว่าด้วยบุคคล ๔ จําพวก ที่ ๓


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 267

๔. ตติยสมาธิสูตร

ว่าด้วยบุคคล ๔ จำพวก ที่ ๓

[๙๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ ฯลฯ คือบุคคล บางคนในโลกนี้เป็นผู้ได้ความสงบใจในภายใน แต่ไม่ได้อธิปัญญาและธัมมวิปัสสนา ฯลฯ บางคนได้ทั้งความสงบใจในภายใน ทั้งอธิปัญญาและธัมมวิปัสสนา

ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลใดที่ได้ความสงบใจในภายใน แต่ไม่ได้อธิปัญญาและธัมมวิปัสสนา บุคคลนั้นควรเข้าไปหาบุคคลผู้ได้อธิปัญญาและธัมมวิปัสสนาแล้วได้ถามว่า สังขารทั้งหลาย จะพึงเห็นอย่างไร จะพึงกำหนดอย่างไร จะพึงเห็นแจ้งอย่างไร บุคคลผู้ได้อธิปัญญาและธัมมวิปัสสนา ย่อมจะกล่าวแก้แก่บุคคลนั้นตามที่ตนเห็นตามที่ตนรู้ว่า สังขาร ทั้งหลายพึงเห็นอย่างนี้ พึงกำหนดเอาอย่างนี้ พึงเห็นแจ้งอย่างนี้ ต่อไป บุคคลนั้น ก็ย่อมจะได้ทั้งความสงบใจในภายใน ทั้งอธิปัญญาและธัมมวิปัสสนา

บุคคลใดที่ได้อธิปัญญาและธัมมวิปัสสนา แต่ไม่ได้ความสงบใจในภายใน บุคคลนั้นควรเข้าไปหาบุคคลผู้ได้ความสงบใจในภายใน แล้วไต่ถาม ว่าจิตจะพึงดำรงไว้อย่างไร พึงน้อมไปอย่างไร พึงทำให้เป็นอารมณ์เดียวอย่างไร

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 268

พึงทำให้เป็นสมาธิอย่างไร บุคคลผู้ได้ความสงบใจภายใน ย่อมจะกล่าวแก้ แก่บุคคลนั้นตามที่คนเห็นตามที่ตนรู้ว่า จิตพึงดำรงไว้อย่างนี้ พึงน้อมไปอย่างนี้ พึงทำให้เป็นอารมณ์เดียวอย่างนี้ พึงทำให้เป็นสมาธิอย่างนี้ ต่อไป บุคคลนั้น ก็ย่อมจะได้ทั้งอธิปัญญาและธัมมวิปัสสนา ทั้งความสงบใจในภายใน

บุคคลใดที่ไม่ได้ทั้งความสงบใจในภายใน ทั้งอธิปัญญาและธัมมวิปัสสนา บุคคลนั้นควรเข้าไปหาบุคคลผู้ได้ธรรมทั้ง ๒ อย่างนั้น แล้วไต่ถาม ว่าจิตจะพึงดำรงไว้อย่างไร พึงน้อมไปอย่างไร พึงทำให้เป็นอารมณ์เดียวอย่างไร พึงทำให้เป็นสมาธิอย่างไร สังขารทั้งหลายจะพึงเห็นอย่างไร พึงกำหนดเอาอย่างไร พึงเห็นแจ้งอย่างไร บุคคลผู้ได้ธรรมทั้ง ๒ อย่างนั้น ย่อมจะกล่าวแก้แก่บุคคลนั้นตามที่ตนเห็นตามที่ตนรู้ว่า จิตพึงดำรงไว้อย่างนี้ พึงน้อมไปอย่างนี้ พึงทำให้เป็นอารมณ์เดียวอย่างนี้ พึงทำให้เป็นสมาธิอย่างนี้ สังขารทั้งหลายพึงเห็นอย่างนี้ พึงกำหนดอย่างนี้ พึงเห็นแจ้งอย่างนี้ ต่อไปบุคคลนั้น ก็ย่อมจะได้ความสงบใจภายในทั้งอธิปัญญาและธัมมวิปัสสนา

บุคคลใดที่ได้ทั้งความสงบใจภายใน ทั้งอธิปัญญาและธัมมวิปัสสนา บุคคลนั้นควรตั้งอยู่ในกุศลธรรมทั้ง ๒ นั้น แล้วทำการประกอบความเพียร เพื่อความสิ้นอาสวะยิ่งขึ้นไป

ภิกษุทั้งหลาย นี้แล บุคคล ๔ จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก.

จบตติยสมาธิสูตรที่ ๔

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 269

อรรถกถาตติยสมาธิสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในตติยสมาธิสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-

ในบทว่า เอวํ โข อาวุโส สงฺขารา ทฏฺพฺพา เป็นต้น พึงเห็นเนื้อความอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมดาว่าสังขารทั้งหลาย พึงพิจารณาโดยความเป็นของไม่เทียง พึงกำหนดโดยความไม่เที่ยง พึงเห็นแจ้งโดยความไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตาก็อย่างนั้น ดังนี้. แม้ในบทว่า เอวํ โข อาวุโส จิตฺตํ สณฺเปตพฺพํ เป็นต้น พึงเห็นเนื้อความอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย จิตจะพึงดำรงอยู่ได้ด้วยอำนาจปฐมฌาน พึงน้อมใจไปด้วยอำนาจปฐมฌาน พึงทำอารมณ์ให้เป็นหนึ่งด้วยอำนาจปฐมฌาน พึงให้เป็นสมาธิด้วยปฐมฌาน จิตจะพึงดำรงอยู่ได้ด้วยอำนาจทุติยฌานเป็นต้น ก็อย่างนั้นดังนี้. ในพระสูตร ๓ สูตรเหล่านี้ ตรัสสมถะ และวิปัสสนาเป็นโลกิยะและโลกุตระอย่างเดียว.

จบอรรถกถาตติยสมาธิสูตรที่ ๔