พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. สัชฌายสูตร เทวดาเข้าหาพระสาธยายธรรม

 
บ้านธัมมะ
วันที่  30 ส.ค. 2564
หมายเลข  36430
อ่าน  331

[เล่มที่ 25] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 373

๑๐. สัชฌายสูตร

เทวดาเข้าหาพระสาธยายธรรม


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 25]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 373

๑๐. สัชฌายสูตร

เทวดาเข้าหาพระสาธยายธรรม

[๗๘๖] สมัยหนึ่ง ภิกษุรูปหนึ่ง พำนักอยู่ในแนวป่าแห่งหนึ่งในแคว้นโกศล สมัยนั้น ภิกษุนั้น นัยว่าเมื่อก่อนเป็นผู้มากไปด้วยการสาธยายเกินเวลาอยู่ สมัยต่อมา เธอเป็นผู้ขวนขวายน้อยเป็นผู้นิ่ง ยังกาลให้ล่วงไป.

[๗๘๗] ครั้งนั้นแล เทวดาผู้สิงอยู่ในแนวป่านั้น ไม่ได้ฟังธรรมของเธอ จึงเข้าไปหาถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวกะเธอด้วยคาถาว่า

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 374

ภิกษุ ท่านอยู่ร่วมกับภิกษุทั้งหลาย ย่อมไม่สาธยายบทแต่งพระธรรม เพราะเหตุไร บุคคลฟังธรรมแล้วย่อมได้ความเลื่อมใส ผู้กล่าวธรรมย่อมได้รับความสรรเสริญในทิฏฐธรรมเทียว.

[๗๘๘] ภิกษุกล่าวตอบว่า

ความพอใจในบทแห่งพระธรรมได้มีแล้วในกาลก่อน จนถึงกาลที่เรามาร่วมด้วยวิราคะ และเพราะเรามาร่วมด้วยวิราคะแล้ว สัตบุรุษทั้งหลายรู้ทั่วถึง รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ อย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ได้กล่าวการวางเสีย.

อรรถกถาสัชฌายสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสัชฌายสูตรที่ ๑๐ ต่อไปนี้ :-

บทว่า ยํ สุทํ สักว่าเป็นนิบาต. บทว่า สชฺฌายพหุโล ความว่า เมื่อท่องอยู่ด้วยอำนาจแห่งนิสสรณะและปริยัติ คือท่องตลอดเวลามากกว่า ได้ยินว่า ภิกษุนั้นปัดกวาดที่พักกลางวันของอาจารย์แล้วยืนดูอาจารย์. เมื่อเห็นอาจารย์นั้นกำลังเดินมา จึงลุกขึ้นไปรับบาตรและจีวร. เมื่ออาจารย์นั่งบนอาสนะที่ปูไว้แล้ว ก็เอาพัดใบตาลพัดให้ บอกน้ำฉันให้ ล้างเท้า ทาน้ำมันไหว้แล้วยืนเรียนอุเทศทำการท่องตลอดถึงพระอาทิตย์ตก. ภิกษุนั้น เอาน้ำ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 375

เข้าไปตั้งไว้ในซุ้ม จุดไฟในเตาก่อน. เมื่ออาจารย์อาบน้ำมาแล้ว ก็เช็ดน้ำที่เท้า นวดหลัง ไหว้แล้วเรียนอุเทศ ทำการท่องในปฐมยาม พักผ่อนร่างกายในมัชฌิมยาม ลุกขึ้นในปัจฉิมยาม เรียนอุเทศทำการท่องจนถึงอรุณขึ้นแล้ว จึงพิจารณาเสียงที่ดับไปแล้ว โดยความสิ้นไป. เจริญวิปัสสนาในขันธ์ ๕ คืออุปาทายรูปที่เหลือจากนั้น ภูตรูป นามรูปแล้วบรรลุพระอรหัต. บทว่า อปฺโปสฺสุโก ความว่า ไม่ขวนขวายในการเรียนอุเทศและในการทำการท่อง. บทว่า สกมายติ ความว่า ภิกษุนั้นคิดว่า บัดนี้ เราจะพึงทำการท่องเพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์ของเรานั้นถึงที่สุดแล้ว บัดนี้จะเป็นประโยชน์อะไรกับการท่องของเราดังนี้แล้ว ยังเวลาให้ล่วงไปด้วยความสุขอันเกิดจากผลสมาบัติ. บทว่า อชฺฌภาสิ ความว่า เทวดาคิดว่า ความไม่สบายเกิดแก่พระเถระ หรือว่าแก่อาจารย์ของท่าน เพราะเหตุไรหนอ ท่านจึงไม่ท่องด้วยเสียงอันไพเราะเหมือนในก่อน ดังนี้แล้วจึงไปยืนพูดอยู่ในที่ใกล้. พระพุทธวจนะทั้งปวงท่านประสงค์เอาในบทว่า ธมฺมปทานิ. บทว่า นาธิยสิ แปลว่า ไม่ท่อง. บาลีว่า นาทิยสิ บ้าง ความว่า. ไม่ถือเอา. บทว่า ปสํสํ คือ ผู้กล่าวธรรมย่อมได้ความสรรเสริญ. ผู้ที่กล่าวธรรมนั้นย่อมมีผู้สรรเสริญว่า ผู้ทรงจำอภิธรรม ผู้ทรงจำพระสูตร ผู้ทรงพระวินัย. บทว่า วิราเคน ได้แก่ ด้วยอริยมรรค. บทว่า อญฺาย แปลว่า รู้แล้ว. บทว่า นิกฺเขปนํ ความว่า ท่านแสดงแก่พระเถระนั้นว่า สัตบุรุษย่อมกล่าววิสัชนาสิ่งที่เห็นแล้วและฟังแล้วเป็นต้น. ไม่ใช่ (แสดง) แก่พระพุทธเจ้า. อธิบายว่า พระเถระให้วิสัชนาพุทธพจน์ด้วยคำประมาณเท่านี้. ไม่พึงเป็นผู้ท่องตลอดกาลเป็นนิตย์. แต่ว่าภิกษุนั้นท่องแล้วรู้ว่า เราสามารถเป็นผู้ทรงจำอรรถหรือธรรมประมาณเท่านี้ ดังนี้แล้ว พึงปฏิบัติเพื่อทำที่สุดแห่งวัฏทุกข์.

จบอรรถกถาสัชฌายสูตรที่ ๑๐