แด่ชีวิตที่ร่ำไห้ ของสัตว์โลก

 
terry
วันที่  4 พ.ค. 2550
หมายเลข  3633
อ่าน  7,086

เพื่อให้เราตระหนักถึงคำที่พระพุทธตรัสว่า เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก พาไปดูเบื้องหลัง ของชีวิตสัตว์ที่เราท่านทั้งหลายบริโภคกัน ตั้งแต่ถูกเลี้ยงมา กระทั่งถูกลำเลียงมาฆ่า มองให้เห็นถึงใจเขาใจเรา โดยเอาใจเราไปใส่ใจเขา รับรู้และรู้สึกเหมือนเขา นำมาเปรียบกับเราอีกที เป็นความจริงว่า สัตว์ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเขาและเราก็ย่อมรักตัว กลัวตายทั้งสิ้น ทุกเหล่าสรรพสัตว์มีวิญญาณ การรับรู้ เจ็บเป็น กลัวเป็น เราท่านซึ่งเป็นมนุษย์ (แปลว่าผู้ที่มีใจสูง) ที่ยังคงบริโภคสัตว์อื่นอยู่ด้วยความสะใจ จะสะท้อนคิดไหมว่า หากเราโดนกระทำเช่นนั้นบ้าง หรืออาจจะกับพ่อแม่และคนที่เรารัก เราจะรู้สึกอย่างไร กรรมใดใครก่อ คนนั้นก็ต้องรับกรรม กินตามใจปาก ตามความอยาก จนเคยตัว โดยขาดปัญญา ไม่คำนึงถึงที่มาว่าทุกชิ้นเนื้อที่เข้าปาก มันคือชีวิตที่สูญเสียไป ว่ากันว่า "ป่าช้าที่ใหญ่ที่สุดในโลกนี้ อยู่ที่ท้องคน" เป็นความจริง เพราะเติบโตมาจนบัดนี้ จะมีใครสักกี่คนรู้ได้ว่า มีกี่ศพ กี่ชีวิตแล้ว ที่ต้องสังเวยให้แก่เรานั้น เพราะว่ามันมากมายมหาศาล กระแสแห่งกรรมย่อมทำหน้าที่ของมันโดยเที่ยงธรรม ก่อนจะสายเกินไป มากู้เมตตาธรรม ที่มันแอบอยู่ในหลืบใจเรากลับคืนมาสิครับ ใครที่ผ่านการเข้าค่ายคุณธรรมมาบ้างแล้ว อาจจะได้ดูบ้างแล้ว ก็ถือว่าเป็นการมาย้ำสำนึกเพื่อนสมาชิกอื่นๆ ยิ่งต้องดู ครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
panee.r
วันที่ 5 พ.ค. 2550

คุณคงลืมไปว่าทุกชีวิตมีกรรมเป็นของๆ ตน มีกรรมเป็นทายาท มีกรรมเป็นเผ่าพันธ์ุ แม้ตัวเราเองก็ไม่พ้นกรรม และไม่ว่ายุคสมัยใด ผู้มีกิเลสมากหรือน้อยกว่าผู้ไม่มีกิเลส เราจะไปห้ามคนอื่นไม่ให้ทำอกุศลได้หรือไม่ สำหรับการบริโภคเนื้อสัตว์ ในสมัยพุทธกาลพระพุทธองค์ผู้ที่ทรงปัญญา ไม่มีใครเสมือน ได้บัญญัติข้อปฏิบัติเฉพาะเพศบรรพชิตเท่านั้น มิให้บริโภคเนื้อที่มีส่วนรู้เห็นการฆ่า หรือฆ่าเฉพาะตน เพราะท่านทรงทราบดีถึงกิเลสและกรรมของสัตว์โลก

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 5 พ.ค. 2550

พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุฉันเนื้อบริสุทธิ์ ๓ ส่วน คือ

๑. ไม่เห็นเขาฆ่า

๒. ไม่ได้ยินเขาสั่งฆ่า

๓. ไม่รังเกียจ คือไม่สงสัยว่าเนื้อนี้เขาฆ่าเจาะจงมาให้เรา

อย่าลืมว่าสัตว์โลกเป็นที่ดูผลของบุญและบาปค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 5 พ.ค. 2550

เรามาเข้าใจก่อนครับว่า กรรมที่เป็นกุศลหรืออกุศล อยู่ที่เจตนา เป็นสำคัญ

องค์ของปาณาติบาตนั้น มี ๕ อย่าง คือ

๑. ปาโณ สัตว์มีชีวิต

๒. ปาณสัญญิตา รู้ว่าสัตว์มีชีวิต

๓. วธกจิตตัง มีจิตคิดฆ่า

๔. อุปักกโม มีความพยายาม

๕. เตนมรณัง สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น

ถามว่า ขณะที่ทานเนื้อ ขณะนั้นมีเจตนาฆ่าหรือเปล่าครับ หรือมีเจตนาที่จะบริโภค ถามต่อว่า คนที่ทานมังสวิรัติกับคนที่ทานเนื้อ จิตขณะนั้นต่างกันไหม ถ้าเป็นปุถุชน จิตขณะนั้น มีความต้องการ (โลภะ) เหมือนกันไหม ก็เจตนาที่จะทานเหมือนกัน โลภะเหมือนกันครับ พระอรหันต์ไม่มีกิเลสทานเนื้อ กับปุถุชนทานมังสวิรัติ จิตของคนทั้งสองที่ทาน ต่างกันไหม พระอรหันต์ติดในรสไหม พระอรหันต์มีเจตนาฆ่าเนื้อตอนนั้นไหม ปุถุชนทานมังสวิรัติ ติดในรสไหม ถ้าติดในรส (โลภะ) เป็นบุญหรือบาป ถ้าเป็นโลภะ เรื่องการห้ามค้าขายเนื้อสัตว์ที่ไม่สนับสนุน เพราะคนที่เลี้ยงสัตว์ เช่น สุกร วัว เพื่ออะไร ก็มีเจตนาเพื่อเอาไปฆ่า เพื่อขายให้คนอื่น ดังนั้น จึงมีเจตนาฆ่าด้วยการเลี้ยงสัตว์ไว้ก่อนครับ ดังนั้น จึงขึ้นอยู่กับเจตนา แต่ตอนทานเนื้อสัตว์ มิได้มีเจตนาฆ่า แต่มีเจตนาบริโภคครับ

ดังนั้น คำว่า การค้าขายเนื้อสัตว์ ไม่ใช่หมายถึง เอาเนื้อไปวางขาย แต่หมายถึง เลี้ยงสัตว์เพื่อเอาไปขาย ซึ่งก็ต้องฆ่าก่อนเอาไปขายครับ ต่างกับการบริโภคเนื้อสัตว์ ที่ขณะนั้นไม่มีเจตนาฆ่า

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
study
วันที่ 6 พ.ค. 2550

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 377

อรรถกถาวณิชชสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในวณิชชสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า วณิชฺชา ได้แก่ ทำการค้าขาย. บทว่า อุปาสเกน ได้แก่ ผู้ถึงสรณะ ๓. บทว่า สตฺถวณิชฺชา ได้แก่ ให้เขาทำอาวุธแล้วก็ขายอาวุธนั้น. บทว่า สตฺตวณิชฺชา ได้แก่ ขายมนุษย์. บทว่า ม สวณิชฺชา ได้แก่ เลี้ยงสุกรและเนื้อเป็นต้นขาย. บทว่า มชฺชวณิชฺชา ได้แก่ ให้เขาทำของเมาอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วก็ขายของเมา. บทว่า วิสวณิชฺชา ได้แก่ ให้เขาทำยาพิษแล้วก็ขายยาพิษนั้น. การทำด้วยตนเอง การชักชวนคนอื่นให้ทำการค้านี้ทั้งหมด ก็ไม่ควรด้วยประการฉะนี้.

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 6 พ.ค. 2550

นอกจากนี้ เรื่องเวรกรรมของผู้ประกอบอาชีพดังกล่าว มีมากเหลือหลาย ดังที่ปรากฏเป็นข่าวอยู่เนืองๆ นับแต่โบราณกาล และมีการบันทึกในหนังสือกฎแห่งกรรม การที่จะได้รับสิ่งที่ไม่ดีก็เพราะทำสิ่งที่ไม่ดี เช่น การฆ่าสัตว์ ซึ่งผู้ประกอบอาชีพก็อาจจะเกี่ยวเนื่องกับการฆ่าสัตว์ ขณะฆ่าสัตว์ ขณะนั้นทำบาป เพราะมีเจตนาฆ่า แต่ขณะบริโภคไม่มีเจตนาฆ่า จึงไม่ได้ทำอกุศลกรรม ครับ

คนที่แม้ทานมังสวิรัติก็ประสบเคราะห์กรรมได้ไหม ในเมื่อยังเป็นปุถุชน ก็ในอดีตชาติก็เคยทำอกุศลกรรมมาเช่นกันครับ พระพุทธองค์ได้พร่ำสอนเรื่อง เมตตา กรุณา ต่อสรรพสัตว์ เมตตา กรุณา ... เป็นธรรมที่ดีเป็นกุศล ขณะที่เมตตาคือขณะที่หวังดีนำประโยชน์ไปให้ ขณะที่ทานมังสวิรัติ จิตขณะนั้นหวังดีกับคนอื่นหรือเปล่า หรือว่าถ้าใครมาทำน้ำปลาหกใส่อาหารมังสวิรัติที่กำลังทานก็โกรธคนนั้น ขณะนั้นมีเมตตาหรือเปล่า หรือการทานมังสวิรัติ ทำให้มีเมตตามากขึ้น ยังโกรธ ไม่ชอบใครอยู่บ้างหรือเปล่าครับ ทานมังสวิรัติยังตบยุงหรือเปล่า หรือเพราะการฟังธรรม ทำให้มีเมตตามากขึ้น คนที่ทานเนื้อมีเมตตากับคนรอบข้างได้ไหม ดังนั้น อาหารจะทำอะไรได้ ถ้าจิตมากไปด้วยกิเลส สัตว์จะบริสุทธิ์ได้มิใช่เพราะอาหาร แต่เพราะคำสอนของพระพุทธเจ้า ขอยกข้อความในพระไตรปิฎก ว่า บุญ บาป อยู่ที่เจตนา และเรื่องพระพุทธเจ้าเสวยเนื้อหรือไม่? ลองอ่านดูนะครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 6 พ.ค. 2550
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 6 พ.ค. 2550
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
medulla
วันที่ 7 พ.ค. 2550
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
Anutta
วันที่ 9 พ.ค. 2550

ขออนุโมทนาและขอขอบคุณมาก สำหรับ คุณแล้วเจอกัน ที่กรุณาอธิบายและยกพระไตรปิฎกอ้างอิงเสมอ ทำให้ได้เข้าใจมากขึ้นจริงๆ อย่าหายไปไหนนะคะ สักวันคงต้องได้ถามแน่ๆ แต่ตอนนี้ยังไล่อ่านไม่หมดค่ะ และขอขอบพระคุณอีกคนหนึ่ง ที่ดิฉันได้อ่านเสมอคือ คุณ wannee.s ค่ะ อ่านทุกครั้ง ได้ความคิดดีๆ ทุกครั้งเลยค่ะ ขอขอบพระคุณด้วยนะคะ ถ้ามีคำถามจะขอความกรุณาช่วยตอบให้ด้วยนะคะ

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 10 พ.ค. 2550

การที่ไม่ทานเนื้อสัตว์ ไม่ได้ทำให้คนมีเมตตามากขึ้นเลย แม้การที่ทานเนื้อสัตว์ ก็ไม่ได้ทำให้เมตตามากขึ้นเช่นกัน ธรรมเป็นเรื่องละเอียดลึกซึ้ง

ถ้าเราเอาความคิดของตัวเองมาตัดสิน ก็ย่อมทำให้พลาดจากความจริง แต่ธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดง เป็นเครื่องตัดสินความถูกต้อง เพราะเมื่อพิจารณาด้วยปัญญาแล้ว ก็ย่อมเห็นจริง ดังที่พระพุทธองค์ทรงแสดงว่า บาป บุญ อยู่ที่เจตนา อาหารมิใช่การทำให้กิเลสลดลง แต่ธรรมของพระพุทธองค์เท่านั้นที่จะทำให้กิเลสลดลง และมีความเห็นถูกมากขึ้นครับ

ดังนั้น ขอให้มีพระธรรมเป็นที่พึ่ง ด้วยการพิจารณาพระพุทธพจน์ที่ยกมาแสดงครับ จะได้สิ่งดีๆ มากมายครับ

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 10 พ.ค. 2550

ขอขอบพระคุณอย่างมาก สำหรับความเห็นที่ ๙ คุณอนัตตา ทำให้มีกำลังใจมากขึ้น ในการเผยแพร่พระธรรมได้อย่างมากจริงๆ ครับ บางครั้งก็ท้อบ้างเพราะเหนื่อยมากๆ เหนื่อยทั้งกาย ใจ แต่พอได้รู้ว่า มีคนเข้าใจในสิ่งที่เราอธิบาย ก็ต้องสู้ต่อไป อย่างไรก็ตาม ถ้าได้ทำให้บุคคลใดเกิดโทสะ หรือความรู้สึกไม่ดีจากตัวกระผมเป็นเหตุ ก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย เพราะด้วยความหวังดีเพื่อให้เข้าใจธรรมะที่ถูกต้องจริงๆ ครับ

ขอให้คุณอนัตตา มีความเจริญในธรรม ธรรมรักษา เช่นกันครับ พร้อมที่จะให้เข้าใจธรรมะเสมอครับ เมื่อตายจากกันไป บุคคลชื่อนั้น ชื่อนี้ ก็จะไม่มีอีกเลย ดังนั้น เมื่อยังอยู่ควรมีเมตตากันและเจริญกุศลทุกๆ ประการครับ

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 12 พ.ค. 2550

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
อิสระ
วันที่ 21 พ.ค. 2550
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
chackapong
วันที่ 21 พ.ค. 2550

... ธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดง เป็นเครื่องตัดสินความถูกต้อง เพราะเมื่อพิจารณาด้วยปัญญาแล้ว ก็ย่อมเห็นจริง ดังที่พระพุทธองค์ทรงแสดงว่า บาป บุญ อยู่ที่เจตนา ...

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
pdoun
วันที่ 22 พ.ค. 2550

แต่อย่างไรก็ตาม ดิฉันไม่ทาน เนื้อวัว เพราะการฆ่าวัวนั้นทารุณเหลือเกิน กินไม่ลง เคยมีข่าวบ่อยๆ ที่ว่าวัวหรือควาย กระโดดลงมาจากรถบรรทุกที่กำลังนำมันเข้าโรงฆ่าสัตว์ เห็นแล้วสงสารมากเลยไม่กินมันตลอดไป อย่างไรก็ตาม ถ้าผู้บริโภค ลดการบริโภคลงเสียบ้าง ก็คงจะลดการฆ่าลงไปได้ จริงไหมคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
อารายเนี่ย
วันที่ 22 พ.ค. 2550

อย่างไรก็ตาม ถ้าผู้บริโภค ลดการบริโภคลงเสียบ้างก็คงจะลดการฆ่าลงไปได้?

การที่สัตว์ถูกฆ่า ก็ต้องคิดแล้วว่าเกิดจากอะไร ในทางพระพุทธศาสนาและความเป็นจริงนั้น การที่ถูกฆ่าก็ต้องเป็นผลของอกุศลกรรมที่ได้เคยทำไว้ ดังนั้น สัตว์นั้น จึงมีกรรมที่ต้องถูกฆ่า จะบริโภคน้อยลงหรือมากขึ้น สัตว์ก็ต้องถูกฆ่า เพราะอกุศลกรรมให้ผล มนุษย์ทำไมถึงถูกฆ่าได้ทุกวัน ก็ไม่ได้บริโภคเนื้อมนุษย์เป็นอาหารของคนส่วนใหญ่ ทำไมยังถูกฆ่าทุกวัน เพราะคนนั้นที่ถูกฆ่า อกุศลกรรมให้ผล เพราะเคยทำอกุศลไว้

ดังนั้น การบริโภคเนื้อสัตว์น้อยลง ไม่ใช่เป็นเหตุที่จะทำให้สัตว์ถูกฆ่าน้อยลง แต่กรรมไม่ดีต่างหาก ที่ทำให้สัตว์ถูกฆ่าครับ และถ้าคิดละเอียดขึ้น ทำไมถึงทำกรรมไม่ดี อันเป็นเหตุให้ถูกฆ่า ก็เพราะกิเลสที่มีนั่นเอง ดังนั้น พระธรรมเท่านั้น ที่จะช่วยให้มีกิเลสน้อยลงจนไม่มีอีก และนี่เอง พระพุทธเจ้าจึงแสดงพระธรรม เพื่อการพ้นทุกข์คือไม่ให้เกิดอีกต่อไป เมื่อคนนั้นไม่เกิด ใครจะฆ่าคนนั้นได้อีกครับ มีพระธรรมเป็นที่พึ่ง และศึกษาธรรมให้พ้นทุกข์ครับ

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
pdoun
วันที่ 28 พ.ค. 2550

คุณอารายเนี่ย คะ คิดอย่างนี้ แบบว่าไม่สงสารเลย ยูจะถูกฆ่าก็ถูกฆ่าไป มันกรรมของยูเองใช่ไหม เหมือนกรณีคนในสามจังหวัดภาคใต้ พวกเขาคงสร้างกรรมกันมาเองใช่ไหม ถึงไม่มีใครคิดช่วยให้สถานการณ์มันดีขึ้นบ้าง ดิฉันเองก็พยายามคิดเช่นนั้นเหมือนกัน แต่มันทำใจไม่ได้สักที นึกสงสารและเห็นใจเขามากเวลาพวกเขาถูกฆ่าอย่างทารุณ เช่น ตัดคอ อะไรแบบนี้ ก่อนตายเขาคงจะกลัวมากและเจ็บด้วย นั้นเป็นเพราะกรรมของเขาทั้งหมดเลยหรือคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 28 พ.ค. 2550

เรื่อง แม้พระพุทธเจ้าก็ช่วยพระญาติไม่ให้ถูกฆ่าไม่ได้ เพราะพระญาติทำบาปกรรมมา จะกล่าวไปไยถึงบุคคลอื่นเล่า สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของๆ ตน ทำกรรมเช่นใด ย่อมได้รับกรรมเช่นนั้น ใครจะช่วยได้ครับ

ลองอ่านดูนะคลิกอ่าน ...

ข้อความบางตอนจาก ...

เรื่องพระเจ้าวิฑูฑภะ

 
  ความคิดเห็นที่ 20  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 29 ส.ค. 2550

จะร่ำไห้อีกเท่าไหร่ ตราบใดที่ยังมีกิเลส หนทางเดียวนะ ... ที่ไม่ต้องร้องไห้อีก

 
  ความคิดเห็นที่ 21  
 
พุทธรักษา
วันที่ 31 ส.ค. 2550

จากความคิดเห็นที่ 11 เรียนคุณแล้วเจอกัน ... ที่นับถือ.

ขออนุโมทนาในกุศลเจตนาในการเผยแพร่พระธรรม ข้าพเจ้าเห็นความตั้งใจดีและได้รับประโยชน์จากงานของท่านเสมอ (แม้บางครั้งจะไม่ได้เขียนอนุโมทนา แต่ระลึกในใจค่ะ) และเชื่อว่าสหายธรรมท่านอื่นก็ได้รับประโยชน์จากการเข้าใจพระธรรม โดยความกรุณาของท่านเช่นกัน. แต่ข้าพเจ้าไม่อนุโมทนาในความคาดหวัง ซึ่งเป็นที่มาของความท้อและการบ่น ถ้าท่านตั้งใจจะอุทิศตัวในการเผยแพร่พระธรรมจริงๆ ต้องไม่หวั่นไหว (ในโลกธรรม ๘) ต้องมั่นคง เดินตามรอยท่าน อ.สุจินต์ ... ตลอดจนพระพุทธเจ้า (ทั้งก่อนเป็นและหลังเป็น) หากท่านมั่นใจว่า สิ่งที่ทำนั้นดีก็ต้องมั่นคง หากได้รับคำติ ชม ควรพิจารณาเจตนาสาระและประโยชน์เป็นสำคัญ เพราะมิตรแท้ย่อมกล่าวชม และตักเตือนด้วยความปรารถนาดีเสมอ ซึ่งข้อนี้ ท่านพิจารณาเองได้

สุดท้าย ขอเป็นกำลังใจให้และจะติดตามอ่าน "ธรรมข้อคิด" ไปเรื่อยๆ ค่ะ.

ด้วยเมตตา ... พี่นา.

 
  ความคิดเห็นที่ 22  
 
wannee.s
วันที่ 31 ส.ค. 2550

ความทุกข์ของสังสารวัฏฏ์ น้ำตาที่เราร้องไห้ในสังสารวัฏฏ์ ยังมากกว่าน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 23  
 
ครูโอ
วันที่ 31 ส.ค. 2550

การที่สัตว์จะถูกฆ่าหรือไม่ถูกฆ่า ก็ต้องเป็นเพราะกรรมที่ได้กระทำสำเร็จแล้วในอดีตชาติเนิ่นนาน ตราบใดที่ยังเป็นเรา ก็ยังไม่มั่นคงพอในเรื่อง "การให้ผลของกรรม" เพราะกรรมมีทางที่จะให้ผล ... เกินที่ใครจะคาดคิดได้ ขณะที่เป็นเรื่องราว เป็นบัญญัติ เต็มไปด้วยตัวตน เมื่อ "อวิชชา" เกิดกับจิต เมื่อนั้นย่อมไม่รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงในขณะปัจจุบันแน่นอน สุดท้ายก็ต้องประสบกับความทุกข์ใจจากความคิดมากมายที่ปรุงแต่งอย่างยิ่ง ด้วยอกุศลที่ทำให้จิตต้องหวั่นไหว เอียง คด ไม่ตรง มีเพียงโสภณเจตสิกเท่านั้นที่ทำให้จิตมั่นคง สว่าง ผ่องใส และตรงได้ ทุกๆ วันมีปัจจัยให้เกิดจิตที่คิด แต่ความคิดนั้นถูกหรือผิด เป็นกุศลหรือเป็นอกุศล พิจารณากันเท่าไรก็ยังไม่ลึก ไม่ละเอียดพอ ถ้ายังเป็นปุถุชนที่หลงลืมสติกันอยู่ ยังไม่ประจักษ์ในสภาพธรรมและยังไม่ได้ดับมิจฉาทิฏฐิเป็นสมุจเฉท แม้เพียงความเห็นผิดที่ไม่น่าจะเกิด ก็ยังคงเกิดปรากฏในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งผลจากฟังและศึกษาพระธรรมจะพิสูจน์ความคิดของท่านต่อคำว่า "ธรรมะ" คำๆ เดียวที่ลึกซึ้งด้วยอรรถะ หยั่งลงได้ยากด้วยสภาวะ ถ้าไม่ใช่ "ปัญญา" ก็ไม่มีหนทางอีกแล้วครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 24  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 11 ต.ค. 2550

บุญอยู่ที่จิต มิใช่ที่อาหาร

 
  ความคิดเห็นที่ 25  
 
bug
วันที่ 7 เม.ย. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 26  
 
tanakase
วันที่ 31 ต.ค. 2552

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 27  
 
เซจาน้อย
วันที่ 30 ธ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 28  
 
วิริยะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2554

ขอบคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 32  
 
dawhan
วันที่ 3 พ.ย. 2556

ขอบคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 33  
 
chatchai.k
วันที่ 12 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 34  
 
chatchai.k
วันที่ 11 ก.ค. 2564
 
  ความคิดเห็นที่ 35  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 2 มี.ค. 2566

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ