พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. สุริยสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  29 ส.ค. 2564
หมายเลข  36253
อ่าน  486

[เล่มที่ 24] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 342

๑๐. สุริยสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 24]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 342

๑๐. สุริยสูตร

[๒๔๖] สมัยนั้น สุริยเทวบุตร ถูกอสุรินทราหูเข้าจับแล้ว ครั้งนั้น สุริยเทวบุตร ระลึกถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าได้กล่าวคาถานี้ในเวลานั้นว่า

ข้าแต่พระพุทธเจ้า ผู้แกล้วกล้า ขอความนอบน้อมจงมีแด่พระองค์ พระองค์เป็นผู้หลุดพ้นแล้วในธรรมทั้งปวง ข้าพระองค์ถึงฐานะอันคับขัน ขอพระองค์จงเป็นที่พึ่งแห่งข้าพระองค์นั้น.

[๒๔๗] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภสุริยเทวบุตร ได้ตรัสกะอสุรินทราหูด้วยพระคาถาว่า

สุริยเทวบุตร ถึงตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ ว่าเป็นที่พึง ดูก่อนราหู ท่านจงปล่อยสุริยะ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นผู้อนุเคราะห์โลก สุริยะใดเป็นผู้ส่องแสงกระทำความสว่างในที่มืดมิด มีสัณฐานเป็นวงกลม มีเดชสูง ดูก่อนราหู ท่านจงปล่อยสุริยะ ผู้เป็นบุตรของเรา.

[๒๔๘] ลำดับนั้น อสุรินทราหู ปล่อยสุริยเทวบุตรแล้ว เร่งรีบเข้าไปหาท้าวเวปจิตติจอมอสูร แล้วก็เป็นผู้เศร้าสลด เกิดขนพอง ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 343

[๒๔๙] ท้าวเวปจิตติจอมอสูร ได้กล่าวกะอสุรินทราหู ด้วยคาถาว่า

ดูก่อนราหู ทำไมหนอ ท่านจึงเร่งรีบ ปล่อยพระสุริยะเสีย ทำไมหนอ ท่านจึงมีรูปเศร้าสลด มายืนกลัวอยู่.

[๒๕๐] อสุรินทราหู กล่าวว่า

ข้าพเจ้าถูกขับ ด้วยคาถาของพระพุทธเจ้า ถ้าข้าพเจ้าไม่พึงปล่อยพระสุริยะ ศีรษะของข้าพเจ้าพึงแตกเจ็ดเสี่ยง มีชีวิตอยู่ ก็ไม่พึงได้รับความสุข.

จบสุริยสูตรที่ ๑๐

จบวรรคที่ ๑

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 344

อรรถกถาสุริยสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสุริยสูตรที่ ๑๐ ต่อไป :-

บทว่า สุริโย คือ เทวบุตร ผู้สถิตอยู่ ณ สุริยวิมาน.

บทว่า อนฺธกาเร ได้แก่ ในการทำความมืดดุจตาบอด เพราะห้ามความเกิดแห่งจักษุวิญญาณ.

บทว่า เวโรจโน แปลว่า ส่องสว่าง.

บทว่า มณฺฑลี ได้แก่ มีสัณฐานกลม.

ด้วยบทว่า มา ราหุ คิลี จรมนฺตลิกฺเข ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนราหู ท่านอย่ากลืนสุริยะผู้โคจรไปในอากาศเลย.

ถามว่าก็ราหูนั้นกลืนสุริยะนั้นได้หรือ.

ตอบว่า กลืนได้สิ เพราะว่า ราหูมีอัตภาพใหญ่ ว่าโดยส่วนสูง สูงถึง ๔,๘๐๐ โยชน์ ช่วงแขน ยาว ๑,๒๐๐ โยชน์ ว่าโดยส่วนหนา ๖๐๐ โยชน์ ศีรษะ ๙๐๐ โยชน์ หน้าผาก ๓๐๐ โยชน์ ระหว่างคิ้ว ๕๐ โยชน์ คิ้ว ๒๐๐ โยชน์ ปาก ๒๐๐ โยชน์ จมูก ๓๐๐ โยชน์ ขอบปากลึก ๓๐๐ โยชน์ ฝ่ามือฝ่าเท้าหนา ๒๐๐ โยชน์ ข้อนิ้ว ๑๕ โยชน์.

ราหูนั้นเห็นจันทระและสุริยะ ส่องสว่างอยู่ มีความริษยาเป็นปกติอยู่แล้ว ก็ลงสู่วิถีโคจรของจันทรและสุริยะนั้น ยืนอ้าปากอยู่. จันทรวิมานหรือสุริยวิมานก็เป็นประหนึ่งถูกใส่เข้าไปในมหานรก ๓๐๐ โยชน์ เทวดาทั้งหลายที่สถิตอยู่ในวิมานถูกมรณภัยคุกคาม ก็ร้องเป็นอันเดียวกัน ราหูนั้น บางคราวก็เอามือบังวิมาน บางคราวก็ใส่ไว้ใต้คาง บางคราวก็เอาลิ้นเลีย บางคราวก็วางในกระพุ้งแก้มเหมือนกินทำแก้มตุ่ย แต่ราหูนั้น ไม่อาจชลอความเร็วได้ คิดว่าเราจักฆ่าเสีย ก็ยืนอมทำแก้มตุ่ย หรือคิดว่าขมองของเทพบุตรนั้นจักแตกออกไป ราหูก็คร่าวิมานนั้นน้อมเข้ามา. เพราะฉะนั้น เทพบุตรนั้น จึงไปพร้อมด้วยกันกับวิมาน.

บทว่า

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 345

ปชํ มม ความว่า ได้ยินว่า เทพบุตรแม้ทั้งสอง คือ จันทระและสุริยะ บรรลุโสดาปัตติผล ในวันที่ตรัสมหาสมยสูตร.

ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ปชํ มม อธิบายว่า นั่นเป็นบุตรของเรา.

จบอรรถกถาสุริยสูตรที่ ๑๐

จบวรรคที่ ๑

รวมพระสูตรในวรรคนี้

๑. ปฐมกัสสปสูตร

๒. ทุติยกัสสปสูตร

๓. มาฆสูตร

๔. มาคธสูตร

๕. ทามลิสูตร

๖. กามทสูตร

๗. ปัญจาลจัณฑสูตร

๘. ตายนสูตร

๙. จันทิมสูตร

๑๐. สุริยสูตร

พร้อมทั้งอรรถกถา.