พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. กวิสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 ส.ค. 2564
หมายเลข  36221
อ่าน  488

[เล่มที่ 24] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 282

๑๐. กวิสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 24]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 282

๑๐. กวิสูตร

[๑๗๖] เทวดาทูลถามว่า

อะไรหนอเป็นต้นเหตุของคาถา อะไรหนอเป็นเครื่องปรากฏ (พยัญชนะ) ของคาถาเหล่านั้น คาถาอาศัยอะไรหนอ อะไรหนอเป็นที่อาศัยของคาถา.

[๑๗๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

ฉันท์เป็นต้นเหตุของคาถา อักขระเป็นเครื่องปรากฏ (พยัญชนะ) ของคาถา คาถาอาศัยแล้วซึ่งชื่อ กวีเป็นที่อาศัยของคาถา.

อรรถกถากวิสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในกวิสูตรที่ ๑๐ ต่อไป :-

บทว่า ฉนฺโท นิทานํ ความว่า ฉันท์อันมีคายติฉันท์ (ขับร้อง) เป็นอาทิ เป็นต้นเหตุของคาถาทั้งหลาย อธิบายว่า กวีเมื่อเริ่มคาถา อันตั้งขึ้นในเบื้องต้น ก็ย่อมเริ่มว่า ขอคาถาจงมีอยู่โดยฉันท์อันเราทำแล้วดังนี้.

บทว่า วิยญูชนํ ได้แก่ การให้เกิดขึ้น. เพราะว่าอักขระย่อมยังบทให้เกิด บทก็ย่อมยังคาถาให้เกิด. คาถาย่อมส่องถึงเนื้อความ.

บทว่า นามสนฺนิสฺสิตา

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 283

ได้แก่ อาศัยการตั้งชื่อเช่นมีคำว่า สมุทร เป็นต้น อธิบายว่า คาถาเมื่อเริ่มก็ต้องอาศัยนาม (ชื่อ) อย่างใดอย่างหนึ่ง มีสมุทร แผ่นดิน เป็นต้นนั่นแหละแล้วจึงเริ่ม.

บทว่า อาสโย แปลว่า เป็นที่อาศัย อธิบายว่า เพราะคาถาทั้งหลายย่อมเป็นไปเพราะกวี ทั้งกวีนั้นก็เป็นที่อาศัยของคาถาทั้งหลาย ดังนี้.

จบอรรถกถากวิสูตรที่ ๑๐

และจบชราวรรคที่ ๖

รวมพระสูตรในชราวรรคที่ ๖

๑. ชราสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๒. อชรสาสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๓. มิตตสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๔. วัตถุสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๕. ปฐมชนสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๖. ทุติยชนสูตร

๗. ตติยชนสูตร

๘. อุปปถสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๙. ทุติยสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๑๐. กวิสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา