พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. สุสัมมุฏฐสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 ส.ค. 2564
หมายเลข  36169
อ่าน  380

[เล่มที่ 24] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 60

๘. สุสัมมุฏฐสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 24]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 60

๘. สุสัมมุฏฐสูตร

[๑๗] เทวดานั้น ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วแล ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ธรรมทั้งหลายอันชนพวกใดลืมเลือนแล้ว ชนพวกนั้น ย่อมถูกจูงไปในวาทะของชนพวกอื่น ชนพวกนั้นชื่อว่ายังหลับไม่ตื่น (กาลนี้) เป็นกาลควรเพื่อจะตื่นของชนพวกนั้น.

[๑๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ธรรมทั้งหลาย อันชนพวกใดไม่ลืมเลือนแล้ว ชนพวกนั้นย่อมไม่ถูกจูงไปในวาทะของชนพวกอื่น บุคคลผู้รู้ดีทั้งหลายรู้ทั่วถึงโดยชอบแล้ว ย่อมประพฤติเสมอในหมู่สัตว์ผู้ประพฤติไม่เสมอ.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 61

อรรถกถาสุสัมมุฏฐสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสูตรที่ ๘ ต่อไป:-

บทว่า สุสมฺมุฏฺา ได้แก่ เป็นผู้หลงลืมแล้ว โดยความเป็นผู้ไม่แทงตลอดด้วยปัญญา เหมือนอย่างว่า ชาวนาไถนา ๒ แปลง ก็พึงใส่ข้าวมาก เมื่อหมายถึงข้าวที่ไม่ได้ จากนาที่ตนไม่ได้หว่าน กล่าวว่า ข้าวของเราเป็นอันมาก เสียหายแล้ว ย่อมกล่าวถึงข้าวที่ไม่ได้นั้นเองว่า เสียหายแล้ว ฉันใด แม้ในที่นี้ ก็ฉันนั้น ชื่อว่า หลงลืมแล้ว เพราะความที่ตนแทงไม่ตลอด.

บทว่า อสมฺมุฏฺา ได้แก่ ชื่อว่า ไม่หลงลืมแล้ว เพราะความที่ตนแทงตลอดด้วยปัญญา.

คำที่เหลือ เช่นกับนัยก่อน ดังนี้แล.

จบอรรถกถาสุสัมมุฏฐสูตรที่ ๘