พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. นิโมกขสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 ส.ค. 2564
หมายเลข  36163
อ่าน  420

[เล่มที่ 24] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 40

๒. นิโมกขสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 24]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 40

๒. นิโมกขสูตร

[๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว เทวดาองค์หนึ่ง มีวรรณะงาม ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นแล้วจึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๕] เทวดานั้น ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วแล ได้กราบทูลคำนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ พระองค์ย่อมทรงทราบมรรคเป็นทางหลีกพ้น ผลเป็นความหลุดพ้น นิพพานเป็นที่สงัด ของสัตว์ทั้งหลายหรือหนอ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ท่านผู้มีอายุ เรารู้จักมรรคเป็นทางหลีกพ้น ผลเป็นความหลุดพ้น นิพพานเป็นที่สงัด ของสัตว์ทั้งหลายโดยแท้จริง.

ท. ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ ก็พระองค์ย่อมทรงทราบมรรคเป็นทางหลีกพ้น ผลเป็นความหลุดพ้น นิพพานเป็นที่สงัดของสัตว์ทั้งหลายอย่างไรเล่า.

[๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงวิสัชนาโดยคาถานี้ ว่า

ท่านผู้มีอายุ เพราะความสิ้นภพอันมีความเพลิดเพลินเป็นมูล เพราะความสิ้น

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 41

แห่งสัญญาและวิญญาณ เพราะความดับ เพราะความสงบแห่งเวทนาทั้งหลาย เราย่อมรู้จักมรรคเป็นทางหลีกพ้น ผลเป็นความหลุดพ้น นิพพานเป็นที่สงัด ของสัตว์ทั้งหลายอย่างนี้.

อรรถกถานิโมกขสูตร

บัดนี้ ตั้งแต่สูตรที่ ๒ เป็นต้นไป ข้าพเจ้าละข้อความที่มาแล้วในสูตรที่ ๑ และข้อความที่ง่ายแล้ว จักพรรณนาเนื้อความที่ยังไม่ได้พรรณนา และเนื้อความที่ยังไม่แจ่มแจ้งเท่านั้น.

บทว่า ชานาสิ โน ท่านแก้เป็น ชานาสิ นุ แปลว่า ย่อมทรงทราบ หรือหนอ.

บทว่า นิโมกฺขํ เป็นต้น เป็นชื่อของธรรมทั้งหลายมีมรรค เป็นต้น.

จริงอยู่ สัตว์ทั้งหลาย ย่อมหลีกพ้นจากเครื่องผูก คือ กิเลสได้ด้วยมรรค เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มรรคเป็นทางหลีกพ้นของสัตว์ทั้งหลาย ดังนี้. ส่วนในขณะแห่งผล สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นหลุดพ้นแล้วจากเครื่องผูก คือ กิเลส เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ผลเป็นความหลุดพ้นของสัตว์ทั้งหลาย ดังนี้. ทุกข์ทั้งปวงของสัตว์ทั้งหลายย่อมสงบ ระงับไปเพราะบรรลุพระนิพพาน ฉะนั้น จึงกล่าวว่า พระนิพพานเป็นที่สงัด ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ธรรมทั้งหมดเหล่านี้ (มรรค ผล) เป็นชื่อของพระนิพพานนั่นแหละ เพราะว่าสัตว์ทั้งหลาย ย่อมพ้น ย่อมหลุดพ้น ย่อมสงบ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 42

ระงับจากทุกข์ทั้งหมดเพราะบรรลุพระนิพพาน เพราะฉะนั้น นิพพานนั้นแลท่านจึงกล่าวว่า นิโมกฺโข หลีกพ้น ปโมกฺโข หลุดพ้น วิเวโก ที่สงัดดังนี้ ทีเดียว.

บทว่า ชานามิ ขฺวาหํ แปลว่า เราย่อมรู้จักโดยแท้จริง.

โข อักษร ใช้ในความหมายว่า แท้จริง อธิบายว่า เราย่อมรู้ได้โดยแท้จริง.

จริงอยู่ เรา (พระตถาคต) ยังบารมี ๓๐ ทัศ ให้เต็มแล้วแทงตลอดสัพพัญญุตญาณ เพื่อรู้ธรรมอันเป็นทางหลีกพ้นของสัตว์ทั้งหลายเป็นต้น นั่นแหละด้วยเหตุนี้ เราจึงบันลือสีหนาท. ได้ยินว่า สูตรนี้ ชื่อว่า พุทธสีหนาท.

บทว่า นนฺทิภวปริกฺขยา อธิบายว่า เพราะความสิ้นไปรอบแห่งกัมมภพอันมีความเพลิดเพลินเป็นมูล แม้จะกล่าวว่า เพราะความสิ้นไปแห่งความเพลิดเพลินและภพ ดังนี้ก็ควร.

ในปุริมนัยนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า สังขารขันธ์ อันกัมมภพถือเอาแล้ว ด้วยอำนาจแห่งอภิสังขาร คือ กรรม ๓ อย่าง. ขันธ์ ๒ (เวทนาและสัญญาขันธ์) อันสัมปยุตด้วยธรรม (สังขารขันธ์) นั้น อันสัญญาและวิญญาณขันธ์ถือเอาแล้ว. แต่เวทนาอันสัมปยุตด้วยขันธ์ ๓ (สัญญาสังขารวิญญาณขันธ์) เหล่านั้น ท่านถือเอาแล้ว ด้วยการถือเอานามธรรมเหล่านั้น เพราะฉะนั้น นิพพาน ซึ่งดับกิเลสยังมีชีวิตอยู่ (สอุปาทิเสสนิพพาน) อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วด้วยสามารถแห่งความไม่มีต่อไป (คือเป็นที่สงัด) แห่งนามขันธ์ ๔ อันเป็นอนุปาทินนกะ ดังนี้.

ในบทว่า เวทนานํ นิโรธา อุปสมา ได้แก่ เพราะความดับ และเพราะความสงบแห่งเวทนาอันเป็นอุปาทินนกะ.

ในพระบาลีนั้น ขันธ์ ๓ อันสัมปยุตด้วยเวทนานั้น เป็นธรรมอันท่านถือเอาแล้ว โดยการถือเอาเวทนาเทียว. แม้รูปขันธ์ ท่านก็ถือเอาด้วยสามารถแห่งวัตถุและอารมณ์ของนามขันธ์เหล่านั้น. ด้วยเหตุนี้ นิพพาน

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 43

อันไม่มีกัมมชรูปและวิบากขันธ์เหลืออยู่ (อนุปาทิเสสนิพพาน) จึงตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งความไม่มีต่อไป (คือเป็นที่สงัด) แห่งขันธ์ ๕ อันเป็นอนุปาทินนกะ ดังนี้ ด้วยประการฉะนี้.

แต่ในนัยที่ ๒ สังขารขันธ์ ท่านถือเอาโดยการถือเอานันทิ คือ ความเพลิดเพลิน. รูปขันธ์กล่าวคือ อุปปัตติภพ ท่านถือเอาโดยการถือเอาภพ. เมื่อว่าโดยย่อ ขันธ์ ๓ เป็นธรรมอันท่านถือเอาแล้ว ด้วยสัญญาขันธ์เป็นต้นทีเดียว.

บัณฑิตพึงทราบว่า พระนิพพาน อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วด้วยอำนาจแห่งความไม่มีต่อไป (คือเป็นที่สงัด) แห่งขันธ์ ๕ เหล่านี้ ดังพรรณนามาฉะนี้. พระเถระผู้เรียนคัมภีร์นิกาย ๔ ชอบใจนัยนี้ทีเดียว.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงยังเทศนาให้จบลงแล้วด้วยสามารถแห่งพระนิพพาน ด้วยประการฉะนี้ แล.

จบอรรถกถานิโมกขสูตรที่ ๒