เข้าใจจริงๆ ไม่สงสัย

 
unnop.h
วันที่  28 ส.ค. 2564
หมายเลข  36159
อ่าน  758


* เมื่อไม่มีความเข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริง ก็มีแต่ความลังเลสงสัย และก็ไม่มีคำตอบในข้อสงสัยนั้นอย่างถูกต้องชัดเจน

* ความลังเลสงสัยนั้นมีมากมาย เช่น อาจสงสัยว่าชาติที่แล้ว หรือชาติหน้า มีจริงไหม หรืออาจสงสัยว่าเจ้ากรรม นายเวร มีจริงไหม

* ถ้าได้ฟังพระธรรม มีความเข้าใจถูกต้องในสภาพธรรมตามความเป็นจริง ก็จะคลายความสงสัยต่างๆ เหล่านี้ เช่น

* ถ้าเข้าใจว่าแต่ละขณะในชาตินี้ ก็คือจิตที่เกิดขึ้นรู้สิ่งที่ปรากฏ โดยทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งแล้วก็ดับไปอย่างรวดเร็ว และจิตขณะต่อไปก็เกิดขึ้นทันที ไม่มีระหว่างคั่น สืบต่อๆ ไปเช่นนี้อย่างไม่หยุดยั้ง ไม่ว่าจะเป็นจิตขณะที่ปฏิสนธิเป็นบุคคลนี้ จิตขณะหลับ จิตขณะตื่นขึ้นเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบทางกาย และคิดนึกทางใจ หรือจิตขณะตายคือจิตสุดท้ายของชาตินี้ และถ้าปัญญารู้ตามความเป็นจริงในการเกิดดับสืบต่อของสภาพธรรม เช่น การเกิดขึ้นและดับไปของเห็นในขณะนี้ ก็จะไม่สงสัยว่า

-มีชาติที่แล้วหรือไม่ เพราะต้องมีจิตที่เกิดดับสืบต่อ มาก่อนที่จิตขณะปฏิสนธิของชาตินี้จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน

-มีชาติหน้าหรือไม่ เพราะเมื่อยังมีเหตุปัจจัยให้มีการเกิดขึ้นของจิตต่อจากการดับไปของจิตในขณะนี้ ดังนั้นเมื่อจิตสุดท้ายของชาตินี้คือจิตขณะตายดับไป ก็ต้องมีจิตขณะต่อไป คือปฏิสนธิจิตของชาติต่อไป เกิดสืบต่ออย่างแน่นอน

ดังนั้นปัญญาที่รู้แจ้งในการเกิดขึ้นและดับไปของสิ่งที่ปรากฏขณะนี้ จะทำให้ไม่สงสัยอดีตและอนาคต

-ถ้าเข้าใจว่ากรรม คือเจตนาที่ได้กระทำกรรมไว้แล้ว ซึ่งจะสะสมสืบต่อไปในจิต และสามารถทำให้เกิดผลต่อไป ก็จะรู้ว่าไม่มีใครเป็นเจ้ากรรม นายเวร ของใครเลยทั้งสิ้น แต่เป็นกรรม (คือการกระทำ) และเป็นเวร (คือทุจริตกรรมที่จะทำให้เกิดทุกข์ภัยต่อไป) ของแต่ละบุคคลเอง

* ดังนั้น ถ้ามีความเข้าใจความจริงของสิ่งที่มีจริง (ธรรม) ตามความเป็นจริง จริงๆ ก็จะคลายความสงสัยต่างๆ ที่เคยมีมาได้


โดย อ.อรรณพ หอมจันทร์

อ่านหัวข้ออื่นๆ คลิกที่นี่ ... คติธรรม


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
petsin.90
วันที่ 28 ส.ค. 2564

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
chatchai.k
วันที่ 28 ส.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
Sea
วันที่ 22 พ.ย. 2564

กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
Sirapatthanatorn
วันที่ 26 พ.ย. 2564

สาธุค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
Wisaka
วันที่ 27 ก.พ. 2567

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ