พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. จาตุมสูตร เรื่องพระอาคันตุกะพูดเสียงดัง

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 ส.ค. 2564
หมายเลข  36072
อ่าน  822

[เล่มที่ 20] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 376

๗. จาตุมสูตร

เรื่องพระอาคันตุกะพูดเสียงดัง


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 20]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 376

๗. จาตุมสูตร

เรื่องพระอาคันตุกะพูดเสียงดัง

[๑๘๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ อามลกีวัน ใกล้บ้านจาตุมา ก็สมัยนั้น ภิกษุประมาณห้าร้อยรูป มีพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเป็นหัวหน้าไปถึงจาตุมคาม เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้น ปราศรัยกับภิกษุเจ้าถิ่น จัดเสนาสนะ เก็บบาตรและจีวร เป็นผู้มีเสียงสูง มีเสียงดัง. ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกท่านพระอานนท์มาว่า ดูก่อนอานนท์ ผู้ที่เสียงสูงเสียงดังนั้น เป็นใคร ราวกะชาวประมงแย่งปลากัน.

ท่านพระอานนท์ กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุประมาณห้าร้อยนั้น มีพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเป็นหัวหน้า มาถึงจาตุมคามเพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ภิกษุผู้อาคันตุกะเหล่านั้น ปราศรัยกับภิกษุเจ้าถิ่น จัดเสนาสนะเก็บบาตรและจีวรอยู่ เป็นผู้มีเสียงสูง มีเสียงดัง.

ดูก่อนอานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงไปเรียกพวกภิกษุมาตามคําของเราว่าพระศาสดาตรัสเรียกท่านทั้งหลาย ท่านพระอานนท์ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จึงเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นถึงที่พัก ได้กล่าวกะภิกษุเหล่านั้นว่า พระศาสดาตรัสเรียกท่านทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นรับคําท่านพระอานนท์แล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะภิกษุเหล่านั้นว่า ดูก่อนภิกษุ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 377

ทั้งหลาย พวกเธอมีเสียงสูง มีเสียงดังราวกะชาวประมงแย่งปลากัน เพราะเหตุอะไรหนอ.

พวกภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุประมาณห้าร้อยนั้น มีพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเป็นหัวหน้า มาถึงจาตุมคามเพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ภิกษุผู้อาคันตุกะเหล่านี้นั้น ปราศรัยกับภิกษุเจ้าถิ่นจัดเสนาสนะเก็บบาตรและจีวรอยู่ จึงมีเสียงสูง เสียงดัง พระเจ้าข้า.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงพากันไป เราประณามพวกเธอ พวกเธอไม่ควรอยู่ในสํานักเรา ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทําประทักษิณแล้ว เก็บอาสนะ ถือบาตรและจีวรหลีกไปแล้ว.

[๑๘๗] ก็สมัยนั้น พวกเจ้าศากยะชาวเมืองจาตุมาประชุมกันอยู่ที่เรือนรับแขก ด้วยกรณียะบางอย่าง ได้เห็นภิกษุเหล่านั้นมาแต่ไกล ครั้นแล้ว จึงเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นจนถึงที่ใกล้ ได้กล่าวกะภิกษุเหล่านั้นว่า ดูเถิดท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะพากันไปไหนเล่า.

ภ. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุสงฆ์ถูกพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประณามแล้ว.

เจ้าศากยะ. ข้าแต่ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น ขอท่านทั้งหลายจงนั่งอยู่ครู่หนึ่ง แม้ไฉน ข้าพเจ้าทั้งหลายพึงอาจให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเลื่อมใสได้ ภิกษุเหล่านั้นรับคําพวกเจ้าศากยะชาวเมืองจาตุมาแล้ว ลําดับนั้น พวกศากยะชาวเมืองจาตุมาเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงชื่นชมกะภิกษุสงฆ์เถิด ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 378

จงรับสั่งกะภิกษุสงฆ์เถิด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในบัดนี้ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงอนุเคราะห์ภิกษุสงฆ์ เหมือนที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุเคราะห์ในกาลก่อนเถิด.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในภิกษุสงฆ์หมู่นี้ ภิกษุทั้งหลายที่ยังเป็นผู้ใหม่ บวชไม่นาน เพิ่งมาสู่พระธรรมวินัยนี้ มีอยู่ เมื่อภิกษุเหล่านั้นไม่ได้เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า จะพึงมีความน้อยใจ มีความแปรปรวนไป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เปรียบเหมือนเมื่อพืชที่ยังอ่อน ไม่ได้น้ำ จะพึงเป็นอย่างอื่น จะพึงแปรไป ฉันใด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในภิกษุสงฆ์หมู่นี้ ภิกษุทั้งหลายที่ยังเป็นผู้ใหม่ บวชไม่นาน เพิ่งมาสู่พระธรรมวินัยนี้ มีอยู่ เมื่อภิกษุเหล่านั้นไม่ได้เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ฉันนั้น จะพึงมีความน้อยใจ มีความแปรปรวนไป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เปรียบเหมือนเมื่อลูกโคอ่อนไม่เห็นแม่ จะพึงเป็นอย่างอื่น จะพึงแปรไปฉันใด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในภิกษุสงฆ์หมู่นี้ ภิกษุทั้งหลายที่ยังเป็นผู้ใหม่ บวชไม่นาน เพิ่งมาสู่พระธรรมวินัยนี้ มีอยู่ ภิกษุเหล่านั้นไม่ได้เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ฉันนั้น จะพึงมีความน้อยใจ มีความแปรปรวนไป.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงชื่นชมกะภิกษุสงฆ์เถิด ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงรับสั่งกะภิกษุสงฆ์เถิด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในบัดนี้ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุเคราะห์ภิกษุสงฆ์ เหมือนที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุเคราะห์ภิกษุสงฆ์ในกาลก่อนเถิด.

พรหมอาราธนาพระพุทธเจ้า

[๑๘๘] ครั้งนั้นแล ท้าวสหัมบดีพรหมทราบพระพุทธดําริแห่งพระทัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยใจของตนแล้ว หายไปในพรหมโลก มาปรากฏตรงพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า เหมือนบุรุษมีกําลัง เหยียดแขนที่คู้ออก หรือคู้แขนที่เหยียดเข้า ฉะนั้น ครั้นแล้ว ทําผ้าห่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนม

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 379

อัญชลีไปทางที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ แล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงทรงชื่นชมกะภิกษุสงฆ์เถิด ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงรับสั่งกะภิกษุสงฆ์เถิด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในบัดนี้ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงอนุเคราะห์ภิกษุสงฆ์ เหมือนที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุเคราะห์ภิกษุสงฆ์ในกาลก่อนเถิด.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในภิกษุสงฆ์หมู่นี้ ภิกษุทั้งหลายยังเป็นผู้ใหม่ บวชไม่นาน เพิ่งมาสู่พระธรรมวินัยนี้ มีอยู่ เมื่อภิกษุเหล่านั้นไม่ได้เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า จะพึงมีความน้อยใจ มีความแปรปรวนไป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เปรียบเหมือนพืชที่ยังอ่อนไม่ได้น้ำ จะพึงเป็นอย่างอื่น จะพึงแปรไป ฉันใด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในภิกษุสงฆ์หมู่นี้ ภิกษุทั้งหลายที่ยังเป็นผู้ใหม่ บวชไม่นาน เพิ่งมาสู่พระธรรมวินัยนี้ มีอยู่ เมื่อภิกษุเหล่านั้นไม่ได้เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ฉันนั้น จะพึงมีความน้อยใจ มีความแปรปรวนไป.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เปรียบเสมือนเมื่อลูกโคอ่อนไม่เห็นแม่ จะพึงเป็นอย่างอื่น จะพึงแปรไป ฉันใด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในภิกษุสงฆ์หมู่นี้ ภิกษุทั้งหลายที่ยังเป็นผู้ใหม่ บวชไม่นาน เพิ่งมาสู่พระธรรมวินัยนี้ มีอยู่ เมื่อภิกษุเหล่านั้นไม่ได้เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ฉันนั้น จะพึงมีความน้อยใจ มีความแปรปรวนไป.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงทรงชื่นชมกะภิกษุสงฆ์เถิด ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงรับสั่งกะภิกษุสงฆ์เถิด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงทรงอนุเคราะห์ภิกษุสงฆ์ เหมือนที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุเคราะห์ภิกษุสงฆ์ในกาลก่อนเถิด.

เจ้าศากยะชาวเมืองจาตุมาและท้าวสหัมบดีพรหม ได้สามารถทูลให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเลื่อมใส ด้วยคําวิงวอนเปรียบด้วยข้าวกล้าอ่อน และด้วยคําวิงวอนเปรียบด้วยลูกโคอ่อน ฉะนี้แล.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 380

พระอาคันตุกะเข้าเฝ้า

[๑๘๙] ครั้นนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะ จึงเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงลุกขึ้นเถิด จงถือเอาบาตรและจีวรเถิด พระผู้มีพระภาคเจ้าอันเจ้าศากยะชาวเมืองจาตุมา และท้าวสหัมบดีพรหมทรงให้เลื่อมใสแล้ว ด้วยคําวิงวอนเปรียบด้วยข้าวกล้าอ่อน และด้วยคําวิงวอนเปรียบด้วยลูกโคอ่อน ภิกษุเหล่านั้นรับคําท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว จึงลุกจากอาสนะ ถือบาตรและจีวร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้รับสั่งกับท่านพระสารีบุตรผู้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งว่า ดูก่อนสารีบุตร เมื่อเราประฌามภิกษุสงฆ์แล้ว จิตของเธอได้มีอย่างไร.

ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประณามภิกษุสงฆ์แล้ว จิตของข้าพระองค์ได้มีอย่างนี้ว่า บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าจักทรงมีความขวนขวายน้อย ประกอบตามธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรมอยู่ แม้เราทั้งหลายก็จักมีความขวนขวายน้อย ประกอบตามธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรมอยู่ในบัดนี้.

ดูก่อนสารีบุตร เธอจงรอก่อน ดูก่อนสารีบุตร เธอจงรอก่อน ดูก่อนสารีบุตร เธออย่าพึงให้จิตเห็นปานนี้เกิดขึ้นอีกเลย.

ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกท่านพระมหาโมคคัลลานะมาว่า ดูก่อนโมคคัลลานะ เมื่อเราประณามภิกษุสงฆ์แล้ว จิตของเธอได้มีอย่างไร.

ท่านพระมหาโมคคัลลานะกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประณามภิกษุสงฆ์แล้ว จิตของข้าพระองค์ได้มีอย่างนี้ว่า

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 381

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจักทรงมีความขวนขวายน้อย ประกอบตามธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรมอยู่ เราและท่านพระสารีบุตร จักช่วยกันปกครองภิกษุสงฆ์ในบัดนี้.

ดีละ โมคคัลลานะ ความจริงเราหรือสารีบุตรและโมคคัลลานะเท่านั้นพึงปกครองภิกษุสงฆ์.

ภัย ๔ อย่าง

[๑๙๐] ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัย ๔ อย่างนี้ เมื่อบุคคลกําลังลงน้ำ พึงหวังได้ ภัย ๔ อย่างเป็นไฉน คือ ภัยแต่คลื่น ๑ ภัยแต่จระเข้ ๑ ภัยแต่น้ำวน ๑ ภัยแต่ปลาร้าย ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัย ๔ อย่างนี้แล เมื่อบุคคลกําลังลงน้ำ พึงหวังได้ ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัย ๔ อย่างนี้ก็ฉันนั้น เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้ ออกบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยนี้พึงหวังได้ ภัย ๔ อย่างเป็นไฉน คือ ภัยแต่คลื่น ภัยแต่จระเข้ ภัยแต่น้ำวน ภัยแต่ปลาร้าย.

[๑๙๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภัยแต่คลื่นเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรบางคนในโลกนี้มีศรัทธาออกบวชเป็นบรรพชิต ด้วยคิดว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ครอบงําแล้ว เป็นผู้อันทุกข์ครอบงําแล้ว เป็นผู้อันทุกข์ท่วมทับแล้ว ทําไฉน การทําที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ จะพึงปรากฏได้ เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ย่อมตักเตือนสั่งสอนกุลบุตรนั้น ผู้บวชแล้วอย่างนั้นว่า ท่านพึงก้าวไปอย่างนี้ ท่านพึงถอยกลับอย่างนี้ ท่านพึงแลอย่างนี้ ท่านพึง

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 382

เหลียวอย่างนี้ ท่านพึงคู้เข้าอย่างนี้ ท่านพึงเหยียดออกอย่างนี้ ท่านพึงทรงสังฆาฏิ บาตรและจีวรอย่างนี้ กุลบุตรนั้นย่อมมีความดําริอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเราเป็นคฤหัสถ์ ย่อมตักเตือนบ้าง สั่งสอนบ้าง ซึ่งคนอื่น ก็ภิกษุเหล่านี้เพียงคราวบุตรคราวหลานของเรา ยังมาสําคัญการที่จะพึงตักเตือนพร่ําสอนเรา เขาจึงบอกคืนสิกขาสึกไป.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้นี้เรากล่าวว่า กลัวแต่ภัยแต่คลื่น แล้วบอกคืนสิกขาสึกไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คําว่าภัยแต่คลื่นนี้ เป็นชื่อของความคับใจด้วยสามารถความโกรธ.

[๑๙๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภัยแต่จระเข้เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรบางคนในโลกนี้ มีศรัทธาออกบวชเป็นบรรพชิต ด้วยคิดว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสครอบงําแล้ว เป็นผู้อันทุกข์ครอบงําแล้ว เป็นผู้อันทุกข์ท่วมทับแล้ว ทําไฉน การทําที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะพึงปรากฏได้.

เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ย่อมตักเตือนสั่งสอนกุลบุตร ผู้บวชแล้วอย่างนั้นว่า สิ่งนี้ท่านควรเคี้ยวกิน สิ่งนี้ท่านไม่ควรเคี้ยวกิน สิ่งนี้ท่านควรฉัน สิ่งนี้ท่านไม่ควรฉัน สิ่งนี้ท่านควรลิ้ม สิ่งนี้ท่านไม่ควรลิ้ม สิ่งนี้ท่านควรดื่ม สิ่งนี้ท่านไม่ควรดื่ม สิ่งเป็นกัปปิยะท่านควรเคี้ยวกิน สิ่งเป็นอกัปปิยะท่านไม่ควรเคี้ยวกิน สิ่งเป็นกัปปิยะท่านควรฉัน สิ่งเป็นอกัปปิยะท่านไม่ควรฉัน สิ่งเป็นกัปปิยะท่านควรลิ้ม สิ่งเป็นอกัปปิยะท่านไม่ควรลิ้ม สิ่งเป็นกัปปิยะท่านควรดื่ม สิ่งเป็นอกัปปิยะท่านไม่ควรดื่ม ท่านควรเคี้ยวกินในกาล ท่านไม่ควรเคี้ยวกินในวิกาล ท่านควรฉันในกาล ท่านไม่ควรฉันในวิกาล ท่านควรลิ้มในกาล ท่านไม่ควรลิ้มในวิกาล ท่านควรดื่มในกาล ท่านไม่ควรดื่มในวิกาล ดังนี้.

กุลบุตรนั้นย่อมมีความดําริอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเราเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาจะเคี้ยวกินสิ่งใดก็เคี้ยวกินสิ่งนั้นได้ ไม่ปรารถนาจะเคี้ยวกินสิ่งใด ก็ไม่เคี้ยวกินสิ่งนั้นได้

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 383

ปรารถนาจะบริโภคสิ่งใด ก็บริโภคสิ่งนั้นได้ ไม่ปรารถนาจะบริโภคสิ่งใด ก็ไม่บริโภคสิ่งนั้นได้ ปรารถนาจะลิ้มสิ่งใด ก็ลิ้มสิ่งนั้นได้ ไม่ปรารถนาจะลิ้มสิ่งใด ก็ไม่ลิ้มสิ่งนั้นได้ ปรารถนาจะดื่มสิ่งใด ก็ดื่มสิ่งนั้นได้ ไม่ปรารถนาจะดื่มสิ่งใด ก็ไม่ดื่มสิ่งนั้นได้ จะเคี้ยวกินสิ่งเป็นกัปปิยะก็ได้ จะเคี้ยวกินสิ่งเป็นอกัปปิยะก็ได้ จะบริโภคสิ่งเป็นกัปปิยะก็ได้ จะบริโภคสิ่งเป็นอกัปปิยะก็ได้ จะลิ้มสิ่งเป็นกัปปิยะก็ได้ จะลิ้มสิ่งเป็นอกัปปิยะก็ได้ จะดื่มสิ่งเป็นกัปปิยะก็ได้ จะดื่มสิ่งเป็นอกัปปิยะก็ได้ จะเคี้ยวกินในกาลก็ได้ จะเคี้ยวกินในวิกาลก็ได้ จะบริโภคในกาลก็ได้ จะบริโภคในวิกาลก็ได้ จะลิ้มในกาลก็ได้ จะลิ้มในวิกาลก็ได้ จะดื่มในกาลก็ได้ จะดื่มในวิกาลก็ได้.

ก็คฤหบดีทั้งหลาย ผู้มีศรัทธา ย่อมให้ของควรเคี้ยว ของควรบริโภคอันประณีตในวิกาลเวลากลางวัน อันใดแก่เราทั้งหลาย ชะรอยภิกษุเหล่านั้น จะทําการห้ามปากในสิ่งนั้นเสีย ดังนี้ เขาจึงบอกคืนสิกขาสึกไป.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้นี้เรากล่าวว่า กลัวแต่ภัยแต่จระเข้ บอกคืนสิกขาสึกไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คําว่าภัยแต่จระเข้นี้ เป็นชื่อของความเป็นผู้เห็นแก่ท้อง.

[๑๙๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภัยแต่น้ำวนเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรบางคนในโลกนี้ มีศรัทธาออกบวชเป็นบรรพชิต ด้วยคิดว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ครอบงําแล้ว เป็นผู้อันทุกข์ครอบงําแล้ว เป็นผู้อันทุกข์ท่วมทับแล้ว ทําไฉนการทําที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ จะพึงปรากฏได้.

เขาบวชแล้วอย่างนี้ เวลาเช้านุ่งสบงแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังบ้านหรือนิคม ไม่รักษากาย ไม่รักษาวาจา ไม่ดํารงสติ ไม่สํารวมอินทรีย์เลย เขาเห็นคฤหบดีหรือบุตรคฤหบดี ผู้เอิบอิ่มพร้อมพรั่งบําเรออยู่ด้วยกามคุณห้า ในบ้านหรือนิคมนั้น เขามีความคิดอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเราเป็นคฤหัสถ์ เป็นผู้เอิบอิ่มพร้อมพรั่งบําเรอ

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 384

อยู่ด้วยกามคุณห้า สมบัติก็มีอยู่ในสกุล เราสามารถจะบริโภคสมบัติและทําบุญได้ ดังนี้ เขาจึงบอกคืนสิกขาสึกไป.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้นี้เรากล่าวว่า ผู้กลัวแต่ภัยแต่น้ำวน บอกคืนสิกขาสึกไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คําว่าภัยแต่น้ำวนนี้ เป็นชื่อแห่งกามคุณห้า.

[๑๙๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภัยแต่ปลาร้ายเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรบางคนในโลกนี้ มีศรัทธาออกบวชเป็นบรรพชิต ด้วยคิดว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ครอบงําแล้ว เป็นผู้อันทุกข์ครอบงําแล้ว เป็นผู้อันทุกข์ท่วมทับแล้ว ทําไฉน การทําที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ จะพึงปรากฏได้.

เขาบวชแล้วอย่างนี้ เวลาเช้านุ่งสบงแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังบ้านหรือนิคม ไม่รักษากาย ไม่รักษาวาจา ไม่ดํารงสติ ไม่สํารวมอินทรีย์เลย เขาย่อมเห็นมาตุคามผู้นุ่งผ้าไม่ดี หรือห่มผ้าไม่ดี ในบ้านหรือนิคมนั้น เพราะเหตุมาตุคามผู้นุ่งผ้าไม่ดี หรือห่มผ้าไม่ดี ความกําหนัด ย่อมตามกําจัดจิตของกุลบุตรนั้น เขามีจิตอันความกําหนัดตามกําจัดแล้ว จึงบอกคืนสิกขาสึกไป.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้นี้เรากล่าวว่า กลัวแต่ภัยแต่ปลาร้าย บอกคืนสิกขาสึกไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คําว่าภัยแต่ปลาร้าย นี้เป็นชื่อแห่งมาตุคาม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัย ๔ อย่างนี้แล เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้ ออกบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยนี้ พึงหวังได้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วแล.

จบจาตุมสูตรที่ ๗

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 385

๗. อรรถกถาจาตุมสูตร

จาตุมสูตร มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.

ในบรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จาตุมายํ คือ ใกล้บ้านจาตุมา.

บทว่า ปฺจมตฺตานิ ภิกฺขุสตานิ คือ ภิกษุบวชไม่นานประมาณ ๕๐๐ รูป.

นัยว่าพระเถระทั้งสองคิดว่า กุลบุตรเหล่านี้ บวชแล้ว ไม่เคยเห็นพระทศพลเลย เราจักให้ภิกษุเหล่านี้เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า. ภิกษุเหล่านี้ฟังธรรมในสํานักของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จักตั้งอยู่ตามอุปนิสัยของตน. เพราะฉะนั้น พระเถระทั้งสองจึงพาภิกษุเหล่านั้นมา.

บทว่า สมฺโมทมานา ปราศรัยกัน คือ ภิกษุทั้งหลาย กล่าวคําต้อนรับเป็นต้นว่า อาวุโส สบายดีหรือ.

บทว่า เสนาสนานิ ปฺาปยมานา จัดเสนาสนะ คือ กวาดถูที่อยู่ของอาจารย์และอุปัชฌาย์ของตนๆ แล้วเปิดประตูหน้าต่าง นําเตียงตั่งและเสื่อลําแพนเป็นต้น ออกปัดกวาดตั้งไว้ในที่ตามลําดับ.

บทว่า ปตฺตจีวรานิ ปฏิสามยมานา เก็บบาตรและจีวร คือ คอยบอกกล่าวถึงสมณบริขารอย่างนี้ว่า ท่านขอรับ ท่านจงวางบาตรนี้ จีวรนี้ ถาดนี้ คนโทน้ำนี้ ไม้ถือนี้.

บทว่า อุจฺจาสทฺทา มหาสทฺทา เสียงสูงเสียงดัง คือ ทําเสียงเอะอะเอ็ดตะโรเพราะขึ้นเสียงสูง เพราะแผดเสียงดัง.

บทว่า เกวฏฺฏา มฺเ มจฺฉํ วิโลเปนฺติ ราวกะชาวประมงแย่งปลากัน คือ หมู่ชนประชุมกันในที่ที่ชาวประมงวางกระจาดใส่ปลาไว้กล่าวว่า ท่านจงให้ปลาอื่นตัวหนึ่ง จงให้ปลาที่เชือดตัวหนึ่ง แล้วส่งเสียงเอ็ดตะโรลั่นว่า คนนั้นท่านให้ตัวใหญ่ ทีฉันให้ตัวเล็ก ดังนี้.

ท่านกล่าวดังนี้หมายถึงการที่ภิกษุเถียงกันนั้น. เมื่อวางตาข่ายเพื่อจะจับปลา ชาวประมงและคนอื่นๆ ในที่นั้นส่งเสียงดังว่า ปลาเข้าไปแล้ว โดยปลายังไม่เข้าไป จับได้ปลาแล้ว โดยยังจับปลา

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 386

ไม่ได้. ท่านกล่าวดังนี้หมายถึงการที่ชาวประมงส่งเสียงดังนั้น.

บทว่า ปณาเมมิ เราประณาม คือ ขับไล่ออกไป.

บทว่า น โว มม สนฺติเก วตฺถพฺพํ พวกเธอไม่ควรอยู่ในสํานักเรา.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า พวกเธอมาถึงที่อยู่ของพระพุทธเจ้าเช่นเราแล้วยังทําเสียงดังถึงอย่างนี้ เมื่อพวกเธออยู่ตามลําพังของตนๆ จักทําความสมควรได้อย่างไร. พวกเช่นท่านไม่มีกิจที่จะอยู่ในสํานักของเรา.

บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุแม้รูปหนึ่งก็ไม่อาจทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์อย่าทรงประณามพวกข้าพระพุทธเจ้าด้วยเหตุเพียงเสียงดังเลยพระเจ้าข้า หรือคําไรๆ อื่น.

ภิกษุทั้งหมดรับพระพุทธดํารัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว กราบทูลว่า อย่างนั้นพระพุทธเจ้าข้า แล้วก็พากันออกไป.

อนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นได้มีความหวังว่า เราจักเฝ้าพระศาสดา จักฟังพระธรรมกถา จักอยู่ในสํานักของพระศาสดา ดังนี้ จึงได้มา. แต่ครั้นมาเฝ้าพระศาสดาผู้เป็นพระบรมครูเห็นปานนี้แล้ว ยังทําเสียงดัง เป็นความผิดของพวกเรา จึงถูกประณาม. เราไม่ได้เพื่อจะอยู่ในสํานักของพระผู้มีพระภาคเจ้า. ไม่ได้เพื่อจะเห็นพระสรีระสีดังทอง. ไม่ได้เพื่อจะฟังธรรมด้วยพระสุรเสียงอันไพเราะดังนี้. ภิกษุเหล่านั้นมีความโทมนัสอย่างแรง จึงพากันหลีกไป.

บทว่า เตนูปปสงฺกมิํสุ เสด็จเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้น คือ นัยว่าเจ้าศากยะเหล่านั้น แม้ในเวลาที่ภิกษุมาก็ประทับนั่งอยู่ ณ ที่นั้น ทรงเห็นภิกษุทั้งหลาย. เจ้าศากยะทั้งหลายได้มีพระวิตก จึงทรงดําริว่า เพราะอะไรหนอ ภิกษุเหล่านี้เข้าไปแล้วจึงพากันกลับ เราจักรู้เหตุนั้น จึงเสด็จเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้น.

บทว่า หนฺท เป็นนิบาตลงในอรรถแห่งคําพูด.

บทว่า กหํ ปน ตุมฺเห พระคุณเจ้าทั้งหลายจะไปไหนกัน คือ พระคุณเจ้าทั้งหลายมาประเดี๋ยวเดียวจะ

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 387

พากันไปไหนอีก อันตรายไรๆ เกิดแก่พระคุณเจ้าหรือ หรือว่าเกิดแก่พระทศพล.

ก็ภิกษุเหล่านั้นแม้จะไม่ปกปิดด้วยคําอย่างนี้ว่า ถวายพระพร อาตมาทั้งหลายมาเพื่อเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า บัดนี้ พวกอาตมาได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จะกลับไปที่อยู่ของตนๆ ก็จริง แต่ไม่ได้ทําเลศนัยเห็นปานนี้ ได้ทูลตามความเป็นจริงแล้วกล่าวว่า ถวายพระพร ภิกษุสงฆ์ถูกพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประณาม ดังนี้.

อนึ่ง พระราชาเหล่านั้นทรงขวนขวายในพระศาสนา. เพราะฉะนั้นจึงทรงดําริว่า เมื่อภิกษุ ๕๐๐ รูป กับพระอัครสาวกทั้งสองไปกันหมด บาทมูลของพระผู้มีพระภาคเจ้าจักทําลาย. เราจักทําให้ภิกษุเหล่านี้กลับให้จงได้.

ครั้นทรงดําริอย่างนี้แล้วจึงตรัสคํามีอาทิว่า เตนหายสฺมนฺโต ถ้าเช่นนั้นขอพระคุณเจ้าทั้งหลายอยู่ครู่หนึ่ง.

บรรดาภิกษุแม้เหล่านั้นไม่มีภิกษุแม้แต่รูปเดียวที่จะเดือดร้อนใจว่าเราถูกประณามด้วยเหตุเพียงทําเสียงดัง. เราบวชแล้วไม่สามารถจะดํารงชีวิตอยู่ได้. แต่ภิกษุทั้งหมดรับพระดํารัสพร้อมกัน.

บทว่า อภินนฺทตุ คือ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารถนาการมาของภิกษุสงฆ์ ขอจงชื่นชมเถิด.

บทว่า อภิวทตุ คือ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยพระกรุณารับสั่งว่า ขอภิกษุสงฆ์จงมาเถิด.

บทว่า อนุคฺคหิโต ขอทรงอนุเคราะห์ คือ ทรงอนุเคราะห์ด้วยอามิสและธรรม.

บทว่า อฺถตฺตํ คือ พึงถึงความน้อยใจว่าเราไม่ได้เห็นพระทศพล.

บทว่า วิปริณาโม มีความแปรปรวน คือ เมื่อภิกษุสึกด้วยความน้อยใจพึงถึงความแปรปรวน.

บทว่า วีชานํ ตรุณานํ เหมือนพืชที่ยังอ่อน คือ ข้าวกล้าอ่อน.

บทว่า สิยา อฺถตฺตํ พึงเป็นอย่างอื่น คือ พืชที่ยังอ่อนเมื่อไม่ได้น้ำในเวลาที่ถึงคราวให้น้ำ พึงถึงความเป็นอย่างอื่นเพราะความเหี่ยว. พึงแปรปรวนเพราะถึงความแห้งเหี่ยว. ลูกวัวซูบผอมเพราะหิวนมชื่อว่าถึงความเป็นอย่างอื่น. ลูกวัวซูบผอมตาย ชื่อว่า ความแปรปรวน.

บทว่า

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 388

ปสาทิโต ภควา พระผู้มีพระภาคเจ้าอันเจ้าศากยะและท้าวสหัมบดีพรหมทรงให้เลื่อมใสแล้ว.

นัยว่าพระเถระนั่งอยู่ ณ ที่นั้น ได้เห็นพรหมมาด้วยทิพยจักษุ ได้ยินเสียงทูลวิงวอนด้วยทิพโสต. ได้ทราบความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเลื่อมใสแล้วด้วยเจโตปริยญาณ. เพราะฉะนั้น การส่งภิกษุไรๆ ไปจะไม่เป็นที่สบายแก่ภิกษุผู้ถูกเรียกจึงตั้งใจว่า เราจักไปจนกว่าพระศาสดาจะไม่ทรงส่งไป จึงกล่าวอย่างนี้.

บทว่า อปฺโปสฺสุกฺโก เป็นผู้มีความขวนขวายน้อย คือ เป็นผู้ไม่ขวนขวายในกิจอย่างอื่น.

บทว่า ทิฏธมฺมสุขวิหารํ ธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม.

พระผู้มีพระภาคเจ้าคงจะทรงขวนขวายธรรมเป็นเครื่องอยู่ คือ ผลสมาบัติ มีพระประสงค์จะประทับอยู่. บัดนี้พระองค์จักประทับอยู่ตามชอบใจ พระมหาโมคคัลลานเถระจึงกล่าวว่า จิตของข้าพระองค์ได้เป็นอย่างนี้.

บทว่า มยมฺปิทานิ คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เราสั่งสอนผู้อื่น ไล่ออกจากวิหาร. ประโยชน์อะไรด้วยโอวาทของผู้อื่นแก่เรา. บัดนี้แม้เราก็จักอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม. พระเถระผิดในฐานะนี้มิได้รู้ว่าเป็นภาระของตน. เพราะภิกษุสงฆ์นี้เป็นภาระของพระมหาเถระแม้ทั้งสอง.

ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงห้ามพระสารีบุตรนั้น จึงตรัสบทมีอาทิว่า อาคเมหิ เธอจงรอก่อน. ส่วนพระมหาโมคคัลลานเถระได้ทราบว่าเป็นภาระของตน. ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ทรงประทานสาธุการแก่พระมหาโมคคัลลานเถระนั้น.

บทว่า จตฺตารีมานิ ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัย ๔ อย่างนี้

เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงปรารภขึ้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภเทศนานี้ขึ้น เพื่อทรงแสดงว่าในศาสนานี้มีภัยอยู่ ๔ อย่าง. ผู้ใดไม่กลัวภัยเหล่านั้น ผู้นั้นสามารถดํารงอยู่ในศาสนานี้ได้ ส่วนพวกอื่นนอกนี้ไม่สามารถ.

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 389

ในบทเหล่านั้นบทว่า อุทโกโรหนฺเต คือ เมื่อบุคคลกําลังลงน้ำ.

บทว่า กุมฺภีลภยํ ได้แก่ ภัยแต่จระเข้.

บทว่า สุสุกภยํ ได้แก่ ภัยแต่ปลาร้าย.

บทว่า อุมฺมิภยํ ภัยแต่คลื่นนี้ เป็นชื่อของความโกรธและความแค้น.

เหมือนอย่างว่าบุคคลหยั่งลงสู่น้ำในภายนอก จมน้ำในคลื่นแล้วตายฉันใด ภิกษุในศาสนานี้ จมลงในความโกรธและความแค้น แล้วสึกก็ฉันนั้น.

เพราะฉะนั้นความโกรธและความแค้นท่านกล่าวว่า ภัยแต่คลื่น.

บทว่า กุมฺภีลภยํ ภัยแต่จระเข้นี้เป็นชื่อของความเห็นแก่ท้อง.

เหมือนอย่างว่าบุคคลหยั่งลงสู่น้ำภายนอกถูกจระเข้กัดตายฉันใด ภิกษุในศาสนานี้ก็ฉันนั้น กินเพราะเห็นแก่ท้องย่อมสึก.

เพราะฉะนั้นความเห็นแก่ท้องท่านกล่าวว่า ภัยแต่จระเข้.

บทว่า อรกฺขิเตน กาเยน ไม่รักษากาย คือ ไม่รักษากายด้วยการสั่นศีรษะเป็นต้น.

บทว่า อรกฺขิตาย วาจาย ไม่รักษาวาจา คือ ไม่รักษา ด้วยพูดคําหยาบเป็นต้น.

บทว่า อนุปติฏิตาย สติยา ไม่ตั้งสติมั่น คือ ไม่ตั้งสติเป็นไปในกาย.

บทว่า อสํวุเตหิ ไม่สํารวม คือ ไม่ปกปิด.

คําว่า ปฺจนฺเนตํ กามคุณานํ อธิวจนํ ความว่า บรรพชิตในศาสนานี้ จมลงในกระแสน้ำวนของกามคุณ ๕ แล้ว สึกออกไป ก็เหมือนกับบุคคลข้ามน้ำเพื่อไปฝังโน้น ครั้นดําลงในกระแสน้ำวนแล้ว ก็จมตายฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงตรัสว่า ภัยแต่น้ำวนคือกามคุณ ๕.

บทว่า อนุทฺธํเสติ ย่อมตามกําจัด คือ ทําให้ลําบาก ทําให้หดหู่.

บทว่า ราคานุทฺธํเสน คือ มีจิตอันความกําหนัดกําจัดแล้ว.

คําว่า มาตุคามสฺเสตํ อธิวจนํ ความว่า ภัยเพราะปลาร้าย นี้เป็นชื่อของมาตุคาม.

เหมือนอย่างว่าบุคคลหยั่งลงสู่น้ำภายนอก ได้รับการประหารตายเพราะอาศัยปลาร้ายฉันใด ภิกษุในศาสนานี้ก็ฉันนั้น เกิดกามราคะอาศัยมาตุคามสึก.

เพราะฉะนั้นมาตุคามท่านจึงกล่าวว่า ภัยแต่ปลาร้าย.

เมื่อบุคคลกลัวภัย ๔ อย่างนี้แล้วไม่หยั่งลงสู่น้ำ ก็จะไม่ได้

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 390

รับผลร้ายเพราะอาศัยน้ำ เป็นผู้กระหายเพราะอยากน้ำ และเป็นผู้มีร่างกายเศร้าหมอง เพราะฝุ่นละอองฉันใด. เมื่อภิกษุกลัวภัย ๔ อย่างเหล่านี้แล้ว แม้ไม่บวชในศาสนา ก็ไม่ได้รับผลดีเพราะอาศัยศาสนา เป็นผู้กระหาย เพราะความอยาก คือ ตัณหา และเป็นผู้มีจิตเศร้าหมอง ด้วยธุลี คือ กิเลส ฉันนั้น.

หรือว่าเมื่อบุคคลไม่กลัวภัย ๔ อย่างเหล่านี้ แล้วหยั่งลงสู่น้ำย่อมมีผลดังกล่าวแล้ว ฉันใด. เมื่อภิกษุไม่กลัวภัย ๔ อย่างนี้แล้ว แม้บวชในศาสนา ก็ย่อมมีอานิสงส์ดังกล่าวแล้ว.

อนึ่ง พระเถระกล่าวว่า บุคคลกลัวภัย ๔ อย่างแล้วไม่หยั่งลงสู่น้ำก็ไม่สามารถจะตัดกระแสข้ามถึงฝังโน้นได้. ครั้นไม่กลัว หยั่งลง ก็สามารถข้ามไปได้ฉันใด. ครั้นเขากลัวแล้ว แม้บวชในศาสนา ก็ไม่สามารถตัดกระแสตัณหาแล้วเห็นฝัง คือ นิพพานได้. ครั้นไม่กลัว ออกบวชจึงสามารถ ดังนี้.

บทที่เหลือในที่ทั้งปวงง่ายทั้งนั้น.

อนึ่ง เทศนานี้จบลงด้วยอํานาจแห่งบุคคลผู้ควรแนะนําได้ ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาจาตุมสูตรที่ ๗