พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. นฬกปานสูตร กุลบุตรผู้มีชื่อเสียงบวช

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 ส.ค. 2564
หมายเลข  36073
อ่าน  421

[เล่มที่ 20] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 391

๘. นฬกปานสูตร

กุลบุตรผู้มีชื่อเสียงบวช


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 20]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 391

๘. นฬกปานสูตร

กุลบุตรผู้มีชื่อเสียงบวช

[๑๙๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในป่าไม้ทองกวาว เขตบ้านนฬกปานะ ในโกศลชนบท ก็สมัยนั้น กุลบุตรมีชื่อเสียงมากด้วยกัน คือ ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระภัททิยะ ท่านพระกิมพิละ ท่านพระภัคคุ ท่านพระโกณฑัญญะ ท่านพระเรวตะ ท่านพระอานนท์ และกุลบุตรที่มีชื่อเสียงอื่นๆ มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตอุทิศเฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ามีหมู่ภิกษุแวดล้อมประทับนั่งอยู่ในที่แจ้ง. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภกุลบุตรทั้งหลาย ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต อุทิศเฉพาะเราเหล่านั้น ยังยินดีในพรหมจรรย์อยู่หรือ ภิกษุเหล่านั้นได้พากันนิ่งอยู่ แม้ครั้งที่สอง... แม้ครั้งที่สาม... พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงปรารภกุลบุตรทั้งหลาย ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต อุทิศเฉพาะเราเหล่านั้น ยังยินดีในพรหมจรรย์อยู่หรือ แม้ครั้งที่สาม ภิกษุเหล่านั้นก็ได้พากันนิ่งอยู่.

[๑๙๖] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงพระดําริอย่างนี้ว่า อย่ากระนั้นเลย เราพึงถามกุลบุตรเหล่านั้นเองเถิด ครั้นแล้วได้ตรัสเรียกท่านพระอนุรุทธะมาว่า ดูก่อนอนุรุทธะ ภัททิยะ กิมพิละ ภัคคุ โกณฑัญญะ เรวตะ และอานนท์ เธอทั้งหลายยังยินดีในพรหมจรรย์อยู่หรือ.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 392

ท่านพระอนุรุทธะเป็นต้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายยังยินดีในการประพฤติพรหมจรรย์.

ดูก่อนอนุรุทธะทั้งหลาย ดีละๆ ข้อที่เธอทั้งหลายยินดีในการประพฤติพรหมจรรย์นี้แล เป็นการสมควรแก่เธอทั้งหลายผู้เป็นกุลบุตรออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา เธอทั้งหลายประกอบด้วยปฐมวัย กําลังเจริญเป็นหนุ่มแน่น ผมดําสนิท ควรบริโภคกาม ยังออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตได้ ก็เธอทั้งหลายนั้น มิใช่ผู้ทําความผิดต่อพระราชา มิใช่ผู้ถูกโจรคอยตามจับ มิใช่ผู้อันหนี้บีบคั้น มิใช่ผู้เดือดร้อนเพราะภัย และมิใช่ผู้ถูกอาชีพบีบคั้นแล้ว จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เธอทั้งหลายออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเพราะศรัทธา ด้วยความคิดอย่างนี้ว่า เออ ก็เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ครอบงําแล้ว เป็นผู้อันทุกข์ครอบงําแล้ว เป็นผู้อันทุกข์ท่วมทับแล้ว ทําไฉน การทําที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ จะพึงปรากฏได้ ดังนี้ มิใช่หรือ.

อย่างนี้ พระเจ้าข้า.

ดูก่อนอนุรุทธะทั้งหลาย ก็กิจอะไรเล่า ที่กุลบุตรผู้บวชอย่างนี้แล้วพึงทํา ดูก่อนอนุรุทธะทั้งหลาย บุคคลยังไม่เป็นผู้สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปีติและสุข หรือสุขอื่นที่สงบกว่านั้น แม้อภิชฌา พยาบาท ถีนมิทธะ วิจิกิจฉา อุทธัจจกุกกุจจะ อรติ ความเป็นผู้เกียจคร้าน ย่อมครอบงําจิตของบุคคลนั้นตั้งอยู่ได้ บุคคลนั้นก็หาสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปีติและสุขหรือสุขอื่นที่สงบกว่านั้นไม่ ดูก่อนอนุรุทธะทั้งหลาย บุคคลใดเป็นผู้สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปีติและสุข หรือสุขอื่นที่สงบกว่านั้นได้ แม้อภิชฌา พยาบาท ถีนมิทธะ วิจิกิจฉา อุทธัจจกุกกุจจะ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 393

อรติ แม้ความเป็นผู้เกียจคร้าน ก็ไม่ครอบงําจิตของบุคคลนั้นตั้งอยู่ได้ บุคคลนั้นก็สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปีติและสุข หรือสุขอื่นที่สงบกว่านั้นได้.

ว่าด้วยอาสวะ

[๑๙๗] ดูก่อนอนุรุทธะทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะว่ากระไรในเราว่า อาสวะเหล่าใด นํามาซึ่งความเศร้าหมอง นํามาซึ่งภพใหม่ เป็นไปกับด้วยความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งความเกิดความแก่และความตายต่อไป อาสวะเหล่านั้น ตถาคตยังละไม่ได้ เพราะเหตุนั้น ตถาคตพิจารณาแล้วจึงเสพของบางอย่าง พิจารณาแล้วจึงอดกลั้นของบางอย่าง พิจารณาแล้วจึงเว้นของบางอย่าง พิจารณาแล้วจึงบรรเทาของบางอย่าง.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายมิได้ว่าอะไรในพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า อาสวะเหล่าใด อันนํามาซึ่งความเศร้าหมอง นํามาซึ่งภพใหม่ เป็นไปกับด้วยความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งความเกิด ความแก่ และความตายต่อไป อาสวะเหล่านั้น พระตถาคตยังละไม่ได้ เพราะเหตุนั้น พระตถาคตพิจารณาแล้วจึงเสพของบางอย่าง พิจารณาแล้วจึงอดกลั้นของบางอย่าง พิจารณาแล้วจึงเว้นของบางอย่าง พิจารณาแล้วจึงบรรเทาของบางอย่าง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายได้กล่าวในพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า อาสวะเหล่าใด นํามาซึ่งความเศร้าหมอง นํามาซึ่งภพใหม่ เป็นไปกับด้วยความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งความเกิด ความแก่ และความตายต่อไป อาสวะเหล่านั้น พระตถาคตละได้แล้ว เพราะเหตุนั้น พระตถาคตพิจารณาแล้วจึงเสพของบางอย่าง พิจารณา

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 394

แล้วจึงอดกลั้นของบางอย่าง พิจารณาแล้วจึงเว้นของบางอย่าง พิจารณาแล้วจึงบรรเทาของบางอย่าง ดังนี้.

ดีละๆ อนุรุทธะทั้งหลาย อาสวะเหล่าใด นํามาซึ่งความเศร้าหมอง นํามาซึ่งภพใหม่ เป็นไปกับด้วยความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งความเกิด ความแก่ และความตายต่อไป อาสวะเหล่านั้น ตถาคตละได้แล้ว มีมูลอันขาดแล้ว ทําให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา ดูก่อนอนุรุทธะทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นตาลยอดด้วน ไม่ควรจะงอกอีกได้ฉันใด อาสวะทั้งหลายอันนํามาซึ่งความเศร้าหมอง นํามาซึ่งภพใหม่ เป็นไปกับด้วยความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งความเกิด ความแก่ และความตายต่อไป ก็ฉันนั้น ตถาคตละได้แล้ว มีมูลอันขาดแล้ว ทําให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น ตถาคตพิจารณาแล้วจึงเสพของบางอย่าง พิจารณาแล้วจึงอดกลั้นของบางอย่าง พิจารณาแล้วจึงเว้นของบางอย่าง พิจารณาแล้วจึงบรรเทาของบางอย่าง.

[๑๙๘] ดูก่อนอนุรุทธะทั้งหลาย เธอจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ตถาคตเห็นอํานาจประโยชน์อะไรอยู่ จึงพยากรณ์สาวกทั้งหลายผู้ทํากาละล่วงลับไปแล้ว ในภพที่เกิดทั้งหลายว่า สาวกชื่อโน้นเกิดในภพโน้น สาวกชื่อโน้นเกิดในภพโน้น ดังนี้.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นมูล มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นแบบแผน มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นที่พึ่งพาอาศัย ดีละ พระเจ้าข้า ขอเนื้อความแห่งภาษิตนี้จงแจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จักทรงจําไว้.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 395

ดูก่อนอนุรุทธะทั้งหลาย ตถาคตจะพยากรณ์สาวกทั้งหลายผู้ทํากาละล่วงลับไปแล้ว ในภพที่เกิดทั้งหลายว่า สาวกชื่อโน้นเกิดในภพโน้น สาวกชื่อโน้นเกิดในภพโน้น ดังนี้ เพื่อให้คนพิศวงก็หามิได้ เพื่อเกลี้ยกล่อมคนก็หามิได้ เพื่ออานิสงส์คือลาภสักการะและความสรรเสริญก็หามิได้ ด้วยความประสงค์ว่า คนจงรู้จักเราด้วยเหตุนี้ก็หามิได้ ดูก่อนอนุรุทธะทั้งหลาย กุลบุตรผู้มีศรัทธา มีความยินดีมาก มีความปราโมทย์มาก มีอยู่ กุลบุตรเหล่านั้นได้ฟังคําพยากรณ์นั้นแล้ว จะน้อมจิตเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้นบ้าง ข้อนั้นจะมีเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่กุลบุตรเหล่านั้นสิ้นกาลนาน.

ความอยู่ผาสุกของภิกษุ

[๑๙๙] ดูก่อนอนุรุทธะทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้ฟังว่า ภิกษุชื่อนี้ทํากาละแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ว่า ดํารงอยู่ในอรหัตผล ก็ท่านนั้นเป็นผู้อันภิกษุนั้นได้เห็นเองหรือได้ยินมาว่า ท่านนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้มีธรรมอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้พ้นวิเศษแล้วอย่างนี้บ้าง ภิกษุนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของภิกษุนั้น จะน้อมจิตเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้นบ้าง ดูก่อนอนุรุทธะทั้งหลาย ความอยู่สําราญย่อมมีได้แก่ภิกษุ แม้ด้วยประการฉะนี้แล.

ดูก่อนอนุรุทธะทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้ฟังว่า ภิกษุชื่อนี้ทํากาละแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ว่า เป็นผู้ผุดเกิดขึ้น จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้าสิ้นไป ก็ท่านนั้นเป็นผู้อันภิกษุนั้นได้เห็นเองหรือได้ยินมาว่า ท่านนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้มีธรรมอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้มีปัญญา

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 396

อย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้พ้นวิเศษแล้วอย่างนี้บ้าง ภิกษุนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของภิกษุนั้น จะน้อมจิตเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้นบ้าง.

ดูก่อนอนุรุทธะทั้งหลาย ความอยู่สุขสําราญย่อมมีได้แก่ภิกษุ แม้ด้วยประการฉะนี้แล ดูก่อนอนุรุทธะทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้ฟังว่า ภิกษุชื่อนี้ทํากาละแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ว่า เป็นพระสกทาคามี จักมายังโลกนี้คราวเดียวเท่านั้น แล้วทําที่สุดทุกข์ได้ เพราะสังโยชน์สามสิ้นไป และเพราะราคะ โทสะ และโมหะ เบาบาง ก็ท่านนั้นเป็นผู้อันภิกษุนั้นได้เห็นเอง หรือได้ยินมาว่า ท่านนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้มีธรรมอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้พ้นวิเศษแล้วอย่างนี้บ้าง ภิกษุนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของภิกษุนั้น จะน้อมจิตเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้นบ้าง ดูก่อนอนุรุทธะทั้งหลาย ความอยู่สําราญย่อมมีได้แก่ภิกษุ แม้ด้วยประการฉะนี้แล.

ดูก่อนอนุรุทธะทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้ฟังว่า ภิกษุชื่อนี้ทํากาละแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ว่า เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ําเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง มีอันจะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า เพราะสังโยชน์สามสิ้นไป ถ้าท่านนั้นเป็นผู้อันภิกษุนั้นได้เห็นเองหรือได้ยินมาว่า ท่านนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้มีธรรมอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้บ้าง ภิกษุนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของภิกษุนั้น จะน้อมจิตเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้นบ้าง ดูก่อนอนุรุทธะทั้งหลาย ความอยู่สําราญย่อมมีได้แก่ภิกษุ แม้ด้วยประการฉะนี้แล.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 397

ความอยู่ผาสุกของภิกษุณี

[๒๐๐] ดูก่อนอนุรุทธะทั้งหลาย ภิกษุณีในธรรมวินัยนี้ได้ฟังว่า ภิกษุณีชื่อนี้ทํากาละแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ว่า ดํารงอยู่ในอรหัตผล ก็น้องหญิงนั้นเป็นผู้อันภิกษุณีนั้นได้เห็นเอง หรือได้ยินมาว่า น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้บ้าง ว่าน้องหญิงนั้นเป็นผู้มีธรรมอย่างนี้บ้าง ว่าน้องหญิงนั้นเป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้บ้าง ว่าน้องหญิงนั้นเป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้บ้าง ว่าน้องหญิงนั้นเป็นผู้พ้นวิเศษแล้วอย่างนี้บ้าง ภิกษุณีนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของภิกษุณีนั้นจะน้อมจิตเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้นบ้าง.

ดูก่อนอนุรุทธะทั้งหลาย ความอยู่สําราญย่อมมีได้แก่ภิกษุณี แม้ด้วยประการฉะนี้แล ดูก่อนอนุรุทธะทั้งหลาย ภิกษุณีในธรรมวินัยนี้ได้ฟังมาว่า ภิกษุณีชื่อนี้ทํากาละแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ว่า เป็นผู้ผุดเกิดขึ้น จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้าสิ้นไป ก็น้องหญิงนั้นเป็นผู้อันภิกษุณีนั้นได้เห็นเองหรือได้ยินมาว่า น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้บ้าง ว่าน้องหญิงนั้นเป็นผู้มีธรรมอย่างนี้บ้าง ว่าน้องหญิงนั้นเป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้บ้าง ว่าน้องหญิงนั้นเป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้บ้าง ว่าน้องหญิงนั้นเป็นผู้พ้นวิเศษแล้วอย่างนี้บ้าง ภิกษุณีนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของภิกษุณีนั้น จะน้อมจิตเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้นบ้าง ดูก่อนอนุรุทธะทั้งหลาย ความอยู่สําราญย่อมมีได้แก่ภิกษุณี แม้ด้วยประการฉะนี้แล.

ดูก่อนอนุรุทธะทั้งหลาย ภิกษุณีในธรรมวินัยนี้ได้ฟังมาว่า ภิกษุณีชื่อนี้ทํากาละแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ว่าเป็นพระสกทาคามี จักกลับมายังโลกนี้เพียงคราวเดียว แล้วทําที่สุดทุกข์ได้ เพราะสังโยชน์สามสิ้นไป เพราะราคะ โทสะ โมหะ เบาบาง ก็น้องหญิงนั้น

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 398

เป็นผู้อันภิกษุณีนั้นได้เห็นเองหรือได้ยินมาว่า น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้บ้าง ว่าน้องหญิงนั้นเป็นผู้มีธรรมอย่างนี้บ้าง ว่าน้องหญิงนั้นเป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้บ้าง ว่าน้องหญิงนั้นเป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้บ้าง ว่าน้องหญิงนั้นเป็นผู้พ้นวิเศษแล้วอย่างนี้บ้าง ภิกษุณีนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของภิกษุณีนั้น จะน้อมจิตเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้นบ้าง.

ดูก่อนอนุรุทธะทั้งหลาย ความอยู่สําราญย่อมมีได้แก่ภิกษุณี แม้ด้วยประการฉะนี้ ดูก่อนอนุรุทธะทั้งหลาย ภิกษุณีในธรรมวินัยนี้ได้ฟังมาว่า ภิกษุณีชื่อนี้ทํากาละแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ว่า เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ําเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง มีอันจะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า เพราะสังโยชน์สามสิ้นไป ก็น้องหญิงนั้นเป็นผู้อันภิกษุณีนั้นได้เห็นเองหรือได้ยินมาว่า น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้บ้าง ว่าน้องหญิงนั้นเป็นผู้มีธรรมอย่างนี้บ้าง ว่าน้องหญิงเป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้บ้าง ว่าน้องหญิงนั้นเป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้บ้าง ว่าน้องหญิงนั้นเป็นผู้พ้นวิเศษแล้วอย่างนี้บ้าง ภิกษุณีนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของภิกษุณีนั้น จะน้อมจิตเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้นบ้าง ดูก่อนอนุรุทธะทั้งหลาย ความอยู่สําราญย่อมมีได้แก่ภิกษุณีแม้ด้วยประการฉะนี้แล.

ความอยู่ผาสุกของอุบาสก

[๒๐๑] ดูก่อนอนุรุทธะทั้งหลาย อุบาสกในธรรมวินัยนี้ได้ฟังมาว่า อุบาสกชื่อนี้ทํากาละแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ว่า เป็นผู้ผุดเกิดขึ้น จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้าสิ้นไป ก็ท่านนั้นเป็นผู้อันอุบาสกนั้นได้เห็นเองหรือได้ยินมาว่า

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 399

ท่านนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้มีธรรมอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้พ้นวิเศษแล้วอย่างนี้บ้าง อุบาสกนั้น เมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของอุบาสกนั้น จะน้อมจิตเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้นบ้าง ดูก่อนอนุรุทธะทั้งหลาย ความอยู่สําราญย่อมมีได้แก่อุบาสก แม้ด้วยประการฉะนี้.

ดูก่อนอนุรุทธะทั้งหลาย อุบาสกในธรรมวินัยนี้ได้ฟังมาว่า อุบาสกชื่อนี้ทํากาละแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ว่า เป็นพระสกทาคามี จักกลับมายังโลกนี้เพียงคราวเดียว แล้วทําที่สุดทุกข์ได้ เพราะสังโยชน์สามสิ้นไป เพราะราคะ โทสะ และโมหะ เบาบาง ก็ท่านนั้นเป็นผู้อันอุบาสกนั้นได้เห็นเองหรือได้ยินมาว่า ท่านนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้มีธรรมอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้พ้นวิเศษแล้วอย่างนี้บ้าง อุบาสกนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของอุบาสกนั้น จะน้อมจิตเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้นบ้าง.

ดูก่อนอนุรุทธะทั้งหลาย ความอยู่สําราญย่อมมีได้แก่อุบาสกแม้ด้วยประการฉะนี้แล ดูก่อนอนุรุทธะทั้งหลาย อุบาสกในธรรมวินัยนี้ได้ฟังมาว่า อุบาสกชื่อนี้ทํากาละแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ว่า เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ําเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง มีอันจะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า เพราะสังโยชน์สามสิ้นไป ก็ท่านนั้นเป็นผู้อันอุบาสกนั้นได้เห็นเองหรือได้ยินมาว่า ท่านนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้มีธรรมอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้พ้นวิเศษแล้วอย่างนี้บ้าง อุบาสกนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 400

และปัญญาของอุบาสกนั้น จะน้อมจิตเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้นบ้าง ดูก่อนอนุรุทธะทั้งหลาย ความอยู่สําราญย่อมมีได้แก่อุบาสก แม้ด้วยประการฉะนี้แล.

ความอยู่ผาสุกของอุบาสิกา

[๒๐๒] ดูก่อนอนุรุทธะทั้งหลาย อุบาสิกาในธรรมวินัยนี้ได้ฟังมาว่า อุบาสิกาชื่อนี้ทํากาละแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ว่า เป็นผู้ผุดเกิดขึ้น จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้าสิ้นไป ก็น้องหญิงนั้นเป็นผู้อันอุบาสิกานั้นได้เห็นเองหรือได้ยินมาว่า น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้บ้าง ว่าน้องหญิงนั้นเป็นผู้มีธรรมอย่างนี้บ้าง ว่าน้องหญิงนั้นเป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้บ้าง ว่าน้องหญิงนั้นเป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้บ้าง ว่าน้องหญิงนั้นเป็นผู้พ้นวิเศษแล้วอย่างนี้บ้าง อุบาสิกานั้น เมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของอุบาสิกานั้น จะน้อมจิตเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้นบ้าง ดูก่อนอนุรุทธะทั้งหลาย ความอยู่สําราญย่อมมีได้แก่อุบาสิกา แม้ด้วยประการฉะนี้แล.

ดูก่อนอนุรุทธะทั้งหลาย อุบาสิกาในธรรมวินัยนี้ได้ฟังมาว่า อุบาสิกาชื่อนี้ทํากาละแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ว่า เป็นพระสกทาคามี จักกลับมายังโลกนี้เพียงคราวเดียว แล้วทําที่สุดทุกข์ได้ เพราะสังโยชน์สามสิ้นไป เพราะราคะ โทสะ และโมหะ เบาบาง ก็น้องหญิงนั้นเป็นผู้อันอุบาสิกานั้นได้เห็นเองหรือได้ยินมาว่า น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้บ้าง ว่าน้องหญิงนั้นเป็นผู้มีธรรมอย่างนี้บ้าง ว่าน้องหญิงนั้นเป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้บ้าง ว่าน้องหญิงนั้นเป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้บ้าง ว่าน้องหญิงนั้นเป็นผู้พ้นวิเศษแล้วอย่างนี้บ้าง อุบาสิกานั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของอุบาสิกานั้น จะน้อมจิตเข้าไปเพื่อความเป็นอย่าง

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 401

นั้นบ้าง ดูก่อนอนุรุทธะทั้งหลาย ความอยู่สําราญย่อมมีได้แก่อุบาสิกา แม้ด้วยประการฉะนี้แล.

ดูก่อนอนุรุทธะทั้งหลาย อุบาสิกาในธรรมวินัยนี้ได้ฟังมาว่า อุบาสิกาชื่อนี้ทํากาละแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ว่า เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ําเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง มีอันจะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า เพราะสังโยชน์สามสิ้นไป ก็น้องหญิงนั้นเป็นผู้อันอุบาสิกานั้นได้เห็นเองหรือได้ยินมาว่า น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้บ้าง ว่าน้องหญิงนั้นเป็นผู้มีธรรมอย่างนี้บ้าง ว่าน้องหญิงนั้นเป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้บ้าง ว่าน้องหญิงนั้นเป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้บ้าง ว่าน้องหญิงนั้นเป็นผู้พ้นวิเศษแล้วอย่างนี้บ้าง อุบาสิกานั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของอุบาสิกานั้น จะน้อมจิตเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้นบ้าง ดูก่อนอนุรุทธะทั้งหลาย ความอยู่สําราญย่อมมีได้แก่อุบาสิกา แม้ด้วยประการฉะนี้แล.

ดูก่อนอนุรุทธะทั้งหลาย ตถาคตย่อมพยากรณ์สาวกทั้งหลายผู้ทํากาละไปแล้วในภพที่เกิดทั้งหลาย ว่าสาวกชื่อโน้นเกิดแล้วในภพโน้น สาวกชื่อโน้นเกิดแล้วในภพโน้น ดังนี้ เพื่อให้คนพิศวงก็หามิได้ เพื่อเกลี้ยกล่อมคนก็หามิได้ เพื่ออานิสงส์คือลาภสักการะและความสรรเสริญก็หามิได้ ด้วยความประสงค์ว่า คนจงรู้จักเราด้วยเหตุนี้ก็หามิได้ ดูก่อนอนุรุทธะทั้งหลาย กุลบุตรทั้งหลายผู้มีศรัทธา มีความยินดีมาก มีปราโมทย์มาก มีอยู่ กุลบุตรเหล่านั้นได้ฟังคําพยากรณ์นั้นแล้ว จะน้อมจิตเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้นบ้าง ข้อนั้นย่อมมีเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่กุลบุตรเหล่านั้นสิ้นกาลนาน.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระอนุรุทธะยินดีชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วแล.

จบนฬกปานสูตรที่ ๘

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 402

๘. อรรถกถานฬกปานสูตร

นฬกปานสูตร มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.

ในบรรดาบทเหล่านั้นบทว่า นฬกปาเน คือ ใกล้บ้านมีชื่ออย่างนี้.

มีเรื่องเล่าว่า เมื่อครั้งก่อนพระโพธิสัตว์อุบัติในกําเนิดวานรมีร่างกายใหญ่ เป็นพญาวานร มีวานรหลายพันเป็นบริวารเที่ยวไปที่เชิงภูเขา. พญาวานรมีบุญและมีปัญญามากสั่งสอนบริวารว่า นี่แน่เจ้าทั้งหลาย ที่เชิงภูเขานี้มีผลไม้เป็นพิษ. ชื่อว่าสระโบกขรณี ก็มีอมนุษย์หวงแหน. พวกเจ้าจงกินผลไม้เฉพาะที่เคยกินเท่านั้น. ดื่มน้ำเฉพาะที่เคยดื่ม. ในข้อนี้ไม่มีกิจที่พวกเจ้าจะต้องถามเรา อนึ่ง พวกเจ้ายังไม่ถามถึงผลไม้ที่ไม่เคยกิน น้ำที่ไม่เคยดื่มกะเราแล้วจงอย่ากิน อย่าดื่ม.

วันหนึ่งวานรเหล่านั้นเที่ยวหาอาหารไปถึงเชิงภูเขาแห่งหนึ่งตรวจดูน้ำดื่ม เห็นสระโบกขรณีมีอมนุษย์หวงแหนสระหนึ่ง จึงไม่รีบดื่ม นั่งล้อมอยู่โดยรอบ รอคอยมหาสัตว์มา.

มหาสัตว์มาแล้วถามว่า ทําไมพวกเจ้าไม่ดื่มน้ำกันเล่า. พวกวานรตอบว่ารอคอยท่านมาก่อน. พญาวานรกล่าวว่าดีแล้ว เจ้าทั้งหลาย แล้วสํารวจดูรอยเท้าได้เห็นแต่รอยเท้าลงเท่านั้นไม่เห็นรอยเท้าขึ้นเลย จึงได้รู้ว่ามีอันตราย.

ทันใดนั้นเองอมนุษย์ที่เกิด ณ สระนั้น ได้ยืนแยกน้ำออกเป็นสองข้าง. รากษสน้ำมีหน้าแดงท้องเขียว มือเท้าแดง เขี้ยวใหญ่ เท้าคด รูปร่างน่าเกลียด กล่าวว่า เพราะเหตุไรพวกเจ้าจึงไม่ดื่มน้ำเล่า น้ำอร่อย จงดื่มซิ พวกเจ้าเชื่อคําของพญาวานรนั้นหรือ.

มหาสัตว์ถามว่า เจ้าเป็นอมนุษย์สิงอยู่ในสระนี้หรือ. ยักษ์บอกว่า ถูกแล้วเราสิงอยู่ในสระนี้. มหาสัตว์ถามว่า ท่านจับผู้ที่ลงในสระนี้หรือ.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 403

ยักษ์ตอบว่า ถูกแล้วเราจักกินท่านทั้งหมด. มหาสัตว์พูดว่า ดูก่อนยักษ์ ท่านไม่อาจกินพวกเราได้ดอก. ยักษ์ถามว่า ก็พวกท่านจักดื่มน้ำหรือ. มหาสัตว์ตอบว่า ถูกแล้วเราจักดื่ม. ยักษ์กล่าวว่า เมื่อเป็นอย่างนั้นแม้ตัวเดียวก็จักไม่พ้นเราไปได้.

พญาวานรกล่าวว่า เราจักดื่มน้ำและจักไม่ไปสู่อํานาจของท่าน ดังนี้แล้วจึงให้วานรนําไม้อ้อลําหนึ่งมา จับที่ปลายแล้วเป่าไป. ไม้อ้อได้เป็นช่องเดียวตลอด. พญาวานรนั่งบนฝังดื่มน้ำ. พญาวานรได้ให้วานรที่เหลือนําไม้อ้อมาเฉพาะตัว เป่าแล้วส่งให้.

เมื่อยักษ์แลดูอยู่นั่นเอง วานรทุกตัวก็ได้ดื่มน้ำ ดังที่พญาวานรกล่าวไว้ว่า

เราไม่เห็นรอยเท้าขึ้น เห็นแต่รอยเท้าลง เราจักดื่มน้ำด้วยไม้อ้อ ท่านจักฆ่าเราไม่ได้.

ตั้งแต่นั้นมาไม้อ้อทั้งหลายในที่นั้นก็มีช่องเดียวจนกระทั่งทุกวันนี้. ในกัปนี้พร้อมกับไม้อ้อนี้จักมีชื่อว่าสิ่งที่ตั้งอยู่ตลอดปาฏิหาริยกัป มี ๔ อย่าง คือ ภาพกระต่ายบนดวงจันทร์ ๑ การที่ไฟดับในที่ทําสัจจกิริยาในวัฏฏกชาดก ๑ การที่ฝนไม่ตกในที่อยู่ของมารดาบิดาของช่างหม้อชื่อว่า ฆฏิการะ ๑ ความที่ไม้อ้อบนฝังสระโบกขรณีนั้นมีช่องเดียวตลอด ๑ ด้วยประการนี้สระโบกขรณีนั้นจึงได้ชื่อว่า นฬกปานะ เพราะวานรดื่มน้ำด้วยไม้อ้อ. ครั้นต่อมา บ้านตั้งขึ้นเพราะอาศัยสระโบกขรณีนั้น. บ้านนั้นจึงได้ชื่อว่า นฬกปานะ. ท่านกล่าวว่า นฬกปาเน เพราะหมายถึงบ้านนั้น.

บทว่า ปลาสวเน คือ ในป่าไม้ทองกวาว.

บทว่า ตคฺฆ มยํ ภนฺเต คือ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์โดยส่วนเดียวเท่านั้น. ท่านแสดงว่า ภิกษุเหล่าใดแม้อื่นยินดีแล้ว ย่อมยินดีในคําสอนของท่าน ภิกษุเหล่านั้นเป็นเช่นกับพวกเรา ย่อมยินดียิ่ง.

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 404

พึงทราบความในบทมีอาทิว่า เนว ราชาภินีตา มิใช่ผู้ทําความผิดต่อพระราชาดังต่อไปนี้.

คนหนึ่งทําความผิดต่อพระราชาแล้วหนีไป. พระราชาตรัสถามว่า คนชื่อโน้นไปไหน. กราบทูลว่า หนีไปแล้ว พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า เขาจักไม่พ้นเราแม้ในที่ที่หนีไป. แต่หากว่า เขาพึงบวชก็จะพึงพ้นได้. คนใจดีคนหนึ่งไปบอกข่าวนั้นแก่เขาว่า หากท่านปรารถนาชีวิตท่านจงบวชเถิด. เขาบวชแล้วรักษาชีวิตเที่ยวไป. ภิกษุนี้ชื่อว่าทําความผิดต่อพระราชา.

ส่วนคนหนึ่งตัดช่องลักของมีค่าของโจรเที่ยวไป. พวกโจรฟังแล้วไม่รู้ความที่บุรุษมีความต้องการ จึงกล่าวว่า เราจักให้เขารู้. เขาฟังข่าวนั้นแล้วหนีไป. พวกโจรได้ฟังว่าเขาหนีไปแล้วจึงกล่าวว่า เขาจักไม่พ้นเราไปได้แม้ในที่ที่เขาหนีไป แต่ถ้าเขาพึงบวช เขาก็จะพึงพ้นไปได้. เขาฟังข่าวนั้นแล้วจึงบวช. ภิกษุนี้ชื่อว่าถูกโจรคอยติดตามจับ.

ส่วนคนหนึ่งมีหนี้มาก ถูกคดีหนี้บีบคั้นจึงหนีออกจากบ้านนั้น. พวกเจ้าหนี้ฟังแล้วกล่าวว่า เขาจักไม่พ้นเราไปได้แม้ในที่ที่เขาหนีไป แต่ถ้าเขาพึงบวช เขาก็จะพึงพ้นหนี้ไปได้. ลูกหนี้ฟังข่าวนั้นแล้วจึงบวช. ภิกษุนี้ชื่อว่า ถูกเจ้าหนี้บีบคั้น.

คนกลัวภัยอย่างใดอย่างหนึ่งมีราชภัยเป็นต้น เป็นผู้เดือดร้อนออกบวช ชื่อว่า เดือดร้อนเพราะภัย. ผู้ไม่สามารถดํารงชีวิตอยู่ได้ในเวลาข้าวยากหมากแพงเป็นต้นจึงบวช ชื่อว่า ถูกอาชีพบีบคั้น. อธิบายว่าถูกอาชีพครอบงํา.

ในท่านเหล่านี้แม้รูปหนึ่ง ชื่อว่า บวชแล้วด้วยเหตุเหล่านี้มิได้มี. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เนว ราชาภินีตา มิใช่ผู้ทําความผิดต่อพระราชาเป็นต้น.

บทว่า วิเวกํ คือ เป็นผู้สงัด. ท่านอธิบายว่า อันผู้สงัดจากกามและจากอกุศลธรรมพึงบรรลุปีติและสุข กล่าวคือ ปฐมฌานและทุติยฌาน. หากสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมแล้ว ยังไม่บรรลุปีติและสุข หรือยังไม่

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 405

บรรลุสุขอื่นอันสงบกว่าด้วยสามารถแห่งฌาน ๒ และมรรค ๔ ในเบื้องบน. อภิชฌาเป็นต้นเหล่านี้ ย่อมครอบงําจิตของภิกษุนั้นตั้งอยู่.

ในบทเหล่านั้นบทว่า อรติ ได้แก่ ความเป็นผู้หน่ายในธรรมอันเป็นอธิกุศล.

บทว่า ตนฺที ความเฉื่อยชา คือ ความเป็นผู้เกียจคร้าน. ภิกษุใดบวชแล้วอย่างนี้ไม่สามารถทํากิจของนักบวชได้. ธรรมลามก ๗ อย่างเหล่านี้เกิดแก่ภิกษุนั้น แล้วย่อมครอบงําจิต.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงดังนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อทรงแสดงว่า ธรรมเหล่านั้นย่อมครอบงําจิตของภิกษุใดตั้งอยู่ ภิกษุนั้นไม่สามารถทําแม้กิจของสมณะได้ จึงตรัสว่า วิเวกํ อนุรุทฺธา ฯลฯ อฺํ วา ตโต สนฺตตรํ ดูก่อนอนุรุทธะทั้งหลาย บุคคลยังไม่เป็นผู้สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปีติและสุข หรือสุขที่สงบกว่านั้นอีก.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงธรรมฝ่ายดําอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อทรงแสดงธรรมฝ่ายขาวโดยนัยนั้น จึงตรัสบทมีอาทิว่า วิเวกํ ดังนี้อีก.

พึงทราบอรรถแห่งบทนั้นโดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแหละ.

บทว่า สงฺขาย พิจารณาแล้ว คือ รู้แล้ว.

บทว่า เอกํ คือ บางอย่าง.

บทว่า ปฏิเสวติ ย่อมเสพ คือ ย่อมเสพสิ่งที่ควรเสพ.

แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า อุปปตฺตีสุ พฺยากโรติ ตถาคตพยากรณ์ในภพที่เกิด คือ จงพยากรณ์ในภพพร้อมด้วยปฏิสนธิยกไว้. จะทรงพยากรณ์ในภพที่ยังไม่ปฏิสนธิได้อย่างไร. เมื่อกล่าวว่า ปฏิสนธิในภพใหม่ มิได้มีแก่ผู้ยังไม่มีปฏิสนธิ ชื่อว่า ทรงพยากรณ์ในภพที่เกิด.

บทว่า ชนกุหนตฺถํ คือ เพื่อให้คนพิศวง.

บทว่า ชนลปนตฺถํ คือ เพื่อเกลี้ยกล่อมมหาชน.

บทว่า น อิติ มํ ชโน ชานาตุ ชนจงรู้จักเราด้วยเหตุนี้ก็หามิได้ คือ มหาชนจักรู้อย่างนี้. อธิบายว่า ไม่ทรงพยากรณ์ด้วยเหตุแม้นี้ว่า กิตติศัพท์ของเราจักฟุ้งขึ้นในระหว่างมหาชน

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 406

อย่างนี้.

บทว่า อุฬารเวทา คือ มีความยินดีมาก.

บทว่า โส โข ปนสฺส อายสฺมา ก็ท่านนั้นเป็นผู้อันภิกษุนั้น คือ ท่านนั้นปรินิพพานแล้ว เป็นผู้อันท่านผู้ตั้งอยู่นี้ได้เห็นแล้ว หรือได้ฟังแล้ว.

ในบทมีอาทิว่า เอวํสีโล พึงทราบศีลเป็นต้นเจือด้วยโลกิยะและโลกุตตระ.

ธรรมเป็นฝ่ายสมาธิท่านประสงค์เอาว่า ธรรม ในบทนี้ว่า เอวํธมฺโม.

บทว่า ผาสุวิหาโร โหติ เป็นผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่สบาย คือ เมื่อบําเพ็ญในการปฏิบัติอันภิกษุนั้นบําเพ็ญให้บริบูรณ์แล้ว ภิกษุทําให้แจ้งอรหัตผล เป็นผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่สบาย ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่ คือ ผลสมาบัติ. เมื่อไม่สามารถบรรลุอรหัต และเมื่อบําเพ็ญข้อปฏิบัติจนบริบูรณ์ ชื่อว่า เป็นผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่สบายแม้เบื้องหน้า.

พึงทราบอรรถในวาระทั้งปวงโดยนัยนี้ ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถานฬกปานสูตรที่ ๘