พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓๖. เรื่องพระวังคีสเถระ [๒๙๙]

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 ก.ค. 2564
หมายเลข  35108
อ่าน  428

[เล่มที่ 43] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 557

๓๖. เรื่องพระวังคีสเถระ [๒๙๙]


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 43]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 557

๓๖. เรื่องพระวังคีสเถระ [๒๙๙]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระวังคีสะเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "จุติํ โย เวทิ" เป็นต้น.

วังคีสพราหมณ์เป็นนักทำนาย

ได้ยินว่า พราหมณ์ในกรุงราชคฤห์คนหนึ่งชื่อวังคีสะ เคาะ (กะโหลก) ศีรษะของพวกมนุษย์ที่ตายแล้วก็รู้ได้ว่า "นี้เป็นศีรษะของผู้เกิดในนรก, นี้เป็นศีรษะของผู้เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน, นี้เป็นศีรษะของผู้เกิดในเปรตวิสัย, นี้เป็นศีรษะของผู้เกิดในมนุษยโลก, นี้เป็นศีรษะของผู้เกิดในเทวโลก."

พวกพราหมณ์คิดว่า "พวกเราอาศัยวังคีสพราหมณ์นี้ ก็สามารถหากินกะชาวโลกได้" จึงให้เขานุ่งผ้าแดง ๒ ผืนแล้วพาเที่ยวไปชนบท กล่าวกะพวกมนุษย์ว่า "พราหมณ์ชื่อวังคีสะนั่น เคาะ (กะโหลก) ศีรษะของพวกมนุษย์ที่ตายแล้ว ก็รู้จักที่เกิด, พวกท่านจงถามถึงที่พวกญาติของตนๆ เกิดแล้วเถิด."

พวกมนุษย์ให้กหาปณะ ๑๐ บ้าง ๒๐ บ้าง ๑๐๐ บ้าง ตามกำลังแล้ว จึงถามถึงที่พวกญาติเกิดแล้ว. พราหมณ์เหล่านั้นถึงกรุงสาวัตถีโดยลำดับแล้ว ยึดเอาที่พักในที่ไม่ไกลแห่งพระเชตวัน, พวกเขาเห็นมหาชน ผู้บริโภคอาหารเช้าแล้ว มีมือถือของหอมและระเบียบดอกไม้เป็นต้น กำลังเดินไปเพื่อฟังธรรม จึงถามว่า "พวกท่านไปไหนกัน" เมื่อมหาชนนั้นบอกว่า "ไปสู่วิหาร เพื่อฟังธรรม." จึงกล่าวว่า "พวกท่านจักไป

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 558

ในที่นั้นทำอะไร บุคคลผู้ทัดเทียมกับวังคีสพราหมณ์ของพวกเรา ย่อมไม่มี, เขาเคาะ (กะโหลก) ศีรษะของพวกมนุษย์ที่ตายแล้ว ก็รู้ที่เกิดได้, พวกท่านจงถามถึงที่พวกญาติเกิดเถิด."

มนุษย์เหล่านั้นกล่าวว่า "วังคีสะจะรู้อะไร บุคคลผู้ทัดเทียมกับพระศาสดาของพวกเรา ไม่มี." เมื่อพวกพราหมณ์แม้นอกนี้ กล่าวว่า "บุคคลผู้ทัดเทียมกับวังคีสะ ไม่มี, เถียง (๑) กันแล้ว กล่าวว่า "มาเถิดบัดนี้ พวกเราจักรู้ว่าวังคีสะของพวกท่าน หรือพระศาสดาของพวกเรามีความรู้" แล้วได้พาพราหมณ์เหล่านั้นไปสู่วิหาร.

เขายอมจำนนพระศาสดา

พระศาสดาทรงทราบว่าชนเหล่านั้นมา จึงรับสั่งให้นำ (กะโหลก) ศีรษะมา ๕ ศีรษะ คือ ศีรษะของสัตว์ผู้เกิดในฐานะทั้ง ๔ คือ ในนรก ในกำเนิดดิรัจฉาน ในมนุษยโลก ในเทวโลก ๔ ศีรษะ และ (กะโหลก) ศีรษะของพระขีณาสพ รับสั่งให้วางไว้ตามลำดับ ในเวลาที่วังคีสะมาแล้ว จึงตรัสถามวังคีสะว่า "ทราบว่า ท่านเคาะ (กะโหลก) ศีรษะแล้ว รู้ที่เกิดของสัตว์ทั้งหลายผู้ตายแล้วหรือ"

วังคีสะ. พระเจ้าข้า ข้าพระองค์รู้ได้.

พระศาสดา. นี้ (กะโหลก) ศีรษะของใคร

เขาเคาะ (กะโหลก) ศีรษะนั้นแล้ว กราบทูลว่า "ของสัตว์ผู้เกิดในนรก." ลำดับนั้น พระศาสดาประทานสาธุการแก่เขาว่า "ดีละ" จึง ตรัสถามถึงศีรษะทั้ง ๓ นอกนี้ ในขณะที่เขากราบทูลแล้วๆ ไม่ผิด ก็ประทานสาธุการเหมือนอย่างนั้น จึงทรงแสดง (กะโหลก) ศีรษะที่ ๕


(๑) กถํ วฑฺเฒตฺวา ยังถ้อยคำให้เจริญ.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 559

ตรัสถามว่า "นี้ (กะโหลก) ศีรษะของใคร" เขาเคาะ (กะโหลก) นั้นแล้ว ไม่รู้ที่เกิด. ทีนั้น พระศาสดาตรัสกะเขาว่า "วังคีสะ ท่าน ไม่รู้หรือ" เมื่อเขากราบทูลว่า "พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ไม่รู้" จึง ตรัสว่า "ฉันรู้."

วังดีสะ. พระองค์ทรงทราบด้วยอะไร

พระศาสดา. ทราบด้วยกำลังมนต์.

ลำดับนั้น วังคีสะทูลวิงวอนพระองค์ว่า "ขอพระองค์จงประทานมนต์นี้แก่ข้าพระองค์ พระศาสดาตรัสว่า "เราไม่สามารถจะให้มนต์แก่บุคคลผู้ไม่บวชได้."

วังคีสะบวชเพื่อเรียนพุทธมนต์

เขาคิดว่า "เมื่อเราเรียนมนต์นี้แล้ว เราก็จักเป็นผู้ประเสริฐในชมพูทวีปทั้งสิ้น" จึงส่งพราหมณ์เหล่านั้นไป ด้วยคำว่า "พวกท่านจงอยู่ในที่นั้นนั่นแหละสิ้น ๒- ๓วัน ฉันจักบวช" แล้วได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักพระศาสดา ได้เป็นผู้มีนามว่า วังคีสเถระ.

ลำดับนั้น พระศาสดาประทานกัมมัฏฐานมีอาการ ๓๒ เป็นอารมณ์แก่เธอแล้ว ตรัสว่า "เธอจงสาธยายบริกรรมมนต์."

พระเถระบรรลุพระอรหัต

พระวังคีสเถระนั้นสาธยายมนต์อยู่ ถูกพวกพราหมณ์ถามในระหว่างๆ ว่า "ท่านเรียนมนต์ได้แล้วหรือยัง" จึงบอกว่า "พวกท่านจงรอก่อน ฉันกำลังเรียน" ต่อกาล ๒ - ๓ วันเท่านั้นก็ได้บรรลุพระอรหัต ถูกพราหมณ์ทั้งหลายถามอีก จึงกล่าวว่า "ท่านผู้มีอายุ บัดนี้ ฉันไม่ควรเพื่อจะไป."

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 560

พวกภิกษุได้ยินคำนั้นแล้ว จึงกราบทูลแด่พระศาสดาว่า "พระเจ้าข้า พระวังคีสเถระนี้ พยากรณ์พระอรหัตผล ด้วยคำไม่จริง."

พระศาสดาตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่ากล่าวอย่างนั้น. ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้บุตรของเราฉลาดในการจุติและปฏิสนธิแล้ว" ดังนี้แล้ว ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า :-

๓๖. จุติํ โย เวทิ สตฺตานํ อุปปตฺติญฺจ สพฺพโส อสตฺตํ สุคตํ พุทฺธํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ. ยสฺส คติํ น ชานนฺติ เทวา คนฺธพฺพมานุสา ขีณาสวํ อรหนฺตํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ.

"ผู้ใด รู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลายโดยประการทั้งปวง, เราเรียกผู้นั้น ซึ่งไม่ข้อง ไปดี รู้แล้ว ว่าเป็นพราหมณ์. เทพยดา คนธรรพ์และหมู่มนุษย์ ย่อมไม่รู้คติของผู้ใด, เราเรียกผู้นั้น ซึ่งมีอาสวะสิ้นแล้ว ผู้ไกลกิเลสว่า เป็นพราหมณ์."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า โย เวทิ เป็นต้น ความว่า ผู้ใด รู้จุติปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลาย โดยประการทั้งปวงอย่างแจ้งชัด (๑) , เรา เรียกบุคคลผู้นั้น ซึ่งชื่อว่า ไม่ข้อง เพราะความเป็นผู้ไม่เกี่ยวข้อง ชื่อว่า ไปดีแล้ว เพราะความเป็นผู้ไปดีแล้วด้วยการปฏิบัติ ชื่อว่าผู้รู้แล้ว เพราะ ความเป็นผู้รู้สัจจะทั้ง ๔ ว่า เป็นพราหมณ์.


(๑) ปากฏํ กตฺวา ทำให้ปรากฏ.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 561

บทว่า ยสฺส เป็นต้น ความว่า เทพดาเป็นต้นเหล่านั้น ไม่รู้คติของผู้ใด, เราเรียกผู้นั้น ซึ่งชื่อว่า มีอาสวะสิ้นแล้ว เพราะความที่อาสวะทั้งหลายสิ้นแล้ว ชื่อว่า ผู้ไกลกิเลส เพราะความเป็นผู้ห่างไกล จากกิเลสทั้งหลายว่า เป็นพราหมณ์.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องพระวังคีสเถระ จบ.