พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. ภูริทัตชาดก พระเจ้าภูริทัตทรงบําเพ็ญศีลบารมี (เริ่มเล่ม 64)

 
บ้านธัมมะ
วันที่  15 ก.ค. 2564
หมายเลข  34666
อ่าน  1,096

[เล่มที่ 64] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 1

๖. ภูริทัตชาดก

พระเจ้าภูริทัตทรงบําเพ็ญศีลบารมี

อรรถกถา ภูริทัตชาดก 28


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 64]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 1

พระสุตตันตปิฎก

ขุททกนิกาย ชาดก

เล่มที่ ๔ ภาคที่ ๓ (๑)

มหานิบาตชาดก

๖. ภูริทัตชาดก

พระเจ้าภูริทัตทรงบำเพ็ญศีลบารมี

[๖๘๗] รัตนะอย่างใดอย่างหนึ่ง มีอยู่ในนิเวศน์ของท้าวธตรฐ รัตนะทั้งหมดนั้นจงมาสู่พระราชนิเวศน์ของพระองค์ ขอพระองค์จงทรงพระกรุณาโปรดประทานพระราชธิดาแก่พระราชาของข้าพระองค์เถิด พระเจ้าข้า.

[๖๘๘] พวกเราไม่เคยทำการวิวาห์กับนาคทั้งหลาย ในกาลไหนๆ เลย พวกเราจะทำการวิวาห์อันไม่สมควรนั้นได้อย่างไรเล่า.

[๖๘๙] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่กว่ามนุษย์ พระองค์จำต้องทรงสละพระชนม์ชีพหรือแว่นแคว้นเสีย


(๑.) บาลีเล่มที่ ๒๘ อรรถกถาชาดกเล่มที่ ๑๐.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 2

เป็นแน่ เพราะเมื่อนาคโกรธแล้ว คนทั้งหลาย เช่น พระองค์จะมีชีวิตอยู่นานไม่ได้ ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ พระองค์เป็นมนุษย์ไม่มีฤทธิ์ มาดูหมิ่นพระยานาคธตรฐผู้มีฤทธิ์ ผู้เป็นบุตรของท้าววรุณนาคราชเกิดภายใต้แม่น้ำยมุนา.

[๖๙๐] เราไม่ได้ดูหมิ่นท้าวธตรฐผู้เรืองยศ ก็ท้าวธตรฐเป็นใหญ่กว่านาคแม้ทั้งหมด ถึงจะเป็นพระยานาคผู้มีอานุภาพมาก ก็ไม่สมควรกะธิดาของเรา เราเป็นกษัตริย์ของชนชาววิเทหรัฐ และนางสมุททชาธิดาของเราก็เป็นอภิชาต.

[๖๙๑] พวกนาคเหล่ากัมพลอัสสดรจงเตรียมตัว จงไปบอกให้นาคทั้งปวงรู้ จงพากันไปเมืองพาราณสี แต่อย่าได้เบียดเบียนใครๆ เลย.

[๖๙๒] นาคทั้งหลาย จงแผ่พังพานห้อยอยู่ที่บ้านเรือน ในสระน้ำ ที่ทางเดิน ที่ทาง ๔ แพร่ง บนยอดไม้ และบนเสาระเนียด แม้เราก็จะนิรมิตตัวให้ใหญ่ขาวล้วน วงล้อมเมืองใหญ่ด้วยขนดหาง ยังความกลัวให้เกิดแก่ชนชาวกาสี.

[๖๙๓] นาคทั้งหลายได้ฟังคำของท้าวธตรฐแล้ว แปลงเพศเป็นหลายอย่าง พากันเข้าไปยังพระนครพาราณสี แต่มิได้เบียดเบียนใครๆ เลย แผ่พังพานห้อยอยู่ที่บ้านเรือน ในสระน้ำ ที่ทางเดิน ที่ทาง ๔ แพร่ง

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 3

บนยอดไม้ พวกสตรีเป็นอันมากได้เห็นนาคเหล่านั้นแผ่พังพานห้อยอยู่ตามที่ต่างๆ หายใจฟู่ๆ ก็พากันคร่ำครวญ ชาวเมืองพาราณสีมีความสะดุ้งกลัว เดือดร้อน ก็พากันไปประชุมกอดอกร้องทุกข์ว่า ขอพระองค์จงทรงพระราชทานพระราชธิดาแก่พระยานาคเถิดพระเจ้าข้า.

[๖๙๔] ท่านชื่ออะไร มีนัยน์ตาแดง อกผาย นั่งอยู่ท่ามกลางป่าอันเต็มไปด้วยดอกไม้ สตรี ๑๐ คนเป็นใคร ทรงเครื่องประดับล้วนแต่ทองคำ นุ่งผ้างาม ยืนเคารพอยู่ ท่านเป็นใคร มีแขนใหญ่ รุ่งเรืองอยู่ในท่ามกลางป่า เหมือนไฟอันลุกโชนด้วยเปรียง ท่านคงเป็นผู้มีศักดิ์ใหญ่คนใดคนหนึ่ง เป็นยักษ์หรือเป็นนาคผู้มีอานุภาพมาก.

[๖๙๕] เราเป็นนาคผู้มีฤทธิ์เดช ยากที่ใครๆ จะล่วงได้ ถ้าแม้เราโกรธแล้ว พึงขบชนบทที่เจริญให้แหลกได้ด้วยเดช มารดาของเราชื่อสมุททชา บิดาของเราชื่อว่าธตรฐ เราเป็นน้องของสุทัสสนะ คนทั้งหลายเรียกเราว่า ภูริทัต.

[๖๙๖] ท่านเพ่งดูห้วงน้ำลึกวนอยู่ทุกเมื่อใด น่ากลัว ห้วงน้ำนั้นเป็นที่อยู่อันรุ่งเรืองของเรา ลึกหลายร้อยชั่วบุรุษ ท่านอย่ากลัวเลย จงเข้าไปยังแม่น้ำยมุนา เป็นแม่น้ำมีสีเขียวไหลจากกลางป่า กึกก้องด้วย

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 4

เสียงนกยูงและนกกระเรียน เป็นที่เกษมสำราญของผู้มีอาจารวัตร.

[๖๙๗] ดูกรพราหมณ์ ท่านพร้อมด้วยบุตรและภรรยา ไปถึงนาคพิภพแล้ว เราจะบูชาท่านด้วยกามทั้งหลาย ท่านจักอยู่เป็นสุข.

[๖๙๘] แผ่นดินมีพื้นอันราบเรียบ ประกอบด้วยต้นกฤษณาเป็นอันมาก ดารดาษด้วยหมู่แมลงค่อมทอง มีหญ้าเขียวชะอุ่มงามอุดม หมู่ไม้อันน่ารื่นรมย์ สระโบกขรณีที่สร้างไว้สวยงาม ระงมด้วยเสียงหงส์ มีดอกปทุมร่วงหล่นอยู่เกลื่อนกลาด มีปราสาท ๘ มุม มีเสาพันเสาอันขัดเกลาดีแล้วทุกเสา สำเร็จด้วยแก้วไพฑูรย์ เรืองจรูญด้วยเหล่านางนาคกัญญา พระองค์เป็นผู้บังเกิดในวิมานทิพย์อันกว้างใหญ่ เป็นวิมานเกษมสำราญรื่นรมย์ มีสุขหาอันใดจะเปรียบปานมิได้ด้วยบุญของพระองค์ พระองค์เห็นจะไม่ทรงหวังวิมานของพระอินทร์ เพราะฤทธิ์อันยิ่งใหญ่ไพบูลย์ของพระองค์นี้ ก็เหมือนของท้าวสักกะผู้รุ่งเรือง ฉะนั้น.

[๖๙๙] อานุภาพของคนรับใช้ชั้นผู้ใหญ่ซึ่งอยู่ในบังคับบัญชาของท้าวสักกเทวราชผู้รุ่งเรือง ใครๆ ไม่พึงถึงแม้ด้วยใจ.

[๗๐๐] เราปรารถนาวิมานของเทวดาทั้งหลายผู้ตั้งอยู่ในความสุขนั้น จึงไปรักษาอุโบสถอยู่บนจอมปลวก.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 5

[๗๐๑] ข้าพระองค์พร้อมด้วยบุตรเข้าไปสู่ป่าแสวงหาเนื้อ ญาติเหล่านั้นไม่รู้ว่าข้าพระองค์ตายหรือเป็น ข้าพระองค์ขอทูลลาพระภูริทัตผู้เรืองยศ โอรสแห่งกษัตริย์แคว้นกาสี พระองค์ทรงอนุญาตแล้ว ข้าพระบาทก็จะได้ไปเยี่ยมญาติ.

[๗๐๒] การที่ท่านได้มาอยู่ในสำนักของเรานี้ เป็นความพอใจของเราหนอ แต่ว่ากามารมณ์เช่นนี้เป็นของหาไม่ได้ง่ายในมนุษย์ ถ้าท่านไม่ปรารถนาจะอยู่ เราจะบูชาท่านด้วยกามารมณ์ทั้งหลาย เราอนุญาตให้ท่านไปเยี่ยมญาติได้โดยสวัสดี.

[๗๐๓] ดูกรพราหมณ์ เมื่อท่านทรงทิพยมณีนี้อยู่ ย่อมได้ปศุสัตว์และบุตรทั้งหลายตามปรารถนา ท่านจงถือเอาทิพยมณีไปปราศจากโรคภัยเป็นสุขเถิด.

[๗๐๔] ข้าแต่พระภูริทัต พระดำรัสของพระองค์หาโทษมิได้ ข้าพระองค์ยินดียิ่งนัก ข้าพระองค์แก่แล้วจักบวช ไม่ปรารถนากามทั้งหลาย.

[๗๐๕] ถ้าหากพรหมจรรย์มีการแตกหัก กิจที่ต้องทำด้ายโภคทรัพย์ทั้งหลายเกิดขึ้น ท่านอย่าได้มีความหวั่นใจ ควรมาหาเรา เราจะให้ทรัพย์แก่ท่านมากๆ.

[๗๐๖] ข้าแต่พระภูริหัต พระดำรัสของพระองค์หาโทษมิได้ ข้าพระองค์ยินดียิ่งนัก ข้าพระองค์จักกลับมาอีก ถ้าจักมีความต้องการ.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 6

[๗๐๗] พระภูริทัตตรัสดำรัสนี้แล้ว จึงใช้ให้นาคมาณพ ๔ ตนไปส่งว่า ท่านทั้งหลายจงมา เตรียมตัวพาพราหมณ์ไปส่งให้ถึงโดยเร็ว นาคมาณพ ๔ ตนที่ภูริทัตตรัสใช้ให้ไปส่ง ฟังรับสั่งของภูริทัต เตรียมตัวแล้ว พาพราหมณ์ไปส่งให้ถึงโดยเร็ว.

[๗๐๘] แก้วมณีที่สมมติกันว่าเป็นมงคล เป็นของดี เป็นเครื่องปลื้มรื่นรมย์ใจ เกิดแต่หิน สมบูรณ์ด้วยลักษณะ ที่ท่านถืออยู่นี้ ใครได้มาไว้.

[๗๐๙] แก้วมณีนี้ พวกนางนาคมาณวิกาประมาณพันหนึ่งล้วนมีตาแดงแวดล้อมอยู่โดยรอบ ในกาลวันนี้ เราเดินทางไปได้แก้วมณีนั้นมา.

[๗๑๐] แก้วมณีอันเกิดแต่หินนี้ ที่หามาได้ด้วยดี อันบุคคลเคารพบูชา ประดับประดาเก็บรักษาไว้ด้วยดีทุกเมื่อ ยังประโยชน์ทั้งปวงให้สำเร็จได้ เมื่อบุคคลปราศจากการระวังในการเก็บรักษา หรือในการประดับประดา แก้วมณีอันเกิดแต่หินนี้ที่บุคคลหามาได้โดยไม่แยบคาย ย่อมเป็นไปเพื่อความพินาศ คนผู้ไม่มีกุศลไม่ควรประดับแก้วมณีอันเป็นทิพย์นี้ เราจักให้ทองคำร้อยแท่ง ขอท่านจงให้แก้วมณีนี้แก่เราเถิด.

[๗๑๑] แก้วมณีของเรานี้ ไม่ควรแลกเปลี่ยนด้วยโคหรือรัตนะ เพราะแก้วมณีอันเกิดแต่หิน บริบูรณ์ด้วยลักษณะ เราจึงไม่ขาย.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 7

[๗๑๒] ถ้าท่านไม่แลกเปลี่ยนแก้วมณีด้วยโคหรือรัตนะ เมื่อเช่นนั้นท่านจะแลกเปลี่ยนแก้วมณีด้วยอะไร เราถามแล้ว ขอท่านจงบอกความข้อนั้นแก่เรา.

[๗๑๓] ผู้ใดบอกนาคใหญ่ผู้มีเดช ยากที่บุคคลจะล่วงเกินได้ เราจะให้แก้วมณีอันเกิดแต่หิน อันรุ่งเรืองด้วยรัศมี.

[๗๑๔] ครุฑผู้ประเสริฐหรือหนอ แปลงเพศเป็นพราหมณ์มาแสวงหานาค ประสงค์จะนำไปเป็นอาหารของตน.

[๗๑๕] ดูกรพราหมณ์ เรามิได้เป็นครุฑ เราไม่เคยเห็นครุฑ เราเป็นผู้สนใจด้วยงูพิษ ชนทั้งหลายรู้จักเราว่าเป็นหมองู.

[๗๑๖] ท่านมีกำลังอะไร มีศิลปอะไร ท่านเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งผลอันพิเศษในอะไร จึงไม่ยำเกรงนาค.

[๗๑๗] ครุฑมาบอกวิชาหมองูอย่างสูงแก่ฤาษีโกสิยโคตรผู้อยู่ในป่าประพฤติตบะอยู่สิ้นกาลนาน เราเข้าไปหาฤาษีตนหนึ่งซึ่งนับเข้าในพวกฤาษีผู้บำเพ็ญตนอาศัยอยู่ในระหว่างภูเขา ได้บำรุงท่านโดยเคารพ มิได้เกียจคร้านทั้งกลางคืนกลางวัน ในกาลนั้นท่านบำเพ็ญวัตรและพรหมจรรย์ เป็นผู้มีโชค เมื่อได้สมาคมกับเรา จึงสอนมนต์ทิพย์ให้แก่เราด้วยความรัก เราทรงไว้ซึ่งผลอันวิเศษในมนต์นั้น จึงไม่กลัวต่อนาค

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 8

เราเป็นอาจารย์ของพวกหมอฆ่าพิษ ชนทั้งหลายรู้จักเราว่าอาลัมพายน์.

[๗๑๘] เราทั้งหลายจงรับแก้วไว้สิ ดูกรพ่อโสมทัต เจ้าจงรู้ไว้ เราทั้งหลายอย่าละสิริ อันมาถึงตนด้วยท่อนไม้ตามชอบใจสิ.

[๗๑๙] ข้าแต่พ่อผู้เป็นพราหมณ์ ภูริทัตนาคราชบูชาคุณพ่อผู้ไปถึงที่อยู่ของตน เพราะเหตุไร คุณพ่อจึงปรารถนาประทุษร้ายต่อผู้กระทำดีเพราะความหลงอย่างนี้ ถ้าคุณพ่อปรารถนาทรัพย์ ภูริทัตนาคราชก็คงจักให้ คุณพ่อไปขอท่านเถิด ภูริทัตนาคราชคงจักให้ทรัพย์เป็นอันมากแก่คุณพ่อ.

[๗๒๐] ดูก่อนโสมทัต การกินของที่ถึงมือ ถึงภาชนะ หรือที่ตั้งอยู่เบื้องหน้า เป็นความประเสริฐ ประโยชน์ที่เห็นประจักษ์ อย่าได้ล่วงเราไปเสียเลย.

[๗๒๑] คนประทุษร้ายมิตร สละความเกื้อกูลจะต้องหมกไหม้อยู่ในนรกอันร้ายแรง แผ่นดินย่อมสูบผู้นั้น หรือเมื่อผู้นั้นมีชีวิตอยู่ก็ซูบซีด ถ้าคุณพ่อปรารถนาทรัพย์ ภูริทัตนาคราชก็คงจักให้ ผมเข้าใจว่า คุณพ่อจักต้องได้ประสบเวรที่ตนทำไว้ในไม่ช้า.

[๗๒๒] พราหมณ์ทั้งหลายบูชายัญแล้ว ย่อมบริสุทธิ์ได้ เราจักบูชามหายัญ ก็จักพ้นจากบาปด้วยการบูชายัญอย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 9

[๗๒๓] เชิญเถิด ผมจะขอแยกไป ณ บัดนี้ วันนี้ผมจะไม่ขออยู่ร่วมกับคุณพ่อ จะไม่ขอเดินทางร่วมกับคุณพ่อผู้ทำกรรมหยาบอย่างนี้สักก้าวเดียว.

[๗๒๔] โสมทัตผู้ได้ยินได้ฟังมามาก ครั้นกล่าวกะบิดา และประกาศกะเทวดาทั้งหลายอย่างนี้แล้ว ก็หลีกไปจากที่นั้น.

[๗๒๕] ท่านจงจับเอานาคใหญ่นั่น จงส่งแก้วมณีนั้นมาให้เรา นาคใหญ่นั่นมีรัศมีดังสีแมลงค่อมทอง ศีรษะแดง ตัวปรากฏดังกองปุยนุ่น นอนอยู่บนจอมปลวกนั่น ท่านจงจับเอาเถิดพราหมณ์.

[๗๒๖] อาลัมพายน์เอาทิพยโอสถทาตัว และร่ายมนต์ทำการป้องกันตัวอย่างนี้ จึงสามารถจับพระยานาคนั้นได้.

[๗๒๗] เพราะได้ทอดพระเนตรเห็นข้าพระองค์ผู้ให้สำเร็จสิ่งที่น่าใคร่ทั้งปวงมาเฝ้าแล้ว อินทรีย์ของพระแม่เจ้าไม่ผ่องใส พระพักตร์พระแม่เจ้าก็เกรียมดำ เพราะทอดพระเนตรเห็นข้าพระองค์เช่นนี้ พระพักตร์พระแม่เจ้าเกรียมดำ เหมือนดอกบัวอยู่ในมือถูกขยี้ ฉะนั้น.

[๗๒๘] ใครว่าล่วงเกินพระแม่เจ้าหรือ หรือพระแม่เจ้ามีเวทนาอะไร เพราะทอดพระเนตรเห็นข้าพระองค์ผู้มาเฝ้า พระพักตร์ของพระแม่เจ้าเกรียมดำเพราะเหตุไร.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 10

[๗๒๙] พ่อสุทัสสนะลูกเอ๋ย แม่ได้ฝันเห็นล่วงมาเดือนหนึ่งแล้วว่า (มี) ชายมาตัดแขนของแม่ดูเหมือนข้างขวา พาเอาไปทั้งที่เปื้อนเลือด เมื่อแม่กำลังร้องไห้อยู่ ตั้งแต่แม่ได้ฝันเห็นแล้ว เจ้าจงรู้เถิดว่า แม่ไม่ได้ความสุขทุกวันคืน.

[๗๓๐] แต่ก่อนนางกัญญาทั้งหลาย ผู้มีร่างกายอันสวยสดงดงาม ปกคลุมด้วยตาข่ายทอง พากันบำเรอภูริทัตใด บัดนี้ภูริทัตนั้นย่อมไม่ปรากฏ แต่ก่อนเสนาทั้งหลายผู้ถือดาบอันคมกล้า งามดังดอกกรรณิการ์ พากันห้อมล้อมภูริทัตใด บัดนี้ภูริทัตนั้นย่อมไม่ปรากฏ เอาละ เราจักไปยังนิเวศน์แห่งภูริทัตเดี๋ยวนี้ จักไปเยี่ยมน้องของเจ้า ผู้ตั้งอยู่ในธรรม สมบูรณ์ด้วยศีล.

[๗๓๑] ภริยาทั้งหลายของภูริทัต เห็นพระมารดาของภูริทัตเสด็จมา ต่างพากันประคองแขนคร่ำครวญว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า หม่อมฉันทั้งหลายไม่ทราบเกล้า ล่วงมาเดือนหนึ่งแล้วว่า ภูริทัตผู้เรืองยศโอรสของพระแม่เจ้าสิ้นชีพเสียแล้ว หรือว่ายังดำรงชนม์อยู่.

[๗๓๒] เราไม่เห็นภูริทัต จักตรอมตรมด้วยทุกข์สิ้นกาลนาน ดังนางนกพลัดพรากจากลูกเห็นแต่รังเปล่า เราไม่เห็นภูริทัต จักตรอมตรมด้วยทุกข์สิ้นกาลนาน ดังนางหงส์ขาวพลัดพรากจากลูกอ่อน เรา

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 11

ไม่เห็นภูริทัต จักตรอมตรมด้วยทุกข์สิ้นกาลนาน ดังนางนกจากพรากในเปือกตมอันไม่มีน้ำเป็นแน่ เราไม่เห็นภูริทัตจักตรอมตรมด้วยความโศก เปรียบเหมือนเบ้าของช่างทอง เกรียมไหม้ในภายใน ไม่ออกไปภายนอกฉะนั้น.

[๗๓๓] บุตรธิดาและชายาในนิเวศน์ของภูริทัต ล้มนอนระเนระนาดดังต้นรังอันลมฟาดหักลง ฉะนั้น.

[๗๓๔] อริฏฐะและสุโภคะ ได้ฟังเสียงอันกึกก้องของบุตรธิดาและชายาของภูริทัต จึงวิ่งไปในระหว่าง ช่วยกันปลอบมารดาว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า จงเบาพระทัยอย่าเศร้าโศกไปเลย เพราะว่าสัตว์ทั้งหลายย่อมมีความตายและความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาอย่างนี้ การตายและการเกิดขึ้นนี้ เป็นความแปรของสัตว์โลก.

[๗๓๕] ดูก่อนพ่อสุทัสสนะ ถึงแม่รู้ว่าสัตว์ทั้งหลายมีอย่างนี้เป็นธรรมดา ก็แต่ว่าแม่เป็นผู้อันความเศร้าโศกครอบงำแล้ว ถ้าเมื่อแม่ไม่ได้เห็นภูริทัตคืนวันนี้เจ้าจงรู้ว่า แม่ไม่ได้เห็นภูริทัต เห็นจะต้องละชีวิตไปแน่.

[๗๓๖] ข้าแต่พระแม่เจ้า จงเบาพระทัย อย่าเศร้าโศกไปเลย ลูกทั้ง ๓ จักเที่ยวแสวงหาภูริทัตไปตามทิศน้อยทิศใหญ่ ที่ภูเขา ซอกเขา บ้าน และนิคม แล้วจักนำท่านพี่ภูริทัตมา พระแม่เจ้าจักได้ทรงเห็นท่านพี่ภูริทัตภายใน ๗ วัน.

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 12

[๗๓๗] นาคหลุดพ้นจากมือ ไปฟุบลงที่เท้าของท่าน คุณพ่อ มันกัดเอากระมังหนอ คุณพ่ออย่ากลัวเลย จงถึงความสุขเถิด.

[๗๓๘] นาคตนนี้ ไม่สามารถจะทำความทุกข์อะไรๆ แก่เราเลย หมองูมีอยู่เท่าใด ก็ไม่ดียิ่งไปกว่าเรา.

[๗๓๙] คนเซอะอะไรหนอ แปลงเพศเป็นพราหมณ์มาท้ารบในที่ประชุมชน ขอบริษัทจงฟังเรา.

[๗๔๐] ดูก่อนหมองู ท่านจงต่อสู้กับเราด้วยนาค เราจักต่อสู้กับท่านด้วยลูกเขียด ในการรบของเรานั้น เราทั้งสองจงมาพนันกันด้วยเดิมพัน ๕,๐๐๐ กหาปณะ.

[๗๔๑] ดูก่อนมาณพ เราเท่านั้นเป็นคนมั่งคั่งด้วยทรัพย์ ท่านเป็นคนจน ใครจะเป็นคนรับประกันท่าน และอะไรเป็นเดิมพันของท่าน เดิมพันของเรามีและคนรับประกันเช่นนั้นก็มี ในการรบของเราทั้งสอง เราทั้งสองมาพนันกันด้วยเดิมพัน ๕,๐๐๐ กหาปณะ.

[๗๔๒] ดูก่อนมหาบพิตรผู้ทรงเกียรติ เชิญสดับคำของอาตมภาพ ขอความเจริญจงมีแก่มหาบพิตร ขอมหาบพิตรทรงรับประกันทรัพย์ ๕,๐๐๐ กหาปณะของอาตมภาพเถิด.

[๗๔๓] ข้าแต่ดาบส หนี้เป็นของบิดา หรือว่าเป็นหนี้ที่ท่านทำเอง เพราะเหตุไรท่านจึงขอทรัพย์มากมายอย่างนี้ต่อข้าพเจ้า.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 13

[๗๔๔] เพราะนายอาลัมพายน์ ปรารถนาจะต่อสู้กับอาตมภาพด้วยนาค อาตมภาพจักให้ลูกเขียดกัดนายอาลัมพายน์ ดูก่อนมหาบพิตรผู้ผดุงรัฐ ขอเชิญพระองค์ผู้มีหมู่ทหารดาบเป็นกองทัพ เสด็จไปทอดพระเนตรนาคในวันนี้.

[๗๔๕] ข้าแต่ดาบส เราไม่ได้ดูหมิ่นท่านโดยทางศิลปศาสตร์เลย ท่านมัวเมาด้วยศิลปศาสตร์มากไป ไม่ยำเกรงนาค.

[๗๔๖] ดูก่อนพราหมณ์ แม้อาตมภาพก็ไม่ได้ดูหมิ่นท่านในทางศิลปศาสตร์ แต่ว่าท่านล่อลวงประชาชนนักด้วยนาคอันไม่มีพิษ ถ้าชนพึงรู้ว่านาคของท่านไม่มีพิษ เหมือนอย่างอาตมารู้แล้ว ท่านก็จะไม่ได้แกลบสักกำมือหนึ่งเลย จักได้ทรัพย์แต่ที่ไหนเล่า หมองู.

[๗๔๗] ท่านผู้นุ่งหนังเสือพร้อมทั้งเล็บ เกล้าชฎารุ่มร่าม เหมือนคนเซอะ เข้ามาในประชุมชน ดูหมิ่นนาคเช่นนี้ว่าไม่มีพิษ ท่านเข้ามาใกล้แล้วก็จะพึงรู้ว่านาคนั้นเต็มไปด้วยเดช เหมือนของนาคอันสูงสุด ข้าพเจ้าเข้าใจว่านาคตัวนี้จักทำท่านให้แหลกเป็นเหมือนเถ้าไปโดยฉับพลัน.

[๗๔๘] พิษของงูเรือน งูปลา งูเขียว พึงมี แต่พิษของนาคมีศีรษะแดง ไม่มีเลยทีเดียว.

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 14

[๗๔๙] ข้าพเจ้าได้ฟังคำของพระอรหันต์ทั้งหลายผู้สำรวม ผู้มีตบะ มาว่า ทายกทั้งหลายให้ทานในโลกนี้แล้วย่อมไปสู่สวรรค์ ท่านมีชีวิตอยู่ จงให้ทานเสียเถิด ท่านมีสิ่งของที่ควรจะให้ นาคนี้มีฤทธิ์มากมีเดช ยากที่ใครๆ จะก้าวล่วงได้ เราจะให้นาคนั้นกัดท่าน มันก็จักทำท่านให้เป็นเถ้าไป.

[๗๕๐] ดูกรสหาย แม้เราก็ได้ฟังคำของพระอรหันต์ทั้งหลายผู้สำรวม ผู้มีตบะมาว่า ทายกทั้งหลายให้ทานในโลกนี้แล้ว ย่อมไปสู่สวรรค์ ท่านนั่นแหละ เมื่อมีชีวิตอยู่ จงให้ทานเสีย ถ้าท่านมีสิ่งของที่ควรจะให้ ลูกเขียดชื่อว่าอัจจิมุขีนี้ เต็มด้วยเดชเหมือนของนาคอันสูงสุด เราจักให้ลูกเขียดนั้นกัดท่าน ลูกเขียดนั้นจักทำท่านให้เป็นเถ้าไป นางเป็นธิดาของท้าวธตรฐ เป็นน้องสาวต่างมารดาของเรา นางอัจจิมุขีผู้เต็มไปด้วยเดช เหมือนของนาคอันสูงสุดนั้นจงกัดท่าน.

[๗๕๑] ดูกรมหาบพิตร ถ้าอาตมภาพจักหยดพิษลงบนแผ่นดิน มหาบพิตรจงทรงทราบเถิด ต้นหญ้า ลดาวัลย์ และต้นยาทั้งหลาย พึงเหี่ยวแห้งไปโดยไม่ต้องสงสัย.

[๗๕๒] ดูกรมหาบพิตร ถ้าอาตมภาพจักขว้างพิษขึ้นไปบนอากาศ มหาบพิตรจงทราบเถิดว่า ฝนและน้ำค้างจะไม่ตกตลอด ๗ ปี.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 15

[๗๕๓] ดูกรมหาบพิตร ถ้าอาตมภาพจักหยดพิษลงในน้ำ มหาบพิตรจงทราบเถิด สัตว์น้ำมีประมาณเท่าใด ทั้งปลาและเต่าก็พึงตายหมด.

[๗๕๔] น้ำที่โลกสมมติว่าสามารถลอยบาปได้มีอยู่ที่ท่าปยาคะ ภูตผีอะไรฉุดเราลงสู่แม่น้ำยมุนาอันลึก.

[๗๕๕] นาคราชใด เป็นใหญ่ในโลก เรืองยศ พันเมืองพาราณสีไว้โดยรอบ เราเป็นลูกของนาคราชผู้ประเสริฐนั้น ดูกรพราหมณ์ นาคทั้งหลายเรียกเราว่า สุโภคะ.

[๗๕๖] ถ้าท่านเป็นโอรสของนาคราชผู้ประเสริฐ ผู้เป็นพระราชาของชนชาวกาสี เป็นอธิบดีอมร พระชนกของท่านเป็นคนใหญ่คนโตผู้หนึ่ง และพระชนนีของท่าน ก็ไม่มีใครเทียบเท่าในหมู่มนุษย์ ผู้มีอานุภาพมากเช่นท่าน ย่อมไม่สมควรจะฉุดแม้คนเพียงเป็นทาสของพราหมณ์ให้จมน้ำเลย.

[๗๕๗] เจ้าแอบต้นไม้ยิงเนื้อซึ่งมาเพื่อจะดื่มน้ำ เนื้อถูกยิงแล้วรู้สึกได้ด้วยกำลังลูกศร จึงวิ่งหนีไปไกล เจ้าได้พบมันล้มอยู่ในป่าใหญ่ จึงแล่เนื้อหาบมาถึงต้นไทรในเวลาเย็น อันกึกก้องไปด้วยเสียงร้องของนกแขกเต้าและนกสาลิกา มีใบเหลืองเกลื่อนกล่นไปด้วยย่านไทร มีฝูงนกดุเหว่าร้องอยู่ระงมน่ารื่นรมย์ใจ ภูมิ-

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 16

ภาคเขียวไปด้วยหญ้าแพรกอยู่เป็นนิตย์ พี่ชายของเราเป็นผู้รุ่งเรืองไปด้วยฤทธิ์และยศ มีอานุภาพมาก อันนางนาคกัญญาทั้งหลายแวดล้อม ปรากฏแก่เจ้าผู้อยู่ที่ต้นไทรนั้น ท่านพาเจ้าไปเลี้ยงดู บำรุงบำเรอด้วยสิ่งที่น่าใคร่ทุกอย่าง เป็นคนประทุษร้ายต่อท่านผู้ไม่ประทุษร้าย เวรนั้นมาถึงเจ้าในที่นี้แล้ว เจ้าจงเหยียดคอออกเร็วๆ เถิด เราจักไม่ไว้ชีวิตแก่เจ้า เราระลึกถึงเวรที่เจ้าทำต่อพี่เรา จักตัดศีรษะเจ้าเสีย.

[๗๕๘] พราหมณ์ผู้ทรงเวท ๑ ผู้ประกอบในการขอ ๑ ผู้บูชาไฟ ๑ ด้วยฐานะ ๓ ประการนี้ พราหมณ์เป็นผู้ที่ใครๆ ไม่ควรจะฆ่า.

[๗๕๙] เมืองของท้าวธตรฐอยู่ภายใต้แม่น้ำยมุนา จดหิมวันตบรรพต ซึ่งตั้งอยู่ไม่ไกลแม่น้ำยมุนา ล้วนแล้วไปด้วยทองคำงามรุ่งเรือง พี่น้องร่วมท้องของเราล้วนเป็นคนมีชื่อลือชา อยู่ในเมืองนั้น ดูก่อนพราหมณ์ พี่น้องของเราเหล่านั้นจักว่าอย่างไร เจ้าจักต้องเป็นอย่างนั้น.

[๗๖๐] ข้าแต่พี่สุโภคะ ยัญและเวททั้งหลายในโลกที่พวกพราหมณ์ประกอบขึ้น ไม่ใช่เป็นของเล็กน้อย เพราะฉะนั้น ผู้ติเตียนพราหมณ์ซึ่งใครๆ ไม่ควรติเตียน ชื่อว่าย่อมละทิ้งทรัพย์เครื่องปลื้มใจและธรรมของสัตบุรุษเสีย.

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 17

[๗๖๑] พวกพราหมณ์ถือการทรงไตรเพท พวกกษัตริย์ปกครองแผ่นดิน พวกแพศย์ยึดการไถนา และพวกศูทรยึดการบำเรอวรรณะทั้ง ๔ นี้ เข้าถึงการงานตามที่อ้างมาเฉพาะอย่างๆ นั้นกล่าวกันว่า มหาพรหมผู้มีอำนาจจัดไว้.

[๗๖๒] พระพรหมผู้สร้างโลก ท้าววรุณ ท้าวกุเวร ท้าวโสมะ พระยายม พระจันทร์ พระวายุ พระอาทิตย์ แม้ท่านเหล่านี้ก็ล้วนบูชายัญมามากแล้ว และบูชาสิ่งที่น่าใคร่ทุกอย่างแก่พราหมณ์ผู้ทรงเวท ท้าวอรชุน และท้าวภีมเสน มีกำลังมากมีแขนนับพัน ไม่มีใครเสมอในแผ่นดิน ยกธนูได้ ๕๐๐ คัน ก็ได้บูชาไฟมาแต่ก่อน.

[๗๖๓] ดูกรพี่สุโภคะ ผู้ใดเลี้ยงพราหมณ์ทั้งหลายมานานด้วยข้าวและน้ำตามกำลัง ผู้นั้นมีจิตเลื่อมใสอนุโมทนาอยู่ ได้เป็นเทพเจ้าองค์หนึ่ง.

[๗๖๔] พระเจ้ามุจลินท์สามารถบูชาเทวดาคือ ไฟ ผู้กินมาก มีสีไม่ทราม ให้อิ่มหนำด้วยเนยใส ทรงบูชายัญวิธีแก่เทวดา คือไฟผู้ประเสริฐแล้วได้บังเกิดในทิพยคติ.

[๗๖๕] พระเจ้าทุทีปะ มีอานุภาพมาก มีอายุยืน ๑,๐๐๐ ปี มีพระรูปงามน่าดูยิ่งนัก ทรงละแว่นแคว้นอันไม่มีที่สุด พร้อมทั้งเสนา เสด็จออกผนวชแล้วได้เสด็จสู่สวรรค์.

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 18

[๗๖๖] ข้าแต่พี่สุโภคะ พระเจ้าสาครราชทรงปราบแผ่นดินอันมีสาครเป็นที่สุด รับสั่งให้ตั้งเสายัญอันงามยิ่ง ล้วนแล้วด้วยทอง ทรงบูชาไฟแล้ว ได้เป็นเทพเจ้าองค์หนึ่ง แม่น้ำคงคาและมหาสมุทร เป็นที่สั่งสมนมส้ม ย่อมเป็นไปด้วยอานุภาพของผู้ใด ผู้นั้น คือ พระเจ้าอังคโลมปาทะ ทรงบำเรอไฟแล้วเสด็จไปเกิดในพระนครท้าวสหัสนัยน์.

[๗๖๗] เทวดาผู้ประเสริฐมีฤทธิ์มาก มียศ เป็นเสนาบดีของท้าววาสวะในไตรทิพย์ กำจัดมลทินด้วยโสมยาควิธี (บูชาด้วยการดื่มน้ำโสม) ได้เป็นเทพเจ้าองค์หนึ่ง.

[๗๖๘] เทวดาผู้ประเสริฐ มีฤทธิ์ เรืองยศ สร้างโลกนี้โลกหน้า แม่น้ำภาคีรถี ขุนเขาหิมวันต์ และเขาวิชฌะ ได้บูชาไฟมาก่อน ภูเขามาลาคิรี ขุนเขาหิมวันต์ ภูเขาวิชฌะ ภูเขาสุทัสนะ ภูเขานิสภะ ภูเขากากเวรุ ภูเขาเหล่านั้น และภูเขาใหญ่อื่นๆ กล่าวกันว่าพวกพราหมณ์ผู้บูชายัญได้ก่อสร้างทำไว้.

[๗๖๙] ชนทั้งหลายเรียกพราหมณ์ผู้ทรงเวท ผู้เข้าถึงคุณแห่งมนต์ ผู้มีตบะในโลกนี้ว่า ผู้ประกอบในการขอ มหาสมุทรซัดท่วมพราหมณ์นั้น ผู้กำลังตระเตรียมน้ำอยู่ที่ฝั่งมหาสมุทร เพราะเหตุนั้น น้ำในมหาสมุทรจึงดื่มไม่ได้.

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 19

[๗๗๐] วัตถุที่ควรบูชา คือพวกพราหมณ์เป็นอันมากมีอยู่ในแผ่นดินของท้าววาสวะ พราหมณ์ทั้งหลายมีอยู่ในทิศบูรพา ทิศปัจจิม ทิศทักษิณและทิศอุดร ย่อมยังปีติและโสมนัสให้เกิด.

[๗๗๑] ดูกรพ่ออริฏฐะ ความกาลีคือความปราชัยของนักปราชญ์ทั้งหลาย กลับเป็นความมีชัยของคนโง่เขลาผู้ทรงเวท ไตรเพทเป็นเหมือนอาการของพยับแดด เพราะเป็นของไม่เห็นเสมอไป มีคุณทางหลอกลวง พาเอาคนมีปัญญาไปไม่ได้ ไตรเพทมิได้มีเพื่อป้องกันคนผู้ประทุษร้ายมิตร ผู้ล้างผลาญความเจริญเหมือนไฟที่คนบำเรอแล้ว ย่อมป้องกันคนโทสจริตทำกรรมชั่วไม่ได้ ถ้าคนทั้งหลายจะเอาไม้ที่มีอยู่ในโลกทั้งหมด พร้อมทั้งทรัพย์สมบัติของตน คลุกกับหญ้าให้ไฟเผา ไฟอันมีเดชไม่มีใครเทียมเผาสิ่งนั้นหมดก็ไม่อิ่ม ใครจะพึงทำให้ไฟซึ่งรู้รส ๒ อย่างให้อิ่มได้ นมสดแปรไปได้เป็นธรรมดา คือ แปรเป็นนมส้ม แล้วเป็นเนยข้น ฉันใด ไฟก็มีความแปรไปได้เป็นธรรมดาฉันนั้น ไฟประกอบด้วยความเพียร (ในการสีไฟ) จึงจะเกิดได้ ไม่เคยได้เห็นไฟเข้าไปอยู่ในไม้แห้งและไม้สด คนสีไฟไม่สี ไฟก็ไม่เกิด ไฟย่อมไม่เกิดเพราะไม่มีคนทำให้เกิด ถ้าแหละไฟพึงอยู่ภายในไม้แห้งและไม้สด ป่าทั้งหมดในโลกก็จะพึงแห้งไป และไม้

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 20

แห้งก็จะพึงลุกโพลง ถ้าคนทำบุญได้โดยเอาไม้และหญ้าให้ไฟกิน คนเผาถ่าน คนหุงเกลือ พ่อครัว และคนเผาศพ ก็พึงทำบุญได้ ถ้าแม้พราหมณ์เหล่านี้ทำบุญได้เพราะการเลี้ยงไฟ เพราะเรียนมนต์เพราะเลี้ยงไฟให้อิ่มหนำ ในโลกนี้ใครๆ ผู้เอาของให้ไฟกินจะชื่อว่าทำบุญหาได้ไม่ เพราะเหตุอย่างไรเล่า เพราะไฟเป็นผู้อันโลกยำเกรง รู้รส ๒ อย่าง พึงกินได้มากทั้งของมีกลิ่นอันไม่น่าฟูใจ คนเป็นอันมากไม่ชอบ พวกมนุษย์ละเว้น และเป็นของไม่ประเสริฐ คนบางพวกนับถือไฟเป็นเทวดา ส่วนพวกมิลักขุนับถือน้ำเป็นเทวดา ทั้งหมดนี้พูดผิด ไฟและน้ำไม่ใช่เทพเจ้าตนใดตนหนึ่ง โลกบำเรอไฟซึ่งไม่มีอินทรีย์ ไม่มีกายที่จะรู้สึกได้ ส่องแสงสว่าง เป็นเครื่องทำการงานของประชาชน เมื่อยังทำบาปกรรมอยู่ จะพึงไปสุคติได้อย่างไร พวกพราหมณ์ผู้ต้องการเลี้ยงชีวิตในโลกนี้กล่าวว่า พระพรหมครอบงำได้ทั้งหมด และว่าพระพรหมบำเรอไฟ พระพรหมมีอานุภาพกว่าทุกสิ่ง และมีอำนาจ ไม่มีใครสร้างกลับไปไหว้ไฟที่ตนสร้างเพื่อประโยชน์อะไร คำของพวกพราหมณ์น่าหัวเราะเยาะ ไม่ควรแก่การเพ่งเล็ง ไม่เป็นความจริง พวกพราหมณ์ในปางก่อนก่อขึ้นไว้ เพราะเหตุแห่งสักการะ พราหมณ์เหล่านั้น เมื่อลาภและสักการะเกิดขึ้น จึงร้อยกรองยัญพิธีว่าเป็นธรรมสงบระงับ ด้วยการฆ่าสัตว์

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 21

บูชายัญ พวกพราหมณ์ถือการทรงไตรเพท พวกกษัตริย์ปกครองแผ่นดิน พวกแพศย์ยึดการไถนา และพวกศูทรยึดการบำเรอวรรณะทั้ง ๔ นี้ เข้าถึงการงานตามที่อ้างมาเฉพาะอย่างๆ นั้น กล่าวกันว่า มหาพรหมผู้มีอำนาจจัดไว้ ถ้าคำนี้พึงเป็นคำจริงเหมือนดังที่พวกพราหมณ์กล่าวไว้ คนที่ไม่ใช่กษัตริย์ไม่พึงได้ราชสมบัติ ผู้ที่ไม่ใช่พราหมณ์ไม่พึงศึกษามนต์ คนนอกจากแพศย์ไม่พึงทำการไถเลย และพวกศูทรก็ไม่พึงพ้นจากการรับใช้ผู้อื่น เพราะคำนี้เป็นคำไม่จริง เป็นคำเท็จ พวกคนหาเลี้ยงท้องกล่าวไว้ คนไม่มีปัญญาหลงเชื่อ บัณฑิตทั้งหลายย่อมเห็นด้วยตนเอง เพราะพวกกษัตริย์ย่อมเก็บส่วยจากพวกแพศย์ พวกพราหมณ์ถือศัสตราเที่ยวฆ่าสัตว์ เพราะเหตุไร พระพรหมจึงไม่ทำโลกอันแตกต่างกันเช่นนั้นให้ตรงเสีย ถ้าแหละพระพรหมเป็นใหญ่ เป็นผู้เจริญในโลกทั้งปวง เป็นเจ้าชีวิตของหมู่สัตว์ ทำไมจึงจัดโลกทั้งปวงให้มีความทุกข์ ทำไมจึงไม่ทำโลกทั้งปวงให้มีความสุข ถ้าแหละพรหมนั้นเป็นใหญ่ เป็นผู้เจริญในโลกทั้งปวง เป็นเจ้าชีวิตของหมู่สัตว์ เหตุไรจึงทำโลกโดยไม่เป็นธรรม คือ มารยาและเจรจาคำเท็จ มัวเมา ถ้าแหละพระพรหมนั้นเป็นใหญ่ เป็นผู้เจริญในโลกทั้งปวง เป็นเจ้าชีวิตของหมู่สัตว์ ก็ชื่อว่าเป็นเจ้าชีวิตอยุติธรรม เมื่อธรรมมีอยู่ พรหมนั้นก็จัดโลกไม่เที่ยงธรรม ตั๊ก

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 22

แตน ผีเสื้อ งู แมลงภู่ หนอน และแมลงวัน ใครฆ่าแล้วย่อมบริสุทธิ์ ธรรมเหล่านี้ไม่ใช่ของพระอริยะ เป็นธรรมผิดๆ ของชาวกัมโพชรัฐเป็นอันมาก

[๗๗๒] ถ้าแหละคนฆ่าเขาแล้วย่อมบริสุทธิ์ และผู้ถูกฆ่าย่อมเข้าถึงแดนสวรรค์ พวกพราหมณ์ก็พึงฆ่าพวกพราหมณ์ด้วยกันซิ หรือพึงฆ่าพวกที่หลงเชื่อถ้อยคำของพราหมณ์ด้วยกันเสียซิ พวกเนื้อ ปศุสัตว์และโคตัวไหนๆ ไม่ได้อ้อนวอนเพื่อให้ฆ่าตนเลย ล้วนแต่ดิ้นรนต้องการมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ ชนทั้งหลายย่อมนำเอาสัตว์และปศุสัตว์เข้าผูกที่เสายัญ พวกคนพาลย่อมยื่นหน้าเข้าไปที่เสาบูชายัญเป็นที่ผูกสัตว์ ด้วยการพรรณนาต่างๆ ว่า เสายัญนี้จะให้สิ่งที่น่าใคร่แก่ท่านในโลกหน้า จะเป็นของยั่งยืนในสัมปรายภพ ถ้าว่าบุคคลพึงได้แก้วมณี สังข์ มุกดา ข้าวเปลือก ทรัพย์ เงิน ทอง ที่เสายัญ ในไม้แห้งและไม้สดไซร้ อนึ่ง เสายัญจะพึงให้สิ่งที่น่าใคร่ทั้งปวงในไตรทิพย์ได้ พราหมณ์เท่านั้นพึงบูชายัญ ผู้ที่ไม่ใช่พราหมณ์ก็จะไม่พึงให้พราหมณ์บูชายัญอะไรๆ เลย แก้วมณี สังข์ มุกดา ข้าวเปลือก ทรัพย์ เงิน ทอง จักมีที่เสายัญที่ไม้แห้ง ที่ไม้สดที่ไหน เสายัญจะพึงให้สิ่งที่น่าใคร่ทั้งปวงในไตรทิพย์ที่ไหน พราหมณ์เหล่านี้เป็นคนโอ้อวด หยาบช้า โง่เขลา โลภจัด ยื่นหน้าเข้าไปด้วย

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 23

การพรรณนาต่างๆ จงถือเอาไฟมา และจงให้ทรัพย์แก่เรา แต่นั้นท่านให้สิ่งที่น่าใคร่ทั้งปวงแล้ว จักมีความสุข พวกที่โกนผมโกนหนวดและตัดเล็บพาพระราชาหรือมหาอำมาตย์เข้าไปยังโรงบูชาไฟ ยื่นหน้าเข้าไปด้วยการพรรณนาต่างๆ ย่อมถือเอาทรัพย์ด้วยเวท พวกพราหมณ์ผู้โกหก พอหลอกลวงได้คนหนึ่ง ก็มาประชุมกินกันเป็นอันมาก เหมือนฝูงกาตอมนกเค้า หลอกเอาจนเกลี้ยงแล้ว เก็บไว้ที่บริเวณบูชายัญ พวกพราหมณ์ลวงผู้นั้นได้คนหนึ่งอย่างนี้แล้ว ก็พากันมาเป็นอันมาก ใช้ความพยายามล่อหลอก พรรณนาด้วยสิ่งที่ไม่แลเห็นปล้นเอาทรัพย์ที่แลเห็นไป เหมือนพวกราชบุรุษที่พระราชาสอนให้เก็บส่วย เก็บทรัพย์ของพระราชาไป ฉะนั้น ดูก่อนอริฏฐะ พราหมณ์เช่นนั้นเป็นโจร ไม่ใช่สัตบุรุษ เป็นผู้ควรจะฆ่าในโลก พวกพราหมณ์กล่าวว่า ไม้ทองหลางเป็นแขนขวาของพระอินทร์ จึงตัดเอาไม้ทองหลางมาใช้ในยัญนี้ ถ้าคำนั้นเป็นคำจริง พระอินทร์ก็แขนขาด ทำไมพระอินทร์จึงชนะพวกอสูรด้วยกำลังแขนนั้นได้ คำนั้นเป็นคำเท็จ พระอินทร์ยังมีแขนพร้อม เป็นเทวดาชั้นเลิศ ไม่มีใครฆ่าได้ กำจัดอสูรได้ มนต์ของพราหมณ์เหล่านี้เหลวเปล่า หลอกลวงกันให้เห็นได้เฉพาะในโลกนี้ ภูเขามาลาคิรี ขุนเขาหิมวันต์ ภูเขาวิชฌะ ภูเขาสุทัสนะ ภูเขานิสภะ ภูเขากากเวรุ ภูเขาใหญ่อื่นๆ ที่กล่าวกัน

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 24

ว่า พวกพราหมณ์ผู้บูชายัญเอาอิฐเช่นใดมาสร้างภูเขา อิฐเช่นนั้นก็ไม่ใช่ธรรมชาติของภูเขา ภูเขาเป็นอย่างอื่น ไม่หวั่นไหว เห็นได้ชัดๆ ว่าเป็นหิน ไม่ใช่อิฐ เป็นหินมานมนาน เหล็กและโลหะย่อมไม่เกิดในอิฐที่พวกพราหมณ์สรรเสริญยัญกล่าวไว้ว่า ผู้บูชายัญก่อสร้างไว้ ชนทั้งหลายเรียกพราหมณ์ผู้ทรงเวท ผู้เข้าถึงคุณแห่งมนต์ ผู้มีตบะในโลกนี้ว่า ผู้ประกอบในการขอ มหาสมุทรซัดท่วมพราหมณ์นั้น ผู้กำลังตระเตรียมน้ำอยู่ที่ฝั่งมหาสมุทร เพราะเหตุนั้น น้ำในมหาสมุทรจึงดื่มไม่ได้ แม่น้ำพัดเอาพราหมณ์ผู้เรียนเวททรงมนต์ ไปเกินกว่าพัน เหตุไรน้ำในแม่น้ำจึงมีรส ไม่เสีย มหาสมุทรเท่านั้นดื่มไม่ได้ บ่อน้ำทั้งหลายในมนุษยโลกนี้ ที่เขาขุดไว้เกิดเป็นน้ำเค็มก็มี แต่ไม่ใช่เค็มเพราะท่วมพราหมณ์ตาย น้ำในบ่อเหล่านั้นดื่มไม่ได้ เป็นน้ำรู้รสสองอย่าง ครั้งดึกดำบรรพ์ตั้งแต่ปฐมกัป ใครเป็นภรรยาใคร ใครได้ให้มนุษย์เกิดขึ้นก่อนโดยธรรมแม้นั้น ใครๆ ไม่เลวไปกว่าใคร ท่านกล่าวจำแนกส่วนไว้อย่างนี้ แม้ลูกคนจัณฑาลก็พึงเรียนเวทสวดมนต์ได้ (ถ้า) เป็นคนฉลาดมีความคิด หัวของเขาก็ไม่พึงแตกเจ็ดเสี่ยง มนต์เหล่านี้พวกพรหมสร้างไว้เพื่อฆ่าตน เป็นการสร้างแต่ปาก เป็นการสร้างยึดถือไว้ด้วยความโลภ เปลื้องได้ยาก เข้าถึงคลองด้วยคำของพวกพราหมณ์ผู้แต่งกาพย์กลอน จิตของพวก

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 25

คนโง่ ยังหลงในทางลุ่มๆ ดอนๆ คนไม่มีปัญญาเชื่อเอาจริงจัง ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง มีกำลังอย่างลูกผู้ชาย พราหมณ์ไม่มีกำลังเช่นนั้นเลย ความเป็นมนุษย์ของพราหมณ์เหล่านั้น พึงเห็นเหมือนของโค ชาติของพราหมณ์เหล่านั้นเท่านั้น ไม่มีใครเสมอ สิ่งอื่นๆ เสมอกันหมด ถ้าแหละพระราชาทรงชำนะหมู่ศัตรูได้ โดยลำพังพระองค์เอง ประชาราษฎร์ของพระราชานั้นพึงมีสุขอยู่เสมอ มนต์ของกษัตริย์และไตรเพทเหล่านี้มีความหมายเสมอกัน ถ้าไม่วินิจฉัยความแห่งมนต์และไตรเพทนั้นก็ไม่รู้ เหมือนทางที่น้ำท่วม มนต์ของกษัตริย์และไตรเพทเหล่านี้ มีความหมายเสมอกัน ลาภ ไม่มีลาภ ยศ และไม่มียศ ทั้งหมดเทียว เป็นธรรมดาของวรรณะทั้ง ๔ นั้น พวกคฤหบดีใช้คนจำนวนมากให้ทำงานในแผ่นดิน เพราะเหตุแห่งทรัพย์และข้าวเปลือก ฉันใด แม้พวกพราหมณ์ผู้ทรงไตรเพทก็ฉันนั้น ย่อมใช้คนเป็นจำนวนมากให้ทำการงานในแผ่นดินในวันนี้ พราหมณ์เหล่านั้นเสมอกันกับคฤหบดี มีความขวนขวายประกอบในกามคุณเป็นนิตย์ ใช้คนเป็นจำนวนมากให้ทำการงานในแผ่นดินเหมือนกัน พราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้รู้รสสองอย่าง หาปัญญามิได้.

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 26

[๗๗๓] กระบวนกลอง ตะโพน สังข์ บัณเฑาะว์และมโหรทึกของใคร มาข้างหน้า ทำให้พระราชาจอมทัพทรงหรรษา ใครมีสีหน้าสุกใสด้วยแผ่นทองคำอันหนา มีพรรณดังสายฟ้า ชันษายังหนุ่มแน่น สอดสวมแล่งธนูรุ่งเรืองด้วยสิริมาอยู่ นั่นเป็นใคร ใครมีพักตร์ผ่องใสเพียงดังทอง เหมือนถ่านไฟไม้ตะเคียนซึ่งลุกโชนอยู่ที่ปากเบ้า รุ่งเรืองด้วยสิริมาอยู่ ใครนั่น มีฉัตรทองชมพูนุชมีซี่น่ารื่นรมย์ใจสำหรับกันรัศมีพระอาทิตย์ รุ่งเรืองด้วยสิริมาอยู่ ใครนั่นมีปัญญาประเสริฐ มีพัดวาลวิชนีอย่างดีเยี่ยม อันคนใช้ประคอง ณ เบื้องบนเศียรทั้งสองข้าง คนทั้งหลายถือกำหางนกยูงอันวิจิตรอ่อนสลวย มีด้ามล้วนแล้วด้วยทองและแก้วมณี จรลีมาทั้งสองข้าง ข้างหน้าของใคร กุณฑลอันกลมเกลี้ยง มีรัศมีดังสีถ่านไม้ตะเคียนซึ่งลุกโซนอยู่ที่ปากเบ้า งดงามอยู่ทั้งสองข้าง ข้างหน้าของใคร เส้นผมของใครต้องลมอยู่ไหวๆ ปลายสนิทละเอียด ดำ งามจดนลาต ดังสายฟ้าพุ่งขึ้นจากท่องฟ้า ใครมีเนตรซ้ายขวากว้างและใหญ่ งาม มีพักตร์ผ่องใส ดังคันฉ่องทอง ใครมีโอษฐ์สะอาดเหมือนสังข์อันขาวผ่อง เมื่อเจรจา (แลเห็น) ฟันขาวสะอาดงามดังดอก

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 27

มณฑารพตูม ใครมีมือและเท้าทั้งสองมีสีเสมอด้วยน้ำครั่ง ตั้งอยู่ในที่สบาย มีริมฝีปากเปล่งปลั่งดังผลมะพลับ งามดังดวงอาทิตย์ ใครนั่นมีเครื่องปกคลุมขาวสะอาด ดังหนึ่งต้นสาละใหญ่มีดอกสะพรั่งข้างเขาหิมวันต์ในฤดูหิมะตก งามปานดังพระอินทร์ผู้ได้ชัยชนะ ใครนั่น นั่งอยู่ท่ามกลางบริษัท คล้องพระแสงขรรค์คร่ำทอง วิจิตรด้วยด้ามแก้วมณีที่อังสา ใครนั่น สวมรองเท้าทองอันวิจิตร เย็บเรียบร้อย สำเร็จเป็นอันดี ข้าพเจ้าขอนอบน้อมต่อผู้แสวงหาคุณอันใหญ่.

[๗๗๔] ผู้ที่มาเหล่านี้ เป็นนาคที่มีฤทธิ์ เรืองยศ เป็นลูกท้าวธตรฐ เกิดแต่นางสมุททชา นาคเหล่านี้มีฤทธิ์มาก.

จบภูริทัตชาดกที่ ๖

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 28

อรรถกถามหานิบาตชาดก

ภูริทัตชาดก

พระศาสดา เมื่อทรงอาศัยกรุงสาวัตถี ประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภอุบาสกทั้งหลาย แล้วตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้น ว่า ยํกิญฺจิ รตนมตฺถิ ดังนี้.

ได้ยินว่า ในวันอุโบสถ อุบาสกเหล่านั้นอธิษฐานอุโบสถแต่เช้าตรู่ ถวายทาน. ภายหลังภัตต่างถือของหอมและดอกไม้เป็นต้น ไปยังพระเชตวัน นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เพื่อฟังธรรม ก็ในกาลนั้น พระศาสดาเสด็จมายังธรรมสภา ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่เขาตบแต่งไว้ ตรวจดูภิกษุสงฆ์ ทรงทราบว่า ก็บรรดาภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย ธรรมกถาตั้งขึ้นปรารภภิกษุเหล่าใด พระตถาคตทั้งหลายทรงเจรจาปราศรัยกับภิกษุเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น วันนี้ธรรมกถาที่เกี่ยวกับบุพจริยา ตั้งขึ้นปรารภอุบาสกทั้งหลายดังนี้แล้ว จึงทรงเจรจาปราศรัยกับอุบาสกเหล่านั้นแล้วตรัสถามว่า พวกเธอเป็นผู้รักษาอุโบสถหรืออุบาสกทั้งหลาย. เมื่ออุบาสกกราบทูลให้ทรงทราบจึงตรัสว่า ดีละ อุบาสกทั้งหลาย ก็ข้อที่พวกเธอ เมื่อได้พระพุทธเจ้าผู้เช่นเราเป็นผู้ให้โอวาท พึงกระทำอุโบสถ จัดว่าเธอกระทำกรรมอันงามไม่น่าอัศจรรย์เลย. แม้โปราณกบัณฑิต ผู้ไม่เอื้อเฟื้อละยศใหญ่ กระทำอุโบสถได้เหมือนกัน ดังนี้แล้ว ได้ทรงเป็นผู้นิ่ง อันภิกษุเหล่านั้นทูลอาราธนาแล้ว จึงทรงนำอดีตนิทานมาว่า

ภิกษุทั้งหลาย ในอดีตกาล ยังมีพระราชาพระองค์หนึ่งทรงพระนาม ว่า พรหมทัตครองราชสมบัติในกรุงพาราณสี ทรงประทานตำแหน่งอุปราช

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 29

แก่พระราชโอรส ทอดพระเนตรเห็นยศใหญ่ของพระราชโอรสนั้น จึงทรงเกิดความระแวงขึ้นว่า พระราชโอรสจะพึงยึดแม้ราชสมบัติของเรา จึงรับสั่งให้เรียกพระราชโอรสนั้นมาแล้วตรัสว่า ดูก่อนพ่อ เธอไม่อาจจะอยู่ในที่นี้ เธอจงออกไปจากที่นี้ แล้วไปอยู่ในที่ๆ เธอชอบใจ โดยล่วงไปแห่งเรา เธอจงยึดเอารัชสมบัติอันเป็นของแห่งตระกูล. พระราชโอรสทรงรับพระดำรัสแล้วถวายบังคมพระราชบิดาแล้ว เสด็จออกจากพระนคร เสด็จไปยังแม่น้ำยมุนาโดยลำดับทีเดียว แล้วให้สร้างบรรณศาลาในระหว่างแม่น้ำยมุนา สมุทรและภูเขา มีรากไม้และผลไม้เป็นอาหารอาศัยอยู่ในที่นั้น. ครั้งนั้น นางนาคมาณวิกาผู้ที่สามีตายตนหนึ่งในภพนาค ผู้สถิตย์อยู่ฝั่งสมุทรตรวจดูยศของคนเหล่าอื่นผู้มีสามี อาศัยกิเลสกระสันขึ้น จึงออกจากภพนาค เที่ยวไปที่ฝั่งสมุทร เห็นรอยเท้าของพระราชโอรส จึงเดินไปตามรอยเท้า ได้เห็นบรรณศาลานั้น. ครั้งนั้น พระราชโอรสได้เสด็จไปสู่ป่าเพื่อต้องการผลไม้. นางเข้าไปยังบรรณศาลา เห็นเครื่องลาดทำด้วยไม้และบริขารที่เหลือ จึงคิดว่า นี้ชรอยว่าจักเป็นที่อยู่ของบรรพชิตรูปหนึ่ง เราจักทดลอง เขาบวชด้วยศรัทธาหรือไม่หนอ ก็ถ้าเขาจักบวชด้วยศรัทธา จักน้อมไปในเนกขัมมะ เขาจักไม่ยินดีการนอนที่เราตกแต่งไว้ ถ้าเขาจักยินดียิ่งในกาม จักไม่บวชด้วยศรัทธา ก็จักนอนเฉพาะในที่นอนที่เราจัดแจงไว้ เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจักจับเขากระทำให้เป็นสามีของตน แล้วจักอยู่ในที่นี้เอง. นางไปสู่ภพนาค นำดอกไม้ทิพย์และของหอมทิพย์มา จัดแจงที่นอนอันสำเร็จด้วยดอกไม้ได้นำดอกไม้ไว้ที่บรรณศาลา เกลี่ยจุณของหอมประดับบรรณศาลา แล้วไปยังภพนาคตามเดิม. พระราชโอรสเสด็จมาในเวลาเย็นเข้าไปยังบรรณศาลา ทรงเห็นความเป็นไปนั้น จึงคิดว่า ใครหนอ จัดแจงที่นอนนี้ ดังนี้แล้วจึงเสวยผลไม้น้อยใหญ่ คิดว่า น่าอัศจรรย์ ดอกไม้

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 30

มีกลิ่นหอม น่าอัศจรรย์ ดอกไม้มีกลิ่นหอม ใครตบแต่งที่นอนให้เป็นที่ชอบใจของเรา เกิดโสมนัสขึ้นด้วยมิได้บวชด้วยศรัทธา จึงนอนพลิกกลับไปกลับมาบนที่นอนดอกไม้ ก้าวลงสู่ความหลับ. วันรุ่งขึ้นเมื่อพระอาทิตย์ขึ้นไป ลุกขึ้น แต่ไม่ได้กวาดบรรณศาลาได้ไปเพื่อต้องการแก่รากไม้และผลไม้น้อยใหญ่ในป่า. ในขณะนั้น นางนาคมาณวิกามาเห็นดอกไม้เหี่ยวแห้งรู้ว่า ท่านผู้นี้น้อมใจไปในกาม ไม่ได้บวชด้วยศรัทธา เราอาจจะจับเขาได้ ดังนี้แล้วนำดอกไม้เก่าๆ ออกไป นำดอกไม้อื่นๆ มา จัดแจงที่นอนดอกไม้เหมือนอย่างนั้นนั่นแล ประดับบรรณศาลาและเกลี่ยดอกไม้ในที่จงกรมแล้วไปยังภพนาคตามเดิม. แม้ในวันนั้น พระราชโอรสนั้นก็นอนบนที่นอนดอกไม้ วันรุ่งขึ้นจึงคิดว่า ใครหนอประดับบรรณศาลานี้. พระองค์ไม่ไปเพื่อต้องการผลไม้น้อยใหญ่ ได้ยืนอยู่ในที่กำบังไม่ไกลจากบรรณศาลา. ฝ่ายนางนาคมาณวิกา ถือของหอม และดอกไม้เป็นอันมากมายังอาศรมบท. พระราชโอรสพอเห็นนางนาคมาณวิกาผู้ทรงรูปอันเลอโฉม มีจิตปฏิพัทธ์ ไม่แสดงตน เข้าไปยังบรรณศาลาของนาง เข้าไปในเวลาจัดแจงดอกไม้แล้วถามว่า เจ้าเป็นใคร? นางตอบว่า ข้าแต่นายฉันชื่อว่า นางนาคมาณวิกา. พระราชโอรสตรัสถามว่า เธอมีสามีแล้วหรือยัง. นางตอบว่า ข้าแต่นาย เมื่อก่อนฉันมีสามี แต่เดี๋ยวนี้ฉันยังไม่มีสามี เป็นหม้ายอยู่ ท่านเล่าอยู่ที่ไหน? พระราชโอรสตอบว่า ฉันชื่อว่าพรหมทัตกุมารโอรสของพระเจ้ากรุงพาราณสี ก็ท่านเล่าเพราะเหตุไร จึงละภพนาคเที่ยวอยู่ในที่นี้. นางตอบว่า ข้าแต่นาย ดิฉันตรวจดูยศของพวกนางนาคมาณวิกาผู้มีสามีในที่นั้น อาศัยกิเลสจึงกระสันขึ้น ออกจากภพนาคนั้นเที่ยวแสวงหาสามี. พระราชโอรสตรัสว่า เพราะเหตุนั้นแล นางผู้เจริญ แม้เราก็ไม่ได้บวชด้วยศรัทธา เพราะถูกพระบิดาขับไล่ จึงมาอยู่ในที่นี้ เจ้าอย่าคิดไปเลย เราจักเป็น

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 31

สามีของเจ้า แม้คนทั้งสองก็ได้อยู่สมัครสังวาสกันในที่นั้นนั่นเอง. นางสร้างตำหนักมีค่ามากด้วยอานุภาพของตนแล้วนำบัลลังก์อันควรแก่ค่ามากแล้วตบแต่งที่นอน. จำเดิมแต่นั้นมา พระราชโอรสนั้นไม่ได้เสวยรากไม้และผลไม้น้อยใหญ่ เสวยแต่ข้าวและน้ำอันเป็นทิพย์เหล่านั้นเลี้ยงชีวิต. ครั้นต่อมาภายหลัง นางนาคมาณวิกาตั้งครรภ์คลอดบุตรเป็นชาย พวกญาติได้ขนานนามท่านว่า สาครพรหมทัต เพราะท่านประสูติที่ฝั่งแม่น้ำสาคร. ในเวลาที่เดินได้ นางนาคมาณวิกาก็คลอดบุตรเป็นหญิง. พวกญาติขนานนามนางว่า สมุททชา เพราะนางเกิดที่ริมฝั่งสมุทร. ก็แลเมื่อระยะกาลล่วงเลยไป ครั้งนั้นพรานไพรชาวกรุงพาราณสีคนหนึ่ง ถึงที่นั้นแล้ว ได้กระทำปฏิสันถาร จำพระราชโอรสได้อยู่ในที่นั้น ๒ - ๓ วันแล้วกล่าวว่า ข้าแต่สมมติเทพ ข้าพระองค์จักบอกความที่พระองค์อยู่ในที่นี้แก่ราชตระกูล ไหว้ท่านแล้วออกจากที่นั้น ได้ไปสู่พระนคร. ในกาลนั้นพระราชาก็สวรรคต. พวกอำมาตย์ได้ทำพระสรีรกิจแก่ท้าวเธอ แล้วประชุมกันในวันที่ ๗ ปรึกษากันว่า ชื่อว่า รัชสมบัติอันไม่มีพระราชา ย่อมดำรงอยู่ไม่ได้ พวกเราไม่รู้ที่อยู่ของพระราชโอรส ยังมีชีวิตอยู่หรือว่าไม่มี จึงปล่อยผุสสรถยึดเอาพระราชา. ขณะนั้นพรานไพรเข้าไปสู่พระนคร ทราบเรื่องนั้นของอำมาตย์เหล่านั้น จึงไปยังสำนักของพวกอำมาตย์แล้วคิดว่า เราอยู่ในสำนักของพระราชโอรส ๓ - ๔ วันแล้วจึงมา จึงได้บอกเรื่องนั้น. ลำดับนั้น อำมาตย์ทั้งหลายได้ฟังดังนั้นแล้ว ได้ทำสักการะแก่เขา มีเขาเป็นผู้นำทางไปในที่นั้น ได้กระทำปฏิสันถารแล้ว บอกความที่พระราชาสวรรคตแล้วทูลว่า ขอพระองค์จงครองราชสมบัติเถิด พระเจ้าข้า. พระราชโอรสทรงดำริว่า เราจักรู้จิตของนางนาคมาณวิกา ดังนี้แล้วเข้าไปหาเธอแล้วตรัสว่า ดูก่อนนางผู้เจริญ พระบิดาของเราสวรรคตแล้ว อำมาตย์ทั้งหลายมาในที่นี้ เพื่อยกฉัตรให้

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 32

เรา ไปกันเถิดนางผู้เจริญ เราทั้งสองจักครองรัชสมบัติในกรุงพาราณสี ประมาณ ๑๒ โยชน์ เธอจักเป็นใหญ่กว่าหญิง ๑๖,๐๐๐ คน. นางกล่าวว่า ข้าแต่นาย ดิฉันไม่อาจไปกับท่านได้. พระราชโอรสถามว่า เพราะเหตุอะไร? นางกล่าวว่า พวกเราเป็นอสรพิษร้าย โกรธเร็ว ย่อมโกรธแม้ด้วยเหตุเพียงเล็กน้อย และชื่อว่าการอยู่ร่วมผัวเป็นภาระหนัก ถ้าดิฉันเห็นหรือได้ยินสิ่งอะไรก็โกรธ แลดูอะไร จักกระจัดกระจายไปเหมือนกำธุลี เพราะเหตุนี้ ดิฉันจึงไม่อาจไปกับท่านได้ แม้วันรุ่งขึ้นพระราชโอรสก็อ้อนวอนเธออยู่นั่นเอง. ลำดับนั้นนางจึงกล่าวกะท่านอย่างนี้ว่า ดิฉันจักไม่ไปด้วยปริยายไรๆ ส่วนนาคกุมารบุตรของเราเหล่านี้ เป็นชาติมนุษย์ เพราะเกิดโดยสมภพกับท่าน ถ้าบุตรเหล่านั้นยังมีความรักในเรา ท่านจงอย่าประมาทในบุตรเหล่านั้น แต่บุตรเหล่านี้แล เป็นพืชน้ำละเอียดอ่อน เมื่อเดินทางต้องลำบากด้วยลมแดดจะพึงตาย ท่านพึงให้ขุดเรือลำหนึ่ง ให้เต็มด้วยน้ำแล้วให้บุตรเหล่านั้นเล่นน้ำนำไป พึงกระทำสระโบกขรณีในพื้นที่ในภายในพระนครแก่บุตรเหล่านั้น. ก็แลนางครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ไหว้พระราชโอรสทำประทักษิณกอดพวกบุตร ให้นั่งระหว่างถันจูบที่ศีรษะ มอบให้แก่พระราชโอรส ร้องไห้คร่ำครวญแล้วหายไปในที่นั้นนั่นเอง ได้ไปยังภพนาคตามเดิม. ฝ่ายพระราชโอรสถึงความโทมนัส มีพระเนตรนองด้วยน้ำตา ออกจากนิเวศน์ เช็ดนัยนาแล้วเข้าไปหาพวกอำมาตย์. พวกอำมาตย์เหล่านั้นอภิเษกพระราชโอรสนั้นในที่นั้นนั่นเอง แล้วทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ พวกข้าพระองค์จะไปยังนครของพระองค์ พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงจึงรีบขุดเรือยกขึ้นสู่เกวียนให้เต็มด้วยน้ำ ขอท่านจงเกลี่ยดอกไม้ต่างๆ อันสมบูรณ์ด้วยสีและกลิ่นบนหลังน้ำ บุตรทั้งหลายของเราผู้มีพืชแต่น้ำ บุตรเหล่านั้นเล่นน้ำในที่นั้น จักไปสบาย. พวกอำมาตย์ได้กระทำเหมือนอย่างนั้น. พระราชาเสด็จถึงกรุงพาราณสี เสด็จเข้าไปยังนครที่ตบแต่งไว้ แวดล้อมไปด้วย

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 33

หญิงนักฟ้อน และอำมาตย์เป็นต้นประมาณ ๑๖,๐๐๐ คน ประทับนั่งบนพื้นใหญ่ เสวยน้ำมหาปานะ ๗ วัน แล้วให้สร้างสระโบกขรณี เพื่อประโยชน์แก่พวกบุตร. พวกบุตรได้เล่นในที่นั้นเนืองนิตย์ ภายหลังวันหนึ่งเมื่อพวกบุตรพากันเล่นน้ำในสระโบกขรณี เต่าตัวหนึ่งเข้าไป ไม่เห็นที่ออก จึงดำลงในพื้นสระโบกขรณี ในเวลาเด็กเล่นน้ำ ผุดขึ้นจากน้ำโผล่ศีรษะขึ้นมา เห็นพวกเด็กเหล่านั้น จึงดำลงไปในน้ำอีก. พวกเด็กเหล่านั้นเห็นเต่านั้นจึงสะดุ้งกลัว ไปยังสำนักของพระบิดากราบทูลว่า ข้าแต่พ่อ ในสระโบกขรณียังมียักษ์ตนหนึ่ง ทำพวกข้าพระองค์ให้สะดุ้ง. พระราชาทรงสั่งบังคับพวกราชบุรุษว่า พวกท่านจงไปจับยักษ์นั้นมา. ราชบุรุษเหล่านั้นทอดแหนำเต่าไปถวายแด่พระราชา พระกุมารทั้งหลายเห็นเต่านั้นแล้วร้องว่า นี้ปีศาจพ่อ นี้ปีศาจพ่อ. พระราชาทรงกริ้วเต่าด้วยความรักในบุตร จึงสั่งบังคับว่า พวกท่านจงไปทำกรรมกรณ์แก่เต่านั้นเถิด. ในบรรดาราชบุรุษเหล่านั้น ราชบุรุษคนหนึ่งกล่าวว่า เต่านี้เป็นผู้ก่อเวรแก่พระราชา ควรจะเอามันใส่ในครกแล้วเอาสากตำทำให้เป็นจุณ. อำมาตย์บางพวกกล่าวว่า ควรจะปิ้งให้สุกในไฟถึง ๓ ครั้งแล้วจึงกิน. อำมาตย์บางพวกกล่าวว่า ควรจะต้มมันในกะทะนั่นแล. แต่อำมาตย์คนหนึ่งผู้กลัวน้ำกล่าวว่าควรจะโยนเต่านี้ลงในน้ำวนแห่งแม่น้ำยมุนา มันจะถึงความพินาศใหญ่ในที่นั้น เพราะกรรมกรณ์ของเต่านั้นเห็นปานนี้ย่อมไม่มี. เต่าได้ฟังถ้อยคำของเขาจึงโผล่ศีรษะขึ้นพูดอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เหตุอะไรของท่าน เราทำผิดอะไร ที่ท่านวิจารถึงกรรมกรณ์เห็นปานนี้กะเรา ก็เราสามารถอดกลั้นกรรมกรณ์นอกนี้ได้ ก็แลผู้นี้เป็นผู้หยาบช้าเหลือเกิน ท่านอย่ากล่าวคำเห็นปานนี้เลย. พระราชาทรงสดับดังนั้น ควรจะสร้างทุกข์กะเต่านี้แหละดังนี้แล้วจึงให้ทิ้งลงไปในน้ำวนแห่งแม่น้ำยมุนา. เต่านั้นถึงห้วงน้ำอันเป็นที่ไปสู่ภพนาคแห่งหนึ่ง

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 34

ได้ไปสู่ภพนาคแล้ว. ลำดับนั้นพวกนาคมาณพบุตรของพญานาคชื่อว่า ธตรฐ กำลังเล่นอยู่ในห้วงน้ำนั้น เห็นเต่านั้น จึงกล่าวว่า พวกท่านจงจับมันเป็นทาส. เต่านั้นคิดว่า เราพ้นจากพระหัตถ์ของพระเจ้าพาราณสีแล้ว บัดนี้ถึงมือของพวกนาคผู้หยาบช้าเห็นปานนี้ เราจะพึงพ้นด้วยอุบายอะไรหนอ เต่านั้นคิดว่า อุบายนี้ใช้ได้ เราจะพึงพูดมุสาวาทจึงจะพ้น แล้วกล่าวว่า พวกท่านมาจากสำนักของพระยานาคชื่อว่าธตรฐ เพราะเหตุไรท่านจึงกล่าวกะเราอย่างนี้ เราเป็นเต่าชื่อว่า จิตตจูฬ เป็นทูตแห่งพระเจ้าพาราณสีมายังสำนักของพระยานาคชื่อว่าธตรฐ พระราชาของเราประสงค์จะให้ธิดาแก่พระยานาคชื่อว่า ธตรฐ จึงส่งเรามา ขอท่านจงแสดงเราแก่พระยานาคนั้นเถิด. นาคมาณพเหล่านั้นเชื่อแล้วเกิดโสมนัส พาเต่านั้นไปยังสำนักพระราชากราบทูลความนั้นแล้ว. พระราชารับสั่งให้เรียกเต่านั้นมาด้วยคำว่า จงนำมันมาเถิด พอเห็นเต่านั้น จึงพอพระทัยตรัสว่า ผู้มีร่างลามกเห็นปานนี้ ไม่สามารถจะทำทูตกรรม. เต่าได้ฟังดังนั้นจึงกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ก็ชื่อว่าผู้เป็นทูตจะพึงมีร่างกายประมาณเท่าลำตาลหรือ ความจริงร่างกายเล็กหรือน้อยไม่เป็นประมาณ การทำกรรมในที่ที่ไปแล้วๆ ให้สำเร็จนั่นแล เป็นประมาณดังนั้น ข้าแต่มหาราชเจ้า ทูตเป็นอันมากของพระราชาของเราเป็นมนุษย์ ย่อมทำกรรมบนบก นกย่อมทำกรรมบนอากาศ ข้าพระองค์ชื่อว่า จิตตจูฬ ถึงฐานันดรเป็นที่โปรดปรานของพระราชา เป็นผู้ปกครองหมู่บ้าน ย่อมทำกรรมในน้ำ ขอพระองค์อย่าข่มขู่ดูหมิ่นข้าพระองค์เลย ดังนี้แล้วจึงสรรเสริญคุณของตน. ลำดับนั้น พระยานาคธตรฐจึงถามเต่านั้นว่า ก็ท่านเป็นผู้อันพระราชาส่งมาเพื่อต้องการอะไร? เต่ากล่าวว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พระ-

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 35

ราชาของข้า ตรัสกะข้าอย่างนี้ว่า เราจะทำมิตรธรรมกับพระราชาชาวชมพูทวีปทั้งสิ้น บัดนี้ เราควรจะทำมิตรธรรมกับพระยานาคธตรฐ เราจะให้นางสาวสมุททชาผู้เป็นธิดาของเราแก่พระยานาคธตรฐ จึงส่งข้ามาด้วยพระดำรัสว่า ขอท่านอย่ากระทำการเนิ่นช้า จงส่งบุรุษทั้งหลายไปกับข้า และกำหนดวันรับนางทาริกาเถิด. พระยานาคนั้นยินดีให้กระทำสักการะแล้ว ส่งนาคมาณพ ๔ นายไปกับเต่านั้นด้วยคำว่า พวกท่านไปเถิด จงฟังคำของพระราชา กำหนดวันแล้วจงมา. นาคมาณพเหล่านั้นรับคำแล้วจึงพาเต่าออกจากภพนาค. เต่าเห็นสระปทุมสระหนึ่งในระหว่างแม่น้ำยมุนากับกรุงพาราณสีมีความประสงค์จะหนีไปด้วยอุบายอย่างหนึ่งจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนนาคมาณพทั้งหลายผู้เจริญ พระราชาของเรา และบุตรภรรยาของพระราชา เห็นเราเที่ยวไปในน้ำไปสู่พระราชนิเวศน์อ้อนวอนว่า ท่านจงให้ดอกปทุมแก่เราทั้งหลาย จงให้รากเง่าบัว เราจักถือเอารากเง่าบัวเหล่านั้น เพื่อประโยชน์แก่เขาเหล่านั้น พวกท่านจงปล่อยข้าในที่นี้ แม้เมื่อพวกท่านไม่เห็นข้า จงล่วงหน้าไปยังสำนักของพระราชา เราจักเห็นพวกท่านในที่นั้นนั่นแล. นาคมาณพเหล่านั้นเชื่อถ้อยคำของเต่านั้นจึงได้ปล่อยเต่านั้นไป เต่าได้แอบอยู่ในที่ส่วนข้างหนึ่งในที่นั้น. ฝ่ายนาคมาณพไม่เห็นเต่า จึงเข้าไปเฝ้าพระราชาด้วยเพศแห่งมาณพตามสัญญาว่า เราจักไปสำนักพระราชา.

จบกัจฉปกัณฑ์

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 36

พระราชาทรงกระทำปฏิสันถารแล้วตรัสถามว่า พวกท่านมาแต่ที่ไหน? นาคมาณพทั้งหลายทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พวกข้าพระองค์มาจากสำนักของพระยานาคธตรฐ. พระราชาตรัสถามว่า เพราะเหตุไร พวกท่านจึงมาในที่นี้. นาคมาณพทั้งหลายทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พวกข้าพระองค์เป็นทูตของพระยานาคธตรฐนั้น พระยานาคธตรฐถามถึงความไม่มีโรคของพระองค์ และพระองค์ปรารถนาสิ่งใด ท่านจะให้สิ่งนั้นแก่พระองค์ ข่าวว่าพระองค์จะประทานนางสมุททชาผู้เป็นพระธิดาของพระองค์ให้เป็นบาทปริจาริกาของพระราชาของพวกข้าพระองค์ ดังนี้แล้ว เมื่อจะประกาศความนั้นจึงกล่าวคาถาที่หนึ่งว่า

รัตนะอย่างใดอย่างหนึ่ง มีอยู่ในนิเวศน์ของท้าวธตรฐ รัตนะทั้งหมดนั้นจงมาสู่พระราชนิเวศน์ของพระองค์ ขอพระองค์จงทรงพระกรุณาโปรดประทานพระราชธิดาแก่พระราชาของข้าพระองค์เถิด พระเจ้าข้า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพานิ เต อุปยนฺตุ ความว่า ขอรัตนะทั้งหมดของท้าวธตรฐนั้นจงนำเข้ามา คือจงเข้ามาสู่พระนิเวศน์ของพระองค์

พระราชาครั้นได้สดับดังนั้นจึงตรัสคาถาที่ ๒ ว่า

พวกเราไม่เคยทำการวิวาห์กับนาคทั้งหลาย ในกาลไหนๆ เลย พวกเราจะทำวิวาห์อันไม่สมควรนั้นได้อย่างไรเล่า.

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 37

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสํยุตฺตํ ความว่า ไม่สมควรคือไม่เหมาะสมกับสัตว์ดิรัจฉาน พวกเราเป็นชาติมนุษย์ จะกระทำความสัมพันธ์กับสัตว์ดิรัจฉานอย่างไรได้.

พวกนาคมาณพ ได้ฟังคำดังนั้นแล้วจึงกล่าวว่า ถ้าความสัมพันธ์กับพระยานาคธตรฐไม่เหมาะสมกับท่าน เมื่อเป็นเช่นนี้ เพราะเหตุไรท่านจึงส่งเต่าชื่อว่าจิตตจูฬผู้อุปฐากของตนไปเป็นทูตแก่พระราชาของพวกเราว่า เราจะให้ธิดาของเราชื่อว่า สมุททชา เล่า ครั้นส่งสาสน์อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อท่านกระทำการดูหมิ่นพระราชาของพวกเรา พวกเราแลชื่อว่าเป็นนาคมาณพจักรู้กรรมที่ควรกระทำแก่ท่าน เมื่อจะขู่พระราชาจึงกล่าว ๒ พระคาถาว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่กว่ามนุษย์ พระองค์จำต้องทรงสละพระชนม์ชีพหรือแว่นแคว้นเสียเป็นแน่ เพราะเมื่อพวกนาคโกรธแล้ว คนทั้งหลายเช่นพระองค์ จะมีชีวิตอยู่นานไม่ได้ ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ พระองค์เป็นมนุษย์ไม่มีฤทธิ์ มาดูหมิ่นพวกพระยานาคธตรฐผู้มีฤทธิ์ ผู้เป็นบุตรของท้าววรุณนาคราช เกิดภายใต้แม่น้ำยมุนา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รฏฺํ วา ความว่า ชีวิตหรือรัฐท่านจักสละโดยส่วนเดียว. บทว่า ตาทิสา ความว่า พระราชาทั้งหลายผู้เช่นท่านถูกนาคผู้มีอานุภาพมากโกรธแล้วอย่างนี้ ไม่สามารถจะดำรงชีวิตอยู่ได้นาน ย่อมอันตรธานไปในระหว่างเทียว. บทว่า โย ตฺวํ เทว ความว่า ข้าแต่สมมติเทพ ท่านใดแม้เป็นมนุษย์. บทว่า วรุณสฺส ได้แก่ พระยานาคชื่อว่าวรุณ. บทว่า นิยํ ปุตฺตํ ได้ แก่บุตรผู้อยู่ในภายใน (ตน). บทว่า ยามุนํ ได้แก่ เกิดในภายใต้แม่น้ำยมุนา.

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 38

ลำดับนั้น พระราชาได้ตรัส ๒ คาถาว่า

เราไม่ได้ดูหมิ่นท้าวธตรฐผู้เรืองยศ ก็ท้าวธตรฐผู้เป็นใหญ่กว่านาคแม้ทั้งหมด ถึงจะเป็นพระยานาคผู้มีอานุภาพมาก ก็ไม่สมควรกะธิดาของเรา เราเป็นกษัตริย์ของชนชาววิเทหรัฐ และนางสมุททชาธิดาของเราก็เป็นอภิชาต.

บรรดาบทเหล่านั้นด้วยบทว่า พหูนมฺปิ นี้ ท่านกล่าวหมายเอาความเป็นใหญ่ แห่งภพนาคประมาณ ๕๐๐ โยชน์. บทว่า น เม ธีตรมารโห ความว่า ก็ท่านแม้เป็นผู้มีอานุภาพมากอย่างนี้ก็ไม่สมควรกะธิดาของเรา เพราะท่านเป็นอหิชาติ (ชาติงู). พระองค์เมื่อแสดงถึงผู้เป็นญาติอันเป็นฝ่ายมารดา จึงตรัสคำนี้ว่า ขตฺติโย จ วิเทหานํ ดังนี้. ด้วยบทว่า สมุทฺทชา นี้ ท่านกล่าวว่า คนทั้งสอง คือกษัตริย์ผู้เป็นราชโอรสของพระจ้าวิเทหะ และพระธิดาของเรานามว่าสมุททชา เป็นอภิชาตสมควรจะสังวาสกันและกัน เพราะนางย่อมไม่คู่ควรแก่งูผู้มีกบเป็นภักษา.

พวกนาคมาณพได้ฟังดังนั้นแล้ว แม้ประสงค์จะฆ่าพระองค์ด้วยลมในนาสิก ในที่นั้นนั่นเอง จึงคิดว่า แม้เมื่อพวกเราถูกพระราชาส่งไปเพื่อกำหนดวัน การที่เราจะฆ่าพระราชานี้แล้วไปไม่สมควรเลย พวกเราจักไปกราบทูลพระราชาแล้วจักทราบ ดังนี้แล้ว พวกเขาจึงลุกจากที่นั้นออกจากราชนิเวศน์ ดำลงแผ่นดินไปในที่นั้น ถูกพระยานาคถามว่า พ่อทั้งหลาย พวกท่านได้ราชธิดาแล้วหรือ? ดังนี้แล้วโกรธต่อพระราชา จึงกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ พระองค์ส่งพวกข้าพระองค์ไปในที่ใดที่หนึ่ง เพราะเหตุอันไม่สมควร

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 39

อะไรเลย ถ้าพระองค์ปรารถนาจะฆ่า พระองค์จงฆ่าพวกข้าพระองค์เสียในที่นี้แหละ พระราชานั้นด่าบริภาษพระองค์ ยกธิดาของตนขึ้นด้วยความเมาในชาติ ดังนี้แล้วกราบทูลถึงความที่พระองค์กล่าวและมิได้กล่าว ทำความโกรธให้เกิดขึ้นแก่พระราชา. พระองค์เมื่อจะทรงสั่งบังคับให้ประชุมบริษัทจึงตรัสว่า

พวกนาคเหล่ากัมพลอัสสดรจงเตรียมตัว จงไปบอกให้พวกนาคทั้งปวงรู้กัน จงพากันไปกรุงพาราณสี แต่อย่าได้เบียดเบียนใครๆ เลย.

บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า กมฺพลสฺสตรา พระองค์เมื่อสั่งบังคับว่า นาคชื่อว่ากัมพลอัสสดร ผู้เป็นฝักฝ่ายมารดาของเรานั้น นาคผู้อยู่ที่เชิงเขาสิเนรุ และนาคเหล่านั้นจงลุกขึ้นเถิด และนาคเหล่าอื่นผู้กระทำตามคำของเราในทิศใหญ่ ๔ ในทิศน้อย ๔ มีประมาณเท่าใด จงไปบอกนาคทั้งหมดนั้นให้ทราบ ข่าวว่าพวกท่านจงรีบประชุมกันจึงได้ตรัสอย่างนั้น. ลำดับนั้นเมื่อพวกนาคทั้งหมดนั่นแลรีบประชุมกันทูลว่า พวกข้าพระองค์จะทำอย่างไร พระเจ้าข้า. พระองค์จึงตรัสว่า นาคของเราทั้งหมดจงรีบไปกรุงพาราณสี. และเมื่อพวกนาคเหล่านั้นกล่าวว่า พวกข้าพระองค์ไปในที่นั้นจะพึงทำอย่างไรพระเจ้าข้า อย่างไรพวกข้าพระองค์จะทำให้เป็นขี้เถ้าโดยการประหารด้วยพ่นลมทางนาสิก. พระยานาคไม่ปรารถนาความพินาศแก่นาง เพราะมีจิตปฎิพัทธ์ในราชธิดา จึงตรัสว่าพวกนาคอย่าพึงเบียดเบียนใครๆ. อธิบายว่า บรรดาพวกท่านบางพวกอย่าพึงเบียดเบียนใครๆ อีกอย่างหนึ่ง บาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน.

ลำดับนั้น พวกนาคจึงกล่าวกะพระราชาว่า ข้าแต่มหาราช ถ้าไม่เบียดเบียนมนุษย์บางคน พวกเราไปในที่นั้นแล้วจะกระทำอะไร? ลำดับนั้น

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 40

พระราชาจึงตรัสกะพวกนาคนั้นว่า พวกท่านจงทำสิ่งนี้และสิ่งนี้ แม้เราก็จะทำสิ่งชื่อนี้ ดังนี้แล้ว เมื่อจะตรัสบอกจึงตรัสสองคาถาว่า

นาคทั้งหลาย จงแผ่พังพานห้อยอยู่ที่บ้านเรือน ในสระน้ำ ที่ทางเดิน ที่ทาง ๔ แพร่ง บนยอดไม้ และบนเสาระเนียด แม้เราก็จะนิรมิตตัวใหญ่ขาวล้วน วงล้อมเมืองใหญ่ด้วยขนดหาง ยังความกลัวให้เกิดแก่ชนชาวกาสี.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โสพฺเภสุ แปลว่า ในสระโบกขรณี. บทว่า รถิยา แปลว่า ที่ถนน. บทว่า ลมฺพนฺตุ แปลว่า ห้อยลงอยู่. บทว่า วิตตา ความว่า นาคทั้งหลายจงแผ่พังพาน มีร่างกายใหญ่ ห้อยลงอยู่ ที่บ้านเรือนเป็นต้นเหล่านั้น และที่ประตูและทาง ๔ แพร่ง ประมาณเท่านี้ ก็แลเมื่อทำ อันดับแรกจงนิรมิตร่างกายให้ใหญ่และแผ่พังพานให้ใหญ่ ภายในห้องและภายนอกห้องเป็นต้น ภายใต้และบนเตียงและตั่ง ที่บ้านเรือน ที่ข้างทางเดินเป็นต้น บนหลังน้ำในสระโบกขรณี บนบกและที่เรือน บังหวนควัน เหมือนสูบของช่างโลหะกระทำเสียงว่า สุ สุ ห้อยลงและนอนลง และอย่าแสดงตนแก่คน ๔ คน คือ เด็กหนุ่ม คนแก่ชรา หญิงมีครรภ์ และนางสมุททชา แม้เราก็จะไปด้วยร่างกายอันใหญ่ขาวล้วน วงล้อมเมืองกาสีไว้โดยรอบ ๗ ชั้น ปิดด้วยพังพานใหญ่ การทำให้มืดมนเป็นอันเดียวกัน ให้เกิดความกลัวแก่ชนชาวกาสี เปล่งเสียงว่า สุ สุ ดังนี้. นาคทั้งหลายได้กระทำอย่างนั้น.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศความนั้น จึงตรัสว่า

นาคทั้งหลายได้ฟังคำของท้าวธตรฐแล้ว แปลงเพศเป็นหลายอย่าง พากันเข้าไปยังกรุงพาราณสี แต่

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 41

มิได้เบียดเบียนใครๆ เลย แผ่พังพานห้อยอยู่ที่บ้านเรือน ในสระน้ำ ที่ทางเดิน ที่ทาง ๔ แพร่ง บนยอดไม้ พวกสตรีเป็นอันมากได้เห็นนาคเหล่านั้น แผ่พังพานห้อยอยู่ตามที่ต่างๆ หายใจฟู่ๆ ก็พากันร้องคร่ำครวญ ชาวเมืองพาราณสีมีความสะดุ้งกลัว เดือดร้อนก็พากันไปประชุมกอดอกร้องทุกข์ว่า ขอพระองค์จงพระราชทานพระราชธิดาแก่พระยานาคเถิด พระเจ้าข้า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อเนกวณฺณิโน ความว่า ก็นาคเหล่านั้นแปลงเพศเป็นหลายอย่าง ด้วยอำนาจสีเขียวเป็นต้น นิรมิตรูปเห็นปานนั้น. บทว่า ปวชฺชึสุ ความว่า นาคเหล่านั้นเข้าไปในเวลาเที่ยงคืน. บทว่า ลมฺพึสุ ความว่า โดยทำนองที่ท้าวธตรฐกล่าวแล้วนั่นแล นาคทั้งหมดห้อยลงอยู่ตัดการสัญจรของพวกมนุษย์ในที่นั้นๆ ก็นาคมาณพทั้ง ๔ ตนเป็นทูตมาวงล้อมเท้าทั้ง ๔ แห่งที่บรรทมของพระราชา แผ่พังพานใหญ่บนพระเศียร ได้แยกเขี้ยวยืนดูอยู่ เหมือนจะฉกกัดศีรษะด้วยปาก. ฝ่ายท้าวธตรฐรับสั่งให้ปิดพระนครโดยทำนองที่ตนกล่าวแล้วนั่นแล บุรุษทั้งหลายเมื่อตื่นขึ้น เหยียดมือหรือเท้าไปทางที่ใดๆ ก็ถูกต้องงูในที่นั้นๆ แล้วร้องว่า งูๆ ดังนี้. บทว่า ปุถู กนฺทึสุ ความว่า ประทีปจุดขึ้นในเรือนใดๆ หญิงทั้งหลายในเรือนนั้นๆ ตื่นขึ้นแล้ว แลดูประตู เสา ไม้จันทัน เห็นพวกนาคห้อยลงอยู่ ร้องคร่ำครวญกันเป็นอันมากโดยพร้อมๆ กันทีเดียว พระนครทั้งสิ้นได้เกิดโกลาหลเป็นอันเดียวกันด้วยประการฉะนี้. บทว่า โสณฺฑิกเต แปลว่า แผ่พังพาน. บทว่า ปกฺกนฺทุํ ความว่า ครั้นราตรีสว่าง เมื่อนครทั้งสิ้น

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 42

และพระราชนิเวศน์ถูกปกคลุมด้วยลมหายใจเข้าออกของพวกนาค มนุษย์ทั้งหลายพากันกลัว จึงกล่าวกะนาคราชทั้งหลายว่า พวกท่านเบียดเบียนพวกเราเพื่ออะไร? ดังนี้แล้วจึงส่งทูตไปถึงท้าวธตรฐว่า พระราชาของพวกท่านทรงพระดำริว่า จะให้ธิดาของเราแก่ท่าน เมื่อทูตของท้าวเธอมากล่าวอีกว่า จงให้ แล้วด่าบริภาษพระราชาของพวกเรา เมื่อทูตกล่าวว่า ถ้าไม่ให้ธิดาแก่พระราชาของพวกเรา ชีวิตของชาวพระนครทั้งสิ้นจะไม่มี จึงอ้อนวอนว่า เพราะเหตุนั้นแล ท่านจงให้โอกาสแก่นายของเรา พวกเราจักไปอ้อนวอนพระราชา ได้โอกาสแล้วไปยังประตูพระนคร พากันร้องคร่ำครวญด้วยเสียงดัง. ฝ่ายมเหสีของพระองค์บรรทมอยู่ในห้องของตนๆ ร้องคร่ำครวญในทันทีทันใดว่า พระเจ้าข้า ขอพระองค์จงให้ธิดาแก่พระเจ้าธตรฐเถิด.

ฝ่ายนาคมาณพทั้ง ๔ นั้น ได้ยืนอยู่เหมือนจะเอาปากฉกกัดศีรษะว่า จงให้ จงให้ พระองค์ทรงบรรทมอยู่ ได้สดับเสียงชาวพระนครและมเหสีของพระองค์ร้องคร่ำครวญอยู่ และพระองค์ถูกนาคมาณพทั้ง ๔ คุกคาม ทรงสะดุ้งพระทัยแต่มรณภัย จึงได้ตรัสขึ้น ๓ ครั้งว่า เราจะให้พระนางสมุททชาผู้เป็นธิดาของเราแก่ท้าวธตรฐ. นาคราชทั้งหมด ครั้นได้ฟังพระดำรัสดังนั้นแล้ว ก็กลับไปยังที่ประมาณหนึ่งคาวุต สร้างนครขึ้นแห่งหนึ่ง เหมือนเทวนคร ได้อยู่ในที่นั้น จึงส่งบรรณาการไปว่า ข่าวว่า ขอพระองค์จงส่งพระธิดา พระราชายึดเอาเครื่องบรรณาการที่พวกนาคนำมา จึงส่งพวกนาคเหล่านั้นไปว่า พวกท่านไปเถิด เราจักส่งธิดาไปในความคุ้มครองของพวกอำมาตย์ของเรา แล้วรับสั่งให้เรียกธิดามาให้ขึ้นสู่ปราสาทชั้นบน ให้เปิดสีหบัญชรแล้วให้สัญญาว่า ดูก่อนแม่ เจ้าจงดูนครอันตบแต่งแล้วนี้ เจ้าเป็นอัครมเหสีของพระราชานี้ในที่นี้ นครนั้นไม่ไกลแต่ที่นี้ เมื่อเวลาเจ้าเกิดความเบื่อหน่ายนครนั้นขึ้นมา เจ้าสามารถจะมาในที่นี้ได้ เจ้าพึงมาในที่นี้ แล้วให้สนานศีรษะ ประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 43

ให้นั่งในวอที่ปกปิดแล้วได้ประทานส่งไปในความคุ้มครองของอำมาตย์ของพระองค์. พระยานาคทั้งหลายกระทำการต้อนรับพระธิดาแล้วได้กระทำมหาสักการะ อำมาตย์ทั้งหลายเข้าไปสู่พระนคร ถวายพระธิดานั้นแก่ท้าวเธอ ได้ถือเอาทรัพย์เป็นอันมากแล้วกลับมา. พระราชาให้พระธิดาขึ้นสู่ปราสาท ให้นอนบนที่นอนอันเป็นทิพย์ที่ประดับไว้. ในขณะนั้นนั่นเอง พวกนาคมาณพแปลงเพศเป็นคนค่อมและคนเตี้ยเป็นต้น แวดล้อมพระธิดาเหมือนพวกบริจาริกาของมนุษย์ พระธิดาพอนอนบนที่นอนอันเป็นทิพย์ ถูกต้องสัมผัสอันเป็นทิพย์เท่านั้นก็ก้าวลงสู่ความหลับ. ท้าวธตรฐพาพระธิดา พร้อมบริษัทนาคหายไปในที่นั้น ได้ปรากฏในภพนาค. พระราชธิดาทรงตื่นขึ้น ทรงทอดพระเนตรที่บรรทมอันเป็นทิพย์ที่ตบแต่งไว้ และที่อื่นเช่นปราสาทอันสำเร็จด้วยทองคำและสำเร็จด้วยแก้วมณี พระอุทยานและสระโบกขรณีและภพนาค เหมือนเทพนครที่ตบแต่งไว้ จึงตรัสถามหญิงบำเรอมีหญิงค่อมเป็นต้นว่า นครนี้ช่างตบแต่งเหลือเกิน ไม่เหมือนนครของเรา นครนั่นเป็นของใคร. หญิงบำเรอทูลว่า ข้าแต่พระเทวี นั่นเป็นของพระสวามีของพระนาง พระเจ้าข้า ผู้ที่มีบุญน้อยย่อมไม่ได้สมบัติเห็นปานนี้ ท่านได้สมบัตินี้เพราะท่านมีบุญมาก. ฝ่ายท้าวธตรฐรับสั่งให้ตีกลองร้องประกาศไปในภพนาคประมาณ ๕๐๐ โยชน์ว่า ผู้ใดๆ แสดงเพศงูแด่พระนางสมุททชา ผู้นั้นๆ จักต้องราชทัณฑ์. เพราะเหตุนั้น ขึ้นชื่อว่าผู้สามารถเพื่อจะแสดงเพศงูแก่พระนางแม้คนเดียวไม่ได้มีเลย. เพราะความสำคัญว่าเป็นโลกมนุษย์ พระนางจึงชื่นชมยินดีกับท้าวธตรฐนั้น ในที่นั้นนั่นเอง อยู่สังวาสด้วยความรักด้วยอาการอย่างนี้.

จบนครกัณฑ์

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 44

ครั้นต่อมา พระนางทรงอาศัยท้าวธตรัฐ จึงทรงครรภ์ประสูติพระโอรส พวกพระญาติได้ตั้งชื่อว่า สุทัสสนะ เพราะเห็นแล้วให้เกิดความรัก ในเวลาพระโอรสทรงดำเนินเดินได้ พระนางประสูติพระโอรสอีกองค์หนึ่ง พวกพระญาติได้ตั้งชื่อว่า ทัตตะ ก็พระองค์เป็นพระโพธิสัตว์. พระนางประสูติโอรสอีกองค์หนึ่ง พวกพระญาติตั้งชื่อท่านว่า สุโภคะ พระนางประสูติพระโอรสอีกพระองค์หนึ่ง พวกพระญาติได้ตั้งชื่อท่านว่า อริฏฐะ. ดังนั้นพระนางแม้ประสูติพระโอรส ๔ พระองค์แล้ว ก็ไม่รู้ว่าเป็นภพของนาค ภายหลังวันหนึ่งพวกนาคหนุ่มๆ บอกแก่พระโอรสชื่อว่า อริฏฐะว่า มารดาของพระองค์เป็นมนุษย์ ไม่ใช่เป็นนางนาค. พระโอรสนามว่า อริฏฐะ คิดว่าเราจะทดสอบพระมารดานั้น. ครั้นวันหนึ่งเมื่อเสวยนมจึงนิรมิตสรีระเป็นงู เอาปลายหางเสียดสีหลังเท้าพระมารดา. พระนางเห็นร่างงูของพระโอรสนามว่า อริฏฐะ จึงตกพระทัยสะดุ้งกลัวแล้วกรีดร้อง ทิ้งพระโอรสไปที่ภาคพื้น นัยน์ตาของพระโอรสนั้นแตกไปเพราะเล็บ แต่นั้นโลหิตก็ไหล. พระราชาทรงสดับเสียงของพระนาง จึงตรัสถามว่า นั่นเสียงกรีดร้องของใคร ทรงสดับกิริยาที่พระโอรสนามว่าอริฏฐะกระทำ จึงเสด็จพลางคุกคามว่าไปเถิดพวกท่านจงพาอริฎฐะนั้นไป ทำให้ถึงความสิ้นชีวิต. พระราชธิดาทรงทราบว่าพระราชาทรงกริ้ว จึงตรัสด้วยความสิเนหาในบุตรว่า พระเจ้าข้า นัยน์ตาบุตรของหม่อมฉันแตกไปแล้ว ขอพระองค์จงงดโทษให้แก่บุตรของหม่อมฉันเถิด. พระราชาเมื่อพระนางตรัสอย่างนั้น จึงตรัสว่า เราไม่อาจทำอะไรได้ จึงงดโทษให้ก็ในวันนั้นพระนางได้ทราบว่า นี้เป็นภพนาค จำเดิมแต่นั้นมา พระโอรสนามว่าอริฏฐะ ได้ชื่อว่า อริฏฐะบอด. ฝ่ายพระโอรสทั้ง ๔ องค์ถึงความรู้เดียงสาแล้ว. ลำดับนั้น พระบิดาของพระโอรสเหล่านั้นได้ทรงประทานรัชสมบัติแห่งละ ๑๐๐ โยชน์ ยศใหญ่ได้มีแล้ว. นางสาวนาคพากันแวดล้อมแห่งละ ๑๖,๐๐๐ พระบิดาได้มีรัชสมบัติ ๑๐๑ โยชน์เท่านั้น พระโอรสทั้ง ๓ มาเพื่อเฝ้าพระมารดาบิดาทุกๆ เดือน ฝ่าย

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 45

พระโพธิสัตว์มาทุกกึ่งเดือน พระโพธิสัตว์นั่นเองได้กล่าวถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในภพนาค พร้อมกับพระบิดาจึงไปสู่ที่อุปัฏฐากแม้ของท้าววิรูปักขมหาราช พระองค์ได้กล่าวแม้ปัญหาที่ตั้งขึ้นในสำนักของภพนาคนั้น. ภายหลังวันหนึ่ง เมื่อท้าวมหาราชวิรูปักข์ พร้อมด้วยนาคบริวารไปยังไตรทศบุรี นั่งแวดล้อมท้าวสักกะ ได้ถกปัญหาขึ้นในระหว่างหมู่เทพทั้งหลาย ใครๆ ไม่สามารถจะแก้ปัญหาแม้นั้นได้ พระโพธิสัตว์เป็นผู้นั่งอยู่บนบัลลังก์อันประเสริฐเท่านั้นจึงแก้ได้.

ลำดับนั้น พระเทวราชาทรงบูชาพระโพธิสัตว์นั้นด้วยของหอมและดอกไม้อันเป็นทิพย์แล้ว ตรัสว่า พ่อทัตตะ ท่านประกอบด้วยปัญญาอันไพบูลย์เสมอด้วยแผ่นดิน ตั้งแต่นี้ไปท่านจงชื่อว่า ภูริทัต เพราะเหตุนั้น จึงได้ตั้งชื่อท่านว่า ภูริทัต. ตั้งแต่นั้นมาท่านได้ไปสู่ที่อุปัฏฐากของท้าวสักกะ เห็นเวชยันตปราสาทอันประดับประดาไว้ และสมบัติของท้าวสักกะอันน่ารื่นรมย์ยิ่งนัก เกลื่อนกล่นไปด้วยนางเทพอัปสร ทำความปรารถนาในเทวโลก แล้วคิดว่า เราจะประโยชน์อะไรด้วยอัตภาพนี้ซึ่งมีกบเป็นภักษา แล้วไปสู่ภพนาคอยู่จำอุโบสถ จักกระทำเหตุเกิดในเทวโลกนี้ ดังนี้แล้วจึงกลับมาภพนาค ทูลลาพระมารดาและพระบิดาว่า พระแม่ พ่อ หม่อมฉันจะกระทำอุโบสถกรรม. พระมารดาพระบิดาตรัสว่า ดีละพ่อ จงทำเถิด ก็เมื่อเจ้าจะทำ เจ้าอย่าไปภายนอก จงกระทำในวิมานอันว่างแห่งหนึ่งในภพนาคนี้แล ก็เมื่อพวกนาคไปข้างนอก ภัยใหญ่ย่อมเกิดขึ้น. พระโพธิสัตว์ทูลรับว่า ดีละ แล้วอยู่จำอุโบสถในพระราชอุทยาน ในวิมานอันว่างนั้นนั่นเอง. ลำดับนั้น นางนาคต่างถือดนตรีต่างๆ แวดล้อมพระโพธิสัตว์. พระโพธิสัตว์คิดว่า เมื่อเราอยู่ในที่นี้อุโบสถจักไม่ถึงที่สุด เราจะไปถิ่นมนุษย์ กระทำอุโบสถ ไม่ได้บอกแก่มารดาและบิดา เพราะกลัวจะถูกห้ามจึงเรียกภรรยาทั้งหลายของตนมากล่าวว่า นางผู้เจริญ ฉันจะไปโลกมนุษย์ ขดขนด (เข้าสมาธิ) บนจอมปลวก ไม่ไกลแต่ที่ที่ต้นไทรใหญ่มีอยู่

 
  ข้อความที่ 46  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 46

ที่ฝั่งแม่น้ำยมุนา จักอธิษฐานอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๔ นอนกระทำอุโบสถกรรม เมื่อเรานอนทำอุโบสถกรรมตลอดคืนยังรุ่งในเวลาอรุณขึ้นนั่นแล พวกเจ้าผู้เป็นสตรี ถือดนตรีครั้งละ ๑๐ นาง จงผลัดเปลี่ยนกันไปยังสำนักของเรา บูชาเราด้วยของหอมและดอกไม้ ขับฟ้อนแล้วกลับมายังภพนาคตามเดิม ดังนี้แล้วไปในที่นั้น วงขนดบนจอมปลวกแล้วอธิษฐานอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๔ ว่า ผู้ใดปรารถนา หนัง เอ็น กระดูก หรือเลือด ผู้นั้นจงนำไปเถิด แล้วนิรมิตร่างประมาณเท่างอนไถ นอนกระทำอุโบสถกรรม พออรุณขึ้น นางมาณวิกามาปฏิบัติพระโพธิสัตว์ตามคำพร่ำสอนแล้วกลับมาสู่ภพนาค เมื่อพระโพธิสัตว์กระทำอุโบสถกรรมตามทำนองนี้ ระยะกาลผ่านไปยาวนาน.

จบอุโบสถกัณฑ์

ในกาลนั้น ยังมีพราหมณ์เนสาทคนหนึ่ง อาศัยอยู่ใกล้ประตูกรุงพาราณสี พร้อมกับโสมทัตลูกชาย ไปสู่ป่าเที่ยวดักสัตว์ด้วยหลาวยนต์และบ่วงแร้ว ฆ่ามฤคได้แล้วหาบเนื้อมาขายเลี้ยงชีพ. วันหนึ่ง พราหมณ์นั้นไม่ได้อะไร โดยที่สุดแม้เพียงเหี้ยสักตัวหนึ่ง จึงกล่าวว่า ดูก่อนพ่อโสมทัต ถ้าเราไปมือเปล่าๆ มารดาของเจ้าก็จะโกรธเอา เราจักพาสัตว์สักตัวหนึ่งไปให้ได้ ดังนี้แล้วจึงบ่ายหน้าตรงไปทางจอมปลวกที่พระโพธิสัตว์นอนอยู่ เห็นรอยเท้าเนื้อทั้งหลายซึ่งลงไปดื่มน้ำที่แม่น้ำยมุนาจึงกล่าวว่า ลูกพ่อ ทางเนื้อปรากฏอยู่ เจ้าจงถอยออกไป เราจะยิงเนื้อซึ่งมาดื่มน้ำ ดังนี้แล้วจึงหยิบเอาธนูยืนแอบโคนต้นไม้ต้นหนึ่งคอยดูเนื้ออยู่. ครั้นเวลาเย็นเนื้อตัวหนึ่งมาเพื่อดื่มน้ำ. พราหมณ์นั้นยิงเนื้อนั้น. เนื้อหาล้มลงในที่นั้นไม่ ตกใจด้วยกำลังศรมีเลือดไหลวิ่งหนีไป. ส่วนบิดาและบุตรพากันติดตามเนื้อนั้นไป จับเอาเนื้อนั้นในที่ๆ มันล้มลงแล้ว ออกจากป่า

 
  ข้อความที่ 47  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 47

ถึงต้นไทรนั้น ในเวลาพระอาทิตย์ตก จึงปรึกษากันว่า บัดนี้ไม่ใช่เวลาที่สามารถจะไปได้ เราจะพักอยู่ในที่นี้แล ดังนี้แล้วจึงเอาเนื้อวางไว้ในที่สมควรข้างหนึ่ง ก็พากันขึ้นต้นไม้นอนอยู่ที่ระหว่างค่าคบไม้. ครั้นเวลาใกล้รุ่งพราหมณ์ตื่นขึ้น เอียงหูคอยฟังเสียงเนื้อร้อง.

ขณะนั้น นางนาคมาณวิกาทั้งหลาย พากันมาตกแต่งอาสนะดอกไม้เพื่อพระโพธิสัตว์. พระโพธิสัตว์กลายร่างกายจากงู นิรมิตเป็นร่างทิพย์ประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง ประทับนั่งบนอาสนะดอกไม้ ด้วยลีลาดุจท้าวสักกเทวราช. ฝ่ายนางนาคมาณวิกาก็บูชาพระโพธิสัตว์ด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้น แล้วบรรเลงทิพย์ดนตรีจับฟ้อนรำขับร้อง. พราหมณ์ได้ฟังเสียงนั้นแล้วคิดว่า นั่นเป็นใครหนอ เราจักรู้จักเสียงนั้นดังนี้แล้ว จึงกล่าวว่า ลูกพ่อผู้เจริญ เมื่อไม่อาจปลุกบุตรให้ตื่นขึ้นได้ จึงคิดว่า ลูกนี้เห็นจะเหนื่อย จงนอนไปเถิด เราจักไปคนเดียว คิดแล้วก็ลงจากต้นไม้เข้าไปหาพระโพธิสัตว์. เหล่านางนาคมาณวิกาเห็นพราหมณ์นั้นจึงดำลงในแผ่นดินพร้อมด้วยเครื่องดนตรีกลับไปยังนาคพิภพตามเดิม. ส่วนพระโพธิสัตว์ได้นั่งอยู่แต่ผู้เดียวเท่านั้น. พราหมณ์ยืนอยู่ในสำนักของพระโพธิสัตว์ เมื่อจะถามจึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า

ท่านชื่ออะไร มีนัยน์ตาแดง อกผายนั่งอยู่ท่ามกลางป่า อันเต็มไปด้วยดอกไม้ สตรี ๑๐ คนเป็นใคร ทรงเครื่องระดับล้วนแล้วแต่ทองคำ นุ่งผ้างาม ยืนเคารพอยู่ ท่านเป็นใครมีแขนใหญ่ รุ่งเรืองอยู่ในท่ามกลางป่าเหมือนไฟอันลุกโชนด้วยเปรียง ท่านคงเป็นผู้มีศักดิ์ใหญ่คนใดคนหนึ่ง เป็นยักษ์หรือเป็นนาคผู้มี อานุภาพมาก.

 
  ข้อความที่ 48  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 48

บรรดาบทเหล่านั้นบทว่า ปุปฺผาภิหารสฺส ความว่า อันประกอบด้วยการนำไปเฉพาะซึ่งดอกไม้ทิพย์ ที่เขานำมาเพื่อบูชาพระโพธิสัตว์.

บทว่า โก แปลว่า ท่านคือใคร. บทว่า โลหิตกฺโข แปลว่า มีนัยน์ตาแดง. บทว่า วิหตนฺตรํโส แปลว่า มีรัศมีผึ่งผาย. บทว่า กา กมฺพุกายูรธรา แปลว่า ทรงเครื่องอันล้วนแล้วด้วยทองคำ. บทว่า พฺรหาพาหุ แปลว่า มีแขนใหญ่ อธิบายว่า มีแขนใหญ่. บทว่า วนสฺส มชฺเฌ ความว่า ท่านมีแขนใหญ่คือใคร มีอานุภาพมากในท่ามกลางแห่งป่าใหญ่ คือท่านเป็นใครหนอมีศักดิ์ใหญ่ ในท่ามกลางแห่งนางนาคผู้ปิดอกผูกโบที่ศีรษะ นุ่งผ้าดีๆ.

พระมหาสัตว์ได้ฟังดังนั้นแล้วดำริว่า ถ้าเราจักบอกว่า เราเป็นใครคนใดคนหนึ่งที่มีฤทธิ์ในบรรดาผู้มีฤทธิ์มีท้าวสักกเทวราชเป็นต้น. พราหมณ์คนนี้คงจักเชื่อแน่แท้ แต่วันนี้เราควรจะพูดความจริงอย่างเดียว เมื่อจะบอกว่าตนเป็นพระยานาค จึงกล่าวว่า

เราเป็นนาคผู้มีฤทธิ์เดช ยากที่ใครๆ จะล่วงได้ ถ้าแม้เราโกรธแล้ว พึงขบกัดชนบทที่เจริญ ให้แหลกได้ด้วยเดช มารดาของเราชื่อสมุททชา บิดาของเราชื่อธตรฐ เราเป็นน้องของสุทัสสนะ คนทั้งหลายเรียกเราว่า ภูริทัต.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เตชสี ความว่า ชื่อว่า ผู้มีเดชด้วยเดชเพียงดังยาพิษ. บทว่า ทุรติกฺกโม ความว่า ใครๆ อื่นไม่สามารถเพื่อจะล่วงได้. บทว่า เสยฺยํ ความว่า ถ้าเราโกรธแล้ว พึงขบกัดแม้ชนบทที่กว้างขวางได้ เมื่อเขี้ยวของเราเพียงตกไปในแผ่นดิน ด้วยเดชของเรา ชาวชนบททั้งหมดพร้อมด้วยแผ่นดินพึงไหม้เป็นขี้เถ้าไป. บทว่า สุทสฺสนกนิฏฺโสฺมิ ความ

 
  ข้อความที่ 49  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 49

ว่า เราเป็นน้องชายของสุทัสสนะ ผู้เป็นพี่ชายเรา. อธิบายว่า ความว่า ชนทั้งหมดย่อมรู้จักเราในนาคพิภพระยะทาง ๕๐๐ โยชน์ อย่างนี้ว่า วิทู ผู้รู้วิเศษ.

ก็แลพระมหาสัตว์ ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้วจึงคิดว่า พราหมณ์นี้เป็นผู้ดุร้ายหยาบคาย ถ้าเขาจะไปบอกแก่หมองูแล้ว พึงทำแม้อันตรายแก่อุโบสถกรรมของเรา ไฉนหนอเราจะนำพราหมณ์ผู้นี้ไปยังนาคพิภพ พึงให้ยศแก่ท่านเสียให้ใหญ่โตแล้ว จะพึงทำอุโบสถกรรมของเราให้ยืนยาวนานไปได้. ลำดับนั้นพระโพธิสัตว์จึงกล่าวกะพราหมณ์นั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนพราหมณ์ เราจะให้ยศแก่ท่านให้ใหญ่โต นาคพิภพเป็นสถานอันน่ารื่นรมย์นัก มาไปกันเถิด ไปในนาคพิภพนั้นด้วยกัน. พราหมณ์กล่าวว่า ข้าแต่นาย บุตรของข้าพเจ้ามีอยู่คนหนึ่ง เมื่อบุตรนั้นมา ข้าพเจ้าก็จักไป. ลำดับนั้นพระมหาสัตว์จึงกล่าวกะพราหมณ์นั้นว่า ดูกรพราหมณ์ ท่านจงไปนำบุตรของท่านมาเถิด เมื่อจะบอกที่อยู่ของพระองค์จึงกล่าวว่า

ท่านเพ่งดูห้วงน้ำลึกวนอยู่ทุกเมื่อ น่ากลัวใด ห้วงน้ำนั้น เป็นที่อยู่อันรุ่งเรืองของเรา ลึกหลายร้อยชั่วบุรุษ ท่านอย่ากลัวเลย จงเข้าไปยังแม่น้ำยมุนา เป็นแม่น้ำที่มีสีเขียวไหลจากกลางป่า กึกก้องด้วยเสียงนกยูงและนกกระเรียน เป็นที่เกษมสำราญของผู้มีอาจารวัตร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สทาวฏฺฏํ แปลว่า วนเวียนเป็นไปอยู่ทุกเมื่อ. บทว่า เภสฺมึ แปลว่า น่าสะพรึงกลัว. บทว่า อเปกฺขสิ ความว่า ท่านเพ่งดูห้วงน้ำเห็นปานนี้นั้นใด. บทว่า มยูรโกญฺจาภิรุทํ ความว่า กึกก้องด้วยเสียงร้องของนกยูงและนกกระเรียนที่อยู่ในกลุ่มป่าที่ฝั่งทั้ง ๒ ของแม่น้ำยมุนา. บทว่า นีโลทกํ แปลว่า น้ำมีสีเขียว. บทว่า วนมชฺฌโต ได้แก่

 
  ข้อความที่ 50  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 50

ไหลมาจากท่ามกลางป่า. บทว่า ปวิส มา ภีโต ความว่า ท่านอย่ากลัวเลย จงเข้าไปยังแม่น้ำยมุนา. บทว่า วตฺตวตํ ความว่า จงเข้าไปสู่ภูมิเป็นที่อยู่ของท่านผู้ถึงพร้อมด้วยวัตร ผู้มีอาจารวัตร.

ก็แลพระมหาสัตว์ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้วจึงกล่าวว่า ไปเถิดพราหมณ์ ไปนำบุตรมา. พราหมณ์จึงไปบอกความนั้นแก่บุตร แล้วพาบุตรนั้นมา. พระมหาสัตว์พาพราหมณ์กับบุตรทั้งสองไปยังฝั่งแม่น้ำยมุนา ยืนอยู่ที่ริมฝั่งแล้วกล่าวว่า

ดูก่อนพราหมณ์ ท่านพร้อมด้วยบุตรและภรรยาไปถึงนาคพิภพแล้ว เราจะบูชาท่านด้วยกามทั้งหลาย ท่านจักอยู่เป็นสุข.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปตฺโต ความว่า ท่านถึงนาคพิภพของเราแล้ว. บทว่า สานุจโร แปลว่า พร้อมด้วยภรรยา. บทว่า มยฺหํ ความว่า เราจะบูชาด้วยกามทั้งหลายอันเป็นของๆ เรา. บทว่า วจฺฉสิ ความว่า ท่านจักอยู่เป็นสุขในนาคพิภพนั้น.

ก็แลพระมหาสัตว์ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว จึงนำบิดาและบุตรทั้งสองไปยังนาคพิภพด้วยอานุภาพของตน. เมื่อบิดาและบุตรทั้งสองไปถึงนาคพิภพ อัตภาพก็ปรากฏเป็นทิพย์. ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ก็ยกสมบัติทิพย์ให้แก่บิดาและบุตรทั้งสองนั้นมากมาย และได้ให้นางนาคกัญญาคนละ ๔๐๐. ทั้งสองคนนั้นก็บริโภคสมบัติใหญ่อยู่ในนาคพิภพนั้น.

ฝ่ายพระโพธิสัตว์ก็มิได้ประมาท ไปกระทำอุปัฏฐากพระชนกและชนนีทุกกึ่งเดือน แสดงธรรมกถาถวาย และต่อแต่นั้น ก็ไปยังสำนักของพราหมณ์ ถามถึงความไม่มีโรคแล้วกล่าวว่า ท่านต้องการสิ่งใด ก็พึงบอกไปเถิด อย่า

 
  ข้อความที่ 51  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 51

เบื่อหน่าย จงรื่นเริง ดังนี้แล้ว ได้การทำปฏิสันถารกับท่านโสมทัตแล้วไปยังนิเวศน์ของพระองค์ พราหมณ์อยู่นาคพิภพได้หนึ่งปี เพราะเหตุที่ตนมีบุญน้อย ก็เกิดเบื่อหน่ายใคร่จะไปโลกมนุษย์ เห็นนาคพิภพปรากฏเหมือนโลกันตนรก ปราสาทอันประดับงดงามก็ปรากฏเหมือนเรือนจำ นางนาคกัญญาที่ตกแต่งสวยปรากฏเหมือนนางยักษิณี พราหมณ์จึงคิดว่า เราเบื่อหน่ายเป็นอันดับแรก เราจักรู้ความคิดของโสมทัตบ้าง ดังนี้แล้วจึงไปยังสำนักของท่านโสมทัตแล้วถามว่า ดูก่อนพ่อโสมทัต ท่านเบื่อหน่ายหรือไม่. ท่านโสมทัตย้อนถามว่า ข้าแต่พ่อ ข้าจักเบื่อหน่ายเพราะเหตุอะไร ข้าไม่เบื่อหน่าย ก็พ่อเบื่อหน่ายหรือ. พราหมณ์ตอบว่า เออ เราเบื่อหน่ายอยู่. โสมทัตถามว่า เบื่อหน่ายเพราะเหตุไร. พราหมณ์ตอบว่า ดูก่อนเจ้า พ่อเบื่อหน่ายด้วยมิได้เห็นมารดาและพี่น้องของเจ้า พ่อโสมทัตจงมาไปด้วยกันเถิด. โสมทัตแม้กล่าวว่า จะไม่ไป แต่เมื่อบิดาอ้อนวอนแล้วอ้อนวอนเล่าก็รับคำ. พราหมณ์คิดว่า เราได้ความตกลงใจของบุตรเป็นอันดับแรก แต่ถ้าจะบอกพระภูริทัตว่าเราเบื่อหน่าย พระภูริทัตก็จักให้ยศแก่เรายิ่งๆ ขึ้นไป เมื่อเป็นเช่นนี้เราก็จะไม่ได้ไป เราจะต้องพรรณนายกย่องสมบัติของภูริทัตด้วยอุบายอย่างหนึ่งจึงถามว่า ที่พระภูริทัตละสมบัติถึงเพียงนี้ ไปทำอุโบสถกรรมที่มนุษยโลกนั้นเพราะเหตุใด ถ้าตอบว่าต้องการจะไปสวรรค์ เราก็จักทูลให้ทราบความหมายของเราว่า สมบัติมีถึงอย่างนี้แล้ว ท่านยังละไปทำอุโบสถกรรมเพื่อต้องการจะไปสวรรค์เพราะเหตุไรเล่า คนอย่างเราจะมาเลี้ยงชีวิตอยู่ด้วยทรัพย์ของผู้อื่น เราจักไปมนุษยโลกเยี่ยมญาติแล้วบวชบำเพ็ญสมณธรรม ดังนี้ พระภูริทัตคงจักอนุญาตให้ไป ครั้นพราหมณ์คิดดังนี้ ครั้นต่อมาวันหนึ่ง พอพระโพธิสัตว์มาเยี่ยมและถามว่า เบื่อหรือไม่ ก็ตอบว่า ข้าพเจ้าจักเบื่อหน่ายเพราะเหตุอะไร สิ่งของเครื่องบริโภคที่ได้แต่สำนักของพระองค์ มิได้บกพร่องสักอย่างหนึ่ง ในระยะนี้ พราหมณ์มิได้

 
  ข้อความที่ 52  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 52

แสดงถึงเรื่องที่เกี่ยวแก่การจะไป ตั้งต้นก็กล่าวพรรณนาถึงสมบัติของพระโพธิสัตว์ว่า

แผ่นดินมีพื้นอันราบเรียบ ประกอบด้วยต้นกฤษณาเป็นอันมาก ดารดาษด้วยหมู่แมลงค่อมทอง มีหญ้าเขียวชะอุ่มงามอุดม หมู่ไม้อันน่ารื่นรมย์ สระโบกขรณีที่สร้างไว้สวยงาม ระงมด้วยเสียงหงส์ มีดอกปทุมร่วงหล่นอยู่เกลื่อนกลาด มีปราสาท ๘ มุม มีเสา ๑,๐๐๐ เสา สำเร็จด้วยแก้วไพฑูรย์ เรืองจรูญด้วยเหล่านางนาคกัญญา พระองค์เป็นผู้บังเกิดในวิมานทิพย์อันกว้างใหญ่ เป็นวิมานเกษมสำราญรื่นรมย์ มีความสุขหาสิ่งใดจะเปรียบปานมิได้ ด้วยบุญของพระองค์ พระองค์เห็นจะไม่ทรงหวังวิมานของพระอินทร์ เพราะฤทธิ์อันยิ่งใหญ่ไพบูลย์ของพระองค์นี้เหมือนของท้าวสักกเทวราชผู้รุ่งเรือง ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมา สมนฺตปริโต ความว่า แผ่นดินในนาคพิภพของท่านนี้ ในทิสาภาคทั้งปวง มีพื้นอันราบเรียบ เกลื่อนกล่นไปด้วยทองคำ เงิน แก้วมณี แก้วมุกดา และทราย. บทว่า สมา ได้แก่ แผ่นดินมีพื้นเสมอ. บทว่า ปหุตครา มหี ความว่า ประกอบด้วยต้นกฤษณาเป็นอันมาก. บทว่า อินฺทโคปกสญฉนฺนา ความว่า ดารดาษไปด้วยหมู่แมลงค่อมทอง. บทว่า โสภติ หริตุตฺตมา ความว่า ดารดาษไปด้วยหญ้าแพรกมีสีเขียวชะอุ่มดูงดงาม. บทว่า วนเจตฺยานิ ได้แก่ หมู่ไม้ในป่า. บทว่า โอปุปฺผปทุมา ความว่า บนหลังน้ำดารดาษไปด้วยดอกปทุมที่ร่วงหล่น. บทว่า สุนิมฺมิตา ความว่า สร้างขึ้นด้วยดีด้วยบุญสมบัติ

 
  ข้อความที่ 53  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 53

ของท่าน. บทว่า อฏฺํสา ความว่า ในปราสาทอันเป็นที่อยู่ของท่าน มีเสาแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์ สร้างไว้ดีทั้ง ๘ มุม ปราสาทของท่านมีเสา ๑,๐๐๐ บริบูรณ์รุ่งโรจน์ โชติช่วงด้วยนางนาคกัญญา. บทว่า อุปปนฺโนสิ ความว่า ท่านบังเกิดในวิมานเห็นปานนี้. บทว่า สหสฺสเนตฺตสฺส วิมานํ ได้แก่ เวชยันตปราสาท. บทว่า อิทฺธิ หิ ตยายํ วิปุลา ความว่า เพราะเหตุที่ฤทธิ์อันยิ่งใหญ่ไพบูลย์ของท่านนี้ ด้วยอุโบสถกรรมนั้น ท่านจึงไม่ปรารถนาวิมานแม้ของท้าวสักกเทวราช ข้าพเจ้าสำคัญว่า ท่านปรารถนาตำแหน่งอื่นยิ่งกว่านั้น.

พระมหาสัตว์ ครั้นได้ฟังดังนั้นแล้วจึงกล่าวว่า ดูก่อนพราหมณ์ ท่านอย่าพูดอย่างนั้นเลย. ยศศักดิ์ของเราหากเทียบกับยศศักดิ์ของท้าวสักกเทวราชแล้ว นับว่าต่ำมาก ปรากฏเหมือนเมล็ดพันธุ์ผักกาดใกล้ภูเขาสิเนรุ พวกเราก็มีค่าไม่ถึงแม้ด้วยคนบำเรอของท่าน ดังนี้แล้วจึงกล่าวคาถาว่า

อานุภาพของคนบำรุงบำเรอชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งอยู่ในอำนาจของท้าวสักกเทวราชผู้รุ่งเรือง ซึ่งใครๆ ไม่พึงถึงด้วยใจ.

ความแห่งคำเป็นคาถานั้นมีดังนี้ ดูก่อนพราหมณ์ ใครๆ ไม่พึงถึงด้วยใจคือแม้ด้วยจิตว่า ชื่อว่า ยศศักดิ์ของท้าวสักกเทวราช จะมีเพียงเท่านี้ คือ ๑ - ๒ - ๓ - ๔ วันเท่านั้น ยศศักดิ์ของสัตว์เดรัจฉานของเรายังไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งยศศักดิ์ของท้าวมหาราชทั้ง ๔ ก็ดี ของท้าวโลกบาลทั้ง ๔ ผู้บำรุงบำเรอเที่ยวทำให้เป็นผู้ใหญ่ผู้นำก็ดี.

ก็แลครั้นพระโพธิสัตว์กล่าวอย่างนี้แล้ว จึงกล่าวต่อไปว่า เราได้ยินท่านพูดว่า นี้เป็นวิมานของท่านผู้มีพระเนตรตั้ง ๑,๐๐๐ เราก็ระลึกได้เพราะว่าเรา

 
  ข้อความที่ 54  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 54

ปรารถนาเวชยันตปราสาท จึงกระทำอุโบสถกรรม เมื่อจะบอกความปรารถนาของตนแก่พราหมณ์ จึงกล่าวคาถานี้ว่า

เราปรารถนาวิมานของเทวดาทั้งหลาย ผู้ตั้งอยู่ในความสุขนั้น จึงเข้าจำอุโบสถ อยู่บนจอมปลวก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภิชฺฌาย แปลว่า ปรารถนา. บทว่า อมรานํ ได้แก่ เทพผู้มีอายุยืนนาน. บทว่า สุเขสินํ ได้แก่ ผู้แสวงหาความสุข คือผู้ปรารถนาความสุข.

พราหมณ์ครั้นได้ฟังดังนั้นแล้ว ถึงความโสมนัสว่า บัดนี้เราได้โอกาสแล้ว เมื่อจะลาไปจึงกล่าว ๒ คาถาว่า

ข้าพระองค์กับทั้งบุตรเข้าไปสู่ป่าแสวงหามฤคมานานวัน พวกญาติทางบ้านเหล่านั้น ไม่รู้ว่าข้าพระองค์ตายหรือเป็น ข้าพระองค์จะขอทูลลาพระภูริทัตผู้ทรงยศ เป็นโอรสแห่งกษัตริย์กาสี กลับไปยังมนุษยโลก พระองค์ทรงอนุญาตแล้ว ข้าพระองค์ก็จะไปเยี่ยมหมู่ญาติ พระเจ้าข้า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาภิเวเทนฺติ แปลว่า ย่อมไม่รู้. ความว่า แม้เมื่อกล่าวถึงพวกเขาเหล่านั้นก็ไม่มีใครรู้เลย. บทว่า มิคเมสาโน ตัดเป็น มิคํ เอสาโน แปลว่า ผู้แสวงหามฤค. บทว่า อามนฺตเย แปลว่า ข้าพระองค์ขอทูลลา. บทว่า กาสิปุตฺตํ ได้แก่ เป็นโอรสแห่งราชธิดาของกษัตริย์กาสี.

ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์กล่าว ๒ คาถาว่า

การที่ท่านได้มาอยู่ในสำนักของเรานี้ เป็นความพอใจของเราหนอ แต่ว่ากามารมณ์เช่นนี้ เป็นของ

 
  ข้อความที่ 55  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 55

ไม่ได้ง่ายในมนุษย์ ถ้าท่านไม่ปรารถนาจะอยู่ เราจะบูชาท่านด้วยกามารมณ์ทั้งหลาย เราอนุญาตให้ท่านไปเยี่ยมญาติได้โดยสวัสดี.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ ครั้นกล่าว ๒ คาถาแล้ว จึงคิดว่า พราหมณ์นี้ เมื่อได้อาศัยเราเลี้ยงชีพเป็นสุขคงจะไม่บอกแก่ใครๆ เราจักให้แก้วมณีอันให้ความใคร่ทุกอย่างแก่พราหมณ์นี้. ลำดับนั้น เมื่อจะให้แก้วมณีแก่พราหมณ์นั้น จึงกล่าวว่า

ดูก่อนพราหมณ์ ท่านจงรับเอาทิพยมณีนี้ไป เมื่อท่านทรงทิพยมณีนี้ไป จะต้องการปศุสัตว์ก็ดี บุตรก็ดี หรือปรารถนาอะไรอื่นก็ดี ก็จะได้สมประสงค์ทุกประการ ท่านจงปราศจากโรคภัยเป็นสุขเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปสุํ ปุตฺเต จ วินฺทสิ ความว่า เมื่อท่านทรงแก้วมณีนี้ ด้วยอานุภาพของแก้วมณีนี้ ท่านย่อมได้สิ่งที่ท่านปรารถนาทั้งหมด คือจะเป็นปศุสัตว์ บุตร และสิ่งอื่นก็จะได้สมประสงค์.

ลำดับนั้น พราหมณ์จึงกล่าวคาถาว่า

ข้าแต่พระภูริทัต พระดำรัสของพระองค์หาโทษมิได้ ข้าพระองค์ยินดียิ่งนัก ข้าพระองค์แก่แล้วจักบวช ไม่ปรารถนากามทั้งหลาย.

คำอันเป็นคาถานั้นมีอธิบายว่า ดูก่อนภูริทัต พระดำรัสของท่านเป็นกุศล ไม่มีโทษ ข้าพระองค์ยินดีพระดำรัสนั้นยิ่งนักไม่ปฏิเสธ แต่ข้าพระองค์แก่แล้ว เพราะฉะนั้นข้าพระองค์จักบวช. บทว่า น กาเม อภิปตฺถเย ความว่า ข้าพระองค์ไม่ปรารถนากามทั้งหลาย ข้าพระองค์จะประโยชน์อะไรด้วยแก้วมณี.

 
  ข้อความที่ 56  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 56

พระมหาสัตว์จึงกล่าวว่า

หากว่าพรหมจรรย์มีการต้องละเลิกไซร้ กิจที่พึงทำด้วยโภคทรัพย์ทั้งหลายเกิดขึ้น ท่านอย่าได้มีความหวั่นใจเลยควรมาหาเรา เราจะให้ทรัพย์แก่ท่านมากๆ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เจ ภงฺโค ความว่า ดูก่อนพราหมณ์ ชื่อว่าการอยู่พรหมจรรย์ เป็นการทำได้ยากยิ่ง ถ้าหากในกาลใด พรหมจรรย์ที่เราไม่ยินดีมีการต้องละเลิก ในกาลนั้น กิจที่ต้องทำด้วยโภคทรัพย์ทั้งหลายของผู้เป็นคฤหัสถ์มีอยู่ ในกาลเช่นนี้ ท่านอย่าได้หวาดหวั่นใจไปเลย ควรมาสำนักเรา เราจะให้ทรัพย์แก่ท่านมากๆ.

พราหมณ์กล่าวว่า

ข้าแต่พระภูริทัต พระดำรัสของพระองค์หาโทษมิได้ ข้าพระองค์ยินดียิ่งนัก ข้าพระองค์จะกลับมาอีก ถ้าจักมีความต้องการ.

ศัพท์ว่า ปุนาปิ ในคาถานั้นแก้เป็นปุนปิ. อนึ่ง นี้ก็เป็นบาลีเช่นกัน

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์รู้ว่าพราหมณ์นั้นไม่ปรารถนาจะอยู่ในที่นั้น จึงให้เรียกนาคมาณพทั้งหลายมา แล้วส่งไปว่า พวกท่านจงนำพราหมณ์ไปให้ถึงมนุษยโลก.

พระศาสดาเมื่อทรงประกาศความนั้น จึงตรัสว่า

พระภูริทัตตรัสดำรัสนี้แล้ว จึงใช้ให้นาคมาณพ ๔ ตนไปส่งว่า ท่านทั้งหลายจงมา เตรียมตัวพาพราหมณ์ไปส่งให้ถึงโดยเร็ว นาคมาณพทั้ง ๔ ตนที่ภูริทัตตรัสใช้ให้ไปส่ง ฟังรับสั่งของภูริทัต เตรียมตัวแล้วพาพราหมณ์ไปส่งให้ถึงโดยเร็ว.

 
  ข้อความที่ 57  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 57

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาเปสุํ ความว่า นาคมาณพทั้ง ๔ ขึ้นจากแม่น้ำยมุนา ส่งให้ถึงทางไปกรุงพาราณสี ก็แลครั้นส่งให้ถึงแล้วจึงกล่าวว่า ไปเถิดท่าน ดังนี้แล้วก็กลับมายังนาคพิภพตามเดิม.

ฝ่ายพราหมณ์ เมื่อบอกแก่บุตรว่า ดูก่อนพ่อโสมทัต เรายิงมฤคในที่นี้ สุกรในที่นี้ ดังนี้แล้วจึงเดินไป เห็นสระโบกขรณีในระหว่างทางแล้วกล่าวว่า พ่อโสมทัต อาบน้ำกันเถิด เมื่อท่านโสมทัตกล่าวว่า ดีละพ่อ ทั้งสองคนจึงเปลื้องเครื่องอาภรณ์อันเป็นทิพย์และผ้าทิพย์ แล้วห่อวางไว้ริมฝั่งสระโบกขรณีแล้วลงไปอาบน้ำ. ขณะนั้น เครื่องอาภรณ์และผ้าทิพย์เหล่านั้นได้หายไปยังนาคพิภพตามเดิม ผ้านุ่งห่มผืนเก่ากลับสวมใส่ในร่างของคนทั้งสองนั้นก่อนแม้ธนูศรและหอกได้ปรากฏตามเดิม. ฝ่ายท่านโสมทัตร้องว่า ท่านทำเราให้ฉิบหายแล้วพ่อ. ลำดับนั้น บิดาจึงปลอบท่านโสมทัตว่า อย่าวิตกไปเลยลูกพ่อ เมื่อมฤคมีอยู่เราฆ่ามฤคในป่าเลี้ยงชีวิต. มารดาท่านโสมทัตทราบการมาของคนทั้งสอง จึงต้อนรับนำไปสู่เรือน จัดข้าวน้ำเลี้ยงดูให้อิ่มหนำสำราญ. พราหมณ์บริโภคอาหารเสร็จแล้วก็หลับไป. ฝ่ายนางจึงถามบุตรว่า พ่อโสมทัต ทั้ง ๒ คนหายไปไหนมานานจนถึงป่านนี้. โสมทัตตอบว่า ข้าแต่แม่ พระภูริทัตนาคราชพาข้ากับบิดาไปยังนาคพิภพ เพราะเหตุนั้นเราทั้งสองคิดถึงแม่ จึงกลับมาถึงบัดนี้. มารดาถามว่า ได้แก้วแหวนอะไรๆ มาบ้างเล่า. โสมทัตตอบว่า ไม่ได้มาเลยแม่. มารดาถามว่า. ทำไมพระภูริทัตไม่ให้อะไรบ้างหรือ. โสมทัตตอบว่า พระภูริทัตให้แก้วสารพัดนึกแก่พ่อๆ ไม่รับเอามา. มารดาถามว่า เหตุไรพ่อเจ้าจึงไม่รับ. โสมทัตตอบว่า. ข้าแต่แม่ ข่าวว่าพ่อจักบวช. นางพราหมณีนั้นโกรธว่า บิดาทิ้งทารกให้เป็นภาระแก่เรา ตลอดกาลประมาณเท่านี้ ไปอยู่เสียในนาคพิภพ ข่าวว่าเดี๋ยวนี้จะบวช ดังนี้แล้วจึงตีหลังพราหมณ์ด้วยพลั่วสาดข้าว แล้วขู่คำรามว่า อ้ายพราหมณ์ผู้ชั่วร้าย ข่าวว่าจักบวช ภูริทัตให้แก้วมณีก็ไม่รับ ทำไมไม่บวช กลับมาที่นี้

 
  ข้อความที่ 58  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 58

ทำไมอีกเล่า จงรีบออกไปให้พ้นเรือนกู. ลำดับนั้น พราหมณ์จึงปลอบนางพราหมณีว่า เจ้าอย่าโกรธข้าเลย เมื่อมฤคในป่ายังมีอยู่ข้าจะไปฆ่ามาเลี้ยงเจ้า ดังนี้แล้วก็จากที่นั้นไปป่าพร้อมด้วยบุตร หาเลี้ยงชีวิตโดยทำนองในก่อนแล.

จบเนสาทกัณฑ์

ในกาลนั้น ยังมีครุฑคนหนึ่ง อยู่ที่ต้นงิ้วทางมหาสมุทรภาคใต้ กระพือลมปีกแหวกน้ำในมหาสมุทรลงไป จับศีรษะนาคราชได้ตัวหนึ่ง. แท้จริงในกาลนั้น ครุฑทั้งหลาย ยังไม่รู้จักวิธีจับนาค ครั้นภายหลังจึงรู้จักวิธีจับนาคอย่างในปัณฑรกชาดก (๑) แต่ครุฑตัวนั้น เมื่อจับนาคทางศีรษะ ยังไม่ทันน้ำจะท่วมมาถึง ก็หิ้วนาคขึ้นได้ ปล่อยให้นาคห้อยหางลง พาบินไปเบื้องบนป่าหิมพานต์. ก็ในกาลนั้นมีพราหมณ์ชาวกาสิกรัฐผู้หนึ่ง ออกบวชเป็นฤาษี สร้างบรรณศาลาอาศัยอยู่ในหิมวันตประเทศ. ที่สุดจงกรมของฤาษีนั้นมีต้นไทรใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง. ฤาษีนั้นทำที่พักผ่อนหย่อนใจในกลางวันที่โคนต้นไทรนั้น ครุฑหิ้วนาคผ่านไปถึงตรงยอดไทร. นาคปล่อยหางห้อยอยู่ก็เอาหางพันคาคบต้นไทรด้วยหมายใจจะให้พ้น. ครุฑมิทันรู้ก็รีบไปทางอากาศ เพราะมันมีกำลังมาก. ต้นไทรพร้อมทั้งรากติดหางนาคไปด้วย เมื่อครุฑพานาคไปถึงต้นงิ้วก็จิกด้วยจะงอยปาก ฉีกท้องนาคกินมันเหลวของนาค ทิ้งร่างลงไปในท้องมหาสมุทร ต้นไทรก็ตกลงเสียงดังสนั่นหวั่นไหว. ครุฑสงสัยว่าเสียงอะไร ก็มองไปดูเบื้องต่ำแลเห็นต้นไทร จึงคิดในใจว่า ต้นไทรนี้เราถอนมาแต่ไหน ก็นึกได้โดยถ่องแท้ว่า ต้นไทรนั้นอยู่ท้ายที่จงกรมของพระดาบส ตัวเราจะปรากฏว่าทำอกุศลหรือไม่หนอ เราจักไปถามดาบสนั้นดูก็จะรู้ได้ ดังนี้แล้วก็แปลงเพศเป็นมาณพน้อยไปสู่สำนักพระดาบส. ขณะนั้นพระดาบสกำลังทำที่นั้นให้สม่ำเสมอ. พระยาสุบรรณไหว้พระดาบสแล้วก็นั่งอยู่ ณ ที่สมควร ทำทีประหนึ่งว่าไม่รู้


๑. ขุ. ชา. ๒๗/๒๓๘๗

 
  ข้อความที่ 59  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 59

แกล้งถามว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าผู้เจริญ ที่ตรงนี้เดิมเป็นที่อยู่ของอะไร. ดาบสตอบว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ สุบรรณตนหนึ่งนำนาคมาเพื่อเป็นภักษาหาร เมื่อนาคเอาหางพันคาคบต้นไทรด้วยหมายจะให้พ้น สุบรรณนั้นมิทันรู้บินไปโดยเร็ว เพราะความที่ตนมีกำลังมาก เมื่อเป็นเช่นนี้ต้นไม้ในที่นี้ ก็ถูกถอนขึ้นทันที ที่ตรงนี้แหละเป็นที่แห่งต้นไทรนั้นถอนขึ้น. สุบรรณถามว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าผู้เจริญ อกุศลกรรมจะมีแก่สุบรรณหรือไม่. ดาบสตอบว่า ถ้าหากว่าสุบรรณนั้นไม่รู้อกุศลกรรมก็ไม่มี เพราะไม่มีเจตนา. สุบรรณถามว่า ก็อกุศลกรรมจะมีแก่นาคนั้นหรือไม่เล่าเจ้าข้า. ดาบสตอบว่า นาคก็มิได้จับเหนี่ยวไว้เพื่อจะให้ต้นไทรเสียหาย จับเหนี่ยวไว้เพื่อจะให้พ้นภัย เพราะเหตุนั้นอกุศลกรรมก็ไม่มีแก่นาคแม้นั้นเหมือนกัน.

สุบรรณได้ฟังคำของดาบสก็ยินดีจึงกล่าวว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าผู้เจริญ ข้าพเจ้านี้แหละคือสุบรรณนั้น ข้าพเจ้ายินดีด้วยพระผู้เป็นเจ้าแก้ปัญหา ข้าพเจ้ารู้มนต์ชื่อว่า อาลัมพายน์ บทหนึ่งหาค่ามิได้ ข้าพเจ้าจะถวายมนต์นั้นแก่พระผู้เป็นเจ้า ให้เป็นส่วนบูชาอาจารย์ พระผู้เป็นเจ้าจงรับไว้เถิด. ดาบสกล่าวว่า พอละ เราไม่ต้องการด้วยมนต์ ท่านจงไปเถิด. สุบรรณวิงวอนอยู่บ่อยๆ จนพระดาบสรับแล้วจึงถวายมนต์ แล้วบอกยาแก่ดาบสแล้วก็หลีกไป.

จบครุฑกัณฑ์

ในกาลนั้น ยังมีพราหมณ์คนหนึ่งในกรุงพาราณสีกู้ยืมหนี้สินไว้มากมาย ถูกเจ้าหนี้ทั้งหลายทวงถามก็คิดว่า เราจะอยู่ในเมืองนี้ไปทำไมอีก เข้าไปตายเสียในป่ายังประเสริฐกว่า ดังนี้แล้วจึงออกจากบ้านเข้าไปในป่าจึงบรรลุถึงอาศรมแห่งพระฤาษี ปฏิบัติพระดาบสให้ยินดีด้วยวัตตสัมปทาคุณ. พระดาบสคิดว่า พราหมณ์ผู้นี้เป็นผู้มีอุปการะแก่เรายิ่งนัก เราจักให้ทิพยมนต์ซึ่งสุบรรณราชให้เราไว้แก่พราหมณ์ผู้นี้ ดังนี้แล้วก็บอกพราหมณ์ว่า ดูก่อนพราหมณ์ เรา

 
  ข้อความที่ 60  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 60

รู้มนต์ชื่อว่าอาลัมพายน์ จักให้มนต์นั้นแก่ท่าน ท่านจงเรียนมนต์นั้นไว้ แม้เมื่อพราหมณ์นั้นห้ามว่า อย่าเลย ข้าพเจ้าไม่ต้องการมนต์ ก็อ้อนวอนแล้วอ้อนวอนเล่า จนพราหมณ์รับถ้อยคำแล้วจึงให้มนต์ และบอกยาอันประกอบกับมนต์ และอุปจารแห่งมนต์ พราหมณ์นั้นคิดว่า. เราได้อุบายที่จะเลี้ยงชีพแล้ว ก็พัก อยู่ ๒ - ๓ วัน แล้วอ้างเหตุว่า โรคลมเบียดเบียน จนพระดาบสยอมปล่อยไป จึงกราบไหว้พระดาบสขอขมาโทษแล้วก็ออกจากป่าไป จนถึงฝั่งแม่น้ำยมุนาโดยลำดับ เดินสาธยายมนต์นั้นไปตามหนทางใหญ่.

ขณะนั้น นางนาคมาณวิกาบาทบริจาริกาของพระภูริทัตประมาณ ๑,๐๐๐ ตน ต่างถือเอาแก้วมณีที่ให้ความปรารถนาทุกอย่างนั้นออกจากนาคพิภพ แล้ววางแก้วนั้นไว้บนกองทราย ริมฝั่งแม่น้ำยมุนา แล้วพากันเล่นน้ำตลอดคืน ด้วยแสงสว่างแห่งแก้วมณีนั้น ครั้นอรุณขึ้น จึงพากันตกแต่งกายด้วยเครื่องอาภรณ์ทั้งปวง นั่งล้อมแก้วมณีให้สิริเข้าสู่กาย. ฝ่ายพราหมณ์ก็เดินสาธยายมนต์มาถึงที่นั้น เหล่านางนาคมาณวิกาได้ยินเสียงมนต์ สำคัญว่าเสียงพราหมณ์นั้นเป็นสุบรรณ ก็สะดุ้งกลัวเพราะมรณภัยไม่ทันหยิบแก้วมณี ก็พากันแทรกปฐพีไปยังนาคพิภพ พราหมณ์เห็นแก้วมณีก็ดีใจว่ามนต์ของเราสำเร็จผลเดี๋ยวนี้แล้ว ก็หยิบเอาแก้วมณีนั้นไป.

ขณะนั้น พราหมณ์เนสาทพร้อมโสมทัตเข้าไปสู่ป่าเพื่อล่าเนื้อ เห็นแก้วมณีนั้นในมือของพราหมณ์นั้น จึงกล่าวกะบุตรว่า ดูก่อนโสมทัต แก้วมณีดวงนี้พระภูริทัตให้แก่เรามิใช่หรือ.

โสมทัต. ใช่แล้วพ่อ.

บิดา. ถ้าเช่นนั้นเราจะกล่าวโทษแก้วมณีดวงนั้นหลอกพราหมณ์เอาแก้วมณีนี้เสีย.

โสมทัต. ข้าแต่พ่อ เมื่อพระภูริทัตให้ครั้งก่อนพ่อไม่รับ แต่บัดนี้กลับจะไปหลอกพราหมณ์เล่า นิ่งเสียเถิด.

 
  ข้อความที่ 61  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 61

พราหมณ์เนสาทจึงกล่าวว่า เรื่องนั้นยกไว้ก่อน เจ้าคอยดูเราหลอกตานั่นเถิด ว่าแล้วเมื่อจะปราศรัยกับอาลัมพายน์จึงกล่าวว่า

แก้วมณีที่สมมติว่าเป็นมงคล เป็นของดี เป็นเครื่องปลื้มรื่นรมย์ใจเกิดแต่หิน สมบูรณ์ด้วยลักษณะที่ท่านถืออยู่นี้ ใครได้มาไว้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มงฺคลฺยํ ความว่า แก้วมณีที่สมมติว่าเป็นมงคล ให้ซึ่งสมบัติอันน่าใคร่ทั้งปวง.

ลำดับนั้น อาลัมพายน์กล่าวคาถาว่า

แก้วมณีนี้ พวกนางนาคมาณวิกาประมาณ ๑,๐๐๐ ตน ล้วนมีตาแดงแวดล้อมอยู่โดยรอบ ในกาลวันนี้ เราเดินทางไปได้แก้วมณีนั้นมา.

คำเป็นคาถานั้นมีอธิบายว่า วันนี้เราเดินไปตามทางแต่เวลาเช้าตรู่ เดินไปตามหนทางใหญ่ได้พบแก้วมณี แวดล้อมโดยรอบด้วยนางนาคมาณวิกาผู้มีตาแดงประมาณ ๑,๐๐๐ ตน ก็นางนาคมาณวิกาทั้งหมดนั้นเห็นเราเข้า สะดุ้งตกใจแล้ว พากันทิ้งแก้วมณีนี้หนีไป.

พราหมณ์เนสาท ประสงค์จะลวงอาลัมพายน์นั้น จึงประกาศโทษแห่งแก้วมณี ประสงค์จะยึดเอาเป็นของตนจึงกล่าวคาถาว่า

แก้วมณีอันเกิดแต่หินนี้ ที่สั่งสมมาได้ด้วยดี อันบุคคลเคารพบูชาประดับประดาเก็บรักษาไว้ดีทุกเมื่อ ยังประโยชน์ทั้งปวงให้สำเร็จได้ เมื่อบุคคลปราศจากการระวังในการเก็บรักษา หรือในการประดับประดา

 
  ข้อความที่ 62  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 62

แก้วมณีอันเกิดแต่หินนี้ ที่บุคคลหามาได้โดยไม่แยบคาย ย่อมเป็นไปเพื่อความพินาศ คนผู้ไม่มีกุศล ไม่ควรประดับแก้วมณีอันเป็นทิพย์นี้ เราจักให้ทองคำร้อยแท่ง ขอท่านจงให้แก้วมณีนี้แก่เราเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพตฺถํ ความว่า ผู้ใดจักเก็บประดับสั่งสมแก้วมณีอันเกิดแต่หินนี้ คือทรงไว้เก็บไว้ด้วยดี โดยยึดถือว่าของๆ เรา เหมือนชีวิตของตน อันผู้นั้นนั่นเก็บสั่งสมด้วยดี บูชาทรงไว้เก็บรักษาไว้ด้วยดี ย่อมยังประโยชน์ทุกอย่างให้สำเร็จ. บทว่า อุปจารวิปนฺนสฺส ความว่า ก็บุคคลผู้ปราศจากการเก็บรักษาไว้โดยอุบายอันไม่แยบคาย ท่านกล่าวว่าย่อมนำมาแต่ความพินาศเท่านั้น. บทว่า ธาเรตุมารโห แปลว่า ไม่ควรเพื่อจะประดับประดา. บทว่า ปฏิปชฺช สตํ นิกฺขํ ความว่า พวกเรารู้เพื่อจะเก็บแก้วมณีไว้ให้มากในเรือนของเรา เราจะให้แท่งทอง ๑๐๐ แท่งแก่ท่าน ท่านจงปกครองแท่งทองนั้น แล้วจงให้แก้วมณีแก่เรา. แม้แท่งทองในเรือนของท่านเพียงแท่งเดียวก็ไม่มี ผู้นั้นย่อมรู้ว่าแก้วมณีนั้นให้สิ่งสารพัดนึก เราจะอาบน้ำดำศีรษะแล้ว เอาน้ำประพรมแก้วมณี จึงกล่าวว่า ท่านจงให้แท่งทอง ๑๐๐ แท่งแก่เรา เมื่อเป็นเช่นนี้เราจักให้แก้วมณีที่ปรากฏว่าเป็นของเราแก่ท่าน เพราะเหตุนั้นผู้กล้าหาญจึงกล่าวอย่างนี้.

ลำดับนั้น อาลัมพายน์ กล่าวคาถาว่า

แก้วมณีของเรานี้ ไม่ควรแลกเปลี่ยนด้วยโคหรือรัตนะ เพราะแก้วมณีอันเกิดแต่หิน บริบูรณ์ด้วยลักษณะเราจึงไม่ขาย.

 
  ข้อความที่ 63  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 63

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เนวมายํ ความว่า แก้วมณีของเรานี้ชื่อว่า ควรแลกเปลี่ยนด้วยวัตถุอะไร. บทว่า เนว เกยฺโย ความว่า และแก้วมณีของเรานี้ สมบูรณ์ด้วยลักษณะชื่อว่าเป็นของไม่ควรซื้อและควรขายด้วยวัตถุอะไรๆ.

พราหมณ์เนสาทกล่าวว่า

ถ้าท่านไม่แลกเปลี่ยนแก้วมณีด้วยโคหรือรัตนะ เมื่อเป็นเช่นนั้นท่านจะแลกเปลี่ยนแก้วมณีด้วยอะไร เราถามแล้ว ขอท่านจงบอกความข้อนั้นแก่เรา.

อาลัมพายน์กล่าวว่า

ผู้ใดบอกนาคใหญ่ผู้มีเดช ยากที่บุคคลจะล่วงเกินได้ เราจะให้แก้วมณีอันเกิดแต่หินอันรุ่งเรืองด้วยรัศมี.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชลนฺตริว เตชสา แปลว่า เหมือนรุ่งเรืองด้วยรัศมี

พราหมณ์เนสาทกล่าวว่า

ครุฑผู้ประเสริฐหรือใครหนอ แปลงเพศเป็นพรหมณ์มาแสวงหานาค ประสงค์จะนำไปเป็นอาหารของตน.

คำว่า โก นุ นี้ในคาถานั้น พราหมณ์เนสาทคิดว่า ชะรอยว่าผู้นั้นเป็นครุฑติดตามอาหารของตนจึงกล่าวอย่างนั้น

อาลัมพายน์กล่าวว่า

ดูก่อนพราหมณ์ เรามิได้เป็นครุฑ เราไม่เคยเห็นครุฑ เราเป็นผู้สนใจด้วยงูพิษ ชนทั้งหลายรู้จักเราว่าเป็นหมองู.

 
  ข้อความที่ 64  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 64

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มํ วิทู ความว่า ชนทั้งหลายรู้จักเราว่า ผู้นี้เป็นผู้สนใจด้วยงูพิษ เป็นหมองู ชื่อว่า อาลัมพายน์.

พราหมณ์เนสาทกล่าวว่า

ท่านมีกำลังอะไร มีศิลปอะไร ท่านเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งผลอันพิเศษในอะไร จึงไม่ยำเกรงนาค.

บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยคำว่า กิสฺมึ วา ตฺวํ ปรตฺถทฺโธ ท่านถามว่า ท่านเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งผลอันพิเศษในอะไร กระทำอะไรให้เป็นที่อาศัย จึงไม่ยำเกรงนาคคืออสรพิษ คือดูหมิ่นไม่ทำความยำเกรงให้เป็นผู้ประเสริฐ.

อาลัมพายน์นั้น เมื่อแสดงกำลังของตนจึงกล่าวว่า

ครุฑมาบอกวิชาหมองูอย่างสูงแก่ฤาษีโกสิยโคตร ผู้อยู่ในป่าประพฤติตบะอยู่สิ้นกาลนาน เราเข้าไปหาฤาษีตนหนึ่งซึ่งนับเข้าในพวกฤาษีผู้บำเพ็ญตน อาศัยอยู่ในระหว่างภูเขา ได้บำรุงท่านโดยเคารพ มิได้เกียจคร้านทั้งกลางคืนกลางวัน ในกาลนั้น ท่านบำเพ็ญวัตรและพรหมจรรย์ เป็นผู้มีโชค เมื่อได้สมาคมกับเรา จึงสอนมนต์ทิพย์ให้แก่เราด้วยความรัก เราทรงไว้ซึ่งผลอันวิเศษในมนต์นั้น จึงไม่กลัวต่อนาค เราเป็นอาจารย์ของพวกหมอผู้ฆ่าอสรพิษ ชนทั้งหลายรู้จักเราว่าอาลัมพายน์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โกสิยสฺสกฺขา ความว่า ครุฑมาบอกแก่ฤาษีโกสิยโคตร ก็เหตุที่ครุฑนั้นบอกทั้งหมดพึงกล่าวให้พิสดาร. บทว่า ภาวิตตฺตญฺตรํ ความว่า เราเข้าไปหาฤาษีคนหนึ่ง บรรดาผู้บำเพ็ญตน.

 
  ข้อความที่ 65  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 65

บทว่า สมฺมนฺตํ แปลว่า อาศัยอยู่. บทว่า กามสา ได้แก่ ด้วยความปรารถนาของตน. บทว่า มนํ ความว่า ย่อมประกาศมนต์นั้นแก่เรา. บทว่า ตฺยาหํ มนฺเต ปรตฺถทฺโธ ความว่า เราทรงไว้ซึ่งผลอันวิเศษคืออาศัยมนต์เหล่านั้น. บทว่า โภคินํ ได้แก่ นาคทั้งหลาย. บทว่า วิสฆาฏานํ ความว่า เป็นอาจารย์ของพวกหมอฆ่าอสรพิษ.

พราหมณ์เนสาท ได้ฟังดังนั้นแล้วจึงคิดว่า อาลัมพายน์นี้ให้แก้วมณีแก่บุคคลผู้แสดงที่อยู่ของพระภูริทัตแก่เขา ครั้นแสดงพระภูริทัตแก่เขาแล้วจึงจักรับเอาแก้วมณี.

แต่นั้นเมื่อจะปรึกษากับบุตรจึงกล่าวว่า

ดูก่อนลูกโสมทัต เราควรรับแก้วมณีไว้สิ เจ้าจงรู้ไว้ เราอย่าละสิริอันมาถึงตนด้วยท่อนไม้ตามชอบใจสิ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คณฺหามฺหเส แปลว่า ควรรับเอา. บทว่า กามสา ความว่า อย่าตีด้วยท่อนไม้แล้วละสิริตามชอบใจของตน.

โสมทัตกล่าวว่า

ข้าแต่พ่อผู้เป็นพราหมณ์ ภูริทัตนาคราชบูชาคุณพ่อผู้ไปถึงที่อยู่ของตน เพราะเหตุไร คุณพ่อจะปรารถนาประทุษร้ายต่อผู้กระทำดี เพราะความหลงอย่างนี้ ถ้าคุณพ่อปรารถนาทรัพย์ ภูริทัตนาคราชก็คงจักให้ คุณพ่อไปขอท่านเถิด ภูริทัตนาคราชคงจักให้ทรัพย์เป็นอันมากแก่คุณพ่อ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปูชยิ ความว่า บูชาแล้วด้วยกามอันเป็นทิพย์. บทว่า ทุพฺภิมิจฺฉสิ ความว่า ดูก่อนพ่อ ท่านปรารถนาเพื่อกระทำกรรมคือการประทุษร้ายต่อมิตรเห็นปานนั้นหรือ.

 
  ข้อความที่ 66  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 66

พราหมณ์กล่าวว่า

ดูก่อนโสมทัต การกินของที่ถึงมือ ที่อยู่ในภาชนะหรือที่ตั้งอยู่เบื้องหน้า เป็นความประเสริฐ ประโยชน์ที่อยู่เบื้องหน้าเรา อย่าได้ล่วงเราไปเสียเลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หตฺถคตํ ความว่า ดูก่อนพ่อโสมทัต ท่านเป็นหนุ่มไม่รู้ความเป็นไปของโลกอะไร เพราะจะเคี้ยวกินสิ่งที่อยู่ในมือ อยู่ในบาตร หรือที่ตั้งเก็บไว้ตรงหน้านั้นนั่นแลประเสริฐ คือ ตั้งอยู่ในที่ไม่ไกล

โสมทัตกล่าวว่า

คนประทุษร้ายต่อมิตร สละความเกื้อกูล จะตกหมกไหม้อยู่ในนรกอันร้ายแรง แผ่นดินย่อมสูบผู้นั้น หรือเมื่อผู้นั้นมีชีวิตอยู่ก็ซูบซีด ถ้าคุณพ่อปรารถนาทรัพย์ ภูริทัตนาคราชก็คงจักให้ ลูกเข้าใจว่า คุณพ่อจักต้องประสบเวรที่ตนทำไว้ในไม่ช้า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มหิมสฺส วินฺทฺรียติ ความว่า ดูก่อนพ่อ ปฐพีย่อมแยกให้ช่องแก่ประทุษร้ายต่อมิตร ทั้งที่ยังเป็นอยู่นั่นแล.

บทว่า หิตจฺจาคี ได้แก่ ผู้สละประโยชน์เกื้อกูลของตน. บทว่า ชีวเร วาปิ สุสฺสติ ความว่า ถึงจะมีชีวิตอยู่ก็ย่อมซูบซีดเป็นมนุษย์เพียงดังเปรตฉะนั้น. ว่า อตฺตกตํ เวรํ ได้แก่ บาปที่ตนทำ. บทว่า น จิรํ ความว่า ลูกเข้าใจว่า ไม่นานเขาจักประสบเวร.

พราหมณ์กล่าวว่า

พราหมณ์ทั้งหลายบูชามหายัญแล้ว ย่อมบริสุทธิ์ได้ เราจักบูชามหายัญ ก็จักพ้นจากบาปด้วยการบูชายัญอย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 67  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 67

บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า สุชฺฌนฺติ แสดงว่า ลูกโสมทัต ลูกยังเป็นหนุ่มไม่รู้อะไร ธรรมดาว่า พราหมณ์ทั้งหลายครั้นกระทำบาปอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยยัญ จึงได้กล่าวอย่างนี้

โสมทัตกล่าวว่า

เชิญเถิด ลูกจะขอแยกไป ณ บัดนี้ วันนี้ลูกจะไม่ขออยู่ร่วมกับคุณพ่อ จะไม่ขอเดินทางร่วมกับคุณพ่อ ผู้ทำกรรมหยาบอย่างนี้สักก้าวเดียว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปายามิ ความว่า เชิญเถิด ลูกจะขอแยกไป คือหนีไป. ก็แลบัณฑิตมาณพครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว เมื่อไม่อาจให้บิดาเชื่อฟังคำของตน จึงโพนทนาให้เทวดาทราบด้วยเสียงอันดังว่า ข้าพเจ้าจะไม่ไปกับคนทำบาปเห็นปานนี้ละ ครั้นประกาศแล้วก็หนีไปทั้งๆ ที่บิดาเห็นอยู่นั่นแลเข้าไปสู่ป่าหิมพานต์ บวชเป็นฤาษียังอภิญญาและสมาบัติให้เกิดแล้ว มิให้เสื่อมฌานแล้วเกิดในพรหมโลก.

เมื่อพระศาสดาจะประกาศความนั้นจึงตรัสว่า

โสมทัตผู้ได้ยินได้ฟังมามาก ได้กล่าวคำนี้กะบิดาแล้ว ได้ประกาศให้เทวดาทั้งหลายทราบแล้ว ก็ได้หลีกไปจากที่นั้น.

จบโสมทัตกัณฑ์

พราหมณ์เนสาทคิดว่า โสมทัตจักไปไหน ออกจากเรือนของตน ครั้นเห็นอาลัมพายน์ไม่พอใจหน่อยหนึ่ง จึงปลอบว่า ดูก่อนอาลัมพายน์ ท่านอย่าวิตกไปเลย เราจักชี้ภูริทัตให้ท่าน ดังนี้แล้ว ก็พาอาลัมพายน์ไปยังที่รักษาอุโบสถแห่งพระยานาค เห็นพระยานาคคู้ขดขนดอยู่ที่จอมปลวก จึงยืนอยู่ในที่ไม่ไกล เหยียดมือออกแล้วกล่าว ๒ คาถาว่า

 
  ข้อความที่ 68  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 68

ดูก่อนพราหมณ์ ท่านจงจับเอานาคใหญ่นั้น จงส่งแก้วนั้นมาให้เรา มีรัศมีดังสีแมลงค่อมทอง ศีรษะแดง ตัวปรากฏดังกองปุยนุ่น นอนอยู่บนจอมปลวก ท่านจงจับมันเถิดพราหมณ์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อินฺทโคปกวณฺณาภา ความว่า รัศมีเหมือนรัศมีแห่งสีแมลงค่อมทอง. บทว่า กปฺปาสปิจุรสฺเสว ความว่า เหมือนกองปุยนุ่นที่จัดแจงไว้ดีแล้ว.

พระมหาสัตว์ ลืมเนตรขึ้นแลเห็นพราหมณ์เนสาท จึงคิดว่าเราได้คิดแล้วว่า พราหมณ์คนนี้จะทำอันตรายแก่อุโบสถของเรา เราจึงพาผู้นี้ไปยังนาคพิภพ แต่งให้มีสมบัติเป็นอันมาก ไม่ปรารถนาเพื่อจะรับแก้วที่เราให้ แต่บัดนี้ไปรับเอาหมองูมา ถ้าเราโกรธแก่ผู้ประทุษร้ายมิตร ศีลของเราก็จักขาด ก็เราได้อธิษฐานอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๔ ไว้ก่อนแล้ว ต้องให้คงที่อยู่ อาลัมพายน์จะตัด จะเผา จะฆ่า จะแทงด้วยหลาวก็ตามเถิด เราจะไม่โกรธเขาเลย ถ้าเราจะแลดูเขาด้วยความโกรธ เขาก็จะแหลกเป็นเหมือนขี้เถ้า ช่างเถอะทุบตีเราเถอะ เราจักไม่โกรธเลย ดังนี้แล้วก็หลับเนตรลง ทรงบำเพ็ญอธิษฐานบารมีไว้เป็นเบื้องหน้า ซุกเศียรเข้าไว้ ณ ภายในขนด นอนนิ่งมิได้ไหวติงเลย.

จบศีลกัณฑ์

ฝ่ายพราหมณ์เนสาท กล่าวว่า ดูก่อนอาลัมพายน์ผู้เจริญ เชิญท่านจับนาคนี้ และจงให้แก้วมณีแก่เราเถิด. อาลัมพายน์เห็นนาคแล้วก็ดีใจ มิได้นับถือในแก้วว่ามีอะไร เปรียบเหมือนเป็นหญ้า โยนแก้วมณีไปที่มือพราหมณ์เนสาทด้วยคำว่า เอาไปเถิดพราหมณ์ แก้วมณีก็พลาดจากมือพราหมณ์เนสาท ตกลงที่แผ่นดิน. พอตกลงแล้วก็จมแผ่นดินลงไปยังนาคพิภพนั่นเอง. พราหมณ์

 
  ข้อความที่ 69  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 69

เนสาทเสื่อมจากฐานะ ๓ ประการ คือเสื่อมจากแก้วมณี เสื่อมจากมิตรภาพกับพระภูริทัต และเสื่อมจากบุตร. เขาก็ร้องไห้รำพันว่า เราหมดที่พึ่งพาอาศัยแล้ว เพราะเราไม่ทำตามคำของบุตร แล้วไปสู่เรือน.

ฝ่ายอาลัมพายน์ ก็ทาร่างของตนด้วยทิพยโอสถ เคี้ยวกินเล็กน้อยกับประพรมกายของตน ก็ร่ายทิพพมนต์ เข้าไปหาพระโพธิสัตว์ จับหางพระโพธิสัตว์คร่ามาจับศีรษะไว้มั่นแล้ว เปิดปากพระมหาสัตว์ เคี้ยวยาบ้วนใส่พร้อมเสมหะเข้าในปากพระมหาสัตว์. พระยานาคผู้เป็นชาติสะอาด ไม่โกรธไม่ลืมตา เพราะกลัวแต่ศีลจะขาดทำลาย. ลำดับนั้น อาลัมพายน์ก็ใช้ยาและมนต์ จับหางพระมหาสัตว์หิ้วให้ศีรษะห้อยลงเบื้องต่ำ เขย่าให้สำรอกอาหารที่มีอยู่แล้ว ให้นอนเหยียดยาวที่พื้นดิน เหยียบย่ำด้วยเท้า เหมือนคนนวดถั่ว กระดูกเหมือนจะแหลกเป็นจุณออกไป. จับหางพระมหาสัตว์หิ้วให้ศีรษะห้อยลงข้างล่างอีก ฟาดลงเหมือนฟาดผ้า. พระมหาสัตว์แม้เสวยทุกขเวทนาถึงปานนี้ก็ไม่โกรธเลย

พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศความนั้น จึงตรัสว่า

อาลัมพายน์เอาทิพยโอสถทาตัว และร่ายมนต์ทำการป้องกันตัวอย่างนี้ จึงสามารถจับพระยานาคนั้นได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สกฺขิ แปลว่า สามารถ. บทว่า สณฺาตุํ แปลว่า เพื่อจะจับ.

อาลัมพายน์ ครั้นทำพระมหาสัตว์ให้ถอยกำลังดังนั้นแล้ว จึงเอาเถาวัลย์ถักกระโปรง แล้วเอาพระมหาสัตว์ใส่ในกระโปรงนั้น แต่สรีระของพระมหาสัตว์ใหญ่ เข้าไปในกระโปรงนั้นไม่ได้. ลำดับนั้น อาลัมพายน์จึงใช้

 
  ข้อความที่ 70  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 70

ส้นเท้าถีบพระมหาสัตว์ให้เข้าไป แล้วแบกกระโปรงไปถึงบ้านแห่งหนึ่ง จึงวางกระโปรงลง วางไว้กลางบ้านร้องบอกว่า ผู้ประสงค์จะดูการฟ้อนรำของนาคก็จงมา. ชาวบ้านทั้งสิ้นต่างมาประชุมกัน. ขณะนั้น อาลัมพายน์จึงกล่าวว่า มหานาคเจ้าจงออกมา. พระมหาสัตว์คิดว่า วันนี้เราจะเล่นให้บริษัทร่าเริงจึงจะควร อาลัมพายน์เมื่อได้ทรัพย์มากอย่างนี้ยินดีแล้ว จักปล่อยเราไป อาลัมพายน์จะให้เราทำอย่างใด เราก็จะทำอย่างนั้น. ลำดับนั้น อาลัมพายน์ก็นำพระมหาสัตว์ออกจากกระโปรงแล้วกล่าวว่า เจ้าจงทำตัวให้ใหญ่. พระมหาสัตว์ทำตัวให้ใหญ่ อาลัมพายน์บอกให้ทำตัวให้เล็กและให้ขด ให้คลาย ให้แผ่พังพาน ๑ พังพาน ๒ - ๓ - ๔ - ๕ - ๖ - ๗ - ๘ - ๙ - ๑๐ - ๒๐ - ๓๐ - ๔๐ - ๕๐ - ๖๐ - ๗๐ - ๘๐ - ๙๐ - ๑๐๐ ให้สูง ให้ต่ำ ให้เห็นตัว ให้หายตัว ให้เห็นครึ่งตัว ให้สีเขียว เหลือง แดง ขาว หงสบาทให้พ่นเปลวไฟ พ่นน้ำ พ่นควัน. ในอาการแม้เหล่านี้อาลัมพายน์บอกให้ทำอาการใดๆ พระมหาสัตว์ก็นิรมิตอัตภาพแสดงอาการนั้นๆ ทุกอย่าง ใครๆ เห็นพระมหาสัตว์นั้นแล้ว ก็ไม่สามารถจะกลั้นน้ำตาไว้ได้. มนุษย์เป็นอันมากต่างพากันให้สิ่งของต่างๆ มีเงิน ทอง ผ้า และเครื่องประดับเป็นต้น. อาลัมพายน์จึงได้ทรัพย์ในบ้านนั้นประมาณเป็นพันๆ ด้วยอาการอย่างนี้. อาลัมพายน์นั้นจับพระมหาสัตว์ได้ทรัพย์พันหนึ่ง จึงกล่าวกะพระมหาสัตว์ว่า จักปล่อยก็จริง แต่ถึงกระนั้นครั้นได้พันหนึ่งแล้ว ก็คิดว่า แม้ในบ้านเล็กน้อยเรายังได้ทรัพย์ถึงเพียงนี้ ถ้าในพระนครคงจักได้ทรัพย์มากมาย เพราะความโลภในทรัพย์จึงมิได้ปล่อยพระมหาสัตว์ไป. อาลัมพายน์นั้น เริ่มตั้งขุมทรัพย์ขึ้นได้ในบ้านนั้น แล้วจึงให้นายช่างทำกระโปรงแก้ว ใส่พระมหาสัตว์ในกระโปรงแก้วนั้น แล้วก็ขึ้นสู่ยานน้อยอย่างสบาย ออกไปด้วยบริวารเป็นอันมาก ให้พระมหาสัตว์เล่นไปในบ้านและนิคมเป็นต้น จนถึงกรุงพาราณสีโดยลำดับ

 
  ข้อความที่ 71  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 71

แต่อาลัมพายน์ไม่ให้น้ำผึ้งและข้าวตอกแก่พระยานาค ฆ่ากบให้กิน พระมหาสัตว์ก็มิได้รับอาหาร พระมหาสัตว์ไม่ได้อาหารเพราะกลัวอาลัมพายน์จะไม่ปล่อย อาลัมพายน์จึงให้พระมหาสัตว์เล่นในบ้านนั้นๆ ตั้งต้นแต่หมู่บ้านใกล้ประตูทั้ง ๔ ด้านอีก. ครั้นถึงวันอุโบสถสิบห้าค่ำ อาลัมพายน์จึงขอให้กราบทูลแด่พระราชาว่า ข้าพระองค์จะให้นาคราชเล่นถวายพระองค์. พระราชาจึงรับสั่งให้ตีกลองร้องประกาศให้มหาชนประชุมกัน ชนเหล่านั้นจึงพากันมาประชุมบนเตียงและเตียงซ้อนกันที่พระลานหลวง.

จบอาลัมพายนกัณฑ์

ก็ในวันที่อาลัมพายน์จับพระมหาสัตว์ไปนั้น พระมารดาของพระมหาสัตว์ได้เห็นในระหว่างทรงพระสุบินว่า พระนางถูกชายคนหนึ่งตัวดำ ตาแดง เอาดาบตัดแขนขวาของพระนางขาดแล้วนำไปทั้งๆ ที่มีเลือดไหลอยู่. ครั้นพระนางตื่นขึ้น ก็สะดุ้งกลัวลุกขึ้นคลำแขนขวา ทรงทราบว่าเป็นความฝัน ลำดับนั้น พระนางทรงดำริว่า เราฝันเห็นร้ายแรงมาก บุตรของเราทั้ง ๔ คน หรือท้าวธตรฐทั้งตัวเราเองคงจะเป็นอันตราย ก็อีกอย่างหนึ่งพระนางทรงปรารภคิดถึงพระมหาสัตว์ยิ่งกว่าผู้อื่น. เพราะเหตุไร? เพราะเหตุว่า นาคนอกนั้นอยู่ในนาคพิภพของตน ฝ่ายพระมหาสัตว์เพราะเป็นผู้มีศีลเป็นอัธยาศัย ไปยังมนุษย์โลกกระทำอุโบสถกรรม เพราะเหตุนั้น พระนางจึงทรงคิดถึงพระภูริทัตยิ่งกว่าใครๆ ว่า หมองู หรือสุบรรณจะพึงจับเอาบุตรของเราไปเสียกระมังหนอ จากนั้นพอล่วงไปได้กึ่งเดือน พระนางทรงถึงโทมนัสว่า บุตรของเราไม่สามารถจะพลัดพรากจากเราเกินกึ่งเดือนเลย ภัยอย่างใดอย่างหนึ่งจักเกิดขึ้นแก่บุตรของเราเป็นแน่. ครั้นล่วงไปได้เดือนหนึ่ง พระนางสมุททชาก็ทรงโศกเศร้าหาเวลาขาดน้ำตามิได้ ดวงหฤทัยก็เหือดแห้ง พระเนตรทั้งสองก็บวมเบ่งขึ้นมา พระนางสมุททชาทรงนั่งมองหาทางที่พระมหาสัตว์จะกลับมาถึงเท่านั้นด้วยทรงรำพึงว่า ภูริทัตจักมา ณ บัดนี้ ภูริทัตจักมา ณ บัดนี้.

 
  ข้อความที่ 72  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 72

ครั้งนั้น สุทัสสนะโอรสองค์ใหญ่ของพระนางสมุททชาครั้นล่วงไปได้เดือนหนึ่งแล้ว พร้อมด้วยบริษัทเป็นอันมากมาเยี่ยมพระชนกชนนี พักบริษัทไว้ภายนอกแล้วขึ้นสู่ปราสาท ไหว้พระชนนี แล้วได้ยืนอยู่ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระนางสมุททชานั้นกำลังทรงโศกเศร้าถึงพระภูริทัตอยู่ มิได้เจรจาปราศรัยกับด้วยสุทัสสนะ. สุทัสสนะนั้นจึงคิดว่า พระมารดาของเรา เมื่อเรามาครั้งก่อนๆ เห็นเราแล้วย่อมยินดีต้อนรับ แต่วันนี้พระมารดาทรงโทมนัสน้อยพระทัย คงมีเหตุอะไรเป็นแน่. ลำดับนั้นเมื่อจะทูลถามพระชนนี จึงกล่าวว่า

เพราะได้เห็นข้าพระองค์ ผู้ให้สำเร็จสิ่งที่น่าใคร่ทั้งปวงมาเฝ้า อินทรีย์ของพระแม่เจ้าไม่ผ่องใส พระพักตร์พระแม่เจ้าก็เกรียมดำ เพราะทอดพระเนตรเห็นข้าพระองค์เช่นนี้ พระพักตร์พระแม่เจ้าเกรียมดำ เหมือนดอกบัวอยู่ในมือ ถูกฝ่ามือขยี้ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อหฏฺานิ แปลว่า ไม่ผ่องใส. บทว่า สาวํ ความว่า วันนี้แม้พระพักตร์ของพระแม่เจ้าก็เกรียมดำ เหมือนสีฝ้ากระจกที่ทำด้วยทอง. บทว่า หตฺถคตํ ความว่า ปิดไว้ด้วยมือ. บทว่า เอทิสํ ความว่า เพราะได้เห็นข้าพระองค์เห็นปานนี้ แม้ผู้มาเฝ้าพระองค์ด้วยความงามคือสิริอันใหญ่.

แม้เมื่อสุทัสสนะกล่าวอย่างนี้แล้ว พระนางสมุททชามิได้ตรัสปราศรัยเลย สุทัสสนะจึงคิดว่า ใครทำให้พระมารดาโกรธหรือหนอ หรือว่าพึงมีอันตราย. ลำดับนั้น สุทัสสนะเมื่อจะทูลถามพระมารดานั้น จึงกล่าวคาถาอีกว่า

 
  ข้อความที่ 73  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 73

ใครว่ากล่าวล่วงเกินพระแม่เจ้าหรือพระแม่เจ้ามีเวทนาอะไรบ้าง เพราะทอดพระเนตรเห็นข้าพระองค์ผู้มาเฝ้า พระพักตร์ของพระแม่เจ้าเกรียมดำเพราะเหตุไร?

บรรดาบทเหล่านั้นด้วยบทว่า กจฺจิ นุ เต นาภิสฺสสิ นี้ สุทัสสนะถามว่า ใครกล่าวล่วงเกินพระแม่เจ้าบ้างหรือ หรือว่า เบียดเบียนด้วยการด่า หรือด้วยการบริภาษ. บทว่า ตุยฺหํ ความว่า เพราะทอดพระเนตรเห็นข้าพระองค์ผู้มาเฝ้า ในครั้งก่อนๆ พระพักตร์ของพระแม่เจ้าไม่เป็นเช่นนี้. ด้วยบทว่า เยน นี้ สุทัสสนะถามว่า เพราะเหตุไร วันนี้พระพักตร์ของพระแม่เจ้าจึงเกรียมดำ พระแม่เจ้าจงบอกเรื่องนั้นแก่ข้าพระองค์.

ลำดับนั้น พระนางสมุททชาเมื่อจะตรัสบอกแก่สุทัสสนะนั้น จึงตรัสว่า

พ่อสุทัสสนะเอ๋ย แม่ได้ฝันเห็นล่วงมาเดือนหนึ่งแล้วว่า มีชายคนหนึ่งมาตัดแขนของแม่ ดูเหมือนเป็นข้างขวา พาเอาไปทั้งๆ ที่เปื้อนด้วยเลือด เมื่อแม่กำลังร้องไห้อยู่ นับตั้งแต่แม่ได้ฝันเห็นแล้ว เจ้าจงรู้เถิดว่า แม่ไม่ได้รับความสุขทุกวันทุกคืนเลย.

บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า อิโต มาสํ อโธคตํ นี้พระนางสมุททชาแสดงว่า เมื่อแม่ฝันเห็นเจ้าตั้งแต่วันนั้นจนล่วงมาถึงวันนี้ได้หนึ่งเดือนแล้ว. บทว่า ปุริโส ความว่า ฝันว่า ยังมีชายคนหนึ่งรูปร่างดำ ตาแดง. บทว่า โรทนฺติยา สติ ความว่า เมื่อแม่กำลังร้องไห้อยู่. บทว่า สุขํ เม นูปลพฺภติ ความว่า ขึ้นชื่อว่า ความสุขของแม่ไม่มีเลย.

 
  ข้อความที่ 74  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 74

ก็แลเมื่อพระนางสมุททชา ตรัสอย่างนี้แล้วจึงตรัสว่า ดูก่อนลูกรัก น้องของเจ้าหายไปโดยมิได้เห็น ชะรอยว่าภัยคงจะเกิดมีแก่น้องของเจ้า ดังนี้ พลางทรงรำพันกล่าวต่อไปว่า

เมื่อก่อนนางกัญญาทั้งหลาย ผู้มีร่างกายอันสวยสดงดงาม ปกคลุมด้วยตาข่ายทอง พากันบำรุงบำเรอภูริทัตใด บัดนี้ภูริทัตนั้นย่อมไม่ปรากฏให้เห็น เมื่อก่อนเสนาทั้งหลายผู้ถือดาบอันคมกล้า งามดังดอกกรรณิการ์ พากันห้อมล้อมภูริทัตใด บัดนี้ภูริทัตนั้นย่อมไม่ปรากฏให้เห็น เอาเถอะ เราจักไปยังนิเวศน์แห่งภูริทัตบัดเดี๋ยวนี้ จักไปเยี่ยมน้องของเจ้าผู้ตั้งอยู่ในธรรม สมบูรณ์ด้วยศีล.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมฺผุลฺลา ความว่า เหมือนดอกกรรณิการ์ที่บานสะพรั่ง เพราะทรงไว้ซึ่งเครื่องประดับทองคำ. ศัพท์ว่า หนฺท เป็น นิบาต ใช้ในอรรถแห่งอุปสรรค พระนางสมุททชาตรัสว่า ไปกันเถิดพ่อ เราจะไปนิเวศน์ของภูริทัต.

ก็แลครั้นพระนางสมุททชาตรัสอย่างนี้แล้ว จึงเสด็จไปยังนิเวศน์แห่งพระภูริทัต พร้อมด้วยบริษัทของพระสุทัสสนะและบริษัทของพระนาง ฝ่ายเหล่าภรรยาของพระมหาสัตว์เมื่อไม่เห็นพระภูริทัตที่จอมปลวกแล้วจึงคิดว่า คงจักอยู่ในนิเวศน์ของมารดา จึงมิได้พากันขวนขวายหา. ภรรยาเหล่านั้นครั้นทราบว่า ข่าวว่า แม่ผัวมาไม่เห็นบุตรของตน จึงพากันต้อนรับแล้วทูลว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า เมื่อพระราชบุตรของพระแม่เจ้าหายไป ล่วงไปหนึ่งเดือนเข้าวันนี้แล้ว ครั้นแล้วต่างพากันคร่ำครวญรำพัน หมอบลงแทบพระบาทของพระนางสมุททชา.

 
  ข้อความที่ 75  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 75

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศความนั้นจึงตรัสว่า

ภรรยาทั้งหลายของภูริทัต เห็นพระมารดาของภูริทัตเสด็จมา ต่างประคองแขนคร่ำครวญว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า หม่อมฉันทั้งหลายไม่ทราบเกล้าล่วงมาเดือนหนึ่งแล้วว่า ภูริทัตผู้เรืองยศ โอรสของพระแม่เจ้า สิ้นชีพแล้วหรือว่ายังดำรงชนม์อยู่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุตฺตนฺเตยฺเย ตัดเป็น ปุตฺตํ เต อยฺเย ข้าแต่พระแม่เจ้า โอรสของพระแม่เจ้า.

คาถาคร่ำครวญของหญิงเหล่านั้นดังนี้. พระมารดาของพระภูริทัตเสด็จพร้อมด้วยหญิงสะใภ้ทรงพากันคร่ำครวญในระหว่างถนน ทรงพาหญิงเหล่านั้นขึ้นสู่ปราสาทแห่งพระภูริทัตนั้นตรวจดูที่นอนและที่นั่งของบุตรแล้วคร่ำครวญ จึงตรัสคาถารำพันว่า

เราไม่เห็นภูริทัต จักตรอมตรมด้วยทุกข์สิ้นกาลนาน เหมือนนกพลัดพรากจากลูกเห็นแต่รังเปล่า เราไม่เห็นภูริทัต จักตรอมตรมด้วยทุกข์สิ้นกาลนาน เหมือนนางหงส์ขาวพลัดพรากจากลูกอ่อน เราไม่เห็นภูริทัต จักตรอมตรมด้วยทุกข์สิ้นกาลนาน เหมือนนางนกจากพราก ในเปือกตมอันไม่มีน้ำเป็นแน่ เราไม่เห็นภูริทัต จักตรอมตรมด้วยความโศกเศร้า เปรียบเหมือนเบ้าของช่างทอง เกรียมไหม้ในภายใน ไม่ออกไปภายนอกฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปสฺสนฺตี แปลว่า ไม่เห็นอยู่. บทว่า หตจฺฉาปา ความว่าเหมือนนางหงส์ขาว พลัดจากลูกอ่อน.

 
  ข้อความที่ 76  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 76

เมื่อพระมารดาพระภูริทัต ทรงรำพันอยู่อย่างนี้ นิเวศน์แห่งภูริทัต ก็แซ่เสียงเป็นอันเดียวกัน ปานประหนึ่งเสียงคลื่นในท้องสมุทรฉะนั้น. แม้นาคสักตนหนึ่ง ก็ไม่อาจทรงภาวะของตนอยู่ ทั่วทั้งนิเวศน์เป็นเหมือนป่าไม้รังถูกลมยุคันธวาตฉะนั้น.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศความนั้น จึงตรัสว่า

บุตรและชายาในนิเวศน์ของภูริทัตล้มนอนระเนระนาด เหมือนต้นรังอันลมฟาดหักลงฉะนั้น.

ในกาลนั้น อริฏฐะ และ สุโภคะ ๒ พี่น้องชาย ไปยังที่อุปัฏฐากของพระมารดาและพระบิดา ได้ยินเสียงนั้น จึงเข้าไปยังนิเวศน์ของภูริทัต ช่วยกันปลอบพระมารดา.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศความนั้น จึงตรัสว่า

อริฏฐะ และสุโภคะ ได้ฟังเสียงอันกึกก้องของบุตรธิดา และชายาของภูริทัตเหล่านั้น ในนิเวศน์ของภูริทัต จึงวิ่งไปในระหว่าง ช่วยฉันปลอบพระมารดาว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า จงเบาพระทัยอย่าเศร้าโศกไปเลย เพราะว่าสัตว์ทั้งหลายย่อมมีความตายและความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาอยู่อย่างนี้ การตายและการเกิดขึ้นนี้ เป็นความแปรของสัตว์โลก.

บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า เอสาสฺส ปริณามตา นี้ อริฏฐะ และ สุโภคะกล่าวว่า การจุติ และการอุบัตินี้ เป็นความแปรของสัตว์โลกนั้น สัตว์โลกย่อมเปลี่ยนแปรไปด้วยอาการอย่างนี้แล ใครๆ ชื่อว่า จะพ้นไปจากที่สุด ๒ อย่างนี้ ย่อมไม่มี.

 
  ข้อความที่ 77  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 77

พระนางสมุททชา ตรัสว่า

ดูก่อนพ่อสุทัสสนะ ถึงแม้เรารู้ว่า สัตว์ทั้งหลายมีอย่างนี้เป็นธรรมดา ก็แต่ว่าแม่เป็นผู้อันความเศร้าโศกครอบงำแล้ว ถ้าเมื่อแม่ไม่ได้เห็นภูริทัตในคืนวันนี้ เจ้าจงรู้ว่า แม่ไม่ได้เห็นภูริทัต เห็นจะต้องละชีวิตเป็นแน่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อชฺช เจ เม ความว่า ดูก่อนพ่อสุทัสสนะ ถ้าภูริทัตจักไม่มาให้แม่เห็นในคืนวันนี้ไซร้ ครั้นเมื่อแม่ไม่เห็นภูริทัต แม่เข้าใจว่า แม่จะละชีวิตเป็นแน่.

บุตรทั้งหลายกล่าวว่า

ข้าแต่พระแม่เจ้า จงเบาพระทัย อย่าเศร้าโศกไปเลย ลูกทั้ง ๓ จักเที่ยวแสวงหาภูริทัตไปตามทิศน้อยทิศใหญ่ ที่ภูเขา ซอกเขา บ้านและนิคม แล้วจักนำท่านพี่ภูริทัตมา พระแม่เจ้าจักได้ทรงเห็นท่านพี่ภูริทัตมาภายใน ๗ วัน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จรํ ความว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า บุตรทั้ง ๓ คนปลอบใจพระมารดาว่า พวกลูกจักเที่ยวไปแสวงหาพี่ชายสู่ทิศน้อยทิศใหญ่.

แต่นั้น สุทัสสนะจึงคิดว่า ถ้าเราทั้ง ๓ ไปรวมกันก็จักชักช้าควรแยก ไป ๓ แห่ง คือผู้หนึ่งไปเทวโลก ผู้หนึ่งไปหิมพานต์ ผู้หนึ่งไปมนุษยโลก แต่ถ้าให้กาณาริฏฐะไปมนุษยโลก ถ้าไปพบภูริทัตในบ้านและนิคมใด ก็จักเผาบ้านและนิคมนั้นเสียหมด เพราะกาณาริฏฐะหยาบช้ากล้าแข็งมาก ไม่ควรให้ไปมนุษย์โลก ดังนี้จึงส่งอริฏฐะไปเทวโลกว่า ดูก่อนพ่ออริฏฐะ เจ้าจงไปยังเทวโลก

 
  ข้อความที่ 78  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 78

ถ้าว่าเทวดาต้องการฟังธรรม นำภูริทัตไปไว้ในเทวโลกไซร้ เจ้าจงพาเขากลับมา. และส่งสุโภคะให้ไปป่าหิมพานต์ว่า พ่อสุโภคะ เจ้าจงไปยังหิมพานต์ เที่ยวค้นหาภูริทัตในมหานทีทั้ง ๕ พบภูริทัตแล้วจงพามา. ส่วนสุทัสสนะเอง อยากไปมนุษยโลก แต่มาคิดว่า ถ้าเราจะไปโดยเพศชายหนุ่ม พวกมนุษย์ไม่ค่อยรักใคร่ ควรจะไปด้วยเพศดาบส เพราะพวกบรรพชิตเป็นที่รักใคร่ของพวกมนุษย์. เขาจึงแปลงเพศเป็นดาบส กราบลาพระมารดาแล้วหลีกไป. ก็ภูริทัตโพธิสัตว์นั้น มีนางนาคน้องสาวต่างมารดาอยู่คนหนึ่ง ชื่อว่า อัจจิมุขี. นาง อัจจิมุขีนั้นรักพระโพธิสัตว์เหลือเกิน. นางเห็นสุทัสสนะจะไปจึงร้องขอว่า ข้าแต่พี่ น้องลำบากใจเหลือเกิน น้องขอไปกับพี่ด้วย. สุทัสสนะกล่าวว่า ดูก่อน น้องไม่สามารถไปกับพี่ได้ พี่จะไปด้วยเพศบรรพชิต. อัจจิมุขีกล่าวว่า ข้าแต่พี่ น้องจะกลายเป็นลูกเขียดน้อย นอนไปในชฎาของพี่. สุทัสสนะกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้นจงมาไปกันเถิด. นางอัจจิมุขีจึงแปลงเป็นลูกเขียดน้อย นอนไปในชฎาของพี่ สุทัสสนะจึงคิดว่า เราจักตรวจสอบไปตั้งแต่ต้น ดังนี้แล้วจึงถามถึงที่ๆ พระภูริทัตไปรักษาอุโบสถกะภรรยาพระภูริทัตก่อนแล้ว จึงไปในที่นั้นแลเห็นโลหิต และที่ถักกระโปรงที่ทำด้วยเถาวัลย์ ในที่ๆ อาลัมพายน์จับพระมหาสัตว์ รู้ชัดว่าหมองูจับภูริทัตไป ก็เกิดความโศกขึ้นทันที มีเนตรนองไปด้วยน้ำตา จึงตามรอยอาลัมพายน์ไปจนถึงบ้านที่หมออาลัมพายน์ให้พระมหาสัตว์เล่นครั้งแรก จึงถามพวกมนุษย์ว่า หมองู เอานาคราช ชื่อ เห็นปานนี้มาเล่นในบ้านนี้บ้างหรือไม่. มนุษย์ตอบว่า อาลัมพายน์เอานาคราชเห็นปานนี้มาเล่น แต่นั้นถึงวันนี้ประมาณหนึ่งเดือนแล้ว. สุทัสสนะถามว่า หมองูนั้นได้อะไรบ้างไหม. มนุษย์ตอบว่า ที่บ้านนี้หมองูได้ทรัพย์ประมาณพันหนึ่งขอรับ. สุทัสสนะถามว่า บัดนี้หมองูไปไหน. มนุษย์ตอบว่า หมองูไปบ้านชื่อโน้น. สุทัสสะถามเรื่อยไปตั้งแต่บ้านนั้น จนถึงประตูพระราชฐาน.

จบวิลาปกัณฑ์

 
  ข้อความที่ 79  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 79

ขณะนั้นอาลัมพายน์ อาบน้ำสะศีรษะ ลูบไล้ของหอมนุ่งห่มผ้าเนื้อเกลี้ยงแล้ว ให้คนยกกระโปรงแก้วไปยังประตูพระราชฐาน. มหาชนประชุมกันแล้ว. พระราชอาสน์ก็จัดไว้พร้อมเสร็จ. พระราชานั้นเสด็จอยู่ข้างในนิเวศน์ ทรงส่งสาสน์ไปว่า เราจะไปดู ขออาลัมพายน์จงให้นาคราชเล่นไปเถิด. อาลัมพายน์จึงวางกระโปรงแก้วลงบนเครื่องลาดอันวิจิตร เปิดกระโปรงออกแล้วให้สัญญาว่า ขอมหานาคออกมาเถิด. สมัยนั้น สุทัสสนะก็ไปยืนอยู่ท้ายบริษัททั้งปวง. พระมหาสัตว์โผล่ศีรษะแลดูบริษัททั่วไป. นาคทั้งหลายแลดูบริษัทด้วยอาการ ๒ อย่างคือ เพื่อจะดูอันตรายจากสุบรรณอย่าง ๑ เพื่อจะดูพวกญาติอย่างหนึ่ง. นาคเหล่านั้นครั้นเห็นสุบรรณก็กลัวไม่ฟ้อนรำ ครั้นเห็นพวกญาติก็ละอายไม่ฟ้อนรำ. ส่วนพระมหาสัตว์เมื่อแลไปเห็นพี่ชายในระหว่างบริษัท ท่านก็เลื้อยออกจากกระโปรงตรงไปหาพี่ชายทั้งๆ ที่น้ำตานองหน้า.

มหาชนเห็นพระภูริทัตเลื้อย ก็พากันตกใจหลีกออกไป. ยังยืนอยู่แต่สุทัสสนะผู้เดียว. พระภูริทัตไปซบศีรษะร้องไห้อยู่ที่หลังเท้าของสุทัสสนะก็ร้องไห้. ฝ่ายสุทัสสนะก็ร้องไห้. พระมหาสัตว์ร้องไห้แล้วก็กลับมาเข้ากระโปรง. อาลัมพายน์เข้าใจว่า ดาบสถูกนาคนี้กัดเอา คิดจะปลอบโยนท่านจึงเข้าไปหาสุทัสสนะแล้วกล่าวว่า

นาคหลุดพ้นจากมือไปฟุบลงที่เท้าของท่าน คุณพ่อ มันกัดเอากระมังหนอ คุณพ่ออย่ากลัวเลย จงถึงความสุขเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มาภายิ ความว่า ดูก่อนพ่อดาบส เราชื่อว่า อาลัมพายน์ ท่านอย่ากลัวเลย ชื่อว่า การปฏิบัติรักษานั้น เป็นหน้าที่ของข้าพเจ้า.

 
  ข้อความที่ 80  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 80

สุทัสสนะ เพราะมีความประสงค์จะกล่าวกับอาลัมพายน์จึงกล่าวว่า

นาคตัวนี้ ไม่สามารถจะยังความทุกข์อะไรๆ ให้เกิดแก่เราเลย หมองูมีอยู่เท่าใด ก็ไม่ดียิ่งกว่าเรา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กายจิ ความว่า นาคตัวนี้ไม่มีความสามารถในอันยังทุกข์อะไรๆ แม้มีประมาณน้อยให้เกิดขึ้นแก่เราได้ เพราะขึ้นชื่อว่าหมองูผู้เช่นกับเราย่อมไม่มี. อาลัมพายน์เมื่อไม่รู้จักว่าผู้นี้คือใครก็โกรธกล่าวว่า

คนเซอะอะไรหนอ แปลงเพศเป็นพราหมณ์มาท้าเราในที่ประชุมชน ขอบริษัทจงฟังเรา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทตฺโต ได้แก่ คนเย่อหยิ่ง คนชั่ว คนลามก คนอันธพาล. บทว่า อวาหยตุ แปลว่า มาท้าทาย. อีกอย่างหนึ่ง บาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน. ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า คนนี้เป็นใคร เป็นคนโง่หรือเป็นบ้า มาท้าทายเราด้วยสงครามทำตัวเสมอเรามายังบริษัท. บทว่า ปริสา มมํ ความว่า ขอบริษัทจงฟังเรา โทษของเราไม่มี ท่านอย่ามาโกรธเราเลย.

ลำดับนั้น สุทัสสนะ ได้กล่าวกะหมองูว่า

ดูก่อนหมองู ท่านจงต่อสู้กับเราด้วยนาค เราจะต่อสู้กับท่านด้วยเขียด ในการรบของเรานั้น เราทั้งสองจงมาพนันกันด้วยเดิมพัน ๕,๐๐๐ กหาปณะ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาเคน ความว่า ท่านจักรบกับเราด้วยนาค เราจักรบกับท่านด้วยลูกเขียด. บทว่า อา สหสฺเสหิ ปญฺจหิ ความว่า เอาเถอะในการรบของเรานั้น เราจงมาพนันกันด้วยเดิมพัน ๕,๐๐๐ กหาปณะ.

อาลัมพายน์กล่าวว่า

 
  ข้อความที่ 81  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 81

ดูก่อนมาณพ เราเท่านั้นเป็นคนมั่งคั่งด้วยทรัพย์ ท่านเป็นคนจนใครจะเป็นคนรับประกันท่านและอะไรเป็นเดิมพันของท่าน เดิมพันของเรามี และคนรับประกันเช่นนั้นก็มี ในการรบของเราทั้งสอง เราทั้งสองมาพนันกันด้วยเดิมพัน ๕,๐๐๐ กหาปณะ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โก นุ เต ความว่า ใครจะเป็นคนรับประกันของท่านผู้เป็นบรรพชิตมีอยู่หรือ. บทว่า อุปชูตญฺจ นี้ อาลัมพายน์กล่าวว่า อีกอย่างหนึ่ง ทรัพย์อะไรชื่อว่าพึงเป็นของท่านที่ตั้งไว้ในการพนันนี้มีอยู่หรือ ท่านจงแสดงแก่เรา. บทว่า อุปชูตญฺจ เม ความว่า ก็ทรัพย์ที่จะพึงให้แก่เรา หรือที่จะพึงว่าเป็นเดิมพัน หรือใครผู้จะเป็นประกันเช่นนั้นมีอยู่ เพราะฉะนั้นในการรบของเราทั้งสองนั้น เราทั้งสองจะต้องมีทรัพย์เป็นเดิมพันจนถึง ๕,๐๐๐ กหาปณะ.

สุทัสสนะ ครั้นได้ฟังคำของอาลัมพายน์นั้นแล้ว ไม่กล้ายืนยันว่า เอาเถอะพนันกันด้วยทรัพย์ ๕,๐๐๐ กหาปณะดังนี้ก็ขึ้นสู่พระราชนิเวศน์ไปเฝ้าพระเจ้าพาราณสีผู้เป็นลุง แล้วกล่าวคาถาว่า

ดูก่อนมหาบพิตรผู้ทรงเกียรติ เชิญสดับคำของอาตมภาพ ขอความเจริญจงมีแก่มหาบพิตร ขอมหาบพิตรทรงรับประกันทรัพย์ ๕,๐๐๐ กหาปณะ ของอาตมภาพเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กิตฺติมา ได้แก่ ผู้สมบูรณ์ด้วยเกียรติคุณ.

พระราชาทรงพระดำริว่า ดาบสนี้ขอทรัพย์เรามากเหลือเกิน จึงตรัสคาถาว่า

 
  ข้อความที่ 82  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 82

ข้าแต่ดาบส หนี้เป็นหนี้ของบิดา หรือว่าเป็นหนี้ที่ท่านทำเอง เพราะเหตุไร ท่านจึงขอทรัพย์มากมายอย่างนี้ ต่อข้าพเจ้า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เปตฺติกํ วา ความว่า ชื่อว่า หนี้เป็นของอันบิดาเอาไว้ใช้บริโภคหรือ หรือว่าตนเองทำขึ้นไว้ ทรัพย์อะไรที่บิดาของเราถือเอาจากมือของท่าน หรือว่าอะไรเราถือเอาของท่านไว้มีอยู่ เพราะเหตุไรเจ้าจึงขอทรัพย์เป็นอันมากถึงอย่างนี้กะเรา.

เมื่อพระราชาตรัสอย่างนี้ สุทัสสนะจึงได้กล่าวคาถาว่า

เพราะอาลัมพายน์ ปรารถนาจะต่อสู้กับอาตมภาพด้วยนาค อาตมภาพจักให้ลูกเขียดกัดพราหมณ์อาลัมพายน์ ดูก่อนมหาบพิตรผู้ผดุงรัฐ ขอเชิญพระองค์ผู้มีหมู่ทหารดาบเป็นกองทัพ เสด็จทอดพระเนตรนาคนั้นในวันนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภิชิคึสติ ความว่า ในการสงครามที่ผู้ปรารถนาจะชนะ ถ้าอาลัมพายน์จักชนะอาตมภาพ อาตมภาพจักต้องให้ทรัพย์ ๕,๐๐๐ กหาปณะแก่เขา ถ้าอาตมภาพชนะเขาก็จักต้องให้แก่อาตมภาพเหมือนกัน เพราะฉะนั้น อาตมภาพจึงขอทรัพย์พระองค์เป็นอันมาก. บทว่า ตํ ความว่า ดูก่อนมหาบพิตร จงเสด็จไปทอดพระเนตรในวันนี้.

พระราชาตรัสว่า ถ้าเช่นนั้นเราจักไป จึงเสด็จไปพร้อมกับดาบสนั้นแล. อาลัมพายน์เห็นพระราชาเสด็จมากับดาบส ตกใจกลัวว่า ดาบสนี้ไปเชิญพระราชาออกมา ชะรอยว่าจักเป็นบรรพชิตในพระราชาสำนัก เมื่อจะคล้อยตามจึงกล่าวคาถาว่า

 
  ข้อความที่ 83  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 83

ข้าแต่ดาบส เราไม่ได้ดูหมิ่นท่าน โดยทางศิลปศาสตร์เลย ท่านมัวเมาด้วยศิลปศาสตร์มากเกินไปไม่ยำเกรงนาค.

บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า สิปฺปวาเทน อาลัมพายน์กล่าวว่า ดูก่อนมาณพ เราไม่ได้ดูหมิ่นท่านด้วยศิลปศาสตร์ของตนเลย แต่ท่านมัวเมาด้วยศิลปศาสตร์ของตนมากเกินไป ไม่บูชานาคนี้ คือไม่กระทำความยำเกรงต่อนาคนั้น.

ลำดับนั้น สุทัสสนะได้กล่าว ๒ คาถาว่า

ดูก่อนพราหมณ์ แม้อาตมาก็ไม่ดูหมิ่นท่านในทางศิลปศาสตร์ แต่ว่าท่านล่อลวงประชาชนนักด้วยนาคอันไม่มีพิษ ถ้าชนพึงรู้ว่านาคของท่านไม่มีพิษเหมือนอย่างอาตมารู้แล้ว ท่านก็จะไม่ได้แกลบสักกำมือหนึ่งเลย จักได้ทรัพย์แต่ที่ไหนเล่าหมองู.

ลำดับนั้น อาลัมพายน์โกรธต่อสุทัสสนะ จึงกล่าวว่า

ท่านผู้นุ่งหนังเสือพร้อมทั้งเล็บ เกล้าชฎารุ่มร่าม เหมือนคนเซอะ เข้ามาในประชุมชน ดูหมิ่นนาคเช่นนี้ว่าไม่มีพิษ ท่านเข้ามาใกล้แล้ว ก็จะพึงรู้ว่านาคนั้นเต็มไปด้วยเดช เหมือนของนาคอันสูงสุด ข้าพเจ้าเข้าใจว่านาคตัวนี้จักทำท่านให้แหลกเป็นเหมือนเถ้าไปโดยฉับพลัน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รุมฺมี ความว่า ท่านนุ่งหนังเสือพร้อมทั้งเล็บ. บทว่า อวิโส อติมญฺสิ ความว่า ท่านดูหมิ่นว่าไม่มีพิษ. บทว่า อาสชฺช แปลว่า เข้ามาใกล้. บทว่า ชญฺาสิ แปลว่า ท่านพึงรู้.

 
  ข้อความที่ 84  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 84

ลำดับนั้น สุทัสสนะเมื่อกระทำการเย้ยหยันจึงกล่าวคาถาว่า

พิษของงูเรือน งูปลา งูเขียว พึงมี แต่พิษของนาคมีศีรษะแดง ไม่มีเลยทีเดียว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สิลุตฺตสฺส แปลว่างูเรือน. บทว่า ทุฑฺฑุภสฺส แปลว่า งูน้ำ. บทว่า สิลาภุโน แปลว่า งูเขียว.

สุทัสสนะครั้นแสดงงูไม่มีพิษดังนี้แล้ว จึงกล่าวว่า พิษของงูเหล่านั้นพึงมี แต่พิษของงูมีศีรษะแดงไม่มีเลย

ลำดับนั้น อาลัมพายน์ได้กล่าวกะสุทัสสนะด้วยคาถา ๒ คาถาว่า

ข้าพเจ้าได้ฟังคำของพระอรหันต์ทั้งหลาย ผู้สำรวม ผู้มีตบะ มาว่า ทายกทั้งหลายให้ทานในโลกนี้ย่อมไปสู่สวรรค์ ท่านมีชีวิตอยู่ จงให้ทานเสียเถิด ถ้าท่านมีสิ่งของที่จะควรให้ นาคนี้มีฤทธิ์มาก มีเดช ยากที่ใครๆ จะก้าวล่วงได้ เราจะให้นาคนั้นกัดท่าน มันก็จักทำท่านให้เป็นขี้เถ้าไป.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทาตเว ความว่า ถ้าท่านมีสิ่งไรที่จะควรให้ ท่านจงให้เถิด.

ลำดับนั้นสุทัสสนะกล่าวว่า

ดูก่อนสหาย เราแม้ก็ได้ฟังคำของพระอรหันต์ทั้งหลาย ผู้สำรวมมีตบะมาว่า ทายกทั้งหลายให้ทานในโลกนี้แล้ว ย่อมไปสู่สวรรค์ ท่านนั่นแหละเมื่อมีชีวิตอยู่ จงให้ทานเสีย ถ้าท่านมีสิ่งของที่ควรจะให้จงให้ ลูกเขียดชื่อว่า อัจจิมุขีนี้ เต็มด้วยเดชเหมือนของนาคอัน

 
  ข้อความที่ 85  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 85

สูงสุด เราจักให้ลูกเขียดนั้นกัดท่าน ลูกเขียดนั้นจักทำท่านให้เป็นขี้เถ้าไป นางเป็นธิดาของท้าวธตรฐ เป็นน้องสาวต่างมารดาของเรา นางอัจจิมุขีผู้เต็มไปด้วยเดช เหมือนของนาคอันสูงสุดนั้นจงกัดท่าน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุคฺคสฺส เตชสา ความว่า เต็มไปด้วยพิษอันสูงสุด.

ก็แล สุทัสสนะ ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว จึงเหยียดมือร้องเรียกน้องหญิง ในท่ามกลางมหาชนนั่นแล ด้วยคำว่า น้องหญิงอัจจิมุขี เจ้าจงออกจากภายในชฎาของพี่มายืนอยู่ในฝ่ามือของพี่.

นางอัจจิมุขีผู้นั่งอยู่ภายในชฎานั่นแล ได้ยินเสียงเรียกของสุทัสสนะพี่ชายยังฝนลูกกบให้ตกถึง ๓ ครั้งแล้ว จึงออกจากภายในชฎา นั่งอยู่ที่จะงอยบ่า กระโดดจากนั้น ยืนอยู่บนฝ่ามือของสุทัสสนะพี่ชาย แล้วทำหยาดพิษ ๓ หยาดให้ตกแล้วเข้าไปภายในชฎาของสุทัสสนะอีกตามเดิม. สุทัสสนะยืนถือพิษอยู่แล้ว ประกาศเสียงดังขึ้นว่า ชาวชนบทจักพินาศหนอ. เสียงของสุทัสสนะได้ดังกลบนครพาราณสีถึง ๑๒ โยชน์. ลำดับนั้น พระราชาจึงตรัสถามเขาว่า ชนบทจักพินาศเพื่ออะไร. สุทัสสนะทูลว่า ดูก่อนมหาบพิตรอาตมาไม่เห็นที่หยดของพิษนี้. พระราชา เจ้าจงหยดพิษที่แผ่นดินใหญ่เถิด. ลำดับนั้น สุทัสสนะเมื่อจะห้ามพระราชาว่า อาตมภาพไม่สามารถหยดพิษบนแผ่นดินใหญ่นั้น มหาบพิตร จึงกล่าวคาถาว่า

ดูก่อนมหาบพิตร ถ้าอาตมภาพจักหยดพิษลงบนแผ่นดินไซร้ มหาบพิตรจงทราบเถิดว่า ต้นหญ้า ลดาวัลย์ และต้นยาทั้งหลาย พึงเหี่ยวแห้งไปโดยไม่ต้องสงสัย.

 
  ข้อความที่ 86  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 86

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ติณลตานิ ความว่า หญ้า เถาวัลย์ และต้นยาทั้งปวงที่อาศัยแผ่นดินก็จะพึงเหี่ยวแห้งไป เพราะเหตุนั้น อาตมภาพจึงไม่อาจหยดพิษบนแผ่นดินได้. พระราชาตรัสว่า ดูก่อนพ่อ ถ้าเช่นนั้นท่านจงขว้างขึ้นไปบนอากาศ. สุทัสสนะ เมื่อจะแสดงว่า ถึงในอากาศนั้นก็ไม่อาจขว้างหยดพิษขึ้นไปได้ จึงกล่าวคาถาว่า

ดูก่อนมหาบพิตร ถ้าอาตมภาพจักขว้างพิษขึ้นบนอากาศ มหาบพิตรจงทราบเถิดว่า ฝนและน้ำค้าง จะไม่ตกลงตลอด ๗ ปี.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น หิมํ ปเต ความว่า แม้เพียงหยาดน้ำค้าง ก็จักไม่ตกตลอด ๗ ปี.

พระราชาตรัสว่า ดูก่อนพ่อ ถ้าเช่นนั้นพ่อจงหยดพิษลงในน้ำ. สุทัสสนะ เมื่อจะแสดงว่า แม้ในน้ำนั้นก็หยดพิษลงไม่ได้ จึงกล่าวคาถาว่า

ดูก่อนมหาบพิตร ถ้าอาตมภาพจักหยดพิษลงในน้ำ มหาบพิตรจงทราบเถิดว่า สัตว์น้ำมีประมาณเท่าใด ทั้งปลาและเต่าจะพึงตายหมด.

ลำดับนั้นพระราชาตรัสกะท่านว่า ดูก่อนพ่อ ข้าพเจ้าไม่รู้อะไร ท่านจงช่วยหาอุบายที่จะไม่ให้แคว้นของเราฉิบหายด้วยเถิด. สุทัสสนะทูลว่า ดูก่อนมหาบพิตร ถ้าเช่นนั้น มหาบพิตรจงรับสั่งให้คนขุดบ่อ ๓ บ่อ ต่อๆ กันไปในที่แห่งนี้. พระราชารับสั่งให้ขุดบ่อแล้ว. สุทัสสนะ จึงบรรจุบ่อแรกให้เต็มด้วยยาต่างๆ บ่อที่ ๒ ให้บรรจุโคมัย และบ่อที่ ๓ ให้บรรจุยาทิพย์. แล้วจึงใส่หยดพิษลงในบ่อที่ ๑. ขณะนั้นนั่นเองก็เกิดควันไฟลุกขึ้นเป็นเปลวแล้วเลยลามไปจับบ่อโคมัย แล้วลุกลามต่อไปถึงบ่อยาทิพย์ ไหม้ยาทิพย์หมดแล้วจึง

 
  ข้อความที่ 87  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 87

ดับ. อาลัมพายน์ยืนอยู่ใกล้บ่อนั้น. ลำดับนั้น ไอควันพิษฉาบเอาผิวร่างกายเพิกขึ้นไป. ได้กลายเป็นขี้เรือนด่าง. อาลัมพายน์ตกใจกลัว จึงเปล่งเสียงขึ้น ๓ ครั้งว่า ข้าพเจ้าปล่อยนาคราชละ พระโพธิสัตว์ได้ยินดังนั้น จึงออกจากกระโปรงแก้ว นิรมิตอัตภาพอันประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง ยืนอยู่ด้วยท่าทางเหมือนเทวราช. ทั้งสุทัสสนะทั้งอัจจิมุขี ก็มายืนอยู่เหมือนพระโพธิสัตว์นั่นแล. ลำดับนั้น สุทัสสนะจึงทูลถามพระเจ้าพาราณสีว่า ข้าแต่มหาราช พระองค์ทรงรู้จักหรือ ข้าพระองค์ทั้งสามนี้เป็นลูกใคร.

ราชา. ดูก่อนพ่อ เราไม่รู้จัก.

สุทัสสนะ. พระองค์ไม่รู้จักข้าพระองค์ทั้งสามยกไว้ก่อน แต่พระองค์ทรงทราบเรื่องที่ยกนางสมุททชาราชธิดาพระเจ้ากาสีซึ่งพระราชทานแก่ท้าวธตรฐหรือไม่เล่า.

ราชา. เออ เรารู้ นางสมุททชาเป็นน้องสาวเรา.

สุทัสสนะ. ข้าแต่มหาราช ข้าพระองค์ทั้งสามนี้เป็นลูกของนางสมุททชา พระองค์เป็นพระเจ้าลุงของข้าพระองค์ทั้งสาม.

พระราชาได้ฟังดังนั้น ก็ทรงสวมกอดจุมพิตหลานทั้ง ๓ ตน พลางทรงกรรแสงแล้วพาขึ้นปราสาท ทรงทำสักการะเป็นอันมากแล้ว ทรงกระทำปฏิสันถารแล้วถามว่า ดูก่อนภูริทัต พ่อมีฤทธิ์เดชสูงถึงอย่างนี้ ทำไมอาลัมพายน์จึงจับได้. พระภูริทัตนั้นจึงทูลเรื่องนั้นโดยพิศดารแล้ว เมื่อจะถวายโอวาทพระราชา จึงแสดงราชธรรมแก่พระเจ้าลุงโดยนัยมีอาทิว่า ขอพระราชทาน ธรรมเนียมพระราชาควรจะดำรงราชสมบัติโดยทำนองอย่างนี้.

ลำดับนั้น สุทัสสนะ จึงทูลพระราชาว่า ข้าแต่พระเจ้าลุง มารดาของข้าพระองค์ยังไม่พบเจ้าภูริทัต ก็ยังกลัดกลุ้มอยู่ ข้าพระองค์ไม่อาจจะอยู่ช้าได้.

ราชา. ดีละพ่อ จงพากันไปก่อนเถิด แต่ว่าลุงอยากจะพบน้องของเราบ้าง ทำอย่างไรจึงจะได้พบกัน.

 
  ข้อความที่ 88  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 88

สุทัสสนะ. ข้าแต่พระเจ้าลุง พระเจ้ากาสิกราชผู้เป็นพระอัยกาของข้าพระองค์ เดี๋ยวนี้อยู่ที่ไหนเล่า.

ราชา. ดูก่อนพ่อ พระเจ้ากาสิกราชนั้นต้องพรากจากน้องสาวของลุง แล้วไม่สามารถจะอยู่เสวยราชสมบัติได้ ได้ละราชสมบัติทรงผนวชเสียแล้ว เสด็จไปอยู่ในไพรสณฑ์แห่งโน้น.

สุทัสสนะ. ข้าแต่พระเจ้าลุง มารดาของข้าพระองค์ประสงค์จะพบพระเจ้าลุงและพระอัยกาด้วย ถึงวันโน้น พระองค์จงเสด็จไปยังสำนักพระอัยกา ข้าพระองค์จักพามารดาไปยังอาศรมพระอัยกา พระเจ้าลุงจักได้พบมารดาของข้าพระองค์ในที่นั้นทีเดียว. ดังนั้นทั้ง ๓ ตน จึงกำหนดนัดหมายวันแก่พระเจ้าลุงแล้ว ออกจากพระราชนิเวศน์. พระราชาส่งราชภาคิไนยไปแล้ว ก็ทรงพระกรรแสงแล้วเสด็จกลับ. หลานทั้งสามตนก็แทรกแผ่นดินลงไปนาคพิภพ.

จบนาคคเวสนกัณฑ์

เมื่อพระมหาสัตว์ถึงนาคพิภพเสียงร่ำไรรำพันก็เกิดขึ้นพร้อมกัน ฝ่ายพระภูริทัตเหน็ดเหนื่อยเพราะเข้าอยู่ในกระโปรงถึงหนึ่งเดือน จึงเลยนอนเป็นไข้ มีพวกนาคมาเยี่ยมนับไม่ถ้วน พระภูริทัตนั้นเหน็ดเหนื่อยเพราะปราศรัยกับนาคเหล่านั้น. กาณาริฏฐะ ซึ่งยังไปเทวโลกครั้นไม่พบพระมหาสัตว์ก็กลับมาก่อน. ลำดับนั้น ญาติมิตรของพระมหาสัตว์เห็นว่ากาณาริฏฐะนั่นเป็นผู้ดุร้ายหยาบคายสามารถจะห้ามนาคบริษัทได้ จึงให้กาณาริฏฐะเป็นผู้เฝ้าประตูห้องบรรทมของพระมหาสัตว์.

ฝ่ายสุโภคะก็เที่ยวไปทั่วหิมพานต์ จากนั้นจึงตรวจตราต่อไป ตามหามหาสมุทรและแม่น้ำนอกนั้น แล้วตรวจตรามาถึงแม่น้ำยมุนา.

 
  ข้อความที่ 89  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 89

ฝ่ายพราหมณ์เนสาทเห็นอาลัมพายน์เป็นโรคเรื้อนจึงคิดว่า เจ้านี่ทำพระภูริทัตให้ลำบากจึงเกิดเป็นโรคเรื้อน ส่วนเราก็เป็นคนชี้พระภูริทัตผู้มีคุณแก่เรามากให้อาลัมพายน์ด้วยอยากได้แก้ว กรรมชั่วอันนั้นคงจักมาถึงเรา เราจักไปยังแม่น้ำยมุนาตลอดเวลาที่กรรมนั้นจะยังมาไม่ถึง แล้วจักกระทำพิธีลอยบาปที่ท่าปยาคะ เขาจึงไปที่ท่าน้ำปยาคะแล้วกล่าวว่า เราได้ทำกรรมประทุษร้ายมิตรในพระภูริทัต เราจักลอยบาปนั้นไปเสีย ดังนี้แล้วจึงทำพิธีลงน้ำ.

ขณะนั้น สุโภคะไปถึงที่นั้น ได้ยินคำของพราหมณ์เนสาทนั้นจึงคิดว่า ได้ยินว่าตาคนนี้บาปหนา พี่ชายของเราให้ยศศักดิ์มันมากมายแล้ว กลับไปชี้ให้หมองู เพราะอยากได้แก้ว เราเอาชีวิตมันเสียเถิด ดังนี้แล้วจึงเอาหางพันเท้าพราหมณ์ทั้งสองข้าง ลากให้จมลงในน้ำ พอจวนจะขาดลมหายใจจึงหย่อนให้หน่อยหนึ่ง. พอพราหมณ์โผล่หัวขึ้นได้ก็กลับลากให้จมลงไปอีก ทรมานให้ลำบากอย่างนี้อยู่หลายครั้ง พราหมณ์เนสาทโผล่หัวขึ้นได้จึงกล่าวคาถาว่า

น้ำที่โลกสมมติว่าสามารถลอยบาปได้ มีอยู่ที่ท่าปยาคะ ภูตผีอะไรฉุดเราลงสู่แม่น้ำยมุนาอันลึก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่าโลกฺยํ ความว่า น้ำอันโลกสมมติว่าสามารถลอยบาปได้อย่างนี้. บทว่า สชฺชนฺตํ ความว่า น้ำเห็นปานนี้ที่จัดไว้สำหรับประพรม. บทว่า ปยาคสฺมึ ได้แก่ มีอยู่ที่ท่าปยาคะ.

ลำดับนั้น สุโภคะ ได้กล่าวกะพราหมณ์เนสาทนั้นด้วยคาถาว่า

นาคราชนี้ใดเป็นใหญ่ในโลก เรืองยศ พันกรุงพาราณสีไว้โดยรอบ เราเป็นลูกของนาคราชผู้ประเสริฐนั้น ดูก่อนพราหมณ์ นาคทั้งหลายเรียกเราว่า สุโภคะ.

 
  ข้อความที่ 90  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 90

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยเทส ตัดเป็น โย เอโส แปลว่า นาคราชนั้นใด. บทว่า ปกีรหรี สมนฺตโต ความว่า พันกรุงพาราณสีไว้ทั้งหมดโดยรอบปรกพังพานไว้ข้างบน โดยสามารถนำทุกข์เข้าไปแก่ผู้เป็นข้าศึก.

ลำดับนั้น พราหมณ์เนสาทจึงคิดว่า นาคนี้เป็นพี่น้องของพระภูริทัต จักไม่ไว้ชีวิตเรา อย่ากระนั้นเลย เราจะยกยอเกียรติคุณของนาคนี้ทั้งมารดาและบิดาของเขา ให้ใจอ่อนแล้วขอชีวิตเทไว้ ดังนี้แล้วจึงกล่าวคาถาว่า

ถ้าท่านเป็นโอรสของนาคราชผู้ประเสริฐ ผู้เป็นพระราชาของชนชาวกาสี เป็นอธิบดีอมร พระชนกของท่านเป็นใหญ่คนโตผู้หนึ่ง และพระชนนีของท่านก็ไม่มีใครเทียบเท่าในหมู่มนุษย์ ผู้มีอานุภาพมากเช่นท่าน ย่อมไม่สมควรจะฉุดแม้คนที่เป็นเพียงทาสของพราหมณ์ให้จมน้ำเลย.

ในพระคาถานั้น โดยนามอีกอย่างว่า กาสี ชนทั้งหลายเรียกกันว่า พระราชาผู้เป็นอิสระในแคว้นกาสี ซึ่งมีชื่ออย่างนี้ พราหมณ์พรรณนาแคว้นกาสี ให้เป็นของพระเจ้ากาสี เพราะพระราชธิดาผู้เป็นใหญ่ในแคว้นกาสียึดเอา. บทว่า อมราธิปสฺส ความว่า ผู้เป็นใหญ่แห่งนาคทั้งหลาย กล่าวคือ อมร เพราะมีอายุยืน. บทว่า มเหสกฺโข ความว่า เป็นผู้หนึ่งบรรดาผู้มีศักดิ์ใหญ่. บทว่า ทาสํปิ ความว่า จริงอยู่ผู้มีอานุภาพมากเช่นท่าน ไม่ควรเพื่อจะทำผู้ไม่มีอานุภาพ แม้เป็นทาสของพราหมณ์ให้จมน้ำ จะป่วยกล่าวไปไยถึงพราหมณ์ผู้มีอานุภาพมากเล่า.

ลำดับนั้น สุโภคะ จึงกล่าวกะพราหมณ์นั้นว่า เจ้าพราหมณ์ชั่วร้าย เจ้าสำคัญว่าจะหลอกให้เราปล่อยหรือ เราไม่ไว้ชีวิตเจ้า เมื่อจะประกาศกรรมที่พราหมณ์นั้นการทำจึงกล่าวว่า

 
  ข้อความที่ 91  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 91

เจ้าแอบต้นไม้ยิงเนื้อซึ่งมาเพื่อจะดื่มน้ำ เนื้อถูกยิงแล้วรู้สึกได้ด้วยกำลังลูกศร จึงวิ่งหนีไปไกล เจ้าไปพบมันล้มอยู่ในป่าใหญ่ จึงแล่เนื้อหามมาถึงต้นไทรในเวลาเย็น อันกึกก้องไปด้วยเสียงร้องของนกดุเหว่า และนกสาลิกามีใบเหลือง เกลื่อนกล่นไปด้วยย่านไทร มีฝูงนกดุเหว่าร้องอยู่ระงม น่ารื่นรมย์ใจ ภูมิภาคเขียวไปด้วยหญ้าแพรกอยู่เป็นนิตย์ พี่ชายของเราเป็นผู้รุ่งเรืองไปด้วยฤทธิ์และยศ มีอานุภาพมาก อันนางนาคกัญญาทั้งหลายแวดล้อม ปรากฏแก่เจ้าผู้อยู่ที่ต้นไทรนั้น ท่านพาเจ้าไปเลี้ยงดู บำรุงบำเรอด้วยสิ่งที่น่าใคร่ทุกอย่าง เป็นคนประทุษร้ายต่อท่านผู้ไม่ประทุษร้าย เวรนั้นมาถึงเจ้าในที่นี้แล้ว เจ้าจงเหยียดคอออกเร็วๆ เถิด เราจักไม่ไว้ชีวิตเจ้า เราระลึกถึงเวรที่เจ้าทำต่อพี่ชายเรา จึงจักตัดศีรษะเจ้าเสีย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สายํ นิโคฺรธมุปาคมิ ความว่า ท่านเข้าไปยังต้นไทรในเวลาวิกาล. บทว่า ปิงฺคิยํ ความว่า มีใบสีเหลือง. บทว่า สณฺตายุตํ แปลว่า เกลื่อนกล่นไปด้วยย่านไทร. บทว่า โกกิลาภิรุทํ ความว่า มีฝูงนกดุเหว่าร้องอยู่ระงม. บทว่า ธุวํ หริตสทฺทลํ ความว่า ภูมิภาคเขียวไปด้วยหญ้าแพรกอยู่เป็นนิตย์ เพราะเกิดในที่ใกล้น้ำ. บทว่า ปาตุรหุ ความว่า พี่ชายของเรานั้นได้ปรากฏชัดแก่เจ้าผู้อยู่ที่ต้นไทรนั้น. บทว่า อิทฺธิยา แปลว่าด้วยเดชแห่งฤทธิ์. บทว่า โส เตน ความว่า ท่านนั้นอันพี่ชายของเราพาไปสู่ภพของตนแล้วเลี้ยงดู. บทว่า ปริสรํ ความว่า เรา ระลึกนึกถึงเวรคือกรรมชั่วที่เจ้าทำแก่พี่ชายของเรา. บทว่า เฉทยิสฺสามิ แปลว่า เราจักตัด.

 
  ข้อความที่ 92  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 92

ลำดับนั้นพราหมณ์เนสาทจึงคิดว่า นาคนี้เห็นจะไม่ไว้ชีวิตเราแน่ แต่ถึงกระนั้นเราก็ควรจะพยายามกล่าวอะไรๆ เพื่อให้พ้นให้จงได้ จึงกล่าวคาถาว่า

พราหมณ์ผู้ทรงเวท ๑ ผู้ประกอบในการขอ ๑ ผู้บูชาไฟ ๑ ทั้ง ๓ ประการนี้ เป็นพราหมณ์ที่ใครๆ ไม่ควรจะฆ่า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอเตหิ ความว่า พราหมณ์เป็นผู้อันใครไม่ควรฆ่า คือฆ่าไม่ได้ ด้วยเหตุ ๓ ประการนี้ มีพราหมณ์ผู้ทรงเวทเป็นต้น เพราะผู้ใดฆ่าพราหมณ์ ผู้นั้นย่อมเกิดในนรก.

สุโภคะได้ฟังดังนั้นแล้ว ก็เกิดความลังเลใจ จึงคิดว่าเราจะพาพราหมณ์นี้ไปยังนาคพิภพ สอบถามพี่น้องดูก็จักรู้ได้ ดังนี้จึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า

เมืองของท้าวธตรฐ อยู่ภายใต้แม่น้ำยมุนา จดหิมวันตบรรพตซึ่งตั้งอยู่ไม่ไกลแม่น้ำยมุนา ล้วนแล้วไปด้วยทองคำงามรุ่งเรือง พี่น้องร่วมท้องของเรา ล้วนเป็นคนมีชื่อลือชา อยู่ในเมืองนั้น ดูก่อนพราหมณ์ พี่น้องของเราเหล่านั้นจักว่าอย่างไร เราจักต้องเป็นอย่างนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยํ ปุรํ แปลว่า นครใด. บทว่า โอคาฬฺหํ ความว่า อยู่ลึกลงไปใต้แม่น้ำยมุนา. บทว่า คิริมาหจฺจ ยามุนํ ความว่า ตั้งอยู่ไม่ไกลแต่แม่น้ำยมุนา จดหิมวันตบรรพต. บทว่า โชตเต แปลว่า รุ่งเรืองอยู่. บทว่า ตตฺถ เต ความว่า พี่ชายของเราเหล่านั้น อยู่ในนครนั้น. อธิบายว่าเมื่อเจ้าถูกนำไปในที่นั้น พี่ชายเหล่านั้นว่าอย่างใด เจ้าจักเป็น

 
  ข้อความที่ 93  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 93

อย่างนั้น ก็ถ้าเจ้ากล่าวคำจริง ชีวิตของเจ้าก็จะมีอยู่ ถ้ากล่าวคำไม่จริง เราจะตัดศีรษะของเจ้าในที่นั้นทีเดียว.

สุโภคะครั้นกล่าวดังนั้นแล้ว จึงจับคอพราหมณ์เสือกไสไปพลางบริภาษไปพลาง จนถึงประตูปราสาทของพระโพธิสัตว์.

จบสุโภคกัณฑ์

ลำดับนั้น กาณาริฏฐะนั่งเฝ้าประตูอยู่ เห็นสุโภคะพาพราหมณ์เนสาททรมานมาดังนั้น จึงเดินสวนทางไปบอกว่า แน่ะ พี่สุโภคะ พี่อย่าเบียดเบียนพราหมณ์นั้น เพราะพวกที่ชื่อว่าพราหมณ์ในโลกนี้ เป็นบุตรท้าวมหาพรหม ถ้าท้าวมหาพรหมรู้เข้าก็จักโกรธว่า นาคเหล่านี้เบียดเบียนแม้ลูกทั้งหลายของเราแล้ว จักทำนาคพิภพทั้งสิ้นให้พินาศ เพราะพวกที่ชื่อว่าเป็นพราหมณ์ เป็นผู้ประเสริฐและมีอานุภาพมากในโลก พี่ไม่รู้จักอานุภาพของพวกพราหมณ์เหล่านั้น ส่วนข้าพเจ้าเองรู้ เล่ากันมาว่า กาณาริฏฐะในภพที่เป็นลำดับที่ล่วงมาได้เกิดเป็นพราหมณ์บูชายัญ เพราะฉะนั้น จึงได้กล่าวอย่างนี้ ก็แลครั้นกล่าวแล้วด้วยอำนาจที่ตนเคยเสวยมาในกาลก่อน จึงมีปกติฝังอยู่ในการบูชายัญ จึงเรียกสุโภคะและนาคบริษัทมาบอกว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย จงมาเถิด เราจักพรรณนาคุณของพราหมณ์ผู้ทำการบูชายัญ ดังนี้แล้วเมื่อเริ่มกล่าวพรรณนายัญ จึงกล่าวว่า

ข้าแต่พี่สุโภคะ ยัญและเวททั้งหลายในโลกที่พวกพราหมณ์นอกนี้ประกอบขึ้น ไม่ใช่เป็นของเล็กน้อยเพราะฉะนั้น ผู้ติเตียนพราหมณ์ซึ่งใครๆ ไม่ควรติเตียน ชื่อว่าย่อมละทิ้งทรัพย์เครื่องปลื้มใจและธรรมของสัตบุรุษเสีย

 
  ข้อความที่ 94  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 94

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนิตฺตรา ความว่า ดูก่อนสุโภคะ ยัญและเวททั้งหลายในโลกนี้ที่พวกพราหมณ์ประกอบขึ้น ไม่ใช่เป็นเล็กน้อย ไม่เลวทราม มีอานุภาพมาก. ยัญและเวทเหล่านั้น ที่พวกพราหมณ์นอกนี้ประกอบขึ้น เพราะฉะนั้น แม้พราหมณ์ทั้งหลายเป็นผู้ไม่ใช่เล็กน้อยเลย. บทว่า ตทคฺครยฺหํ ความว่า ผู้ติเตียนพราหมณ์ที่ไม่ควรติ ชื่อว่าย่อมละทิ้งทรัพย์ และธรรมของสัตบุรุษ คือของบัณฑิตทั้งหลาย.

เล่ากันมาว่า เขาได้กล่าวว่า นาคบริษัททั้งหลายอย่าได้เพื่ออันกล่าวว่า พราหมณ์นี้ได้ทำกรรมประทุษร้ายต่อมิตรในพระภูริทัตนี้.

ลำดับนั้น กาณาริฏฐะ ได้กล่าวกะสุโภคะนั้นว่า ดูก่อนพี่สุโภคะ พี่สุโภคะรู้หรือไม่ว่าโลกนี้ใครสร้าง เมื่อสุโภคะตอบว่า ไม่รู้ เพื่อจะแสดงว่าโลกนี้ท้าวมหาพรหม ปู่ของพวกพราหมณ์สร้าง จึงกล่าวคาถาอีกว่า

พวกพราหมณ์ถือการทรงไตรเพท พวกกษัตริย์ปกครองแผ่นดิน พวกแพศย์ยึดการไถนา และพวกศูทรยึดการบำเรอ วรรณะทั้ง ๔ นี้ เข้าถึงการงานตามที่อ้างมาเฉพาะอย่างๆ นั้น กล่าวกันว่า มหาพราหมผู้มีอำนาจจัดทำไว้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปาคู แปลว่า เข้าถึงแล้ว. เล่ากันมาว่า พรหมนิรมิตวรรณะ ๔ มี พราหมณ์เป็นต้นแล้ว กล่าวกะพราหมณ์ทั้งหลายผู้ประเสริฐเป็นอันดับแรกว่า พวกท่านจงยึดการศึกษาไตรเพทเท่านั้น อย่างกระทำสิ่งอะไรอื่น. กล่าวกะพระราชาว่า พวกท่านจงปกครองแผ่นดินอย่างเดียว อย่ากระทำสิ่งอะไรอื่น. กล่าวพวกแพศย์ว่า พวกท่านจงยึดการไถนาอย่างเดียว. กล่าวกะพวกศูทรว่า พวกท่านจงยึดการบำเรอวรรณะ ๓ อย่างเดียว

 
  ข้อความที่ 95  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 95

ตั้งแต่นั้นมา ท่านกล่าวว่า พราหมณ์ผู้ประเสริฐยึดการศึกษาไตรเพท พระราชายึดการปกครอง แพศย์ยึดการไถนา ศูทรยึดการบำเรอ. บทว่า ปจฺเจกํ ยถาปเทสํ ความว่า เมื่อจะเข้ายึด ยึดเอาตามทำนองที่พราหมณ์กล่าวแล้ว โดยสมควรตามตระกูล และประเทศของตน. บทว่า กตาหุ เอเต วสินาติ อาหุ ความว่า ท่านแสดงว่า พราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้อันท้าวมหาพรหมผู้มีอำนาจได้สร้างไว้อย่างนี้.

กาณาริฏฐะกล่าวว่า ขึ้นชื่อว่า มหาพรหมผู้มีอานุภาพมากอย่างนี้ ก็ผู้ใดทำจิตให้เลื่อมใสในมหาพรหมณ์เหล่านั้น ย่อมให้ทาน ผู้นั้นไม่มีการถือปฏิสนธิในที่อื่น ย่อมไปสู่เทวโลกอย่างเดียวจึงกล่าวว่า

พระพรหมผู้สร้างโลก ท้าววรุณ ท้าวกุเวร ท้าวโสมะ พระยายม พระจันทร์ พระวายุ พระอาทิตย์ แม้ท่านเหล่านี้ ก็ล้วนบูชายัญมามากแล้ว และบูชาสิ่งที่น่าใคร่ทุกอย่าง แก่พราหมณ์ผู้ทรงเวท ท้าวอรชุน และท้าวภีมเสน มีกำลังมาก มีแขนนับพัน ไม่มีใครเสมอในแผ่นดิน ยกธนูได้ ๕๐๐ คัน ก็ได้บูชาไฟมาแต่ก่อน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอเตปิ ได้แก่ เทวราชผู้บูชายัญเป็นต้นเหล่านั้น. บทว่า ปุถุโล ความว่า บูชายัญมามากมาย. ด้วยบทว่า อถ สพฺพกาเม นี้ ท่านแสดงว่า อนึ่ง ให้สิ่งซึ่งน่าใคร่ทั้งปวง แก่พราหมณ์ผู้ทรงเวท จึงถึงฐานะเหล่านี้. บทว่า วิกาสิตา แปลว่า ฉุดคร่ามา. บทว่า จาปสตานิ ปญฺจ ความว่า ไม่ใช่เพียงคันธนู ๕๐๐ คัน ถึงธนูใหญ่ ๕๐๐ คัน ก็ยังคร่ามาได้ด้วยตนเอง. เสนาผู้น่ากลัว ชื่อว่า ภีมเสนะ. บทว่า

 
  ข้อความที่ 96  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 96

สหสฺสพาหุ ความว่า ไม่ใช่ท่านมีแขนนับพัน หมายความว่า ท่านสามารถยกธนูใหญ่ ซึ่งต้องยกด้วยแขนจำนวน ๑,๐๐๐ แขน ของคนผู้ถือธนู ๕๐๐ คนได้ เพราะเหตุนั้นจึงกล่าวอย่างนี้. บทว่า อาทหิ ชาติเวทํ ความว่า ในกาลนั้น พระราชาแม้นั้น ให้พราหมณ์ทั้งหลายอิ่มหนำด้วยกามทั้งปวง ให้จุดไฟตั้งบำเรอไฟ เพราะเหตุนั้นนั่นแลท่านจึงบังเกิดในเทวโลก เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ชื่อว่า พราหมณ์ทั้งหลายเป็นใหญ่ในโลกนี้.

กาณาริฏฐะนั้นเมื่อจะสรรเสริญเฉพาะพวกพราหมณ์ แม้ให้ยิ่งขึ้นไป จึงกล่าวคาถาว่า

ดูก่อนพี่สุโภคะ ผู้ใดเลี้ยงพราหมณ์ มานานด้วยข้าวและน้ำตามกำลัง ผู้นั้นมีจิตเลื่อมใสอนุโมทนาอยู่ได้เป็นเทพเจ้าองค์หนึ่ง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โย เป็นบทแสดงอนิยม คือท่านแสดงว่า ผู้นั้นใดเช่นพระเจ้าพาราณสีองค์เก่า. บทว่า ยถานุภาวํ ความว่า บริจาคสิ่งทั้งหมดที่มีอยู่แก่เขาตามกำลังแล้วให้บริโภค. บทว่า เทวญฺตโร ความว่า ดูก่อนพี่สุโภคะเขาได้เป็นเทวราชผู้มีศักดิ์ใหญ่ตนหนึ่ง. พราหมณ์ทั้งหลาย ชื่อว่า เป็นทักขิไณยบุคคลผู้เลิศอย่างนี้.

ลำดับนั้น กาณาริฏฐะ เมื่อจะนำเหตุแม้อื่นอีกมาแสดง จึงกล่าวคาถาว่า

พราหมณ์ผู้ใด สามารถบูชาเทวดา คือไฟ ผู้กินมาก มีสีไม่ทราม ไม่อิ่มหนำด้วยเนยใส พราหมณ์ผู้นั้น บูชายัญวิธีแก่เทวดา คือ ไฟผู้ประเสริฐแล้ว ได้ไปบังเกิดในทิพยคติและได้เข้าเฝ้าพระเจ้ายุตินทะ. (๑)

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มหาสนํ แปลว่า ผู้กินมาก. บทว่า เชตุํ แปลว่า เมื่ออิ่มหนำ. บทว่า ยญฺตฺตํ ได้แก่ วิธีบูชายัญ. บทว่า


๑. บาลีเป็น พระเจ้ามุจลินท์.

 
  ข้อความที่ 97  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 97

วรโต ได้แก่ บูชาเทวดาคือไฟผู้ประเสริฐ. บทว่า มุชตินฺทชฺฌคจฺฉิ ความว่า พระเจ้ามุชตินทะได้ทรงเข้าถึงแล้ว.

เล่ากันมาว่า พระราชาพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า มุชตินทะ ในกรุงพาราณสี ในกาลก่อน ตรัสสั่งให้เรียกพราหมณ์ทั้งหลายมาแล้ว ถามถึงทางไปสวรรค์.

ลำดับนั้น พราหมณ์เหล่านั้น ทูลพระราชานั้นว่า ขอพระองค์จงทรงกระทำสักการะแก่พวกพราหมณ์ และแก่เทวดาผู้เป็นพราหมณ์ เมื่อพระราชาตรัสถามว่า เทวดาผู้เป็นพราหมณ์เหล่าไหน จึงทูลว่า เทวดาคือไฟ ดังนี้แล้วจึงทูลพระราชาว่า ขอพระองค์จงให้ไฟนั้นอิ่มหนำด้วยเนยใสและเนยข้น พระราชานั้นได้ทรงกระทำอย่างนั้น.

กาณาริฏฐะนั้น เมื่อจะประกาศความนั้น จึงกล่าวคาถานี้ว่า

พระเจ้าทุทีปะ มีอานุภาพมาก มีอายุ ๑,๐๐๐ ปี มีพระรูปงาม น่าดูยิ่งนัก ทรงละแว่นแคว้นอันไม่มีที่สุดพร้อมทั้งเสนา เสด็จออกผนวชแล้ว ได้เสด็จสู่สวรรค์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปพฺพชิ ความว่า ผู้ครองราชสมบัติสิ้น ๕๐๐ ปี กระทำสักการะแก่พราหมณ์ทั้งหลาย แล้วละราชสมบัติอันหาที่สุดมิได้ พร้อมด้วยเสนาออกผนวช ทรงการทำสมณธรรม ๕๐๐ ปี เป็นพระทักขิไณยผู้เลิศน่าดูน่าชม. บทว่า ทุทีโปปิ ท่านกล่าวว่า พระราชาทรงพระนามว่า ทุทีปะ นั้น บูชาพราหมณ์ทั้งหลายเท่านั้น ก็เสด็จไปสู่สวรรค์ บาลีว่า ทุทิปะ ก็มี.

กาณาริฏฐะ เมื่อจะแสดงอุทาหรณ์แม้อื่นอีกแก่สุโภคะนั้น จึงกล่าวคาถาว่า

 
  ข้อความที่ 98  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 98

ข้าแต่พี่สุโภคะ พระเจ้าสาครราชทรงปราบแผ่นดินอันมีสาครเป็นที่สุด รับสั่งให้ตั้งเสาผูกสัตว์บูชายัญอันงามยิ่งนัก ล้วนแล้วด้วยทองคำ ทรงบูชาไฟแล้วได้เป็นเทพเจ้าองค์หนึ่ง แม่น้ำคงคาและสมุทรเป็นที่สั่งสมนมส้ม ย่อมเป็นไปด้วยอานุภาพของผู้ใด ผู้นั้นคือ พระเจ้าอังคโลมบาท ทรงบำเรอไฟ แล้วเสด็จไปเกิดในพระนครของท้าวสหัสสนัยน์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สาครนฺตํ ได้แก่ แผ่นดินมีสาครเป็นที่สุด. บทว่า อุสฺเสสิ ความว่า เมื่อท่านถามถึงทางสวรรค์กะพวกพราหมณ์ ครั้นพวกพราหมณ์กล่าวว่า จงให้ยกเสาบูชายัญทองคำขึ้น จึงให้ยกขึ้นเพื่อฆ่าสัตว์เลี้ยง. บทว่า เวสฺสานรมาทหาโน ความว่า เริ่มบูชาไฟเทวดา อีกอย่างหนึ่งบาลีว่า เวสฺสานรึ ดังนี้ก็มี. บทว่า เทวญฺตโร กาณาริฏฐะกล่าวว่า ดูก่อนพี่สุโภคะ ก็พระราชาองค์นั้นบูชาไฟแล้ว ได้เป็นเทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่ตนหนึ่ง. บทว่า ยสฺสานุภาเวน ความว่า ดูก่อนพี่สุโภคะ แม่น้ำคงคาและมหาสมุทรใครสร้างพี่รู้ไหม. สุโภคะกล่าวว่า เราไม่รู้. กาณาริฏฐะกล่าวว่า พี่ไม่รู้อะไร พี่รู้แต่จะโบยตีพราหมณ์เท่านั้น ก็ในอดีตกาลพระเจ้ากรุงพาราณสีทรงพระนามว่าอังคโลมบาท ตรัสถามทางสวรรค์กะพวกพราหมณ์ เมื่อพวกพราหมณ์ทูลว่า พระองค์จงเสด็จเข้าไปหิมวันต์กระทำสักการะแก่พราหมณ์ทั้งหลายแล้วบำเรอไฟ พระองค์จึงพาแม่โคนมและพระมเหสีหาประมาณมิได้เข้าไปยังหิมวันต์ ได้กระทำอย่างนั้น เมื่อพระราชตรัสถามว่า นมสดและนมส้มที่เหลือจากพวกพราหมณ์บริโภคแล้วจะพึงทำอย่างไร จึงกล่าวว่าจงทิ้งเสีย. ในที่ๆ น้ำนมแต่ละน้อยถูกทิ้งลงไปนั้นๆ ได้กลายเป็นแม่น้ำน้อย ส่วนน้ำนมนั้นกลายเป็นนมส้มไหลไปขังอยู่ในที่ใด ที่นั้นได้กลายเป็นสมุทรไป พระเจ้าพาราณสีทรงกระทำสักการะเห็นปานนี้ เสด็จไปสู่บุรีของท้าวสหัสสนัยน์ ผู้บำเรอไฟตามวิธีที่พราหมณ์กล่าว ด้วยประการฉะนี้.

 
  ข้อความที่ 99  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 99

กาณาริฏฐะ ครั้นนำอดีตนิทานนี้มาชี้แจงแก่สุโภคะดังนี้แล้ว จึงกล่าวคาถาว่า

เทวดาผู้ประเสริฐ มีฤทธิ์มาก มียศ มีเสนาบดีของท้าววาสวะในไตรทิพย์ กำจัดมลทินด้วยโสมยาควิธี (บูชาด้วยการดื่มน้ำโสม) ได้เป็นเทพเจ้าองค์หนึ่ง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โส โสมยาเคน มลํ วิหนฺตฺวา ความว่า ดูก่อนพี่สุโภคะผู้เจริญ บัดนี้ ผู้ที่เป็นเสนาบดีของท้าวสักกเทวราช มียศมาก เป็นเทพบุตร แม้ผู้นั้น เมื่อก่อนเป็นพระเจ้าพาราณสี ถามถึงทางเป็นที่ไปสวรรค์กะพวกพราหมณ์ เมื่อพวกพราหมณ์กล่าวว่าขอพระองค์จงลอยมลทินของตน ด้วยโสมยาควิธีแล้วจะไปสู่เทวโลก จึงทรงกระทำสักการะใหญ่แก่พราหมณ์ทั้งหลายแล้ว กระทำการบูชาโสมยาคะ ตามวิธีที่พวกพราหมณ์เหล่านั้นกล่าวแล้ว จึงทรงกำจัดมลทินด้วยวิธีนั้นแล้ว เกิดเป็นเทพเจ้าองค์หนึ่ง เมื่อจะประกาศความนี้จึงกล่าวอย่างนี้

เมื่อกาณาริฏฐะจะแสดงอุทาหรณ์แม้อื่นอีกแก่สุโภคะ จึงกล่าวว่า

เทวดาผู้ประเสริฐ มีฤทธิ์เรืองยศสร้างโลกนี้โลกหน้า แม่น้ำภาคีรถี (๑) ขุนเขาหิมวันต์และเขาวิชฌะ ได้บูชาไฟมาก่อน ภูเขามาลาคิริ ขุนเขาหิมวันต์ เขาวิชฌะ ภูเขาสุทัสนะ ภูเขานิสภะ ภูเขากากเวรุ ภูเขาเหล่านี้และภูเขาใหญ่อื่นๆ กล่าวกันว่าพวกพราหมณ์ผู้บูชายัญได้ก่อสร้างไว้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โสปิ ตทา อาทหิ ชาตเวทํ ท่านแสดงว่า ดูก่อนพี่สุโภคะ มหาพรหมใด ได้สร้างโลกนี้และโลกหน้า แม่น้ำ


๑. ศัพท์ว่า ภาติรถี อรรถกถาว่า ภาติรถิคงคา อภิธานว่า ภาคีรถี.

 
  ข้อความที่ 100  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 100

ภาคีรถี แม่น้ำคงคา ขุนเขาหิมวันต์ เขาวิชฌะและเขากากเวรุ ในกาลใด มหาพรหมแม้นั้นได้เป็นมาณพก่อนกว่าพรหมอุบัติ ในกาลนั้นเขาเริ่มต้นบูชาไฟเป็นมหาพรหมได้สร้างทุกสิ่งทุกอย่าง พราหมณ์ผู้มีฤทธิ์ก็เป็นอย่างนั้น. บทว่า จิตฺยา กตา ความว่า เล่ากันมาว่า เมื่อก่อน พระเจ้ากรุงพาราณสีพระองค์หนึ่ง ตรัสถามถึงทางไปสวรรค์กะพวกพราหมณ์ เมื่อพวกพราหมณ์ทูลว่า ขอพระองค์จงทำสักการะแก่พวกพราหมณ์ พระองค์ก็ได้ถวายมหาทานแก่พราหมณ์เหล่านั้นแล้ว ตรัสถามว่า ในการให้ทานของข้าพเจ้านี้ ไม่มีผลหรือ เมื่อพวกพราหมณ์ทูลว่า มีทั้งหมดพระเจ้าข้า แต่อาสนะไม่เพียงพอแก่พวกพราหมณ์ จึงรับสั่งให้ก่ออิฐสร้างอาสนะทั้งหลาย. ที่นอนและตั่งที่พระองค์ให้ก่อสร้างขึ้นนั้น เจริญด้วยอานุภาพของพวกพราหมณ์ กลายเป็นภูเขามาลาคิริเป็นต้น ภูเขาเหล่านั้นกล่าวกันว่า พวกพราหมณ์ผู้บูชายัญได้สร้างไว้ด้วยประการฉะนี้แล.

ลำดับนั้น กาณาริฏฐะจึงกล่าวกะสุโภคะนั้นอีกว่า พี่สุโภคะ ก็พี่รู้หรือไม่ว่า เพราะเหตุไร สมุทรนี้จึงเกิดเป็นน้ำเค็ม ดื่มไม่ได้. สุโภคะกล่าวว่า ดูก่อนอริฏฐะ พี่ไม่รู้. กาณาริฏฐะจึงกล่าวกะสุโภคะนั้นว่า พี่ก็รู้แต่จะเบียดเบียนพวกพราหมณ์เท่านั้นไม่รู้อะไรอื่นเลย คอยฟังเถิด จึงกล่าวคาถาว่า

ชนทั้งหลายเรียกพราหมณ์ผู้ทรงเวท ผู้เข้าถึงคุณแห่งมนต์ ผู้มีตบะในโลกนี้ว่า ผู้ประกอบในการขอ มหาสมุทรซัดท่วมพราหมณ์ผู้กำลังตระเตรียมน้ำอยู่ที่ฝั่งมหาสมุทร เพราะเหตุนั้น น้ำในมหาสมุทรจึงดื่มไม่ได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยาจโยคีติธาหุ ความว่า ชนทั้งหลายในโลกนี้เรียกพราหมณ์นั้นว่า ยาจโยคี ผู้ประกอบในการอ้อนวอนขอ. บทว่า อุทกํ

 
  ข้อความที่ 101  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 101

สชฺชนฺตํ ความว่า เล่ากันว่า วันหนึ่งพราหมณ์นั้น กระทำกรรมคือการลอยบาป ยืนอยู่ที่ริมฝั่ง ตักน้ำจากสมุทร กระทำการดำเกล้าสระหัวของตน ขณะนั้นสาครกำเริบท่วมทับพราหมณ์นั้น ผู้กระทำอย่างนั้น มหาพรหมได้ทรงสดับเหตุนั้นจึงโกรธว่า ได้ทราบว่า สาครนี้ฆ่าบุตรเรา จึงสาปว่าสมุทรจงดื่มไม่ได้ จงเป็นน้ำเค็ม ด้วยเหตุนั้นนั่นเองสมุทรจึงดื่มไม่ได้ กลายเป็นน้ำเค็ม ชื่อว่า พราหมณ์เหล่านี้ มีคุณมากถึงปานนี้แล.

กาณาริฏฐะกล่าวต่อไปว่า

วัตถุที่ควรบูชา คือพวกพราหมณ์เป็นอันมากมีอยู่บนแผ่นดิน ของท้าววาสวะ พราหมณ์ทั้งหลายมีอยู่ในทิศบูรพา ทิศปัจฉิม ทิศทักษิณและทิศอุดร ย่อมยังปีติและโสมนัสให้เกิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วาสวสฺส ความว่า ของท้าววาสวะ คือของท้าวสักกเทวราช ผู้ให้ทานแก่พวกพราหมณ์ในกาลก่อนแล้วถึงความเป็นท้าววาสวะ. บทว่า อายาควตฺถูนิ ความว่า พราหมณ์เป็นอันมากในปฐพี คือในแผ่นดิน ผู้เป็นบุญเขตในกาลก่อนผู้เป็นทักขิไณยอันเคยมีอยู่. บทว่า ปุริมํ ทิสํ ความว่า แม้บัดนี้พราหมณ์เหล่านั้นมีอยู่ในทิศทั้ง ๔ นี้ ย่อมให้เกิดความปลื้มปีติเป็นอันมากคือนำมาซึ่งความมีปีติและโสมนัสแก่ท้าววาสวะนั้น.

อริฏฐะ พรรณนาถึงพราหมณ์ ยัญ และ เวทด้วยคาถา ๑๔ คาถาด้วยประการฉะนี้.

จบการพรรณนายัญญวาท

 
  ข้อความที่ 102  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 102

นาคเป็นอันมากผู้มาเยี่ยมเยียนพระมหาสัตว์ฟังถอยคำนั้นของกาณาริฏฐะนั้นแล้ว ก็พลอยถือเอาผิดๆ ด้วยคิดว่า กาณาริฏฐะพูดแต่ความจริงเท่านั้น. พระมหาสัตว์นอนป่วยอยู่ ได้ฟังคำนั้นทั้งหมดแล้ว. ทั้งพวกก็มาแจ้งให้ท่านทราบอีก. ลำดับนั้นท่านคิดว่า อริฏฐะพรรณนาทางผิดๆ เอาเถอะเราจะทำลายวาทะของกาณาริฏฐะนั้น แล้วจักกระทำบริษัทให้เป็นสัมมาทิฏฐิ ท่านลุกขึ้นอาบน้ำ ประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง นั่งบนธรรมาสน์ สั่งให้นาคบริษัททั้งหมดประชุมกัน ให้เรียกกาณาริฏฐะมาแล้วกล่าวว่า เจ้ากล่าวสรรเสริญสิ่งที่ไม่จริง คือ เวท ยัญ และพราหมณ์ทั้งหลาย ก็ขึ้นชื่อว่า การบูชายัญด้วยวิธีเวทของพราหมณ์ทั้งหลาย ไม่นับว่าเป็นสิ่งประเสริฐเลย และไม่ใช่เป็นทางแห่งสวรรค์ เราจะชี้ข้อไม่เป็นจริงในวาทะของท่าน ดังนี้แล้ว เมื่อจะเริ่มชื่อวาทะอันว่าด้วยประเภทแห่งยัญจึงกล่าวว่า

ดูก่อนอริฏฐะ ความกาลีคือความปราชัยของนักปราชญ์ทั้งหลายกลับเป็นความมีชัยของคนโง่เขลา ผู้ทรงเวท. ไตรเพทเป็นเหมือนอาการของพยับแดด เพราะเป็นของไม่เห็นเสมอไป มีคุณทางหลอกลวง พาเอาคนมีปัญญาไปไม่ได้ ไตรเพทมิได้มีเพื่อป้องกันคนผู้ประทุษร้ายมิตรผู้ล้างผลาญความเจริญ. เหมือนไฟที่คนบำเรอแล้ว ย่อมป้องกันโทสจริตทำกรรมชั่วไม่ได้ ถ้าคนทั้งหลายจะเอาไม้ที่มีอยู่ในโลกทั้งหมดพร้อมทั้งทรัพย์สมบัติของตน คลุกกับหญ้าให้ไฟเผา ไฟอันมีเดชไม่มีใครเทียม เผาสิ่งเหล่านั้นทั้งหมดก็ไม่อิ่ม ใครจะพึงทำให้ไฟซึ่งรู้รส ๒ อย่าง ให้อิ่มได้ นมสดแปร

 
  ข้อความที่ 103  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 103

ไปได้เป็นธรรมดาคือแปรเป็นนมส้ม แล้วเป็นเนยข้น ฉันใด ไฟก็มีความแปรเป็นธรรมดาฉันนั้น ไฟประกอบด้วยความเพียร (ในการสีไฟ) จึงจะเกิดได้ ไม่เคยได้เห็นไฟเข้าไปอยู่ในไม้แห้งและไม้สด คนสีไฟไม่สีไฟก็ไม่เกิด ไฟไม่เกิดเพราะไม่มีคนทำให้เกิด ถ้าแหละไฟพึงอยู่ภายในไม้แห้งและไม้สด ป่าทั้งหมดในโลกก็จะพึงแห้งไป และไม้แห้งก็จะพึงลุกโพลง ถ้าคนทำบุญได้โดยเอาไม้และหญ้าให้ไฟกิน คนเผาถ่าน คนหุงเกลือ พ่อครัว และคนเผาศพ ก็จะพึงได้ทำบุญ ถ้าแม้พราหมณ์เหล่านี้ทำบุญได้เพราะการเลี้ยงไฟ เพราะเรียนมนต์ เพราะเลี้ยงให้อิ่มหนำ ในโลกนี้ใครๆ ผู้เอาของให้ไฟกิน จะชื่อว่าทำบุญหาไม่ เพราะเหตุไรเล่า เพราะไฟเป็นสิ่งอันโลกยำเกรง รู้รสสองอย่าง พึงกินได้มาก ทั้งเป็นของเหม็นมีกลิ่นอันไม่น่าฟูใจ คนเป็นอันมากไม่ชอบ พวกมนุษย์ละเว้น และเป็นของไม่ประเสริฐ คนบางพวกนับถือไฟเป็นเทวดา ส่วนพวกมิลักขุนับถือน้ำเป็นเทวดา คนเหล่านี้ทั้งหมดนี้พูดผิด ไฟไม่ใช่เทพเจ้าตนใดคนหนึ่ง และน้ำไม่ใช่เทพเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง โลกบำเรอไฟซึ่งไม่มีอินทรีย์ ไม่มีกายจะรู้สึกได้ ส่องแสงสว่างเป็นเครื่องทำการงานของประชาชน เมื่อยังทำบาปกรรมอยู่ จะพึงไปสุคติได้อย่างไร. พวกพราหมณ์ผู้ต้องการเลี้ยงชีวิตในโลกนี้กล่าวว่า พระพรหมครอบงำได้ทั้งหมด และว่าพระ-

 
  ข้อความที่ 104  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 104

พรหมบำเรอไฟ พระพรหมมีอานุภาพกว่าทุกสิ่ง และมีอำนาจไม่มีใครสร้าง กลับไปไหว้ไฟที่ตนสร้างเพื่อประโยชน์อะไร คำของพวกพราหมณ์น่าหัวเราะเยาะ ไม่ควรแก่การเพ่งเล็ง ไม่เป็นความจริง พวกพราหมณ์ในปางก่อนก่อขึ้นไว้ เพราะเหตุแห่งสักการะพราหมณ์เหล่านั้น เมื่อลาภและสักการะเกิดขึ้น จึงร้อยกรองยัญพิธีว่าเป็นธรรมสงบระงับ ด้วยการฆ่าสัตว์บูชายัญ พวกพราหมณ์ถือการทรงไตรเพท พวกกษัตริย์ปกครองแผ่นดิน พวกแพศย์ยึดการไถนา และพวกศูทรยึดการบำเรอ วรรณะทั้ง ๔ เข้าถึงการงานตามที่อ้างมา เฉพาะอย่างๆ นั้น กล่าวกันว่ามหาพรหมผู้มีอำนาจจัดไว้ ถ้าคำนี้พึงเป็นคำจริงเหมือนดังที่พวกพราหมณ์กล่าวไว้ คนที่ไม่ใช่กษัตรย์ไม่พึงได้ราชสมบัติ ผู้ที่ไม่ใช่พราหมณ์ไม่พึงศึกษามนต์ คนนอกจากแพศย์ไม่พึงทำการไถนาเลย และพวกศูทรก็ไม่พึงพ้นจากการรับใช้ผู้อื่น เพราะคำนี้เป็นคำไม่จริงเป็นคำเท็จ พวกคนหาเลี้ยงท้องกล่าวไว้ คนไม่มีปัญญาหลงเชื่อบัณฑิตทั้งหลายย่อมเห็นด้วยตนเอง เพราะพวกกษัตริย์ย่อมเก็บส่วยจากพวกแพศย์ พวกพราหมณ์ พวกพราหมณ์ถือศัสตราเที่ยวฆ่าสัตว์เพราะเหตุไร พระพรหมจึงไม่ทำโลกอันแตกต่างกันเช่นนั้นให้ตรงเสีย ถ้าและพระพรหมเป็นใหญ่ เป็นผู้เจริญในโลกทั้งปวง เป็นเจ้าชีวิตของหมู่สัตว์ทำไมจึงจัดโลกทั้งปวง

 
  ข้อความที่ 105  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 105

ให้มีความทุกข์ ทำไมจึงไม่ทำโลกทั้งปวงให้มีความสุข แหละพรหมนั้นเป็นใหญ่ เป็นผู้เจริญในโลกทั้งปวง เป็นเจ้าชีวิตของหมู่สัตว์ เหตุไรจึงทำโลกโดยไม่เป็นธรรม คือมารยาและเจรจาคำเท็จมัวเมา ถ้าแหละพระพรหมนั้นเป็นผู้ใหญ่ก็เป็นผู้เจริญในโลกทั้งปวง เป็นเจ้าชีวิตของหมู่สัตว์ มีชื่อว่าเป็นเจ้าชีวิตของหมู่สัตว์ ก็ชื่อว่าเป็นเจ้าชีวิตอยุติธรรม เมื่อธรรมมีอยู่ พรหมนั้นก็จัดไม่เที่ยงธรรม ตั๊กแตน ผู้เสื้อ งู แมลงภู่ หนอนและแมลงวัน ใครฆ่าแล้วย่อมบริสุทธิ์ ธรรมเหล่านี้ ไม่ใช่ของพระอริยะ เป็นธรรมผิดๆ ของชาวกัมโพชรัฐเป็นอันมาก.

บรรดาบทเหล่านั้นบทว่า เวทชฺฌคตาริฏฺ ความว่า ดูก่อนอริฏฐะ ชื่อว่าความสำเร็จไตรเพทในบัดนี้ ก็เป็นความยึดถือเอาความกาลี อันนับว่าเป็นความปราชัยของนักปราชญ์ แต่กลับเป็นความมีชัยชนะของคนโง่เขลาเบาปัญญา. บทว่า มรีจิธมฺมํ ความว่า จริงอยู่ไตรเพทนี้เป็นเหมือนอาการธรรมดาของพยับแดด. เพราะเป็นของไม่เห็นเสมอไป คนพาลทั้งหลายไม่รู้ซึ่งธรรมดาของพยับแดดนี้นั้นอันไม่มีจริงเป็นเหมือนมีจริง เพราะการเห็นไม่ติดต่อกันเหมือนหมู่เนื้อมองเห็นพยับแดดด้วยสัญญาว่าน้ำ จึงพาตนเข้าถึงความพินาศ เพราะสัญญาว่ามีจริงและไม่มีโทษ. บทว่า นาติวหนฺติ ปญฺํ ความว่า ก็มารยาเห็นปานนี้เป็นส่วนหนึ่ง ย่อมล่วงเลย คือไม่หลอกลวงบุรุษผู้มีปัญญา คือผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญา. ร อักษร ในบทว่า ภวนฺติรสฺส นี้ พึงเป็นบทพยัญชนะสนธิ. บทว่า ภูนหุโน ความว่า เวททั้งหลายของคนประทุษร้ายมิตร ผู้ฆ่าความเจริญ ย่อมไม่มีเพื่อความต้านทาน. อธิบายว่า ไม่สามารถจะเป็น

 
  ข้อความที่ 106  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 106

ที่พึ่งได้. บทว่า ปริจิณฺโณว อคฺคิ ความว่า อนึ่ง ไฟที่เขาบำเรอบูชา. บทว่า โทสนฺตรํ ความว่ากรรมชั่ว ย่อมไม่ต้านทาน คือไม่รักษาบุรุษผู้มีจิตอันประกอบด้วยโทษ เพราะโทษแห่งทุจริตทั้ง ๓ ได้. บทว่า สพฺพญฺจ มจฺจา ความว่า แม้ถ้าว่า คนทั้งหลายผู้มีทรัพย์ มีโภคะจะเอาไม้ที่มีอยู่ในโลกทั้งหมด พร้อมทั้งทรัพย์สมบัติของตน คลุกกับหญ้าแล้วให้ไฟเผา. ไฟของท่านนี้ อันเดชไม่มีใครสามารถเท่า อันมีเดชไม่มีใครเหมือน เมื่อจะเผาสิ่งทั้งหมดนั้นที่พวกนั้นให้เผาแล้ว ก็ไม่พึงไหม้ได้ เมื่อเป็นอย่างนั้นมันก็เผาให้อิ่มไม่ได้นะพี่. บทว่า ทิรสญฺญู ความว่า บุคคลผู้สามารถรู้รสได้ด้วยลิ้น ๒ ลิ้น ว่าสิ่งนั้นเป็นภักษาดี หรือน่าพอใจด้วยเนยใสเป็นต้น. บทว่า กิริยา ความว่า ใครพึงกระทำ คือพึงสามารถเพื่อจะทำ. อธิบายว่า ใครเล่าจักให้ผู้ไม่อิ่มอย่างนี้ คือ ผู้กินจุนี้ให้อิ่มแล้วไปสู่สวรรค์ ดูเถิดท่าน ข้อนั้นก็ยังผิดอยู่ตลอดกาล. บทว่า โยคยุตฺโต ความว่าเป็นผู้ประกอบด้วยไม้สีไฟ พอได้สิ่งนั้นเป็นปัจจัย ก็เกิดขึ้นคือบังเกิด. ท่านกล่าวกะไฟนั้นซึ่งไม่มีจิตที่เกิดขึ้นเพราะความพยายามของผู้อื่นอย่างนี้ว่า ท่านจงว่าฉันเป็นเทวดา. พูดแต่สิ่งไม่เป็นจริงนี้เท่านั้น. บทว่า อคฺคิมนุปฺปวิฏฺโ ความว่า ไม่เคยได้เห็นไฟเข้าไปในไม้แห้ง. บทว่า นามตฺถมาโน ความว่า ถึงไม้แห้งคนสีไฟไม่สีด้วยไม้สีไฟ ไฟก็เกิดไม่ได้. บทว่า นากมฺมุนา ชายติ ชายเวโท ความว่า เว้นการกระทำของบุรุษผู้ต้องการเวท ไฟก็ไม่เกิดได้เองตามธรรมดาของตนนั่นแล. บทว่า สุสฺเสยฺยุํ ความว่า ป่าไม้ที่กำลังเหี่ยวแห้งด้วยไฟ ภายในพึงแห้ง แม้ป่าไม้ที่ยังสดอยู่นั่นแหละก็พึงแห้งเหี่ยว. บทว่า โภชํ แปลว่า ให้บริโภค. บทว่า ธุมสิขึ ปตาปวํ ความว่า ประกอบด้วยเปลวควัน ให้ร้อนอยู่. บทว่า องฺคาริกา แปลว่า คนเผาถ่าน. บทว่า โลณกรา แปลว่า คนต้มน้ำเค็มทำเกลือ. บทว่า สูทา แปลว่า คนครัว. บทว่า สรีรทาหา แปลว่า คนเผาศพ. บทว่า ปุญฺญํ ความว่า คนเหล่านั้นแม้ทั้งหมด พึงทำแต่บุญเท่านั้น. บทว่า

 
  ข้อความที่ 107  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 107

อชฺเฌนมคฺคึ ความว่า แม้พราหมณ์ทั้งหลายจะเป็นผู้เลี้ยงไฟเรียนมนต์ก็ตาม. คนบางคนให้เชื้อ ทำให้มีควันมีเปลวให้ร้อน แม้อิ่มแล้วก็ไม่ชื่อว่าทำบุญ. บทว่า โลกาปจิโต สมาโน ความว่า เทวดาของท่านชื่อว่าอันโลกยำเกรง อันโลกบูชา. บทว่า ยเทว ความว่า คนพึงเว้นสิ่งซึ่งปฏิกูลน่าเกลียด มีซากงูเป็นต้นให้ห่างไกล. บทว่า ตทปฺปสฏฺํ ความว่า ดูก่อนสหาย คนรู้รส ๒ อย่าง พึงกินของที่ไม่ประเสริฐนั้นได้อย่างไร คือ เพราะเหตุไร. บทว่า เทเวสุ ความว่า คนบางพวกนับถือนกยูงนับถือเทวดาตนใดตนหนึ่ง บรรดาเทวดาทั้งหลาย. บทว่า มิลกฺขู ปน ความว่า ส่วนพวกมิลักขุผู้ไม่รู้นับถือน้ำว่าเป็นดังเทวดา. บทว่า อสญฺกายํ ความว่า โลกบำเรอไฟอันได้ชื่อว่าเวสสานระซึ่งไม่มีอินทรีย์ มีกายที่ไม่มีจิตจะรู้สึกได้ ไม่มีความจงใจ กระทำกรรมมีการหุงต้มเป็นต้น แก่ประชาชนแล้วกระทำกรรมชั่ว จักไปสุคติได้อย่างไร. คำนี้ท่านพูดผิดยิ่งนัก. บทว่า สพฺพาภิภูตาหุธ ชีวิกตฺถ ความว่า พวกพราหมณ์เหล่านี้กล่าวว่า มหาพรหมครอบงำได้ทั้งหมด เพื่อความเป็นอยู่ของตน. และกล่าวว่า โลกทั้งหมดอันมหาพรหมนั่นแหละสร้างขึ้น. กล่าวอีกว่า พระพรหมบำเรอไฟ. เล่ากันมาว่า พระพรหมนั่นแหละบูชาไฟ. บทว่า สพฺพานุภาวี จ วสี ความว่า และพระพรหมนั้น ถ้ามีอานุภาพทุกอย่าง และมีความคล่องในฤทธิไซร้ เมื่อเป็นเช่นนี้ เพราะเหตุไรตนเองจึงไม่ใช้คนอื่นสร้าง ตนเองเท่านั้นสร้างขึ้นเอง. บทว่า วนฺทิตสฺส ความว่า พระพรหมนั้นพึงเป็นผู้อันเขากราบไหว้ แม้คำนี้ท่านกล่าวไม่ถูกเหมือนกัน. บทว่า หาสํ ความว่า ดูก่อนอริฏฐะ ขึ้นชื่อว่าคำของพราหมณ์ เป็นคำที่ควรจะหัวเราะ ไม่ควรจะเพ่งดูสำหรับบัณฑิตทั้งหลาย. บทว่า ปริกรึสุ ความว่า พราหมณ์เหล่านี้มุสาวาทเห็นปานนี้ พวกพราหมณ์ได้ก่อสร้างขึ้นในกาลก่อน เพราะเหตุแห่งสักการะเพื่อตน. บทว่า สนฺธาภิตา ชนฺตูภิ สนฺติธมฺมํ ความว่า พราหมณ์เหล่านี้ ประกอบลาภและสักการะเพียงเท่านี้ที่ไม่ปรากฏกับพวกสัตว์ แล้วผูก

 
  ข้อความที่ 108  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 108

พันสันติธรรมคือ ลัทธิธรรมของตน อันเกี่ยวด้วยการฆ่าสัตว์ จึงร้อยกรองยัญวิธีชื่อว่ายัญสูตร. บทว่า เอตญฺเจ สจฺจํ ความว่า หากจะพึงมีความจริงไซร้ ก็จะพึงมีเป็นต้นว่า นั่นเป็นสิ่งประเสริฐด้วยการที่ท่านอ้างเอาเอง. บทว่า นาติขตฺติโย ความว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้ที่ไม่ใช่กษัตริย์จะครองรัฐไม่ได้ แม้ผู้ที่ไม่ใช่พราหมณ์ก็ศึกษาบทมนต์ไม่ได้. บทว่า มุสวิเม ตัดเป็น มุสาว อิเม. บทว่า โอทริยา ความว่า พวกคนหาเลี้ยงท้องหรือเพราะเหตุจะให้เต็มท้อง. บทว่า ตทปฺปญฺา ความว่า เขากล่าวไว้ว่าคนพวกนั้น คือคนไม่มีปัญญา. บทว่า อตฺตนาว ความว่า ส่วนบัณฑิตทั้งหลาย ย่อมเห็นด้วยตนเองคำของพวกนั้นเป็นคำมีโทษ จึงไม่หลงเชื่อ. บทว่า ตํ ตาทิสํ ได้แก่ คำนั้นคือเห็นปานนั้น. บทว่า สํขุภิตํ ความว่า เพราะเหตุไร พระพรหมของท่านนั้นจึงไม่ทำโลกอันกำเริบแตกต่างกันที่ตั้งทำลายมารยาทที่พรหมตั้งไว้ให้ตรง. บทว่า อลกฺขึ ความว่า เพราะเหตุไร พระพรหมของท่านจึงสร้างโลกทั้งปวงให้เป็นทุกข์. บทว่า สุขํ ความว่า เพราะเหตุไร พระพรหมของท่าน จึงไม่สร้างโลกทั้งปวงให้รับแต่ความสุขโดยส่วนเดียว พระพรหมของท่านเห็นจะเป็นโจรผู้ทำให้โลกพินาศ. บทว่า มายา ได้แก่ มารยา. บทว่า อธมฺเมน กิมตฺถการี ความว่า เพราะเหตุไร พระพรหมของท่านจึงทำโลกทั้งปวงให้พินาศ คือประกอบไว้ในทางไร้ประโยชน์ ด้วยอรรถมีมารยาเป็นต้นนี้. บทว่า อริฏฺ ความว่า ดูก่อนอริฏฐะ ผู้เป็นใหญ่ของท่านไม่ประกอบด้วยธรรม ซึ่งเมื่อกุศลธรรม ๑๐ ประการมีอยู่ ไม่จัดแจงธรรมเลย จัดแจงแต่อธรรม. คำในบทว่า กีฏา เป็นต้นเป็นปฐมาวิภัติ ใช้ในอรรถแห่งทุติยาวิภัติ. คนฆ่าสัตว์มีตั๊กแตนเป็นต้นเหล่านั้น ย่อมบริสุทธิ์ ย่อมไปสู่สวรรค์ ก็ธรรมเหล่านั้นเป็นของคนมาก ผู้ไม่ใช่พระอริยะ มีชาวแคว้นกัมโพชเป็นต้น. แต่ธรรมเหล่านั้นไม่แท้ไม่เป็นธรรม กล่าวว่าเป็นธรรม ธรรมเหล่านั้นเป็นของที่พรหมของท่านสร้างขึ้น.

 
  ข้อความที่ 109  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 109

บัดนี้ พระภูริทัตเมื่อจะแสดงความไม่จริงแห่งธรรมเหล่านั้น จึงกล่าวเป็นคาถาว่า

ถ้าแหละคนฆ่าเขาแล้วย่อมบริสุทธิ์ และผู้ถูกฆ่าย่อมเข้าถึงแดนสวรรค์ พวกพราหมณ์ก็พึงฆ่าพวกพราหมณ์ด้วยกันเสียซิ หรือพึงฆ่าพวกที่หลงเชื่อถ้อยคำของพราหมณ์ด้วยกันเสียซิ พวกเนื้อ ปศุสัตว์ และโคตัวไหนๆ ไม่ได้อ้อนวอนเพื่อให้ฆ่าตนเลย ล้วนแต่ดิ้นรนต้องการมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ ชนทั้งหลายย่อมนำเอาสัตว์และปศุสัตว์เข้าผูกที่เสายัญ พวกคนพาลย่อมยื่นหน้าเข้าไปที่เสาบูชายัญเป็นที่ผูกสัตว์ ด้วยการพรรณนาต่างๆ ว่า เสายัญนี้จะให้สิ่งที่น่าใคร่แก่ท่าน ในโลกหน้า จะเป็นของยั่งยืนในสัมปรายภพ ถ้าว่าบุคคลพึงได้แก้วมณี สังข์ มุกดา ข้าวเปลือก ทรัพย์ เงิน ทอง ที่เสายัญ ในไม้แห้ง และไม้สดไซร้ อนึ่ง เสายัญจะพึงให้สิ่งที่น่าใคร่ทั้งปวงในไตรทิพย์ได้ พราหมณ์เท่านั้นพึงบูชายัญ ผู้ที่ไม่ใช่พราหมณ์ก็จะไม่พึงให้พราหมณ์บูชายัญอะไรๆ เลย แก้วมณี สังข์ มุกดา ข้าวเปลือก ทรัพย์ เงิน ทอง จักมีที่เสายัญ ที่ไม้แห้ง ที่ไม้สด ที่ไหน เสายัญจะพึงให้สิ่งที่น่าใคร่ทั้งปวงในไตรทิพย์ที่ไหน พราหมณ์เหล่านี้เป็นคนโอ้อวด หยาบช้า โง่เขลา โลภจัด ยื่นหน้าเข้าไปด้วยการพรรณนาต่างๆ ว่า จงถือเอาไฟมา และจงให้ทรัพย์แก่เรา แต่นั้นท่านให้สิ่งที่น่า

 
  ข้อความที่ 110  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 110

ใคร่ทั้งปวงแล้ว จักมีความสุข พวกที่โกนผมโกนหนวดและตัดเล็บ พาพระราชาหรือมหาอำมาตย์เข้าไปในโรงบูชาไฟ ยื่นหน้าเข้าไปด้วยการพรรณนาต่างๆ ย่อมถือเอาทรัพย์ด้วยเวท พวกพราหมณ์ผู้โกหก พอหลอกลวงได้คนหนึ่งก็มาประชุมกินกันเป็นอันมากเหมือนฝูงกาตอมนกเค้า หลอกเอาจนเกลี้ยงแล้ว เก็บไว้ที่บริเวณบูชายัญ พวกพราหมณ์ลวงผู้นั้นได้คนหนึ่งอย่างนี้แล้ว ก็พากันมาเป็นอันมาก ใช้ความพยายามล่อหลอกพรรณนา ด้วยสิ่งที่ไม่แลเห็น ปล้นเอาทรัพย์ที่แลเห็นไป เหมือนพวกราชบุรุษที่พระราชาสอนให้เก็บส่วย เก็บเอาทรัพย์ของพระราชาไป ฉะนั้น ดูก่อนอริฏฐะ พราหมณ์เช่นนั้นเป็นเหมือนโจร ไม่ใช่สัตบุรุษ เป็นผู้ควรจะฆ่าเสีย แต่ไม่มีใครฆ่าในโลก พวกพราหมณ์กล่าวว่า ไม้ทองหลางเป็นแขนขวาของพระอินทร์ จึงตัดเอาไม้ทองหลางมาใช้ในยัญนี้ ถ้าคำนั้นเป็นคำจริง พระอินทร์ก็แขนขาด ทำไมพวกพระอินทร์จึงชนะพวกอสูร ด้วยกำลังแขนนั้นได้ คำนั้นเป็นคำเท็จ พระอินทร์ยังมีแขนพร้อม เป็นเทวดาชั้นดีเลิศ ไม่มีใครฆ่าได้ กำจัดอสูรได้ มนต์ของพราหมณ์เหล่านี้เหลวเปล่า หลอกลวงกันให้เห็นได้เฉพาะในโลกนี้ ภูเขามาลาคิรี ขุนเขาหิมวันต์ ภูเขาวิชฌะ ภูเขาสุทัสสนะ ภูเขานิสภะ ภูเขากากเวรุ

 
  ข้อความที่ 111  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 111

ภูเขาเหล่านี้และภูเขาใหญ่อื่นๆ ที่กล่าวกันว่า พวกพราหมณ์ผู้บูชายัญก่อสร้างไว้ ที่กล่าวกันว่า พวกพราหมณ์ผู้บูชายัญเอาอิฐเช่นใดมาสร้างภูเขา อิฐเช่นนั้นก็ไม่ใช่ธรรมชาติของภูเขา ภูเขาเป็นอย่างอื่น ไม่หวั่นไหว เห็นได้ชัดๆ ว่าเป็นหิน ไม่ใช่อิฐ เป็นหินมานมนาน เหล็กและโลหะย่อมไม่เกิดในอิฐ ที่พวกพราหมณ์สรรเสริญยัญกล่าวไว้ว่า ผู้บูชายัญก่อสร้างไว้ ชนทั้งหลายเรียกพราหมณ์ผู้ทรงเวท ผู้เข้าถึงคุณแห่งมนต์ ผู้มีตบะในโลกนี้ว่า ผู้ประกอบในการขอ มหาสมุทรซัดท่วมพราหมณ์นั้น ผู้กำลังตระเตรียมน้ำอยู่ที่ฝั่งมหาสมุทร เพราะเหตุนั้น น้ำในมหาสมุทรจึงดื่มไม่ได้ แม่น้ำพัดเอาพราหมณ์ ผู้เรียนเวททรงมนต์ไปเกินกว่าพัน เหตุไรน้ำในแม่น้ำจึงมีรสไม่เสีย มหาสมุทรเท่านั้นดื่มไม่ได้ บ่อน้ำทั้งหลายในมนุษยโลกนี้ ที่เขาขุดไว้เกิดเป็นน้ำเค็มก็มี แต่ไม่ใช่เค็มเพราะท่วมพราหมณ์ตาย น้ำในบ่อเหล่านั้นดื่มไม่ได้ เป็นน้ำรู้รสสองอย่าง ครั้งดึกดำบรรพ์ ตั้งแต่ปฐมกัป ใครเป็นภรรยาใคร ใครได้ให้มนุษย์เกิดขึ้นก่อน โดยธรรมแม้นั้น ใครๆ ไม่เลวไปกว่าใคร ท่านกล่าวจำแนกส่วนไว้อย่างนี้ แม้ลูกคนจัณฑาลก็พึงเรียนเวท สวดมนต์ได้ (ถ้า) เป็นคนฉลาด มีความคิด หัวของเขาก็ไม่พึงแตกเจ็ดเสี่ยง มนต์เหล่านี้พวกพรหมสร้างไว้เพื่อฆ่าตน เป็นการสร้างแต่ปาก เป็น

 
  ข้อความที่ 112  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 112

การสร้างยึดถือไว้ด้วยความโลภ เปลื้องได้ยาก เข้าถึงคลอง ด้วยคำของพวกพราหมณ์ผู้แต่งกาพย์กลอน จิตของพวกคนโง่ยังหลงใหลในทางลุ่มๆ ดอนๆ คนไม่มีปัญญาเชื่อเอาจริงจัง ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง มีกำลังอย่างลูกผู้ชาย พราหมณ์ไม่มีกำลังเช่นนั้นเลย ความเป็นมนุษย์ของพราหมณ์เหล่านั้น พึงเห็นเหมือนของโค ชาติของพราหมณ์เหล่านั้นเท่านั้นไม่มีใครเสมอ สิ่งอื่นๆ เสมอกันหมด ถ้าแหละพระราชาทรงชำนะหมู่ศัตรูได้ โดยลำพังพระองค์เอง ประชาราษฏร์ของพระราชานั้นพึงมีสุขอยู่เสมอ มนต์ของกษัตริย์ และไตรเพทเหล่านี้ มีความหมายเสมอกัน ถ้าไม่วินิจฉัยความแห่งมนต์ และไตรเพทนั้นก็ไม่รู้ เหมือนทางที่น้ำท่วม มนต์ของกษัตริย์และไตรเพทเหล่านี้ มีความหมายเสมอกัน ลาภ ไม่มีลาภ ยศ ไม่มียศ ทั้งหมดเทียวเป็นธรรมดาของวรรณะทั้ง ๔ นั้น พวกคฤหบดีใช้คนจำนวนมากให้ทำการงานในแผ่นดิน เพราะเหตุแห่งทรัพย์และข้าวเปลือก ฉันใด แม้พวกพราหมณ์ผู้ทรงไตรเพท ก็ฉันนั้น ย่อมใช้คนเป็นจำนวนมากให้ทำการงานในแผ่นดิน ในวันนี้พราหมณ์เหล่านั้นเสมอกันกับคฤหบดี มีความขวนขวายประกอบในกามคุณเป็นนิตย์ ใช้คนจำนวนมากให้ทำการงานในแผ่นดินเหมือนกัน พราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้รู้รสสองอย่าง หาปัญญามิได้.

 
  ข้อความที่ 113  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 113

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โภวาที ได้แก่พวกพราหมณ์. บทว่า โภวาทินมารเภยฺยุํ ความว่า พึงฆ่าแต่พวกพราหมณ์เท่านั้น บทว่า เยวาปิ ความว่า ก็หรือว่า พวกใดพึงเชื่อถ้อยคำของพวกพราหมณ์ พวกพราหมณ์พึงฆ่าแต่พวกผู้อุปัฏฐากนั้นเท่านั้น ส่วนพราหมณ์ไม่ฆ่าพวกพราหมณ์และพวกอุปัฏฐาก ฆ่าแต่สัตว์ดิรัจฉาน ซึ่งมีประการต่างๆ เท่านั้น ดังนั้น คำของพวกพราหมณ์เหล่านั้นจึงผิด. บทว่า เกจิ ความว่า พวกไหนๆ ที่จะร้องขอว่า ขออย่าฆ่าพวกเราเลย พวกเราจักไปสวรรค์ ย่อมไม่มีในยัญทั้งหลาย. บทว่า ปาเณ ปสุมารภนฺติ ความว่า ย่อมฆ่าพวกเนื้อเป็นต้น และปศุสัตว์ซึ่งกำลังดิ้นรนอยู่ เลี้ยงชีพ. บทว่า มุขํ นยนฺติ ความว่า คนพาลทั้งหลายย่อมนำเอาสัตว์และปศุสัตว์ สิ่งของทั้งหมด เช่น แก้วมณี สังข์ แก้วมุกดา ทรัพย์ ข้าวเปลือก เงินทองที่จัดแจงไว้ทั้งหมด ยื่นหน้าไปกล่าวคำนั้นๆ ถือผิดๆ ด้วยเห็นเข้าใจไปว่า สิ่งนี้จักให้สิ่งที่น่าใคร่แก่ท่านในโลกหน้า และจักนำมาซึ่งความเป็นของเที่ยงแท้แน่นอน. บทว่า สเจ จ ความว่า ถ้าพึงได้แก้วมณีเป็นต้นนี้ที่เสาหรือที่ไม้นอกนั้นหรือว่าเสาเป็นต้นนั้น พึงให้ไตรทิพย์หรือสิ่งที่น่าใคร่ทั้งปวง หมู่พวกที่ไตรวิชาเป็นอันมาก จะพึงบูชายัญเพราะมีทรัพย์มากและใคร่ต่อสวรรค์ ไม่พึงให้พราหมณ์อื่นบูชา, ก็เพราะเหตุที่หวังแต่ทรัพย์เพื่อคนจึงไม่ให้ผู้อื่นบูชา ฉะนั้นพึงทราบว่า อภูตวาทิโน ผู้กล่าวสิ่งซึ่งไม่มีจริงเป็นจริง. บทว่า กุโต จ ความว่า สิ่งทั้งปวงมีแก้วมณีเป็นต้นนี้ไม่มีที่เสา หรือที่ไม้นอกนั้นเลย จักรีดเอาไตรทิพย์อันเป็นสิ่งให้ความใคร่ทั้งปวงได้แต่ที่ไหน คำของพวกนั้น ไม่จริงทั้งนั้นแม้โดยประการทั้งปวง. บทว่า สา จ ลุทฺทา ปลุทฺธพาลา ความว่า ดูก่อนอริฏฐะ ขึ้นชื่อว่า พราหมณ์เหล่าที่เป็นผู้หลอกลวง ไร้กรุณาปราณี คนพาลเหล่านั้น ล่อลวงโลก

 
  ข้อความที่ 114  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 114

ตลบตะแลงยื่นหน้าไปด้วยเหตุต่างๆ. บทว่า สพฺพกาเม ความว่า ท่านจงเอาไฟบูชา และให้สิ่งเครื่องปลื้มใจแก่เรา. บทว่า ตโต สุขี ความว่า ท่านจงให้สิ่งซึ่งน่าใคร่ทั้งปวงแล้วจงมีความสุข. บทว่า ตมคฺคิหุตฺตํ สรณํ ปวิสฺส ความว่า จงพาพระราชา หรือมหาอำมาตย์แห่งพระราชา. เข้าไปโรงบูชาไฟ เข้าไปยังที่มิใช่เรือน. บทว่า โอโรปยิตฺวา ความว่า พรรณนาเหตุต่างๆ โกนผมโกนหนวดตัดเล็บ. บทว่า อติคาฬฺหยนฺติ ความว่า อาศัยเวท ๓ ตามที่กล่าวแล้ว พลางกล่าวว่า สิ่งนี้ควรให้ สิ่งนี้ควรทำ ปราบปราม ทำให้พินาศ คือกำจัดทรัพย์เครื่องปลื้มใจอันเป็นของผู้นั้น. บทว่า อนฺนานิ โภตฺวา กหุกา กุหิตฺวา ความว่า ผู้หลอกลวงเหล่านั้น กระทำกรรมคือการหลอกลวงมีประการต่างๆ มาประชุมร่วมกันพรรณนายัญ หลอกลวงผู้ให้ บริโภคโภชนะดีๆ มีรสเลิศ อันเป็นของผู้นั้น ครั้นแล้วทำผู้นั้นให้เป็นคนโล้น แล้วปล่อยเข้าไปในทางยัญ อธิบายว่า พาไปยังหลุมยัญในภายนอก. บทว่า โยคโยเคน ความว่า พราหมณ์เหล่านั้นประชุมกันเป็นอันมากแล้ว หลอกลวงผู้นั้นได้คนหนึ่ง ด้วยความพยายามนั้นๆ คือการประกอบนั้นๆ พรรณนาหลอกลวงทรัพย์ของผู้นั้นที่เห็นประจักษ์ และเทวโลกที่ไม่เห็น ด้วยเทวโลกที่ไม่เห็น ทำให้เป็นสถานเทวดา. บทว่า อกาสิยา ราชูหิ วานุสิฏฺา ความว่า ถูกพระราชาหรืออำมาตย์ของพระราชา พร่ำสอนว่า พวกท่านจงถือเอาพลีกรรมของเรานี้และนี้ เป็นเหมือนราชบุรุษ กล่าวคือคนผู้เก็บส่วย บทว่า ตทสฺส ความว่า ได้ถือเอาทรัพย์ของผู้นั้นไป. บทว่า โจรสฺมา ความว่า ผู้ถือเอาพลีที่ไม่เป็นจริง เป็นเหมือนโจรตัดที่ต่อ. บทว่า วชฺฌา ความว่า บาปธรรมเห็นปานนี้ควรฆ่า แต่ไม่ถูกฆ่าในโลกเหล่านี้. บทว่า พาหารสิ ตัดเป็นพาหา อสิ ท่านกล่าวคำอธิบายไว้ว่า ดูก่อนอริฏฐะ ท่านจงดู มุสาวาทของพราหมณ์แม้นี้ เล่ากันมาว่า พราหมณ์เหล่านั้น กล่าวกำใบไม้ใหญ่

 
  ข้อความที่ 115  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 115

ในยัญทั้งหลาย ว่าท่านเป็นแขนขวาของพระอินทร์จึงตัดเสีย หากคำของพราหมณ์เหล่านั้น นั้นเป็นความจริง เมื่อเป็นเช่นนั้น จะเป็นมีผู้แขนขาด พระอินทร์ชนะอสูรเพราะกำลังแขนได้อย่างไร. บทว่า สมงฺคี ความว่า ผู้พรั่งพร้อมด้วยแขน ไม่ขาดแขนไม่มีโรคเลย. บทว่า หนฺตฺวา ได้แก่ ฆ่าพวกอสูร. บทว่า ปรโม ความว่า เป็นผู้สูงสุด คือประกอบด้วยบุญฤทธิ์ ไม่ฆ่าคนเหล่าอื่น. บทว่า พฺราหฺมณา ได้แก่มนต์ของพราหมณ์ทั้งหลาย. บทว่า ตุจฺฉรูปา ได้แก่ ความว่างเปล่า คือไม่มีผล. บทว่า วญฺจนา ได้แก่ ความล่อลวงที่เห็นกันได้ในโลกนี้ ชื่อว่าเป็นมนต์ของพราหมณ์เหล่านั้น. บทว่า ยถาปการานิ ความว่า พราหมณ์บูชายัญถือเอาอิฐอย่างใดอย่างหนึ่งก่อสร้างกระทำไว้. บทว่า ทิฏฺเสลา ความว่า จริงอยู่ ภูเขาทั้งหลายไม่หวั่นไหว เห็นได้เองไม่มีใครก่อสร้างขึ้น เป็นแท่งทึบ และล้วนแล้วด้วยหิน ไม่กลายเป็นอย่างอื่น อิฐทั้งหลายหวั่นไหว ไม่เป็นแท่งทึบ ไม่ล้วนแล้วแต่หิน. บทว่า ปริวณฺณยนฺตา ความว่า พราหมณ์ทั้งหลายพรรณาถึงยัญนี้. บทว่า สมนฺตเวเท ได้แก่พวกพราหมณ์ผู้มีเวทบริบูรณ์. บทว่า วหนฺติ ความว่า ย่อมพัดผู้ที่ตกไปในกระแสน้ำก็ดี ในแม่น้ำวนก็ดีไปสู่แม่น้ำ ให้จมลง ให้ถึงความสิ้นชีวิต. อักษร ศัพท์หนึ่งในบทว่า น เตน พฺยาปนฺนรสูทกานิ นี้ เป็นนิบาต ใช้ในอรรถว่าเข้าไปตัด. จริงอยู่เมื่อถามท่านว่า แม่น้ำมีน้ำมีรสวิบัติเพราะเหตุนั้นมิใช่หรือจึงกล่าวอย่างนั้น. บทว่า กสฺมา ความว่า ดูก่อน เพราะเหตุไร น้ำในมหาสมุทรจึงทำให้ดื่มไม่ได้ มหาพราหมณ์ไม่สามารถจะทำน้ำในแม่น้ำทั้งหลายมีแม่น้ำยมุนาเป็นต้นให้ดื่มไม่ได้เท่านั้นหรือ หรือว่าสามารถแต่ในมหาสมุทรเท่านั้น. บทว่า ทิรสญฺราหุ ความว่า เป็นน้ำรู้รส ๒ อย่าง. บทว่า ปเร ปุรตฺถ ความว่า ก่อนแต่นี้ คือประโยชน์ในเบื้องหน้าเขาทั้งปวง ได้แก่ ในกาลแห่งปฐมกัป. บทว่า กา กสฺส ภริยา ความว่า เป็นภรรยา

 
  ข้อความที่ 116  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 116

ของใครชื่อไร? จริงอยู่ในกาลนั้น ไม่มีเพศหญิงและเพศชายเลย ภายหลังเกิดชื่อว่ามารดาและบิดา ด้วยอำนาจอสัทธรรม. บทว่า มโน มนุสฺสํ ความว่า ก็ในกาลนั้นให้เกิดเป็นมนุษย์ อธิบายว่า สัตว์ทั้งหลายสำเร็จด้วยใจบังเกิดขึ้น. บทว่า เตนาปิ ธมฺเมน ความว่า ด้วยเหตุแม้นั้นคือโดยสภาวะนั้น ใครๆ ชื่อว่า เลวโดยชาติย่อมไม่มี จริงอยู่ในกาลนั้นความต่างแห่งกษัตริย์เป็นต้น หามีไม่ เพราะเหตุนั้น พราหมณ์ทั้งหลายกล่าวคำใดไว้ว่า พราหมณ์เท่านั้นประเสริฐโดยชาติ คนนอกนั้นเลว เพราะเหตุนั้นคำนั้นจึงชื่อว่าผิด. บทว่า เอวมฺปิ ความว่า เมื่อโลกเป็นไปอย่างนี้ กษัตริย์เป็นต้นจึงแบ่งเป็น ๔ ส่วนด้วยอำนาจละวัตรอันเป็นของโบราณ ภายหลังจึงกำหนดตัดขาดกระทำด้วยตนเอง. บทว่า เอวํปิ โวสฺสคฺควิภงฺคมาหุ ความว่า พราหมณ์กล่าวจำแนกไว้อย่างนี้ว่า ด้วยการสละธรรมที่ตนกระทำไว้บรรดาสัตว์เหล่านั้น บางพวกเกิดเป็นกษัตริย์ บางพวกเป็นพราหมณ์เป็นต้น เพราะฉะนั้นคำว่า พวกพราหมณ์เท่านั้นประเสริฐจึงผิดทีเดียว. บทว่า สตฺตธา ความว่า ถ้าว่า มหาพรหมให้ไตรเพทแก่พวกพราหมณ์เท่านั้น ไม่ให้แก่พวกอื่น ศีรษะของจัณฑาลผู้กล่าวมนต์จะพึงแตก ๗ เสี่ยง แต่ก็ไม่แตก เพราะฉะนั้น พราหมณ์เหล่านี้สร้างมนต์ขึ้นเพื่อฆ่าตนเอง ประกาศความที่ตนกล่าวมุสาแก่พวกนั้น จึงชื่อว่า กระทำการฆ่าคุณ. บทว่า วาจา กตา ความว่า ชื่อว่ามนต์เหล่านี้อันพวกพราหมณ์คิดทำด้วยมุสาวาท. บทว่า คิทฺธิ กตา คหิตา ความว่า ชื่อว่าอันพวกพราหมณ์ยึดถือ โดยความเป็นผู้ติดอยู่ในลาภ. บทว่า ทุมฺโมจยา ความว่า เปลื้องได้ยาก เหมือนปลาติดเบ็ดฉะนั้น. บทว่า กาพฺยาปถานุปนฺนา ความว่า ดำเนินตามคือเข้าถึงทางแห่งถ้อยคำของพวกพราหมณ์ผู้แต่งกาพย์กลอน พวกพราหมณ์เหล่ากล่าวมุสาผูกขึ้นโดยประการที่ตนปรารถนา. บทว่า พาลานํ ความว่า ก็จิตของคนโง่เหล่านั้น ยังตั้งไว้ผิด

 
  ข้อความที่ 117  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 117

ลุ่มๆ ดอนๆ พวกไม่มีปัญญาเหล่าอื่นย่อมเชื่อคำของคนโง่นั้น. บทว่าโปริสยพเลน ความว่าด้วยกำลังกล่าวคือความเป็นบุรุษ ท่านกล่าวคำอธิบายไว้ว่า ราชสีห์เป็นต้น ผู้ประกอบด้วยกำลังซึ่งเป็นของบุรุษ กล่าวคือเรี่ยวแรงแห่งบุรุษ ย่อมไม่มีแก่พราหมณ์. คนพาลทั้งหมดเลวกว่า แม้กว่าพวกเดียรัจฉานเหล่านี้ทีเดียว. บทว่า มนุสฺสภาโว จ ควํว เปกฺโข ความว่า ก็อีกอย่างหนึ่งภาวะแห่งความเป็นมนุษย์ของพวกพราหมณ์เหล่านั้นพึงเห็นเหมือนฝูงโค. ถามว่า เพราะเหตุอะไร? แก้ว่า เพราะชาติของพราหมณ์เหล่านั้นไม่เสมอกัน อธิบายว่า ชาติของผู้เสมอกับพวกพราหมณ์เหล่านั้นไม่เสมอกัน เพราะพวกพราหมณ์เหล่านั้นมีปัญญาทราม ความจริงสัณฐานของพวกโคก็อย่างหนึ่ง ของพวกพราหมณ์เหล่านั้นก็อย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้น ท่านจึงไม่กระทำพราหมณ์เหล่านั้นแม้ให้เสมอกัน ในจำพวกเดียรัจฉานมีสีหะเป็นต้น กระทำให้เสมอกันกับโคเท่านั้น. บทว่า สเจ ราชา ความว่า ดูก่อนอริฏฐะ ถ้าว่ากษัตริย์เท่านั้นปกครองแผ่นดิน โดยภาวะที่มหาพรหมให้ไซร้. บทว่า สชีววา ความว่า ประกอบด้วยอำมาตย์เป็นอยู่ร่วมกัน. บทว่า อสฺสวา ปาริสชฺโช ความว่า พึงเป็นผู้ใช้คนผู้ทำตามโอวาทของตน เมื่อเป็นเช่นนั้นบริษัทของพระราชา ชื่อว่าพึงรบแล้วให้ราชสมบัติแก่พระราชา ไม่พึงมี. พระราชาพระองค์นั้นผู้เดียวเท่านั้นพึงชนะหมู่ศัตรูด้วยพระองค์เท่านั้น เมื่อการรบมีอยู่อย่างนี้ ประชาราษฎร์ของพระองค์ พึงมีความสุขเป็นนิตย์ เพราะไม่มีความทุกข์ และข้อนั้นไม่เป็นความจริง แม้เพราะเหตุนั้น คำของพวกพราหมณ์เหล่านั้นย่อมผิด. บทว่า ขตฺติยมนฺตา ความว่า ราชศาสตร์และไตรเพทเหล่านั้นที่เป็นไปตามอำนาจราชอาณาตามความชอบใจของตนว่าสิ่งนี้เท่านั้นควรทำ ย่อมมีความหมายเสมอกัน. อวินิจฺฉินิตฺวา ความว่า กษัตริย์ไม่วินิจฉัยความหมายของมนต์แห่งกษัตริย์เหล่านั้น และความหมายของเวท

 
  ข้อความที่ 118  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 118

ทั้งหลาย ถือเอาด้วยอำนาจอาชญาเท่านั้นย่อมหยั่งรู้ถึงความหมายนั้น เหมือนทางที่ถูกห้วงน้ำตัดขาดฉะนั้น. บทว่า อตฺเถน เอเต ความว่า ราชศาสตร์และเวทเหล่านั้น ย่อมเสมอกันด้วยความหมายว่า หลอกลวง. เพราะเหตุไร? เพราะพวกพราหมณ์กล่าวว่า พวกพราหมณ์เท่านั้นเป็นผู้ประเสริฐ วรรณะเหล่าอื่นเลว ก็โลกธรรมมีลาภเป็นต้นเหล่านั้นใด ทั้งหมดนั้นเป็นธรรมของวรรณะทั้ง ๔ ทั้งหมด จริงอยู่ แม้สัตว์คนหนึ่งชื่อว่าพ้นไปจากโลกธรรมเหล่านี้ ย่อมไม่มี. ดังนั้น พวกพราหมณ์จึงกล่าวมุสาวาทว่า เราผู้ไม่พ้นไปจากโลกธรรมนั่นแลประเสริฐ. บทว่า อิพฺภา ได้แก่คฤหบดี. บทว่า เตวิชฺชสํฆาปิ ความว่า ฝ่ายพวกพราหมณ์ย่อมทำกรรมเป็นอันมากมีกสิกรรมและโครักขกรรมเป็นต้นอย่างนั้นเหมือนกัน. บทว่า นิจฺจุสฺสุกา ความว่า เกิดความขวนขวายความพอใจเป็นนิตย์. บทว่า ตทปฺปปญฺญฺา ทิรสญฺญุรา เต ความว่า ดูก่อนน้องชายผู้รู้รสทั้ง ๒ เพราะเหตุนั้น พวกพราหมณ์ผู้รู้รส ๒ อย่าง เป็นผู้ไม่มีปัญญา พราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้ไกลจากธรรม ก็ธรรมของพวกพราหมณ์แต่โบราณ ย่อมปรากฏในสุนัขในบัดนี้แล.

พระมหาสัตว์ ครั้นทำลายวาทะของพราหมณ์เหล่านั้นแล้ว ให้ตั้งวาทะของพระองค์ด้วยประการฉะนี้ นาคบริษัททั้งหมดนั้นได้ฟังธรรมกถาของพระมหาสัตว์แล้ว ก็พากันเกิดโสมนัส ฝ่ายพระมหาสัตว์จึงสั่งให้นาคบริษัท นำพราหมณ์เนสาทออกไปจากนาคพิภพ แม้เพียงการบริภาษก็มิได้การทำแก่พราหมณ์นั้น.

จบยัญญเภทกัณฑ์

 
  ข้อความที่ 119  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 119

ฝ่ายพระเจ้าสาครพรหมทัต มิได้ล่วงเลยวันที่ทรงกำหนดไว้ เสด็จไปยังพระตำหนักของพระราชบิดา พร้อมด้วยจตุรงคเสนา ส่วนพระมหาสัตว์ก็สั่งให้ตีกลองร้องประกาศว่า เราจะไปเฝ้าสมเด็จพระเจ้าลุง และพระเจ้าตาของเรา แล้วก็เสด็จขึ้นจากแม่น้ำยมุนาด้วยสิริอันงามเลิศ มุ่งไปยังอาศรมบทนั้น พี่น้องนอกนั้นกับชนกชนนีก็ติดตามไปเบื้องหลัง ในขณะนั้น พระเจ้าสาครพรหมทัตทอดพระเนตรเห็นพระมหาสัตว์ ผู้มากับนาคบริษัทเป็นอันมาก ทรงจำไม่ได้ เมื่อจะทูลถามพระราชบิดา จึงตรัสว่า

กลอง ตะโพน สังข์ บัณเฑาะว์ และมโหรทึกของใคร มาข้างหน้า ทำให้พระราชา จอมทัพทรงหรรษา ใครมีสีหน้าสุกใส ด้วยแผ่นทองคำอันหนา มีพรรณดังสายฟ้า ชันษายังหนุ่มแน่น สอดสวมแล่งธนู รุ่งเรืองด้วยสิริมาอยู่ นั่นเป็นใคร ใครมีพักตร์ผ่องใสเพียงดังทองคำ เหมือนถ่านไฟไม้ตะเคียนซึ่งลุกโชนอยู่ที่ปากเบ้า รุ่งเรืองด้วยสิริมาอยู่ ใครนั่นมีฉัตรทองชมพูนุชมีซี่น่ารื่นรมย์ใจ สำหรับกันรัศมีพระอาทิตย์ รุ่งเรืองด้วยสิริมาอยู่ ใครนั่นมีปัญญาประเสริฐ มีพัดวาลวิชนีอย่างยอดเยี่ยม อันคนใช้ประคอง ณ เบื้องบนเศียรทั้งสองข้าง คนทั้งหลายถือกำหางนักยูงอันวิจิตร อ่อนสลวย มีด้ามล้วนแล้วด้วยทอง และแก้วมณี จรลีมาทั้งสองข้าง ข้างหน้าของใคร กุณฑลอันกลมเกลี้ยง มีรัศมีดังสีถ่านไม้ตะเคียนซึ่งลุกโชนอยู่ปากเบ้า งดงามอยู่ทั้งสองข้าง ข้างหน้าของใคร

 
  ข้อความที่ 120  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 120

เส้นผมของใครต้องลมอยู่ไหวๆ ปลายสนิทละเอียด ดำ งามจดนลาต ดังสายฟ้าพุ่งขึ้นจากท้องฟ้า ใครมีเนตรซ้ายขวากว้างและใหญ่ งาม มีพักตร์ผ่องใส ดังคันฉ่องทอง ใครมีโอฐสะอาดเหมือนสังข์อันขาวผ่อง เมื่อเจรจา (แลเห็น) ฟันขาวสะอาด งามดังดอกมณฑารพตูม ใครมีมือและเท้าทั้งสองมีสีเสมอด้วยน้ำครั่ง ตั้งอยู่ในที่สบาย มีริมฝีปากเปล่งปลั่ง ดังผลมะพลับ งามดังดวงอาทิตย์ ใครนั่นมีเครื่องปกคลุมขาวสะอาด ดังหนึ่งต้นสาละใหญ่ ดอกบานสะพรั่ง ข้างเขาหิมวันต์ในฤดูหิมะตก งามปานดังพระอินทร์ผู้ได้ชัยชนะ ใครนั่น นั่งอยู่ท่ามกลางบริษัท คล้องพระแสงขรรค์คร่ำทอง วิจิตรด้วยด้ามแก้วมณีที่อังสา ใครนั่นสวมรองเท้าทองอันวิจิตร เย็บเรียบร้อย สำเร็จเป็นอันดี ข้าพเจ้าขอนอบน้อมต่อท่านผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปฏิปนฺนานิ ความว่า ดนตรีเหล่านี้เป็นของใคร ดำเนินมาข้างหน้า. บทว่า หาสยนฺตา ความว่า ทำให้พระราชานี้ทรงหรรษา. บทว่า กสฺส กาญฺจนปฏฺเฏน ความว่า พระราชาตรัสถามว่า ใครมีสีหน้าโชติช่วงด้วยแผ่นกรอบหน้าที่นลาต เหมือนก้อนเมฆโชติช่วงด้วยสายฟ้าฉะนั้น. บทว่า ยุวา กลาปสนฺนทฺโธ แปลว่า ยังเป็นหนุ่ม สอดสวมแล่งธนู. บทว่า อุกฺกามุเข ปหฏฺิ ความว่า เหมือนทองคำที่ลุกโชน ที่เตาไฟของช่างทอง. บทว่า ขทิรงฺคารสนฺนิภํ

 
  ข้อความที่ 121  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 121

แปลว่า เสมือนถ่านไม้ตะเคียนที่ลุกโชน. บทว่า ชมฺโพนทํ ความว่า ล้วนแล้วด้วยทองคำมีสีสุกปลั่ง. บทว่า องฺคปริคฺคยฺห ความว่า อันคนใช้ถือแส้จามรประคองมาอยู่. บทว่า วาลวีชนึ แปลว่า พัดวาลวีชนีอันแล้วด้วยแก้วมณี. บทว่า อุตฺตมํ แปลว่า อันยอดเยี่ยม. บทว่า เปกฺขุณหตฺถานี แปลว่า ต่างถือกำหางนกยูง. บทว่า จิตฺรานิ แปลว่า วิจิตรด้วยแก้ว ๗ ประการ. บทว่า สุวณฺณมณิทณฺฑานิ ความว่า มีด้ามขจิตด้วยทองที่สุกปลั่ง และด้วยแก้วมณี. บทว่า อุภโต มุขํ ความว่า เที่ยวไปข้างหน้าทั้งสองข้าง. บทว่า วาเตน ฉุปิตา แปลว่า อันลมรำเพยพัด. บทว่า สินิทฺธคฺคา แปลว่า มีปลายสนิท. บทว่า นลาตนฺตํ ความว่า เส้นผมเห็นปานนี้ นี่ของใครงดงามจดที่สุดนลาต. บทว่า นภา วิชฺชุริวุคฺคตา ความว่า ดุจดังสายฟ้าขึ้นจากท้องฟ้า ฉะนั้น. บทว่า อุณฺณชํ ความว่า บริสุทธิ์ดุจคันฉ่องทองคำ. บทว่า ลปนชาตา แปลว่า ปาก. บทว่า กุปฺปิลสาทสา แปลว่า เสมือนดอกมณฑารพตูม. บทว่า สุเข ิตา ความว่า ยิ้มแย้มได้สบาย. บทว่า ชยํ อินฺโทว ความว่า ดุจดังพระอินทร์ได้ชัยชนะ. บทว่า สุวณฺณปีลกากิณฺณํ แปลว่า เกลื่อนไปด้วยไฝทอง. บทว่า มณิทณฺฑวิจิตฺตกํ ความว่า วิจิตรไปด้วยแก้วมณีอังสา. บทว่า สุวณฺณขจิตา แปลว่า ขจิตไปด้วยทอง. บทว่า จิตฺรา ได้แก่ วิจิตรไปด้วยแก้ว ๗ ประการ. บทว่า สุกตา ความว่า สำเร็จเรียบร้อยแล้ว. บทว่า จิตฺรสิพฺพินี แปลว่า เย็บอย่างสวยงาม. ด้วยบทว่า ปาทา นี้ ท่านถามว่า ใครนั่นสวมรองเท้าทอง เห็นปานนี้โดยเท้า.

พระดาบสผู้มีฤทธิ์ได้อภิญญา ถูกพระเจ้าสาครพรหมทัต ผู้เป็นโอรสทูลถามอย่างนี้ เมื่อจะบอกว่า ดูก่อนพ่อ ผู้ที่มาเหล่านั้น คือนาคลูกท้าวธตรฐ หลานของเจ้า จึงกล่าวคาถาว่า

 
  ข้อความที่ 122  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 122

ผู้ที่มาเหล่านั้น เป็นนาคที่มีฤทธิ์เรืองยศ เป็นลูกของท้าวธตรฐ เกิดแต่นางสมุททชา นาคเหล่านี้มีฤทธิ์มาก.

เมื่อพระราชฤาษี และพระเจ้าสาครพรหมทัต ตรัสอยู่อย่างนี้ นาคบริษัททั้งหลาย จึงพากันถวายบังคมบาทพระดาบส แล้วนั่ง ณ ที่อันสมควรส่วนข้างหนึ่ง. ฝ่ายนางสมุททชาก็ถวายบังคมพระราชบิดา และพระราชภาดาแล้วก็ปริเทวนากรรแสงไห้ แล้วก็พานาคบริษัทกลับไปยังนาคพิภพ. ฝ่ายพระเจ้าสาครพรหมทัตประทับ ณ ที่นั้นนั่นเอง สองสามวันจึงถวายบังคมลา ขมาพระราชบิดาแล้วก็กลับยังกรุงพาราณสี. นางสมุททชาเทวีก็สิ้นชีพในนาคพิภพนั้นนั่นเอง.

ฝ่ายพระโพธิสัตว์ ก็รักษาศีลอยู่จนตลอดชีวิต ในที่สุดแห่งชนมายุ ก็ได้ดำเนินไปในทางสวรรค์ กับนาคบริษัท.

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนอุบาสกทั้งหลาย โบราณบัณฑิต เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่เสด็จอุบัติขึ้น. ก็ยังทรงสละนาคสมบัติเห็นปานนี้ กระทำอุโบสถกรรมดังนี้ จึงประชุมชาดกว่า มารดาบิดา (ของพระภูริทัต) ในกาลนั้น ได้มาเป็นสากยราชตระกูล พราหมณ์เนสาทมาเป็นพระเทวทัต โสมทัตมาเป็นพระอานนท์ นางอัจจิมุขีมาเป็นนางอุบลวรรณา สุทัสสนะเป็นพระสารีบุตร สุโภคะมาเป็นพระโมคคัลลานะ กาณาริฏฐะ มาเป็นสุนักขัตตลิจฉวี ภูริทัตมาเป็นเราผู้ตรัสรู้ชอบด้วยตนเอง.

จบอรรถกถาภูริทัตชาดกที่ ๖