พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. อัคคัญญสูตร เรื่อง วาเสฏฐะภารทวาชะ

  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 145

๔. อัคคัญญสูตร

เรื่อง วาเสฏฐะและภารทวาชะ

[๕๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ปราสาทของนางวิสาขามิคารมารดา ในบุพพาราม กรุงสาวัตถี. ก็โดยสมัยนั้นแล วาเสฏฐสามเณรและภารทวาชสามเณร หวังความเป็นภิกษุ จึงอยู่ประจําในสํานักของภิกษุ. ลําดับนั้น ในเวลาเย็นวันหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากที่เร้นแล้ว ได้เสด็จลงจากปราสาท ทรงจงกรมอยู่ในที่กลางแจ้ง ที่ร่มเงาปราสาท. วาเสฏฐสามเณรได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากที่เร้นลงจากปราสาทแล้ว เสด็จจงกรมอยู่กลางแจ้งที่ร่มเงาปราสาทในเย็นวันหนึ่ง ครั้นเห็นแล้ว จึงเรียกภารทวาชสามเณรมากล่าวว่า ภารทวาชะ ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคเจ้านี้เสด็จออกจากที่เร้นลงจากปราสาท เสด็จจงกรมอยู่ที่กลางแจ้งที่ร่มเงาของปราสาทในเวลาเย็น ภารทวาชะผู้อาวุโส เรามาไปกัน เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าจนถึงที่ประทับ เราพึงได้ เพื่อจะฟังธรรมีกถา ในที่เฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้. ภารทวาชสามเณรก็รับคําของวาเสฏฐสามเณรว่า ตกลงท่านผู้มีอายุ. ครั้งนั้นแล วาเสฏฐสามเณรและภารทวาชสามเณรจึงพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าจนถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ได้เดินจงกรมตามพระผู้มีพระภาคเจ้าซึ่งกําลังเสด็จ จงกรมอยู่ ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกวาเสฏฐสามเณรมา แล้วตรัสว่า ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ เธอทั้งหลายแล มีชาติเป็น พราหมณ์ มีตระกูลเป็นพราหมณ์ ออกบวชจากตระกูลของพราหมณ์ ดูก่อน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 146

วาเสฏฐะและภารทวาชะ พราหมณ์ทั้งหลาย ไม่ด่าไม่บริภาษเธอทั้งหลายหรือ ดังนี้. วาเสฏฐะและภารทวาชสามเณรจึงทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พราหมณ์ทั้งหลาย ย่อมด่า ย่อมบริภาษข้าพระองค์ทั้งหลาย ด้วยถ้อยคําตามสมควรแก่ตนอย่างเต็มที่ ไม่มีลดหย่อนเลย ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสถามว่า ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ ก็พวกพราหมณ์ด่าบริภาษเธอ ด้วยคําด่าอันสมควรแก่ตนอย่างเต็มที่ ไม่มีลดหย่อนเลยอย่างไร. สามเณรทั้งสองทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พราหมณ์ทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า พราหมณ์เท่านั้น เป็นวรรณะประเสริฐที่สุด วรรณะเหล่าอื่น เลวทราม พราหมณ์เท่านั้นเป็นวรรณะขาว วรรณะอื่นดํา พวกพราหมณ์ทั้งหลายเท่านั้นบริสุทธิ์ คนที่ไม่ใช่พราหมณ์ หาบริสุทธิ์ไม่ พวกพราหมณ์ทั้งหลาย เป็นบุตรเกิดจากอุระ เกิดจากปากของพระพรหม เกิดจากพระพรหม พระพรหมเนรมิตขึ้นมา เป็นทายาทของพระพรหม พวกท่านมาละเสียจากวรรณะที่ประเสริฐที่สุด เข้าไปอยู่ในวรรณะที่เลวทราม คือพวกสมณะโล้น เป็นพวกคหบดี เป็นพวกดํา เกิดจากเท้าของพระพรหม การที่พวกท่านมาละเสียจากวรรณะประเสริฐสุด ฯลฯ เช่นนี้ ไม่เป็นการดี ไม่เป็นการสมควรเลย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกพราหมณ์ได้พากันด่าบริภาษข้าพระองค์ทั้งหลาย ด้วยถ้อยคําบริภาษอันสมควรแก่ตนอย่างเต็มที่ ไม่มีลดหย่อนเลย อย่างนี้แล ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ พวกพราหมณ์ระลึกถึงเรื่องเก่าของตนไม่ได้ จึงกล่าวอย่างนี้ว่า พราหมณ์เท่านั้นเป็นวรรณะประเสริฐที่สุด วรรณะเหล่าอื่นเลวทราม พราหมณ์เท่านั้นมีวรรณะขาว วรรณะเหล่าอื่นดํา พวกพราหมณ์เท่านั้นบริสุทธิ์ หมู่ชนที่ไม่ใช่พราหมณ์หาบริสุทธิ์ไม่ พวกพราหมณ์ เป็นบุตรเกิดแต่อุระ เกิดจากปากของพระพรหม เกิดจากพระ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 147

พรหม พรหมเนรมิตขึ้น เป็นทายาทของพรหม ดังนี้. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ ตามที่ปรากฏชัดเจนอยู่ว่า นางพราหมณีของพวกพราหมณ์ทั้งหลายมีระดูบ้าง มีครรภ์บ้าง คลอดอยู่บ้าง ให้ลูกดื่มนมบ้าง ก็พราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้เกิดทางช่องตลอดของนางพราหมณีทั้งนั้น พราหมณ์เท่านั้นเป็นวรรณะประเสริฐที่สุด ฯลฯ เป็นทายาทของพรหม ดังนี้. ก็พราหมณ์เหล่านั้น ย่อมกล่าวตู่พระพรหม และพูดมุสา พวกเขาจะต้องประสพ สิ่งไม่เป็นบุญมากมาย.

ว่าด้วยวรรณะ ๔

[๕๒] ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ วรรณะเหล่านี้มี ๔ คือกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ กษัตริย์บางพระองค์ในโลกนี้ มีปกติฆ่าสัตว์ มีปกติถือเอาของที่เขาไม่ได้ให้ มีปกติประพฤติผิดทางกาม มีปกติพูดมุสา มีวาจาส่อเสียด มีวาจาหยาบคาย พูดเพ้อเจ้อ เพ่งเล็งอยากจะได้ของเขา พยาบาทปองร้ายเขา มีความเห็นผิด. ดูก่อนวาเสฎฐะและภารทวาชะ ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ อันใดเป็นอกุศล นับว่าเป็นอกุศล มีโทษ นับว่ามีโทษ ไม่ควรเสพ นับว่าไม่ควรเสพ ไม่ควรเป็นอริยธรรม ก็นับว่าไม่ควรเป็นอริยธรรม เป็นธรรมที่ดํา มีวิบากดํา วิญูชนติเตียน ดังกล่าวมานี้ ธรรมเหล่านั้น ย่อมปรากฏอย่างชัดเจนในกษัตริย์บางพระองค์. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ แม้พราหมณ์แลฯ ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ แม้แพศย์แลฯ ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ แม้ศูทรและบางคนในโลกนี้ มีปกติฆ่าสัตว์ มีปกติถือเอาของที่เขาไม่ได้ให้ ฯลฯ เป็นมิจฉาทิฏฐิ. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ อย่างนี้แล ธรรมทั้งหลายเหล่าใด เป็นอกุศล นับว่าเป็นอกุศล ฯลฯ เป็นธรรมดํา มีวิบากดํา วิญูชนติเตียน ธรรมเหล่านั้นก็ย่อมปรากฏอย่างชัดเจนในศูทรและบางคน

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 148

ว่าด้วยธรรมอันประเสริฐในโลกทั้งสอง

[๕๓] ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ กษัตริย์แม้บางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต เว้นขาดจากอทินนาทาน เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร เว้นขาดจากมุสาวาจา เว้นขาดจากปิสุณวาจา เว้นขาดจากผรุสวาจา เว้นขาดจากสัมผัปปลาปะ ไม่เพ็งเล็งอยากได้ของเขา มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ อย่างนี้แล ธรรมเหล่านี้เหล่าใด เป็นกุศล นับว่าเป็นกุศล ไม่มีโทษ นับว่าไม่มีโทษ ควรเสพ นับว่าควรเสพ ควรเป็นอริยะ นับว่าควรเป็นอริยะ เป็นธรรมขาว มีวิบากขาว วิญูชนสรรเสริญ ธรรมเหล่านั้นย่อมปรากฏอย่างชัดเจนในกษัตริย์บางคนในโลกนี้ ดูก่อนเวเสฏฐะและภารทวาชะ แม้พราหมณ์แลฯ ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ แม้แพศย์แลฯ ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ แม้ศูทรบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต ฯลฯ ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา มีจิตไม่พยาบาทเขา มีความเห็นถูกต้อง. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ อย่างนี้แล ธรรมทั้งหลายเหล่านี้เหล่าใด เป็นกุศล นับว่าเป็นกุศล ไม่มีโทษ นับว่าไม่มีโทษ ควรเสพ นับว่าควรเสพ ควรเป็นอริยะ นับว่าควรเป็นอริยะ เป็นธรรมขาว มีวิบากขาว วิญูชนสรรเสริญ ธรรมทั้งหลายเหล่านั้นย่อมปรากฏอย่างชัดเจนแม้ในศูทรบางคน. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ เมื่อวรรณะทั้ง ๔ เหล่านี้แลรวมกันเป็น ๒ ฝ่าย คือพวกที่ตั้งอยู่ในธรรมฝ่ายดํา วิญูชนติเตียนพวกหนึ่ง และพวกตั้งอยู่ในธรรมฝ่ายขาว วิญูชนไม่ติเตียนพวกหนึ่ง ในเรื่องนี้ เหตุไร พวกพราหมณ์ จึงพากันกล่าวอย่างนี้ว่า พราหมณ์เท่านั้น เป็นวรรณะประเสริฐที่สุด วรรณะเหล่าอื่นล้วนเลวทราม พราหมณ์เท่านั้นมีวรรณะขาว วรรณะเหล่าอื่นดํา พราหมณ์เท่านั้นย่อมบริสุทธิ์

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 149

หมู่คนที่ไม่ใช่พราหมณ์หาบริสุทธิ์ไม่ พราหมณ์ทั้งหลายเป็นบุตรเกิดแต่อก เกิดจากปากของพรหม เกิดจากพระพรหมโดยตรง พรหมเนรมิตขึ้น เป็นทายาทของพรหม ดังนี้. วิญูชนทั้งหลาย ย่อมไม่รับรองถ้อยคําของพราหมณ์เหล่านั้น. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ เพราะว่า บรรดาวรรณะทั้ง ๔ เหล่านี้ ผู้ใดเป็นภิกษุผู้ขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ มีกิจที่ควรทําทําเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว ตามบรรลุประโยชน์ของตน มีสังโยชน์เครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพสิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นได้เพราะรู้โดยชอบ ผู้นั้นย่อมปรากฏว่า เป็นยอดกว่าคนทั้งหลายโดยธรรมแท้ หาใช่โดยอธรรมไม่. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ ก็ธรรมเท่านั้นประเสริฐที่สุดในหมู่ชน ทั้งในทิฏฐิธรรมและในอภิสัมปรายภพ ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ โดยบรรยายมานี้ พวกเธอพึงเข้าใจข้อนั้นอย่างนี้ว่า ธรรมเท่านั้น ประเสริฐที่สุดในหมู่ชน ทั้งในทิฏฐธรรมและในอภิสัมปรายภพ.

ว่าด้วยธรรมประเสริฐที่สุด

[๕๔] ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ พระราชาทรงพระนามว่าปเสนทิโกศล ก็ทรงทราบว่า พระสมณโคดมผู้ยอดเยี่ยม เสด็จออกบวชจากศากยราชตระกูลดังนี้. ดูก่อนวาเสฎฐะและภารทวาชะ พวกศากยราชทั้งหลายแล ย่อมเป็นผู้ติดตามพระเจ้าปเสนทิโกศลทุกขณะ. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ พวกศากยราชทั้งหลายแล ย่อมกระทําการนอบน้อม การไหว้ การต้อนรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม ในพระเจ้าปเสนทิโกศล. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ อย่างนี้แล ศากยะทั้งหลายย่อมพากันกระทําการนอบน้อม การไหว้ การต้อนรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม ในพระเจ้าปเสนทิโกศล พระเจ้าปเสนทิโกศลยังทรงกระทําการต้อนรับ การไหว้ การ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 150

ต้อนรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรมนั้น ในพระตถาคต ด้วยพระดําริว่า พระสมณโคดมมีชาติดีกว่า เรามีชาติไม่ดี พระสมณโคดมทรงมีกําลัง เราเองมีกําลังทราม พระสมณโคดมน่าเลื่อมใส เราเองมีผิวพรรณเศร้าหมอง พระสมณโคดมมีศักดิ์ใหญ่ เราเองมีศักดิ์น้อย ดังนี้ โดยที่แท้ พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงสักการะพระธรรม เคารพพระธรรม นับถือพระธรรม บูชาพระธรรม นอบน้อมพระธรรม. พระเจ้าเสนทิโกศลทรงทําการนอบน้อม อภิวาท ต้อนรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม ในพระตถาคต อย่างนี้แล. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ โดยบรรยายนี้ เธอพึงทราบอย่างนี้ว่า พระธรรมเท่านั้นประเสริฐที่สุดในหมู่ชน ทั้งในทิฏฐิธรรมและอภิสัมปรายภพ.

ว่าด้วยบุตรเกิดแต่พระอุระ พระโอษฐ์พระผู้มีพระภาค

[๕๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ เธอทั้งหลายแล มีชาติต่างกัน มีชื่อต่างกัน มีโคตรต่างกัน ออกจากเรือนมาบวชเป็นบรรพชิต ถูกเขาถามว่า ท่านเป็นพวกไหน ดังนี้ พึงตอบเขาว่า พวกเรา เป็นพวกพระสมณะศากยบุตร ดังนี้. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ ก็ผู้ใดแลมีศรัทธาในพระตถาคต ตั้งมั่นเกิดแต่มูลราก ตั้งมั่นอย่างมั่นคง อันสมณพราหมณ์ เทวดามารพรหม หรือใครๆ ในโลก ให้เคลื่อนย้ายไม่ได้ ควรจะเรียกผู้นั้นว่า เราเป็นบุตรเกิดแต่พระอุระ เกิดจากพระโอษฐ์ของพระผู้มีพระภาค เกิดจากพระธรรม พระธรรมเนรมิตขึ้น เป็นทายาทของพระธรรม ดังนี้. ข้อนั้นเพราะเหตุไร. เพราะคําว่า ธรรมกายก็ดี พรหมกายก็ดี ธรรมภูตก็ดี พรหมภูตก็ดี เป็นชื่อของพระตถาคต.

[๕๖] ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ มีบางสมัยบางคราว โดยอันล่วงไปแห่งกาลอันยาวนาน โลกนี้ก็จะพินาศไป เมื่อโลกกําลังพินาศอยู่ โดยมากหมู่สัตว์ย่อมวนเวียนไปเกิดในชั้นอาภัสสรพรหม ในชั้น

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 151

อาภัสสรพรหมนั้น สัตว์เหล่านั้น มีความสําเร็จได้โดยทางใจ มีปีติเป็นภักษา มีรัศมีเอง ท่องเที่ยวไปได้ในอากาศ ดํารงอยู่ในวิมานอันแสนงาม ย่อมดํารงอยู่ได้สิ้นกาลยืดยาวนาน. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ มีสมัยอีกบางครั้ง โดยอันล่วงไปแห่งกาลยืดยาวนาน โลกนี้ย่อมเจริญขึ้น เมื่อโลกกําลังเจริญขึ้น โดยมากเหล่าสัตว์ ก็จะพากันเคลื่อนจากพวกอาภัสสรพรหม มาสู่ความเป็นอย่างนี้อีก และสัตว์เหล่านั้น มีความสําเร็จได้โดยทางใจ มีปีติเป็นภักษา มีรัศมีเอง ท่องเที่ยวไปในอากาศได้ ดํารงอยู่ในวิมานอันงดงาม ย่อมดํารงอยู่ตลอดกาลยืดยาวนาน. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ ก็โดยสมัยนั้นแล จักรวาลนี้ ก็จะกลายเป็นน้ำไปหมด มีความมืด มองไม่เห็น ทั้งดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ก็ยังไม่ปรากฏ ดวงดาวนักษัตรก็ยังไม่ปรากฏ กลางวันกลางคืนก็ไม่ปรากฏ เดือนหนึ่งกึ่งเดือนหนึ่งก็ยังไม่ปรากฏ ฤดูและปีก็ยังไม่ปรากฏ หญิงชายก็ยังไม่ปรากฏ. หมู่สัตว์ทั้งหลาย ก็ถึงการนับว่าสัตว์ ดังนี้อย่างเดียวกัน. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ ในกาลบางคราว โดยอันล่วงไปแห่งกาลยืดยาวนาน ง้วนดิน ก็เกิดลอยอยู่บนน้ำ ปรากฏแก่สัตว์เหล่านั้น เหมือนน้ำนมสด ที่บุคคลเคี่ยวแล้วทําให้เย็นสนิทแล้ว ปรากฏเป็นฝาอยู่ข้างบน ฉะนั้น ง้วนดินนั้น ได้สมบูรณ์ด้วยสี กลิ่น รส มีสีคล้ายเนยใสอย่างดีและเนยข้นอย่างดี ฉะนั้น และได้มีรสอันน่าชอบใจ เหมือนน้ำผึ้งอันปราศจากโทษ ฉะนั้น. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ ที่นั่นแล มีสัตว์บางตน มีชาติโลเล กล่าวว่า ท่านผู้เจริญ สิ่งที่ลอยอยู่นี้ จะเป็นอะไร ดังนี้ แล้วเอานิ้วมือช้อนเอาง้วนดินขึ้นมาลิ้มดู เมื่อเขากําลังเอานิ้วมือช้อนง้วนดินขึ้นมาลิ้มอยู่ ง้วนดินก็ได้ซ่านไปทั่ว ความอยากจึงเกิดขึ้นแก่เขา. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ สัตว์เหล่าอื่นแล ก็ถึงทิฏฐานุคติของสัตว์นั้น ก็จะพากันเอานิ้วมือซ้อนง้วนดินนั้นขึ้นมาลิ้มดู. เมื่อสัตว์เหล่า

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 152

นั้นกําลังเอานิ้วมือช้อนเอาง้วนดินนั้นขึ้นมาชิม ง้วนดินก็แผ่ซ่านไปทั่วสรรพางค์ และตัณหาก็เกิดขึ้นแก่สัตว์เหล่านั้น. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ ที่นั้นแล สัตว์เหล่านั้นจะพากันพยายามเอามือปั้นง้วนดิน ปั้นทําให้เป็นคําเพื่อที่จะบริโภค. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ เมื่อใดแลที่สัตว์เหล่านั้นพยายามที่จะเอามือปั้นง้วนดิน ทําเป็นคําเพื่อที่จะบริโภค เมื่อนั้น รัศมีเฉพาะตัวของสัตว์เหล่านั้นก็จะหายไป. เมื่อรัศมีเฉพาะตัวหายไป พระจันทร์และพระอาทิตย์ก็ปรากฏขึ้นมา เมื่อพระจันทร์และพระอาทิตย์ปรากฏขึ้นแล้ว หมู่ดาวนักษัตรก็จะปรากฏ เมื่อหมู่ดาวนักษัตรปรากฏแล้ว กลางคืนและกลางวันก็ปรากฏ เมื่อกลางคืนและกลางวันปรากฏแล้ว เดือนหนึ่งและกึ่งเดือนหนึ่งก็ปรากฏขึ้น เมื่อเดือนหนึ่งและกึ่งเดือนหนึ่งปรากฏขึ้นแล้ว ฤดูและปีก็ปรากฏขึ้น. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ ด้วยเหตุเพียงประมาณเท่านี้แล โลกนี้ก็ย่อมเจริญขึ้นมาอีก.

    [๕๗] ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้งนั้นแล สัตว์เหล่านั้นพากันบริโภคง้วนดิน มีง้วนดินเป็นภักษาเป็นอาหาร ได้ดํารงอยู่ตลอดกาลยืดยาวนาน. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ สัตว์เหล่านั้นบริโภคง้วนดิน มีง้วนดินนั้นเป็นภักษาเป็นอาหาร ได้ตั้งอยู่ตลอดกาลยืดยาวนานโดยประการใดแล ความแข็งแกร่ง ก็เกิดมีในกายของสัตว์เหล่านั้น ความมีผิวพรรณดี ก็ได้ปรากฏชัดขึ้นมา สัตว์บางพวกก็มีผิวพรรณดี บางพวกมีผิวพรรณเลว. บรรดาสัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่าใดมีผิวพรรณดี สัตว์เหล่านั้นก็ดูหมิ่นสัตว์ที่มีผิวพรรณเลวว่า เรามีผิวพรรณดีกว่าสัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่านั้นมีผิวพรรณเลวกว่าเราดังนี้. เมื่อสัตว์เหล่านั้นเกิดมีมานะถือตัว เพราะการดูหมิ่นเรื่องผิวพรรณเป็นปัจจัย ง้วนดินก็ได้อันตรธานหายไป. เมื่อง้วนดินหายไปแล้ว สัตว์เหล่านั้นจึงประชุมกัน ครั้นประชุมกันแล้วต่างก็พากัน

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 153

ทอดถอนใจว่า รสดี รสดี ดังนี้. แม้ในทุกวันนี้ พวกมนุษย์ได้ของมีรสดีบางอย่างเท่านั้น ก็พากันกล่าวอย่างนี้ว่า รสดี รสดี ดังนี้ หมู่พราหมณ์ทั้งหลายพากันอนุสรณ์ถึงอักขระ ที่รู้กันว่าเป็นของเลิศเป็นของเก่านั้น แต่หาได้รู้ถึงความหมายของอักขระนั้นเลย.

ว่าด้วยกะบิดินเป็นต้นเกิดขึ้น

[๕๘] ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้งนั้นแล เมื่อง้วนดินของสัตว์เหล่านั้นหายไป กะบิดินก็ปรากฏขึ้น. กะบิดินนั้นปรากฏเหมือนเห็ด. กะบิดินนั้นถึงพร้อมด้วยสี กลิ่น รส ได้มีสีเหมือนเนยใสที่ปรุงอย่างดีหรือเนยข้นอย่างดี และได้มีรสอย่างน่าชอบใจเหมือนน้ำผึ้งซึ่งปราศจากโทษ ฉะนั้น. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้งนั้นแล สัตว์เหล่านั้นก็ได้พยายามเพื่อจะบริโภคกะบิดิน สัตว์เหล่านั้น บริโภคกะบิดินนั้นแล้ว มีกะบิดินนั้นเป็นภักษาเป็นอาหาร ได้ดํารงอยู่ตลอดกาลยืดยาวนาน. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ สัตว์เหล่านั้นเมื่อบริโภคกะบิดิน มีกะบิดินนั้นเป็นภักษาเป็นอาหาร ได้ดํารงอยู่ตลอดกาลยืดยาวนานโดยประการใดแล ความเป็นผู้กล้าแข็ง โดยประมาณ โดยยิ่ง ก็ได้ปรากฏขึ้นในกายของสัตว์เหล่านั้น และความเป็นผู้มีผิวพรรณงดงาม ก็ได้ปรากฏชัดขึ้นโดยประการนั้น. สัตว์บางพวกมีผิวพรรณดี บางพวกมีผิวพรรณเลว. บรรดาสัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่าใดมีผิวพรรณดี สัตว์เหล่านั้นก็พากันดูหมิ่นสัตว์ที่มีผิวพรรณทรามว่า พวกเรามีผิวพรรณงามกว่าสัตว์เหล่านี้ สัตว์เหล่านี้มีผิวพรรณเลวกว่าพวกเรา ดังนี้. เมื่อสัตว์เหล่านั้นต่างพากันมีมานะเกิดขึ้น เพราะการดูหมิ่นผิวพรรณเป็นปัจจัย กะบิดินก็อันตรธานหายไป. เมื่อกะบิดินหายไปแล้ว เครือดินได้ปรากฏขึ้นมา. เครือดินนั้นได้ปรากฏคล้ายผลมะพร้าว ฉะนั้น. เครือดินนั้นสมบูรณ์ด้วยสี กลิ่น รส ได้มีสีเหมือน

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 154

เนยใสที่ปรุงอย่างดีหรือเหมือนเนยข้นอย่างดี และได้มีรสน่าชอบใจเหมือนน้ำผึ้งซึ่งปราศจากโทษ ฉะนั้น. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้งนั้น สัตว์เหล่านั้นได้พากันพยายามเพื่อที่จะบริโภคเครือดิน สัตว์เหล่านั้นบริโภคเครือดิน ได้มีเครือดินนั้นเป็นภักษาเป็นอาหาร ได้ดํารงอยู่ตลอดกาลยืดยาวนาน. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ สัตว์เหล่านั้นบริโภคเครือดิน มีเครือดินเป็นภักษาเป็นอาหาร ได้ดํารงอยู่ตลอดกาลยืดยาวนานโดยประการใดแล ความเป็นผู้กล้าเข็งโดยประมาณโดยยิ่ง ก็ได้ปรากฏในการแก่สัตว์เหล่านั้น และความเป็นผู้มีผิวพรรณดี ได้ปรากฏขึ้นอย่างชัดเจน. สัตว์บางพวกมีผิวพรรณดี บ้างพวกมีผิวพรรณเลว. บรรดาสัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่าใด มีผิวพรรณดี สัตว์เหล่านั้นย่อมดูหมิ่นหมู่สัตว์ที่มีผิวพรรณเลวว่า พวกเรามีผิวพรรณดีกว่าสัตว์เหล่านี้ สัตว์เหล่านี้มีผิวพรรณเลวกว่าเราทั้งหลายดังนี้. เมื่อสัตว์เหล่านั้นต่างก็เกิดมีมานะถือตัว เพราะมีมานะว่ามีผิวพรรณดีนั้นเป็นปัจจัย เครือดินได้อันตรธานหายไป. เมื่อเครือดินหายไปแล้ว เหล่าสัตว์ประชุมกัน ครั้นประชุมกันแล้ว ก็ทอดถอนใจว่า เครือดินได้มีแก่เราหนอ เครือดินของเราได้สูญหายไปหมดแล้วหนอ ดังนี้. ในสมัยนี้ มนุษย์ทั้งหลายพอถูกทุกขธรรมบางอย่างถูกต้องเข้า ก็พากันกล่าวว่า ของนี้ได้มีแล้วแก่เรา ของนี้ของเราได้สูญหายไปหมดแล้ว ดังนี้. พวกพราหมณ์ ย่อมอนุสรณ์ถึงอักขระอันควรรู้ ซึ่งเป็นของดีเป็นของเก่านั้นแล แต่ว่าพวกพราหมณ์เหล่านั้น หารู้ทั่วถึงใจความของอักขระนั้นไม่.

ว่าด้วยปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ

[๕๙] ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้นนั้นแล เมื่อเครือดินของสัตว์เหล่านั้นสูญหายไปแล้ว ข้าวสาลีซึ่งบังเกิดในที่ที่ไม่ต้องไถ ไม่มี

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 155

รําไม่มีแกลบ บริสุทธิ์มีกลิ่นหอม มีเมล็ดเป็นข้าวสาร ก็ปรากฏขึ้นมา. สัตว์ทั้งหลายก็พากันขนเอาข้าวสาลีชนิดใดมาเพื่อเป็นอาหารมื้อเย็นในเวลาเย็น ตอนเช้า ข้าวสาลีชนิดนั้นก็สุกงอกขึ้นมาแทน และในตอนเช้า สัตว์ทั้งหลายได้พากันขนเอาข้าวสาลีชนิดใดมาเพื่อบริโภคในเวลาเช้า ในตอนเย็น ข้าวสาลีชนิดนั้นก็สุกงอกขึ้นมาแทน ความบกพร่องไป หาได้ปรากฏไม่. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้งนั้นแล เหล่าสัตว์ทั้งหลายพากันบริโภคข้าวสาลี ซึ่งเกิดสุกเองในที่ที่ไม่ต้องไถ มีข้าวสาลีนั้นเป็นภักษาเป็นอาหาร ได้ดํารงอยู่ตลอดกาลยืดยาวนาน. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ สัตว์เหล่านั้นบริโภคข้าวสาลี ซึ่งเกิดสุกเองในที่ที่ไม่ต้องไถ มีข้าวสาลีนั้นเป็นภักษาเป็นอาหาร ได้ดํารงอยู่ตลอดกาลยืดยาวนาน โดยประการใดแล ความกล้าแข็งโดยประมาณโดยยิ่ง ได้เกิดมีในกายของสัตว์เหล่านั้น และความเป็นผู้มีผิวพรรณงดงาม ก็ได้ปรากฏอย่างชัดเจนโดยประการนั้น. และเพศหญิงก็ปรากฏแก่หญิง เพศชายก็ปรากฏแก่ชาย. ก็ได้ยินว่าหญิงย่อมเพ่งดูชายอยู่ตลอดเวลา และชายก็เพ่งดูหญิงอยู่ตลอดเวลาเช่นกัน. เมื่อชนเหล่านั้น ต่างเพ่งดูกันและกันอยู่ตลอดเวลา ความกําหนัดก็เกิดขึ้น ความเร่าร้อนก็ปรากฏขึ้นในกาย. ชนเหล่านั้น เพราะความเร่าร้อนเป็นปัจจัย จึงได้เสพเมถุนธรรม. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ ก็โดยสมัยนั้น สัตว์เหล่าใด แลเห็นสัตว์เหล่าอื่นกําลังเสพเมถุนกัน ก็โปรยฝุ่นลงบ้าง โปรยเถ้าลงบ้าง โปรยโคมัยลงบ้าง ด้วยกล่าวว่า คนถ่อยเจ้าจงฉิบหาย คนถ่อยเจ้าฉิบหาย ดังนี้ แล้วกล่าวว่า ก็สัตว์จักกระทํากรรมอย่างนี้แก่สัตว์อย่างไร ดังนี้. แม้ในขณะนี้ ในชนบทบางแห่ง เมื่อนําสัตว์ถูกฆ่าไปสู่ตะแลงแกง มนุษย์เหล่าอื่นก็จะซัดฝุ่นบ้าง ซัดเถ้าบ้าง ซัดโคมัยบ้างใส่คนชื่อนั้น. พวกพราหมณ์ย่อมระลึกถึงอักขระที่รู้กันว่าดีซึ่ง

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 156

เป็นของเก่านั้น แต่ว่าพราหมณ์เหล่านั้น หารู้เนื้อความของอักขระนั้นอย่างชัดเจนไม่.

    [๖๐] ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ ก็โดยสมัยนั้น การซัดฝุ่นเป็นต้นนั้นแล รู้กันว่าไม่เป็นธรรม ในบัดนี้รู้กันว่าเป็นธรรม. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ โดยสมัยนั้น สัตว์เหล่าใดแลย่อมเสพเมถุนกัน สัตว์เหล่านั้นย่อมไม่ได้เพื่อจะเข้าไปยังหมู่บ้าน หรือนิคมตลอด ๓ เดือนบ้าง ๒ เดือนบ้าง. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ ในกาลใดแล สัตว์ทั้งหลาย ถึงความชั่วช้าในอสัทธรรมนั่นตลอดเวลา ในกาลนั้น สัตว์เหล่านั้น จึงได้พากันพยายามสร้างเรือนอยู่ เพื่อประโยชน์แก่การปกปิดอสัทธรรมนั้น. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ สัตว์บางตน ซึ่งมีชาติขี้เกียจ ได้มีความคิดนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เรานี้ต้องนําเอาข้าวสาลีมา เพื่อเป็นอาหารเย็นในเวลาเย็น และเพื่อเป็นอาหารเช้าในตอนเช้า ย่อมเดือดร้อนจริง อย่ากระนั้นเลย เราควรนําข้าวสาลีมาครั้งเดียว ให้พอเพื่อบริโภคทั้งในเวลาเช้าและเวลาเย็น ดังนี้ ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้งนั้นแล สัตว์นั้นก็นําเอาข้าวสาลีมาเพียงคราวเดียว เพื่อเป็นอาหารทั้งในเวลาเย็นทั้งในเวลาเช้า. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้งนั้นแล สัตว์อื่นจึงเข้าไปหาสัตว์นั้นจนถึงที่อยู่ ครั้นเข้าไปหาแล้ว จึงได้กล่าวกะสัตว์นั้นว่า มาเถิด สัตว์ผู้เจริญ เราจะไปนําข้าวสาลีมา ดังนี้. สัตว์นั้นจึงกล่าวว่า อย่าเลยสัตว์ผู้เจริญ เรานําข้าวสาลีมาครั้งเดียวเพื่อบริโภคทั้งในเวลาเย็นทั้งในเวลาเข้า ดังนี้. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้งนั้นแล สัตว์นั้นก็ถึงทิฏฐานุคติของสัตว์นั้นแล้ว นําข้าวสาลีมาครั้งเดียวเพื่ออาหารทั้งสองเวลา ด้วยกล่าวว่า ได้ยินว่า อย่างนี้ก็ดีนะผู้เจริญ ดังนี้ ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้งนั้นแล สัตว์อื่นจึงเข้าไปหาสัตว์นั้นจนถึงที่อยู่ ครั้นแล้วจึงได้

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 157

กล่าวคํานี้กะสัตว์นั้นว่า มาเถิด สัตว์ผู้เจริญ เราจะไปเก็บข้าวสาลีกัน ดังนี้. สัตว์นั้นจึงตอบว่า อย่าเลย สัตว์ผู้เจริญ เรานําข้าวสาลีมาครั้งเดียว เพื่อเป็นอาหารทั้งเช้าและเย็น ดังนี้. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ สัตว์นั้นถึงทิฏฐานุคติของสัตว์นั้น จึงนําข้าวสาลีมา เพื่อเป็นอาหารถึง ๔ วัน ด้วยกล่าวว่า ได้ยินว่า อย่างนี้ก็ดีนะ ผู้เจริญ ดังนี้. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ สัตว์อื่นเข้าไปหาสัตว์นั้นจนถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว ได้กล่าวคํานี้กะสัตว์นั้นว่า มาเถิด สัตว์ผู้เจริญ พวกเราไปเก็บข้าวสาลีกัน ดังนี้. สัตว์นั้นจึงกล่าวว่า อย่าเลย ผู้เจริญ เรานําข้าวสาลีมาครั้งเดียว เพื่อเป็นอาหารได้ ๔ วัน ดังนี้. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้งนั้นแล สัตว์นั้นถึงทิฏฐานุคติของสัตว์นั้น ได้ไปขนเอาข้าวสาลีมาครั้งเดียวเท่านั้น เพื่อเป็นอาหาร ๔ วัน ด้วยกล่าวว่า ได้ยินว่า อย่างนี้ก็ดีนะ ผู้เจริญ ดังนี้. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ เมื่อใดแล สัตว์นั้นก็ได้พยายามเพื่อจะบริโภคข้าวสาลีที่สั่งสมไว้. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้งนั้นแล ข้าวสาลีจึงมีรําห่อเมล็ดบ้าง มีแกลบห่อเมล็ดบ้าง ต้นที่ถูกเกี่ยวแล้ว ก็ไม่กลับงอกขึ้นอีก การขาดตอนก็ปรากฏขึ้น ข้าวสาลีจึงได้มีเป็นกลุ่มขึ้นมา.

    [๖๑] ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้งนั้นแล สัตว์เหล่านั้นจึงประชุมพร้อมกัน ครั้นแล้วก็พากันทอดถอนใจว่า ผู้เจริญ ธรรมอันเลวทราม ได้ปรากฏในสัตว์ทั้งหลาย ด้วยว่า ในกาลก่อน พวกเรามีความสําเร็จทางใจ มีปีติเป็นภักษา มีรัศมีเอง ท่องเที่ยวไปในอากาศได้ ดํารงอยู่ในวิมานอันงดงาม ได้ดํารงอยู่ตลอดกาลยืดยาวนาน ในกาลบางคราวโดยล่วงไปแห่งกาลยืดยาวนาน ง้วนดินเกิดในน้ำแก่พวกเรา ง้วนดินนั้นได้สมบูรณ์ด้วยสี กลิ่น รส พวกเรานั้น ได้พยายามเอามือปั้นง้วนดินเป็นคําๆ เพื่อที่จะบริโภค เมื่อพวกเราพากันพยายามเอามือปั้นง้วนดินทํา

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 158

เป็นคําๆ เพื่อที่จะบริโภคอยู่ รัศมีเฉพาะตัวก็หายไป เมื่อรัศมีเฉพาะตัวหายไป พระจันทร์และพระอาทิตย์ก็ปรากฏ เมื่อพระจันทร์และพระอาทิตย์ปรากฏแล้ว หมู่ดาวนักษัตรทั้งหลายก็ได้ปรากฏ เมื่อหมู่ดาวนักษัตรปรากฏแล้ว กลางคืนกลางวันก็ได้ปรากฏ เมื่อกลางคืนกลางวันปรากฏแล้ว เดือนหนึ่งกึ่งเดือนหนึ่งก็ปรากฏ เมื่อเดือนหนึ่งกึ่งหนึ่งเดือนปรากฏอยู่ ฤดูและปีก็ปรากฏ พวกเราเหล่านั้นบริโภคง้วนดิน มีง้วนดินนั้นเป็นภักษาเป็นอาหาร ได้ดํารงอยู่ตลอดกาลยืดยาวนาน เพราะอกุศลธรรมอันลามก ง้วนดินของพวกเรานั้น จึงได้หายไป เมื่อง้วนดินหายไปแล้ว กะบิดินก็ปรากฏ กะบิดินนั้นถึงพร้อมด้วยสี กลิ่น รส พวกเราเหล่านั้น ได้พากันพยายามเพื่อจะบริโภคกะบิดินนั้น พวกเรานั้นบริโภคกะบิดินนั้นแล้ว มีกะบิดินนั้นเป็นภักษาเป็นอาหาร ได้ดํารงอยู่ตลอดกาลยืดยาวนาน เพราะความปรากฏแห่งอกุศลธรรมอันลามกของพวกเรานั้น กะบิดินจึงได้หายไป เมื่อกะบิดินหายไปแล้ว เครือดินก็ปรากฏขึ้นมา เครือดินนั้นก็สมบูรณ์ด้วย สี กลิ่น รส พวกเรานั้นได้พากันพยายามเพื่อที่จะบริโภคเครือดินนั้น พวกเรานั้นบริโภคเครือดินนั้นแล้ว ก็มีเครือดินนั้นเป็นภักษาเป็นอาหาร ได้ดํารงอยู่ตลอดกาลยืดยาวนาน เพราะความปรากฏแห่งอกุศลธรรมอันลามกของพวกเรานั้น เครือดินจึงได้หายไป เมื่อเครือดินหายไปแล้ว ข้าวสาลีอันเกิดสุกในที่ที่ไม่ต้องไถ ไม่มีรํา ไม่มีแกลบ บริสุทธิ์ มีกลิ่นหอม มีเมล็ดเป็นข้าวสารก็ได้ปรากฏขึ้น พวกเราไปนําเอาข้าวสาลีชนิดใดมาเพื่อเป็นอาหารเย็นในเวลาเย็น ในตอนเช้า ข้าวสาลีนั้นก็สุกงอกขึ้นอีก พวกเราไปนําเอาข้าวสาลีชนิดใดมาเพื่อเป็นอาหารเช้าในตอนเช้า ในตอนเย็น ข้าวสาลีนั้นก็สุกงอกขึ้นเอง ความขาดหาได้ปรากฏไม่ พวกเรานั้น เมื่อบริโภคข้าวสาลี ซึ่งเกิดในที่ที่ไม่ได้ไถ ก็มีข้าวสาลีนั้น เป็นภักษา

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 159

เป็นอาหาร ได้ดํารงอยู่ตลอดกาลยืดยาวนาน เพราะความปรากฏแห่งอกุศลธรรมอันลามกของพวกเรา นั้นแล ข้าวสาลีจึงมีรําหุ้มเมล็ดบ้าง มีแกลบหุ้มเมล็ดบ้าง ข้าวสาลีที่เราเกี่ยวแล้ว หาได้งอกขึ้นอีกไม่ แม้ความขาดตอนก็ได้ปรากฏ ข้าวสาลีเป็นกลุ่มจึงเกิดขึ้น ไฉนหนอ เราควรแบ่งข้าวสาลีกัน และพึงกั้นเขตคันกัน ดังนี้. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้งนั้นแล สัตว์ทั้งหลายจึงพากันแบ่งข้าวสาลีและกั้นเขตคันกันขึ้น.

    [๖๒] ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้งนั้นแล สัตว์บางตนมีความโลเล รักษาส่วนของตนไว้ ถือเอาส่วนอื่นที่เขาไม่ได้ให้บริโภค. สัตว์เหล่าอื่นได้จับสัตว์นั้นได้ ครั้นจับได้แล้วจึงกล่าวว่า สัตว์ผู้เจริญ ท่านทํากรรมชั่ว ที่รักษาส่วนของตนไว้ ถือเอาส่วนอื่นที่เขาไม่ได้ให้บริโภค สัตว์ผู้เจริญ ท่านอย่าได้ทํากรรมชั่วช้าอย่างนี้อีก ดังนี้. สัตว์นั้นก็รับคําของสัตว์เหล่านั้นว่า เราจะไม่ทําอย่างนี้อีก ผู้เจริญ. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ แม้ในครั้งที่ ๒ สัตว์นั้น ฯลฯ ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ แม้ในครั้งที่สาม สัตว์นั้นก็รับอย่างนั้นและสัตว์นั้นก็ยังรักษาส่วนของตน แล้วถือเอาส่วนอื่นที่เขาไม่ได้ให้บริโภค. สัตว์ทั้งหลายได้พากันจับสัตว์นั้นแล้ว ครั้นจับแล้ว กล่าวคํานี้ว่า สัตว์ผู้เจริญ ท่านทํากรรมชั่วช้า ที่รักษาส่วนของตน แล้วถือเอาส่วนอื่นที่เขาไม่ได้ให้กลืนกิน สัตว์ผู้เจริญ ท่านอย่าได้ทําอย่างนี้อีก ดังนี้. สัตว์เหล่าอื่นเอามือทุบ เอาก้อนดินขว้าง เอาท่อนไม้ตี. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ ในเพราะเรื่องนั้นเป็นสําคัญแล อทินนาทานจึงปรากฏ การครหาจึงปรากฏ มุสาวาทปรากฏ การจับท่อนไม้จึงปรากฏ. ครั้งนั้นแล สัตว์ประเสริฐทั้งหลาย จึงได้ประชุมพร้อมกัน

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 160

ครั้นแล้วก็ทอดถอนใจว่า ผู้เจริญ ธรรมอันลามกเลวทรามปรากฏในหมู่สัตว์ได้ ก็อทินนาทานจักปรากฏ การครหาจักปรากฏ มุสาวาทจักปรากฏ การจับท่อนไม้ก็จักปรากฏ อย่ากระนั้นเลย เราควรนับถือสัตว์ผู้หนึ่ง ซึ่งจะว่ากล่าวผู้ที่ควรว่ากล่าวได้ ติเตียนผู้ที่ควรติเตียนได้ ขับไล่ผู้ที่ควรขับไล่ได้ ส่วนพวกเรา จักให้ส่วนแห่งข้าวสาลีแก่ผู้นั้น ดังนี้. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้งนั้นแล สัตว์เหล่านั้นจึงเข้าไปหาสัตว์ที่มีรูปงามกว่า น่าดูกว่า น่าเลื่อมใสกว่า มีศักดิ์ใหญ่กว่า แล้วได้กล่าวคํานั้นว่า มาเถิด สัตว์ผู้เจริญ ท่านจงว่ากล่าวผู้ที่ควรว่ากล่าวได้โดยชอบ จงติเตียนผู้ที่ควรติเตียนได้ จงขับไล่ผู้ที่ควรขับไล่ได้ ส่วนพวกเรา จักให้ส่วนแห่งข้าวสาลีแก่ท่าน ดังนี้. สัตว์นั้นได้รับคําของสัตว์เหล่านั้นว่า อย่างนั้น ผู้เจริญ ดังนี้ แล้วได้ว่ากล่าวผู้ที่ควรว่ากล่าวได้โดยชอบ ติเตียนผู้ที่ควรติเตียนได้ ขับไล่ผู้ที่ควรขับไล่ได้. ส่วนสัตว์เหล่านั้น ก็ได้ให้ส่วนแห่งข้าวสาลีแก่สัตว์นั้น.

ว่าด้วยต้นเหตุเกิดอักขระว่ามหาสมมติ กษัตริย์ ราชา

[๖๓] ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ เพราะชนผู้เป็นหัวหน้า อันมหาชนสมมติแล้วอักขระว่า มหาสมมติ จึงได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ เพราะผู้เป็นหัวหน้า เป็นใหญ่แห่งเขต ฉะนั้น อักขระว่า กษัตริย์ กษัตริย์ จึงอุบัติขึ้นเป็นคําที่ ๒. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ เพราะเหตุที่ผู้เป็นใหญ่ ย่อมยังชนเหล่าอื่นให้ยินดีโดยชอบธรรม ฉะนั้น อักขระว่า ราชา ราชา ดังนี้ จึงบังเกิดขึ้นเป็นคําที่ ๓. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ เพราะเหตุดังกล่าวมานี้แล การบังเกิดขึ้นของหมู่กษัตริย์ จึงเกิดมีขึ้นมา ด้วยอักขระที่เข้าใจกันว่าเลิศ เป็นของเก่า. เรื่องของสัตว์เหล่านั้น จะเหมือนกัน และไม่

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 161

เหมือนกันกับสัตว์อื่นนั้น ก็ด้วยธรรม หาใช่ด้วยอธรรมไม่. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ ก็ธรรมเท่านั้นประเสริฐที่สุดในหมู่ชน ทั้งในทิฏฐธรรมและอภิสัมปรายภพ.

    [๖๔] ครั้งนั้นแล สัตว์บางจําพวกเหล่านั้น ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ผู้เจริญ การถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ได้ให้จักปรากฏ การครหาจักปรากฏ มุสาวาทจักปรากฏ การถือเอาท่อนไม้จักปรากฏ การขับไล่จักปรากฏ ในเพราะบาปธรรมใด บาปธรรมเหล่านั้น ได้ปรากฏในหมู่สัตว์ทั้งหลาย อย่ากระนั้นเลย พวกเราควรลอยอกุศลธรรมอันลามกทิ้งเสียเถิด ดังนี้. สัตว์เหล่านั้น จึงได้พากันลอยอกุศลธรรมอันลามกนั้นทิ้งไป ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ เพราะสัตว์ทั้งหลาย พากันลอยอกุศลธรรมทิ้งไป ฉะนั้น อักขระว่า พราหมณ์ ดังนี้ จึงบังเกิดขึ้นครั้งแรก. พราหมณ์เหล่านั้น จึงสร้างกระท่อมมุงด้วยใบไม้ไว้ในราวป่า แล้วเพ่งอยู่ในกระท่อมที่มุงด้วยใบไม้นั้น. พวกพราหมณ์เหล่านั้น ไม่มีการหุงต้ม ไม่มีการตําข้าว ในเวลาเย็นและในเวลาเช้า พวกเขาก็พากันเที่ยวไปยังหมู่บ้าน ตําบลและเมือง แสวงหาอาหาร เพื่อบริโภค ในเวลาเย็นและในเวลาเช้า. พวกเขาได้อาหารแล้วก็เพ่งอยู่ในกุฏิใบไม้ในราวป่านั้นอีก. หมู่มนุษย์พบเขาเข้า ก็กล่าวอย่างนี้ว่า ผู้เจริญ สัตว์เหล่านี้สร้างกระท่อมมุงด้วยใบไม้ในราวป่า แล้วเพ่งอยู่ในกระท่อมซึ่งมุงด้วยใบไม้นั้น พวกเขาไม่มีการหุงต้ม ไม่มีการตําข้าว ในเวลาเย็นและในเวลาเช้า พวกเขาพากันเที่ยวไปยังหมู่บ้าน ตําบลและเมือง แสวงหาอาหาร เพื่อบริโภคในเวลาเย็นและในเวลาเช้า. เขาได้อาหารแล้วมาเพ่งอยู่ในกุฏิที่มุงด้วยใบไม้ในราวป่าอีก. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ อักขระว่า ฌายิกา ฌายิกา ดังนี้

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 162

จึงบังเกิดขึ้นเป็นคําที่สอง ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ บรรดาสัตว์เหล่านั้น บางพวกเมื่อไม่ได้สําเร็จฌานในกระท่อมที่มุงด้วยใบไม้ในราวป่า จึงเที่ยวไปรอบหมู่บ้าน รอบนิคม ทําคัมภีร์มาอยู่. มนุษย์ทั้งหลายเห็นเขาเข้า จึงกล่าวอย่างนี้ ผู้เจริญ สัตว์เหล่านี้แล ไม่ได้บรรลุฌานในกุฏิที่มุงด้วยใบไม้ในราวป่า จึงเที่ยวไปรอบบ้านรอบนิคม ทําคัมภีร์มาอยู่. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ บัดนี้ชนเหล่านี้ไม่เพ่งอยู่ ชนเหล่านี้ไม่เพ่งอยู่ในบัดนี้ ฉะนั้น อักขระว่า อชฺฌายิกา อชฺฌายิกา ดังนี้ จึงบังเกิดขึ้นเป็นคําที่ ๓. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ ก็คํานั้น โดยสมัยนั้น สมมติกันว่าเป็นคําเลว แต่ในสมัยนี้ คํานั้นสมมติกันว่าประเสริฐ. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ เพราะการพรรณนาดังว่ามานี้ การบังเกิดขึ้นของหมู่พราหมณ์นั้น โดยอักขระที่เข้าใจกันว่าเลิศ เป็นของเก่า จึงได้มี เรื่องของสัตว์ทั้งหลาย จะเหมือนหรือไม่เหมือนกันโดยธรรมเท่านั้น หาใช่โดยอธรรมไม่. ดูก่อนวาเสฏฐและภารทวาชะ ก็ธรรมเท่านั้นประเสริฐที่สุดในหมู่ชน ทั้งในทิฏฐธรรมและอภิสัมปรายภพ.

ว่าด้วยการเกิดขึ้นแห่งแพศย์

[๖๕] ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ บรรดาสัตว์นั้น บางพวกยึดมั่นเมถุนธรรม แยกประกอบการงาน. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ สัตว์เหล่านั้นยึดมั่นเมถุนธรรมแล้ว แยกประกอบการงาน ฉะนั้น อักขระว่า เวสฺสา เวสฺสา ดังนี้ จึงบังเกิดขึ้น. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ เพราะเหตุดังกล่าวมานี้ การบังเกิดของพวกแพศย์ จึงมีได้อย่างนี้. ท่านย่อคําไว้แล้ว. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ เพราะเหตุดังกล่าวนี้แล การบังเกิดขึ้นของหมู่ศูทรนั้น จึงมี

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 163

ได้ด้วยอักขระ ที่เข้าใจกันว่าเลิศเป็นของเก่า เรื่องของสัตว์เหล่านั้น จะเหมือนกันหรือไม่เหมือนกับสัตว์อื่น ก็โดยธรรมเท่านั้น หาใช่โดยอธรรมไม่. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ ธรรมเท่านั้นประเสริฐที่สุดในหมู่ชน ทั้งในทิฏฐธรรมและอภิสัมปรายภพ.

[๖๖] ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ มีสมัยที่กษัตริย์ ติเตียนธรรมของตน จึงออกจากเรือนบวช ด้วยคิดว่า เราจะเป็นสมณะ. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ มีสมัยที่พราหมณ์ ฯลฯ แพศย์ ฯลฯ ศูทร ติเตียนธรรมของตน จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ด้วยคิดว่า เราจักเป็นสมณะ ดังนี้. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ การบังเกิดขึ้นแห่งหมู่สมณะ จึงได้มีขึ้นด้วยหมู่ทั้ง ๔ เหล่านี้ เรื่องของสัตว์เหล่านั้น จะเหมือนหรือไม่เหมือนกับสัตว์เหล่าอื่น ก็โดยธรรมเท่านั้น หาใช่โดยอธรรมไม่. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ ธรรมเท่านั้นประเสริฐที่สุดในหมู่ชน ทั้งในทิฏฐธรรมและอภิสัมปรายภพ.

[๖๗] ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ กษัตริย์ก็ดี พราหมณ์ก็ดี แพศย์ก็ดี ศูทรก็ดี ประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือกรรมด้วยมิจฉาทิฏฐิ เพราะการยึดถือกรรมด้วยอํานาจมิจฉาทิฏฐิเป็นเหตุ เบื้องหน้าแต่ตาย เพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก.

[๖๘] ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ กษัตริย์ก็ดี พราหมณ์ก็ดี แพศย์ก็ดี ศูทรก็ดี ประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต เป็นสัมมาทิฏฐิ สมาทานกรรมด้วยอํานาจสัมมาทิฏฐิ เพราะการยึดถือกรรมด้วยอํานาจสัมมาทิฏฐิเป็นเหตุ เบื้องหน้าแต่ตาย เพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์.

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 164

    [๖๙] ดูก่อนวาเสฎฐะและภารทวาชะ กษัตริย์ก็ดี พราหมณ์ก็ดี แพศย์ก็ดี ศูทรก็ดี มีปกติทํากรรมทั้งสองอย่าง ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ มีความเห็นเจือปนกัน ยึดถือกรรมด้วยอํานาจความเห็นอันเจือปนกัน เพราะการยึดถือกรรมด้วยอํานาจความเห็นใอันเจือปนกันเป็นเหตุ เบื้องหน้าแต่ตาย เพราะกายแตก ย่อมได้เสวยสุขบ้าง ทุกข์บ้าง.

    [๗๐] ดูก่อนวาเสฎฐะและภารทวาชะกษัตริย์ก็ดี ฯลฯ พราหมณ์ก็ดี ฯลฯ แพศย์ก็ดี ฯลฯ ศูทรก็ดี สํารวมทางกาย สํารวมทางวาจา สํารวมทางใจ อาศัยการเจริญโพธิปักขิยธรรมทั้ง ๗ (หมวด) แล้ว ย่อมปรินิพพานในโลกนี้แท้.

    [๗๑] ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ บรรดาวรรณะทั้ง ๔ เหล่านี้ วรรณะใด เป็นภิกษุผู้อรหันต์ สิ้นอาสวะแล้ว อยู่จบแล้ว มีกรณียะอันกระทําแล้ว ปลงภาระได้แล้ว ตามบรรลุประโยชน์ของตนแล้ว มีสังโยชน์เครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพสิ้นแล้ว นับแล้ว เพราะรู้โดยชอบ วรรณะนั้น ปรากฏว่าเป็นผู้เลิศกว่าวรรณะเหล่านั้น โดยธรรม หาใช่โดยอธรรมไม่. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ ธรรมเท่านั้นประเสริฐที่สุดในหมู่ชน ทั้งในทิฏฐธรรมและอภิสัมปรายภพ. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ แม้สนังกุมารพรหม ก็ได้กล่าวคาถาไว้ว่า

    [๗๒] กษัตริย์เป็นผู้ประเสริฐที่สุด ในหมู่ชนผู้มีความรังเกียจด้วยโคตร ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ประเสริฐที่สุด ในหมู่เทวดาและมนุษย์ ดังนี้.

    ดูก่อนวาเสฎฐะและภารทวาชะ ก็คาถานี้ สนังกุมารพรหมขับไว้ถูกต้องไม่ผิด ภาษิตไว้ถูก ไม่ผิด ประกอบด้วยประโยชน์ มิใช่ไม่ประกอบ

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 165

ด้วยประโยชน์ เรารู้แล้ว ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ แม้เราเอง ก็กล่าวอย่างนี้ว่า

    กษัตริย์เป็นผู้ประเสริฐที่สุด ในหมู่ชนผู้มีความรังเกียจด้วยโคตร ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ประเสริฐที่สุด ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ดังนี้

    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระดํารัสนี้แล้ว. วาเสฏฐะและภารทวาชะ ก็ยินดี ชื่นชม พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล.

    จบอัคคัญญสูตรที่ ๔